การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 393 ภาคพิเศษ Module 3 วันที่ เสาร์ที่ 3 อาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2565
1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา
2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module 3 นี้ ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า Post a Comment นักศึกษาคลิกที่นี่ จะปรากฏ กล่อง สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย
3. นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาการบริหารการพัฒนา นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์ ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้
4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ
4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา
4.2 เอกสารประกอบการศึกษา
ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่
https://supwat.wixsite.com/-education/สำเนาของ-การบร-หารการพ-ฒนา-module-3-1
5. นักศึกษาทำ Assignment
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
6. นักศึกษาแสดงความเห็นในฟอรั่มนี้
Comments
5. นักศึกษาทำ Assignment
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
Ans การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นกระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดง ทัศนะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือก และการตัดสินใจต่างๆ เก่ียวกับโครงการที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
ปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
1. เพราะไม่ใช่การจัดเวทีประชาพิจารณ์ และการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
2. ไม่ใช่การประชาสัมพันธ์หรือชี้แจงข้อมูล
3. ผู้บริหารและข้าราชการส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงไม่สามารถดำเนินกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง ข้อพิพาษณ์ และปัญหาสังคม
4. มีกรอบกฎหมายกำหนดให้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่ยังขาดความตระหนัก จิตสำนึก และความมุ่งมั่นที่แท้จริง
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
Ans ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 ระบบราชการประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 มีการกำหนด
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภาครัฐต้องปรับตัวให้สามารถอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่สามารถคาดเดาได้ จึงต้องมุ่งเน้นความคล่องตัวเพื่อขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ (Agenda- Based) และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพลิกโฉมระบบราชการสู่ Government 4.0 ส่วน ลักษณะสำคัญในยุค 5 G เช่น การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนที่ไม่ได้ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนอีกต่อไป การบริหารสาธารณะที่มีความรวดเร็วมากขึ้น การบริการประชาชนได้มากขึ้น ครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตาม การตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดความครอบคลุมที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ อีกทั้งการสร้างจิตสำนึกร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชนภายใต้บริบทอย่างรอบคอบ รองรับ เร่งรัด รวดเร็ว และรับผิดชอบ
5.1จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
Ans การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มีส่วนได้โอกาสแสดงทัศนะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกและการตัดสินใจต่างๆเก่ียวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
องค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของประชาชน
1) การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง มีการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เก่ียวข้อง ทั้งรัฐองค์การเอกชนและประชาชนทั่วไปโดยเน้นการสื่อสารสองทางทั้งช่องทางท่ี เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ไม่ใช่คร้ังเดียวจบและควรเกิดข้ึนตลอดโครงการ
2)เป้าหมายของการมีส่วนร่วมไม่ใช่เพียงการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นตามกฏหมายหรือ การทำให้ไม่มีความขัดเเย้งหากแต่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควรมุ่งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและเป็นวิธีการที่ดีให้ภาครัฐตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
Ans เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทํางานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดีเพื่อประโยชน์สุขของหมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน แนวคิดและวิธีการทํางานใหม่เพื่อพลิกโฉมให้สามารถเป็นท่ีเชื่อถือไว้วางใจและสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้
1.เปิดกว้างและเชื่อมโยงกันสามารถให้คนภายนอกรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับระบบราชการได้
2.ประชาชนเป็นศูนย์กลางสร้างผลประโยชน์เพื่อประชาชนและประเทศ
3.มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย
ปัจจัยที่จะนำระบบราชการไทยในยุค 4.0 ให้ประสบความสำเร็จมี3ประการดังนี้
1.การสานพลังของภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆในสังคม
2.สร้างนวัตกรรม
3.การปรับเข้าสู่การเป็นดิจิตอล
ความสำคัญของระบบราชการในยุค 5G สามารถทำให้การทำงานของระบบราชการราบรื่นขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากความทันสมัยรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆความเป็นดิจิตอลทำให้งานทำได้ง่ายขึ้น
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมหรือการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน จะเป็นการที่บุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานทั้งในด้านการแสดงความคิดเห็นและการปฏิบัติการมีส่วนร่วมและช่วยสร้างพลังจิตให้ร่วมกันปฏิบัติงานอย่างเต็มที่มี
ประสิทธิภาพมากกว่าการยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งการมีส่วนร่วมจะช่วยกระตุ้นให้บุคคลนั้นสนับสนุนเป้าหมายของกลุ่มตลอดจนวัตถุประสงค์รวมขององค์กร
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจของการพัฒนาชุมชน
โดยเป็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องของการปกครองตนเอง คือ ต้องการให้ประชาชนได้เข้าไปตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทุก ๆแขนง
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทํางานโดยยึดหลัก
ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน
แนวคิดและวิธีการทํางานใหม่เพื่อพลิกโฉม ให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจและเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง ดังนี้
1. เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน
2. ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3. มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย
ปัจจัยที่จะนำระบบราชการไทยในยุค 4.0 ให้ประสบความสำเร็จมี3ประการดังนี้
1.การสานพลังของภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆในสังคม
2.สร้างนวัตกรรม
3.การปรับเข้าสู่การเป็นดิจิตอล
การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลาเป็นการสร้างฉันทามติและทำให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเสี่ยงการเผชิญหน้าในกรณีที่อาจจะ รุนแรง ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม และช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมของสาธารณชนรวมทั้งเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญ และความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความคิดเห็นของประชาชนบางส่วนถูกมองข้ามเพราะการรัฐประหารของรัฐบาลในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ไม่ได้เกิดการแก้ไขปัญหาในส่วนที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0
1. (Open & Connected Government) ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ
2. (Citizen-Centric Government) ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไข ปัญหาความต้องการและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ
3. (Smart & High Performance Government) ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา
ลักษณะสำคัญในยุค 5G นั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการไปสู่ยุคที่มีความรวดเร็วมากขึ้นด้วยการนำเทคนิคการบริหารระบบ
ราชการยุค 5G มาปรับใช้ให้เกิดความพร้อมและประสิทธิภาพในเชิงการบริหารจัดการมากขึ้นโดยมีลักษณะที่สำคัญเช่น การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนที่มิได้ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนอีกต่อไป การบริหารสาธารณะที่มีความรวดเร็วมากขึ้น การบริการประชาชนได้มากขึ้น ครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตาม การตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดความครอบคลุมที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ อีกทั้งการสร้างจิตสำนึกร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชนภายใต้บริบทอย่างรอบคอบรองรับ เร่งรัด รวดเร็ว และรับผิดชอบ
นักวิชาการ คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ ได้ให้คำนิยามของคำว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชน" โดยสรุปไว้ว่า การกระจายโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง และการบริหารเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ร่วมทั้ง การจัดสรรทรัพยากร
ของชุมชนและของชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำปรึกษา ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติรวม ตลอดจนการควบคุมโดยตรงจากประชาชน จากความหมายของนักวิชาการทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนคือการมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามาในการบริหารโดยเฉพาะหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีและมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการที่ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการ จัดสรรทรัพยากร ช่วยวิเคราะห์และประเมินผลของกิจกรรมรวมไปถึงการมีส่วนร่วมในระดับชนชั้นของประชาชนเองไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคนในระดับชนชั้นกลางขึ้นไป กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มคนยากจน การที่ระบบการพัฒนาและบริหารสามารถที่จะกระทำกิจกรรมโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในทุกระดับชนชั้นนั้นนับเป็นการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนให้มีความรู้สึกในการเป็นเจ้าของท้องถิ่นของตนเอง มีความหวงแหนและเกิดความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการสร้างกระบวนการทางความคิดที่ดีที่มีให้แก่ระบอบการปกครองและเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการบริหารแบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ด้านปัญหาของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีให้เห็นได้บ่อยชัดจากความขัดแย้งด้านความคิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมและผลประโยชน์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อกันของทางภาครัฐและภาคประชาชน
ปัญหาในระดับของกลุ่มคนชนชั้นต่างๆในระดับของกลุ่มคนชนชั้นกลางที่มีความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจใจระบบของการพัฒนาการบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างดีแต่ขาดซึ่งความศรัทธาในเรื่องของพฤติกรรมของนักการเมืองและพรรคการเมืองจึงทำให้กลุ่มประเภทนี้เลือกที่จะปฏิเสธการเข้าร่วมทางการเมือง นอกจากนี้ในโลกยุคใหม่ที่เป็นระบบทุนนิยมสะส่วนใหญ่กลุ่มคนชนชั้นชั้นกลางจึงมีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาผลประโยชน์ ความมั่งคั่งและผลกำไรให้กับตนเองมากกว่าโดยที่ขาดหลักของความมีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมทางการเมือง-
การมีส่วนทางการเมืองในเชิงสัญลักษณ์ซึ่งปราศจากการเข้าใจของการมีส่วนร่วมที่แท้จริงจะมองได้จากการที่มีแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไม่ได้เล็งเห็นผลกระทบที่จะเกิดจากการที่ปราศจากความรู้ที่แท้จริงแต่กระทำได้เพราะได้มี ปัจจัยหรือเหตุผลแทรกซ้อน ถ้าจะคิดให้เห็นภาพง่ายที่สุดคือการซื้อสิทธิขายเสียงในกระบวนของการเลือกตั้งที่ที่มีผู้คนจำนวนมากไปใช้สิทธิแต่ไม่ได้ไปด้วยความเข้าใจของการเลือกตั้งแต่ไปด้วยเหตุผลทางปัจจัย การมีส่วนร่วมเชิงสัญลักษณ์นี้มักจะส่งผลให้เกิดอุปสรรคทางการพัฒนาการบริหารและรวมไปถึงการปฏิเสธทางการเมืองอีกด้วย
การมีส่วนร่วมที่มีผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง คือการมีส่วนร่วมทางการเมืองในแบบที่ไม่เป็นระบบและเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นทางการมากจนเกินไป ซึ่งผลที่ออกมาคือการประท้วง การกดดันรัฐบาลในการที่จะให้ออกมารับผิดชอบแก้ไขปัญญาต่างมากจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่นการแก้ไขปัญหาถนนในชุมชนซึ่งออกมาร้องขอให้รัฐบาลช่วยแก้ไขแต่ไม่เริ่มต้นในระดับการปกครองท้องถิ่นของตนเองก่อนเป็นต้น ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้อาจจะส่งผลกระทบให้แก่ระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศได้
ปัญหาด้านบทบาทของพรรคการเมืองและนักการเมืองปัญหาในลักษณะนี้ในประเทศไทยเองอาจจะมองได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่มักมองว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการพัฒนาการแก้ไขปัญหาทางการเมืองเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย จึงไม่มีการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง อีกประการหนึ่งประชาชนมักมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์จึงทำให้ขาดแรงจูงใจในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองจึงทำให้ระบบพรรคการเมืองและนักการเมืองเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาบริหารประเทศโดยอาจจะมีนัยยะของการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนและตนเอง
จากบทความข้างต้นเราจะสามารถวิเคราะห์โดยสรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นการกระตุ้นให้ภาครัฐได้ตระหนักถึงการปรับโครงสร้างและกระบวนการทำให้มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน โปรงใส่ สามารถตรวจสอบได้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม กฎระเบียบทางสาธารณะและสังคมอีกทั้งยังต้องมุ่งเน้นในการปรับความเข้าใจ และการแก้ปัญหาของการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐเองในการช่วยกันพัฒนาและบริหารที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหาร.
