การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 393 ภาคพิเศษ Module 2 วันที่ เสาร์ที่ 27 อาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565

  1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา 

                2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา 
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module นี้  ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า   Post a Comment นักศึกษาคลิกที่นี่ จะปรากฏ กล่อง สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย  

                3.  นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาการบริหารการพัฒนา นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์  ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้  

        4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ 

              4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา

              4.2 เอกสารประกอบการศึกษา

                    ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่ 

                  https://supwat.wixsite.com/-education/สำเนาของ-การบร-หารการพ-ฒนา-module-2-1


     5. Assignment

       5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร 

     5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง

         



    6. นักศึกษาต้องอภิปรายกลุ่ม ในฟอรั่มแสดงความเห็น

      6.1 การอภิปรายแสดงความคิดเห็นในทุก คือ Module 1ม Module 2, และ Module 3

      6.2 นอกจากการประเมินเนื้อหาแล้ว ระบบจะดำเนินการวิเคราะห์ความถี่ในการอภิปรายแสดงความเห็นของนักศึกษาด้วย   

     อภิปรายกลุ่มและแสดงความเห็นที่นี่

 https://supwat.wixsite.com/-education/forum/general-discussions/aesdngkhwaamehnaelakicchkrrmklum-393-phaakhphiess


Comments

Unknown said…
นายสัจจพัฒน์ ชื่นศิริ.รหัส64423471025
(5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร)
2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนา ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจาก กิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็น ระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับ การยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ.1930 – 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกตำทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัย ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีการริเริ่มโครงการพัฒนาต่างๆ การออกกฎหมายเกี่ยวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การ ให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชน จนประสบความสำเร็จ นับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ.
(5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง)
การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้กําหนดทิศทางและ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสม โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกัน
ปัจจัยเสี่ยงและเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆให้เข้มแข็งควบคู่ไป
กับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม
รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์
บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การ
พัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน โดยสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญ
ในระยะแผนพัฒนา.
นายกฤษดา ศรีเพ็ชร 64423471013
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
Ans การบริหารการพัฒนาราชการไทย การบริหารเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่นำมาซึ่ง ความสำเร็จโดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการหรือวิธีการต่างในสมัย เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง โลกไร้พรมแดนที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ การติดต่อสื่อสารไปมาได้เร็ว ความต้องการคุณภาพของสินค้า และบริการของลูกค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ อย่างมากทั้งภาคธุรกิจและระบบราชการ ซึ่งเรียกว่าการบริหาร โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งสัมฤทธิ์ผลเป็นเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการบริหารงานให้เปลี่ยนไปจากเดิมให้ความสำคัญต่อ ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (input) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยหันมาเน้นถึงวัตถุประสงค์ และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานทั้งในแง่ของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) และ ความคุ้มค่าของเงิน (Value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ ลูกค้าและผู้บริการ
5.2แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
Ans ระบบบริหารราชการไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเมืองการปกครองและพฤติกรรมการบริหารราชการมาหลายยุคหลายสมัย แต่ละยุคสมัยก็มีลักษณะการบริหารราชการที่แตกต่างกัน มีสภาพปัญหาเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาก็มีลักษณะต่างกัน สภาพปัญหาดังกล่าว ยังรวมถึงความคาดหวังต่อการให้บริการประชาชนที่มากขึ้นด้วย ทำให้ระบบราชการไทยต้องมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งในปัจจุบันกระแสแห่งการจัดการภาครัฐสมัยใหม่ได้ส่งผลให้การบริหารงานภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประเทศไทยก็ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการไทยให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ
นายกฤษณะ ศรีเพ็ชร 64423471014
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุค
ต่างๆเเละรูปแปปของพัฒนาการของการบริหาร
Ans
การบริหารการพฒันาเน้นการพัฒนาการบริหารมีองค์ประกอบอยู่2องค์ประกอบคือ 1.DofAคือการพัฒนาการบริหารเป็นการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิบัติรูปการโครงสร้างกระบวนการและพฤตกิรรมการบริหารให้มีเพิ่มสมรรถนะการบริหารให้เข้มแข็ง
เพื่อที่จะรองรับนโยบายกับ 2.AofDคือการบริหารเพื่อการพัฒนาเป็นการเพิ่มสมรรถนะการบริหารให้เข้มแข็ง
ความสามารถท่ีมีอยู่ในระบบการบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบายเพื่อรองรับภารกิจของการ บริหารการพัฒนาที่วางแผนไว้
การพัฒนาการบริหาร D of A
การเพิ่มนูสมรรถนะหรือความสามารถของระบบการบริหารงานภายในคือโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของ สังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
เนื้อหาของการพัฒนาการบริหาร ครอบคลุมถึงโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอย่างรอบคลุมถึงสภาพแวดล้อมก็คือบรรยากาศการ บริหารและคุณภาพชีวิตในการทำงาน
แนวทางการพิจารณา
แยกพิจารณาได้เป็น 2 ด้าน คือ
1.ด้านมหภาคเน้นเป็นการพัฒนาการบริหารด้านฝ่ายบริหารกับฝ่ายการเมือง
2.ด้านจลุภาคแนวทางการพัฒนาการบริหารจะครอบคลุมถึงโครงสร้างกระบวนการและ พฤติกรรมการบริหาร
5.2เเนวทางการพัฒนาการของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับบจุลภาคมีอะไรบ้าง
Ansโดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีลักษณะของระบบราชการที่แตกต่างกันไปและปัญหาของระบบราชการก็จะต่างกันไปด้วย
จะเห็นได้ว่า การบริหารราชการไทยได้มีการพัฒนาการบริหารมาอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาการบริหารที่ผ่านมามักจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการจัดแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังเป็นสำคัญ ส่วนการปรับบทบาท ภารกิจ วิธีการบริหารราชการ กฎหมาย งบประมาณ และวัฒนธรรมการบริหารเพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลังๆ โดยเฉพาะตั้งแต่มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการและแผนปฏิรูปการบริหารภาครัฐเป็นต้นมา
ระบบบริหารราชการไทยจึงมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีบทบาทภารกิจตามกฎหมาย มีองค์การ โครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีระบบงานที่มีภารกิจในด้านต่าง ๆ มีบุคลากรของรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน นอกจากนี้ภายใต้กฎระเบียบต่างๆ อาจทำให้เป็นอุปสรรคของการทำงานในด้านต่างๆ
ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการและพฤตกิรรมทางการบริหาร
1.แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้จะเป็นต้องสร้างหรือพัฒนาหน่วยงานสร้างชาติเพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่นการพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอตุสาหกรรม การดูเเลรัฐวิสาหกิจ การยกระดับผลผลิตทางการเกษตรการรพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การปรับปรุงโครงสร้างการขนส่งและการ สื่อสารและการปฏิรูประบบการศึกษา
Unknown said…
นาย พลวัต ดำรัตนมณี 65423471176

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารของหน่วย
ราชการและข้าราชการให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศหรือการพัฒนาการบริหาร เป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกของการบริหารการพัฒนา (องค์ประกอบหลักประการหลังคือการบริหารเพื่อการพัฒนา)
เพราะการพัฒนาการบริหารเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการ
บริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดี การพัฒนาการบริหารแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเสริมแรง
กระบวนการทางการเมืองแบบมีตัวตน นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองจะเป็ นผู้คอยกระตุ้นให้มี
การพัฒนาการบริหาร

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความส าคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ
ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ
สังคมโดยจะน าสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน
ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1
กล่าวว่า โดยที่ระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักที่มีความส าคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด
ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง
ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบที่
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติ และมี
ลักษณะเป็นการรวมพลัง บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1.
ความหมายของการบริหาร 2. ความส าคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการ
ของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ด
Anonymous said…
น.ส.สิริวิมล คงเกษม 65423471136ารจัดเตรียมสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารของหน่วย
ราชการและข้าราชการให้เอื ้อต่อการพัฒนาประเทศหรือการพัฒนาการบริหารเป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกของการบริหารการพัฒนา (องค์ประกอบหลักประการหลังคือการบริหารเพื่อการพัฒนา)
เพราะ การพัฒนาการบริหารเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการ
บริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดี การพัฒนาการบริหารแทบจะเป็ นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเสริมแรง
กระบวนการทางการเมืองแบบมีตัวตน นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองจะเป็นผู้คอยกระตุ้นให้มี
การพัฒนาการบริหาร

ความหมายการพัฒนาการบริหาร
การพัฒนาการบริหารนั้นผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative
development or development of administration, administrative modernization, administrative
reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization
improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดีคำเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น
ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้นนื้อหาของการพัฒนาการบริหาร
การพัฒนาแนวทางการพัฒนาการบริหาร
แนวทางการพัฒนาการบริหารแยกพิจารณาได้เป็นสองด้านคือ ด้านมหภาค และจุลภาค

ขั้นตอนของการพัฒนาทางด้านบริหาร
ด้วยเหตุที่ระบบบริหารเป็ นระบบย่อยของสังคม ผลผลิตของระบบบริหาร ซึ่งอาจเป็ นสินค้าบริการ
และระเบียบกฎเกณฑ์หรือกฎหมายก็ตาม ย่อมใช้เป็ นทรัพยากรป้ อนระบบ (inputs) ของระบบสังคมได้
เช่น การสร้างถนนการรักษาความสงบเรียบร้อย และการป้ องกันประเทศ ซึ่งเป็ นผลผลิตของระบบบริหาร
อันเป็ นทรัพยากรป้ องระบบของระบบสังคมได้อย่างดีเพื่อให้สังคมคงอยู่ และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

5.2.
การปฏิรูประบบราชการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบราชการตั้งแต่บทบาทหน้าที่ภาครัฐ โครงสร้างอำนาจในระดับต่างๆ รูปแบบองค์กร ระบบบริหารและวิธีการทำงาน ระบบบริหารงานบุคคล กฎหมาย กฎ ระเบียบ วัฒนธรรมและค่านิยม เพื่อให้ระบบราชการมีสมรรถนะสูง เป็นกลไกการบริหารจัดการประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้


-สมัย ร.5 มีการปรับปรุงทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น จัดตั้งกระทรวงและกรมต่างๆ ให้มีบทบาทเฉพาะด้านเพื่อพัฒนาประเทศ ให้บริการสาธารณะต่างๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และเพื่อความอยู่รอดจาการล่าอาณานิคม

-สมัย ร.7 เน้นระบบคุณธรรม และสร้างอาชีพราชการเป็นอาชีพของคนไทย รองรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย และแก้ปัญหาวิกฤตข้าราชการพลเรือน

- รัฐบาลปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูปการเมือง การศึกษา และการปฏิรูประบบราชการ ดังนี้

�มาตรา 70 บุคคลที่เป็นราชการ ฯลฯ มีหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชน

- พ.ศ.2540 รัฐบาลได้จัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2540-2544 เพื่อเป็นกรอบทิศทางการปฏิรูประบบ และได้ออกมาตรการปรับภาคราชการในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ

-พ.ศ.2541 รัฐบาลได้ออมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐให้เป็นไปอย่างประหยัด

-พ.ศ.2542 รัฐบาลได้แปลงแผนแม่บทการปฏิรูประบบ เป็นแผนการปฏิบัติการ คือ แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ มี 5 แผนสำคัญ

-พ.ศ.2545 เป็นจุดเริ่มต้น การพัฒนาระบบราชการ โดยนำหลักการตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ไปสู่การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ปรับโครงสร้างกระทวง ทบวง กรม

เหตุผลความจำเป็นในการปฏิรูประบบราชการไทย จากสถานการณ์และสภาพปัญหาต่างๆ ได้แก่

เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน เกิดปัญหาสังคมอ่อนแอ แรงกดดันจากระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (เสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบอำนาจรัฐและปกครองประเทศ) ประชาชนมองระบบราชการเป็นระบบที่ล้าหลัง ไม่สามารถตอบสนองความต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคราชการมีขนาดใหญ่เกินไป ทำงานในลักษณะศูนย์รวมอำนาจ ทำงานโดยยึดติดกับวิธีการมากกว่าผลลัพธ์ของงาน

การปฏิรูปราชการ พ.ศ.2540 เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระแสการปฏิรูประบบราชการและแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก

วัตถุประสงค์ของการปฏิรูประบบราชการ

1.เพื่อให้ราชการเป็นกลไกและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล

2.เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของประเทศในการแข่งขันระดับเวทีโลก

3.เพื่อสร้างและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชน และสังคมต่อระบบราชการ

