การบริหารการพัฒนา Module 3


 1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา 

                2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา 
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module 3 นี้  ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า   Post a Comment นักศึกษาคลิกที่นี่ จะปรากฏ กล่อง สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย  

                3.  นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาการบริหารการพัฒนา นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์  ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้  

        4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ 

              4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา

              4.2 เอกสารประกอบการศึกษา

                    ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่ 

          https://supwat.wixsite.coการบริหารการพัฒนา Modul 3m/-education/ การบร-หารการพ-ฒนา-modul-3

     5. นักศึกษาทำ   Assignment 

         5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง

         5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

         5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง

         5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง 

    6. นักศึกษาแสดงความเห็นในฟอรั่มนี้ 

https://supwat.wixsite.com/-education/forum/general-discussions/aesdngkhwaamehnpraedn-1-kaarbrihaarkaarphathnaathiiennesrsthkicch-2-ennkaarbrihaarokhrngkaar-3-kaarbrihaarrabbraachkaarain-naakht

Comments

Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ตอบ จุดเด่นของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทํางานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อํานาจตามอําเภอใจได้เพราะการทํางานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2.การทํางานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักรสามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กําหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้านช่วยทําให้ระบบราชการสามารถทํางานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทํางานตามขั้นตอน กฎระเบียบและ มีหลักฐานอย่างสมเหตสมผล ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล และหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้
5. ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุมสมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
6. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำอะไรและสามารถตรวจสอบได้
7. การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุนในการกำกับดูแล
8. การทำงานขององค์กรมีความแน่นอน มีลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
9. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะด้าน
10. กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมีผู้รับผิดชอบ
11. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุกคนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