1.ต้องมีการทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส่ เอื้อให้บุคคลภายนอกและประชาชนเข้าถึงได้โดยง่าย
2.ทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่า
3.แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีการเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4.ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และการตัดสินใจในการทำงาน
5.มีรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6.มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อตอบสนองต่อสถานะการณ์ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองการณืและในระดับปฏิบัติการ
7.เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจให้ดำเนินการแทนได้
8.ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9.บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สู่องค์กรที่มีความทันสมัย และมุ่งเน้นผลงานที่ดี
10.ให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีศักยภาพสูง และได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคคลากร
ส่วนลักษณะที่สำคัญในยุค 5 G ประกอบไปด้วย
1.การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนได้รวดเร็ว
2.มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
3.มีความรวดเร็วในการบริหารสาธารณะ
4.จำนวนการให้บริการมีมากขึ้น
5.การตอบสนองต่อภาคประชาชนได้อย่างรวดเร็วขึ้น
6.มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประชาชนครอบคลุมมากขึ้น
7.สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ในระดับหนึ่ง
8.สามารถสร้างจิตสำนึกเพื่อร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับภาคประชาชนได้มาขึ้น
เมื่อนำลักษณะของระบบราชการในยุค 4.0และลักษณะที่สำคัญในยุค 5 G มาทำการวิเคราะห์เราจึงสรุปได้ว่า การพัฒนาการบริหารของภาครัฐในอนาครตอันใกล้นี้จมุ่งเน้นไปในทิศทางของความรวดเร็ว รอบครอบ โปร่งใส และการพัฒนาของตัวบุคลากรภายในองกร์ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อจะได้พลิกโฉมระบบราชการไทยที่มีความทันสมัย โปร่งใส และใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมมูลได้ เพื่อลดอัตราทัศนคติด้านลบของประชาชนที่มีต่อระบบราชการของไทยได้ในอนาคต.
การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน มีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรวมทั้งมีการนนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยผู้มีส่วนร่วมต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1.การมีอิสรภาพในการเข้าร่วม โดยต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ
2. มีความเสมอภาคในการเข้าร่วมกิจกรรม
3. ผู้เข้าร่วมต้องมีความสามารถพอที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม อาทิมีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆนั่นแสดงว่าจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้พวกเขาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้
ปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนประชาชนหรือกลุ่มต่างๆที่อาจได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากนโยบายของรัฐหรือมีจากการตัดสินใจอนุญาตต่างๆของรัฐหรือจากการดำเนินโครงการต่างๆ โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายระดับคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางตรงคือผู้ที่ได้รับผลโดยตรง เเละผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อม คือ ผู้ที่อาจได้รับผลต่อเนื่องอาจไม่รุนแรงหรือสูงมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกประเภทหนึ่งคือผู้สนใจทั่วไป เช่นนักวิชาการ หรือประชาชนทั่วไป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆกันจะมีจุดยืนในผลลัพธ์ของนโยบายหรือโครงการต่างกัน
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ระบบราชการยุค 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทํางานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
หมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทํางานใหม่เพื่อพลิกโฉม ให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ และเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
1.เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) คือ ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใสในการทํางาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ หรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทํางานได้ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน
2.ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) คือ ต้องทํางานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคําถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยไม่ต้องรอให้เข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ
3. มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) คือ ต้องทํางานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G เป้าหมายหลัก ต้องการให้บริการจัดการขับเคลื่อน 5G ทั้งระบบเกิดประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนการทำงานเป็นทีมเวิร์คแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาชาติเดินตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นโยบายและแผนระดับชาติ ดังกล่าว ต้องการปฏิรูปประเทศไทยสู่ “ดิจิทัลไทยแลนด์” ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้เต็มศักยภาพ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุน มนุษย์ การให้บริการของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นอย่างจริงจัง การแสดงออกซึ่งกิจกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับ รัฐบาล การแสดงออกทางการเมืองเหล่านี้คือกระบวนการทางการเมือง ซึ่งจะนำไปสู่ การบรรลุเป้าหมายที่ประชาชนต้องการ ในฐานะที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนและองค์ประกอบทางการเมืองที่ครอบคลุมปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งหมด จะส่งเสริมให้เข้าใจบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคคลและองค์กรทางการ เมืองได้ชัดเจนยิ่งข้ึน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงและเร่งสร้างแนวคิดของประชาชนตลอดจนผู้บริหารเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อการปกครอง นาไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป
ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเมืองดีแต่ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบท่ีเป็นทางการหรือการใช้ สิทธ์ิเลือกต้ังเพราะขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อพฤติกรรมของนักการเมืองและ พรรคการเมืองท่ีสังกัดอยู่นอกจากนี้วิถีชีวิตในโลกเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจนขาดการศึกษา ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ทำให้ประชาชนมองไม่เห็นและไม่เข้าใจว่า การมี ส่วนร่วมทางการเมืองจะมีความสาคัญการหาเลี้ยงชีพตนเองอย่างไรจึงปฏิเสธ การมี ส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อขาดปัจจัยจูงใจ
3.การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีระบบและมีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างไม่เป็นทางการมากเกินไป ท่ีผ่านมาจะเห็นว่าเกิดการประท้วง กดดันรัฐบาล เพื่อให้ออกมาแก้ปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้ บางครั้งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศได้
4.ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง การท่ีประชาชนมีส่วนร่วมทางการ เมืองน้อยน้ันมีสาเหตุประการหนึ่งคือ การขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอย กระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ
ลักษณะระบบราชการ 4.0
1. (Open & Connected Government) ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
2. (Citizen-Centric Government) ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไข ปัญหาความต้องการและตอบสนองความต้องการของประชาชน
3. (Smart & High Performance Government) ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ลักษณะระบบราชการ 5G
คือระบบที่มีการติดต่อเชื่อมโยงเอกสารระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งหมด โดยมีการติดต่อกับทางรัฐเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น จากนั้นข้อมูลจะทำการเชื่อมต่อ และมีระบบฐานข้อมูลของภาครัฐอันเดียวกันการพัฒนาประเทศให้ทันต่อโลกยุคดิจิทัล ที่จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้โดยง่าย และการทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานของรัฐทำได้โดยง่ายนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบที่ปลอดภัย รวดเร็ว ทันสมัย ซึ่งแน่นอนรัฐบาลก็ให้ความสำคัญและมีการพัฒนาระบบของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรวมทั้งมี การนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกัน ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม ทั้งนี้ เพราะการมีส่วน ร่วมของประชาชนเป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจการลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เป็นการสร้างฉันทามติและทำให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าใน “กรณีที่อาจจะ รุนแรง” ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม และช่วยให้ทราบความ ห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมของสาธารณชนรวมทั้งเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญและ ความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน
ปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประชาชนหรือกลุ่มต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากนโยบายของรัฐ หรือมี จากการตัดสินใจอนุญาตต่างๆ ของรัฐ หรือจากการดำเนินโครงการต่างๆ โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายระดับคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางตรงคือผู้ที่ได้รับผลโดยตรงซึ่งต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรกและ ต้องรับรู้ข้อมูลอย่างทันการณ์ตลอดจนอาจต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมถึงระดับรับฟังตัดสินใจร่วมกัน และติดตามตรวจสอบ เพราะผลกระทบนั้นเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์อาจรุนแรงมากได้ และยากต่อการ เยียวยา หรือผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง เช่นเจ้าของโครงการ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อม คือ ผู้ที่อาจได้รับผลต่อเนื่องอาจไม่รุนแรงหรือสูงมาก เช่นกลุ่มแรกกลุ่มนี้อาจให้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับแรกจนถึงร่วมให้ความคิดเห็นปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกันผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีก ประเภทหนึ่งคือผู้สนใจทั่วไป เช่นนักวิชาการผู้แทนองค์ กรพัฒนาเอกชนหรือประชาชน ทั่วไปอนึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่างๆกัน จะมีจุดยืนในผลลัพธ์ของนโยบายหรือโครงการต่างกัน
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
สำหรับการวางระบบและวิธีการทำงานใหม่โดยยึดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการบริหารงานและภาครัฐหรือหลักการบริหารราชการแผ่นดินที่ดีให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริงมีองค์ประกอบอยู่3คือ
1. ภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน สรุปลักษณะสำคัญได้ดังนี้
- การทำงานต้องเปิดเผยและโปร่งใส โดยบุคคลภายนอก
: เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้
: มีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
: สามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้
- เปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่นๆเช่นภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม
- โอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองไปให้ภาคส่วนอื่นดำเนินการแทน
- จัดโครงสร้างให้สอดรับกับ การทำงานแนวระนาบ ในลักษณะเคลือคข่ายมากกว่าสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง
- เชื่อมโยงการทำงานราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน
ลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง เพราะบริบท การเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาของประชาชนที่ซับซ้อนตามไปด้วยทำให้องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่ในการดูแล แก้ไขปัญหาประชาชนจำต้องเท่าเทียมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบการให้บริการโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ สนับสนุนเพื่อให้บริการประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส โดยภาครัฐต้องทำงานร่วมมือ และประสานพลังในการปฏิบัติหน้าที่ มี ระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตาม หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน มีความพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564 : 10) เพราะฉะนั้น องค์กรภาครัฐมีโจทย์ความท้าทายอย่างมากที่จะกระตุ้นระบบการพัฒนาไปสู่กิจกรรมการให้บริการและตอบโจทย์ การแก้ไขปัญหาของประชาชนได้มากขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจในการรอสถานการณ์การเปลี่ยนภายใต้ฐานบริบทใหม่ที่ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจต่อเข้าถึงวิถีทางการแก้ไขที่สลับซับซ้อน จึงต้องความรวดเร็วของการทำงานใหม่ปรับเปลี่ยน วิธีการใหม่ที่สามารถเพิ่มระดับความพึ่งใจให้กับประชาชนได้มากก็ด้วย มีความรวดเร็ว และครอบคลุมพื้นที่ให้ที่สุด
5.1จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประชาชนได้รับการอธิบายเหตุผลในการดำเนินนโยบายจากฝ่ายรัฐ ประชาชนก็เรียนรู้และเข้าใจปัญหาได้ดีกว่าเดิม และเมื่อรัฐได้ฟังเหตุผลจากทางประชาชนก็ทำให้ผลการตัดสินนโยบายก็จะดีกว่าเดิม เป็นการเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเพราะเห็นประโยชน์และมีความชัดเจนในการทำงานของภาครัฐ