4.เพื่อสร้างวัฒนธรรมและคุณค่าใหม่ในวงราชการ

5.เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
5.1 การพัฒนาการบริหารระยะเริ่มแรกเกินขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ.1945 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปิดฉากลงประเทศต่างๆที่ได้ผลกระทบจากสงครามได้เริ่มทำการปฏิรูปและเร่งพัฒนาประเทศของตนเองให้กับมามีบทบาทในสายตาประชาชาติอีกครั้งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่ได้มีการปฏิรูปหรือพัฒนาการบริหารภายในประเทศให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพแวดล้อมสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งจะวิเคราะห์ได้จากแผนการพัฒนาทั้ง 7 ฉบับ
ในยุคความทันสมัยและปฏิรูปแผนการพัฒนาจะมุ่งเน้นไปในทิศทางของด้านเศรษฐกิจ และสังคมมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระบวนการพัฒนาการบริหารตามลำดับ แผนการพัฒนาฉบับที่ 1-3 จะมุ่งเนนในการลงทุนและการส่งออกโดยปรับโครงสร้างพื้นฐานโดยมุ่งเน้นการเกษตรกรรมและการส่งออกจึงทำให้เกิดปัญหาในด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงทำให้แผนพัฒนาในฉบับที่ 4 มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาของด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มาจากผลกระทบของแผนการพัฒนาฉบับที่ 1-3 แผนการพัฒนาในฉบับที่ 5 มุ่งชี้แนะและกำหนดทิศทาง วางพื้นที่แบบแผนการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น แผนพัฒนาฉบับที่ 6 เน้นการบูรณาการของแผนการพัฒนาฉบับที่ 1-5 และยังมุ่งเน้นในการพัฒนาการบริหารทั้งข้อดีข้อเสียร่วมกัน แผนพัฒนาฉบับที่ 7 มุ่งเน้นในการรักษาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกทั้งยังรณรงค์ในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมและทัพยากรทางธรรมชาติ
ยุคแนวคิดใหม่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมปรับเปลี่ยนบทบาทของจากรัฐจากที่เป็นผู้ออกกฏเกณฑ์กำหนดนโยบายมาุ่งเน้นในเรื่องของการ การให้บริการและมุ่งเน้นให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน มีอำนาจในการควบคุม และช่วยเหลือในการจัดสรรทรัพยากรมากยิ่งขึ้น จัดทำการเปลี่ยนแปลงกระบวนการกำหนดนโยบายเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อลดทอนปัญหาในเรื่องของการเข้ามาหาผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจมากจนเกิน มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์พัฒนาทางการเมืองเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นรวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการที่ดีมีการใช้ยุทธศาสตร์พัฒนาการเมืองที่ยั่งยืน มีการรวมโครงข่ายการค้าเพื่อเน้นให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นไป ทังด้านความสมดุล เสถียรภาพ อีกทั้งยังสามารถทำการตรวจสอบได้
รูปแบบการพัฒนาสมารถแบ่งออกได้เป็น 6 รูปแบบ
1. รูปแบบการปฏิรูปการบริหาร ที่จะมุ่งเน้นให้มีแนวความและไอเดียใหม่ๆเพื่อให้นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารให้ตอบโจทย์และเอิ้อประโยชน์ในการกระทำกิจกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศได้
2. การจัดองค์การเสียใหม่ เป็นการมุ่งเน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนรูปแบบในบทบาท พฤติกรรม รวมถึงความสัมพันธ์ของบุคคลากรภายในองคืกรให้มีเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาต่อไป
3. การพัฒนาองค์การ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การปฏิบัติงาน โดยกำหนดกลยุทธ์เพื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การให้มีความสอดคล้องในการบริหารเพื่อให้มีความรวดเร็วและทันสมัยในโลกสมัยใหม่
4. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร มุ่งเน้นในการจัดการปรับปรุงขีดจำกัดและความสามารถในระดับของผู้บริหาร
5. การปรับปรุงองค์การ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนการทำงาน โครงสร้างและภากิจของระบบราชการเสียใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาและระบบบริการที่ดี
6. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ เป็นการพัฒนาเพิ่มขีดจำกัดความสามารถของตนเองให้สามารถเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ๆ และการแก้ปัญหา เรียนรู้ประสบการณ์เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนากระบวนทางความคิดที่สามารถนำมารับมือและประยุกต์ใช้ในทุกๆสภาวะขององค์กร
โดยสรุปแล้วการพัฒนาการบริหารที่เริ่มต้นตั้งแต่ยุคดั้งเดิม หรือยุคทันสมัย ยุคปฏิรูป และยุคแนวคิดใหม่เราจะมองได้ว่าเริ่มต้นจากระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองให้ให้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามลำดับจนเริ่มให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยผ่านรูปแบบการพัฒนาการบริหารได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และโคร้งสร้างให้ให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาวิวัศน์ที่ทุกการพัฒนาการบริหารไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่เป็นการร่วมมือกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชนชนในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม.

5.2 การบริหารในระบบของข้าราชการไทยนั้นเราจะเห็นได้ว่าเป็นการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกทั้งยังเป็นตัวบ่งบอกสภาพความเจริญก้าวหน้าทางสังคม และสามารถแสดงให้ถึงความเสื่อม ความเลื่อมล้ำภายในสังคมได้ เราแทบจะพูดได้ว่าระบบราชการของไทยนั้นเป็นหน้าเป็นตาขอระบบการพัฒนาและการบริหารประเทศ
นักวิชาการอย่างท่าน กมล ชูทรัพย์ ได้ให้นิยามและความหมายของการบริหารการโดยสรุปไว้ว่า "การร่วมดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งภายในองค์การ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้" ดั้งนั้นการพัฒนาของระบบราชการไทยจะต้องคำนึงถึงผลสำเร็จสูงสุดของระบบราชการ คือการทำให้ประเทศชาติและประชาชน มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบราชการไทย ด้านการบริหารจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในการนำมาซึ่งความสำเร็จโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการพัฒนาที่ใช้วิธีการต่างยุคต่างสมัยมาประสานหลอมรวมกันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งการติดต่อสื่อสารมีความรวดเร็ว การตรวจสอบที่มีความง่ายดายทันสมัย และความต้องการที่มีมากขึ้น ฉะนั้นการพัฒนาระบบราชการไทยต้องมุ่งเน้นแนวทางในการปรับเปลี่ยนกระบวนการการบริหารและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำงานทั้งการบริหาร บริการ ตัวบุคคลากร การออกกฎหมาย วัฒนธรรม ค่านิยม งบประมาณ จัดสรรวัสดุอุปกรณ์ที่ทันให้สมัยให้พร้อมกับการรับมือของแต่ละภารกิจที่จะเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่
ภารกิจของการพัฒนาระบบราชการไทยในระดับจุลภาคนั้นต้องมีการวางแผนงานนโยบายมีการกำหนดทิศทางการปฏิบัติที่สามารถดำเนินการแล้วบรรลุเป้าหมายได้
การสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน การสื่อสารการพัฒนา กระทำเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างบุคคลากรภายในองค์กรทั้งคนที่อยู่มาก่อนและคนที่มาทีหลังเพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในการทำงานที่พร้อมจะดำเนินการการประสานงานกันให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดพร้อมที่จะเดินหน้าไปด้วยกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาการบริหารที่ดีในอนาคต
การพัฒนาองค์การมุ่งเน้นที่จะใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การโดยมีการพัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์ ของนโยบายรวมไปถึงบทบาทและหน้าที่ ที่เป็นผู้รับผิดชอบ
ความสัมพันธ์กับสาธารณะ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้รับบริการรวมไปถึงการไม่มองข้ามสิ่งต่างๆทั้ง ทรัพยากร สภาพแวดล้อม และผู้คนเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสามารถสร้างผลผลิตทางด้านการให้บริการและประโยชน์ ให้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ
การทบทวนและการประเมินผล เป็นกระบวนที่สำคัญในการพัฒนาไม่ว่าจะในรูปแบใดๆหรือการะบวนใด การติดตามภารกิจเพื่อคอยกำกับดูแลและแก้ไขหากเกิดข้อบ่งพร่องเป็นสิ่งที่สมควรจะกระทำอย่างยิ่งเพราะจะเป็นตัวบ่งบอกชี้ชัดในการถึงคุณภาพ ความสำเร็จของภารกิจ รวมไปถึงยังรู้ถึง ผลดี-ผลเสียของภารกิจหรือกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ เพื่อใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรมหรือภารกิจต่อไป
จากการวิเคราะห์ภาพรวมของการพัฒนาระบบราชการไทยมีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเริ่มมีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ง่ายต่อการประสานงาน ตรวจสอบ และมีส่วนร่วมในระบบราชการ ในโลกสมัยนี้ที่มีความรวดเร็วการพัฒนาการบริหารระบบราชการจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือกับกิจกรรมและภารกิจที่พร้อมจะเข้ามาหลายๆเรื่องด้วยกันโดยใช้ระยะเวลาเพียงชั่วครู่ สิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงและทันสมัยถือเป็นสิ่งแปลกใหม่และเป็นบททดสอบอย่างดีในการ ปฎิรูป โครงสร้าง การบริหารและกระบวนการการทำงานของระบบราชการไทยในปัจจุบัน.
สกุลตรา กระทุ่มทอง 64423471020
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมาย เพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนินกิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน
การบริหารราชการในสมัยนี้จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทยก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ"แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1" (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการจัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจำนวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่องจนทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่หนักมาก จำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไป โดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน
(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง (Steering Rather Than Rowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยน "กระบวนทัศน์ใหม่" (New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรสภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization)พร้อมๆกันไปกับการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็นประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Democratization Or People's Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ลักษณะของระบบบริหารราชการไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน โดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีลักษณะของระบบราชการที่แตกต่างกันไปและปัญหาของระบบราชการก็จะต่างกันไปด้วย
จะเห็นได้ว่า การบริหารราชการไทยได้มีการพัฒนาการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาการบริหารที่ผ่านมามักจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้าง การจัดแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังเป็นสำคัญ ส่วนการปรับบทบาท ภารกิจ วิธีการบริหารราชการ กฎหมาย งบประมาณ และวัฒนธรรมการบริหารเพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลังๆ โดยเฉพาะตั้งแต่มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการและแผนปฏิรูปการบริหารภาครัฐเป็นต้นมา
ระบบบริหารราชการไทยจึงมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีบทบาทภารกิจตามกฎหมาย มีองค์การ โครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีระบบงานที่มีภารกิจในด้านต่าง ๆ มีบุคลากรของรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน นอกจากนี้ภายใต้กฎระเบียบต่างๆ อาจทำให้เป็นอุปสรรคของการทำงานในด้านต่างๆ
การพัฒนาการบริหารทางด้านจุลภาค
ทาไดห้ลายวิธีคือ
1.การพัฒนาด้านโครงสร้างทางการบริหาร
- วิเคราะห์ วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารใน ปัจจุบันเอื้อ หรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อย เพียงใด
2.การพัฒนาด้านกระบวนการการบริหาร
- พยายามท่ีจะทาใหเ้ส้นทางเดินของงานสั้นลงทั้งแนวตั้งและ แนวนอนเพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
3.การพัฒนาพฤตกิรรมทางการบริหาร
- ความมีเหตุมีผลมีส่วนเอื้อต่อความเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน ให้สัมฤทธิผล
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
เเผนการบริหารการพัฒนายุคความทันสมัยเเละยุคปฏิรูป จะเเสดงให้เห็นถึงความมุ่งเน้นที่สร้างการพัฒนาทั้งหมดโดย มีเเผนการพัฒนาฉบับที่ 1-3 มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเเผนการพัฒนาฉบับที่ 4 มุ่งเน้นในการเเก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจเเละสังคม เเผนการพัฒนาฉบับที่ 5 มุ่งชี้เเนะทิศทางเเละพื้นที่พัฒนา เเผนการพัฒนาฉบับที่ 6 เป็นการพัฒนาโดยบูรณาการเเผนพัฒนาฉบับที่ 1-5 ร่วมกัน เเผนการพัฒนาฉบับที่ 7 รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเเละกระจายรายได้ทั้งหมด
การบริการเพื่อการพัฒนายุคเเนวใหม่ เป็นยุทธสตร์การวางเเผนพัฒนาเพื่อให้สังคมเป็นตัวนำเศรษฐกิจเเละต้องเปลี่ยนบทบาทภาครัฐจากกำกับดูเเลมาเป็นผู้ให้บริการมากขึ้น เเละเน้นว่าต้องเป็นmore state intervention เเต่ต้องเปลี่ยนบทบาทเเละมีกลไกให้ประชาชนมีอำนาจในการควบคุมเเละจัดสรรทรัพยากร การเปลี่ยนเเปลงกระบวนการกำหนดนโยบายเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นเเละเพื่อลดทอนการเเสวงหาส่วนเกินทางเศรษรฐกิจ
รูปเเบบของพัฒนาการของการบริหาร คือ การพัฒนากระบวนการการบริหารมุ่งที่จะกำจัดจุดอุดตันของการไหลของงาน การย่นระยะเวลาเดินทางของงาน เพื่อรูปเเบบการบริหาร การจัดการ การปรับปรุง การพัฒนา องค์กรในรูปเเบบใหม่ และการทำงานให้ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มสมรรถนะขององค์การที่จะสนองตอบเป้าหมายการพัฒนาของประเทศ