จุดด้อยของระบบราชการ
1.การทํางานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทําให้คนต้องทําตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทําให้การทํางานเต็มไปด้วยเอกสารเกิดความล่าช้า สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นเกาะกําบังอย่างดีของผู้ปฏิบัติ
2. การบริหารตามลําดับขั้น ทําให้เกิดการทํางานแบบรวมศนย์อํานาจไว้ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าและการใช้อํานาจโดยมิชอบอย่างมาก
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถสิ่งของ คนที่ทํางานในองค์การ จึงไม่มีบทบาทอะไรเลยเพราะต้องทําตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาทําให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์(yes man or organization man) เพราะไม่สามารถคิดตัดสินใจทําอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบของการจัดองค์การที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก (iron cage) ขาดความยืดหยุ่นเพราะการทํางานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร
5. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจจัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
6. ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความเคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตามระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
7. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่งทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับราคา
8. เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้ การไม่กล้าเปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลายกฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลายหรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
9. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 6342371003
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การที่กลุ่มประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาใน ลักษณะของการทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการที่จะบรรลุถึง เป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การ ปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง เพราะประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำการร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคนด้วยกันเอง ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เราเห็นได้ชัดเจนที่สุดในตอนนี้ คือการที่ประชาชนทุกคนออกมาเรียกร้องสิทธิ และประโยชน์ของทุกคนในตอนนี้ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่สิ่งที่ประชาชนต้องการแต่ไม่สามารถให้ประชาชนได้เลยทำให้เกิดม็อบขึ้นอย่างที่เห็นกัน การที่เกิดม็อบขึ้นแบบนี้ก็ทำให้เห็นว่าผู้นำไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะเข้ามาคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้ ทำให้ประชาชนไม่พอใจและต้องการเรียกร้องสิทธินั้นจากผู้นำ และปัญหาหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศเราตอนนี้ซึ่งหลายๆประเทศก็สามารถแก้ไขหรือควบคุมได้ แต่ประเทศเราไม่มีแม้แต่วี่แววที่จะเห็นทางออกถ้าผู้นำของเราไม่ได้คิดจะทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง เหตุการณ์การเกิดโรคระบาดตอนนี้ วัคซีนที่พวกเราควรได้ วัคซีนที่พวกเราควรเลือกเองได้ วัคซีนที่ควรได้ฟรี ประชาชนที่ติดเชื้อมากขึ้นในทุกๆวัน ตายทุกๆวัน โรงพยาบาลที่ควรมีมากพอที่จะต้องรองรับได้ กลับไม่มีอะไรที่รองรับความต้องการของประชาชนได้มากพอ นี่คือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการมีส่วนร่วมถ้าผู้นำไม่มีประสิทธิภาพมากพอก็ควรรู้ตัวเองและลาออกเอง เพื่อประชาชน
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
5.3 ปัญหาของการบริหารของการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ตอบ แน่นอนว่าการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือด้านอะไรก็แล้วแต่ย่อมเกิดปัญหาขึ้นในทุกๆด้าน บางคนอาจจะละเลยกับปัญหาด้านสังคมไป เพราะอาจจะคิดว่าถ้าด้านใดด้านหนึ่งพัฒนาแล้วด้านต่อไปก็จะพัฒนาด้วยเช่นกัน ซึ่งความคิดเช่นนี้มันเป็นเพียงแค่อดีตเท่านั้น เราต้องพัฒนาทุกด้านให้ก้าวไปด้วยกันและเติบโตไปด้วยกัน ปัญหาสังคมแทบจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเลยก็ว่าได้เพราะทุกคนเกิดมาต้องมีสังคมเป็นของตนเองอาจะเริ่มจากสังคมขนาดเล็กภายในชุมชนของตัวเองจนเติบใหญ่เป็นสังคม ประชากรที่อาศัยอยู่ในที่หรือถิ่นเดียวกันหรือประเทศเดียวกันนี้ ซึ่งพอผู้คนมากขึ้นสังคมมากขึ้นแน่นอนสิ่งที่ตามมาก็คือปัญหา ตามสุภาษิตที่ว่ามากหมอมากความ เพราะพอคนมากขึ้นก็มากเรื่อง วุ่นวาย ต่างคนต่างความคิดทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งจากที่กล่าวมาปัญหาที่เกิดขึ้นก็ต้องมีคนมาแก้ไข ซึ่งก็คือผู้นำหรือบุคคลที่เราเลือกและไว้ใจให้มาทำหน้าที่ดูแลและตัดสินใจเพื่อรักษาประโยชน์ของทุกคนในสังคม แต่บางครั้งผู้นำก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดเพราะผู้นำก็ไม่สามารถทราบได้ถึงปัญหาทุกเรื่อง ซึ่งปัญหาที่พบได้ในการพัฒนาสังคมก็มีดังต่อไปนี้
1.ปัญหาที่รัฐไม่สามารถเข้าถึงประชาชน คือ การที่รัฐไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าประชาชนต้องการอะไร ความต้องการนั้นมีมากน้องเพียงใด ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน เพราะจากผู้คนในสังคมที่มากขึ้น มีความต้องการที่แตกต่างกัน คนนู้นก็ต้องการแบบนี้ คนนี้ก็ต้องการแบบนั้น และด้วยการบริหารที่ซับซ้อนและทำให้รับรู้ถึงปัญหาของประชาชนได้ยาก
2.ถ้ารัฐทราบว่าประชากรมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว ประเด็นต่อไปคือ จะแก้ปัญหาได้ อย่างไร ดังนั้นการเลือกแนวทางการแก้ปัญหาต้องจึงจำเป็นต้องให้มีการประเมินผลเสียก่อนที่จะนำไปปฏิบัติ ในข้อนี้ต้องมีหน่วยงานที่ลงไปปฏิบัติจริงคลุกคลีกับประชาชน ถามไถ่สิ่งที่ประชาชนต้องการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
3.การพัฒนาสังคมควรอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หรือหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชน หรือเป็นหน้าที่ของคนทุกฝ่าย ทุกๆฝ่ายที่รับผิดชอบต้องช่วยเหลือกันหรือพยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมจริงๆ ไม่หวังผลกำไรหรือยศถาบรรดาศักดิ์ ทำด้วยใจจริงๆที่อยากทำ แล้วปัญหาก็ลดน้อยลง
4.สมควรหรือไม่ประการใด ที่จะต้องมีการติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะๆ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบาย และการนำนโยบายพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต เมื่อเราลงมือทำแล้วแน่นอนสิ่งที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการติดตามสิ่งที่เรากระทำเราจะได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเราทำไปเกิดปัญหาหรือเกิดประโยชน์มากน้อยแค่ไหน แล้วถ้าเกิดประโยชน์น้อยเราสามารถแก้ไขตรงไหนได้อีกบ้าง
5. การพัฒนาสังคมจะกระทำกันถึงขั้นใด ขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความยากจน น้อยลง มีงานทำมากขึ้น หรือประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 มีดังต่อไปนี้
1. ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2. ทำงานเชิงรุก แก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า 3. แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ เบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการ วางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5. ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะ เครือข่าย
6. ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้า ตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการ วิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7. เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนไปดำเนินการ แทนได้
8. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9. บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้น ผลงานที่ดี
10. ให้ความสำคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสม ตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ลักษณะสำคัญในยุค 5G
1.การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน (Studious) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดจนลดข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน มีรายละเอียดถี่ถ้วนในการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบที่วางไว้ อันเป็นการแสดงอุปนิสัยรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในงานและในสภาวะแวดล้อมรอบตัว แม้ว่าคุณลักษณะการปฏิบัติงานจะอยู่ในยุค 5G มีความรวดเร็วมากก็ตามแต่ด้วยบริบทการปฏิบัติงานขององค์ภาครัฐพึ่งระวังเรื่องความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น การปฏิบัติงานด้วยความรอบครอบจึงเป็นการลดผลกระทบและสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นต่อประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดที่เกิดความผิดพลาดนั้นๆ ด้วยการเฝ้าระวังและสังเกตการณ์ทั่วไปให้ละเอียดมากที่สุดที่สำคัญจะเป็นสมรรถนะหลักของข้าราชการในองค์กรภาครัฐด้วย
2.การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย (Underlie) ในยุค 5G องค์กรภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเองไปสู่กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น
มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างขององค์การในด้านระบบการติดต่อสื่อสารวัฒนธรรมองค์การภายในที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และการปรับกระบวนการบริหารให้เป็นลักษณะการบริหารแบบยืดหยุ่น โดยมีฐานคิดหลักสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า "โภคภัณฑ์" ไปสู่สินค้าเชิง "นวัตกรรม" เปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
3.การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม (Precipitate) โดยการเร่งพัฒนาและปรับกระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่กำลังจะ เปลี่ยนไป ทั้งด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐานทันสมัยและเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด สามารถปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง ส่วนกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูงพร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
4. ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง (Expeditious) เพราะบริบทการเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาของประชาชนที่ซับซ้อนตามไปด้วยทำให้องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่ในการดูแลแก้ไขปัญหาประชาชนจำต้องเท่าเทียมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบกรให้บริการโดยนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนเพื่อให้บริการประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตอบสนองความต้องการและให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส
5.1จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ตอบ จุดเด่นของระบบราชการ
1. ลําดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุม สมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทํา อะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทําให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุน ในการกํากับดูแล
4. การทํางานขององค์กรมีความแน่นอน มี ลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชํานาญเฉพาะ ดา้ น
6. กระบวนการทํางานในองค์การทั้งระบบมี ผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุก คนต้องทําตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
จุดด้อย ของระบบราชการ
1. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่ง เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจ จัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อํานาจ ของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ระเบียบข้อบังคับจํานวนมากนี้ได้สร้างความ เคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตาม ระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง ทําให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับราคา
4. เป็นระบบที่ยากที่จะทําลายได้ การไม่กล้า เปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทําลาย กฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทําให้องค์กรแตกสลาย หรือนําไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้าน การเปลี่ยนแปลงและทําตัวเป็นเผด็จการ
4. บทสรุป
การบริหารระบบราชการ มีวัตถุประสงค์คือการให้บริการสาธารณะ (Public Services) ซึ่งครอบคลุมถึงการอํานวยความสะดวก การรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการพัฒนาประชาชนและ ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ซึ่งระบบราชการจะยึดหลักความมีเหตุมีผล ถูกต้อง
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ
ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วม (Participation) ตามพจนานุกรมอังกฤษฉบับอ๊อกฟอร์ด ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “เป็นการมีส่วน (ร่วมกับคนอื่น) ในการกระทำบางอย่างหรือบางเรื่อง” คำว่า การมีส่วนร่วม โดยมากมักจะใช้ในความหมายตรงข้ามกับคำว่า “การเมินเฉย (Apathy)” ฉะนั้น คำว่าการมีส่วนร่วมตามความหมายข้างต้น จึงหมายถึง การที่บุคคลกระทำการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึงความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ห่วงใย ก็เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้ และยังได้ให้คำจำกัดความของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่มประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน[6]
1. คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนำมาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นคำตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้

2. ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริงของประชาชนนั้น อาจนำมาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด

3. การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่างมั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ลดข้อโต้แย้งทางการเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล

4. การนำไปปฏิบัติง่ายขึ้น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำให้ประชาชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น และทันทีที่การตัดสินใจได้เกิดขึ้น พวกเขาก็อยากเห็นมันเกิดผลในทางปฏิบัติ และยังอาจเข้ามาช่วยกันอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย

5. การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุด เพราะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาแสดงความต้องการและข้อห่วงกังวลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จะช่วยลดโอกาสของการโต้แย้งและการแบ่งฝ่าย ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงได้

6. การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชนและเกิดความชอบธรรมโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งกัน

7. การคาดการณ์ความห่วงกังวลและทัศนคติของสาธารณชน เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มาทำงานร่วมกับสาธารณชนในกระบวนการมีส่วนร่วม พวกเขาจะได้รับรู้ถึงความห่วงกังวล และมุมมองของสาธารณชนต่อการทำงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของสาธารณชนต่อกระบวนการและการตัดสินใจขององค์กรได้

8. การพัฒนาภาคประชาสังคม ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้ทั้งในส่วนของเนื้อหาโครงการและกระบวนการตัดสินใจของรัฐ รวมทั้งเป็นการฝึกอบรมผู้นำ และทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส63423471054
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
จุดเด่นของระบบราชการ
จากที่ได้กล่าวมา จะเห็นว่างานราชการเป็นกิจการขนาดใหญ่ มีภารกิจรับผิดชอบอย่างหลากหลาย ด้าน มีความสลับซับซ้อน ตลอดจนมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ การบริหาร ราชการจึงมีความสำคัญในแง่ที่เป็นการนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติมีส่วนสำคัญในการการกำหนดนโยบายของ รัฐ เป็นกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาสังคม และเป็นองค์การบริหารจัดการที่ดีจึงจำเป็นจะต้องมี องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญคือ จัดให้มีหน่วยงานหรือส่วนราชการ เพื่อการดำเนินภารกิจในการจัดทำบริการ สาธารณะด้านต่างๆของรัฐให้บรรลุผลสำเร็จ และจัดให้มีระเบียบบริหารงาน หรือที่เรียกว่า ระเบียบบริหาร ราชการ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือกลไกลในการขับเคลื่อนภารกิจของราชการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้อย่าง มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันรัฐได้จัดให้มีหน่วยงานของรัฐขึ้นมารับผิดชอบภารกิจดังกล่าว 4 ประเภทคือ หน่วยงาน ราชการหรือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ในส่วนประเทศไทยของเราได้มีการประยุกต์ใช้หลักในการจัดระเบียบบริหารราชการที่ประกอบด้วย หลักการรวมอำนาจการปกครอง หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง และหลักการกระจายอำนาจการปกครอง ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยใช้หลักการรวมอำนาจการปกครองในการจัดระเบียบบริหาร ราชการส่วนกลาง หลักการแบ่งอำนาจการปกครองในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และหลักการ กระจายอำนาจการปกครองในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการ
ค่าตอบแทนที่ข้าราชการได้รับจากทางราชการ นอกเหนือจากเงินเดือนซึ่งเป็นการตอบแทนให้ตามค่าของงานในแต่ละตำแหน่งแล้ว ยังมีสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ อีกด้วย โดยสวัสดิการเป็นการให้ค่าตอบแทนเพื่อช่วยให้ข้าราชการมีความรู้สึกสะดวกสบายและมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ส่วนประโยชน์เกื้อกูลนั้น เป็นการให้ค่าตอบแทนเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน โดยทั้งสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล ตลอดจนจูงใจให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามารับราชการและรักษาบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ในระบบราชการ
สวัสดิการ
สวัสดิการ คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ราชการในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กร เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล โดยสวัสดิการของข้าราชการพลเรือนสามัญมีทั้งที่กำหนดให้เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/snr-2555.pdf

จุดด้อยของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2.การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก (iron cage) ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส63423471054