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
4.0 .นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของบาล บนวิสัยทัศน์ (มั่นคง.มั่งคั่ง และยั่งยืน ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆเพื่อปรับแก้จัดระบบ ปรับทิศทาง และ สร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาศและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและ รุนแรง ในศตวรรษที่21ได้
5G.คือระบบที่มีการติดต่อเชื่อมโยงเอกสารระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งหมด โดยมีการติดต่อกับทางรัฐเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น จากนั้นข้อมูลจะทำการเชื่อมต่อ และมีระบบฐานข้อมูลของภาครัฐอันเดียวกัน เช่น(1ระบบบัตรประชาชน E-Sim เสียบบัตรเข้าเครื่องสแกนก็สามารถดึงข้อมูลทั้งระบบได้ (2ระบบจัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน หรือเรียกกันว่า “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งนี้ยังให้ประชาชนติดต่อผ่านทางดิจิทัลโดยตรงกับหน่วยงานได้เหมือนเดิม(3ระบบดึงข้อมูล และเข้าระบบโดยมีระดับความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ตามความจำเป็นของแต่ละระดับของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
การพัฒนาประเทศให้ทันต่อโลกยุคดิจิทัล ที่จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้โดยง่าย และการทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานของรัฐทำได้โดยง่ายนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบที่ปลอดภัย รวดเร็ว ทันสมัย ซึ่งแน่นอนรัฐบาลก็ให้ความสำคัญและมีการพัฒนาระบบของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาระบบให้ทันสมัยของทางภาครัฐ บริษัทดังภูมิ มีทีมงานพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) และซอฟต์แวร์ (Software) มืออาชีพ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์กร และหน่วยงานต่างๆ โดยที่เป็น “ดังภูมิ” (“ดัง” แปลว่า เปรีบบกับ และ “ภูมิ” แปลว่า แผ่นดิน หรือรากฐาน) ดังนั้น “ดังภูมิ” ก็คือ เปรียบเสมือนกับเป็นฐานรากของการดำเนินกิจการขององค์กร และหน่วยงานต่างๆของทางภาครัฐ
Module 3
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน มีนักวิชาการได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วมไว้ ดังนี% นรินทร์ พัฒนพงศา (2546 : 4) ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมวาการมีส่วนร่วมคือ การที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ ายใดที่ไม่เคยได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ หรือเข้าร่วมการตัดสินใจหรือเคยเข้าร่วมด้วย เล็กน้อยได้เข้าร่วมมากขึ%นเป็ นไปอย่างมีอิสรภาพเสมอภาค มิใช่มีส่วนร่วมอย่างผิวเผิน แต่เข้าร่วม อยางแท้จริงยิ่งขึ้ และการเข้าร่วมนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ยุพา รูปงาม (2545 : 5) การมีส่วนร่วม
5.2ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
ตอบ ระบบราชการ 4.0” ตามนโยบายของ รัฐบาล โดยมีคุณลักษณะสาคัญ 10 ประการ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563 : 1) ประกอบด้วย
1) ทางานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2) ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3) แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
มิถุนายน 2564
4)ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการมีฐานข้อมูลท่ีทันสมัย เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และ การตัดสินใจในการทำงาน
5) ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6) ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7) เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้
8) ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเร่ิมและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ทำงานที่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง
9) บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานท่ีดี
10) ให้ความสำคัญกับบุคลากรดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูงพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ลักษณะสำคัญในยุค 5G
1. การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบท่ีไม่ส่งกระทบต่อประชาชน (Studious)
2. การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย
3. การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม (Precipitate)
4. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง (Expeditious)
5. การสร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน(Responsible)
การมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นรากฐานสำคัญของหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับการปกครองในระดับท้องถิ่นการมีส่วนร่วมของประชาชนก็มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน เพราะเป็นสถาบันที่ฝึกหัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นอันเป็นที่อยู่ของตนเองเกิดความหวงแหนและความรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่นเป็นผลให้ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การบริหารราชการไทยเป็นการ นำแนวความคิด เกี่ยวกับการปรับระบบราชการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง
การมีส่วนรวม นักวิชาการ คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ ให้ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การกระจายโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการ เมือง และการบริหารเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ร่วมทั้งการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนและของชาติซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยการให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำปรึกษา ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ รวมตลอดจนการควบคุมโดยตรงจากประชาชน
ด้านปัญหาของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนจะเห็นได้จากประชาชนที่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองดีแต่ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เป็นทางการหรือการใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพราะขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อพฤติกรรมของนักการเมืองและ พรรคการเมืองที่สังกัดอยู่ และ ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจนขาดการศึกษาขาดโอกาสในการประกอบอาชีพทำให้ประชาชนมองไม่เห็นและไม่เข้าใจว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะมีความสำคัญกว่าการหาเลี้ยงชีพตนเองอย่างไรจึงปฏิเสธการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อขาดปัจจัยจูงใจ หรือจะเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีระบบและมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากเกินไปที่ผ่านมาจะเห็นว่าเกิดการประท้วงกดดันรัฐบาลเพื่อให้ออกมาแก้ปัญหาต่างๆอย่างต่อเนื่องซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้บางครั้งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศได้
การบริหารจัดการระบบราชการ 4.0 เป็นการบริหารที่ไม่มีขีดจำกัดในด้านต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ และทุกๆขั้นตอนนั้นต้องได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง โดยลักษณะของระบบราชการ 4.0 มีดั้งนี้
1 ทำงานอย่างเปิดเผยโปร่งใสเอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2 ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3 แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4)ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการมีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5 ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัวรองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6 ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ทันเวลามีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7 เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้
8 ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9 บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่องค์การที่มีความทันสมัย และมุ่งเน้นผลงานที่ดี
10 ให้ความสำคัญกับบุคลากรดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูงพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ สร้างความผูกพันสร้างแรงจูงใจมีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ส่วนลักษณะสำคัญในยุค 5G นั้น ประกอบด้วย
1. การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งกระทบต่อประชาชน
2. การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย
3. การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม
4. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง
5. การสร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน
สรุป การบริหารองค์กรภาครัฐในโลกอนาคตที่มีความรอบคอบ รองรับ เร่งรัด รวดเร็ว และรับผิดชอบอาจจะเป็นบทบาทใหม่ขององค์กรภาครัฐที่ควรให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นเพื่อการพลิกประเทศไปสู่ความทันสมัยได้มากขึ้นผ่านการทำงานด้วยการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรภาครัฐและช่วยลดทัศนคติของประชาชนในแง่ลบกลายมาเป็นทัศนคติเชิงบวกได้ด้วยองค์ความรู้ที่สำคัญที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาของประชาชน
5.1 ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่น จะช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชนได้รับทราบความต้องการและปัญหาที่แท้จริง ลดความขัดแย้งและต่อต้าน ทั้งยังเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในประเด็นสาธารณะ ซึ่งเป็นบทบาทที่หน่วยงานภาคราชการจะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อยเพียงใด รวมทั้งต้องอาศัยกระบวนการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคมที่เป็นพันธมิตรของภาคราชการ ภาคราชการจะต้องร่วมมือกันเปิดระบบราชการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อทำให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เกิดการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างยุติธรรม และลดความขัดแย้งในสังคม และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างกลไกของการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั้นเอง ปัญหาในการมีส่วนร่วมของประชาชน หากประชาชนให้ความคิดเห็นแต่ภาครัฐไม่สนใจก็อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น
5.2 ด้วยวิสัยทัศน ของประเทศไทยท่ีว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง”เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน ดังกล่าว รัฐบาลจึงมี
นโยบายที่จะใช้ โมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน หรือที่เรารู้จักกันว่าไทยแลนด์ ๔.๐ หรือ ประเทศไทย ๔.๐ ดังน้ัน ระบบราชการก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดรับ และส่งเสริมไทยแลนด์ ๔.๐ จึงจําเป็นต้องมีการปฏิรูประบบราชการ และข้าราชการซึ่งเป็นฟันเฟืองสําคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล สามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับทิศทางการบริหารของประเทศ มีลักษณะ
1. เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) คือ การทํางานต้องเปิดเผยและโปร่งใส เปิดกว้างให่กลลไกหรือภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมโอนถ่านภารกิย ที่ภาครัฐ ไม่ควรดำเนินการเองไปให้ภาคส่วนอื่นดำเนินการแทนจัดโครงสร้างการทำงานเป็นแนวระนาบ มากกว่า สายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง และเชื่อมโยงการทำงาน ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน
2. ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) ทำงานโดยมองไปข้างหน้า (คิดเสมอว่าประชาชนจะได้อะไร) มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ให้บริการเชิงรุก ไม่ต้องรอให้ประชาชนมาขอความช่วยเหลือ จัดบริการสาธารณะท่ีตรงกับความต้องการของประชาชน
3. มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) การทําางานต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อเตรียมการล้วงหน้า นำองค์ความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชามาสร้างนวัตกรรมหรือประยุกธ์เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา ปรับตัวให้เป็นสำนักงานที่ทันสมัย มีขีดสมรรถนะสูง และทําให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติงาน
การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีส่วนร่วมทั้งความคิด อารมณ์ จิตใจ กิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น ร่วมกันกำหนดนโยบาย ร่วมกันวางแผนตัดสินใจและกาปฏิบัติตามแผน ร่วม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประเมินผลการปฏิบัติตนตามนโยบายของภาครัฐในทุกระดับ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาการบริหาร จะมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการบริหารโดยเฉพาะตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของระดับชนชั้นของประชาชน ได้แก่ กลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไป กลุ่มเกาตรกร กลุ่มคนยากจน ซึ่งมีปัญหาของการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ปัญหาของกลุ่มคนชั้นต่างๆ ปัญหาเชิงสัญญลักษณ์ซึ่งปราศจากความเข้าใจในการมีส่วนร่วมที่แท้จริง การมีส่วนร่วมที่มีผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง และปัญหาด้านบทบาทของพรรคการเมืองและนักการเมือง
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะขอระบบราชการยุค 4.0
-ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
-ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
-แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีการเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
-ใช้เทคโนโลขีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์
และการตัดสินใจในการทำงาน
-มีรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักขณะเครือข่าย
-การเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
-เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้
-ส่งเสริมให้เกิดนวัดกรรม ความคิคริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
-บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและ มุ่งเน้นผลงานที่ดี
-ให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีศักขภาพสูง และได้รับพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้ำที่สร้างความผูกพัน
-สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงค้านบุคลากร
ลักษณะสำคัญในยุค 5 G
-การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนได้รวดเร็ว
-มีการเปีดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
-มีความรวดเร็วในการบริหารสาธารณะ
-จำนวนการให้บริการมีปริมาณมากขึ้น
-การตอบสนองต่อภาคประชาชนได้อย่างรวดเร็วขึ้น
-มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประชาชนดรอบคลุมมากขึ้น
-สามารถลดความเลื่อมล้ำได้ในระดับหนึ่ง
-สามารถสร้างจิตสำนึกเพื่อร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับภาคประชาชนได้มากขึ้น
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมหรือการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน จะเป็นการที่บุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานทั้งในด้านการแสดงความคิดเห็นและการปฏิบัติการมีส่วนร่วมและช่วยสร้างพลังจิตให้ร่วมกันปฏิบัติงานอย่างเต็มที่มี
ประสิทธิภาพมากกว่าการยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งการมีส่วนร่วมจะช่วยกระตุ้นให้บุคคลนั้นสนับสนุนเป้าหมายของกลุ่มตลอดจนวัตถุประสงค์รวมขององค์กร
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจของการพัฒนาชุมชน
โดยเป็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องของการปกครองตนเอง คือ ต้องการให้ประชาชนได้เข้าไปตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทุก ๆแขนง
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
การปฏิรูประบบราชการในปัจจุบันเน้นการสร้างการบริหารจัดการระบบราชการ 4.0 ประเทศไทยมุ่งสู่ไทย แลนด์ 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภาครัฐต้องปรับตัวให้สามารถอานวยความดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ยุคดิจิทัลท่ามกลางความที่รวดเร็วและไม่สามารถคาดเดาได้จึงต้องมุ่งเน้นความคล-องตัวภารกิจพิเศษ (Agenda – Based) และนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาพราชการสู่ Government 4.0 (ปริญญา บุญดีสกุลโชค, 2560 : 4) แต่ด้วย วิทยาการทางด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบอย่างรวดเร็วทาให้องค์กรภาครัฐเกิดความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการไปสู่ยุคที่มีความรวดเร็วมากขึ้นด้วยการนาเทคนิคการบริหารระบบ ราชการยุค 5G มาปรับใช้ให้เกิดความพร้อมและประสิทธิภาพในเชิงการบริหารจัดการมากข้ึนโดยมีลักษณะท่ีสาคัญ เช่น การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนที่มิได้ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนอีกต่อไป การบริหารสาธารณะที่มี ความรวดเร็วมากข้ึน การบริการประชาชนได้มากขี้น ครอบคลุมมากข้ึนไม่ว่าจะอยู่พื้นท่ีใดก็ตาม การตอบสนองต่อ การแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพมากข้ึน และเกิดความครอบคลุมท่ีสามารถลดความเหลื่อม ล้าได้ อีกทั้งการสร้างจิตสานึกร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชนภายใต้บริบทอย่างรอบคอบ รองรับ เร่งรัด รวดเร็ว และรับผิดชอบ
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลาเป็นการสร้างฉันทามติและทำให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ อีกทั้งช่วยหลีกเสี่ยงการเผชิญหน้าในกรณีที่อาจจะ รุนแรง ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม และช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมของสาธารณชนรวมทั้งเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญ และความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความคิดเห็นของประชาชนบางส่วนถูกมองข้ามเพราะการรัฐประหารของรัฐบาลในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ไม่ได้เกิดการแก้ไขปัญหาในส่วนที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0
ตอบ ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่นๆต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไข ปัญหาความต้องการและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา
ลักษณะสำคัญในยุค 5G นั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการไปสู่ยุคที่มีความรวดเร็วมากขึ้นด้วยการนำเทคนิคการบริหารระบบ
ราชการยุค 5G มาปรับใช้ให้เกิดความพร้อมและประสิทธิภาพในเชิงการบริหารจัดการมากขึ้นโดยมีลักษณะที่สำคัญเช่น การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนที่มิได้ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนอีกต่อไป การบริหารสาธารณะที่มีความรวดเร็วมากขึ้น การบริการประชาชนได้มากขึ้น ครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตาม การตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดความครอบคลุมที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ อีกทั้งการสร้างจิตสำนึกร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรและภาครัฐ
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นอย่างจริงจัง การแสดงออกซึ่งกิจกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับ รัฐบาล การแสดงออกทางการเมืองเหล่านี้คือกระบวนการทางการเมือง ซึ่งจะนำไปสู่ การบรรลุเป้าหมายที่ประชาชนต้องการ ในฐานะที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนและองค์ประกอบทางการเมืองที่ครอบคลุมปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งหมด จะส่งเสริมให้เข้าใจบทบาทการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคคลและองค์กรทางการ เมืองได้ชัดเจนยิ่งข้ึน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงและเร่งสร้างแนวคิดของประชาชนตลอดจนผู้บริหารเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อการปกครอง นาไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป
ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเมืองดีแต่ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบท่ีเป็นทางการหรือการใช้ สิทธ์ิเลือกต้ังเพราะขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อพฤติกรรมของนักการเมืองและ พรรคการเมืองท่ีสังกัดอยู่นอกจากนี้วิถีชีวิตในโลกเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจนขาดการศึกษา ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ทำให้ประชาชนมองไม่เห็นและไม่เข้าใจว่า การมี ส่วนร่วมทางการเมืองจะมีความสาคัญการหาเลี้ยงชีพตนเองอย่างไรจึงปฏิเสธ การมี ส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อขาดปัจจัยจูงใจ
3.การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีระบบและมีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างไม่เป็นทางการมากเกินไป ท่ีผ่านมาจะเห็นว่าเกิดการประท้วง กดดันรัฐบาล เพื่อให้ออกมาแก้ปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้ บางครั้งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศได้
4.ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง การท่ีประชาชนมีส่วนร่วมทางการ เมืองน้อยน้ันมีสาเหตุประการหนึ่งคือ การขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอย กระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5Gมีอะไรบ้าง
ลักษณะระบบราชการ 4.0
1. (Open & Connected Government) ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
2. (Citizen-Centric Government) ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไข ปัญหาความต้องการและตอบสนองความต้องการของประชาชน
3. (Smart & High Performance Government) ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ลักษณะระบบราชการ 5G
คือระบบที่มีการติดต่อเชื่อมโยงเอกสารระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งหมด โดยมีการติดต่อกับทางรัฐเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น จากนั้นข้อมูลจะทำการเชื่อมต่อ และมีระบบฐานข้อมูลของภาครัฐอันเดียวกันการพัฒนาประเทศให้ทันต่อโลกยุคดิจิทัล ที่จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นทำได้โดยง่าย และการทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการของหน่วยงานของรัฐทำได้โดยง่ายนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบที่ปลอดภัย รวดเร็ว ทันสมัย ซึ่งแน่นอนรัฐบาลก็ให้ความสำคัญและมีการพัฒนาระบบของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
Module 3
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วมของประชาชนนั่นหมายถึง กลุ่มคนกลุ่มประชาชนที่ทำการร่วมกัน แสดงเป้าหมายถึงการต้องการมีส่วนร่วม เพื่อที่บรรลุถึงเป้าหมายทางการเมือง หรือเศรษฐกิจ รวมทั้งสังคม และประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยเฉพาะในด้านการเมืองเพื่อร่วมตัเสินใจ และเสนอข้อคิดเห็น และเปิดให้ประชาชนมีสิทธิในกระบวนการนโยบายสาธารณะให้คำปรึกษาร่วมวางแผน ดังแนวคิดของ คุณคณึงนิจ ศรีบัวเอี่ยมและคณะ
-ส่วนปัญหาของการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ ในประเทศไทย ไม่ได้มีการให้ประชาชนร่วมตัดสินใจได้อย่างจริงจังมากนัก เพราะมีปัญหาหลายๆด้าน เช่น ประชาชนเป็นกลุ่มคนชนชั้นกลางมีความรู้ด้านการเมืองดีแต่ไม่เข้าร่วมเนื่องจากคิดว่าเสียเวลาเปล่า และการไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เพราะขาดศรัทธาความเชื่อมั่นจากนักการเมือง ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้เอาเวลาไปทำมาหากินเพื่อความมั่นคงของฐานะเเละสนใจประโยชน์ของตัวเองมากกว่า จนขาดจิตสาธารณะในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และประชาชนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษาและไม่มีความรู้ด้านการเมืองจึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มองไม่เห็นว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะเปลี่ยวนแปลงอะไรได้ เปลี่ยนแปลงความเป็นอยุ่ได้หรือไม่ เพราะว่าผ่านมากี่สมัยนายกกี่คนก็ยังมีความเป็นอยู่แบบเดิม จึงไม่เข้าร่วมทางการเมือง และพฤติกรรมการซื้อขายเสียงการเลือกตั้ง ทำให้การพัฒนาการเมืองเป็นไปได้ยาก และการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบไม่มีระบบ และการมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการ และมีการประท้วงเกิดขึ้น กดดันรัฐบาลเพื่อให้มาแก้ไขปัญหา ซึ่งการมีส่วนร่วมการเมืองแบบนี้จะส่งผลเสียหรือผลกระทบต่อการเมืองที่รุนแรงขึ้น เศรษฐกิจ และสุดท้ายปัญหาของพรรคการเมืองคือ พรรคการเมืองในประเทศไทยตอนนี้ยังเป็นองค์กรที่อ่อนแอ ทำให้ประชาชนขาดการกระตือรือร้น และบางพรรคการเมืองทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจในการเลือกหรือเชื่อถือได้เพราะ ไม่ทำตามนโยบายที่ให้ไว้ และนอกจากนี้คนไทยยังมีความคิดที่ว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของเรา เป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้นและเราต้องพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะระดับท้องถิ่น ควรให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
5.2ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 คือ การที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้องค์กรของรัฐมีความก้าวหน้า และมีการพัฒนาองค์กร โดยมีคุณลักษณะ 10 ประการคือ 1.ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2.ทำงานเชิงรุกแก้ไขแบะตอบสนองปัญหาของประชาชน 3.แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงกันเบ็ดเสร็จในจุดเดียว 4.ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลทันสมัยมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย 5.ปรับแบบแผนการทำงานให้คล่องตัว 6.ทำงานหรือเตรียมการณืไว้ล่วงหน้า ให้ทันเวลา 7.เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้ 8.ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่ม 9.บุคคลากรทุกระดับเตรียมพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง 10.ให้ความสัมพันธ์กับบุคคลากร สร้างแรงจูงใจในการทำงาน
-ลักษณะ5 G คือ 1.การปฏิบัติงานอย่างรอบคอบโดยไม่กระทบต่อประชาชน 2.การรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย 3.การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม 4.ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง 5.การสร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน หัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศนั้นขึ้นอยุ่กับองค์กรของภาครัฐว่าประเทศจะเดินไปข้างหน้าหรืออยู่กับที่ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ทันสมัย เช่น การมีฐานข้อมูล หรือการยื่นแบบฟอร์มต่างๆต่อหน่วยงานราชการเช่น การจองบัตรคิวใบขับขี่ออนไลน์ หรือ แม้กระทั่งการแจ้งความออนไลน์ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกต่อประชาชนเเละเจ้าหน้าที่ ลดการเสียเวลา และรวดเร็วในการแก้ปัญหา ดังนั้น รัฐจึงต้องใช้เทคนิค SUPER คือ 1.Studious หมายถึง ความรอบคอบ 2. Underlie หมายถึง การรองรับ 3. Precipitate หมายถึง การเร่งรัด
4. Expeditious หมายถึง ความรวดเร็ว 5. Responsible หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคม
5.1 การมีส่วนรวมและปัญหาการมีส่วนรวมของภาคประชาชน