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย คือ การบริหารราชการ เน้นการออกกฎระเบียบ เเละการบังคับให้เป็นไปตามกฏระเบียบ เน้นการบริหารการพัฒนารัฐบาลเป็นผู้นำเเละอำนวยการในการใช้เเผนการพัฒนาประเทศ เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง
การพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาค โดยมีแนวทางการพัฒนาการบริหารจะครอบคลุมถึงโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารการเพิ่มพูนสมรรถนะ หรือความสามารถของระบบการบริหารงาน เพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ยังครอบคลุมถึงสภาพแวดล้อม ก็คือบรรยากาศการบริหารและคุณภาพชีวิตในการทำงาน
นายธนกฤต แสนเลิศ 65423471194
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของการพัฒนาการบริหาร
การบริหารการพัฒนาหลักๆมีอยู่3ยุค
1.ยุคเก่า(ดั้งเดิม)
แนวความคิดแบบดั้งเดิมนี้ได้เริ่มต้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงที่โลกเริ่มปรับตัวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีดั้งเดิมในยุคเริ่มต้นนี้จะมีลักษณะมุ่งเน้นไปยังผลผลิตที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effective and Efficient Productivity) เป็นหลัก มากกว่าการใส่ใจบุคคล ระบบการบริหารงานจึงเน้นการมีแบบแผน กฎเกณฑ์ โครงสร้างชัดเจนแน่นอน มีรูปแบบตายตัว ลักษณะเป็นองค์กรที่มีรูปแบบ (Formal Organization) โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตสูงที่สุด ยุคนี้มนุษย์ที่ใช้แรงงานจะถูกมองเป็นเสมือนเครื่องจักรกล ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพมนุษย์ให้ทำงานได้ดีขึ้นเท่าไรก็ยิ่งสร้างผลผลิตได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
2.ยุคปฏิรูป
แนวความคิดนี้พัฒนามาจากทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory) โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา ทฤษฎีนี้เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเริ่มมีการศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เพิ่มขึ้น มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของบุคคลากร ตลอดจนการบริหารงานบุคคลในเชิงมนุษยสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังเริ่มเกิดการศึกษากลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Group) ซึ่งแฝงเข้ามาในองค์กรที่มีรูปแบบมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนให้ความสนใจในด้านความต้องการของมนุษย์ที่สามารถส่งผลต่อกระบวนการทำงานและพัฒนาตนเอง
3.ยุคแนวคิดใหม่(ปัจจุบัน)
ในยุคที่สภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไว ธุรกิจต่างๆ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เน้นการปฎิบัติงานที่ถูกต้องและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการองค์กรจึงมีการผสมผสานหลากหลายรายละเอียดเข้ามา โดยเฉพาะการนำเอาหลักคณิตศาสตร์เข้ามาใช้ในกระบบการคำนวณต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ไปจนถึงการบริหารงานบุคคลที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการสร้างกลยุทธ์ต่างๆ ในการบริหารจัดการออกมาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด สำหรับในยุคการบริหารสมัยใหม่นี้มีนักทฤษฎียุคใหม่เกิดขึ้นมากมาย และสม่ำเสมอ มีการค้นคิดวิธีการบริหารจัดการหลากหลายรูปแบบออกมาไม่ต่างจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์
รูปแบบของพัฒนาการบริหาร คือ การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤตกิรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถท่ี จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
นายธนกฤต แสนเลิศ 65423471194
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย
การพัฒนาระบบราชการไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลานานหลายยุคสมัย มียุคแห่งการพัฒนาการบริหารราชการได้เป็น 4 ยุคได้แก่ 1) ยุคก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 3) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 4) ยุคปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะในยุคล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการทั้งด้านโครงสร้าง ขั้นตอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง พฤติกรรมการบริหารราชการอันเกิดจากบุคลากรของรัฐ ทำให้ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เกิดมาจากการหลอมรวมแนวคิดที่แตกต่างกัน 2 กระแสโดยกระแสแนวคิดแรกคือเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ (New Institutional Economics) ซึ่งเกิดมาจากทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) ทฤษฎีผู้ว่าจ้าง-ตัวแทน (Principal-agent Theory) และทฤษฎีต้นทุน-ธุรกรรม (Transaction Theory) ซึ่งมองการเมืองเปรียบเสมือนปรากฏการณ์ทางการตลาดและอีกกระแสแนวคิดหนึ่งคือการจัดการนิยม (Managerialism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการบริหารภาครัฐโดยนำเอาวิธีการหรือเทคนิคต่างๆของภาคธุรกิจเอกชนมาใช้หรือเป็นการบริหารงานที่เลียนแบบภาคธุรกิจเอกชนโดยมีลักษณะลดขั้นตอน ลดขนาดโครงสร้างองค์การ รวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินงานโดยมุ่งผลลัพธ์สุดท้ายมากกว่าวิธีการทำงาน
ภารกิจของการพัฒนา
1. การวางแผนนโยบาย ทางเลือกเชิงกลยุทธ์ขึ้นอยู่บนการวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงและประเด็นต่างๆ ที่เผชิญกับองค์การ
2. การจูงใจพนักงาน การสื่อสารและการพัฒนา
การจูงใจการสื่อสารและการพัฒนาจะทำให้การทำงานในองค์การมีเป้าหมายร่วมกัน มีความเข้าใจกันและเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม
3. การพัฒนาองค์การ องค์การจะสร้างความชัดเจน ในทางเลือกเชิงกลยุทธ์หรือไม่ขึ้นกับการพัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และความมุ่งประสงค์
4. ความสัมพันธ์กับสาธารณะ ไม่มีองค์การใดจะถูกปิด โดยไม่เกี่ยวข้องกับภายนอก องค์การจสัมพันธ์กับสาธารณะโดยการสร้างผลผลิตให้ตลาดตามความ ต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการจัดหาบริการเพื่อผู้ใช้บริการที่มีความต้องการเฉพาะของตนหรือใน
กรณีขอบเขตของภาครัฐคือกส่งเสริมให้ประชาชนแสดงความต้องการโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น การเลือกตัวแทน
5.การทบทวนและประเมินผลคุณภาพของทางเลือก เกี่ยวกับอนาคตจะขึ้นกับความสามารถในการจัดการติดตามและประเมินคุณภาพของกิจกรรมในอดีต
Unknown said…
นายกรวิชญ์ คงจันทร์ 64423471010 รุ่น 49
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การบริหารการพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 จนถึงปัจจุบันเป็นการมุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบายแผนงานและโครงการที่กำหนดขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
1. มีความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร สร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความรับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม
2. มีการปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆหรือการผสมผสานแนวคิดใหม่ๆเพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศนั้นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
3. มีการจัดองค์การเสียใหม่ การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่างๆภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบคุคลในองค์การ
4. มีการพัฒนาองค์การ กระบวนการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าโดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเองสำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้นรวมถึงขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทำกลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้และการประเมินผล
5. มีการปรับปรุงฝ่ายบริหาร การปรับปรุงผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
Unknown said…
นายกรวิชญ์ คงจันทร์ 64423471010 รุ่น 49
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การพัฒนาระบบราชการไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลานานหลายยุคสมัย มียุคแห่งการพัฒนาการบริหารราชการได้เป็น 4 ยุคได้แก่ 1) ยุคก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 3) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 4) ยุคปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะในยุคล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการทั้งด้านโครงสร้าง ขั้นตอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง พฤติกรรมการบริหารราชการอันเกิดจากบุคลากรของรัฐ ทำให้ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่ การพัฒนาระบบราชการไทยภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นที่คาดหมายไว้ว่าจะมีระบบราชการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองพันธกิจและภารกิจในการให้บริหารแก่ประชาชน และประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์มีขนาดกะทัดรัด และโปร่งใสตรวจสอบได้ และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย โดยใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล
ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมทางการบริหาร
1.แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การ เทคโนโลยี สังคม และความต้องการส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานเอง และวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน ก็เพื่อให้บุคคลมีมูลเหตุจูงใจในการทำงานด้วยความพึงพอใจ และมีผลงานที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
2.แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหารอาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาด
3.การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล (การปฏิบัติงานให้ สัมฤทธิ์ผลเป็นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา) และความมีเหตุผล มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ความเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล และการยอมให้ประชาชนเข้า มามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นดรรชนีของการบริหารการพัฒนาเช่นเดียวกัน)
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การพัฒนาการบริหารแบ่งออกเป็น 4 ยุค
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงครามและพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนาจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาโครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือการผลิตปุ๋ยการพัฒนาสาธารณสุข
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา คำาว่า การบริหารภายนอกเปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอกซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมืองด้วยอคติที่ว่าจะต้องวัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้ เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลงผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่มเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนาจากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวหันกลับมาพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้าน ประจักษ์นิยม และปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
รูปแบบการพัฒนาสมารถแบ่งออกได้เป็น 6 รูปแบบ
1. รูปแบบการปฏิรูปการบริหาร ที่จะมุ่งเน้นให้มีแนวความและไอเดียใหม่ๆเพื่อให้นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารให้ตอบโจทย์และเอื้อประโยชน์ในการกระทำกิจกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศได้
2. การจัดองค์การเสียใหม่ เป็นการมุ่งเน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนรูปแบบในบทบาท พฤติกรรม รวมถึงความสัมพันธ์ของบุคคลากรภายในองค์กรให้มีเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาต่อไป
3. การพัฒนาองค์การ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การปฏิบัติงาน โดยกำหนดกลยุทธ์เพื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การให้มีความสอดคล้องในการบริหารเพื่อให้มีความรวดเร็วและทันสมัยในโลกสมัยใหม่
4. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร มุ่งเน้นในการจัดการปรับปรุงขีดจำกัดและความสามารถในระดับของผู้บริหาร
5. การปรับปรุงองค์การ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนการทำงาน โครงสร้างและภากิจของระบบราชการเสียใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาและระบบบริการที่ดี
6. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ เป็นการพัฒนาเพิ่มขีดจำกัดความสามารถของตนเองให้สามารถเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ๆ และการแก้ปัญหา เรียนรู้ประสบการณ์เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนากระบวนทางความคิดที่สามารถนำมารับมือและประยุกต์ใช้ในทุกๆสภาวะขององค์กร