5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนำมาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นคำตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้
2.ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริงของประชาชนนั้น อาจนำมาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด
3.การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่างมั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่างๆ ลดข้อโต้แย้งทางการเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
4.การนำไปปฏิบัติง่ายขึ้น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำให้ประชาชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น และทันทีที่การตัดสินใจได้เกิดขึ้น พวกเขาก็อยากเห็นมันเกิดผลในทางปฏิบัติ และยังอาจเข้ามาช่วยกันอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย
5.การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุด เพราะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ เข้ามาแสดงความต้องการและข้อห่วงกังวลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จะช่วยลดโอกาสของการโต้แย้งและการแบ่งฝ่าย ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงได้
6.การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชนและเกิดความชอบธรรมโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งกัน
7.การคาดการณ์ความห่วงกังวลและทัศนคติของสาธารณชน เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มาทำงานร่วมกับสาธารณชนในกระบวนการมีส่วนร่วม พวกเขาจะได้รับรู้ถึงความห่วงกังวล และมุมมองของสาธารณชนต่อการทำงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของสาธารณชนต่อกระบวนการและการตัดสินใจขององค์กรได้
8.การพัฒนาภาคประชาสังคม ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้ทั้งในส่วนของเนื้อหาโครงการและกระบวนการตัดสินใจของรัฐ รวมทั้งเป็นการฝึกอบรมผู้นำ และทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
เงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน
เงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน มี 3 ประการ คือ
1.การมีอิสรภาพในการเข้าร่วม หมายถึง การเข้าร่วมต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ
2.ความเสมอภาคในการเข้าร่วมกิจกรรม หมายถึง ทุกคนที่เข้าร่วมต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน
3.ผู้เข้าร่วมต้องมีความสามารถพอที่จะเข้าร่วมกิจกรรม หมายถึง มีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ แต่หากกิจกรรมที่กำหนดไว้มีความซับซ้อนเกินความสามารถของกลุ่มเป้าหมาย ก็จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้พวกเขาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส63423471054
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาพปัญหาทางสังคมที่เกิดค่านิยมที่ได้รับผลกระทบ มาจากการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมต่างชาติเข้าสู่ประเทศ ทั้งด้านสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยขาดการคัดกรองและเลือกรับ ทำให้คุณธรรม จริยธรรมลดลง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จากปัญหาที่กล่าวมาจึงนำไปสู่ยุทธศาสตร์ การพัฒนาสังคมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10 มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสังคม ให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันโดยมีแนวทางพัฒนา ดังนี้
1.การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมความรู้เกิดภูมิคุ้มกัน โดยพัฒนาจิตใจไปพร้อมกับการเรียนรู้ ของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ตลอดชีวิต
2.เสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งกาย ใจ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่
3.เสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมที่สันติสุข มุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ของคนไทยบนพื้นฐานของความมีเหตุผล
4.สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้มีรากฐานที่มั่นคงของประเทศ และให้ความสำคัญกับการบริหารชุมชนเข้มแข็ง สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชน โดยทำแผนแม่บทชุมชนแบบมีส่วนร่วม
5.เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้ยั่งยืน โดยพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในสังคม มนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆซึ่งมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างสงบสุขโดยสมาชิกในสังคมได้รับการขัดเกลาทางสังคมและปลูกฝังให้เข้าใจ ต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมจากองค์กรทางสังคม
ปัญหาสังคมไทย
1.เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
2.เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
3.ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
4.ปัญหาสังคมย่อมผันแปร “ไปตามกาลเวลา”
5.ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังคมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
6.บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเองมากที่สุด
แนวทางการป้องกันและแก้ไข
1.ผลเสียทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ฟุ้งซ่าน
1.1 ภาครัฐ จะต้องส่งเสริมมาตรการป้องกันยาเสพติด เช่นการให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งเสพติดกับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือผ่านหลักสูตรการสอนในสถานบันศึกษา นอกจากนี้ภาครัฐยังควรออกมาตรการเพื่อบำบัดรักษาให้ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดหยุดเสพให้นานที่สุดจนสามารถเลิกได้โดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นการลดปัญหาความเดือนร้อนและยังสมมารถการแพร่กระจายของสิ่งเสพติดได้
1.2 ภาคเอกชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้ลดละเลิกการใช้สิ่งเสพติด รวมทั้งจัดกิจกรรมสันทนากานต่างๆให้กับเยาวชนและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และห่างไกลจากยาเสพติด
1.3 ภาคประชาชน ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการระบาดของสิ่งเสพติด โดยเฉพาะครอบครัวจะต้องให้ความรักและความอบอุ่นกับสมาชิกในครอบครัว โดยพ่อแม่ต้องถือว่าสิ่งนี้เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
ผลเสียของผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
2.ปัญหาเด็กและเยาวชน
ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเป็นปัญหาที่สำคัญและมีความหลากหลาย เช่น เด็กเร่ร่อน ปัญหาเด็กติดยาเสพติด มั่วสุมตามสถานที่บันเทิง และปัญหาเหยื่อของโฆษณาทำให้เป็นผู้บริโภคนิยม เป็นต้น
ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเป็นปัญหาที่สำคัญและมีความหลากหลาย เช่น เด็กเร่ร่อน ปัญหาเด็กติดยาเสพติด มั่วสุมตามสถานที่บันเทิง และปัญหาเหยื่อของโฆษณาทำให้เป็นผู้บริโภคนิยม เป็นต้น
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา
2.1 พ่อแม่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสมาชิกในครอบครัว โดยให้ความรักความอบอุ่นกับสมาชิกในครอบครัว และพร้อมทั้งส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของ บุตรหลาน
2.2 โรงเรียนและชุมชน ต้องส่งเสริมการจัดเวลา รวมทั้งพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนไดแสดงศักยภาพความสามารถตามความสนใจและความต้องการตามวัย
2.3 หน่วยงานของรัฐและเอกชน ต้องมีการเร่งรัดการจัดบริการนันทนาการให้เข้าถึงเด็กและเยาวชน
2.4 สื่อมวลชน ควรสนับสนุน เผยแพร่กิจกรรมความดี ความสามารถของเด็ก เพื่อเด็กจะได้มีความภาคภูมิใจในการทำงานกิจกรรมต่างๆ
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส63423471054
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
.........ต่อ..........
3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
ผลเสียของการคอรัปชั่น
1.ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต
2.ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา
3.ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย
4.ปัญหาความยากจน
ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละสังคม
ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละสังคม
ผลเสียของความยากจน
1.ผลเสียต่อบุคคลและครอบครัว ทำให้บุคคลสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ครอบครัวขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่สามารถจะส่งบุตรหลานเล่าเรียนได้เท่าที่ควร
2.เป็นภาระแก่สังคม สังคมต้องอุ้มชู ดูแลคนยากจน ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถจะทุ่มเทการพัฒนาได้
3.ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไม่มั่นคง ประเทศที่มีคนยากจนมากก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ ทำให้เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศไม่มั่นคง
This comment has been removed by the author.
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส63423471054
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
ด้วยวิสัยทัศน์ของประเทศไทย “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ดังนั้นระบบราชการ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับกับบริบทที่จะเกิดขึ้น จากการเป็นประเทศไทย 4.0 โดยภาครัฐหรือระบบราชการ จะต้องทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก (Better Governance, Happier Citizens) หมายความว่า ระบบราชการไทยจะต้องปฏิรูปขนานใหญ่ เพื่อให้สามารถเป็นที่ไว้วางใจและเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง กล่าวคือภาครัฐต้องปรับตัวและต้องพลิกโฉมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐ สู่สังคมดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องมุ่งเน้นความคล่องตัวเพื่อขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ (Agenda-based) และนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพลิกโฉม หน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 (Government 4.0 หรือ Gov. 4.0) อันเป็นฟันเฟืองและเสาหลักที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับทิศทางในการบริหารงานของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้กลไกการพัฒนาระบบราชการมีการปรับตัวต่อความท้าทายใหม่ๆ อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และยังเป็นการยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้พัฒนากรอบแนวทางการยกระดับสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาองค์การไปสู่“ระบบราชการ 4.0” ที่มีการทำงานอย่างเปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน (Open & Connected Government) มีการทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) เป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) โดยอาศัยปัจจัยหลักสำคัญคือ การสานพลังทุกภาคส่วน (Collaboration) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) และการปรับเข้าสู่การเป็นดิจิทัล (Digitization/ Digitalization)
สสปท.จึงได้เริ่มพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการขององค์กร เพื่อขับเคลื่อนการให้บริการตามยุทธศาสตร์และภารกิจในการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน เพื่อให้แรงงานของประเทศมีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส63423471054
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
........ต่อ........