แนวคิดของประชาธิปไตยแบบการมีส่วนรวมกำเนิดขึ้นตั้งแต่กรีกโปราณ โดยการอล แพทแมน กล่าวว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนรวม เป็นการเรียกระบอกประชาธิปไตยแบบผู้แทนที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรวมในทางการเมืองการปกครอง การมีส่วนรวมของประชาชนในยุคสมัยใหม่ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นอันเป็นที่อยู่ของตนเอง มีความรู้สึกที่ดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
การมีส่วนรวมของภาคประชาชนจึงเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรวมทั้งการนำความคิดเห็นไปประกอบการกำหนดนโยบายของภาครัฐ การมีส่วนรวมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือเป็นการสื่อสารอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การมีส่วนรวมของประชาชนถือเป็นหลักสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญ และเป็นประเด็นหลักที่สังคมไทยให้ความสนใจเพื่อพัฒนาการเมือง ตามหลักการธรรมาภิบาลที่ภาครัฐเปิดโอกาให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโป่งใสและเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของภาครัฐให้ดีขึ้น การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวมในการตัดสินในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทรัพยากรของหมู่บ้าน ซึงเป็นวิถีชีวิตของประชาชน การให้ข่าวสารถือเป็นการมีส่วนรวมของประชาชนระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกที่ภาครัฐจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการให้ข้อมูลข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็นเป็นกระบวนการเปิดให้ประชาชนมีส่วนรวมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริง และความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรวมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ การเสริมอำนาจให้แก่ประชาชนคิอการให้บทบาทประชาชน โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด การมีส่วนรวมในการดำเนินงานของภาครัฐที่มาจากทุกภาคส่วนของสัคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่น จะช่วยให้เจ้าหน้ามี่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ซึ่งเป็นบทบาทที่หน่วยงานภาคราชการจะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้น นี้คือการพัฒนาระบบราชการที่ยั้งยืน โดยให้ประชาชนเข้ามีส่วนรวม-
จากปัญหาของการมีส่วนรวมของภาคประชาชนเราสรุปได้ว่า ประชาชนได้เห็นว่าภาครัฐต้องให้ประชาชนมีส่วนรวมในการบริหารราชการ ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ถึงกระบวนการทำงานของภาครัฐให้ประชาชนได้เห็นถึงความโปร่งใส เพื่อจะช่วยกันพัฒนาให้ระบบราชการมีการบริหารที่ดียิ่งขึ้นไป
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
การบริหารพัฒนาระบบราชการในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้มีมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของระบบราชการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งผลให้การบริหารเผชิญกับความไม่แน่นอน การพัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังเปลี่ยนโลก ทำให้หน่วยงานภาคราชการต้องเร่งปรับตัวรองรับประกอบกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันต้องการพลิกโฉมประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ไทยแลนด์ 4.0” การทำงานเพื่อก้าวสู่การเป็นระบบราบการ 4.0 ด้วยการจัดระเบียบการให้บริการประชาชนให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.ภาครัฐต้องทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ หรือมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน สามารถตรวจสอบการทำงานได้ ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม และโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองออกไปให้แก่ส่วนอื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทน โดยจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างให้สอดรับกับการทำงานในแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่ายกว่าตามสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง ขณะเดียวกันก็ยังต้องเชื่อมโยงการทำงายภายในภาครัฐด้วยกันเองให้มีคุณภาพและสอดรับประสานกันไม่ว่าจะเป็นราชการบริหาร ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2.ภาครัฐต้องทำงานเชิงรุกและมองไปข้างหน้า ตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชน และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติอต่อขอให้บริการ หรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลของทางราชการ และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกโดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทางราชการ เพื่อให้บริการต่าง ๆ สามารถเสร็จสิ้นใน จุดเดียว ประชาชนสามารถเรียกใช้บริการของทางราชการได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตนผ่านการติดต่อได้หลายทาง ไม่ว่าจะติดต่อมาด้วนตนเอง อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ โซเซียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ
3.ภาครัฐต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้เข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา ตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สถาพความเป็นสำนักงานสมัยใหม่ รวมทั้งทำให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน
การปรับเปลี่ยนบริบทการบริหารเพื่อการพัฒนาของระบบราชการไทยในรูปแบบใหม่ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ภาครัฐจึงนำเทคนิคการบริหารในยุค 5 G ที่ความรวดเร็ว ว่องไวต่อการจัดการกับปัญหาของสังคมไทย โดยลักษณะที่สำคัญในยุค 5 G ประกอบไปด้วย
1.การส่งข้อมูลไปยังประชาชนมีความรวดเร็วมาก การปฏิบัติงานมีความรอบคอบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
2.การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเน้นการให้บริการที่ให้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมเทคโนโลยี
3.ตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุมโดยการเร่งพัฒนาและปรับกระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน
4.การเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี จึงมีจำนวนประชาชนใช้บริการมากขึ้น
5.มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ใช้บริการมากขึ้น มีความสะดวกรวดเร็ว
6.สามารถตรวจสอบและประเมินผลต่อการทำงานขององค์กรภาครัฐว่ามีความถูกต้อง โปร่งใน ดูแลภาษีของประชาชนได้หรือไม่
7.สามารถสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนได้มากขึ้น
8.สามารถสร้างมิติความรับผิดขอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชน
ดังนั้น การบริหารการพัฒนาระบบราชการยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้วตามด้วยการบริหารแบบ 5 G จึงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เพื่อการพลิกประเทศไปสู่ความทันสมัยมากขึ้น
การมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะสมาชิกของสังคม ไม่ว่าจะในบริบทของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจ การเมือง หรือวัฒนธรรม แสดงออกให้เห็นถึงพัฒนาการรับรู้การจัดการการควบคุมการใช้ และการกระจายทรัพยากร ที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคม ตามความจำเป็นอย่างสมศักดิ์ศรี การบริหารราชการแผ่นดินเป็นการกำหนดนโยบายและทิศทางว่าจะจัดการปกครองประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ จึงจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
5.2 ลักษณะของระบบราชการ4.0กับลักษณะสำคัญในยุค5Gมีอะไรบ้าง
ลักษณะที่สำคัญของระบบราชการยุค4.0 มีดังนี้
1.เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน
ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่อภิปรายาวสารของทางราชการ หรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ ตลอดจนเปิดเปิดกว้างให้กลไก หรือภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม
2.ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้าโดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือเอง
3.มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย
ต้องทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้ามีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่ม และประยุทธ์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาชีพ เข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่าและความยืดหยุ่น
ลักษณะสำคัญในยุค5G มีดังนี้
1.การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ควบคุมตรวจงานให้เป็นไปตามความถูกต้องครบถ้วนและละเอียดถี่ถ้วน อาทิ เช่น การจัดระเบียบโต๊ะทำงาน ทำกิจกรรม5ส ด้วยความสมัครใจ และกระตือรือร้น
2.การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของการปฏิบัติให้ทันสมัย
ในยุคห้าจีองค์กรภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเองไปสู่กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงาน เน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยี
3.การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม
โดยการเร่งพัฒนาและปรับกระบวน งานระบบบริหาร และบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมประชาชน ที่กำลังจะเปลี่ยนไปทั้งด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวกรวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน
4.ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง
เพราะบริบทการเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหา ของประชาชน ที่ซับซ้อน ตามไปด้วยทำให้องค์กรภาครัฐ ต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบในการให้บริการ
5.การสร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน
มีลักษณะการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ - การมีส่วนร่วม หมายถึง การที่กลุ่มประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
- ปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังนี้
1. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองดีแต่ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เป็นทางการหรือการใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพราะขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อพฤติกรรมของนักการเมืองและพรรคการเมืองที่สังกัดอยู่นอกจากนี้วิถีชีวิตในโลกเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทำให้คนกลุ่มนี้มีความเร่งรีบในการดำรงชีวิตแสวงหาความมั่งคั่ง ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่าขาด จิตที่เป็นสาธารณะจนทำให้ไม่สนใจการมีส่วนร่วมทางการเมือง
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจนขาดการศึกษา ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ทำให้ประชาชนมองไม่เห็นและไม่เข้าใจว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองจะมีความสำคัญการหาเลี้ยงชีพตนเองอย่างไรจึงปฏิเสธการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมื่อขาดปัจจัยจูงใจ
3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในเชิงสัญลักษณ์โดยปราศจากความตระหนักและความเข้าใจในคุณค่าของการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่นๆเช่น การไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งสูงมาก แต่ในความเป็นจริงมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันอย่างมาก พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองเช่นนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาการเมือง
รวมถึงการปฏิเสธการเมืองอีกด้วย
4. การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีระบบและมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากเกินไป ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเกิดการประท้วง กดดันรัฐบาลเพื่อให้ออกมาแก้ปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองลักษณะนี้ บางครั้งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศได้
5. ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งคือ การขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอยกระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ สถาบันทางการเมืองที่
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ 1) ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2) ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3) แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4)ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์
และการตัดสินใจในการทำงาน
5) ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนายและในลักษณะเครือข่าย
6) ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งใน
ระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7) เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้
8) ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ทำงานที่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลง
9) บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและ มุ่งเน้นผลงานที่ดี
10) ให้ความสำคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที
สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
5.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นหลักการสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญ และเป็นประเด็นหลักที่สังคมไทยให้ความสนใจเพื่อพัฒนาการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักการธรรมมาภิบาลที่ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของภาครัฐให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุก ๆ ฝ่าย
ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 จึงต่างให้ความสำคัญต่อการบริหารราชการอย่างโปร่งใส สุจริต เปิดเผยข้อมูล และการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ
5.2 ความเป็นผู้ประกอบการสาธารณะหรือผู้ประกอบการภาครัฐ (public entrepreneurship) นั้นไม่ใช่ความคิด แปลกใหม่ แต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 1 ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 ก็ได้ถูกนามาเสนอในหนังสือ “Reinventing Government: How the Entrepreneurial Spirit is Transforming the Public Sector” ของ David Osborne และ Ted Gaebler ซึ่งเป็นหนังสือขายดีติดอันดับและกลายเป็นคัมภีร์ทางด้านการ บริหารรัฐกิจ และในปัจจุบันก็กลับมาได้รับการหยิบยกข้ึนใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้ในการปฏิรูประบบราชการ และปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด (mindset) ของผู้นาภาครัฐให้เน้นในเรื่องของความเป็น ผู้ประกอบการและนวัตกรรม โดยอาศัยความได้เปรียบของเทคโนโลยีสมัยใหม่และการทางานในลักษณะแบบ เน้นผู้ใช้บริการ (user-centered) หรือให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (citizen-centric approach) เพื่อคิด สร้างสรรค์และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน (co-creation) รวมทั้งผลักดันสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อการ เปลี่ยนแปลงทางที่ดีขึ้น
เหตุผลความจาเป็นหรือสาเหตุสาคัญที่ทาให้เรื่องการสร้างนวัตกรรมภาครัฐและความเป็น ผู้ประกอบการภาครัฐ กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่งนั้นก็อาจจะมาจากหลายปัจจัย กล่าวคือ
1. บริบทของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นทาให้เกิดความท้าทายและจาเป็นต้องมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วทันการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การกาหนดนโยบาย การวางแผนงาน/โครงการ และการจัดบริการสาธารณะประเภทใหม 2. การปฏิวัติทางด้านดิจิตอลและเทคโนโลยีที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน(disruptive change) รวมถึงความก้าวหน้าของการสื่อสารสมัยใหม่ (social media) ต่างทาให้ภาครัฐต้องหันมา ปรับตัวและอาศัยเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นเพื่อตอบโจทย์และตอบสนองความคาดหวังของประชาชน ที่มีต่อการให้บริการของทางราชการที่จะต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่มีข้อจากัดทางด้านสถานที่และเวลา
3. ข้อจากดั เกี่ยวกับขีดความสามารถของภาครัฐเองในการจัดการกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการทางานข้ามกระทรวง กรม และภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างไปจาก โครงสร้างการทางานในแนวดิ่งตามสายการบังคับบัญชาแบบเดิม รวมทั้งการมีความคล่องแคล่ว ว่องไว (agility) และสามารถปรับตัว (adaptive) ในการทางานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม ในลักษณะของการร่วมกันคิดออกแบบ (co-designer) และการร่วมกันเป็นผู้ผลิตสินค้าและ บริการสาธารณะ (co-producer)
คาว่า ‘public entrepreneurship’ นั้นมักจะถูกมองว่าเป็นเพียงแค่การคิดคาที่มีลักษณะเป็น ปฏิพจน์ (oxymoron) หรือการผนวกเอาคาสองคาที่มีความหมายในเชิงตรงข้ามกันมารวมกันและทาให้เกิด เป็นคาในความหมายใหม่เพื่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกบางอย่างขึ้น แต่ก็คงไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะ ‘ความ เป็นผู้ประกอบการ’ นั้นเป็นเรื่องของการผลักดันให้พ้นไปจากกับดักหรือสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยการใช้ ประโยชน์จากโอกาสเพื่อสร้างคุณค่า (value creation) ส่วน ‘สาธารณะ’ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับส่วนรวม ใน ที่นี้ความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐจึงเป็นเรื่องของการสร้างคุณค่าให้แก่สาธารณะหรือส่วนรวม อันเป็น ทางเลือกใหม่ในการนาความเปลี่ยนแปลง (leading change) ให้เกิดขึ้นในการบริหารกิจการบ้านเมืองเพื่อ ประโยชน์สุขของประชาชน 2
โดยสรุป ความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐเป็นเรื่องของความพยายามในการปรับปรุงสภาพชีวิตความ เป็นอยู่และการรับใช้ประชาชนด้วยการคิดค้นหาหนทางหรือวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการ สร้างนวัตกรรมหรือใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่มีเท่านั้น แต่ยังเป็นเร่ืองของความสามารถในการคิดค้นและ สร้างบางส่ิงบางอย่างข้ึนมาจากส่ิงที่ไม่เคยมีอยู่มาก่อน โดยไม่ได้ติดอยู่ในกรอบกับดักของทรัพยากร (เงินทุน ทรัพยากรมนุษย์ และความสามารถพิเศษ) ที่มีอยู่อย่างจากัด หรือข้อจากัดอื่นใด (กฎระเบียบ และสภาพทาง กายภาพ)
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
= หมายถึงกระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือกและการตัดสินใจต่างๆเกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน การทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีส่วนร่วมทั้ง ความคิด อารมณ์ จิตใจ กิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่นร่วมกำหนดนโยบายร่วม วางแผนตัดสินใจและปฏิบัติตามแผนร่วม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประเมินผลการปฎิบัติตามนโยบายของภาครัฐในทุกระดับส่วน
ปัญหาของการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือปัญหาของกลุ่มคนฉันต่างปัญหาสัญลักษณ์ซึ่งปราศจากความเข้าใจในการมีส่วนร่วมที่แท้จริงปัญหาการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง ปัญหาด้านบทบาทของพรรคการเมืองและนักการเมือง
5.2 ลักษณะของระบบราชการ ยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
= ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 ทำงานอย่างเปิดเผยโปร่งใสและเอื้อให้ บุคคลภายนอกและประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนและสร้างคุณค่า แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานมีการเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จณจุดเดียว ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการมีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และการตัดสินใจในการทำงาน มีรูปแบบการทำงานที่คล่องตัวรองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ทันเวลามีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการณ์ เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้ ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเริ่มและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี ให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีศักยภาพสูงและได้รับพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่สร้างความผูกพันสร้างแรงจูงใจมีแผนเชิงรุกรับรองการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ลักษณะที่สำคัญของการบริหารระบบราชการ 5G มีการส่งเสริมของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ มีความรวดเร็วในการบริหารสาธารณะ มีจำนวนการให้บริการที่มีปริมาณที่มากขึ้นการตอบสนองต่อภาคประชาชนได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประชาชนครอบคลุมมากขึ้น สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ในระดับหนึ่งและสามารถสร้างจิตรสำนึกเพื่อร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับภาคประชาชนได้มากขึ้น
ส.ท.หญิง ณัฐพัชร์ เบาราญ
รหัสนักศึกษา 64423471345
1. การมีส่วนร่วม และ ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
- เป็นกระบวนการที่ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ทัศนะ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และ หาทางเลือกการตัดสินใจต่างๆที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
- ทั้งการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีส่วนร่วมทางความคิด อารมณ์ จิตใจ ยกตัวอย่างเช่น การร่วมกำหนดนโยบาย วางแผนตัดสินใจและปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบอำนาจของรัฐ การประเมินผลการปฎิบัติงานตามนโยบายของภาครัฐในทุกภาคส่วน
2. ลักษณะของระบบราชการยุค 4G
- เป็นการทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และ ประชาชน ได้เข้าถึงข้อมูลการทำงานแบบเชิงรุก แก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชน แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันและกันเป็นเอกภาพ ณ จุดเดียว
- มีรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบ มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การ และ ในระดับปฏิบัติการ
- ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเริ่ม และ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงาน ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง บุคลากรทุกระดับพร้อมเปลี่ยนแปลงสู่องค์การที่มีความทันสมัย และ มุ่งเน้นผลงานที่ดี ให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง และ ได้รับงานอย่างเหมาะสมสร้างความผูกพันสร้างแรงจูงใจที่มีแผนเชิงรุกด้านบุคลากร
3. ลักษณะของระบบราชการยุค 5G
- มีการส่งเสริมข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีการเปิดเผยข้อมูลต่างๆต่อสาธารณะ มีความรวดเร็วในการบริหารสาธารณะ จำนวนการให้บริการมีปริมาณที่มากขึ้นเพื่อรับต่อการตอบสนองของภาคประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
- มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างครอบคลุมมากขึ้น สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ในระดับหนึ่ง และสามารถสร้างจิตรสำนึกเพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคประชาชนมากขึ้น
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารของหน่วย
ราชการและข้าราชการให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศหรือการพัฒนาการบริหาร เป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกของการบริหารการพัฒนา (องค์ประกอบหลักประการหลังคือการบริหารเพื่อการพัฒนา)
เพราะการพัฒนาการบริหารเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการ
บริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดี การพัฒนาการบริหารแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเสริมแรง
กระบวนการทางการเมืองแบบมีตัวตน นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองจะเป็ นผู้คอยกระตุ้นให้มี
การพัฒนาการบริหาร
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความส าคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ
ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ
สังคมโดยจะน าสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน
ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1
กล่าวว่า โดยที่ระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักที่มีความส าคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด
ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง
ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบที่
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติ และมี
ลักษณะเป็นการรวมพลัง บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1.
ความหมายของการบริหาร 2. ความส าคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการ
ของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารของหน่วย
ราชการและข้าราชการให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศหรือการพัฒนาการบริหาร เป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกของการบริหารการพัฒนา (องค์ประกอบหลักประการหลังคือการบริหารเพื่อการพัฒนา)
เพราะการพัฒนาการบริหารเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการ
บริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดี การพัฒนาการบริหารแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเสริมแรง
กระบวนการทางการเมืองแบบมีตัวตน นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองจะเป็ นผู้คอยกระตุ้นให้มี
การพัฒนาการบริหาร
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความส าคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ
ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ
สังคมโดยจะน าสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน
ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1
กล่าวว่า โดยที่ระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักที่มีความส าคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด
ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง
ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบที่
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติ และมี
ลักษณะเป็นการรวมพลัง บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1.
ความหมายของการบริหาร 2. ความส าคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการ
ของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารของหน่วย
ราชการและข้าราชการให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศหรือการพัฒนาการบริหาร เป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกของการบริหารการพัฒนา (องค์ประกอบหลักประการหลังคือการบริหารเพื่อการพัฒนา)
เพราะการพัฒนาการบริหารเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการ
บริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดี การพัฒนาการบริหารแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเสริมแรง
กระบวนการทางการเมืองแบบมีตัวตน นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองจะเป็ นผู้คอยกระตุ้นให้มี
การพัฒนาการบริหาร
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความส าคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ
ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ
สังคมโดยจะน าสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน
ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1
กล่าวว่า โดยที่ระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักที่มีความส าคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด
ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง
ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบที่
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติ และมี
ลักษณะเป็นการรวมพลัง บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1.