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ลักษณะของระบบบริหารราชการไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน โดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีลักษณะของระบบราชการที่แตกต่างกันไปและปัญหาของระบบราชการก็จะต่างกันไปด้วย จะเห็นได้ว่าการบริหารราชการไทยได้มีการพัฒนาการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาการบริหารที่ผ่านมามักจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้าง การจัดแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังเป็นสำคัญ ส่วนการปรับบทบาท ภารกิจ วิธีการบริหารราชการ กฎหมาย งบประมาณ และวัฒนธรรมการบริหารเพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลังๆ โดยเฉพาะตั้งแต่มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการและแผนปฏิรูปการบริหารภาครัฐ
ระบบบริหารราชการไทยจึงมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีบทบาทภารกิจตามกฎหมาย มีองค์การ โครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีระบบงานที่มีภารกิจในด้านต่าง ๆ มีบุคลากรของรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน นอกจากนี้ภายใต้กฎระเบียบต่างๆ อาจทำให้เป็นอุปสรรคของการทำงานในด้านต่างๆ
ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมทางการบริหาร
1.แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การ เทคโนโลยี สังคม และความต้องการส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานเอง และวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน ก็เพื่อให้บุคคลมีมูลเหตุจูงใจในการทำงานด้วยความพึงพอใจ และมีผลงานที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
2.แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหารอาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาด
3.การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล (การปฏิบัติงานให้ สัมฤทธิ์ผลเป็นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา) และความมีเหตุผล มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ความเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล และการยอมให้ประชาชนเข้า มามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นดรรชนีของการบริหารการพัฒนาเช่นเดียวกัน)
Unknown said…
เกียรติศักดิ์ สีเทา 64423471023
Module 2
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารการปัจจุบันเป็นการมุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และโครงการที่กำหนดขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนารวมทั้งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารโครงการพัฒนานั้น มีกระบวนการสำคัญ คือมีการจัดทำและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินการตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ
5.2แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารราชการแบบเดิมให้ความสำคัญกับปริมาณทรัพยากรนาเข้า ได้แก่จำนวน งบประมาณอัตรากาลัง อาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆมีการใช้กฎระเบียบที่รัดกุมควบคุมการ ปฏิบัติราชการมิให้ราชการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป รวมถึงมีกระบวนการทางานที่ลดหลั่งตามสายการบังคับบัญชาทำให้บริการที่เป็นผลผลิตของระบบราชการมีต้นทุนสูงและประชาชนผู้รับบริการไม่ พอใจบริการที่ล่าช้าไม่สะดวก การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Results Based Management-RBM) เป็นเครื่อง การบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของ ประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตาม การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตาม ความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ
ระบบบริหารภาครัฐซึ่งกำหนดให้มีการกำหนดปฏิรูปราชการด้วยแผนงานหลัก 5 แผน คือ
1) แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและการบริหารงานภาครัฐ
2) แผนการปรับเปลี่ยนงบประมาณการเงินและการพัสดุ
3) แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล
4) แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5) แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ เเละรูปเเบบของการพัฒนาการของบริหาร
- การพัฒนาระยะเเรกเริ่มช่วงปี ค.ศ.1945 ประเทศต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มทำการปฏิรูปและพัฒนาประเทศของตัวเอง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปฏิวัติหรือพัฒนาการบริหารภายในประเทศให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพแวดล้อม วิเคราะห์จากแผนการพัฒนา 7 ฉบับ
ยุคความทันสมัยและปฏิรูปแผนการพัฒนาจะมุ่งไปในทางเศรษฐกิจ แผนการพัฒนาฉบับที่1-3 มุ่งเน้นในการลงทุนส่งออก ฉบับที่4 มุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ฉบับที่ 5 มุ่งกำหนดทิศทาง วางแผนการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ฉบับที่ 6 เน้นบูรณาการพัฒนาและพัฒนาการบริหารทั้งข้อดีและข้อเสีย ฉบับที่ 7 มุ่งการรักษาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กระจายรายได้ ปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน
ยุคแนวคิดใหม่เน้นเน้นการบริการและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีอำนาจในการควบคุม มีส่วนร่วมมากขึ้น และกำหนดนโยบายเพื่อกำกับไม่ให้หาผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมากเกินไป และปรับให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การพัฒนาสามารถแบ่งเป็น 6 รูปแบบ
1. การปฏิรูปบริหารเน้นไอเดียใหม่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
2. จัดองค์การใหม่เน้นเปลี่ยนแปลงบทบาท ให้องค์กรมีความร่วมมือพัฒนาต่อไป
3. พัฒนาองค์การกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการบริหาร
4. ปรับปรุงฝ่ายบริหารเน้นการปรับความสามารถขององค์กร
5. ปรับปรุงองค์กรเป็นการปรับพฤติกรรมในการทำงาน และปรับโครงสร้างระบบราชการใหม่ เพื่อพัฒนายิ่งขึ้น
6. การพัฒนาตนเอง ปรับตัวเองด้วยการเพิ่มขีดจำกัด ในการเรียนรู้สภาพเเวดล้อมใหม่ๆ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง
การพัฒนาการบริหารเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างค่อยๆเป็นไปตามลำดับๆ เริ่มให้ประชาชนไอ้มีส่วนร่วมและปรับโครงสร้างต่างๆให้สอดคล้องก้บการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม


5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การพัฒนาของระบบราชการไทย มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน แบ่งเป็น 4 ยุค ได้แก่
1. ยุคกาอนปฏิรูปการปกครอง 2. ยุคปฏิรูปการปกครอง 3. ยุคหลังการฏิวัติการปกครอง 4.ยุคปฏิรูประบบราชการ ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับกระแสของโลก มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ นำมาปรับใช้โดยมีเหตุผลที่สำคัญจากปัญหาของระบบราชการไทยที่สะสมมานาน ทำให้สภาพแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนไปอย่างรวมเร็ว การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยระบบราชการจะเติบโตแบบเป็นมสิ่งเเวดล้อม ทั้งนี้การกำหนดแผนกลยุทธ์วนการพัฒนาระบบราชการ ได้แก่ 1. การลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฎิบัติราชการ 2. ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนให้เป็นที่ยอมรับ 3. พัฒนาขีดจำกัดและศักยภาพของ้ขาราชการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการบริการ
นาย สิทธิณัฐ ลือสมุทร 64423471002
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ เเละรูปเเบบของการพัฒนาการของบริหาร
การบริหารและการพัฒนาองค์การถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการดำเนินงานให้เป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ แต่จะเป็นผู้ใช้ศิลปะในการทำให้ผู้ปฏิบัติ ทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายตามที่ผู้บริหารตั้งใจ ผู้บริหารยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลาย ท้าทาย และเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก จะต้องทำงานโดยมุ่งเน้นแก้ปัญหาที่ซับซ้อนตลอดเวลา ต้องเผชิญกับการแข่งขัน ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ นับวันงานบริหารจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้น
.
อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ลักษณะงานบริหารจึงไม่แน่นอน เสี่ยงกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและความหลากหลายต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะที่ท้าทาย เหล่านี้ ผู้บริหารก็ควรแสวงหาโอกาสและสร้างความได้เปรียบให้เกิดแก่องค์การ (เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส) โดยการมุ่งเน้นพัฒนาองค์การในรูปแบบต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลแต่ให้พิจารณาที่ผลงานเป็นหลัก
..
การพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ สามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น ความพยายามเปลี่ยนแปลง องค์การอย่างมีแบบแผน มีการวิเคราะห์ปัญหา/วางแผนยุทธศาสตร์และใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือการพัฒนาระบบโดยมีส่วนร่วมทั้งองค์การ เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงลงสู่ระดับล่างขององค์การ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ ดังแนวคิดของบุคคลต่อไปนี้
นายณัฐวุฒิ เดอเลาะอีม 64423471021
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การบริหารการพัฒนาในประเทศไทย มีวิวัฒนาการหรือเป็นผลพวงจากพัฒนาการของกิจกรรมและองค์ความรู้ทางการบริหารการพัฒนาของอเมริกัน และการบริหารการพัฒนาของอเมริกันเองก็เป็นผลพวงของการบริหารงานทั่วไป และการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ" ซึ่งในภาพรวมนั้นอาจกล่าวได้ว่า การบริหารการพัฒนาของอเมริ กันในแง่ของกิจกรรมได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งโดรงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ (Tenncsscc Valley Autho- riv) ขึ้นในปี ค.ศ. 1933 ในขณะที่การบริหารการพัฒนาในแง่ขององค์ความรู้เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อจอร์จ เอฟ. แก้นท์ (George F. Gamn1) และ เอกเบิร์ต เดอ วรีส์ (Lgbert de Vries- - นัก-เศรษฐศาสตร์ชาวดัทชี เป็นผู้บัญญัติศัพท์การบริหารการพัฒนา (Development Adminis-เration) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955-1956 (ซึ่งก่อนหน้านี้ แก้นท์เรียกการบริหารการพัฒนาว่า "การบริหารงานภายนอก" หรือ External Administration) และมี เอ็ดเวิร์ด ดับบลิว ไวด์เนอร์ (Edward W. Weidner) เป็นผู้เผยแพร่ชื่อและแนวความคิดการบริหารการพัฒนาให้แพร่หลายออกไป นับตั้งแต่บี ค.ศ. 1962 จนตราบเท่าทุกวันนี้
รูปแบบการพัฒนาสมารถแบ่งออกได้เป็น6รูปแบบ
1. รูปแบบการปฏิรูปการบริหาร ที่จะมุ่งเน้นให้มีแนวความและไอเดียใหม่ๆเพื่อให้นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารให้ตอบโจทย์และเอื้อประโยชน์ในการกระทำกิจกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศได้
2. การจัดองค์การเสียใหม่ เป็นการมุ่งเน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนรูปแบบในบทบาท พฤติกรรม รวมถึงความสัมพันธ์ของบุคลากรภายในองค์กรให้มีเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาต่อไป
3. การพัฒนาองค์การ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การปฏิบัติงาน โดยกำหนดกลยุทธ์เพื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การให้มีความสอดคล้องในการบริหารเพื่อให้มีความรวดเร็วและทันสมัยในโลกสมัยใหม่
4. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร มุ่งเน้นในการจัดการปรับปรุงขีดจำกัดและความสามารถในระดับของผู้บริหาร
5. การปรับปรุงองค์การ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนการทำงาน โครงสร้างและภากิจของระบบราชการเสียใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาและระบบบริการที่ดี
6. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ เป็นการพัฒนาเพิ่มขีดจำกัดความสามารถของตนเองให้สามารถเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ๆ และการแก้ปัญหา เรียนรู้ประสบการณ์เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนากระบวนทางความคิดที่สามารถนำมารับมือและประยุกต์ใช้ในทุกๆสภาวะขององค์กร
โดยสรุปแล้วการพัฒนาการบริหารที่เริ่มต้นตั้งแต่ยุคดั้งเดิม หรือยุคทันสมัย ยุคปฏิรูป และยุคแนวคิดใหม่เราจะมองได้ว่าเริ่มต้นจากระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองให้ให้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามลำดับจนเริ่มให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยผ่านรูปแบบการพัฒนาการบริหารได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และโครงสร้างให้ให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาวิวัศน์ที่ทุกการพัฒนาการบริหารไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่เป็นการร่วมมือกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชนชนในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ลักษณะของระบบบริหารราชการไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานโดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีลักษณะของระบบราชการที่แตกต่างกันไปและปัญหาของระบบราชการก็จะต่างกันไปด้วย จะเห็นได้ว่า การบริหารราชการไทยได้มีการพัฒนาการบริหารมาอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาการบริหารที่ผ่านมามักจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้าง การจัดแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังเป็นสำคัญ ส่วนการปรับบทบาท ภารกิจ วิธีการบริหารราชการ กฎหมาย งบประมาณ และวัฒนธรรมการบริหารเพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลังๆโดยเฉพาะตั้งแต่มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการและแผนปฏิรูปการบริหารภาครัฐเป็นต้นมา ระบบบริหารราชการไทยจึงมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีบทบาทภารกิจตามกฎหมาย มีองค์การ โครงสร้างที่เป็นแบบแผนมีระบบงานที่มีภารกิจในด้านต่างๆมีบุคลากรของรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนการพัฒนาการบริหารทางด้านจุลภาคทำได้ดังนี้คือ
1.การพัฒนาด้านโครงสร้างทางการบริหาร วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อ หรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
2.การพัฒนาด้านกระบวนการการบริหารพยายามที่จะทาให้ส้นทางเดินของงานสั้นลงทั้งแนวตั้งและแนวนอนเพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
3.การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร ความมีเหตุมีผลมีส่วนเอื้อต่อความเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
1.การบริหารการพัฒนาเพื่อการพัฒนาในยุคความทันสมัยและยุคปฏิรูป ได้แก่
แผนพัฒนาฉบับที่ 1-3 มุ่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แผนพัฒนาฉบับที่ 4 มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
แผนพัฒนาฉบับที่ 5 มุ่งชี้แนะทิศทางและพื้นที่พัฒนา
แผนพัฒนาฉบับที่ 6 เป็นการพัฒนาโดยการบูรณาแผนพัฒนาฉบับที่ 1-5 ร่วมกัน
แผนพัฒนาฉบับที่ 7 รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
2.การบริหารเพื่อการพัฒนายุคแนวใหม่ มียุทธศาสตร์การวางแผนพัฒนา Social Economy ให้สังคมเป็นตัวนำเศรษฐกิจและต้องเปลี่ยนบทบาทภาครัฐจากผู้กำกับดูแลมาเป็นผู้ให้บริการมากขึ้น และเน้นว่าต้องเป็น more state intervention แต่ต้องเปลี่ยนบทบาทและมีกลไกให้ประชาชนมีอำนาจในการควบคุมและจัดสรรทรัพยากร
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
แนวทางการพัฒนาการบริหารระดับจุลภาคได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร การพัฒนากระบวนการบริหาร และการพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร
แนวทางการพัฒนาการบริหารของระบบราชการไทย คือ จะเน้นออกกฎระเบียบและการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) เน้นการบริหารการพัฒนารัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการใช้แผนการพัฒนาประเทศ (Development Administration) และสุดท้ายเน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง (Steering Rather Than Rowing)
ภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหาร คือการบริหารการพัฒนาราชการไทย จากกระบวนการทางการพัฒนาเพื่อการบริหารควรมีารกิจการจัดการจะมีดังต่อไปนี้1) การวางแผนนโยบาย (Policy planning) คือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
2) การจูงใจพนักงาน การสื่อสาร และการพัฒนา า (staff motivation,communication and development) เพื่อให้เกิดเป้าหมายร่วมกัน มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม
3)การพัฒนาองค์การร (Organizational development) เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การซึ่งขึ้นอยู่กับการพัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการกำหนดแบบแผนของบทบาทและหน้าที่
4) ความสัมพันธ์กับสาธารณะ (Relations with the public) คือการสร้างผลผลิตตามความต้องการของผู้รับการบริการ
5) การทบทวนและประเมินผล (Review and evaluation) คือการติดตามและประเมินคุณภาพของกิจกรรมของกิจกรรมที่ทำ
นาย พีรพัทธ์ มะลิลา 64423471015
 5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร 
-การพัฒนาระยะเเรกเริ่มช่วงปี ค.ศ.1945 ประเทศต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มทำการปฏิรูปและพัฒนาประเทศของตัวเอง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปฏิวัติหรือพัฒนาการบริหารภายในประเทศให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพแวดล้อม วิเคราะห์จากแผนการพัฒนา 7 ฉบับ
ยุคความทันสมัยและปฏิรูปแผนการพัฒนาจะมุ่งไปในทางเศรษฐกิจ แผนการพัฒนาฉบับที่1-3 มุ่งเน้นในการลงทุนส่งออก ฉบับที่4 มุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ฉบับที่ 5 มุ่งกำหนดทิศทาง วางแผนการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ฉบับที่ 6 เน้นบูรณาการพัฒนาและพัฒนาการบริหารทั้งข้อดีและข้อเสีย ฉบับที่ 7 มุ่งการรักษาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กระจายรายได้ ปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน
ยุคแนวคิดใหม่เน้นเน้นการบริการและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีอำนาจในการควบคุม มีส่วนร่วมมากขึ้น และกำหนดนโยบายเพื่อกำกับไม่ให้หาผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมากเกินไป และปรับให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การพัฒนาสามารถแบ่งเป็น 6 รูปแบบ
1. การปฏิรูปบริหารเน้นไอเดียใหม่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้
2. จัดองค์การใหม่เน้นเปลี่ยนแปลงบทบาท ให้องค์กรมีความร่วมมือพัฒนาต่อไป
3. พัฒนาองค์การกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการบริหาร
4. ปรับปรุงฝ่ายบริหารเน้นการปรับความสามารถขององค์กร
5. ปรับปรุงองค์กรเป็นการปรับพฤติกรรมในการทำงาน และปรับโครงสร้างระบบราชการใหม่ เพื่อพัฒนายิ่งขึ้น
6. การพัฒนาตนเอง ปรับตัวเองด้วยการเพิ่มขีดจำกัด ในการเรียนรู้สภาพเเวดล้อมใหม่ๆ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง
การพัฒนาการบริหารเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างค่อยๆเป็นไปตามลำดับๆ เริ่มให้ประชาชนไอ้มีส่วนร่วมและปรับโครงสร้างต่างๆให้สอดคล้องก้บการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
Ans ระบบบริหารราชการไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเมืองการปกครองและพฤติกรรมการบริหารราชการมาหลายยุคหลายสมัย แต่ละยุคสมัยก็มีลักษณะการบริหารราชการที่แตกต่างกัน มีสภาพปัญหาเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาก็มีลักษณะต่างกัน สภาพปัญหาดังกล่าว ยังรวมถึงความคาดหวังต่อการให้บริการประชาชนที่มากขึ้นด้วย ทำให้ระบบราชการไทยต้องมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งในปัจจุบันกระแสแห่งการจัดการภาครัฐสมัยใหม่ได้ส่งผลให้การบริหารงานภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประเทศไทยก็ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการไทยให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ
นางจีรภา พิมพา รหัสนักศึกษา 64423471001
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุดต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
กล่าวคือ ในยุดความทันสมัยและยุคปฏิรูปของการพัฒนาจะมุ่งเน้นในทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการปรับตามโครงสร้างการบริหารเพื่อการพัฒนา ซึ่งวิเคราะห์ได้จากแผนการพัฒนาฉบับที่ 1 – 7 จากตามแผนพัฒนาฉบับที่ 1 – 3 ที่จะมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจ โยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและระบบขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทาน ส่งเสริมการส่งออก ปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า กระจายบริการเศรษฐกิจและสังคม รักษาระดับราคาสินค้าเกษตร ทำให้แผนพัฒนาฉบับที่ 4 ที่มุ่งเน้นการแก้ไขและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิตด้านเกษตร ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก การกระจายรายได้และการทีงานทำในภูมิภาค เร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทั้งการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ อนุรักษ์ทะเลหลวง แผนพัฒนาฉบับที่ 5 จะมุ่งเน้นทิศทางและพื้นที่เป็นหลักในการวางแผน กำหนดแผนงานและโครง เพื่อพัฒนาชนบท พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้นที่เมืองหลัก รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศเป็นพิเศษโดยการเร่งระดมเงินออม แก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง เน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน แผนพัฒนาฉบับที่ 6 มุ่งเน้นการพัฒนาโดยบูรณการแผนพัฒนาฉบับที่ 1 – 5 โดยมุ่งเน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพของการเงินการคลัง เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ พัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และแผนพัฒนาฉบับที่ 7 ที่มุ่งเน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ เน้นการกระจายรายได้ และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ
การบริหารเพื่อการพัฒนายุคแนวใหม่เป็นยุทธศาสตร์การวางแผนพัฒนา ให้สังคมเป็นตัวนำเศรษฐกิจและต้องเปลี่ยนบทบาทภาครัฐจากผู้กำกับดูแลมาเป็นผู้ให้บริการมากขึ้น และเน้นว่าเป็นการให้บริการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน มีอำนาจในการควบคุมและจัดสรรทรัพยากร และเพื่อลดทอนการแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมือง ปฏิรูประบบราชการเพื่อการบริหารการจัดการที่ดี ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างเครือข่ายการค้า การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ระบบตรวจสอบและกำกับดูแลที่ดีมากขึ้น
รูปแบบของพัฒนาการของการบริหารมีอยู่ 6 รูปแบบ ดังนี้
1.การปฏิรูปการบริหาร เป็นการประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
2.การจัดองค์การเสียใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงในยทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
3.การพัฒนาองค์การ การเปลี่ยนแปลงองค์การจัดทำกลยุทธ์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
4.การปรับปรุงฝ่ายบริหาร การปรับปรุงผู้บริหารในองค์การภาครัฐ
5.การปรับปรุงองค์การ การจัดกระบวนการ โครงสร้าง และภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อการบริการที่ดี
6.การพัฒนาตนเองเสียใหม่ การสร้าง่ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ สามารถแก้ปัญหาเรียนรู้จากประสบกราณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น
โดยสรุปแล้วการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ เป็นกระบวนการสร้างความมั่งคงและเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมให้มีคุณภาพโดยขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว
นางจีรภา พิมพา รหัสนักศึกษา 64423471001
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย รวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การพัฒนาระบบราชการไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายยุคสมัย มียุคแห่งการพัฒนาการบริหารราชการได้เป็น 4 ยุค คือ ยุคก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 และยุคปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะในยุคล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการทั้งด้านโครงสร้าง ขั้นตอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง พฤติกรรมการบริหารราชการอันเกิดบุคลากรของรัฐ ทำให้ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะของระบบราชการไทยในแต่ละช่วงเวลาจะมีลักษณะของระบบราชการที่แตกต่างกันไป โดยจะเห็นได้ว่า การบริหารราชการไทยได้มีการพัฒนาการบริหารมาอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาการบริหารที่ผ่านมามักให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้าง การจัดแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังเป็นสำคัญ ส่วนการปรับบทบาท ภารกิจ วิธีการบริหารราชการ กฎหมาย งบประมาณ และวัฒนธรรมการบริหารที่เพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลัง ๆ โดยเฉพาะตั้งแต่มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการและแผนปฏิรูปการบริหารภาครัฐ
การบริหารราชการไทยนอกเหนือจากการปฏิรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนแล้ว ภารกิจของราชการอันเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคนั้นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างการบริหาร พัฒนากระบวนการบริหาร และพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร เพราะปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และการพัฒนาเพื่อการบริหารระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดหลักการพัฒนาระบบราชการไทยไว้ 4 ประการ คือ
1.พัฒนาคุณภาพให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2.ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3.ยกระดับขีดความสามารถและมาตราฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
4.ตอบสนองต่อการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติงาน และตรวจสอบผลการดำเนินงาน ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน เพื่อให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในการบริหารงาน การให้บริการ การวางแผน/โครงการ
เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาของระบบราชการ คือระบบราชการที่มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ ศักยภาพสูง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรของภาครัฐอย่างประหยัด คุ้มค่าเหมาะสม ทำให้ระบบราชการมีความคล่องตัว ยึดหยุ่น สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชาคมโลก สามารถตอบสนองความต้องการและนำบริการที่ดี มีคุณภาพไปสู่ประชาชนได้

