การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 2 วันที่ เสาร์ที่ 6 อาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2565

  1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา 


                2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา 
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module นี้  ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า   Post a Comment นักศึกษาคลิกที่นี่ จะปรากฏ กล่อง สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย  

                3.  นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาการบริหารการพัฒนา นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์  ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้  

        4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ 

              4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา

              4.2 เอกสารประกอบการศึกษา

                    ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่ 

              https://supwat.wixsite.com/-education/สำเนาของ-การบร-หารการพ-ฒนา-module-2


     5. Assignment

        5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร 

      5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง

      

    6. นักศึกษาต้องอภิปรายกลุ่ม ในฟอรั่มแสดงความเห็น

      6.1 การอภิปรายแสดงความคิดเห็นในทุก คือ Module 1ม Module 2, และ Module 3

      6.2 นอกจากการประเมินเนื้อหาแล้ว ระบบจะดำเนินการวิเคราะห์ความถี่ในการอภิปรายแสดงความเห็นของนักศึกษาด้วย   

     อภิปรายกลุ่มและแสดงความเห็นที่นี่  https://supwat.wixsite.com/-education/forum/general-discussions/khwaamehnklum-391mou

Comments

Anonymous said…
นาย อิทธิพล รัตมณี รหัส 64423471286
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ความหมายการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative development or development of administration, administrative modernization, administrative reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดีคาเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
Anonymous said…
นาย อิทธิพล รัตมณี รหัส 64423471286
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการในช่วง ปี 2546-2550 ไว้ว่า พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก

ส.ต.หญิงนฤมล สุดสวาท ทบ.รุ่นที่ 50 64423471332
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา

แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่าเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Chinese Model)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)

6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโล แฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน ในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนา ชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่ จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แนวคิดใหม่ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)” การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่ “สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”
ส.ต.หญิงนฤมล สุดสวาท ทบ.รุ่นที่ 50 64423471332
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย (devolution)
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้ออต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล (การปฏิบัติงานให้ สัมฤทธิผลเป็นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา)
สิบโท สุนันท์ รัววิชา 64423471317

1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
สิบโท สุนันท์ รัววิชา 64423471317
2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สาขาวิชา อาชีพ และสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล
Anonymous said…
ส.ท.เอกธวัช พรสิงห์ รหัสนักศึกษา 64423471287

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933 - 1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารักฐต้องเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941 - 1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนา โครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลาย ๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข
ยุคที่ 3 เป็นยุคการบริหารการพัฒนา คำว่า การบริหารงานภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารเพื่อการพัฒนา องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าพัฒนาสังคมและการเมือง มุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยิ่งพัฒนาคนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกอยู่กับคนบางกลุ่ม
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลาย ๆ ด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้าน ประจักษ์นิยม และปทัสถานนิยม

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ จุลภาค คือ แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อรับผิดชอบงาน ใหม่ ๆ
ประการที่สาม อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี พิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่าขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก เน้นการประสานงานในแนวนอนเก่า ๆ กับในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อม ๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ
ประการที่แปด ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน

2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร พิจารณาได้เป็ นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง

3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร
การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ส.ท.ณัฐภัทร ทองจันทร์ รหัสนักศึกษา 64423471278
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สำคัญ คือ การนำกฎระเบียบของสังคมที่ได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดำเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติคือ มิติ ความสมดุลของการพัฒนา (Balanced Administration Growth)กับความไม่สมดุลของการพัฒนา
(Unbalanced Administration Growth)และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) หรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมที่ละน้อย (Incremental) ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2 มิติ อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาการบริหารมี 4แนวทาง ได้แก่
1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ (Balanced and Comprehensive) คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กันระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง
2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Balanced and Incrementa l) เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรรมสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วนไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้โดยไม่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลง จึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้มีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่
ให้ส่วนใด เปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน
3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด (Unbalancedand Comprehensive) เป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดของการพัฒนา โดยจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นรวมทั้งเป็นการวางแผนหรือกำหนดนโยบายจากส่วนกลางซึ่งปกติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการให้เงินจำนวนมากไปพัฒนา
4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Unbalanced and Incremental) เป็นการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยและในโลก ไม่ว่าจะเป็นการย้ายฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติเข้ามาสู่ประเทศไทย การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการบริการ และโดยเฉพาะการขยายตัวของระบบการค้าของระบบการค้าและการเคลื่อนไหวของเงินทุนแบบเสรีนั้น ทำให้ธุรกิจเอกชน หน่วยงานราชการและองค์กรการเมืองมีความสลับซับซ้อนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น จึงเกิดความจำเป็นสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะต้องเพิ่มสมรรถภาพและความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะการเปลี่ยนแปลงจะนำมาสู่การบริหารจัดการองค์กรเพื่อความอยู่รอด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้หลายประเทศที่ไม่ปรับตัวตามต้องประสบกับปัญหามากมาย แต่ระบบบริหารราชการยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ยังคงใช้วิธีการบริหารงานในลักษณะแบ่งตามหน้าที่จึงเกิดปัญหาด้านการบริหารตามมาหลายประการ
เพราะการบริหารภาครัฐตามแนวคิดของแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่มีลักษณะสำคัญ คือ การแบ่งงานตามภาระหน้าที่ และมีการจัดโครงสร้างองค์การเป็นรูปพีระมิด เป็นสาเหตุสำคัญก่อให้เกิดปัญหาต่อการทำงานขององค์การภาครัฐของไทย สรุปได้ดังนี้ (สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ 2545 : 4)ขนาดที่ขยายใหญ่โตตามอายุองค์การภาครัฐของไทยที่มีอายุเพิ่มมากขึ้นทำให้สายบังคับบัญชายาวมีการกำกับดูแลหลายชั้นส่งผลให้การทำงานขององค์การภาครัฐมีขั้นตอนมากการทำงานล่าช้าทำให้เกิดความสิ้นเปลือง
กฎหมายกำหนดให้องค์การสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน แต่เนื่องจากองค์การใหญ่โตซับซ้อน มีภารกิจหลายด้าน ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างครบถ้วนส่งผลให้การทำงานขาดความรอบคอบและมีความเสี่ยงสูง (High Risk) ก่อให้เกิดความบกพร่องต่องาน และเกิดความเสียหายต่อราชการ ต่อประเทศและสังคมไทยโดยไม่จำเป็น
องค์การภาครัฐ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานยิ่งทวีความซับซ้อนและสร้างความซ้ำซ้อนเกิดขึ้น มีอัตรากำลังมากขึ้นจนเกิดความเทอะทะอุ้ยอ้าย และขาดประสิทธิภาพสิ้นเปลืองสูญเปล่า เป็นการสูญเสียทรัพยากรของประเทศไทยโดยรวม
การจัดโครงสร้างเป็นรูปพีระผิดทำให้หน่วยงานระดับล่างมีความสับสนเพราะข้อมูลล่าช้า และไม่ทันต่อสถานการณ์ เกิดความไม่ชัดเจนระหว่างบทบาทของตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์การ
หน่วยงานราชการมักไม่สามสารถปรับเปลี่ยนการบริหารงาน หรือปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานได้ทันการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยและภาวะแวดล้อม ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีความหลากหลายและมีความซับซ้อนมากขึ้น
การปรับปรุงหน่วยงานราชการทำได้ยากเนื่องจากเป็นระบบที่แข็งตัว การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งจึงต้องใช้ความพยายาม ทรัพยากรมาก และใช้เวลานาน จนผู้ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเกิดความล้าและท้อจนเลิกไปในที่สุด
หน่วยงานราชการทำงานอย่างเอกเทศขาดการประสานเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากหน่วยงานที่กำหนดทิศทางและนโยบายไม่อาจเชื่อมต่อกับหน่วยงานที่มีมากมายที่อยู่กระจัดกระจาย และเมื่อระบบการทำงานไม่ทันสมัยไม่เป็นระบบจึงมีผลให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานตามที่กฎหมาย
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ. (2541 : 24-25)
ได้อธิบายปัญหาของระบบบริหารงานภาครัฐของไทยที่มีปัญหาที่จัดเจนอีกประการหนึ่งคือ การที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจในบริการที่ได้รับจากหน่วยราชการ ในขณะเดียวกันภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้างและระเบียบต่าง ๆ ข้าราชการไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เต็มที่ การขาดความสามารถในการตอบสนองความต้องการนี้จึงสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการปฏิรูป เพราะหากขาดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังแล้ว ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนข้าราชการหรือนักการเมืองจะต้องเผชิญกับความสูญเสียร่วมกันทั้งสิ้น
จากปัญหาพื้นฐานขององค์การภาครัฐของไทยข้างต้น จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งโครงสร้าง ระบบงาน และวัฒนธรรมไปพร้อม ๆ กัน การเปลี่ยนแปลงองค์การภาครัฐของไทยโดยใช้การปฏิรูประบบราชการ จึงกำหนดวัตถุประสงค์ 6 ประการดังนี้(จุมพล หนิมพานิช, 2550 : 416-417, ปรีชา วัชราภัยและปัทมา สุขสันต์, 2559 : 299-300,)
1. ยกระดับขีดความสามารถและสร้างประสิทธิภาพโดยรวมของหน่วยงานราชการเพื่อที่ภาครัฐจะสามารถนำบริการที่ดีมีคุณภาพสู่ประชาชน
2. มีระบบการทำงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงเท่าเทียมกับมาตรฐานสากล
3. สร้างและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนและสังคมต่อระบบราชการ
4. สร้างระบบราชการให้ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของประชาชน
5. มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
6. สนับสนุนภาคประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนให้เติบโต มีความเข้มแข็ง และเป็นกลไกหลักในการพัฒนาประเทศ
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ. การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ development administration ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนา ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจากกิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบ เป็นระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับ การยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ.1930 – 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัยประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูเวลส์ ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมากมีการริเริ่มโครงการพัฒนาต่างๆ การออกกฎหมายเกี่ยวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชนจนประสบความสำเร็จ นับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ ในเรื่องการกำหนดนโยบาย การวางแผน การบริหารโครงการ ตลอดจนการกำหนดหน้าที่ขององค์การในการบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่างๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมายคือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมาความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่างๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่นๆ ในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกันในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาด้วยการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในยุโรปที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือนี้มาในรูปแบบของการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ โดยประเทศต่างๆ ที่ได้รับการช่วยเหลือได้เริ่มมีแผนพัฒนาฯ เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ
สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติเพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ. การพัฒนาระบบราชการไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลานานหลายยุคสมัย มียุคแห่งการพัฒนาการบริหารราชการได้เป็น 4 ยุคได้แก่ 1.) ยุคก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 2.) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 3.) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 4.) ยุคปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะในยุคล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการทั้งด้านโครงสร้าง ขั้นตอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง พฤติกรรมการบริหารราชการอันเกิดจากบุคลากรของรัฐ ทำให้ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่
แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เกิดมาจากการหลอมรวมแนวคิดที่แตกต่างกัน 2 กระแสโดยกระแสแนวคิดแรกคือเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ (New Institutional Economics) ซึ่งเกิดมาจากทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) ทฤษฎีผู้ว่าจ้าง-ตัวแทน (Principal-agent Theory) และทฤษฎีต้นทุน-ธุรกรรม (Transaction Theory) ซึ่งมองการเมืองเปรียบเสมือนปรากฏการณ์ทางการตลาดและอีกกระแสแนวคิดหนึ่งคือการจัดการนิยม (Managerialism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการบริหารภาครัฐโดยนำเอาวิธีการหรือเทคนิคต่างๆของภาคธุรกิจเอกชนมาใช้หรือเป็นการบริหารงานที่เลียนแบบภาคธุรกิจเอกชนโดยมีลักษณะลดขั้นตอน ลดขนาดโครงสร้างองค์การ รวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินงานโดยมุ่งผลลัพธ์สุดท้ายมากกว่าวิธีการทำงาน
สรุป
ผลของการปฏิรูปและการพัฒนาระบบราชการไทยภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นที่คาดหมายไว้ว่าจะมีระบบราชการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองพันธกิจและภารกิจในการให้บริหารแก่ประชาชน และประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์มีขนาดกะทัดรัด และโปร่งใสตรวจสอบได้ และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย โดยใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล
การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นในหลายระดับ แต่หากจะจำแนกโดยกว้าง ๆ แล้วสามารถพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ การเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับองคาพยพทั้งหลายในที่เกิดขึ้นในระดับชาติและระหว่างประเทศ ที่ส่งผลต่อการจัดการภายในประเทศโดยรวม บทบาทในส่วนนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า รัฐในฐานะผู้บริหารราชการแผ่นดิน ย่อมมีหน้าที่หลักในการสร้างระบบและกลไกเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกคนในสังคมในหลายระดับ เช่น ระดับปัจเจกบุคคล ระดับองค์กร ระดับเครือข่าย ระดับภูมิภาค ทั้งฝ่ายเอกชน ประชาชน รวมทั้งภาคส่วนวิชาการทั้งหลาย เป็นต้น เพื่อให้เกิดกระบวนการของการขับเคลื่อนด้วยพลังของทุกภาคส่วนให้เกิดผลในระดับชาติ
สำหรับในอีกลักษณะหนึ่งนั้น คือการเปลี่ยนแปลงในระดับจุลภาค คือการเปลี่ยนแปลงในระดับหน่วยย่อยของสังคมที่รองลงมาจากรัฐส่วนกลาง นั้น คือในระดับท้องถิ่น และในอีกนัยหนึ่งคือในระดับองค์กร ที่ต้องพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าให้กับท้องถิ่นและองค์กรในการจะดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้นั้น ต้องเริ่มต้นจากผู้นำที่มีขีดความสามารถในการนำการเปลี่ยนแปลงและพลังจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในกระบวนการ
ดำเนินงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน ในฐานะผู้นำความคิด ความรู้ และปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ บทความนี้จึงต้องการที่จะนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง และบทบาทของผู้นำต่อการนำองค์กรให้พัฒนาสิ่งที่ควรตระหนักของผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือการบริหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนาการบริหารเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนา
ส.ต.วุฑฒินันท์ พลนาแสน 64423471285 said…
ส.ต.วุฑฒินันท์ พลนาแสน รหัส 64423471285
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารการพัฒนาดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ปรากฏว่าออกมาในรูป ของบทความ หนังสือ และผลงานวิจัย เช่น
(1.)บทความของไวเนอร์ เน้นในเรื่องการปฏิรูปการบริหารให้ได้มาซึ่งการประหยัดในการ บริหาร แต่ขาดในเรื่องนโยบายศาสตร์
(2.)องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของเออร์วิง สเวิดโลว์ กล่าวถึงการบริหารการ พัฒนามีความแตกต่างจากการบริหารโดยทั่วไป เพราะการบริหารการพัฒนาเป็นการบริหารของ ประเทศที่ก าลังพัฒนา
(3.)องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของเฟรด ดับบลิว ริกส์ สรุปได้ว่าข้าราชการ จะต้องสามารถที่จะแสดงบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในกระบวนการของการพัฒนา และหัวใจของการ บริหารการพัฒนา คือความสามารถในการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
(4.)องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาโดยพาแนนดิเกอร์ และเซอร์ซาร์การ์ จากการ สำรวจดูองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ได้จากต่างประเทศพอจะประเมินสถานภาพ ปัจจุบันของวิชานี้ได้ คือ
4.1คำนิยามของการบริหารการพัฒนา การพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการ พัฒนาดูเหมือนจะได้รับการยอมรับมากขึ้น
4.2จากการพิจารณาดูผลงานข้างต้น พบว่า องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนามิใช่ มุ่งเน้นแต่การพัฒนาเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เน้นการพัฒนาการบริหาร การ พัฒนาการบริหาร การพัฒนาทางการเมือง การพัฒนาทางสังคม การพัฒนาชุมชนเมือง และเรื่อง อื่นๆด้วย
ส.ต.วุฑฒินันท์ พลนาแสน 64423471285 said…
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ จุลภาค คือ แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่ 2. หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อรับผิดชอบงาน ใหม่ ๆ
ประการที่ 3. อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่ 4. พิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่าขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ 5. เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่ 6. เน้นการประสานงานในแนวนอนเก่า ๆ กับในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่ 7. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อม ๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ
ประการที่ 8. ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน

2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร พิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง

3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร
การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ส.ท.เฟาซี เกาะหมาน
รหัสนักศึกษา 64423471307
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