ยุทธศาสตร์ระดับชาติ 5G เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ในยุคดิจิทัล
โดย...พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และอดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เมื่อเครือข่ายไร้สาย 3G เปิดตัวในปี 2000 ก็ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าโลกของโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอย่างไรและจะมีผลกระทบอย่างไร ซึ่ง 3G ได้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ Google, Facebook และ YouTube เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนในปี 2010 มีการใช้ 4G เป็นปีแรกๆ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่และบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Uber, Netflix, Spotify และ LINE เกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว และคำถามต่อไปคือ จะเกิดอะไรขึ้นในยุค 5G?
รัฐบาลในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ต่างมีความต้องการที่จะผลักดันประเทศของตนให้เป็นผู้นำในเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยคต่อไป นั่นคือ “ยุค 5G” ซึ่งหากประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดีก็จะทำให้รัฐบาลสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมที่ทันสมัยของประเทศได้ และจะสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตได้ โดยการขับเคลื่อนธุรกิจให้มีรูปแบบบริการเรียลไทม์ ดังนั้น 5G จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้นหนึ่ง สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่มีศักยภาพอย่างมาก สามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย จึงทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการพูดถึง 5G กันอย่างมากในปัจจุบัน
GSMA คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ทั่วโลกจะมีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 1 ใน 3 ของประชากรโลก โดยจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มากถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2025 และสามารถสร้างตำแหน่งงานได้มากกว่า 17.3 ล้านตำแหน่งงาน
IDC ได้คาดการณ์ว่าการให้บริการ 5G จะเริ่มต้นขึ้นอย่างชัดเจนทั่วโลกในต้นปี 2019 และจะแพร่หลายอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2021 ถึง 2023 และเทคโนโลยี 5G จะเป็นเทคโนโลยีหลักที่สามารถขจัดอุปสรรคในด้านการสื่อสารต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการประยุกต์ใช้ในธุรกิจทุกธุรกิจ
จากรายงานของ Statista คาดการณ์ว่าในยุค 5G จะมีอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) จำนวนมากถึง 31 พันล้านชิ้นเชื่อมต่อกันบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และจะทำให้ธุรกิจต่างๆ มีโอกาสใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมดิจิทัลในทศวรรษต่อจากนี้ และตลาดของ IoT จะมีมูลค่ากว่า 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2020 และผลการวิเคราะห์ของ Business Insider Intelligence ในรายงาน Internet of Things จะมีค่าตลาดสูงถึง 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐระหว่างปี 2017 ถึง 2025
มีการวิเคราะห์จาก Intel และ OVUM ว่าในปี 2025 จะเป็นจุดก้าวกระโดดของ 5G โดยในรายงานระบุว่า รายได้จากสื่อไร้สายทั่วโลก 57% จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ความสามารถของแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นเป็นพิเศษของเครือข่าย 5G โดยอุปกรณ์และสรรพสิ่งต่างๆ ที่ทำงานบน 5G จะเชื่อมโยงเชื่อมต่อกันนับพันล้านชิ้นทั่วโลกภายในปี 2025 และด้วยความหน่วงเวลาที่ต่ำของเครือข่าย 5G จะทำให้การถ่ายทอดสตรีมมิ่งวิดีโอได้อย่างไม่สะดุดหรือติดขัด และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ภายในพริบตา
ายงานของ Intel และ OVUM ยังได้ระบุถึงส่วนแบ่งรายได้จากเครือข่าย 5G ที่แซงหน้า 3G และ 4G ด้วยการใช้ความสามารถใหม่ๆ โดยในปี 2025 5G จะสร้างรายได้มากกว่า 55% ของรายได้ทั้งหมด 183 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก 321 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สหภาพยุโรป จากแผน “5G for Europe: An Action Plan” ที่สหภาพยุโรปได้ประกาศในเกือนกันยายน 2016 เพื่อชักชวนให้ประเทศสมาชิกมีการกำหนดยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศ (National 5G Strategy) ซึ่งปรากฏว่ามีประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5G แล้ว
อิตาลี ได้ดำเนินโครงการริเริ่มจำนวนมากสำหรับบริการ 5G โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และการสนับสนุนการทดลองต่างๆ โดยจะมีการนำแผนมาใช้ครอบคลุมทั่วประเทศ
สวีเดน ได้มีการกำหนดแผนการสำคัญเกี่ยวกับ 5G ใน “ยุทธศาสตร์บรอดแบนด์” ที่จะสามารถเชื่อมต่อสวีเดนได้อย่างสมบูรณ์ ภายในปี 2025
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ตอบ
ระบบราชการไทยแต่เดิมเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสังคมเกษตร และมีต้นรากมาจากการทำหน้าที่ปกครองบริหารราชการ ระบบราชการไทยจึงเป็นกลไกหลักในการวางแผน ออกนโยบายและปฏิบัตินโยบาย จนมีคำกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นรัฐราชการ (bureaucratic polity) ภารกิจจึงออกไปในลักษณะปกครองบริหาร มีอำนาจสั่งการและใช้ทรัพยากร ตัวข้าราชการจึงมีอำนาจ มีเกียรติและศักดิ์ศรี จนกลายเป็นอาชีพที่นิยมกันโดยทั่วไป

เมื่อสภาพเศรษฐกิจแปรเปลี่ยนไปจากสภาพสังคมเกษตร ไปสู่การเป็นสังคมกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม มีระบบการเมืองแบบเปิด ขณะเดียวกันสถาบันในภาคเอกชนและภาคประชาชนได้พัฒนามากขึ้น ทำให้ภาคราชการต้องมีการปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งด้านบทบาท อำนาจหน้าที่ โครงสร้าง การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณและการควบคุมตรวจสอบ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสอดคล้องกับภาวะความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในเวลานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ การปรับตัวเพื่อสามารถกระทำหน้าที่ใหม่ของตนได้ภายใต้บริบทใหม่ทางการเมืองการปกครองแบบเปิด มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีของหน่วยงานต่างๆ ต้องพยายามปรับตัวสร้างสัมพันธ์ในการทำงานกับบุคคลดังกล่าว รวมตลอดทั้งการปรับตัวตามสภาพที่ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง และรู้จักเรียกร้องสิทธิในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี และเป็นผู้มีสิทธิทางการเมืองเพราะอำนาจสูงสุดมาจากประชาชน

*จุดเด่นของระบบราชการ*
1. ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุมสมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำอะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุนในการกำกับดูแล
4. การทำงานขององค์กรมีความแน่นอน มีลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะด้าน
6. กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมีผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุกคนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

*จุดด้อยของระบบราชการ*
1. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจจัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความเคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตามระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่งทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับราคา
4. เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้ การไม่กล้าเปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลายกฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลายหรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ

การบริหารระบบราชการ มีวัตถุประสงค์คือการให้บริการสาธารณะ (Public Services)
ซึ่งครอบคลุมถึงการอำนวยความสะดวก การรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการพัฒนาประชาชนและ
ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ซึ่งระบบราชการจะยึดหลักความมีเหตุมีผล ถูกต้อง

5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ตอบ "การมีส่วนร่วมของประชาชน"
การมีส่วนร่วมของประชาชนคือ การให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายตัดสินใจกำหนดปัญหาความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเสริมพลังอำนาจให้แก่ประชาชน/กลุ่มองค์กรชุมชนให้สามารถระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ สามารถกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามความจำเป็นอย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพัฒนาศักยภาพของประชาชน/ชุมชนในด้านภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการจัดการและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ และประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างมีอิสระ การทำงานต้องเน้นในรูปกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมอย่างชัดเจน เนื่องจากพลังกลุ่มจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานพัฒนาต่างๆ บรรลุสำเร็จตามความมุ่งหมายได้

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ต้องการปฏิรูปการเมืองไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง
ดังนั้น สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญจึงมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนทุกคน โดยสรุปดังนี้
1).ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2).ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
3).มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและ ประสิทธิภาพ