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ มี2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนา ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจาก กิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็น ระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับ การยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ.1930 – 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกตำทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัย ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีการริเริ่มโครงการพัฒนาต่างๆ การออกกฎหมายเกี่ยวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การ ให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชน จนประสบความสำเร็จ นับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ.
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ได้กําหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสม โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงและเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมรวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์นพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน
น.ส.เบญจพร รอดชมภู 64423471004
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ มี2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนา ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจาก กิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็น ระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับ การยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ.1930 – 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกตำทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัย ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีการริเริ่มโครงการพัฒนาต่างๆ การออกกฎหมายเกี่ยวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การ ให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชน จนประสบความสำเร็จ นับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ.
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ได้กําหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสม โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงและเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร
และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมรวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์นพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน
นาย จักรพันธ์ วิชาธร 64423471019 said…
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมาย เพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนินกิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน
การบริหารราชการในสมัยนี้จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทยก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ"แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1" (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการจัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจำนวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่องจนทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่หนักมาก จำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไป โดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน
(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง (Steering Rather Than Rowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยน "กระบวนทัศน์ใหม่" (New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรสภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization)พร้อมๆกันไปกับการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็นประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Democratization Or People's Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว
นายดนุพร ช่วยชาติ 64423471007
Module 2
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ แบ่งได้ 3 สมัย ตามแนวคิดหรือ ทฤษฏีของ สมาน รังสิโยกฤษฏ คือ
1.สมัยเน้นการออกฏระเบียบ และบังคับให้เป็นไปตามกฏระเบียบ (ซึ่งเป็นสมัยก่อน พ.ศ.2530) มีการออกกฏระเบียบต่างๆ เพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียน หรือขออนุญาตทางราชการก่อนเพื่อทำกิจการบางอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เก็บภาษี ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินเพื่อนำไปพัฒนาประเทสต่อไป
2.สมัยที่เน้นการพัฒนาบริหาร ซึ่งอยู่ระหว่างปี (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆมีการใช้แผนพัฒนาประเทศ ในประเทศไทยเองก็มีการใช้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำในการพัฒนาในระยะแรกมุ่งเน้นไปที่ด้านเศรษฐกิจ และต่อมามีการรวมด้านการเมืองไว้ด้วยจนเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสมัยนี้มีการขยายภาระและหน้าที่และบาบาทของการบริหารพัฒนาขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการ เป็นไปด้วยความอืดอาด ในสายตาประชาชน
3.สมัยที่เน้นการกำกับดุแลมากกว่าการจัดทำเอง ซึ่งเริ่มต้นอย่างจริงจังในปี (พ.ศ.2533) โดยเป็นการให้ภาคเอกชนเข้ามารับหน้าที่บางอย่างของรัฐเอง และรัฐจะทำหน้าที่กำกับดูแลเท่านั้น เช่น รถไฟฟ้า BTS เพื่อการคมนาคมที่ทันสมัยและสะดวก และมีแผนการพัฒนาการบริหารที่ดี และการที่รัฐทำหน้าที่กำกับดูแล เป็นการเรียกว่า กระบวนทัศน์ใหม่ คือ การเน้นการแปรสภาพหรือกิจการของรัฐ ให้มาเป็นเอกชนดูแล เป็นการกระจายอำนาจ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นการลดส่วนของราชการไม่ให้ใหญ่เกินไป และรัฐจะเป็นผู้กำกับดูแล และคอยสนับสนุนเท่านั้น และในอนาคตระบบราชการจะเป็นระบบที่คล่องตัวและเหมาะสม
-รูปแบบของการพัฒนาการบริหาร
1.การปฏิรูปการบริหาร หมายถึงการประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
2.การจัดองค์การเสียใหม่ การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบทบาท
3.การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าโดยใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง
4.การปรับปรุงฝ่ายบริหาร หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำ ความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด
5.การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโครงสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผลและสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
6.การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถแก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น
5.2แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยคือ ตอนนี้ มีการปรับตัวให้ระบบหรือองค์กรของรัฐ เข้าสู่ยุค 4.0 คือ 1.ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2.ทำงานเชิงรุกแก้ไขแบะตอบสนองปัญหาของประชาชน 3.แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงกันเบ็ดเสร็จในจุดเดียว 4.ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลทันสมัยมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย 5.ปรับแบบแผนการทำงานให้คล่องตัว 6.ทำงานหรือเตรียมการณืไว้ล่วงหน้า ให้ทันเวลา 7.เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้ 8.ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่ม 9.บุคคลากรทุกระดับเตรียมพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง 10.ให้ความสัมพันธ์กับบุคคลากร สร้างแรงจูงใจในการทำงาน และ การพัฒนาการพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ให้สามารถเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ครอบครัว และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นสังคมและประเทศชาติ และภารกิจของการบริหารในระดับจุลภาคคือ รัฐจะต้องหาวิธีหรือนโยบาย เพื่อพัฒนาบริหารองค์กรตัวเองอยู่เสมอ ให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ อนาคตอันใกล้นี้ก็จะเข้าสู้ยุค 5 G ดังนั้นรัฐจะต้องหาแบบแผนกำหนดนโยบาย พัฒนาศักยภาพของบุคคลาการในองค์กรให้มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ มีการอบรมการใช้เทคโนโลยีต่างๆให้สอดคล้องกับยุคที่กำลังจะเปลี่ยนไปอยุ่ตลอดเวลา และต้องปรับตัวให้ทันกับโลกสมัยใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยุ่ตลอดเวลา
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
- การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาเริ่มเป็นที่ยอมรับเมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1950 (ค.ศ.) โดยมีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ development administration ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง2ลักษณะมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือ การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้นเป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัย จากกิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็นระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในช่วงค.ศ.1960 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1930 - 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่นๆในเอเชีย อัฟริกาและลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสำคัญสำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในกาพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติ เพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

- รูปแบบของพัฒนาการของการบริหารแบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ คือ
1) การพัฒนาการบริหาร
2) ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร
3) การปฏิรูปการบริหาร
4) การจัดองค์การเสียใหม่
5) การพัฒนาองค์การ
6) การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
7) การปรับปรุงองค์การ
8) การพัฒนาตนเองเสมอ

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการ
พัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
-แนวทางการพัฒนาระบบราชการไทย
การกล่าวถึงระบบราชการไทยซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญกับประชาชนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม หรือ
ด้านการเมือง ระบบการบริหารราชการไทยจะต้องมีบทบาทในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการปฏิบัติใน
รูปแบกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือนโยบาย ดังนั้น ระบบราชการไทย จึงมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างมาก เนื่องจากการบริหารราชการมีขอบข่ายกว้างครอบคลุมกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยว
ข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคมตั้งแต่เกิดจนตายเช่น กิจกรรมการท่องเทียวและกีฬา การสาธรณสุข เป็นต้น
-แนวทางการพัฒนาการบริหารในระดับจุลภาคโดยแบ่งเป็น
แนวทางต่างๆดังนี้
1.แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
2.แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางเดินงานสั้นลง และง่ายขึ้น กระจายงานออกไปยังหน่วยย่อย เพื่อลดความแออัดของส่วนกลาง
3.การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
นางสาววริศรา เสือเกิด 64423471164
5.1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึงการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้างกกระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร การบริหารการพัฒนา หมายถึงความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ ล่วงหน้า ซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา การบริหารการพัฒนาจะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ประการ คือองค์การพัฒนาการ บริหารและองค์ประกอบการบริหารการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้จะมีองค์ประกอบรอง อีกด้วย

สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งภายนอก ภายในและรอบๆองค์การ และสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลเหนือโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการบริหารเพื่อการพัฒนา หรือในทางที่ กลับกันสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม อาจรวมถึงสภาพ ภูมิศาสตร์ ประชากร เทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพ ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม อันรวมถึงสหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ อุดมการณ์ อารยธรรม ธุรกิจ บรรษัท ปัจเจกบุคคล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น ผลงานของเกาส์ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของการบริหารรัฐกิจ ซึ่งมีการรวบ สนับสนุนแนวคิดของผู้รู้บางท่านว่า สภาพแวดล้อมต่างๆล้วนแต่เป็นวัตถุดิบส าหรับการวิเคราะห
5.2 ระบบราชการถือเป็นกลไกสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งของรัฐในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ดังนั้นการพัฒนาระบบราชการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศในแต่ละยุค ระบบราชการไทยแต่เดิมในอดีตเกิดขึ้นภายใต้สังคมในระบบเกษตรกรรม ที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองดํารงอยู่ภายใต้ระบบการผลิตและความสัมพันธ์ทางสังคม และการเมืองของผู้คนเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน แต่ในปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง ได้เปิดกว้างและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจึงจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ชลาทิพย์ ชัยโคตร, 2560, หน้า 1)
ปัจจุบันพบว่า การปฏิบัติงานและการบริหารงานในหน่วยงานของภาครัฐ มิได้มีประสิทธิภาพหรือ ประสิทธิผลเท่าที่ควร การดําเนินงานของหน่วยงานนั้นมีลักษณะซับซ้อน ยากแก่การเข้าใจและเต็มไปด้วยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่มีไว้เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้มารับริการ จนทําให้ใช้เวลา ในการปฏิบัติงานที่ยาวนานกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทําให้หน่วยงานขาดความคล่องตัว อีกทั้งระบบ การจัดการและการดําเนินงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน เหตุการณ์ในลักษณะนี้ เรียกว่า ความล่าช้าในการปฏิบัติราชการ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกมองว่ามีสาเหตุมาจากข้าราชการใช้ข้ออ้างในการ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบให้ถูกต้องเป็นสําคัญ เพื่อให้ตนเองนั้นพ้นจากคํากล่าวหาไว้ก่อน จากผลการปฏิบัติงาน ที่ล่าช้าจนทําให้การบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานในการให้บริการแก่สังคม ประชาชน และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องผิดเพี้ยนไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพันธกิจของหน่วยงาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นําไปสู่ความล้มเหลว เลื่อมประสิทธิภาพและทําลายความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อระบบราชการของไทยจนหมดสิ้น (วิชาญ สัดชํา, 2559, หน้า 1)
หน่วยงานภาครัฐปัจจุบันนี้ ถึงแม้จะมีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและแนวทางปฏิบัติงานที่ทันสมัย เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานแล้ว แต่การปฏิบัติงานต่าง ๆ ยังต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาและใช้เวลานาน ทําให้ หน่วยงานถูกมองว่าล่าช้า ทั้งที่ข้าราชการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ หากปล่อยให้มีลักษณะเช่นนี้ก็จะยิ่งเสีย ภาพพจน์ และข้าราชการผู้ปฏิบัติงานก็จะเสียกําลังใจและท้อแท้ในการปฏิบัติราชการการบริหารระบบราชการ มีวัตถุประสงค์คือการให้บริการสาธารณะ (Public Services) ซึ่งครอบคลุมถึงการอํานวยความสะดวก การรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการพัฒนาประชาชนและ ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ซึ่งระบบราชการจะยึดหลักความมีเหตุมีผล ถูกต้องตามกฎหมายโดยยึดการปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายต่าง ๆ มีการแบ่งงานกันทําตาม หน้าที่ไว้อย่างชัดเจน อาศัยความรู้ความสามารถหรือระบบคุณธรรมในการบริหารระบบราชการ มีการพัฒนา ข้าราชการด้วยการฝึกอบรมให้มีความชํานาญเฉพาะด้าน และมีกฎเกณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐานในการบังคับ ใช้อย่างเสมอภาค
Module 2. น.ส.พิชญา เพชรดิน 64423471003 รุ่น49
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของการพัฒนาของการบริหาร
= 1. การบริหารเพื่อการพัฒนายึดแนวใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการกำหนดนโยบายเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและเพื่อลดทอนการแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจ มียุทธศาสตร์การพัฒนาการเมือง มีการปฏิรูปราชการเพื่อการบริหารจัดการที่ดี มีการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยังยืน มีการสร้างเครือข่ายการค้า มีการรักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและมีระบบตรวจสอบและกำกับดูแลที่ดี 2.การบริหารเพื่อการพัฒนายุคความทันสมัยและยุคปฏิรูป มุ่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม มุ่งชี้แนะทิศทางและพื้นที่พัฒนาเป็นการพัฒนาโดยบูรณาการแผนพัฒนาร่วมกัน มีการรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุค
การพัฒนาการบริหารเป็นการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและปฏิรูปโครงสร้างกระบวนการรวมถึงเทคโนโลยีและพฤติการณ์การบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่รับรองนโยบายแผนแผนงานโครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารพัฒนา

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
= การบริหารราชการไทยเน้นการออกกฎระเบียบและการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ เน้นการบริหารการพัฒนารัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการใช้แผนการพัฒนาประเทศ เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง
1.) การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ทำได้หลายวิธีคือ 1.วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด 2. หลังจากการวิเคราะห์วิจัยแล้วจำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนาหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบงานใหม่ใหม่ 3. พิจารณาขนาดขององการว่ามีขนาดเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่ 4. การพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 5. ควรยึดแนวทางองค์การกลยุทธ์คือการจัดการโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน
2.) การพัฒนากระบวนการการบริหาร การเลือกใช้รูปแบบโครงสร้างทางการบริหารมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี
3.) การพัฒนาพฤติกรรมการบริการ เกิดจากสภาพแวดล้อมโครงสร้างและกระบวนการ
แบบฝึกหัดที่ 2
ส.ท.หญิง ณัฐพัชร์ เบาราญ
รหัสนักศึกษา 64423471345

1. การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ มีดังนี้
- ยุค ค.ศ. 1930 - 1939 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก “ รูสเวลท์ “ ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เขาได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น
- ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 > ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงคราม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ สภาวะเศรษฐกิจและสังคม เลวร้ายเป็นอย่างมาก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือยุโรปให้ฟื้นตัวจากสภาพสงครามและการพัฒนาประเทศ ผ่าน “แผนมาร์แชล Marshall Plan”
- Marshall Plan > ระหว่างปี พ.ศ. 2492-2501 การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปฟื้นตัวเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับโครงการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- การมีความสุจริตและโปร่งใส
- การมีความรับผิดชอบต่อสังคม
- การมีกลไกทางการเมืองที่ชอบธรรม
- การมีกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรม ชัดเจน

2.1 ภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
- หลักนิติธรรม > การพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย ยุติธรรม เป็นที่ยอมรับ
- หลักคุณธรรม > การยึดมั่นในความถูกต้องอย่างหนักแน่น
- หลักความโปร่งใส > ปรับปรุงการทำงานให้โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
- หลักความรับผิดชอบ > การตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม
- หลักความคุ้มค่า > การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความคุ้มค่า

รูปแบบของพัฒนาการของการบริหารมีอยู่ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. การปฏิรูปการบริหาร > เป็นการประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
2. การจัดองค์การเสียใหม่ > เพื่อเปลี่ยนแปลงในยทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
3. การพัฒนาองค์การ > การเปลี่ยนแปลงองค์การจัดทำกลยุทธ์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
4. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร > การปรับปรุงผู้บริหารในองค์การภาครัฐ
5. การปรับปรุงองค์การ การจัดกระบวนการ โครงสร้าง และภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อการบริการที่ดี
6. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ >การสร้างความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
สามารถแก้ปัญหาเรียนรู้จากประสบกราณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น