ตอบ การบริหารการพัฒนา ในฐานะท่ีเป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ ในฐานะท่ีเป็นกิจกรรม หรือกระบวนการ ซึ่งมีความหมายท้ัง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนา ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชาน้ัน เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกตุ การศึกษาและการวิจัยจาก กิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกท่ีเป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่างๆ ท่ีมีลักษณะเป็นระเบียบเป็น ระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับ การยอมรับว่าเป็นสาขาหน่ึงของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
สาหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะท่ีเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเร่ิมตั้งแต่ในปี ค.ศ.1930 – 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัย ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ได้ให้ความสาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีการริเร่ิมโครงการพัฒนาต่างๆ การออกกฎหมายเก่ียวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การ ให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชน จนประสบความสำเร็จ นับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ ในเรื่องการกำหนดนโยบาย การวางแผน การบริหารโครงการ ตลอดจนการกำหนดหน้าท่ีขององค์การในการบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จ หลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่างๆ ในยุโรปให้ ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมายคือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศท่ีพัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสาเร็จของการพัฒนาประเทศต่างๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็น ตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่นๆ ในเอเชีย อัฟริกาและ ลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสาคัญ ในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการแก่ประเทศกาลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ด้วย ซึ่งการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในยุโรปท่ีเข้ามาให้ความช่วยเหลือนี้มาในรูปแบบของการให้ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า รวมท้ังการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ โดย ประเทศต่างๆ ท่ีได้รับการช่วยเหลือได้เร่ิมมีแผนพัฒนาฯ เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ สาหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศท่ีพัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติเพื่อมุ่ง พัฒนาไปถึงจุดหมายน้ัน
ส.ท.เฟาซี เกาะหมาน
รหัสนักศึกษา 64423471307

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจทาได้หลายวิธี
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อ หรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใดยกตัวอย่างเช่นจากการศึกษาในอินเดียพบว่าลักษณะ ทางโครงสร้างของระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็นสายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันทำและระบบ กฎเกณฑ์ ล้วนแต่ไม่เอื้อต่อการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบราชการซึ่งเป็นแนวความคิดของประเทศตะวันตกและใช้ได้ผลในประเทศเหล่านั้นแต่เมื่อนำมาประยุกต์ในประเทศที่ กำลังพัฒนากลับไม่ได้ผล หรือได้ผลแต่ไม่เต็มที่ และยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาเน้นโครงสร้างระบบ ราชการสมัยใหม่เป็นกรอบในการพัฒนามากเท่าใด ก็ยังทำให้รัฐบาลและมวลชนในประเทศที่กาลังพัฒนายิ่งแยกกันมากขึ้นเพียงนนั้น ผลที่ตามมาก็คือ ความแตกแยกการก่อการร้ายและคตินิยมดั้งเดิมที่ เน้นความรุนแรงขึ้น
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา“หน่วยงานสร้างชาติ”เพื่อ รับผิดชอบงานใหมๆเช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม การดูแลรัฐวิสาหกิจ การ ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งและการสื่อสารและการปฏิรูประบบการศึกษา
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารอาจจะทำได้โดยการจัดองค์การ
แมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารอาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่ นั้นก็คือ จะต้องไม่ใหญ่โตจนเกินไปจนยากแก่การบริหารหรือไม่เล็กจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้อง เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grass roots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบรากข้าว (rice roots democracy) ซึ่งตามความเห็นของ เชอรี่ อาร์.อาร์นสไตน์ (Sherry R. Arabstein) นั้นการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของประชาชนก็คือ จะต้องมีอำนาจควบคุมการดำเนินงานและการจัดการ โครงสร้างการพัฒนาอย่างเต็มที่ด้วยตนเอง
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับในแนวตั้งเนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก สหสาขาวิชาสหอาชีพและสหสถาบัน ฉะนั้น การประสานงานโดยอำนาจบังคับบัญชาอาจจะต้องเสริม ด้วยการประสานงานโดยการบริหารเพื่อการพัฒนา การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกันระหว่างฝ่ายสายช่วยอำนวยการและฝ่ายสายงานหลัก การประสานงานโดยการปล่อยหรือขยักทรัพยากรเอาไว้ การ ประสานงานโดยการเจรจาประนีประนอม และการประสานจากเบื้องล่างซึ่งประชากรเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆ หน่วยงาน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทาไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน ซึ่ง การออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสนองตอบต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การ เทคโนโลยีสังคมและความต้องการส่วนตัวของผ้ปูฏิบัติงานเองและวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน ก็เพื่อให้บุคคลมีมูลเหตุจูงใจในการทำงานด้วยความพึงพอใจและมีผลงานที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศ
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลักการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสะมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations)ทั้งนี้ เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงาน ย่อมทำให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ” (Strategic organization) นั่นก็คือ การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อานวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆกันด้วย
ส.อ.อภิเชษฐ์ พวงซ้อน รหัส 64423471311
คำถาม 5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การปรับปรุงกลไกส่วนต่างๆ ของกรบริหารงานเพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและประหยัดการพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาทฤษฎีการพัฒนาการบริหาร ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สำคัญ คือ การนำกฎระเบียบของสังคมได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดำเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนำโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติ คือ มิติ ความสมดุลของการพัฒนากับความไม่สมดุลของการพัฒนา และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จหรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมที่ละน้อยดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2มิติ อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาการบริหารมี 4 แนวทาง ได้แก่
1 .การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กัน ระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผ่นให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง
2. การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรมสามรถสนับสนุนซึ่งกันแลกัน อย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วนไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไโดยไม่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงจึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้มีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่ให้ส่วนใด เปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน
3. การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเข็ดเสร็จรวบยอดเป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลกที่สำคัญที่สุดของกรพัฒนาโดยจะให้ ความสำคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น รวมทั้ง เป็นการวางแผนหรือกำหนดนโยบายจากส่วนกลาง ซึ่งปติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการ ให้เงินจำนวนมากไปพัฒนา
4. การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไปเป็นการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลงให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กที่ละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว
ยกตัวอย่าง รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
การพัฒนาบริหารงานบุคคลสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เป็นการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานในสถานศึกษา
เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถยกระดับการบริหารงานบุคคล และ
ตอบสนองความต้องการ ผลลัพธ์ด้านองค์กร คือ ระบบการพัฒนาบุคลากร มีกระบวนการพัฒนาบุคลากร
มีมาตรฐานคุณภาพบุคลากร มีความเป็นเลิศด้านการจัดการ ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลสู่ความเป็นเลิศ
ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ส.อ.อภิเชษฐ์ พวงซ้อน รหัส 64423471311
คำถาม 5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การประยุกต์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการพัฒนาระบบราชการไทย ยึดหลัก 3 S คือ
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ
2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์
3. แผนการปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคล
4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
สรุป ผลของการปฏิรูปและการพัฒนาระบบราชการไทยภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นที่คาดหมายไว้ว่าจะมีระบบราชการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองพันธกิจและภารกิจในการให้บริหารแก่ประชาชน และประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์มีขนาดกะทัดรัด และโปร่งใสตรวจสอบได้ และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย โดยใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล
ภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ” ทั้ง 3 ระดับ
ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับองค์กร
ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
ระดับที่ 3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ
สรุป การพัฒนาสังคม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ท าให้สมาชิกในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นการกระท าใด ๆ ก็ตามที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างทางสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกในสังคมที่อยู่ร่วมกันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงลักษณะที่เป็นทั้งด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ โดยการพัฒนาสังคมมีความสำคัญหลากหลายประการได้แก่ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมลดน้อย หรือเบาบางลงไป ทำให้เกิดการป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า ท าให้ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและทำให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น โดยมีเป้าหมายของการพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ
1.มิติทางสังคมศาสตร์เกี่ยวข้องกับความสุข ครอบครัวและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม
2.มิติทางศาสนาอธิบายว่าการพัฒนาจะต้องเป็นไปเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีและ
3.มิติทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็นระดับจุลภาคและระดับมหภาค แนวทางการพัฒนาสังคมที่สำคัญสำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและ แนวทางความร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยทั้ง 3 แนวทางผู้ศึกษาต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการพัฒนาสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ต่างกันอย่างถ่องแท้ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบครอบครัว ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครองและระบบความเชื่อมั่นและการปฏิบัติทางศีลธรรม สำหรับแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคม มีการแบ่งออกเป็น 2 สำนักที่สำคัญ ได้แก่
3.1 กลุ่มทฤษฎีการพัฒนาสังคมกระแสหลัก ประกอบด้วย ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพาและทฤษฎีโลกภิวัตน์
3.2 กลุ่มทฤษฎีการพัฒนาสังคมทางเลือก ประกอบด้วย ทฤษฎีเครือข่ายทางสังคมและแนวคิด
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ส.ท.ภูวนาท เชิงสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 64423471284
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
รูปแบบการพัฒนาของการบริหาร
1. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างทางการบริหารนับว่ามีอิทธิพลเหนือ พฤติกรรมการบริหารอยู่ไม่น้อย
2.การพัฒนากระบวนการการบริหาร การพัฒนากระบวนการการบริหารมุ่งที่จะขจัดจุด อุดตันของการไหลของงาน การย่นระยะเวลาเดินทางของงาน และการทำงานให้ง่ายเข้าทั้งนี้เพื่อเพิ่มสรรถนะขององค์การที่จะสนองตอบเป้ าหมายการพัฒนาของประเทศ
3.การพัฒนาพฤติกรรมการบริการ ความจริงแล้ว พฤติกรรมพัฒนาหรือไม่พัฒนา บุคลากรนั้นเป็นผลพวงที่เกิดจากปัจจัยหลายประการ
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริ หาอาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะท าให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอ านาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาด ไปเลย (devolution) อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะกระจายอำนาจไปยังเบื้องล่างนั้นหน่วยงานพัฒนาจำเป็น จะต้อง รวมอ านาจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เสียก่อน มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาในการติดตามและ ประเมินผลงานในภายหลัง






คำถาม 5. Assignment (ต่อ)
คำถาม 5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมี
อะไรบ้าง
ตอบ 5.2.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการที่ 1 การวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อย ความแตกแยกการก่อการร้ายและคตินิยมดั้งเดิมที่เน้นความรุนแรงขึ้น
ประการที่ 2 โครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ
ประการที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การ แมททริกซ์ (Matirx organization) คือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ในขณะเดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่คอยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานมากกว่าผู้บังคับบัญชา
ประการที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ 5 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้อง เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grass roots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบรากข้าว (rice roots democracy)
ประการที่ 6 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับในแนวตั้งเนื่องจากการบริหารการพัฒนาจเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากสหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน อาจจะต้องเสริม ด้วยการประสานงานโดยการบริหารเพื่อการพัฒนา การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกัน การประสานงานโดยการปล่อยหรือขยักทรัพยากรเอาไว้ การประสานงานโดยการเจรจาประนีประนอม และการประสานจากเบื้องล่าง
ประการที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน (work or job design) คือ การกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสนองตอบต่อความต้องการ
ประการที่ 8 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมท า ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการที่ 9 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ” (Strategic organization) คือ การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้ สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
5.2.2 แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร
แนวทางที่ 1 ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่ 2 การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่ 3 การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย (devoluion)
5.2.3 การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทางพฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องสวนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล (การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผลเป็นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา) และความมีเหตุผล มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ความเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นดรรชนีของการบริหารการพัฒนาเช่นเดียวกัน) แต่การมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กลับไม่เอื้อต่อดรรชนีของการบริหาร มิใช่สูตรสำเร็จที่ลอกเลียนกันได้อย่างง่ยๆ ทั้งในแง่กรอบแนวความคิด ระเบียบวิธีวิจัยเละการตีความข้อมูล ตรงกันข้าม พฤติกรรมการพัฒนา ไม่พัฒนา หรือที่ผู้เขียนเรียกว่า ความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศนั้น อาจจะสืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม นโยบายการบริหารโครงสร้างทางการบริหาร และกระบวนการการบริหาร ตลอดจนภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจของผู้ปฏิบัติงานเองก็ได้


นางสาวอมรรัตน์ พึงใจ รหัสประจำตัวนักศึกษา 64423471323
คำถาม 5. Assignment
คำถาม 5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ 5.1 การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนา โครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ้ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมือง ด้วยอคติที่ว่า จะต้องวัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้ เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
เศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่าง
ระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้าน ประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
5.2 รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
5.2.1 แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจ การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่า เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยีและความรู้ทางวิทยาศาสตร์
5.2.2 แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็น พื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวช้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (ChineseModel)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)
6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโล แฟร์ เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชนในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนาชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
5.2.3 แนวคิดใหม่ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฎอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้
ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)" การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก มุ่งพัฒนาสังคมสู่ "สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ"


นางสาวอมรรัตน์ พึงใจ รหัสประจำตัวนักศึกษา 64423471323
สิบโท จักรพันธ์ บุญบรรลุ 64423471328
#module-2#
Assignment ตอบคำถามต่อไปนี้
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
สิบโท จักรพันธ์ บุญบรรลุ 64423471328
2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สาขาวิชา อาชีพ และสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล
สิบโท สุพจน์ นุ่มประสงค์ 64423471333
#module-2#
Assignment ตอบคำถามต่อไปนี้
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
สิบโท สุพจนื นุ่มประสงค์ 64423471333

2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สาขาวิชา อาชีพ และสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล
จ.ต.ชุมพล ศรีคำม้วน 64423471330
Module 2
จ.ต.ชุมพล ศรีคำม้วน 64423471330
Module 2

-การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ความหมายการพัฒนาการบริหาร
1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น

-แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
จ.ส.อ. พรพล พุ่มพินิจ รหัส 64423471337
การบริหารการพัฒนา Module 2
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
1.การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบำเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2.ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3.การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4.การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5.การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6.การปรับปรุงฝ่ายบริหาร หมายถึง การปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7.การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8.การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
จ.ส.อ. พรพล พุ่มพินิจ รหัส 64423471337
การบริหารการพัฒนา Module 2
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ประการ 1 เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อ หรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใดยกตัวอย่างเช่นจากการศึกษาในอินเดียพบว่าลักษณะ ทางโครงสร้างของระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็นสายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันทำและระบบ กฎเกณฑ์ ล้วนแต่ไม่เอื้อต่อการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบราชการซึ่งเป็นแนวความคิดของประเทศตะวันตกและใช้ได้ผลในประเทศเหล่านั้นแต่เมื่อนำมาประยุกต์ในประเทศที่ กำลังพัฒนากลับไม่ได้ผล หรือได้ผลแต่ไม่เต็มที่ และยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาเน้นโครงสร้างระบบ ราชการสมัยใหม่เป็นกรอบในการพัฒนามากเท่าใด ก็ยังทำให้รัฐบาลและมวลชนในประเทศที่กาลังพัฒนายิ่งแยกกันมากขึ้นเพียงนั้น ผลที่ตามมาก็คือ ความแตกแยกการก่อการร้ายและคตินิยมดั้งเดิมที่ เน้นความรุนแรงขึ้น
ประการ 2 หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา“หน่วยงานสร้างชาติ”เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม การดูแลรัฐวิสาหกิจ การ ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งและการสื่อสารและการปฏิรูประบบการศึกษา
ประการ 3 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารอาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการ 4 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารอาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่ นั้นก็คือ จะต้องไม่ใหญ่โตจนเกินไปจนยากแก่การบริหารหรือไม่เล็กจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้
ประการ 5 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้อง เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grass roots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบรากข้าว (rice roots democracy) ซึ่งตามความเห็นของ เชอรี่ อาร์.อาร์นสไตน์ (Sherry R. Arabstein) นั้นการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของประชาชนก็คือ จะต้องมีอำนาจควบคุมการดำเนินงานและการจัดการ โครงสร้างการพัฒนาอย่างเต็มที่ด้วยตนเอง
ประการ 6 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับในแนวตั้งเนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก สหสาขาวิชาสหอาชีพและสหสถาบัน ฉะนั้น การประสานงานโดยอำนาจบังคับบัญชาอาจจะต้องเสริม ด้วยการประสานงานโดยการบริหารเพื่อการพัฒนา การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกันระหว่างฝ่ายสายช่วยอำนวยการและฝ่ายสายงานหลัก การประสานงานโดยการปล่อยหรือขยักทรัพยากรเอาไว้ การ ประสานงานโดยการเจรจาประนีประนอม และการประสานจากเบื้องล่างซึ่งประชากรเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆ หน่วยงาน
ประการ 7 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทาไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน ซึ่ง การออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสนองตอบต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การ เทคโนโลยีสังคมและความต้องการส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานเองและวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน ก็เพื่อให้บุคคลมีมูลเหตุจูงใจในการทำงานด้วยความพึงพอใจและมีผลงานที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศ
ประการ 8 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลักการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations)ทั้งนี้ เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงาน ย่อมทำให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการ 9 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ์” (Strategic organization) นั่นก็คือ การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การเพื่อให้มีความเจริญเติบโตไปพร้อมเพรียงกัน
ส.ท. ฐิติกร ณ วิเชียร รหัส 64423471280