ความหมายของการบริหาร 2. ความส าคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการ
ของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นหลักการสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญ และเป็นประเด็นหลักที่สังคมไทยให้ความสนใจเพื่อพัฒนาการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักการธรรมมาภิบาลที่ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของภาครัฐให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุก ๆ ฝ่าย
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของภาคราชการที่มาจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่น จะช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชนได้รับทราบความต้องการและปัญหาที่แท้จริง ลดความขัดแย้งและต่อต้าน ทั้งยังเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในประเด็นสาธารณะ ซึ่งเป็นบทบาทที่หน่วยงานภาคราชการจะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้น
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับนโยบายสาธารณะในความหมายกว้างซึ่งมักจะคาบ
เกี่ยวกับกับการพัฒนานั้นก็คือ การให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายการตัดสินใจ กำหนดปัญหาความ
ต้องการของตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเสริมพลังอำนาจ ให้แก่ประชาชน/กลุ่ม/องค์กรชุมชนให้
สามารถระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และควบคุมดูแลกิจกรรมต่าง
ๆ ใน ชุมชนมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ สามารถกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองให้มีชีวิตมีความ
เป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามความจำเป็นอย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพัฒนาศักยภาพของประชาชน/ชุมชนใน
ด้านภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการจัดการและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ได้ และประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างมีอิสระ การทำงานต้องเน้นในรูปกลุ่ม
หรือองค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมอย่างชัดเจน
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ ระบบราชการจะต้องทำางานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำางานใหม่ เพื่อพลิกโฉมให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจและเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
1. เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) คือ การทำางานต้องเปิดเผยและโปร่งใส เปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วม โอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำาเนินการเองไปให้ภาคส่วนอื่น ดำาเนินการแทน จัดโครงสร้างการทำางานเป็นแนวระนาบ มากกว่าสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง และเชื่อมโยงการทำางาน ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน
2. ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) ทำางานโดยมองไปข้างหน้า (คิดเสมอว่าประชาชน จะได้อะไร) มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ให้บริการเชิงรุก ไม่ต้องรอให้ประชาชนมาขอความช่วยเหลือ จัดบริการ สาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน
3. มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) การทำางานต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อเตรียมการ ล่วงหน้า นำาองค์ความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชามาสร้างนวัตกรรมหรือประยุกต์เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา ปรับตัวให้เป็นสำานักงานที่ทันสมัย มีขีดสมรรถนะสูง และทำาให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติงาน
การมีส่วนร่วม(Participation) ตามพจนานุกรมได้ให้คานิยามไว้ว่า“เป็น การมีส่วน(ร่วมกับคนอื่น)ในการกระทาบางอย่างหรือบางเรื่อง” คาว่าการมีส่วน ร่วม โดยมากมักจะใช้ในความหมายตรงข้ามกับคาว่า “การเมินเฉย (Apathy)” ฉะน้ัน คาว่าการมีส่วนร่วมตามความหมายข้างต้น จึงหมายถึง การที่บุคคลกระทาการในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึง ความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จาเป็นท่ีบุคคลน้ันจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ห่วงใย ก็ เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้ และยังได้ให้คาจากัดความของการมี ส่วนร่วมของประชาชนว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่ม ประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทาการออกมาในลักษณะของการ ทางานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการ ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง
5.2 ความพร้อมของระบบราชการในปัจจุบันน่าเป็นห่วงอย่างมากถึงแม้ประเทศจะเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้ว ก็ตามหรือยุคการบริหารแบบ 5G ท่ีมีปัจจัยที่ขับเคล่ือนให้เกิดเทคโนโลยีสาคัญอย่างมากซึ่งมาจากการผลักดันทาง การเมือง เศรษฐกิจของโลกภายใต้การแข่งขันอย่างเท่าเทียม ประเทศใดท่ีมีเทคโนโลยีดังกล่าวจะทาให้มีความ ได้เปรียบเทียบในทุกช่องทางเพราะสามารถมีเทคโนโลยีมีความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลจานวนภายในไม่ก่ีวินาที หรือความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า
1. การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบท่ีไม่ส่งกระทบต่อประชาชน (Studious) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะ ปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดจนลดข้อบกพร่องท่ีอาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตาม แผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน มีละเอียดถ่ีถ้วนในการปฏิบัติตามข้ันตอนการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบท่ีวางไว้ อัน เป็นการแสดงอุปนิสัยรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในงานและในสภาวะแวดล้อมรอบตัว
2. การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย (Underlie) ในยุค 5G องค์กร ภาครัฐจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเองไปสู่กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ท่ีสามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น (พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณและณัฏยาณี บุญทองคา, 2563 : 287) มีการนาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน เน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างของ องค์การในด้านระบบการติดต่อสื่อสารวัฒนธรรมองค์การภายในท่ีมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และการปรับกระบวนการ บริหารให้เป็นลักษณะการบริหารแบบยืดหยุ่น
3. การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม (Precipitate) โดยการเร่งพัฒนาและปรับ กระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนท่ี กาลังจะเปลี่ยนไป ท้ังด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐาน ทันสมัยและเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด สามารถปรับตัวได้เร็วและ ระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง ส่วนกาลังคนภาครัฐมีขนาดท่ีเหมาะสมและมีสมรรถนะสูงพร้อมขับเคล่ือนยุทธศาสตร์ชาติ
4. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง (Expeditious) เพราะบริบท การเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี ท่ีส่งผลต่อการเกิดปัญหาของประชาชนที่ซับซ้อนตามไปด้วยทาให้องค์กรภาคตรัฐท่ีม่ีหน้าท่ีในการดูแล แก้ไขปัญหาประชาชนจาต้องเท่าเทียมและเตรยี มความพร้อมในการพัฒนาระบบการให้บรกิ ารโดยนาเทคโนโลยีมาใช้ สนับสนุนเพ่ือให้บริการประชาชน โดยมีเป้าหมายสาคัญ คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส
5. การสร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน(Responsible) ซึ่งมี ลักษณะการยอมรับท้ังผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทาลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ซ่ึงความ รับผิดชอบดังกล่าวอาจดูได้จากการองค์กรภาครัฐใดที่มี Productivity สูงๆ และมีความรับผิดชอบในการทางานได้ อย่างดีไม่ถูกดึงดูดออกไปจากงานได้ง่ายๆ
modlue 3
5.1. การมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วม (Participation) ตามพจนานุกรม ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “เป็น การมีส่วน (ร่วมกับคนอื่น) ในการกระท าบางอย่างหรือบางเรื่อง” คำว่า การมีส่วน ร่วม โดยมากมักจะใช้ในความหมายตรงข้ามกับคำว่า “การเมินเฉย (Apathy)” ฉะนั้น คำว่าการมีส่วนร่วมตามความหมายข้างต้น จึงหมายถึง การที่บุคคลกระทำการในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึง ความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ห่วงใย ก็ เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้ และยังได้ให้คำจำกัดความของการมี ส่วนร่วมของประชาชนว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่ม ประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการ ทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการ ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง หรือการดำเนินการ
5.2การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในยุคปัจจุบันต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีดิจิทัลที่ ก าลังเปลี่ยนโลกในเวลานี้ท าให้หน่วยงานภาคราชการต้องเร่งปรับตัวรองรับประกอบกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของ รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องการพลิกโฉมประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ไทยแลนด์ 4.0” ก้าวข้ามกับดักรายได้ปาน กลาง สู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยน านวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ระบบราชการไทยจึงจ าเป็นต้อง พัฒนาเพื่อยกระดับวิธีคิด การท างานเพื่อก้าวสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ด้วยการจัดระบบระเบียบการให้บริการ ประชาชนให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนและปฏิรูปการ ท างานให้สอดรับกับนโยบาย และ วิสัยทัศน์ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนา องค์การไปสู่ “ระบบราชการ 4.0” ตามนโยบายของ รัฐบาล โดยมีคุณลักษณะส าคัญ 10 ประการ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563 : 1) ประกอบด้วย 1) ท างานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ 2) ท างานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า 3) แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการท างานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4)ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการท างาน 5) ปรับรูปแบบการท างานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย 6) ท างานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งใน ระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ 7) เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปด าเนินการแทนได้ 8) ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ท างานที่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง 9) บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและ มุ่งเน้นผลงานที่ดี 10) ให้ความสำคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
5.1จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมเเละปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการกระทาที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารงานของรัฐ หรือการเลือกผู้นำรัฐบาลและการกระทำนั้นต้องเป็นการ กระทำด้วยความสมัครใจซึ่งอาจเป็นไปในทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้” และเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ เป็นไปโดยสมัครใจซึ่งสมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการเลือกผู้ปกครองประเทศ การกำหนดนโยบายสาธารณะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งการติดตามข่าวสาร การอภิปราย การ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเข้าร่วมประชุม การบริจาคเงินและการติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ลักษณะความกระตือรือร้นของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอาจพิจารณาได้จากการสมัคร เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ การเขียนและกล่าวสุนทรพจน์การรณรงค์หาเสียงการ แข่งขันเป็นเจ้าหน้าที่พรรคหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ไม่รวมถึงกิจกรรมที่ไม่สมัครใจ เช่น การเสียภาษี การเป็นทหารและหน้าที่ด้านตุลาการ
ปัญหาของการมีส่วนร่วม
อุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนพัฒนา สามปี เกิดจากขาดการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนในการทำประชาคมเพื่อเสนอปัญหา ความต้องการและร่วมเคราะห์ภาพชุมชน รวมทั้งยังไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผน โดยเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าประชุมประชาคม หมู่บ้านเพื่อจัดทำแผนชุมชนและแผนพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านปง ไม่เกินสิบเปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมดในหมู่บ้าน จึ่งทำให้ ผลการดำ เนินงานของเทศบาลไม่บรรลุตามเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ท่ีได้กำหนดไว้ รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหา ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะ บุคลากรคนหนึ่งในเทศบาลตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จึงมี ความสนใจท่ีจะศึกษาถึงสภาพการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล และศึกษาหาปัญหาและอุปสรรคของการมี ส่วนร่วม พร้อมทั้งหาแนวทางการพัฒนาการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ตำบล ระยะ 3 ปี ของเทศบาลตำบลบ้านปง เพื่อนำผลการศึกษาท่ีได้ใช้เป็นแนวทางการพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านปง เพราะการมีส่วนร่วมใน กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบลมีความ สำคัญต่อการแก้ปัญหาท่ีเกิดข้ึนในชุมชนและ เป็นกำหนดทิศทางการรองรับส่ิงท่ีจะเกิดขึ้น ในอนาคต การท่ีคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมใน การจัดทำแผนจะเกิดความภาคภูมิใจรู้สึกเป็น ส่วนหน่ึงของชุมชน ความรู้หวงแหนจะเกิดข้ึน เมื่อเกิดปัญหาใดขึ้นมาก็จะให้ความร่วมมือ กระตือรือร้นท่แก้ปัญหาร่วมกัน
5.2ระบบราชการยุค4.0เเละลักษณะสำคัญยุค5G มีอะไรบ้าง
1. การสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (Collaboration) อันเป็นการยกระดับ การทำงานให้สูงขึ้นไปกว่าการประสานงานกัน (coordination) หรือทำงานด้วยกัน (cooperation) ไปสู่การร่วมมือกัน (collaboration) อย่างแท้จริง โดยจัดระบบให้มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน มีการระดมและนำเอาทรัพยากรทุกชนิดเข้ามาแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับความเสี่ยงและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อพัฒนาประเทศหรือแก้ปัญหาความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนไม่มีภาคส่วนใดในสังคมจะสามารถดำเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเองโดยลำพังอีกต่อไป หรือเป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองในรูปแบบ "ประชารัฐ"