โดยสรุปแล้วการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ เป็นกระบวนการสร้างความมั่งคงและเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมให้มีคุณภาพโดยขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว
นายวิศวะ โพธิ์รักษา 65423471122
5.1
ในการบริหารรูปแบบยุคของการพัฒนาบริหาร ค.ศ.1930 - 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัยประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมากมีการริเริ่มโครงการพัฒนาต่างๆการออกกฎหมายเกี่ยวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชน จนประสบความสำเร็จนับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆในเรื่องการกำหนดนโยบายการวางแผน การบริหารโครงการตลอดจนการกำหนดหน้าที่ขององค์การในการบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่างๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมายคือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศเจริญเติบโตเป็นหลังใหญ่ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาการเมืองควบคู่ไปด้วยกันนั้น จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในประเทศที่กำลังพัฒนาและโลกที่สามก็ตาม แต่การพัฒนาดังกล่าวก็มีปัญหาตามมาด้วยในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการว่างงานปัญหาความยากจน ดังนั้น ประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศไทยตระหนักถึงปัญหานี้และพยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้โดยการนำแนวคิดทฤษฎีเคนส์ ซึ่งเป็นแนวคิดในทฤษฎีกระแสหลักของการบริหารการพัฒนาที่มีผู้ศึกษานำมาอธิบายและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่สามารถนำวิธีการมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐเข้าควบคุมกลไกตลาดจำกัดบทบาทภาคเอกชนลงทุนสร้างงานให้เกิดการหมุนเวียนระบบตลาดเงิน ตลาดทุนภายในประเทศ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้
5..2
แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยมีภารกิจในการบริหารระดับจุลภาค คือ มีการฝึกอบรมหน้าที่ของราชการที่ดีให้มีความเป็นผู้นำของประชาชน เนื่องจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศการรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศแล้วยังมีการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่า ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารไปสู่การแนวใหม่ จะเน้นการออกกฎระเบียบเพื่อกำหนดให้ประชาชนมีข้อตกลงดำเนินตามระเบียบ และเน้นในการบริหารพัฒนาการใช้แผนพัฒนาประเทศ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชาติ” จะทำให้เป็นการรับรองงภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐเพิ่มขึ้น และเน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง โดยที่ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือมีภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทนเพราะเน้นการแปรสภาพงานภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชนให้มีการมอบอำนาจไปพร้อมๆกันเกิดประชาธิปไตยให้ประชาชนมีส่วนร่วม และช่วยกันส่งเสริมไปถึงในอนาคตให้มีความเหมาะสม
1.การวางแผนนโยบาย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและการกำหนดปฏิบัติที่เป็นไปได้ในการคิดกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับวัตถุประสงค์จะนำไปสู่กระบวนการจัดทำแผน
2.การจูงใจพนักงาน การสื่อสาร และการพัฒนา เพื่อให้การทำงานในองค์การมีแหมายร่วมกัน มีความเข้าใจร่วมกันงานที่ทำจะได้บรรลุประสงค์มีคุณภาพจะทำให้เกิดทักษะชองพนักงานมีการพัฒนาศักยภาพให้มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
3.การพัฒนาองค์กร ในทางเลือกเชิงกลยุทธ์หรือไม่ขึ้นกับการพัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และความมุ่งประสงค์การกำหนดวิธีจัดระเบียบงานแบบแผนของบทบาทและหน้าที่อำนาจหน้าที่จะเกิดขึ้นและใครจะเป็นผู้ตัดสินใจ ณ องค์การทั้งหมดเพื่อให้มีผลต่อคุณภาพของทางเลือกเชิงกลยุทธ์ การสร้างความชัดเจนของความรับผิดชอบในการดำเนินงาน
4.ความสัมพันธ์กับสาธารณะ ไม่มีองค์การใดจะถูกปิดโดยไม่เกี่ยวข้องกับภายนอกองค์การจะสัมพันธ์กับสาธารณะโดยการสร้างผลผลิตให้ตลาดตามความต้องการของผู้บริโภครวมถึงการจัดหาบริการเพื่อผู้ใช้บริการที่มีความต้องการเฉพาะของตนหรือในกรณีขอบเขตของภาครัฐการส่งเสริมประชาชน
5.การทบทวนและการประเมินผล คุณภาพของทางเลือกเกี่ยวกับอนาคตจะขึ้นกับความสามารถในการจัดการติดตามและประเมินคุณภาพของกิจกรรมในอดีต เช่น องค์การได้จัดหาบริการหรือผลผลิตตามที่สัญญาหรือไม่ มาตรฐานการบริการบรรลุหรือไม่ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่และผู้บริโภคพอใจต่อสินค้าและบริการที่ได้รับหรือไม่หรือมีการแสดงความคิดเห็น
นายณัฐวุฒิ เดอเลาะอีม 64423471021
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การบริหารการพัฒนาในประเทศไทย มีวิวัฒนาการหรือเป็นผลพวงจากพัฒนาการของกิจกรรมและองค์ความรู้ทางการบริหารการพัฒนาของอเมริกัน และการบริหารการพัฒนาของอเมริกันเองก็เป็นผลพวงของการบริหารงานทั่วไป และการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ" ซึ่งในภาพรวมนั้นอาจกล่าวได้ว่า การบริหารการพัฒนาของอเมริ กันในแง่ของกิจกรรมได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งโดรงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ (Tenncsscc Valley Autho- riv) ขึ้นในปี ค.ศ. 1933 ในขณะที่การบริหารการพัฒนาในแง่ขององค์ความรู้เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อจอร์จ เอฟ. แก้นท์ (George F. Gamn1) และ เอกเบิร์ต เดอ วรีส์ (Lgbert de Vries- - นัก-เศรษฐศาสตร์ชาวดัทชี เป็นผู้บัญญัติศัพท์การบริหารการพัฒนา (Development Adminis-เration) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955-1956 (ซึ่งก่อนหน้านี้ แก้นท์เรียกการบริหารการพัฒนาว่า "การบริหารงานภายนอก" หรือ External Administration) และมี เอ็ดเวิร์ด ดับบลิว ไวด์เนอร์ (Edward W. Weidner) เป็นผู้เผยแพร่ชื่อและแนวความคิดการบริหารการพัฒนาให้แพร่หลายออกไป นับตั้งแต่บี ค.ศ. 1962 จนตราบเท่าทุกวันนี้
รูปแบบการพัฒนาสมารถแบ่งออกได้เป็น6รูปแบบ
1. รูปแบบการปฏิรูปการบริหาร ที่จะมุ่งเน้นให้มีแนวความและไอเดียใหม่ๆเพื่อให้นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารให้ตอบโจทย์และเอื้อประโยชน์ในการกระทำกิจกรรมให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศได้
2. การจัดองค์การเสียใหม่ เป็นการมุ่งเน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนรูปแบบในบทบาท พฤติกรรม รวมถึงความสัมพันธ์ของบุคลากรภายในองค์กรให้มีเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาต่อไป
3. การพัฒนาองค์การ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การปฏิบัติงาน โดยกำหนดกลยุทธ์เพื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การให้มีความสอดคล้องในการบริหารเพื่อให้มีความรวดเร็วและทันสมัยในโลกสมัยใหม่
4. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร มุ่งเน้นในการจัดการปรับปรุงขีดจำกัดและความสามารถในระดับของผู้บริหาร
5. การปรับปรุงองค์การ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนการทำงาน โครงสร้างและภากิจของระบบราชการเสียใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาและระบบบริการที่ดี
6. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ เป็นการพัฒนาเพิ่มขีดจำกัดความสามารถของตนเองให้สามารถเรียนรู้กับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ๆ และการแก้ปัญหา เรียนรู้ประสบการณ์เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนากระบวนทางความคิดที่สามารถนำมารับมือและประยุกต์ใช้ในทุกๆสภาวะขององค์กร
โดยสรุปแล้วการพัฒนาการบริหารที่เริ่มต้นตั้งแต่ยุคดั้งเดิม หรือยุคทันสมัย ยุคปฏิรูป และยุคแนวคิดใหม่เราจะมองได้ว่าเริ่มต้นจากระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองให้ให้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามลำดับจนเริ่มให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยผ่านรูปแบบการพัฒนาการบริหารได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และโครงสร้างให้ให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาวิวัศน์ที่ทุกการพัฒนาการบริหารไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่เป็นการร่วมมือกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชนชนในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรม
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ลักษณะของระบบบริหารราชการไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานโดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีลักษณะของระบบราชการที่แตกต่างกันไปและปัญหาของระบบราชการก็จะต่างกันไปด้วย จะเห็นได้ว่า การบริหารราชการไทยได้มีการพัฒนาการบริหารมาอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาการบริหารที่ผ่านมามักจะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้าง การจัดแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังเป็นสำคัญ ส่วนการปรับบทบาท ภารกิจ วิธีการบริหารราชการ กฎหมาย งบประมาณ และวัฒนธรรมการบริหารเพิ่งได้รับความสำคัญในระยะหลังๆโดยเฉพาะตั้งแต่มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการและแผนปฏิรูปการบริหารภาครัฐเป็นต้นมา ระบบบริหารราชการไทยจึงมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีบทบาทภารกิจตามกฎหมาย มีองค์การ โครงสร้างที่เป็นแบบแผนมีระบบงานที่มีภารกิจในด้านต่างๆมีบุคลากรของรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนการพัฒนาการบริหารทางด้านจุลภาคทำได้ดังนี้คือ
1.การพัฒนาด้านโครงสร้างทางการบริหาร วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อ หรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
2.การพัฒนาด้านกระบวนการการบริหารพยายามที่จะทาให้ส้นทางเดินของงานสั้นลงทั้งแนวตั้งและแนวนอนเพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
3.การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร ความมีเหตุมีผลมีส่วนเอื้อต่อความเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล
นนทกร บุญขันธ์
เลขประจำตัว 65423471153

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารของหน่วย
ราชการและข้าราชการให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศหรือการพัฒนาการบริหาร เป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกของการบริหารการพัฒนา (องค์ประกอบหลักประการหลังคือการบริหารเพื่อการพัฒนา)
เพราะการพัฒนาการบริหารเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการ
บริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดี การพัฒนาการบริหารแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเสริมแรง
กระบวนการทางการเมืองแบบมีตัวตน นั่นก็คือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองจะเป็ นผู้คอยกระตุ้นให้มี
การพัฒนาการบริหาร

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความส าคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ
ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ
สังคมโดยจะน าสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน
ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1
กล่าวว่า โดยที่ระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักที่มีความส าคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด
ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง
ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบที่
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติ และมี
ลักษณะเป็นการรวมพลัง บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1.
ความหมายของการบริหาร 2. ความส าคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการ
ของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี
Unknown said…
ส.ท. ถิรวุฒิ ไชยคำ 64423471018

module 2
5.1 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ตอบ การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆมีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกันออกไปตามกาลเวลา

ในทศวรรษ 1960 การบริหารการพัฒนา จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

ทศวรรษ 1970 การบริหารเพื่อการพัฒนาจะมุ่งเน้นความสนใจไปที่ความเสมอภาคทางสังคม การกระจายอำนาจ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของชาวชนบท

ทสวรรษ 1980 การบริหารเพื่อการพัฒนา จะเน้นการสร้างสมรรถนะทางการบริหารหรือ การพัมนาการบริหาร โดยการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมการบริหารให้มีสมรรถนะหรือความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมสำหรับการพัมนาประเทศ

ทศวรรษ 1990 การบริหารเพื่อการพัฒนา ได้มุ่งเน้นการบริหารเพื่อการพัฒนา โดยการนำสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาปฎิรูปตามนโยบายแผนงาน เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

ปัจจุบันการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยการบริหารการพัฒนา โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ให้ทันสมัยขึ้น


5.2 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง

ตอบ แนวทางการวางแผนพัฒนาระบบราชการไทย คือ การวางแผนนโยบายที่ขึ้นอยู่กับบทวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและประเด็นต่างๆ ที่เผชิญกับองค์กร การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปได้ ต่อมาก็คือการจูงใจพนักงาน การสื่อสาร และการพัฒนา ซึ่งสามอย่างที่กล่าวมานี้จะช่วยให้ภายในองค์กรนั้นมีความเข้าใจซึ่งกันและกันและเปลี่ยนแปลงไไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม งานที่ได้ทำก็จะบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ได้ สิ่งนี้ต้องการกระบวนการการจัดการที่แน่ใจว่าพนักงานจะมีทั้งการมีส่วนร่วมและเข้าใจความมุ่งหมาย และตระหนักถึงคุณค่าของพนักงาน