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ - การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาเริ่มเป็นที่ยอมรับเมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1950 (ค.ศ.) โดยมีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ development administration ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจากกิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็นระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1930 - 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย อัฟริกาและลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสำคัญ
สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติ เพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

- รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร : แบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ คือ 1) การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration), 2) ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization), 3) การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform), 4) การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization), 5) การพัฒนาองค์การ (organization development), 6) การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement), 7) การปรับปรุงองค์การ (organization improvement) และ 8) การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร โดยแบ่งเป็นแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
- แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
- แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางเดินงานสั้นลง และง่ายขึ้น กระจายงานออกไปยังหน่วยย่อย เพื่อลดความแออัดของส่วนกลาง
- การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
Unknown said…
ส.ท.หญิงพรลภัส พงษ์พา 64423471301
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
Unknown said…
ส.ท.หญิง พรลภัส พงษ์พา 64423471301

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ จุลภาค คือ แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อรับผิดชอบงาน ใหม่ ๆ
ประการที่สาม อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี พิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่าขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก เน้นการประสานงานในแนวนอนเก่า ๆ กับในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อม ๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ
ประการที่แปด ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน

2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร พิจารณาได้เป็ นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง

3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร
การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
จ่าโท ณัฐดนัย เสดา
รหัสนักศึกษา 64423471329
3 สิงหาคม ค.ศ. 2022


วิชาการบริหารการพัฒนา POS3404

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา
จ่าโท ณัฐดนัย เสดา
รหัสนักศึกษา 64423471329
3 สิงหาคม ค.ศ. 2022


วิชาการบริหารการพัฒนา POS3404

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย (devolution)
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้ออต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล (การปฏิบัติงานให้ สัมฤทธิผลเป็นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา)
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารการพัฒนาตั้งแต่ปีค.ศ.1970จนถึงปัจจุบันเป็นการมุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และโครงการที่กำหนดขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนารวมทั้งเก่ียวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
ในเรื่องเก่ียวกับการบริหารโครงการพัฒนานั้น มีกระบวนการสำคัญ คือมีการจัดทำและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินการตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ

รูปแบบการพัฒนาการบริหาร
-การพัฒนาการบริหาร
-ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร
-การปฏิรูปการบริหาร
-การจัดองค์การเสียใหม่
-การพัฒนาองค์การ
-การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
-การปรับปรุงองค์การ
-การพัฒนาตนเองเสียใหม่

5.2แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารราชการแบบเดิมให้ความสำคัญกับปริมาณทรัพยากรนาเข้า ได้แก่จำนวน งบประมาณอัตรากาลัง อาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆมีการใช้กฎระเบียบที่รัดกุมควบคุมการ ปฏิบัติราชการมิให้ราชการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป รวมถึงมีกระบวนการทางานที่ลดหลั่งตามสายการบังคับบัญชาทำให้บริการที่เป็นผลผลิตของระบบราชการมีต้นทุนสูงและประชาชนผู้รับบริการไม่ พอใจบริการที่ล่าช้าไม่สะดวก การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Results Based Management-RBM) เป็นเครื่อง การบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของ ประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตาม การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตาม ความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ
ระบบบริหารภาครัฐซึ่งกำหนดให้มีการกำหนดปฏิรูปราชการด้วยแผนงานหลัก 5 แผน คือ
1) แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและการบริหารงานภาครัฐ
2) แผนการปรับเปลี่ยนงบประมาณการเงินและการพัสดุ
3) แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล
4) แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5) แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกิจกรรมสำคัญของแผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทาง การบริหารไปสู่การบริหาร ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็น เครื่องมือการบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่

การบริหารระดับจุลภาค
การยอมรับนโยบายของหน่วยงานในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยการนำเอานโยบายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำก็จะสำเร็จได้ง่าย
1)การระดมพลัง ผู้บริหารระดับล่างเป็นผู้ประสานงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีหลักจิตวิทยาโน้มน้าวผู้ปฏิบัติได้
2)การปฏิบัติ ผู้บริหารระดับล่างและผู้ปฏิบัติย่อมเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับแผนงานและโครงการหรือสามารถเสนอการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
3)การสร้างความเป็นปึกแผ่น หรือความต่อเนื่องด้วยการยอมรับในนโยบายจึงมีการนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังโดยมีการประยุกต์เข้ากับงานประจำวัน
ส.ต. พัชร หวังสิทธิโชค
รหัส 64423471303
Module 2
ข้อ 1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ
1. การบริหารเพื่อการพัฒนา (administration of development) หรือ A of D หรือ การบริหารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการพัฒนา หมายถึง การที่นักวิชาการหรือผู้รู้ให้ความสําคัญกับการบริหารที่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการพัฒนาของหน่วยงานของรัฐ ในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการปฏิบัติการ (action) หรือเป็นกิจกรรม (activity) หรือการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานตามนโยบาย หรือแผน หรือแผนงาน หรือโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติงานตามแผนงานพัฒนาทั้งหลาย (development programs) ด้วยวิธีการต่าง ๆ และมีการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ เช่น
- Gant, 1979 แบ่งการบริหารการพัฒนาเป็นการบริหารภายในและภายนอก
- Swerdlow, 1963 เป็นการบริหารงานในประเทศด้อยพัฒนา
- Fainsod, 1963 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการแผ่ขยายรายได้ของชาติ
- Meadows, 1963 ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งนักบริหารการพัฒนา
- Montgomery, 1966 สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
- Weidner, 1962 แบ่งการบริหารการพัฒนาเป็นกระบวนการและความรู้ทางวิชาการ
- Riggs, 1970 การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การพัฒนาประสบผลสำเร็จ
- Shou-Sheng Hsueh, 1962 เน้นบทบาทที่เกี่ยวกับการบริหารเพี่อการพัฒนา
- Abueve, 1962 ให้ความสําคัญกับการบริหารแผนงานพัฒนา
- Khanna, 1962 เน้นการดําเนินงานพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ริเริ่มโดยชนชั้นผู้นํา และประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
- Nquyen-Duy Xuan, 1962 สนับสนุนให้มีการปรับปรุงองค์การที่มีอยู่ และจัดตั้งหน่วยงาน ใหม่ขึ้นมาปฏิบัติงาน ตามแผนงานพัฒนาต่าง ๆ
- อาษา, 2515 (1972) เป็นการบริหารงานในประเทศด้อยพัฒนาที่มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
- ปฐม, 2518 (1975) เป็นการบริหารรัฐกิจของทั้งประเทศพัฒนาและด้อยพัฒนา
- อนันต์, 2523 (1980) ขอบเขตของการบริหารการพัฒนาครอบคลุมด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง และการบริหาร
- อุทัย, 2525 (1982) ขอบเขตของการบริหารการพัฒนาครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ และสังคมรวมทั้งให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและการควบคุมการบริหารโดยประชาชน
- กมล, 2527 (1984) แบ่งการบริหารการพัฒนาเป็นการปฏิบัติการ และเป็นวิชาการบริหารการพัฒนา
- ติน, 2528 (1985) การนําเอาความรู้ความสามารถในการพัฒนาบริหารที่มีอยู่มาใช้
- ชัยอนันต์, 2531 (1988) แบ่งการบริหารการพัฒนาเป็นการบริหารภายในและภายนอก โดยการบริหารภายในที่มีประสิทธิภาพ เป็นเงื่อนไขสําคัญของการบริหารภายนอก
2. รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
2.1 จุดหมายปลายทางสูงสุด
การพัฒนาประเทศและประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุขอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง ยั่งยืน สมดุล และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.2 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการพัฒนา
จุดหมายปลายทางเบื้องต้น
2.3 ลักษณะสําคัญของการบริหารการพัฒนา
- การบริหารงานภาครัฐ
- การบริหารเพื่อการพัฒนา
- การมีวัตถุประสงค์
- การพัฒนาการบริหาร
ภายใต้เงื่อนไขของการมีความรู้และคุณธรรม ได้แก่
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ่มกัน
2.4 สภาพแวดล้อมภายในประเทศ
2.5 สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศ
ส.ต. พัชร หวังสิทธิโชค
รหัส 64423471303
Module 2
ข้อ 2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย รวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาค มีอะไรบ้าง?
ตอบ
จากแนวคิดการจัดการระบบราชการไทยให้มีประสิทธิภาพทำให้รัฐบาลไทยในสมัยต่างๆ ได้มีแนวคิดให้การพัฒนาระบบบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพโดยการปฏิรูประบบบริหารในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้.-
1. ความจำเป็นในการปฏิรูประบบราชการไทย การบริหารราชการไทยนอกเหนือจากการปฏิรูป เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและภารกิจของราชการอันเป้าหมายหลักแล้วปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและวิทยาการก็ล้วนก็ล้วนมีอิทธิพลที่ส่งผลให้องค์การต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง สำหรับประเทศไทย มีความจำเป็นในการปฏิรูประบบราชการ
2. แนวโน้มการบริหารราชการไทย จากแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และการปฏิรูประบบราชการไทย ย่อมส่งผลให้ระบบราชการไทยในอนาคต
3. หลักการพัฒนาระบบราชการไทย การพัฒนาระบบราชการไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลานานหลายยุคสมัย มียุคแห่งการพัฒนาการบริหารราชการได้เป็น 4 ยุค คือ 1) ยุคก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435, 2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435, 3) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 และ 4) ยุคปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยในยุคล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการทั้งด้านโครงสร้าง ขั้นตอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง พฤติกรรมการบริหารราชการอันเกิดจากบุคลากรของรัฐ ทำให้ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่
ส.อ.หญิง พนิดา ใจงาม 64423471296

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน กระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษที่ผ่านมา จากสังคมเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรม และเข้าสู่เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูลในปัจจุบัน
- ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม
- ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสู่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
- ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ยุคโลกาภิวัฒน์เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์- โลกไร้พรมแดน - เศรษฐกิจเสรี - ธุรกิจข้ามชาติ - หมู่บ้านโลก
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจากองค์กรขนาดใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ลดขั้นตอนการทำงานลดเอกสารที่ใช้ ลดจำนวนบุคลากร มีการแข่งขันขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าวิวัฒนาการทางการบริหาร การบริหารงานขององค์กรในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับ เปลี่ยนหลักทฤษฎีการบริหารมาตามลำดับ ดังนี้
ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Adam Smith จัดแบ่งโครงสร้าง หน้าที่การแบ่งงานกันทำและปรัชญา Big is Beautiful มีองค์กรและการผลิตขนาดใหญ่ ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดตลาดสินค้าและบริการ
ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Kai Zen Demming Philosophy QC Circle ปรัชญาทางการบริหารมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ ตลอดจนการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน ยุคหลังปี คศ. 1980 ทฤษฎีการบริหารงานที่นำมาใช้ คือ Total Quality Management ISO 9000 Business Process Reengineering ปรัชญาการทำงานมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์ประสิทธิภาพการทำงานทุกขั้นตอน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการตามมาตรฐานที่กำหนด การผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรื้อปรับระบบการทำงานใหม่ของระบบธุรกิจ เอกชน แนวคิดการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ (Globalization)
แนวทางหรือวิธีการบริหารของหน่วยงานภาครัฐมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามยุคสมัย และเกิดจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ปัจจัยภายนอก เช่น กระแสโลกหรืออิทธิพลของประเทศมหาอำนาจที่แพร่กระจายหรือส่งออกแนวทางหรือวิธีการบริหารงาน โดยส่วนหนึ่งเข้ามาทางวิชาการหรือตำราหนังสือที่นักวิชาการได้รับอิทธิพลหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนปัจจัยภายใน เช่น หัวหน้ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญหรือยึดถือแนวทางหรือวิธีการใด ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ในสมัยที่พลเอกเปรมติณสูลานนท์ ได้นำคำว่า "การพัฒนา" มาใช้กันอย่างแพร่หลาย  ขณะที่สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นำคำว่า "การบริหารจัดการ" มาใช้
ในบางรัฐบาล ใช้คำว่า “การบริหารจัดการ” (Management Administration) มาใช้อย่างแพร่หลาย และในอนาคต อาจเกิดคำว่า การบริหารการบริการ (Service Administration) ขึ้นมาอีก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้มีความเห็นว่า ไทยได้ผ่านพ้นสภาพที่เป็นประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศกำลังพัฒนามาแล้ว และกำลังจะก้าวไปสู่สภาพของประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงก็ตาม แต่แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ยังไม่หมดสิ้นไปได้ เพราะในสภาพความเป็นจริง ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาตราบใดที่การพัฒนายังมีความหมายครอบคลุมถึงการเปลี่ยนไปสู่สภาพที่ดีขึ้น (Change for the better) ด้วย
ส.อ.หญิง พนิดา ใจงาม 64423471296

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ กรอบการปฏิรูประบบราชการ มีการจัดทำแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ  เป็นไปในลักษณะองค์รวม เพื่อเปลี่ยนไปสู่ รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
ก้าวแรกของการดำเนินการ คือ การปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแนวใหม่และเรื่องการจัดกระทรวง ทบวง กรมใหม่ โดยได้ประกาศบังคับใช้ กฎหมาย ในวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบราชการ
1.   พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.   พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545  เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
            คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก หรือผลลัพธ์สุดท้ายของการพัฒนาระบบราชไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1.        พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2.        ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3.        ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4.        ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ภายใต้เป้าประสงค์หลัก รัฐบาลได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546 -2550) ซึ่งมีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกันอย่างบูรณาการ รวม 7 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบานการและวิธีการทำงาน ยึดวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชน และประเมินผลการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สามารถตรวจสอบได้ โดยนำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง มีการวางแผนลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การเพิ่มผลผลิต การประเมินผลการดำเนินงาน ลดการผูกขาดของหน่วยราชการ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน องค์กรพัฒนา เข้ามาดำเนินการแข่งขันได้ เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2  การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้มีขีดสมรรถนะและความยืดหยุ่น คล่องตัวสูง ดำเนินการจัดระเบียบความสัมพันธ์ของการบริหารราชการในทุกระดับให้เหมาะสม เป็นเอกภาพ สามารถบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการทำงานในมิติและส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ  เพื่อให้สอดรับกับนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยให้มีการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ และความคล่องตัวให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างภาระรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการให้ดีขึ้น โดยอาศัยรูปแบบและวิธีการบริหารการเงินและการงบประมาณสมัยใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ มีการทบทวนออกแบบใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล มีความหลากหลายรูปแบบในการจ้างงาน ยึดหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานและสามารถรองรับการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศได้
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วยตนเองด้วยความเต็มใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานภาครัฐและการบริการประชาชนให้เป็นรูปแบลบของรัฐบาล อีเล็กทรอนิกซ์ที่สมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด การยึดประชาชนเป็นหลัก และสามารถบริการได้ตลอดเวลา
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการยอมรับ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติงาน และตรวจสอบผลการดำเนินงาน ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน โดยเฉพาะในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายของรัฐและระบบการบริหารงาน
Unknown said…
ณพวิทย์ ลิ่วมงคล 64423471346
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
วิวัฒนาการของการบริหาร วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ (สมาน รังสิโยกฤษฏ์ 2546 : 10 - 12)
(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบและการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมายเพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนินกิจการบางอย่างได้และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัดโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินการบริหารราชการในสมัยนี้จะอยู่ในวง จำกัด กล่าวคือนอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศการรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้วก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆการจัดเก็บภาษีอากรการอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆพร้อมกับการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1960-1990 (พ.ศ. 2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศในกรณีของประเทศไทยได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกันก็คือ“ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการพัฒนาในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อนต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น“ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการจัดตั้งและขยายส่วนราชการตลอดจนเพิ่มจำนวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่องจนทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นภาระที่หนักมากจําเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไปโดยสรุปแล้วในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมากจนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาดอุ้ยอ้ายและล่าช้าในสายตาของประชาชน
(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง (Steering Rowling) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมาโดยจะให้ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทนและรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ Rather Than
กำกับดูแลเท่านั้นอันเป็นการเปลี่ยน“ กระบวนทัศน์ใหม่” (New Paradigm) ในการบริหารราชการกล่าวคือจะเน้นการแปรสภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization) พร้อม ๆ กันไปกับการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็นประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Democratization or Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทาง People's ดังกล่าวข้างต้นการบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้นสำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้นรัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้นดังนั้นในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว

แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาอาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่งก็คือความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สองก็คือการพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สามก็คือการกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย (devolution) อย่างไรก็ดีก่อนที่จะกระจายอำนาจไปยังเบื้องล่างนั้นหน่วยงานพัฒนาจำเป็นจะต้องรวมอำนาจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เสียก่อนมิฉะนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาในการติดตามและประเมินผลงานในภายหลัง