สิทธิ คือ ผลประโยชน์หรืออำนาจอันชอบธรรมที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้มีทั้งสิทธิเอกชนส่วนบุคคล) และสิทธิมหาชน (สาธารณะ)
เสรีภาพ คือ สิทธิที่จะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ดังนั้นเสรีภาพที่กฎหมายรับรองจึงเป็นสิทธิ
สิทธิชุมชน ที่ประชาชนมีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ การจัดการท้องถิ่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การประชาพิจารณ์ เป็นต้น
สิทธิในการดำรงชีวิต ทุกคนมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตได้โดยอิสระตามกฎหมายกำหนด สิทธิดังกล่าวนั้นประกอบด้วย สิทธิที่จะได้รับการศึกษา การรับข้อมูลข่าวสาร และการฟ้องหน่วยราชการ ฯลฯ
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง

ตอบ
ปัญหาสังคม คือ สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนใหญ่ประชาชนมองเห็นว่าสภาวะการณ์นั้นเป็นสิ่งไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเห็นว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการกระทําร่วมกัน

ปัญหาสังคม คือ ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ของคนในสังคมในลักษณะที่ขัดต่อระเบียบของสังคม

*ปัญหาของการพัฒนาสังคม*
1.ปัญหาที่รัฐไม่สามารถเข้าถึงประชาชน คือ การที่รัฐไม่สามารถรับรู้ได้เลยงาประชาชนต้องการอะไร ความต้องการนั้นมีมากน้องเพียงใด ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน
2.ถ้ารัฐทราบว่าประชากรมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว ประเด็นต่อไปคือ จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ดังนั้นการเลือกแนวทางการแก้ปัญหาต้องจึงจำเป็นต้องให้มีการประเมินผลเสียก่อนที่จะนำไปปฏิบัติ
3.การพัฒนาสังคมควรอยู่ในความรับผิดชอบของใคร หรือหน่วยงานใด หารพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือเป็นหน้าที่ของคนทุกฝ่าย
4.สมควรหรือไม่ประการใด ที่จะต้องมีการติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะๆ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบาย และการนำนโยบายพัฒนาสังคนไปปฏิบัติในอนาคต
5. การพัฒนาสังคมจะกระทำกันถึงขั้นใด ขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความยากจนน้อยลง มีงานทำมากขึ้น หรือประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง

ตอบ

ประเทศไทยยุค 4.0 หรือ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้

“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ“เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์”ไปสู่สินค้าเชิง“นวัตกรรม” .เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมและเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้นดังนั้น“ประเทศไทย4.0”จึงควรมีการเปลี่ยนวิธีการทำที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming)โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)เปลี่ยนจากTraditional SMEsหรือSMEsที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็นSmart EnterprisesและStartupsบริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจากTraditional Servicesซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Servicesและเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

"ลักษณะสำคัญในยุค 5 G"
1).การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน (Studious) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดจนลดข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน มีรายละเอียดถี่ถ้วนในการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบที่วางไว้ อันเป็นการแสดงอุปนิสัยรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในงานและในสภาวะแวดล้อมรอบตัว แม้ว่าคุณลักษณะการปฏิบัติงานจะอยู่ในยุค 5G มีความรวดเร็วมากก็ตามแต่ด้วยบริบทการปฏิบัติงานขององค์ภาครัฐพึ่งระวังเรื่องความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น การปฏิบัติงานด้วยความรอบครอบจึงเป็นการลดผลกระทบและสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นต่อประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดที่เกิดความผิดพลาดนั้นๆ ด้วยการเฝ้าระวังและสังเกตการณ์ทั่วไปให้ละเอียดมากที่สุดที่สำคัญจะเป็นสมรรถนะหลักของข้าราชการในองค์กรภาครัฐด้วย
2).การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย (Underlie) ในยุค 5G องค์กรภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเองไปสู่กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างขององค์การในด้านระบบการติดต่อสื่อสารวัฒนธรรมองค์การภายในที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และการปรับกระบวนการบริหารให้เป็นลักษณะการบริหารแบบยืดหยุ่น โดยมีฐานคิดหลักสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า "โภคภัณฑ์" ไปสู่สินค้าเชิง "นวัตกรรม" เปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
3).การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม (Precipitate) โดยการเร่งพัฒนาและปรับกระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่กำลังจะ เปลี่ยนไป ทั้งด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐานทันสมัยและเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด สามารถปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง ส่วนกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูงพร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
4).ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง (Expeditious) เพราะบริบทการเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาของประชาชนที่ซับซ้อนตามไปด้วยทำให้องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่ในการดูแลแก้ไขปัญหาประชาชนจำต้องเท่าเทียมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบกรให้บริการโดยนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนเพื่อให้บริการประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตอบสนองความต้องการและให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส

5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ตอบ ปัญหาของการพัฒนาสังคม ประการแรก ได้แก่ปัญหาที่ว่าทาอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้าหมายมีความ ต้องการหรือมีปัญหาอะไรและรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือ ปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมกัจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกาลเวลาและสถานที่ แน่นอนกาลที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้าหมายหรือมีปัญหาอะไรนั้นก็จาเป็นอยู่เองที่จะต้องสอบถาม หรือสังเกตจากถ้อยคาและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือตัวประชาชนเองส่วนวิธีการที่ ค้นให้พบปัญหาที่แท้จริงนั้นค่อนข้างลาบาก เพราะอาจจะเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3 กรณี กล่าวคือกรณีที่แรก มีปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเป้ าหมายแต่รัฐบาลไม่ได้แก้ เพราะไม่ตระหนักว่าสิ่งนั้นคือปัญหายกตัวอย่างเช่นศาสตราจารย์เสน่ห์จามริกได้ชี้ให้เห็นว่าเรื่องสังคมเป็นเรื่องที่ใหญ่ มหาศาล และเป็นเรื่องที่ละเอียดออ่ น ทาให้ยากแก่การเข้าใจ และในทรรศนะของนกั วิชาการท่านนี้มองว่า ความเจริญเติบโตและความเสมอภาคไม่ขดัแย้งกันแต่สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เร่งรัดมากเกินไป การเติบโตด้วยตัวของมันเองไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อัตรา การเติบโตต่างหากที่เป็นตัวก่อปัญหา “การเติบโตคือระบบรวยเร็วที่จะเป็นภัยต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การเติบโตทุกวันนี้เติบโตด้วยการที่กลุ่มเล็กนิดเดียวแล้วโตขึ้นโดยอาศัยการเหยียบไหล่ของคนส่วนใหญ่ขึ้นไปไม่ใช่ไปด้วยความสามารถโดยแท้จริงตรงนี้เองที่เป็นที่มาของปัญหาสงัคม ประการที่สอง สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว ประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือ ประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละ แนวทางจึงจาเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและ แนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทางงที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ประการที่สามหลงัจากทราบปัญหาและเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นตอ่ไป คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะ เป็นหน้าที่หลกั ของรัฐบาลขององค์การที่ไม่หวงั ผลกำไรหรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการร่วมระหว่างบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมมากประการที่สี่ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะใช้ข้อมลูในการวางนโยบายและการนานโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต ประการสุดท้ายดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด การพัฒนาสังคมจะกระทำกันขั้นใดขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้าหมายมีความยากจนน้อยลง มีงานทามากขึ้นหรือได้รับผลพวงของการ พัฒนาอย่างเสมอภาคหรือจะให้ประชากรเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้กล่าวนีจ้ะ ให้อยู่ในระดับ ระดับพอยังชีพ ระดับพึ่งตนเองได้หรือสามารถกาหนดชะตากรรมของตนเองได้ แน่ละ ปัญหาเหล่านี้จะไม่ใช่เป็นปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสังคมเศรษฐกิจหรือวัฒนธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวและในท้ายที่สดุแล้วปัญหาเหล่านี้คงจะเป็นปัญหาทางการเมืองด้วยทั้งนี้ก็เพราะการพัฒนาสังคมมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพัฒนาด้านอื่นๆอยู่ประการหนึ่งนั้นก็คือใน การพัฒนาเหล่านี้คงจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ค่านิยมเช่นนี้คงจะต้องกระทาลงไปภายในบริบทของการเมืองทั้งในประเทศที่นิยมชมชอบนายทุนและ ประชาธิปไตยและในประเทศที่เน้นส่วนรวมนิยมและสังคมนิยม
5.3
ตัวอย่างการพัฒนาสังคมที่จะนามาเสนอต่อไปนี้ได้มาจากสองแหล่งด้วยกัน คือแหล่งแรกเป็น การพัฒนาสังคมที่จะสะท้อนจากแนวพระราชดาริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและแหล่งที่สองเป็น การพัฒนาสังคมตามแนวทางพัฒนาตามอดุมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองซึ่งมีรายละเอียดข้างล่างนี้ 1. การพัฒนาสังคมที่สะท้อนจากแนวพระราชดาริของพระบาทส
มเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรากฏอยู่ในผลงานที่ไกรยุทธธีรตยาคีนนัท์และกนกวงษ์ตระหง่าน ไกรยุทธ ธีรตยาคีนนันท์ ได้พยายามรวบรวมแนวทางพระราชดาริการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและได้ข้อสรุปหลายประการคือ ประการแรก ในต่างกรรมต่างวาระของพระราชดำรัสนั้น สะท้อนให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จ พระ เจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า การพัฒนาประเทศคือการพัฒนาสงั คม ยกตัวอย่าง เช่น “การพัฒนาคือการให้ ความสะดวกและความก้าวหน้าแก่ประชาชนที่ไม่มีโอกาสที่จะช่วยตนเองได้เลย” ประการท่สีองการพัฒนาบคุคลให้มีคุณภาพตามแนวทางพระราชดาริมุ่งไปทั้งที่ปัจเจกบคุคล และส่วนรวม การพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพที่มุ่งปัจเจกบุคคลเป็นการรู้จักทำชีวิตให้ประสบความสาเร็จและการรู้จักทาชีวิตให้ประสบความสาเร็จขึ้นอยู่กับวิธีการทางานที่ได้ผล และต้องเป็นคนดีมีคุณธรรมดังที่ ได้ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้มั่นคงก็เพื่อตัวเอง เพื่อจะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุขพอมีพอกิน เป็นขั้นหนึ่งขั้นต่อไปก็คือให้มีเกียรติว่ายืนด้วยตนเอง”ส่วนการพัฒนาบคุคลให้มีคณุภาพที่มุ่งที่ส่วนรวมเน้นความร่วมมือ กันเพื่อความเจริญของประเทศ และความร่วมมือกันเพื่อความเจริญของประเทศและคุณธรรมเพื่อ ความสาเร็จของส่วนรวม ดงั พระราชดำรัสอีกตอนหนึ่งว่า “ หน้าที่ของแต่ละบุคคลจะมีที่สำคัญ2 อย่างก็ คือจะต้องสร้างตัว เองให้มีความเจริญรุ่งเรือง สามารถที่จะทางานทาการในแนวของตนเองเพื่อที่จะเลี้ยง ชีวิตและอีกด้านหนึ่งก็คือ ช่วยส่วนรวมให้อยู่ดีกินดี” ซึ่งพระราชดำริสะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของ แนวความคดิ “ประเทศมั่นคงประชาชนมั่งคงนั้นเอง