ต่อมาการพัฒนาองค์กร ในการจัดระบบระเบียบงานแบบแผนและบทบาทหน้าที่ จุดที่อำนาจหน้าที่เกิดขึ้นและใครจะเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด ทั้งหมดนี้มีผลต่อคุณภาพทางเลือกของเชิงกลยุทธ์ การสร้างความชัดเจนของความรับผิดชอบในการดำเนินงาน

ต่อมาการทบทวนและประเมินผล คุณภาพทางเลือกเกี่ยวกับอนาคตจะขึ่นอยู่กับความสามารถในการจัดการติดตามและประเมินคุณภาพของกิจกรรมในอดีต

นาย นนทพัทธ์ จิตตคาม 65423471148
Modlue2
5.1จงกล่าวถึงกาบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบพัฒนาของการบริหารการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมโครงสร้างกระบวนการและพฤติกรรมการบริหารของหน่วยงานราชการและข้าราชการเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศหรือบริการพัฒนาการบริหารเป็นองค์ประกอบหลัก
ประการแรกการบริหารและการพัฒนา(องค์ประกอบหลักประการหลังการบริหารเพื่อพัฒนาการ)เพราะการบริหารและการพัฒนาเป็นการเพิ่มสมรรถนะทางการบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้อย่างไรก็ดีการพัฬนาของไทยนั้นเป็นไปได้ยากมาก
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความส าคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ
ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ
สังคมโดยจะน าสังคมและโลกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน
ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1
กล่าวว่า โดยที่ระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักที่มีความส าคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด
ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง
ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบที่
มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นที่ผลการปฏิบัติและมีลักษณะเป็นการรวมพลังบทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง
1.ความหมายของการบริหาร
2. ความสำคัญของการบริหาร
3. กระบวนการบริหาร
4. วิวัฒนาการของการบริหาร
5. คุณลักษณะของการบริหารราชการที่ดี
นางสาว ลลิตา สุพรรณ 65423471177


5.1 การบริหารการพัฒนาราชการไทย มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของ สังคมโดยจะนาสังคมและโลกไปอยู่ความเจริญก้าวหน้าและเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงแนวโน้มทั้งด้าน ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับ สมาน รังสิโยกฤษฏ์, 2546 : 1 กล่าวว่า โดยท่ีระบบราชการไทยเป็นสถาบันหลักท่ีมีความสำคัญต่อความมั่นคงและความอยู่รอด ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการพัฒนาความเจริญของประเทศต่อไปในอนาคต จึง ต้องมีการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ระบบราชการไทยเป็นระบบท่ี มีวิสัยทัศน์ เป็นองค์การท่ีทันสมัย มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย เน้นท่ีผลการปฏิบัติ และมี ลักษณะเป็นการรวมพลัง บทความเรื่อง การบริหารการพัฒนาราชการไทย นี้มุ่งอธิบายถึง 1. ความหมายของการบริหาร 2. ความสำคัญของการบริหาร 3. กระบวนการบริหาร 4. วิวัฒนาการ ของการบริหาร 5. คุณลักษณะของการบริหารราชการท่ีดี
คาสำคัญ : การบริหาร, การพัฒนาราชการไทย
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายถึงกระบวนการบริหาร ดังต่อไปนี้
กลูลิค และอูวิค (Gulick and Urwick) ได้สรุปกระบวนการบริหารไว้ใน “Paper on the Science of Administration” ว่ากระบวนการบริหารย่อมประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ7 ประการหรือที่เรียกกันย่อๆว่า “POSDCORB Model” ซึ่งอธิบายตามความหมายได้ดังนี้ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2540 : 47)
พัตนาระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง?

(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมาย เพื่อ กาหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดาเนิน กิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัด โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ ของแผ่นดิน
การบริหารราชการในสมัยนี้จะอยู่ในวงจากัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกัน ประเทศ การรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็น การจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่า ใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดาเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กาหนดไว้ เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ ระหว่างปี ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการ พัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทยก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นาและอานวยการ ในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคม เข้าไปด้วยเป็น “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบัน
เพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการ จัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจานวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่อง จนทาให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่ หนักมาก จาเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไป
โดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้น มาก จนทาให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน
(3)สมัยที่เน้นการกากับดูแลมากกว่าการจัดทาเอง(Steering Rather Than Rowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชน เข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดาเนินการแทน และรัฐจะทาหน้าที่เป็นเพียงผู้
วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 703

นาย จักรพันธ์ วิชาธร 64423471019 said…
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยมีภารกิจในการบริหารระดับจุลภาค คือ มีการฝึกอบรมหน้าที่ของราชการที่ดีให้มีความเป็นผู้นำของประชาชน เนื่องจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศการรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศแล้วยังมีการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่า ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทางการบริหารไปสู่การแนวใหม่ จะเน้นการออกกฎระเบียบเพื่อกำหนดให้ประชาชนมีข้อตกลงดำเนินตามระเบียบ และเน้นในการบริหารพัฒนาการใช้แผนพัฒนาประเทศ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชาติ” จะทำให้เป็นการรับรองงภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐเพิ่มขึ้น และเน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง โดยที่ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือมีภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทนเพราะเน้นการแปรสภาพงานภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชนให้มีการมอบอำนาจไปพร้อมๆกันเกิดประชาธิปไตยให้ประชาชนมีส่วนร่วม และช่วยกันส่งเสริมไปถึงในอนาคตให้มีความเหมาะสม
1.การวางแผนนโยบาย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและการกำหนดปฏิบัติที่เป็นไปได้ในการคิดกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับวัตถุประสงค์จะนำไปสู่กระบวนการจัดทำแผน
2.การจูงใจพนักงาน การสื่อสาร และการพัฒนา เพื่อให้การทำงานในองค์การมีแหมายร่วมกัน มีความเข้าใจร่วมกันงานที่ทำจะได้บรรลุประสงค์มีคุณภาพจะทำให้เกิดทักษะชองพนักงานมีการพัฒนาศักยภาพให้มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
3.การพัฒนาองค์กร ในทางเลือกเชิงกลยุทธ์หรือไม่ขึ้นกับการพัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และความมุ่งประสงค์การกำหนดวิธีจัดระเบียบงานแบบแผนของบทบาทและหน้าที่อำนาจหน้าที่จะเกิดขึ้นและใครจะเป็นผู้ตัดสินใจ ณ องค์การทั้งหมดเพื่อให้มีผลต่อคุณภาพของทางเลือกเชิงกลยุทธ์ การสร้างความชัดเจนของความรับผิดชอบในการดำเนินงาน
4.ความสัมพันธ์กับสาธารณะ ไม่มีองค์การใดจะถูกปิดโดยไม่เกี่ยวข้องกับภายนอกองค์การจะสัมพันธ์กับสาธารณะโดยการสร้างผลผลิตให้ตลาดตามความต้องการของผู้บริโภครวมถึงการจัดหาบริการเพื่อผู้ใช้บริการที่มีความต้องการเฉพาะของตนหรือในกรณีขอบเขตของภาครัฐการส่งเสริมประชาชน
5.การทบทวนและการประเมินผล คุณภาพของทางเลือกเกี่ยวกับอนาคตจะขึ้นกับความสามารถในการจัดการติดตามและประเมินคุณภาพของกิจกรรมในอดีต เช่น องค์การได้จัดหาบริการหรือผลผลิตตามที่สัญญาหรือไม่ มาตรฐานการบริการบรรลุหรือไม่ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่และผู้บริโภคพอใจต่อสินค้าและบริการที่ได้รับหรือไม่หรือมีการแสดงความคิดเห็น
นาย สิทธิณัฐ ลือสมุทร 64423471002
5.2 PMQA เป็นคำย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของการบริหารจัดการ โดยระดมสมองนักบริหารและนักวิชาการระดับแนวหน้าของประเทศ รวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลจากองค์กรที่มีการบริหารจัดการเป็นเลิศ รวบรวมวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ สร้างเป็นเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ นำมาส่งเสริมให้องค์กรอเมริกันทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐมีการประเมินตนเองและปรับปรุงระบบบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกามีเศรษฐกิจที่มั่งคงในเวลาต่อมา จึงเป็นแนวทางให้ประเทศต่าง ๆ นำไปพัฒนาเป็นเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของตนมากกว่า 70 ประเทศ ในประเทศไทยได้เริ่มนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการมาใช้เป็นครั้งแรกกับภาคเอกชน โดยนำเทคนิคและกระบวนการของ รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา มาปรับใช้และได้มีการมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) ให้แก่องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สำหรับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในภาคราชการนั้น รองนายรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) ได้มีดำริมีจะสนับสนุนให้มีการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐโดยได้กล่าวในวาระที่ไปเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) ประจำปี 2547 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548

นอกจากนี้ ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548 - 2551 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการพัฒนาระบบราชการ ได้มีการกำหนดให้เสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิรูปราชการ โดยให้ยกระดับ และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการทำงานของภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.จึงได้ร่วมมือกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยสร้างหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถและมาตรฐานการบริหารจัดการของส่วนราชการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลในระดับโลก จากแนวคิดและเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ต่างประเทศใช้ได้ผลดี นำมาปรับแต่งให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย กำหนดเป็น เกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA)

การส่งเสริมให้ส่วนราชการนำ เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐหรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า PMQA ไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล สำนักงานก.พ.รได้กำหนดเป็นประเด็นการประเมินผลและตัวชี้วัดในกรอบการประเมินผลส่วนราชการซึ่งจะต้องมีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนา เศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้ง รัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่ง เน้นให้เห็นว่า รัฐต้องเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาโครงการป้องกันน้ำท่วมการผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่าการบริหารภายนอกเปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
- องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
- ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมืองด้วยอคติที่ว่าจะต้อง
วัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
- เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
เศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่มเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
- จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวหนักกลับมาพัฒนาหลายๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้าน
ประจักษ์นิยม และ ปัทสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
และมีรูปแบบการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศโลกที่3ได้แก่ ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำจะมีลักษณะดังนี้ 1.ประชาชนมีคณุภาพชีวิตต่ำ
2.มีความสามารถในการจัดหาผลิตผลเพื่อการบริโภค 3.เป็นผู้ประกอบการผลิตวัตถุดิบเสียเป็นส่วนใหญ่ 4.มีแรงงานส่วนใหญ่อยู่ภาคเกษตรมากกว่าอุตสาหกรรมประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศโลกที่สอง
การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการเมืองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหรือสถานการณ์ ทางการเมืองอย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่ง เน้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจ ทางการเมืองน้ำหนักของกิจกรรมทางการเมืองเมือเทียบกับกิจกรรมอื่นๆการมุ่งความสำเร็จและความเป็นไปได้ในทางโลก
การบริหารการพัฒนาเน้นการพัฒนาสังคม
แนวคิดของการพัฒนาสังคมเน้นใน 3 ประการ คือ 1.การส่งเสริมอำนาจ:การให้สิทธิให้ทางเลือกแก่ผู้ยากจน
2.การบูรณาการ:ส่งเสริมให้สถาบันให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพเข้าถึงความต้องการของผู้ยากจน
3.ความมั่นคง:การส่งเสริมความมั่นคงของสังคมและความมั่นคงของมนษุย์

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนษุย์ในระดับ กระทรวง และกรม โดยอาศัยกระบวนการในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์และ พันธกิจลงมาตามโครงสร้างการบริหารเพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถกำหนด กรอบกลยุทธ์และแผนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันโดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือสำนักงานก.พ.เป็นส่วนราชการระดับกรมในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา ควบคุมดูแล โดยการนําแผนแม่บทต่างๆ ในการพัฒนาประเทศมาเป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละหน่วยงานราชการ ซึ่งมีบทบาท และหน้าที่เปรียบเสมือนกับฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐที่มีหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาข้าราชการพลเรือนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มมีประสิทธิภาพ เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูงที่ให้ประสิทธิผลในการทำงานสูงสุดควบคู่ไปกับ การสนับสนุนด้านการพัฒนา และฝึกอบรมท้ังในสํานักงานก.พ.เอง และการไปศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งรักษาขวัญ และส่งเสริมกำลังใจในการทำงานของข้าราชการในส่วนรวม

Popular posts from this blog

จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 1 ภาคการศึกษาที่ 3/2563 (เสาร์ที่ 24 - อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564) 44/01

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 1; ภาค/ ปีการศึกษา 3/2564