Unknown said…
ณพวิทย์ ลิ่วมงคล 64423471346
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การพัฒนาของระบบราชการ มีการจัดทำแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ เป็นไปในลักษณะองค์รวม เพื่อเปลี่ยนไปสู่ รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์ มีการวัดผลลัพธ์ และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม คือการทำงานเพื่อประชาชน วัดผลได้ มีความโปร่งใสวิธีการทำงานรวดเร็วและคล่องตัว
การพัฒนาของระบบราชการ ใน 5 ด้าน
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ
2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์
3. แผนการปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคล
4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
เนื่องจากเป็นระบบใหญ่ จำเป็นต้องเร่งรีบดำเนินการปฏิรูปในทุกๆ ด้านพร้อมๆ กัน ได้มีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขออกแบบใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ได้ดำเนินการพร้อมกันทั้ง 5 ด้าน และปรับปรุงให้เหมาะสมตามสถานการณ์
ราชการได้อะไร 1. เป็นราชการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุ้มค่าภาษีของประชาชน ซื่อตรง และโปร่งใสมีความรับผิดชอบมีความแน่นอน คงเส้นคงวามองการณ์ไกล ทันสมัย ทันโลก ทันต่อเหตุการณ์มีความมั่นคง กล้าหาญ ที่พร้อมจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชน ไม่ยอมให้อธรรมล่วงล้ำได้ ได้รับความไว้วางใจ เชื่อถือ ศรัทธาจากประชาชนว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและคุณธรรม เข้าใจง่ายและเป็นเพื่อนประชาชน

ภายใต้เป้าประสงค์หลัก รัฐบาลได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ซึ่งมีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกันอย่างบูรณาการ รวม 7 ด้าน ดังนี้
1 การปรับเปลี่ยนกระบานการและวิธีการทำงาน ยึดวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชน และประเมินผลการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สามารถตรวจสอบได้ โดยนำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง มีการวางแผนลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การเพิ่มผลผลิต รวมถึงการปรับปรุงระเบียบ ขั้นตอนและแนวทางการให้บริการประชาชน ปรับเปลี่ยนระบบควบคุมภายใน การประเมินผลการดำเนินงาน ลดการผูกขาดของหน่วยราชการ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน องค์กรพัฒนา เข้ามาดำเนินการแข่งขันได้ เป็นต้น
2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้มีขีดสมรรถนะและความยืดหยุ่น คล่องตัวสูง ดำเนินการจัดระเบียบความสัมพันธ์ของการบริหารราชการในทุกระดับให้เหมาะสม เป็นเอกภาพ สามารถบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการทำงานในมิติและส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยให้มีการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ และความคล่องตัวให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างภาระรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการให้ดีขึ้น โดยอาศัยรูปแบบและวิธีการบริหารการเงินและการงบประมาณสมัยใหม่
4 การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ มีการทบทวนออกแบบใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล มีความหลากหลายรูปแบบในการจ้างงาน ยึดหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานและสามารถรองรับการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศได้ ปรับปรุงระบบการประเมินผลบุคคลที่ไม่มีสมรรถภาพออกจากราชการ และเปิดโอกาสให้บุคคลจากภายนอกเข้าสู่ระบบราชการได้โดยง่าย
5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วยตนเองด้วยความเต็มใจ
6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานภาครัฐและการบริการประชาชนให้เป็นรูปแบลบของรัฐบาล อีเล็กทรอนิกซ์ที่สมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด การยึดประชาชนเป็นหลัก และสามารถบริการได้ตลอดเวลา
7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการยอมรับ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติงาน และตรวจสอบผลการดำเนินงาน ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน โดยเฉพาะในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายของรัฐและระบบการบริหารงาน การให้บริการ การวางแผนงาน/โครงการ และการกำหนดตัวชี้วัด ตลอดจนการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ



Unknown said…
ส.ท.พุทธิพงศ์ ดีเบา 64423471351
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ - การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาเริ่มเป็นที่ยอมรับเมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1950 (ค.ศ.) โดยมีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ development administration ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจากกิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็นระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1930 - 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย อัฟริกาและลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสำคัญ
สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติ เพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

- รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร : แบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ คือ 1) การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration), 2) ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization), 3) การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform), 4) การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization), 5) การพัฒนาองค์การ (organization development), 6) การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement), 7) การปรับปรุงองค์การ (organization improvement) และ 8) การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร โดยแบ่งเป็นแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
- แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
- แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางเดินงานสั้นลง และง่ายขึ้น กระจายงานออกไปยังหน่วยย่อย เพื่อลดความแออัดของส่วนกลาง
- การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ส.อ.ชัชวาลย์ การุณยรัต รหัส 64423471338
Module 2
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของการพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ กิจกรรมการบริหารการพัฒนาประเทศไทยคงไม่มีกิจกรรมใดที่สะท้อนได้ดีเท่ากิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสัง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1-7 การบริหารเพื่อการพัฒนายุคความทันสมัยและยุคปฏิรูป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
แผนพัฒนาฉบับที่ 1-3 มุ่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แผนพัฒนาฉบับที่ 4 มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้านเศรษฐกิจและสังคม
แผนพัฒนาฉบับที่ 5 มุ่งชี้แนะทิศทางและพื้นที่พัฒนา
แผนพัฒนาฉบับที่ 6 เป็นการพัฒนาโดยบูรณาการแผนพัฒนาฉบับที่ 1-5
แผนพัฒนาฉบับที่ 7 รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรฐกิจและกระจายรายได้
รูปแบบของการพัฒนาการของการบริหาร ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1-3 จะมุ่งเน้นไปในด้านของโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก และเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 4 มุ่งเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากคนไทยยังประสบความยากจนอยู่ถึงประมาณร้อยละ 25 ของทั้งประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 ซึ่งมุ่งชี้แนะทิศทางและพื้นที่พัฒนา เป็นการต่อยอดจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 4 แต่เนื่องจากประชาชนในประเทศยังประสบความยากจนอีก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 จึงเป็นแผนที่ประสบความล้มเหลวที่สุดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุกฉบับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 6 เป็นแผนที่บูรณาการตั้งแต่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่1-5 มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และเริ่มส่งผลในทางที่ดีขึ้น
ส.อ.ชัชวาลย์ การุณยรัต รหัส 64423471338
Module#2 (2)
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย รวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีนักวิซาการหลายท่านได้อธิบายถึงกระบวนการบริหารดังต่อไปนี้
กระบวนการบริหารย่อมประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ 7ประการหรือที่เรียกกันย่อๆว่า "POSDCORB Mode" ซึ่งอธิบายตามความหมายได้ดังนี้
P = Planning หมายถึงการวางแผนงาน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงนโยบาย ทั้งนี้เพื่อให้แผนงานที่กำหนดขึ้นไว้มีความสอดคล้องกันในการดำเนินงาน
O = Organizing หมายถึงการจัดส่วนราชการหรือองค์การ ซึ่งในการศึกษาบางแห่งก็พิจารณารวมไปกับการปฏิบัติงานหรือวิธีการจัดการ
S = Staffing หมายถึงการจัดหาบุคคลและเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการจัดแบ่งหน่วยงานที่แบ่งไว้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งหมายถึง การจัดการเกี่ยวกับการบริหารบุคคล
D - Directing หมายถึงการศึกษาวิธีการอำนวยการ รวมทั้งการควบคมงานและนิเทศงาน ตลอดจนศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และการจูงใจ เป็นต้น
Co = Coordinating หมายถึงความร่วมมือประสานงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะช่วยให้การประสานงานช่วยแก้ปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน
R = Reporting หมายถึงการรายงานผลปฏิบัติงาน ตลอดรวมถึงการประชาสัมพันธ์ ที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบด้วย อันที่จริงการรายงานนี้มีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารอยู่มาก
B =Budgeting หมายถึงการงบประมาณโดยศึกษาให้ทราบถึงระบบและกรรมวิธีในการบริหารเกี่ยวกับงบประมาณและการเงิน ตลอดจนการใช้วิธีการงบประมาณและแผนงานเป็นเครื่องมือในการควบคุมงาน วิธีการบริหารงบประมาณ
การพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาค แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจทำได้หลายวิธี
1.เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
2.หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้
3. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ ( Matrix organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
4. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์กาวว่าขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่ นั้นก็คือ จะต้องไม่ใหญ่โตจนเกินไปจนยากแก่การบริหาร หรือไม่เล็กจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้
5. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
6. การพัฒนาโครงสร้างทางกางบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากหลายสาขาวิชา สหอาชีพ
7. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมกับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหา วิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การเทคโนโลยี สังคม และความต้องการส่วนตัว
ส.ท. ธีรพงศ์ พูลเพิ่ม รหัส 64423471309
Module 2

1.) จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ : มีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
1.1 การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะนี้ มีความสัมพันธ์กัน คือ
1.1.1 การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจากกิจกรรมหรือการปฏิบัติจริง เป็นความรู้หรือวิชาที่มีลักษณะเป็นระบบระเบียบ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคม จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
1.1.2 การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 - 1939 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

- ในปี ค.ศ.1947 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) จุดมุ่งหมายคือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่ด้อยพัฒนา ในเอเชีย อัฟริกาและลาตินอเมริกา

- สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติ เพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมาย

1.2 รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร : แบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.2.1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
1.2.2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
1.2.3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
1.2.4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
1.2.5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
1.2.6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
1.2.7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
1.2.8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)

2.) แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาค คือ แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร โดยมีแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
2.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
2.1 แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางการดำเนินงานนั้นสั้นลง และง่ายขึ้น กระจายงานออกไปยังหน่วยย่อย เพื่อลดความแออัดของส่วนกลาง
2.3 การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
module-2# วิชาการบริหารการพัฒนา ส.ต.ศาสตราวุฑ หร่ายพิมาย ระหัสนักศึกษา 64423471295 Assignment ตอบค าถามต่อไปน้ ี 1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร ตอบ
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนา เศรษฐกิจตกต่ า จึงจัดท าโครงการ พัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็น ว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยม มากขึ้น

ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจ าเพื่อการพัฒนา โครงการพัฒนา หุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่ง เป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ าท่วม การผลิต ไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น

ยุคที่ 3 เป็ นยุคของการบริหารการพัฒนา - ค าว่า การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา - องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมา เป็นการบริหารการพัฒนา – ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมือง ด้วยอคติที่ว่า จะต้อง วัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้ - เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็ นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของ การพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนจน

ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา - จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั ้งด้าน ประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค ) 2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมี อะไรบ้าง ตอบ การบริหารการพัฒนาเป็นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งแตกต่างกับการ บริหารราชการแบบดั้งเดิมที่ มีขอบเขตและเป้ าหมายที่จ ากัดในการท าหน้าที่หลักเพียง 3 ประการ คือ 1.การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้ของรัฐ และการบริหารกิจกรรม ตามปกติให้ มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะถือหน้าที่ทั้งสามเป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น 2. การบริหารการพัฒนามีลักษณะอ่อนไหวปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้ง่าย เพราะเป็ นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สภาพสังคม และการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สังคมนั ้นไปสู่จุดมุ่งหมายที่ เจริญก้าวหน้า จึงต้องมีการจัดรูปหน่วยงาน และวิธีปฏิบัติงาน ที่ยืดหยุ่น เพื่อให้นักบริหารสามารถปรับให้ เข้ากับสภาวะแวดล้อม และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ 3.การบริหารการพัฒนาต้องการความคิดสร้างสรรค์ใหม่ของนักบริหาร ที่จะสามารถน าสังคม หรือ ประเทศไปสู่จุดม่งหมายที่ดีที่สุด นักบริหารต้องสามารถมองการณ์ไกล ใช้ประสบการณ์ และความรู้ที่มีอยู่ สร้างภาพพจน์ในอนาคตของสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายและ วิธีการบรรลุจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และเป็นไปได้ และสามารถแสวงหาวิธีการและเครื่องมือที่จะด าเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในการ พัฒนาชุมชนและ ประเทศให้ส าเร็จ
Unknown said…
ส.อ.อวิรุทธิ์ แว่นแก้ว
รหัสนักศึกษา 64423471348
ทบ.รุ่น 50

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ความหมายการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative development or development of administration, administrative modernization, administrative reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดีคาเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
Unknown said…
ส.อ.อวิรุทธิ์ แว่นแก้ว
รหัสนักศึกษา 64423471348
ทบ.รุ่น 50

5.2. การบริหารราชการไทยนอกเหนือจากการปฏิรูปเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและภารกิจของราชการอันเป้าหมายหลักแล้วปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและวิทยาการก็ล้วนก็ล้วนมีอิทธิพลที่ส่งผลให้องค์การต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง สำหรับประเทศไทยมีความจำเป็นในการปฏิรูประบบราชการ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ระบบบริหารราชการไทยจัดเป็นระบบหรือองค์ประกอบย่อยหนึ่งของสังคม เมื่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกเปลี่ยนแปลงไป ระบบการบริหารราชการไทยย่อมต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนพัฒนาให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่ผ่านมาระบบการบริหารราชการไทยยังมีปัญหาทางการบริหารหลาย ๆ ประการดังกล่าวไว้แล้ว

โครงสร้างขนาดใหญ่ทำให้งานล่าช้า ระบบราชการไทยจากอดีตมีขนาดใหญ่ มีความสลับซับซ้อน มีสายการบังคับบัญชามาก เป็นปัญหาที่ขาดการแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างน่าพอใจจำเป็นต้องมีการปฏิรูปให้เกิดประสิทธิภาพ มีขนาดองค์การที่เล็กลง สามารถให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น

ความล้าสมัยของกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ การบริหารราชการไทยที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยยังพบว่ากฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ หลายฉบับที่ใช้อยู่ยังเป็นอุปสรรคในการบริหารและการปฏิบัติงานอันอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน และขาดประสิทธิภาพในการทำงาน

การมุ่งระเบียบวิธีมากกว่าการมุ่งเน้นผลงาน กระบวนการบริหารราชการไทยที่ผ่านมามุ่งเน้นระเบียบเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงานมากว่าผลของงาน จึงไม่สามารถตองสนองต่อความต้องการของประชาชนได้มากนัก การปฏิรูปการปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นผลงานจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารราชการไทยยุคใหม่

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมการการบริหารของข้าราชการไทยที่ผ่านมามักถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบมาโดยตลอดโดยเฉพาะการถูกมองว่าปฏิบัติงานไม่คุ้มค่ากับภาษีอากรของประชาชน ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบและผู้บังคับบัญชามากกว่าประชาชน การปฏิรูปพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐจึงเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับการบริหารราชการไทย

ขาดการนำเทคนิคเครื่องเมือการบริหารงานยุคใหม่มาประยุกต์ใช้ในการทำงานการบริหารราชการไทยที่ผ่านาขาดการนำเทคนิคการบริหารงานสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดเท่าที่ควร การปฏิรูปด้านการบริหารอาจนำ
เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ เช่น การนำหลักการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานภาคราชการ จึงเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการไทยได้

การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังมีอยู่อย่างจำกัด การบริหารราชการไทยที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ก็กระจัดกระจายไปส่วนราชการต่างๆ ทำให้ยากต่อการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงปฏิบัติการและเชิงบริหาร การปฏิรูปราชการไทยโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานจึงจะช่วยให้การปฏิบัติงานและการตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานภาครัฐจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การที่จะทำให้ระบบการบริหารราชการไทยสามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างพึงพอใจสูงสุดจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ทางการบริหารของบุคคลภาคราชการ โดยเฉพาะตัวผู้บริหารให้มีความรู้และทักษะทางการบริหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำความรู้และทักษะต่างๆ เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จต่อไป
จ.ท.เสรีภาพ รักษ์เสรี รหัสนักศึกษา 64423471355 said…
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพนู สมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสงัคมเพื่อให้บรรลเุป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสงั คม นอกจากนี้ การพฒั นาการบริหาร ยงั รวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เลน่พรรคเลน่พวกเป็นระบบคณุธรรมในการสรรหาการปนูบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง

การพัฒนาระบบราชการไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลานานหลายยุคสมัย มียุคแห่งการพัฒนาการบริหารราชการได้เป็น 4 ยุคได้แก่ 1) ยุคก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2435 3) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 4) ยุคปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะในยุคล่าสุดนี้เป็นการพัฒนาระบบราชการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการทั้งด้านโครงสร้าง ขั้นตอน กฎ ระเบียบ คำสั่ง พฤติกรรมการบริหารราชการอันเกิดจากบุคลากรของรัฐ ทำให้ภาคราชการไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุ่งพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพภายใต้ชื่อว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่
Anonymous said…
น.ส.อาทิยาภัทร เพ่งผล รหัสนักศึกษา 64423471349