2. การสร้างนวัตกรรม (Innovation) อันเป็นการคิดค้นและแสวงหาวิธีการหรือ solutions ใหม่ ๆ อันจะเกิด big impact เพื่อปรับปรุงและออกแบบการให้บริการสาธารณะและนโยบายสาธารณะ ให้สามารถตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศหรือตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ อันแปรผันไปตามสภาพพลวัตของการเปลี่ยนแปลง
3. การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization/Digitalization) อันเป็นการผสมผสานกันของการจัดเก็บและประมวลข้อมูลผ่าน cloud computing อุปกรณ์ประเภท smart phone และ collaboration tool ทำให้สามารถติดต่อกันได้อย่าง real time ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอันสลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน เกิดผลกระทบอย่างสูงและมีความคาดหวังต่อการให้บริการของทางราชการที่จะต้องดำเนินการในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และช่องทางได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและประหยัด
5.1จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมเเละปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการกระทาที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารงานของรัฐ หรือการเลือกผู้นำรัฐบาลและการกระทำนั้นต้องเป็นการ กระทำด้วยความสมัครใจซึ่งอาจเป็นไปในทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้” และเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ เป็นไปโดยสมัครใจซึ่งสมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการเลือกผู้ปกครองประเทศ การกำหนดนโยบายสาธารณะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งการติดตามข่าวสาร การอภิปราย การ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเข้าร่วมประชุม การบริจาคเงินและการติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ลักษณะความกระตือรือร้นของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอาจพิจารณาได้จากการสมัคร เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ การเขียนและกล่าวสุนทรพจน์การรณรงค์หาเสียงการ แข่งขันเป็นเจ้าหน้าที่พรรคหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ไม่รวมถึงกิจกรรมที่ไม่สมัครใจ เช่น การเสียภาษี การเป็นทหารและหน้าที่ด้านตุลาการ
ปัญหาของการมีส่วนร่วม
อุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนพัฒนา สามปี เกิดจากขาดการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนในการทำประชาคมเพื่อเสนอปัญหา ความต้องการและร่วมเคราะห์ภาพชุมชน รวมทั้งยังไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผน โดยเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าประชุมประชาคม หมู่บ้านเพื่อจัดทำแผนชุมชนและแผนพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านปง ไม่เกินสิบเปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมดในหมู่บ้าน จึ่งทำให้ ผลการดำ เนินงานของเทศบาลไม่บรรลุตามเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ท่ีได้กำหนดไว้ รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหา ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะ บุคลากรคนหนึ่งในเทศบาลตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จึงมี ความสนใจท่ีจะศึกษาถึงสภาพการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล และศึกษาหาปัญหาและอุปสรรคของการมี ส่วนร่วม พร้อมทั้งหาแนวทางการพัฒนาการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ตำบล ระยะ 3 ปี ของเทศบาลตำบลบ้านปง เพื่อนำผลการศึกษาท่ีได้ใช้เป็นแนวทางการพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านปง เพราะการมีส่วนร่วมใน กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบลมีความ สำคัญต่อการแก้ปัญหาท่ีเกิดข้ึนในชุมชนและ เป็นกำหนดทิศทางการรองรับส่ิงท่ีจะเกิดขึ้น ในอนาคต การท่ีคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมใน การจัดทำแผนจะเกิดความภาคภูมิใจรู้สึกเป็น ส่วนหน่ึงของชุมชน ความรู้หวงแหนจะเกิดข้ึน เมื่อเกิดปัญหาใดขึ้นมาก็จะให้ความร่วมมือ กระตือรือร้นท่แก้ปัญหาร่วมกัน
5.2ระบบราชการยุค4.0เเละลักษณะสำคัญยุค5G มีอะไรบ้าง
1. การสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (Collaboration) อันเป็นการยกระดับ การทำงานให้สูงขึ้นไปกว่าการประสานงานกัน (coordination) หรือทำงานด้วยกัน (cooperation) ไปสู่การร่วมมือกัน (collaboration) อย่างแท้จริง โดยจัดระบบให้มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน มีการระดมและนำเอาทรัพยากรทุกชนิดเข้ามาแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับความเสี่ยงและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อพัฒนาประเทศหรือแก้ปัญหาความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนไม่มีภาคส่วนใดในสังคมจะสามารถดำเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเองโดยลำพังอีกต่อไป หรือเป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองในรูปแบบ "ประชารัฐ"
2. การสร้างนวัตกรรม (Innovation) อันเป็นการคิดค้นและแสวงหาวิธีการหรือ solutions ใหม่ ๆ อันจะเกิด big impact เพื่อปรับปรุงและออกแบบการให้บริการสาธารณะและนโยบายสาธารณะ ให้สามารถตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศหรือตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ อันแปรผันไปตามสภาพพลวัตของการเปลี่ยนแปลง
3. การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization/Digitalization) อันเป็นการผสมผสานกันของการจัดเก็บและประมวลข้อมูลผ่าน cloud computing อุปกรณ์ประเภท smart phone และ collaboration tool ทำให้สามารถติดต่อกันได้อย่าง real time ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอันสลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน เกิดผลกระทบอย่างสูงและมีความคาดหวังต่อการให้บริการของทางราชการที่จะต้องดำเนินการในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และช่องทางได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและประหยัด
5.1จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมเเละปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการกระทาที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารงานของรัฐ หรือการเลือกผู้นำรัฐบาลและการกระทำนั้นต้องเป็นการ กระทำด้วยความสมัครใจซึ่งอาจเป็นไปในทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้” และเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ เป็นไปโดยสมัครใจซึ่งสมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อม ในการเลือกผู้ปกครองประเทศ การกำหนดนโยบายสาธารณะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งการติดตามข่าวสาร การอภิปราย การ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเข้าร่วมประชุม การบริจาคเงินและการติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ลักษณะความกระตือรือร้นของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอาจพิจารณาได้จากการสมัคร เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ การเขียนและกล่าวสุนทรพจน์การรณรงค์หาเสียงการ แข่งขันเป็นเจ้าหน้าที่พรรคหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ไม่รวมถึงกิจกรรมที่ไม่สมัครใจ เช่น การเสียภาษี การเป็นทหารและหน้าที่ด้านตุลาการ
ปัญหาของการมีส่วนร่วม
อุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนพัฒนา สามปี เกิดจากขาดการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนในการทำประชาคมเพื่อเสนอปัญหา ความต้องการและร่วมเคราะห์ภาพชุมชน รวมทั้งยังไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผน โดยเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าประชุมประชาคม หมู่บ้านเพื่อจัดทำแผนชุมชนและแผนพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านปง ไม่เกินสิบเปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมดในหมู่บ้าน จึ่งทำให้ ผลการดำ เนินงานของเทศบาลไม่บรรลุตามเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ท่ีได้กำหนดไว้ รวมทั้งไม่สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหา ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะ บุคลากรคนหนึ่งในเทศบาลตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จึงมี ความสนใจท่ีจะศึกษาถึงสภาพการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล และศึกษาหาปัญหาและอุปสรรคของการมี ส่วนร่วม พร้อมทั้งหาแนวทางการพัฒนาการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ตำบล ระยะ 3 ปี ของเทศบาลตำบลบ้านปง เพื่อนำผลการศึกษาท่ีได้ใช้เป็นแนวทางการพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านปง เพราะการมีส่วนร่วมใน กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบลมีความ สำคัญต่อการแก้ปัญหาท่ีเกิดข้ึนในชุมชนและ เป็นกำหนดทิศทางการรองรับส่ิงท่ีจะเกิดขึ้น ในอนาคต การท่ีคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมใน การจัดทำแผนจะเกิดความภาคภูมิใจรู้สึกเป็น ส่วนหน่ึงของชุมชน ความรู้หวงแหนจะเกิดข้ึน เมื่อเกิดปัญหาใดขึ้นมาก็จะให้ความร่วมมือ กระตือรือร้นท่แก้ปัญหาร่วมกัน
5.2ระบบราชการยุค4.0เเละลักษณะสำคัญยุค5G มีอะไรบ้าง
1. การสานพลังระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม (Collaboration) อันเป็นการยกระดับ การทำงานให้สูงขึ้นไปกว่าการประสานงานกัน (coordination) หรือทำงานด้วยกัน (cooperation) ไปสู่การร่วมมือกัน (collaboration) อย่างแท้จริง โดยจัดระบบให้มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน มีการระดมและนำเอาทรัพยากรทุกชนิดเข้ามาแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับความเสี่ยงและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อพัฒนาประเทศหรือแก้ปัญหาความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนไม่มีภาคส่วนใดในสังคมจะสามารถดำเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเองโดยลำพังอีกต่อไป หรือเป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองในรูปแบบ "ประชารัฐ"
2. การสร้างนวัตกรรม (Innovation) อันเป็นการคิดค้นและแสวงหาวิธีการหรือ solutions ใหม่ ๆ อันจะเกิด big impact เพื่อปรับปรุงและออกแบบการให้บริการสาธารณะและนโยบายสาธารณะ ให้สามารถตอบโจทย์ความท้าทายของประเทศหรือตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ อันแปรผันไปตามสภาพพลวัตของการเปลี่ยนแปลง
3. การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitization/Digitalization) อันเป็นการผสมผสานกันของการจัดเก็บและประมวลข้อมูลผ่าน cloud computing อุปกรณ์ประเภท smart phone และ collaboration tool ทำให้สามารถติดต่อกันได้อย่าง real time ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอันสลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน เกิดผลกระทบอย่างสูงและมีความคาดหวังต่อการให้บริการของทางราชการที่จะต้องดำเนินการในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และช่องทางได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและประหยัด
5.1จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ ไม่ใช่เป็นแบบปลุกระดม สำหรับการมีส่วนร่วมแบบเสรีหรือแบบสมัครใจนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองหรือความตื่นตัวทางการเมืองเสียก่อน
คนไทยยังมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำ เช่น การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีอัตราส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงผู้ที่ไปออกเสียงก็มักจะถูกจ้างวาน ชักจูงหรือถูกระดมไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยจากอดีตเป็นต้นมา ส่วนใหญ่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ทั้งในด้านการสนับสนุนหรือการต่อต้าน แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความนิ่งเฉยทางการเมือง ส่วนมากอยู่ในกลุ่มของผู้นำทางการเมืองไม่กี่กลุ่มกี่ตระกูล แม้แต่การปฏิวัติเมื่อ พ.ศ.2475 ก็ตามเหตุการณ์ที่แสดงถึงความตื่นตัวทางการเมืองและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีประชาชน นิสิต นักศึกษา นักเรียน ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อต้านการปกครองของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียรและพันเอกณรงค์ กิตติขจร ผู้นำของประเทศขณะนั้น ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนคือบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)กล่าวได้ว่า พคท. มีบทบาทอย่างมาก ในการปลุกเร้าความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในชนบท แต่เป็นประเภทผิดกฎหมาย คือ การล้มล้างรัฐบาล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยการใช้กำลังและความรุนแรงดังนั้นปัญหาสำคัญของการมีส่วนร่วมของไทยอย่างหนึ่ง
คือ ประชาชนยังมีความนิ่งเฉย หรือไม่ตื่นตัวทางการเมืองมากพอ
5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
1. (Open & Connected Government) ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม และโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองออกไปให้แก่ภาคส่วนอื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทน โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างให้สอดรับกับการทำงานในแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่าย มากกว่าตามสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง ขณะเดียวกันก็ยังต้องเชื่อมโยงการทำงานภายในภาครัฐด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกันไม่ว่าจะเป็นราชการบริหาร ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2. (Citizen-Centric Government) ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไข ปัญหาความต้องการและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ (Proactive Public Services) รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลของทางราชการ (Big Government Data) และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการจัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน (Personalized หรือ Tailored Services) พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกโดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทางราชการเพื่อให้บริการต่างๆ สามารถเสร็จสิ้นในจุดเดียวประชาชนสามารถเรียกใช้บริการของทางราชการได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตนและผ่านการติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน ไม่ว่าจะติดต่อมาด้วยตนเอง อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ
3. (Smart & High Performance Government) ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่น และความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา ตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็นสำนักงานสมัยใหม่ รวมทั้งทำให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน
ฉะนั้น ความสำเร็จของการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0