Module 2

1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

-ค.ศ. 1930 -1939 (ในช่วงปี พ.ศ.2473 -2482 ) ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก
-ในขณะน้ันรูสเวลท์ ได้รับชัยชนะในการเลือกต้ังเป็น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
-ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน ประเทศสหรฐัอเมริกาเป็นอย่างมาก
- เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น
รูปแบบของพัฒนาการของการบริหารมี 4 รูปแบบ
1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ
2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป
3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด
4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป

2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
-แนวทางการพัฒนาระบบราชการ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องประสิทธิภาพนี้ จำเป็นต้องเริ่มจากการจัดกลุ่มภารกิจของ ภาครัฐใหม่ เพื่อให้ภาครัฐทำงานในเรื่องที่จาเป็นเท่านั้น มีการถ่ายโอนงานที่รัฐหมดความจำเป็นที่ต้อง เป็นผู้ดำเนินการให้ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนการกระจายอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อให้บริการประชาชนและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถรับบริการได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง การจัดกลุ่มภารกิจของกระทรวง ทบวง กรมใหม่เพื่อให้มีกรอบการทำงานที่ชัดเจนไม่ทับซ้อนกัน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานโดย มีตัวชี้วัดผลงานที่ชัดเจน เมื่อส่วนราชการต่าง ๆ มีความชัดเจนในหน้าที่ มีเป้าหมายและดัชนีวัดผล งานไว้เช่นนี้ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะกระทำได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะหลายๆ เรื่องที่เกิดปัญหาขึ้นมาแล้วแต่หาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กังขาและไม่เป็นที่พอใจของประชาชนอย่างมาก ปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่การจัดสรรอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจน มีคณะกรรมการ มากมาย มีขั้นตอนการทางานที่ยาก และขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอก ระบบราชการ ทำให้หน่วยงานราชการรายงานผลงานเฉพาะที่ประสบผลสำเร็จเท่านั้น หลีกเลี่ยงที่จะ รายงานปัญหา
อุปสรรคที่เกิดขึ้น และเมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายต่อประชาชน ขึ้นมา ก็มักค้นหาผู้รับผิดชอบโดยตรงไม่พบ และทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไข ปัญหาอย่างจริงจังเหมาะสม เรื่องความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนี้สัมพันธ์กับปัญหาเรื่อง ประสิทธิภาพโดยที่เรื่องประสิทธิภาพจะเน้นในส่วน ของระบบงานตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย การวัดผลงาน การจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนเรื่องความรับผิดชอบจะเน้นอยู่ที่ตัว เจ้าหน้าที่ผู้บริหารงาน ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละระดับ
การยอมรับนโยบายของหน่วยงานในระดับจุลภาคและระดับท้องถิ่น โดย การนำเอานโยบายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำก็จะสำเร็จได้ง่าย
-การระดมพลัง ผู้บริหารระดับล่างเป็นผู้ประสานงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีหลักจิตวิทยาโน้มน้าวผู้ปฏิบัติได้
- การปฏิบัติ ผู้บริหารระดับล่างและผู้ปฏิบัติยอมเปลี่ยนพฤติกรรมให้ เข้ากับแผนงานและโครงการ หรือสามารถเสนอการปรับปรุงแผนงานให้ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
- การสร้างความเป็นปึกแผ่น หรือความต่อเนื่อง ด้วยการยอมรับในนโยบายจึงมีการนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีการประยุกต์เข้ากับงาน ประจำวัน
Anonymous said…
ส.ท.ณพล ศรีโสภา รหัสนักศึกษา 64423471298

Module 2

1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

-ค.ศ. 1930 -1939 (ในช่วงปี พ.ศ.2473 -2482 ) ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลก
-ในขณะน้ันรูสเวลท์ ได้รับชัยชนะในการเลือกต้ังเป็น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
-ให้ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน ประเทศสหรฐัอเมริกาเป็นอย่างมาก
- เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น
รูปแบบของพัฒนาการของการบริหารมี 4 รูปแบบ
1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ
2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป
3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด
4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป

2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
-แนวทางการพัฒนาระบบราชการ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องประสิทธิภาพนี้ จำเป็นต้องเริ่มจากการจัดกลุ่มภารกิจของ ภาครัฐใหม่ เพื่อให้ภาครัฐทำงานในเรื่องที่จาเป็นเท่านั้น มีการถ่ายโอนงานที่รัฐหมดความจำเป็นที่ต้อง เป็นผู้ดำเนินการให้ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนการกระจายอำนาจหน้าที่ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อให้บริการประชาชนและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถรับบริการได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง การจัดกลุ่มภารกิจของกระทรวง ทบวง กรมใหม่เพื่อให้มีกรอบการทำงานที่ชัดเจนไม่ทับซ้อนกัน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานโดย มีตัวชี้วัดผลงานที่ชัดเจน เมื่อส่วนราชการต่าง ๆ มีความชัดเจนในหน้าที่ มีเป้าหมายและดัชนีวัดผล งานไว้เช่นนี้ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะกระทำได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะหลายๆ เรื่องที่เกิดปัญหาขึ้นมาแล้วแต่หาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่กังขาและไม่เป็นที่พอใจของประชาชนอย่างมาก ปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่การจัดสรรอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจน มีคณะกรรมการ มากมาย มีขั้นตอนการทางานที่ยาก และขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอก ระบบราชการ ทำให้หน่วยงานราชการรายงานผลงานเฉพาะที่ประสบผลสำเร็จเท่านั้น หลีกเลี่ยงที่จะ รายงานปัญหา
อุปสรรคที่เกิดขึ้น และเมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายต่อประชาชน ขึ้นมา ก็มักค้นหาผู้รับผิดชอบโดยตรงไม่พบ และทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไข ปัญหาอย่างจริงจังเหมาะสม เรื่องความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนี้สัมพันธ์กับปัญหาเรื่อง ประสิทธิภาพโดยที่เรื่องประสิทธิภาพจะเน้นในส่วน ของระบบงานตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย การวัดผลงาน การจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนเรื่องความรับผิดชอบจะเน้นอยู่ที่ตัว เจ้าหน้าที่ผู้บริหารงาน ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละระดับ
การยอมรับนโยบายของหน่วยงานในระดับจุลภาคและระดับท้องถิ่น โดย การนำเอานโยบายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำก็จะสำเร็จได้ง่าย
-การระดมพลัง ผู้บริหารระดับล่างเป็นผู้ประสานงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีหลักจิตวิทยาโน้มน้าวผู้ปฏิบัติได้
- การปฏิบัติ ผู้บริหารระดับล่างและผู้ปฏิบัติยอมเปลี่ยนพฤติกรรมให้ เข้ากับแผนงานและโครงการ หรือสามารถเสนอการปรับปรุงแผนงานให้ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
- การสร้างความเป็นปึกแผ่น หรือความต่อเนื่อง ด้วยการยอมรับในนโยบายจึงมีการนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีการประยุกต์เข้ากับงาน ประจำวัน
นางสาวภาณิชา เทียมทัด รหัสนักศึกษา 64423471300
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารการงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนา โครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ้ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมือง และเป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้าน ประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม (ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค)
รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร : แบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ
1) การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
2) ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
3) การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
4) การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
5) การพัฒนาองค์การ (organization development)
6) การปรับปรุงฝ่ายบริหาร (administrative improvement)
7) การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
8) การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร โดยมีแนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารหลายวิธี ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อรับผิดชอบงาน ใหม่ ๆ
ประการที่สาม อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี พิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่าขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก เน้นการประสานงานในแนวนอนเก่า ๆ กับในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อม ๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ
ประการที่แปด ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร พิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร
การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
สรุป การพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาค มีแนวทางดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางเดินงานสั้นลง ง่ายขึ้น และกระจายอำนาจงานออกไปยังหน่วยต่างๆ เพื่อลดความแออัดของงานส่วนกลาง
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ ลักษณะทางพฤติกรรมของระบบราชการ ได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
Anonymous said…
นายณัฐพล ทรัพย์ประกอบ รหัส​นักศึกษา​64423471312​
5.1 วิวัฒนาการของแนวคิดในการบริหารเริ่มตั้งแต่ช่วงระยะก่อนเริ่มแรก (Preclassical Period) เป็นช่วงระยะเวลามิได้มีการกำหนดและจำแนกการจัดการด้านบุคลากรออกมา เป็นระบบ และเต็มรูปแบบอย่างชัดเจน แต่มีบุคคลสำคัญได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการดูแลรักษา บุคลากรในองค์การซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นคือ Robert Owen, Charles Babbage ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญกับบุคลากรในการปฏิบัติงานต่อมาช่วงระยะเริ่มแรก (Classical Period) เป็นการศึกษาด้านการบริหารจัดการบุคคล เป็นการศึกษาวิธีการที่จะทาให้บุคคล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน โดยนักคิดที่สำคัญกับบุคลากรสำคัญใน ช่วงเวลานี้ ได้แก่ Frederick W. Taylor , Henry L. Gantt ในช่วงนี้มีแนวคิดในการนำเทคนิคการบริหารเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน ต่อมาช่วงแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations movement) เป็นการให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ต่อในการปฏิบัติงานบุคคลที่เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ Hugo Hunsterberg, Mary Parker Gollett, Abraham Maslow, Douglas McGregor และช่วงระยะเวลาปัจจุบันผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอดีตทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยี ส่งผลต่อพัฒนาการบริหารจัดการขององค์การปัจจุบัน ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการบริหารที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ในทัศนะมองว่า การบริหารในแต่ละช่วง ขึ้นอยู่กับบริบทและสภาวการณ์ในช่วงนั้น ๆ ซึ่งถ้าจะนาแนวคิดการบริหารงานสมัยใหม่ไปใช้ในช่วงนั้น อาจเป็นไปไม่ได้ เนื่องด้วยความไม่พร้อมหลาย ๆ อย่าง และปัจจุบันจะนำแนวคิดในช่วงแรก ๆ มา บริหารคงไม่สอดคล้องกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
Anonymous said…
นายณัฐพล ทรัพย์ประกอบ รหัส​นักศึกษา​64423471312​
5.2 แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการและพฤติกรรมทางการบริหาร
แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจทำได้หลายวิธี
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใดยกตัวอย่างเช่นจากการศึกษาในอินเดียลักษณะทางโครงสร้างของระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็นสายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันทำและระบบกฎเกณฑ์ ล้วนแต่ไม่เอื้อต่อการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบราชการซึ่งเป็นแนวความคิดของประเทศตะวันตกและใช้ได้ผลในประเทศเหล่านั้น แต่เมื่อนำมาประยุกต์ในประเทศที่กำลังพัฒนากลับไม่ได้ผล หรือได้ผลแต่ไม่เต็มที่ และยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาเน้นโครงสร้างระบบราชการสมัยใหม่เป็นกรอบในการพัฒนามากเท่าใด ก็ยังทำให้รัฐบาลและมวลชนในประเทศที่กำลังพัฒนายิ่งแยกกันมากขึ้นเพียงนั้น ผลที่ตามมาก็คือความแตกแยกการก่อการร้ายและคตินิยมดั้งเดิมที่เน้นความรุนแรงขึ้น
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยัง ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อรับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม การดูแลรัฐวิสาหกิจ การยกระดับ ผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การปรับปรุงโครงข่ายการขนส่งและการ สื่อสารและการปฏิรูประบบการศึกษา
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารอาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในขณะเดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่คอยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานมากกว่าผู้บังคับบัญชาองค์การแมททริกซ์ดังกล่าวนี้บางทีก็เรียกว่าองค์การโครงการพัฒนา (Project organizations) ซึ่งโครงการพัฒนานี้อาจจะเป็นโครงการพัฒนาเอกเทศ โครงการพัฒนา ซึ่งพยายามดึงเอาจุด การตัดสินใจให้ไปอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารอาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่นั้นก็คือ จะต้องไม่ใหญ่โตจนเกินไปจนยากแก่การบริหารหรือไม่เล็กจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้อง เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตดั สินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาคือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grass roots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบรากข้าว (rice roots democracy) ซึ่งตามความเห็นของ เชอรี่ อาร์.อาร์นสไตน์ (Sherry R. Arabstein) นั้น การมีส่วนร่วมที่แท้จริงของประชาชนก็คือ จะต้องมีอำนาจควบคุมการดาเนินงานและการจัดการ โครงสร้างการพัฒนาอย่างเต็มที่ด้วยตนเอง
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กบั ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากสหสาขาวิชาสหอาชีพและสหสถาบัน ดังนั้นการประสานงานโดยอำนาจบังคับบัญชาอาจจะต้องเสริม ด้วยการประสานงานโดยการบริหารเพื่อการพัฒนา การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกัน ระหว่างฝ่ายสายช่วยอำนวยการและฝ่ายสายงานหลัก การประสานงานโดยการปล่อยหรือขยักทรัพยากรเอาไว้ การ ประสานงานโดยการเจรจาประนีประนอม และการประสานจากเบื้องล่างซึ่งประชากรเป้าหมายได้รับ ความช่วยเหลือจากหลายๆ หน่วยงาน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆกับการออกแบบงาน ซึ่ง การออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสนองตอบต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การ เทคโนโลยี สังคมและความต้องการส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานเองและวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน ก็เพื่อให้บุคคลมีมูลเหตุจูงใจในการทำงานด้วยความพึงพอใจและมีผลงานที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลักการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัด หยุดงานย่อมทำให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ” (Strategic organization) นั่นก็คือ การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความ ต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อานวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆกันด้วย
สิบโท ธนะวัฒน์ บุญธรรม 64423471331
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
สิบโท ธนะวัฒน์ บุญธรรม 64423471331
2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สาขาวิชา อาชีพ และสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล
ส.ท.ธนะวัฒน์ บุญธรรม รหัสนักศึกษา64423471331
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ความหมายการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative development or development of administration, administrative modernization, administrative reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดีคาเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการ
พัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
ส.ท.ธนะวัฒน์ บุญธรรม รหัสนักศึกษา64423471331
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการในช่วง ปี 2546-2550 ไว้ว่า พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก
Unknown said…
ส.ท.หญิง นัทธ์มนต์ สินอุดมวงศา รหัสนักศึกษา 64423471342
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา

แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่าเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Chinese Model)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)

6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโล แฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน ในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนา ชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่ จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แนวคิดใหม่ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)” การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่ “สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”
ส.ท.อนาวิณ สวาสดื์เพชร รหัสนักศึกษา 64423471316
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ - การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาเริ่มเป็นที่ยอมรับเมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1950 (ค.ศ.) โดยมีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ development administration ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจากกิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็นระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1930 - 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย อัฟริกาและลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสำคัญ
สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติ เพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

- รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร : แบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ คือ 1) การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration), 2) ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization), 3) การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform), 4) การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization), 5) การพัฒนาองค์การ (organization development), 6) การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement), 7) การปรับปรุงองค์การ (organization improvement) และ 8) การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร โดยแบ่งเป็นแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
- แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
- แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางเดินงานสั้นลง และง่ายขึ้น กระจายงานออกไปยังหน่วยย่อย เพื่อลดความแออัดของส่วนกลาง
- การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ส.ท.อำนาจ สิงห์ใหญ่ 64423471305
แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการในช่วง ปี 2546-2550 ไว้ว่า พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก

Unknown said…
ส.ท.ยศพล จินดาวงค์ รหัสนักศึกษา 64423471281
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ - การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ : แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาเริ่มเป็นที่ยอมรับเมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1950 (ค.ศ.) โดยมีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารการพัฒนาตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Development Administration ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และ development administration ในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจากกิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็นระบบ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน
สำหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1930 - 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้ยุโรปมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาในเวลาต่อมา ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนำเอาไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่น ๆ ในเอเชีย อัฟริกาและลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสำคัญ
สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติ เพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

- รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร : แบ่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ คือ 1) การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration), 2) ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization), 3) การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform), 4) การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization), 5) การพัฒนาองค์การ (organization development), 6) การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement), 7) การปรับปรุงองค์การ (organization improvement) และ 8) การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร โดยแบ่งเป็นแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
- แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร คือ การวิจัย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
- แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร คือ ความพยายามให้เส้นทางเดินงานสั้นลง และง่ายขึ้น กระจายงานออกไปยังหน่วยย่อย เพื่อลดความแออัดของส่วนกลาง
- การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร คือ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ส.ท.หญิง ณัฐพัชร์ เบาราญ
รหัสนักศึกษา 64423471345

จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

ความหมายการพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration, administra)
ชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็นภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทางวินัย เป็นต้น

2. ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และ หลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม

3. การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
หมายถึง การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงานทางการบริหาร ในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง

4. การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ

5. การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงาน สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึงขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึง ขั้นเตรียมและจัดทำกลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้

6. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึง การปรับปรุงผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบ การเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และ การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

7. การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม

8. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เจำเป็น จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถแก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal

สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการในช่วง ปี 2546-2550 ไว้ว่า พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก

August 3, 2022 at 7:25 AM
ส.อ. ศรัณย์ สมาธิ รหัสนักศึกษา 64423471314
Module 2
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
วิวัฒนาการของการบริหาร
วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ
(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆ มากมาย เพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนินกิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน
การบริหารราชการในสมัยนี้ จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ระหว่างปี
ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทย ก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการจัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจำนวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่หนักมาก จำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไปโดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน
(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง (Steering Rather ThanRowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยน “กระบวนทัศน์ใหม่” (New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรสภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization) พร้อมๆกัน ไปกับการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็นประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Democratization or People’s Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว
(2) ส.อ. ศรัณย์ สมาธิ รหัสนักศึกษา 64423471314
คล่องตัว
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ใน พ.ศ. 2545 รัฐบาลในขณะนั้นทำการปฏิรูประบบราชการโดยมุ่งเน้นการปรับโครงสร้าง
ส่วนราชการใหม่ที่ยึดหลัก Agenda Based ให้เกิดการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์สร้างระบบการประเมินผลโดยใช้คำรับรองการปฏิบัติงาน ปรับการบริหารงานในภูมิภาคให้เป็นระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน รวมทั้ง การนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่
มาใช้ในการบริหารภาครัฐ การพัฒนาระบบราชการไปสู่ e-Government การใช้ระบบ GFMIS มาช่วยพัฒนาระบบการเงินการคลังของรัฐ และการปรับปรุงคุณภาพการบริการด้วย การลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
หรือการจัดศูนย์บริการร่วมเพื่อให้บริการประชาชน ซึ่งในช่วงนี้การเมืองในประเทศไทยมีเสถียรภาพมาก ส่งผลให้การปฏิรูประบบราชการไทย ดำเนินการเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ขอบเขตการปฏิรูประบบราชการมีดังนี้
(1) มีการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการ โดยการทบทวนภารกิจของภาครัฐ และเน้นให้ภาครัฐทำเฉพาะภารกิจที่จำเป็นและทำได้ดีเท่านั้น เน้นการกระจายอำนาจและสร้างความร่วมมือ
กับประชาชน องค์กรเอกชน ภาคธุรกิจเอกชนต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา และสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
(2) การปรับปรุงแบบ และวิธีการบริหารงานใหม่ มุ่งเน้นการปฏิรูป ระบบบริหารภายในส่วนราชการ
ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การบริการมีคุณภาพสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและประชาชน
(3) การปฏิรูปวิธีการบริหารงบประมาณ เพื่อให้ระบบ และวิธีการ บริหารงบประมาณเป็นเครื่องมือ
ในการบริหารที่สอดคล้องกับ นโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศส่งผลให้ประชาชน ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และเป็นระบบงบประมาณที่เน้นผลลัพธ์ (Result-based Budgeting) ในการปรับงบประมาณครั้งนี้กระทรวง ทบวง กรม จะมีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น พร้อมทั้ง จัดให้มีระบบการควบคุมตรวจสอบ
ที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
(4) การปฏิรูประบบบริหารบุคลากร ให้มีการจัดระบบการบริหาร บุคลากรใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการและยุติธรรม ระบบค่าตอบแทนทัดเทียมกับราคาตลาด มีระบบนักบริหารระดับสูง การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
(5) การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และค่านิยมของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีความเข้าใจ
และปรับตัวให้เข้ากับวิธีการทำงานแนวใหม่ ที่เน้นระบบความรับผิดชอบต่อสาธารณะ เน้นการมีจริยธรรม คุณธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้ข้าราชการมีศักดิ์ศรีและเป็นที่เชื่อถือของประชาชน
Module 2
ส.ท.ณรงค์ สัตตัง
รหัส 64423471327
5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารการพัฒนาตั้งแต่ปีค.ศ.1970จนถึงปัจจุบันเป็นการมุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และโครงการที่กำหนดขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนารวมทั้งเก่ียวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
ในเรื่องเก่ียวกับการบริหารโครงการพัฒนานั้น มีกระบวนการสำคัญ คือมีการจัดทำและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินการตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ

รูปแบบการพัฒนาการบริหาร
-การพัฒนาการบริหาร
-ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร
-การปฏิรูปการบริหาร
-การจัดองค์การเสียใหม่
-การพัฒนาองค์การ
-การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
-การปรับปรุงองค์การ
-การพัฒนาตนเองเสียใหม่

5.2แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารราชการแบบเดิมให้ความสำคัญกับปริมาณทรัพยากรนาเข้า ได้แก่จำนวน งบประมาณอัตรากาลัง อาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆมีการใช้กฎระเบียบที่รัดกุมควบคุมการ ปฏิบัติราชการมิให้ราชการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป รวมถึงมีกระบวนการทางานที่ลดหลั่งตามสายการบังคับบัญชาทำให้บริการที่เป็นผลผลิตของระบบราชการมีต้นทุนสูงและประชาชนผู้รับบริการไม่ พอใจบริการที่ล่าช้าไม่สะดวก การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Results Based Management-RBM) เป็นเครื่อง การบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของ ประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตาม การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตาม ความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ
ระบบบริหารภาครัฐซึ่งกำหนดให้มีการกำหนดปฏิรูปราชการด้วยแผนงานหลัก 5 แผน คือ
1) แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและการบริหารงานภาครัฐ
2) แผนการปรับเปลี่ยนงบประมาณการเงินและการพัสดุ
3) แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล
4) แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5) แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกิจกรรมสำคัญของแผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทาง การบริหารไปสู่การบริหาร ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็น เครื่องมือการบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่

การบริหารระดับจุลภาค
การยอมรับนโยบายของหน่วยงานในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยการนำเอานโยบายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำก็จะสำเร็จได้ง่าย
1)การระดมพลัง ผู้บริหารระดับล่างเป็นผู้ประสานงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีหลักจิตวิทยาโน้มน้าวผู้ปฏิบัติได้
2)การปฏิบัติ ผู้บริหารระดับล่างและผู้ปฏิบัติย่อมเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับแผนงานและโครงการหรือสามารถเสนอการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
3)การสร้างความเป็นปึกแผ่น หรือความต่อเนื่องด้วยการยอมรับในนโยบายจึงมีการนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังโดยมีการประยุกต์เข้ากับงานประจำวัน
จ.อ.นิพิฐพนธ์ ธนิสรธนาสิทธิ์

รหัสนักศึกษา 64423471322


Module 2

5.1จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆและรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

ตอบ การบริหารการปัจจุบันเป็นการมุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และโครงการที่กำหนดขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนารวมทั้งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย

ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารโครงการพัฒนานั้น มีกระบวนการสำคัญ คือมีการจัดทำและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินการตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ


รูปแบบการพัฒนาการบริหาร

-การพัฒนาการบริหาร

-ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร

-การปฏิรูปการบริหาร

-การจัดองค์การเสียใหม่

-การพัฒนาองค์การ

-การปรับปรุงฝ่ายบริหาร

-การปรับปรุงองค์การ

-การพัฒนาตนเอง



5.2แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง

ตอบ การบริหารราชการแบบเดิมให้ความสำคัญกับปริมาณทรัพยากรนาเข้า ได้แก่จำนวน งบประมาณอัตรากาลัง อาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆมีการใช้กฎระเบียบที่รัดกุมควบคุมการ ปฏิบัติราชการมิให้ราชการใช้ดุลยพินิจมากเกินไป รวมถึงมีกระบวนการทางานที่ลดหลั่งตามสายการบังคับบัญชาทำให้บริการที่เป็นผลผลิตของระบบราชการมีต้นทุนสูงและประชาชนผู้รับบริการไม่ พอใจบริการที่ล่าช้าไม่สะดวก การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Results Based Management-RBM) เป็นเครื่อง การบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของ ประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตาม การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตาม ความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

ระบบบริหารภาครัฐซึ่งกำหนดให้มีการกำหนดปฏิรูปราชการด้วยแผนงานหลัก 5 แผน คือ

1) แผนการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและการบริหารงานภาครัฐ

2) แผนการปรับเปลี่ยนงบประมาณการเงินและการพัสดุ

3) แผนการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารบุคคล

4) แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย

5) แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกิจกรรมสำคัญของแผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ ซึ่งกำหนดว่าภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแนวทาง การบริหารไปสู่การบริหาร ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็น เครื่องมือการบริหารที่มาพร้อมกับแนวคิดการบริหารภาครัฐแนวใหม่



การบริหารระดับจุลภาค

การยอมรับนโยบายของหน่วยงานในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยการนำเอานโยบายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำก็จะสำเร็จได้ง่าย

1)การระดมพลัง ผู้บริหารระดับล่างเป็นผู้ประสานงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีหลักจิตวิทยาโน้มน้าวผู้ปฏิบัติได้

2)การปฏิบัติ ผู้บริหารระดับล่างและผู้ปฏิบัติย่อมเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับแผนงานและโครงการหรือสามารถเสนอการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

3)การสร้างความเป็นปึกแผ่น หรือความต่อเนื่องด้วยการยอมรับในนโยบายจึงมีการนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังโดยมีการประยุกต์เข้ากับงานประจำวัน


Unknown said…
ส.ท.ปวริศร ไชยฉิม รหัส 64423471283
Module 2
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ขอสหรัฐอเมริกาโครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้าการขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุขเป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่าการบริหารภายนอกเปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
- องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
- ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกวราการพัฒนาสังคมและการเมืองด้วยอคติที่ว่า จะต้องสัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
- เป็นยุคที่มุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่มเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
- จกาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวหันกลับมาพัฒนาหลายๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางกำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
การพัฒนาระบบราชไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
Unknown said…
นางสาวหนึ่งธิดา ถาพรงาม
รหัสนักศึกษา 64423471326

จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

ตอบ ความหมายการพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration, administra)
ชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็นภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยดังต่อไปนี้

1. การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทางวินัย เป็นต้น

2. ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และ หลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม

3. การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
หมายถึง การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงานทางการบริหาร ในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง

4. การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ

5. การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงาน สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึงขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึง ขั้นเตรียมและจัดทำกลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้

6. การปรับปรุงฝ่ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึง การปรับปรุงผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบ การเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และ การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

7. การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม

8. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เจำเป็น จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถแก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal

สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
Unknown said…
ส.ท.กิตติภูมิ แก้วเจริญ ทบ.รุ่นที่ 50 64423471325
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา

แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่าเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Chinese Model)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)

6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโล แฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน ในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนา ชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่ จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แนวคิดใหม่ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)” การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่ “สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”
Unknown said…
ส.ท.กิตติภูมิ แก้วเจริญ ทบ.รุ่นที่ 50 64423471325
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย (devolution)
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้ออต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล (การปฏิบัติงานให้ สัมฤทธิผลเป็นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา)
Module 2 ส.ท.เอกณัฐ บุญน่วม รหัสนักศึกษา 64423471302
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปเเบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่1 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่1จะแก้ปัญหาสงครามพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ รูปแบบจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ
ยุคที่2เป็นยุคการบริหารงานภายนอก รูปแบบการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข
ยุคที่3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา รูปแบบเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง
ยุคที่4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา รูปแบบพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม

2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
การพัฒนาระบบราชการไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
Module 2
ส.อ.กฤษฎิ์ ใจบุญ รหัสนักศึกษา 64423471324
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปเเบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จะแก้ปัญหาสงครามพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ รูปแบบจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้ง รัฐวิสาหกิจ ยุคที่ 2 เป็นยุคการบริหารงานภายนอก รูปแบบการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนา หุบเขาเทนเนสซี่ โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา รูปแบบเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา รูปแบบพัฒนาหลาย ๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถาน นิยม
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 2.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุุข ของ ประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง การหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วน ราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลืองความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2.2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไป ของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ การพัฒนาระบบราชการไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะให้มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อ ประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการท างานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์ สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ส.ท.ทศพล นาคน้อย 64423471282 said…
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาเริ่มเป็นที่ยอมรับเมื่อประมาณต้นทศวรรษ 1950’s โดยมีจุดกำเนิดมาจากวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีการพัฒนาองค์ความรู้จากการ บริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (comparative public administration) และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (development economic) เพื่อมุ่งให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือบริหารรัฐกิจมีหลักการที่เป็น สากล และมุ่งหาระบบบริหารงานของประเทศกาลังพัฒนาเพื่อช่วยให้การพัฒนาประเทศบรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ในหลายมิติ (multidimensional) คือ การพัฒนา เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาแบบสหวิทยาการ (อุทัย เลาหวิเชียร,2548 : 92)

การบริหารการพัฒนาตรงกับคาภาษาอังกฤษว่า ใน ฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชา และในฐานะที่เป็นกิจกรรม หรือกระบวนการ ซึ่งความหมายทั้ง 2 ลักษณะ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การบริหารการพัฒนา ในฐานะที่เป็นศาสตร์หรือสาขาวิชานั้น เป็นความรู้ที่ได้มาจากการสังเกต การศึกษาและการวิจัยจาก กิจกรรมหรือการปฏิบัติในโลกที่เป็นจริง เป็นความรู้หรือวิชาต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นระเบียบเป็น ระบบนำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงาน องค์การหรือสังคมตามสถานการณ์ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วง ค.ศ. 1960 จนถึงปัจจุบัน

สาหรับการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ.1930 – 1939 เป็นช่วงเวลาเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคสมัย ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ได้ให้ความสาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีการริเริ่มโครงการพัฒนาต่างๆ การออกกฎหมายเกี่ยวกับธนาคาร การปฏิบัติการทางการเงิน การให้หลักประกันด้านสวัสดิการทางสังคม และสุขภาพอนามัยของประชาชน จนประสบความสำเร็จนับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแก่ประเทศอื่นๆ ในเรื่องการกำหนดนโยบาย การวางแผน การบริหารโครงการ ตลอดจนการกาหนดหน้าที่ขององค์การในการบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1947 สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศต่างๆ ในยุโรปให้ ฟื้นตัวจากสงคราม โดยใช้แผนการมาร์แชล (Marshal Plan) มีจุดมุ่งหมายคือ ให้ยุโรปมีความ เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อสามารถต่อต้านการรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ จนกลายเป็นประเทศ ที่พัฒนาในเวลาต่อมาซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาประเทศต่างๆ ในยุโรปนี้ได้ถูกนาเอาไปเป็น ตัวอย่างในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่นๆ ในเอเชีย อัฟริกาและ ลาตินอเมริกาในเวลาต่อมา โดยมีองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) มีบทบาทสาคัญ ในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ด้วย ซึ่งการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในยุโรปที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือนี้มาในรูปแบบของการให้ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ โดย ประเทศต่างๆ ที่ได้รับการช่วยเหลือได้เริ่มมีแผนพัฒนาฯ เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2504 และได้ยึดเอาแนวคิดในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวแบบอุดมคติเพื่อมุ่งพัฒนาไปถึงจุดหมายนั้น

ส.ท.ทศพล นาคน้อย 64423471282 said…
Anonymous ส.ท.ทศพล นาคน้อย 64423471282 said...
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง

วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ (สมาน รังสิโยกฤษฏ์ 2546 : 10 - 12)

(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นส มัยก่อนปี ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมาย เพื่อ กาหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนิน กิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัด โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ ของแผ่นดิน

การบริหารราชการในสมัยนี้จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่า ใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กาหนดไว้ เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ ระหว่างปี ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการ พัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทยก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการ ในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแลสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการ จัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจานวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่อง จนทาให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากจำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไป โดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน

(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง(Steering Rather Than Rowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชน เข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้นอันเป็นการเปลี่ยน“กระบวนทัศน์ใหม่”(New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization)พร้อมๆกันไปกับการมอบอภนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็น ประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วม (Democratization or People’s Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทาง ดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุน เท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ระบบบริหารมีหน้าที่ที่สำคัญ คือ การนำกฎระเบียบของสังคมที่ได้บัญญัติไว้แล้วนั้นไป ดำเนินการให้เป็นจริงหรือเป็นรูปธรรม หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ การพัฒนาการบริหารในลักษณะเช่นนี้เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่เกี่ยวข้องนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์นักวิชาการส่วนหนึ่งได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารไว้เป็น 2 มิติคือ มิติ ความสมดุลของการพัฒนา (Balanced Administration Growth)กับความไม่สมดุลของการพัฒนา
(Unbalanced Administration Growth)และมิติการพัฒนาระบบบริหารแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive) หรือแบบรวบยอด กับค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบสะสมที่ละน้อย (Incremental) ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวทางทั้ง 2 มิติ อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาการบริหารมี 4แนวทาง ได้แก่
1 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและเบ็ดเสร็จ (Balanced and Comprehensive) คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการบริหารไปพร้อม ๆ กันระดมทรัพยากรจากทุกด้าน ปฏิรูป องค์ประกอบของระบบบริหารไปพร้อม ๆ กันภายในระยะเวลาอันสั้น และเป็นการวางแผนให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานวางแผนกลาง
2 การพัฒนาระบบบริหารแบบสมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Balanced and Incrementa l) เป็นการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆด้าน เพื่อให้ทุกกิจกรรมสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างมีเหตุผล และลดแรงกดดันจากพลังต่อต้านเนื่องจากบางส่วนได้รับทรัพยากรในการพัฒนาแต่บางส่วนไม่ได้รับ และต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้โดยไม่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลง จึงใช้แนวทางการพัฒนาแบบให้มีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ มีการพัฒนาในทุกส่วนพร้อม ๆ กันหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่
ให้ส่วนใด เปลี่ยนแปลงไปมากจนส่วนอื่นตามไม่ทัน
3 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและเบ็ดเสร็จรวบยอด (Unbalancedand Comprehensive) เป็นการพัฒนาที่มีแนวคิดว่า ระบบราชการเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดของการพัฒนา โดยจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นรวมทั้งเป็นการวางแผนหรือกำหนดนโยบายจากส่วนกลางซึ่งปกติมักเป็นนโยบายเกี่ยวกับการทุ่มงบประมาณหรือการให้เงินจำนวนมากไปพัฒนา
4 การพัฒนาระบบบริหารแบบไม่สมดุลและค่อยเป็นค่อยไป (Unbalanced and Incremental) เป็นการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งของการบริหารหรือการไม่เร่งรัดการเปลี่ยนแปลง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อย เป็นการวางแผนระยะยาว
พล.อส.อานนท์ งามจันอัด รหัส 64423471340
คำถาม 5. Assignment
คำถาม 5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 ยุค ได้แก่
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงครามและพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก เพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา การบริหารภายนอก เป็นการบริหารการพัฒนา องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้าน ประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย
1.การวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อย ความแตกแยกการก่อการร้ายและคตินิยมดั้งเดิมที่เน้นความรุนแรงขึ้น
2. โครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ
3. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การ แมททริกซ์ (Matirx organization) คือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ในขณะเดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่คอยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานมากกว่าผู้บังคับบัญชา
4. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
5. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้อง เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grass roots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบรากข้าว (rice roots democracy)
6. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับในแนวตั้งเนื่องจากการบริหารการพัฒนาจเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากสหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน อาจจะต้องเสริม ด้วยการประสานงานโดยการบริหารเพื่อการพัฒนา การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกัน การประสานงานโดยการปล่อยหรือขยักทรัพยากรเอาไว้ การประสานงานโดยการเจรจาประนีประนอม และการประสานจากเบื้องล่าง
7. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน (work or job design) คือ การกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสนองตอบต่อความต้องการ
8. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมท า ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
9. การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ” (Strategic organization) คือ การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้ สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
Module 2
พล.อส.ธัชวิธ วิวาสุขุ
รหัสนักศึกษา 64423471319


2 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร


ตอบ=วิวัฒนาการของการบริหาร


วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ


(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปีค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆ มากมาย เพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนินกิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน


การบริหารราชการในสมัยนี้ จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษา
ส.ท.วิศิษย์ศักดิ์ โอวาระโก รหัส 64423471297
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ พัฒนาการของการพัฒนาการบริหาร
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนา เศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็น ว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจ าเพื่อการพัฒนา โครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆ พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือการผลิตปุ๋ยการพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่า การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
- องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
- ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมือง ด้วยอคติที่ว่าจะต้องวัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
- เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
- จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆด้าน การประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )

แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่าเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Chinese Model)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)

6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโล แฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน ในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนา ชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่ จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แนวคิดใหม่ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)” การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่ “สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”
ส.ท.วิศิษย์ศักดิ์ โอวาระโก รหัส 6442347129
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ จุลภาค คือ แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
-ประการแรก วิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
-ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อรับผิดชอบงาน ใหม่ ๆ
-ประการที่สาม อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การแมททริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
-ประการที่สี่ พิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่าขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
-ประการที่ห้า เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการพัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
-ประการที่หก เน้นการประสานงานในแนวนอนเก่า ๆ กับในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน
-ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อม ๆ กับการออกแบบงาน ซึ่งการออกแบบงาน (work or job design) ก็คือการกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ
-ประการที่แปด ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์
-ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน

2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร พิจารณาได้เป็ นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแอดัดของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร
การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
จ.ส.อ. อัศม์เดช มาทอง
64423471318
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ความหมายการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative development or development of administration, administrative modernization, administrative reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดีคาเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
จ.ส.อ. อัศม์เดช มาทอง
64423471318
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการในช่วง ปี 2546-2550 ไว้ว่า พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก
ณัฐวรรณ แก้วประสิทธิ์ said…
ณัฐวรรณ แก้วประสิทธิ์
รหัสนักศึกษา 64423471354
Module 1
1.ความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนามีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารการพัฒนา(Development Administration) หมายถึง การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) และการบริหารเพื่อการพัฒนา(Administration of Development / A of D)
- การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเทศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
- การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึงความสามารถในการลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
2. องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารการพัฒนามีองค์ประกอบสำคัญอยู่2ประการ คือการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนาโดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
(1.)องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อมนิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ / เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
(2.)องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D) หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้มันเป็นพื้นฐานของรับการบริหารที่เหมือนกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่มีบางอย่างแตกต่างออกไป คือจุดมุ่งหมาย และลักษณะการบริหารการพัฒนา หรือถ้าจะให้ดี ยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา ต้องมี NEROP ประกอบด้วย
NE = ความจำเป็นที่ประเทศด้วยพัฒนาจะต้องผ่านวิกฤตการณ์อะไรบ้างถึงจะบรรลุขั้นตอนของการพัฒนา
R = คือ ทรัพยากรของแต่ละประเทศที่มีอยู่ เช่น เงิน
O = คืออุปสรรค หรือสิ่งที่เกิดขึ้นขวางของการพัฒนา อุปสรรคต่างๆ
P = ศักยภาพ ความสามารถ หรือศักยภาพมีมากน้อยเกี่ยวกับการพัฒนา
การพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ คือ การที่ภาครัฐ ดูแลประชาชนผ่านระบบภาษีโดยรัฐจะเป็นคนดูแลจัดหาสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้ครอบคลุมประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสด้านต่าง ๆ โดยที่มาของเงินที่ใช้มาจากภาษีที่เก็บจากประชาชนเป็นหลัก จึงถือได้ว่า เป็นการพัฒนาสังคม โดยใช้รัฐสวัสดิการ
ณัฐวรรณ แก้วประสิทธิ์ said…
Module 2
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ขอสหรัฐอเมริกาโครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้าการขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่าการบริหารภายนอกเปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
- องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
- ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกวราการพัฒนาสังคมและการเมืองด้วยอคติที่ว่า จะต้องสัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
- เป็นยุคที่มุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่มเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
- จกาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวหันกลับมาพัฒนาหลายๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางกำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
การพัฒนาระบบราชไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ณัฐวรรณ แก้วประสิทธิ์ said…


Module 3
1. จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการใด ๆ ที่ให้ประชาชนมีส่วนในการตัดสินใจโดยตรงและมีการให้ข้อมูลประกอบการพิจารณากับประชาชนในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. การให้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด
2. การรับฟังความคิดเห็น เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐ
3. การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ
4. ความร่วมมือ เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
5. การเสริมอำนาจแก่ประชาชน เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อยเพียงใด รวมทั้งต้องอาศัยกระบวนการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคมที่เป็นพันธมิตรของภาคราชการ ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ภาคราชการจะต้องร่วมมือกันเปิดระบบราชการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อทำให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เกิดการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างยุติธรรม และลดความขัดแย้งในสังคม
2. ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะของยุค 4.0 ประกอบด้วย
1.ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใสเอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2.ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนและสร้างคุณค่า
3.แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4.ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการมีฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และ การตัดสินใจ ในการทำงาน
5.ปรับรูปแบบการทางานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6.ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสียงทั้งใน ระดับองค์การ และในระดับปฏิบัติการ
7.เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้
8.ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเริ่มและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9.บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี
10. ให้ความสำคัญกับบุคลากรดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูงพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ สร้างความ ผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ลักษณะของยุค 5G ประกอบด้วย
1. การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งกระทบต่อประชาชน
2. การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย
3. การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม
4. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของการบริหารการพัฒนาตามสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ส.อ.หญิง ดวงกมล สาเกทอง รหัสนักศึกษา 64423471359 said…
ส.อ.หญิง ดวงกมล สาเกทอง รหัสนักศึกษา 64423471359
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ
1. การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
2. ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3. การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ
4. การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5. การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6. การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7. การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8. การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา
ส.อ.หญิง ดวงกมล สาเกทอง รหัสนักศึกษา 64423471359 said…
ส.อ.หญิง ดวงกมล สาเกทอง รหัสนักศึกษา 64423471359
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ

ภายใต้เป้าประสงค์หลัก รัฐบาลได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546 -2550) ซึ่งมีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกันอย่างบูรณาการ รวม 7 ด้าน ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบานการและวิธีการทำงาน ยึดวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตอบสนองความต้องการของประชาชน และประเมินผลการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สามารถตรวจสอบได้ โดยนำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง มีการวางแผนลดต้นทุนค่าใช้จ่าย การเพิ่มผลผลิต รวมถึงการปรับปรุงระเบียบ ขั้นตอนและแนวทางการให้บริการประชาชน ปรับเปลี่ยนระบบควบคุมภายใน การประเมินผลการดำเนินงาน ลดการผูกขาดของหน่วยราชการ เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน องค์กรพัฒนา เข้ามาดำเนินการแข่งขันได้ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้มีขีดสมรรถนะและความยืดหยุ่น คล่องตัวสูง ดำเนินการจัดระเบียบความสัมพันธ์ของการบริหารราชการในทุกระดับให้เหมาะสม เป็นเอกภาพ สามารถบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการทำงานในมิติและส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยให้มีการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ และความคล่องตัวให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างภาระรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการให้ดีขึ้น โดยอาศัยรูปแบบและวิธีการบริหารการเงินและการงบประมาณสมัยใหม่

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ มีการทบทวนออกแบบใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล มีความหลากหลายรูปแบบในการจ้างงาน ยึดหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานและสามารถรองรับการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศได้ ปรับปรุงระบบการประเมินผลบุคคลที่ไม่มีสมรรถภาพออกจากราชการ และเปิดโอกาสให้บุคคลจากภายนอกเข้าสู่ระบบราชการได้โดยง่าย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วยตนเองด้วยความเต็มใจ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานภาครัฐและการบริการประชาชนให้เป็นรูปแบลบของรัฐบาล อีเล็กทรอนิกซ์ที่สมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด การยึดประชาชนเป็นหลัก และสามารถบริการได้ตลอดเวลา

ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการยอมรับ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติงาน และตรวจสอบผลการดำเนินงาน ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน โดยเฉพาะในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้ข้อคิดเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายของรัฐและระบบการบริหารงาน การให้บริการ การวางแผนงาน/โครงการ และการกำหนดตัวชี้วัด ตลอดจนการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ

หน่วยที่ 3 การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการพัฒนาระบบราชการ

วัตถุประสงค์ 1. อธิบายแนวคิดความเป็นมาเกี่ยวกับหลักการบริหารฯ ที่ยึดเป็นหลักในการปฏิรูปและพัฒนาระบบราชการได้อย่างถูกต้อง

2. ระบุถึงสาระสำคัญของการบริหารฯในการพัฒนาระบบราชการไทยได้อย่างถูกต้อง

ความหมายและความเป็นมาของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management – NPM)

ความหมาย การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ คือ รูปแบบการบริหารที่นำมาเพื่อปรับใช้กับภาครัฐ เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารจัดการ โดยเน้นการทำงานที่ยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์ และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป้าหมายสุดท้าย คือระบบราชการที่มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากล มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ ศักยภาพสูง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรของภาครัฐอย่างประหยัด คุ้มค่า เหมาะสม ทำให้ระบบราชการมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชาคมโลก สามารถตอบความต้องการและนำบริการที่ดี มีคุณภาพไปสู่ประชาชนได้
พล.อส สิทธิศักดิ์ ไชยมาตย์
64423471358

2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร มีดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ เช่น การพัฒนาหน่วยงานวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่า ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้องเน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สาขาวิชา อาชีพ และสถาบัน
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และ การแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำ ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร อาจพิจารณาได้เป็นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะทำให้เส้นทางเดินของงานสั้นเข้าทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามทำงานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอำนาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื้องล่างเพื่อลดความแออัด ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง และบางทีก็มอบอำนาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาดไปเลย
3. การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล
พล.อส สิทธิศักดิ์ ไชยมาตย์ 64423471358
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
จ.ส.อ.กิตติคุณ พันธุ์ไชยา 64423471357
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
Module 2
ส.ท.ยศนันทน์ ขุนทอง รหัสนักศึกษา 64423471310
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปเเบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จะแก้ปัญหาสงครามพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ รูปแบบจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้ง รัฐวิสาหกิจ ยุคที่ 2 เป็นยุคการบริหารงานภายนอก รูปแบบการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนา หุบเขาเทนเนสซี่ โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา รูปแบบเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา รูปแบบพัฒนาหลาย ๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถาน นิยม
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 2.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุุข ของ ประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง การหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วน ราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลืองความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2.2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไป ของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ การพัฒนาระบบราชการไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะให้มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อ ประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการท างานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์ สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำ เพื่อพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึงเป็นเขตชนบททุรกันดาร ที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมืออง ด้วยอคติที่ว่าจะต้องวัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงาน เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆ ด้านการ ประเมินผล วัดทั้งด้านประจักษ์นิยมและปทัสถานนิยม (ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค)
2.แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทย รวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลัก การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน วัตถุประสงค์หลักมี ดังนี้
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
การพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจทำได้หลายวิธี
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื้อหรือ ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด
ประการที่สอง หลังจากวิเคราะห์วิจัยแล้ว ถ้าพบว่าโครงสร้างทางการบริหารเดิมยังไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ จำเป็นต้องสร้างหรือพัฒนา “หน่วยงานสร้างชาติ” เพื่อ รับผิดชอบงานใหม่ๆ
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะทำได้โดยการจัดองค์การ แมทริกซ์ (Matirx organization) กล่าวคือ เป็นรูปแบบหนึ่งขององค์การที่ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
ประการที่สี่ การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจจะพิจารณาในแง่ของขนาดขององค์การว่ทา ขนาดไหนจึงจะเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบอยู่ นั่นก็คือ จะต้องไม่ใหญ่โตจนเกินไปจนยากแก่การบริหาร หรือไม่เล็กจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้
ประการที่ห้า การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารเพื่อรองรับการบริหารการพัฒนาควรจะต้อง เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาการบริหารการ พัฒนาก็คือ ประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grass roots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบรากข้าว (rice roots democracy)
ประการที่หก การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรเน้นการประสานงานในแนวนอนเก่าๆ กับ ในแนวตั้ง เนื่องจากการบริหารการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากล สหสาขาวิชา สหอาชีพ และสหสถาบัน ฉะนั้นการประสานงานโดยอำนาจบังคับบัญชา อาจจะต้องเสริมด้วยการประสานงานโดยการบริหารเพื่อการพัฒนา
ประการที่เจ็ด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารควรทำไปพร้อมๆ กับการออกแบบงาน ซึ่ง การออกแบบงาน (work or job design) ก็คือ การกำหนดรายการจำเพาะเกี่ยวกับเนื้อหาวิธีปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างงานต่างๆ เพื่อที่จะสามารถสนองตอบต่อความต้องการทั้งทางด้านองค์การ เทคโนโลยี สังคม และความต้องการส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานเอง และวัตถุประสงค์ของการออกแบบงาน ก็เพื่อให้บุคคลมีมูลเหตุจูงใจในการทำงานด้วยความพึงพอใจ และมีผลงานที่ดีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศ
ประการที่แปด การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรคำนึงหลังการบริหารงานบุคคล และการแรงงานสัมพันธ์ (PAIR PA = Personnel Administration, IR = Industrial Relations) ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่มีการนำเอาโครงการพัฒนามาปฏิบัตินั้น หากมีการหยุดชะงัก หรือการนัดหยุดงานย่อมทำให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาการพัฒนา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ประการสุดท้าย การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ์” (Strategic organization) นั่นก็คือ การจัดโครงสร้างและภารกิจขององค์การที่สามารถสนองความต้องการของประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้ สมาชิกขององค์การมีความ เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กันด้วย
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำ เพื่อพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึงเป็นเขตชนบททุรกันดาร ที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา โครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคมและการเมืออง ด้วยอคติที่ว่าจะต้องวัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
เป็นยุคที่มุ่งเน้นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงาน เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่ม เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียว หันกลับมาพัฒนาหลายๆ ด้านการ ประเมินผล วัดทั้งด้านประจักษ์นิยมและปทัสถานนิยม (ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค)
พ.จ.ท.อากฤษดิ์ หลินโนนแดง รหัส นศ. 64423471334

5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
5.1.1 การบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ
5.1.1.1 ยุคที่ 1 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (1933-1940) เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ
5.1.1.2 ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอก การปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการ
5.1.1.3 ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่า การบริหารภายนอก เปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
5.1.1.4 ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการ
5.1.2 รูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร คือ สภาพแวดล้อม (รวมทั้งบรรยากาศการบริหาร และคุณภาพชีวิตในการทำงาน) โครงสร้างกระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนา
5.1.2.1 การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
5.1.2.2 การพัฒนากระบวนการการบริหาร
5.1.2.3 การพัฒนาพฤติกรรมการบริหาร

5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภารกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
5.2.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร
5.2.2 แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร
5.2.3 แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร

5.3 สรุป สังคมที่เปลี่ยนแปลงตามลักษณะทางด้านบริหารนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ สังคมการเกษตรกรรมไปสูสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม
5.1 สภาพแวดล้อมของการบริหารการพฒั นา หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทงั้ ภายนอก ภายในและรอบๆองค์การและสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดงักลา่วนี้มีอิทธิพลเหนือโครงสร้าง กระบวนการและพฤตกิรรมของการพฒันาการบริหารและการบริหารเพื่อการพฒันาหรือในทางที่ กลบักนัสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม อาจรวมถึงสภาพ ภมูิศาสตร์ประชากรเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพสว่นสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรมได้แก่ การประดษิฐ์คดิค้นทางสงัคมอนัรวมถึงสหภาพแรงงานกลมุ่ผลประโยชน์อดุมการณ์อารยธรรม ธุรกิจ บรรษัท ปัจเจกบคุ คล ระบบการเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น
ผลงานของเกาส์ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของการบริหารรัฐกิจ ซงึ่มีการรวบ สนบัสนนุแนวคิดของผ้รูู้บางทา่นวา่ สภาพแวดล้อมตา่งๆล้วนแตเ่ป็นวตัถดุิบสาหรับการวิเคราะห์

และสงัเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองของชาวอเมริกนั ในชว่งเวลา เกาส์ชีใ้ห้เห็นวา่มี สภาพแวดล้อมอะไรบ้างที่ควรให้แก่การสนใจเป็นพิเศษ
ผลงานของ ดาห์ล ชีใ้ห้เห็นวา่ การบริหารรัฐกิจจะเป็นศาสตร์ไปไมไ่ ด้เลยหากมิได้ใช้ แนวทางการศกึษาเชิงเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกบัเวลาและสถานที่ ตลอดจน สถานการณ์นอกจากนีก้ารบริหารรัฐกิจจะเป็นไปไมไ่ด้หากวิธีเชิงประจกัษ์และใช้ตวัแปรเสรีระหรือ ร่างกาย และจิตวิญาณ
ผลงานของริกซ์ การที่เราสามารถเข้าใจพฤตกิรรมการบริหารในสภาพแวดล้อมตา่งๆนนั้ จาเป็นต้องมีการศกึษาเปรียบเทียบพฤติกรรมนนั้ในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจสงัคมสญัลกัษณ์ การสื่อข้อความและการเมืองทงั้ที่แตกตา่งกนั ด้วนเหตนุี้ ริกซ์จงึเสนอให้มีการศกึษา สภาพแวดล้อมให้โน้มน้าวไปในทิศทางที่ตนต้องการมากเพียงใด ก็ยิ่งจะตรงกบัปรัชญาของการ บริหารการพฒันามากขนึ้เพียงนนั้
ประเภทของสภาพแวดล้อมของการบริหารการพฒั นา แบง่ ออกเป็น 3 ประเภท
1.สภาพแวดล้อมของการบริหารการพฒันาจากภายนองประเทศอนัได้แก่ประชากร เทคโนโลยีและชีวภาพสิ่งประดษิ ฐ์คิดค้นด้านสงั คมและอดุ มการณ์เป็นต้น
2.สภาพแวดล้อมของการบริหารการพฒันาภายในประเทศอนัได้แก่สภาพแวดล้อมทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสงั คมของประเทศ
3.สภาพแวดล้อมของการบริหารการพฒันาภายในองค์การซงึ่รวมถึงปฏิกิริยาโต้ตอบหรือ ความขดัแย้งระหว่าองค์การและบคุคลความขดัแย้งระหวา่งความคาดหลงัขององค์การและความ ต้องการของบุคคล
5.2 วิวัฒนาการของระบบราชการไทย มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

- สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1991 – 2072) มีการจัดแบ่งโครงสร้าง ในรูปของจตุสดมภ์

- สมัย ร.5 มีการปรับปรุงทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น จัดตั้งกระทรวงและกรมต่างๆ ให้มีบทบาทเฉพาะด้านเพื่อพัฒนาประเทศ ให้บริการสาธารณะต่างๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และเพื่อความอยู่รอดจาการล่าอาณานิคม
- สมัย ร.7 เน้นระบบคุณธรรม และสร้างอาชีพราชการเป็นอาชีพของคนไทย รองรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย และแก้ปัญหาวิกฤตข้าราชการพลเรือน
ส.อ.โชคชัย อินทร์สวา 644234712352 said…
1.จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ การพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์
3 การปฏิรูปการบริหาร การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการดำเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดทากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ายบริหาร
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จัก สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
ส.อ.สิทธิโชค จันทร์แจ่ม 64423471353 said…
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
วิวัฒนาการของการบริหาร
วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ
(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆ มากมาย เพื่อกำหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนินกิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน
การบริหารราชการในสมัยนี้ จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาวามสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ระหว่างปี
ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทย ก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการจัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจำนวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่หนักมาก จำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไปโดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน
(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง (Steering Rather ThanRowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชนเข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยน “กระบวนทัศน์ใหม่” (New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรสภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization) พร้อมๆกัน ไปกับการมอบอำนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็นประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Democratization or People’s Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว

อักษร แก้วสีบุตร said…
ส.ท.อักษร แก้วสีบุตร
64423471341
Module 2
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ขอสหรัฐอเมริกาโครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้าการขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่าการบริหารภายนอกเปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
- องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
- ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกวราการพัฒนาสังคมและการเมืองด้วยอคติที่ว่า จะต้องสัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
- เป็นยุคที่มุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่มเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
- จกาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวหันกลับมาพัฒนาหลายๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางกำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
การพัฒนาระบบราชไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
พล.อส.ณัฐพงษ์ แกล้วกล้า 64423471320
1. จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่างๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ตอบ ยุคที่ 1 (1933-1940) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อที่จะแก้ปัญหาสงคราม และพัฒนาเศรษฐกิจตกต่ำ จึงจัดทำโครงการพัฒนา จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นให้เห็นว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เศรษฐกิจมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น
ยุคที่ 2 (1941-1956) เป็นยุคการบริหารงานภายนอกการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากงานประจำเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาหุบเขาเทนเนสซี่ ซึ่งเป็นเขตชนบททุรกันดารที่ครอบคลุมหลายๆพื้นที่ขอสหรัฐอเมริกาโครงการป้องกันน้ำท่วม การผลิตไฟฟ้าการขนส่งทางเรือ การผลิตปุ๋ย การพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น
ยุคที่ 3 เป็นยุคของการบริหารการพัฒนา
- คำว่าการบริหารภายนอกเปลี่ยนเป็นการบริหารการพัฒนา
- องค์ความรู้ของการบริหารงานภายนอก ซึ่งแฝงตัวอยู่ในวิชาการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมาเป็นการบริหารการพัฒนา
- ในยุคนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมากกวราการพัฒนาสังคมและการเมืองด้วยอคติที่ว่า จะต้องสัดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจได้
- เป็นยุคที่มุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจยิ่งพัฒนาคนจนยิ่งจนลง ผลของการพัฒนาไปตกกับคนบางกลุ่มเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน
ยุคที่ 4 เน้นผลการบริหารการพัฒนา
- จกาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเดียวหันกลับมาพัฒนาหลายๆด้านการประเมินผลวัดทั้งด้านประจักษ์นิยม และ ปทัสถานนิยม ( ความดีงาม ความเหมาะสม ความเสมอภาค )
2. แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางกำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
การพัฒนาระบบราชไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
พล.อส.ณัฐพงษ์ แกล้วกล้า 64423471320
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
ความหมายการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาการบริหารนั้น มีผู้เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative development or development of administration, administrative modernization, administrative reform, reorganization, organization development, administrative improvement, organization improvement และ revitalization เป็นต้น อย่างไรก็ดีคาเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั้น ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration)
หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ เล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบาเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง วินัย
2 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization)
หมายถึง การสร้างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน่าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจำนงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม เอกสารประกอบการเรียน วิชาการบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform)
การประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization)
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
5 การพัฒนาองค์การ (organization development)
หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง สำหรับขั้นตอนของการพัฒนาองค์การนั้น รวมถึง ขั้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement)
หมายถึงการปรับปรุง ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็นผู้นำความคิดเห็นทีเป็ นระบบการเสริมสร้างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์
7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement)
หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization)
หรือ “การทำให้องค์การมีความ กระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ จำเป็นในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ้น อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกต ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ แทรกแซงจากภายนอก ดังนั้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ self renewal สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่ จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
พล.อส.ณัฐพงษ์ แกล้วกล้า 64423471320
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ 2.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุุข ของ ประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง การหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วน ราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลืองความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2.2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไป ของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ การพัฒนาระบบราชการไทย ไว้ 4 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น มุ่งปรับกระบวนการให้บริการสาธารณะให้มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้มากขึ้น
2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ปรับราชการให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อ ประหยัดเงินภาษีอากรของประชาชน เพื่อประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการท างานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์ สากล โดยเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาค
4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาให้เป็นระบบราชการที่ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ส.อ.โชคชัย อินทร์สวา 64423471352 said…
ส.อ.โชคชัย อินทร์สวา รหัส 64423471352
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย วางกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทาง กำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ของส่วนราชการให้มีกลุ่มภารกิจและการใช้งบประมาณระหว่างส่วนราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดความสิ้นเปลือง ความซ้ำซ้อนและกำหนดกรอบการบริหารราชการในต่างประเทศ
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นของระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มุ่งให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยปรับส่วนราชการ ลดความซ้ำซ้อน ปรับระบบงานให้เป็นกลุ่มภารกิจ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาระบบราชการในช่วง ปี 2546-2550 ไว้ว่า พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดเป้าประสงค์หลัก
5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง

วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ (สมาน รังสิโยกฤษฏ์ 2546 : 10 - 12)

(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and Order) ซึ่งเป็นส มัยก่อนปี ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมาย เพื่อ กาหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถดำเนิน กิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัด โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ ของแผ่นดิน

การบริหารราชการในสมัยนี้จะอยู่ในวงจำกัด กล่าวคือ นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศแล้ว ก็จะเป็นการจดทะเบียนต่างๆ การจัดเก็บภาษีอากร การอนุญาตอนุมัติในเรื่องต่างๆ พร้อมกับการจัดเก็บค่า ใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กาหนดไว้ เพื่อรักษาความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่ ระหว่างปี ค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการ พัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทยก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้นำและอำนวยการ ในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคมเข้าไปด้วยเป็น “แผนพัฒนาเศรษฐกิจแลสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการรองรับภาระหน้าที่และบทบาทใหม่ของรัฐที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการ จัดตั้งและขยายส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มจานวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐกันอย่างต่อเนื่อง จนทาให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากจำเป็นจะต้องหาทางแก้ไขต่อไป โดยสรุปแล้ว ในสมัยนี้ได้มีการขยายภาระหน้าที่และบทบาทของการบริหารราชการเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การบริหารราชการมีลักษณะอืดอาด อุ้ยอ้าย และล่าช้าในสายตาของประชาชน

(3) สมัยที่เน้นการกำกับดูแลมากกว่าการจัดทำเอง(Steering Rather Than Rowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชน เข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปดำเนินการแทน และรัฐจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้นอันเป็นการเปลี่ยน“กระบวนทัศน์ใหม่”(New Paradigm) ในการบริหารราชการ กล่าวคือ จะเน้นการแปรภาพงานของภาครัฐให้เป็นของภาคเอกชน (Privatization)พร้อมๆกันไปกับการมอบอภนาจ (Delegation) การกระจายอำนาจ (Decentralization) การเป็น ประชาธิปไตยหรือการให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วม (Democratization or People’s Participation) และการลดขนาดส่วนราชการและกำลังคนภาครัฐ (Downsizing) ซึ่งตามแนวทาง ดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการจะดำเนินการเฉพาะงานหรือภาระหน้าที่ที่จำเป็นที่ไม่มีผู้ใดดำเนินการเท่านั้น สำหรับงานหรือภาระหน้าที่ที่มีผู้อื่นรับไปดำเนินการแทนนั้น รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุน เท่านั้น ดังนั้น ในอนาคตการบริหารราชการจะมีขนาดที่เหมาะสมและคล่องตัว
ส.อ.สิทธิโชค จันทร์แจ่ม 64423471353
คำถาม 5.2 แนวทางการพัฒนาของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ตอบ การประยุกต์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการพัฒนาระบบราชการไทย ยึดหลัก 3 S คือ
1. แผนการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐ
2. แผนการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์
3. แผนการปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคล
4. แผนการปรับเปลี่ยนกฎหมาย
5. แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
สรุป ผลของการปฏิรูปและการพัฒนาระบบราชการไทยภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นที่คาดหมายไว้ว่าจะมีระบบราชการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองพันธกิจและภารกิจในการให้บริหารแก่ประชาชน และประเทศชาติได้อย่างสมบูรณ์มีขนาดกะทัดรัด และโปร่งใสตรวจสอบได้ และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย โดยใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล
ภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหารในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
การพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร ควรยึดแนวทางของ “องค์การกลยุทธ” ทั้ง 3 ระดับ
ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับองค์กร
ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
ระดับที่ 3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ
สรุป การพัฒนาสังคม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ท าให้สมาชิกในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นการกระท าใด ๆ ก็ตามที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างทางสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกในสังคมที่อยู่ร่วมกันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงลักษณะที่เป็นทั้งด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ โดยการพัฒนาสังคมมีความสำคัญหลากหลายประการได้แก่ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมลดน้อย หรือเบาบางลงไป ทำให้เกิดการป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า ท าให้ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและทำให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น โดยมีเป้าหมายของการพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ
1.มิติทางสังคมศาสตร์เกี่ยวข้องกับความสุข ครอบครัวและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม
2.มิติทางศาสนาอธิบายว่าการพัฒนาจะต้องเป็นไปเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีและ
3.มิติทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็นระดับจุลภาคและระดับมหภาค แนวทางการพัฒนาสังคมที่สำคัญสำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและ แนวทางความร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยทั้ง 3 แนวทางผู้ศึกษาต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการพัฒนาสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ต่างกันอย่างถ่องแท้ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบครอบครัว ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครองและระบบความเชื่อมั่นและการปฏิบัติทางศีลธรรม สำหรับแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคม มีการแบ่งออกเป็น 2 สำนักที่สำคัญ ได้แก่
3.1 กลุ่มทฤษฎีการพัฒนาสังคมกระแสหลัก ประกอบด้วย ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพาและทฤษฎีโลกภิวัตน์
3.2 กลุ่มทฤษฎีการพัฒนาสังคมทางเลือก ประกอบด้วย ทฤษฎีเครือข่ายทางสังคมและแนวคิด
การมีส่วนร่วมของประชาชน

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563