5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ
ด้วยรัฐบาลมีนโยบายในการทำโมเดลไทยแลนด์4.0มาใช้ในการพัฒนาประเทศสำนักวิจัยพัฒนาระบบงานบุคคลจึงได้มีการจัดหลักสูตรอบรมเรื่องการเตรียมความพร้อมบริหารทรัพยากรบุคคลบริบทไทยแลนด์4.0ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า ประเทศที่มีความมั่งคั่งยั่งยืนเป็นที่ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวรัฐบาลจึงมีนโยบายขึ้นมาจนถึงในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จนมาถึงยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ระบบราชการมีความ เข็มแข็งและเป็นผู้นำการพัฒนาประเทศ การบริหารราชการเป็นไปตามแนวทาง คลาสสิคของ Max weber ว่าด้วยความชอบธรรมทางการเมืองที่มาจากเหตุผล และกฎหมาย (Legal- Rational Legitimacy) ระบบราชการ๓.๐ ปี๒๕๔๐ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ ๘ เป็นต้นมา วิกฤตต้มยำกุ้ง กระแส Democratization และ NPMทำให้เกิดแนวคิดในเรื่อง Good Governance โดยการปฏิรูประบบ ราชการปี๒๕๔๕ มุ่งเน้นการทำงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพเปิดกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนรวม ระบบราชการ ๔.๐ ประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์๔.๐ มีการกำหนด ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีภาครัฐต้องปรับตัวให้สามารถอำนวยความสะดวกในการ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่สามารถคาดเดาได้จึงต้องมุ่งเน้นความคล่องตัวเพื่อขับเคลื่อน ภารกิจพิเศษ(Agenda – Based)และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพลิกโฉมระบบ ราชการส ู Government 4.0 สำหรับข้าราชการและเจ้าหนาที่ของรัฐ ต้องได้รับการปรับเปลี่ยน กระบวนการทางความคิด (Mindset) ให ตนเองมีความเป##นผู ประกอบการ สาธารณะ (Public Entrepreneurship) เพิ่มทักษะสมรรถนะที่จำเป็นและ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลง (Change Leader) เพื่อสร้างคุณค่า (Public Value) และ ประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ช่วงนี้เราจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับ 5G ไม่ว่าจะจากทางด้านผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่หลายๆค่าย ต่างก็ประชาสัมพันธ์เตรียมความพร้อม และโชว์ความสามารถของ 5G บนคลื่นความถี่ 26.5 – 27.5 GHz รวมทั้ง การประกาศขายมือถือรองรับ 5G จากทางฝั่งของค่ายมือถือสารพัดแบรนด์ เราคงได้แต่คาดว่า 5G นั้นจะต้องดีกว่า 4G แน่ๆ เพราะมากกว่า 5 มากกว่า 4 เราน่าจะมาทำความรู้จักว่า 5G มันคืออะไร ดีอย่างไร และเกี่ยวอะไรกับเรา? ก่อนที่จะไปถึง 5G เรามาเริ่มทำความรู้จักแต่ละ G (Generation) กันก่อน - ยุค 1G ยุคนั้นเป็นยุคที่เราคุยกันผ่านเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก - ยุค 2G เราสามารถส่งข้อความ MMS หากันได้ - ยุค 3G เราเชื่อมต่อและใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งข้อมูลผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วระหว่าง 20kbps- 42.2Mbps - ยุค 4G เราสามารถดูภาพเสียง หรือหนังออนไลน์ได้ที่ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 100 Mbps(4G LTE), 150 Mbps (4G LTE Cat.4) และ 1,000 Mbps (4G LTE Advanced) ยุค 5G (Generation 5) เรียกได้ว่าเป็น รุ่นที่ 5 ของการสื่อสารที่อนาคตจะไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือแล้ว แต่จะรวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT) ซึ่งหากเราเข้าสู่ยุค 5G เราจะดาวน์โหลดวีดีโอ หนัง หรือแอปฯ ได้เร็วถึง 10,000 Mbps ถ้าใช้ 4G ดูวิดีโอออนไลน์ (ขนาด 8K) หรือดาวน์โหลดหนังต้องรอ 6 นาที แต่ถ้ามี 5G ใช้เวลาแค่ 6 วินาที! โอ้วววว.. เร็วมาก 5G ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร? แน่นอนว่าในยุค 5G จะทำให้เราดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เปิดเว็บไซต์บนมือถือได้เร็ว ไม่มีสะดุด แม้แต่วีดีโอที่มีความละเอียดสูงๆ แต่ประโยชน์ของ 5G มันไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เนื่องจากว่าในอนาคต โลกจะก้าวสู่เทคโนโลยี IoT จะได้เห็นการทำงานของอุปกรณ์ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตที่ไม่ไช่เพียงแค่สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตผ่าน 5G ก็จะส่งข้อมูลหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Driverless Car) ที่ในอนาคตจะสามารถโต้ตอบกับรถอีกคัน และถนน (Smart Road) ผ่านเซนเซอร์ โดยมี 5G โอนข้อมูลระหว่างกัน สรุปได้ว่า ยุค 5G บ้านเราจะได้ดูวีดีโอ เล่นเกม ฟังเพลงได้ไม่มีสะดุด แต่ถ้าเป็นเรื่องของ IoT เราคงต้องรอดูกันอีกสักระยะหนึ่ง ถ้าเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน 5G ก็จะเกิดความคุ้มค่าอย่างแน่นอน
1)จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ตอบ จุดเด่นจุดด้อย ของระบบราชการ
จุดเด่นของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทํางานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อํานาจตามอําเภอใจได้เพราะการทํางานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2.การทํางานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักรสามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กําหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้านช่วยทําให้ระบบราชการสามารถทํางานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทํางานตามขั้นตอน กฎระเบียบและ มีหลักฐานอย่างสมเหตสมผล ช่วยลด
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้
จุดด้อยของระบบราชการ
1.การทํางานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทําให้คนต้องทําตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทําให้
การทํางานเต็มไปด้วยเอกสารเกิดความล่าช้า สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นเกาะกําบังอย่างดีของผู้ปฏิบัติ
2. การบริหารตามลําดับขั้น ทําให้เกิดการทํางาน แบบรวมศนย์อํานาจไว้ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าและการใช้อํานาจโดยมิชอบอย่างมาก
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถสิ่งของ คนที่ทํางานในองค์การ จึงไม่มีบทบาทอะไรเลยเพราะต้องทําตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาทําให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์
(yes man or organization man) เพราะไม่สามารถคิดตัดสินใจทําอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบของการจัดองค์การที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก (iron cage) ขาดความยืดหยุ่นเพราะ
การทํางานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร

2)จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน
1.คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนำมาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นคำตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้
2.ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริงของประชาชนนั้น อาจนำมาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด
3.การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่างมั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่างๆ ลดข้อโต้แย้งทางการเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
4.การนำไปปฏิบัติง่ายขึ้น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำให้ประชาชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น และทันทีที่การตัดสินใจได้เกิดขึ้น พวกเขาก็อยากเห็นมันเกิดผลในทางปฏิบัติ และยังอาจเข้ามาช่วยกันอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย
5.การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุด เพราะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ เข้ามาแสดงความต้องการและข้อห่วงกังวลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จะช่วยลดโอกาสของการโต้แย้งและการแบ่งฝ่าย ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงได้
6.การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชนและเกิดความชอบธรรมโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งกัน
7.การคาดการณ์ความห่วงกังวลและทัศนคติของสาธารณชน เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มาทำงานร่วมกับสาธารณชนในกระบวนการมีส่วนร่วม พวกเขาจะได้รับรู้ถึงความห่วงกังวล และมุมมองของสาธารณชนต่อการทำงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของสาธารณชนต่อกระบวนการและการตัดสินใจขององค์กรได้
8.การพัฒนาภาคประชาสังคม ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้ทั้งในส่วนของเนื้อหาโครงการและกระบวนการตัดสินใจของรัฐ รวมทั้งเป็นการฝึกอบรมผู้นำ และทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและประชาชนขาดการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิด และความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน

2. โครงสร้างกฎหมายและกระบวนการนโยบายยังไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอ

3. การขาดแคลนผู้มีทักษะในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

4. ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมการเมืองและความพร้อมของประชาชน

5. ปัญหาด้านความพร้อมของภาครัฐ

6. การไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ที่จะบอกให้ทราบว่าประชาชนมีส่วนร่วมแล้วหรือยัง หรือหน่วยงานของรัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถทำงานให้ดีขึ้นได้เพราะไม่มีมาตรฐานในการทำงานที่ชัดเจน
3)ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ตอบ ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้าหมายมีความ
ต้องการหรือมีปัญหาอะไร และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือ
ปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกาลเวลาและสถานที่
แน่นอน การที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรนั้นก็จะต้องสอบถาม
หรือสังเกตจากถ้อยคำและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือตัวประชาชนเอง
สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว
ประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือ
ประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละ
แนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและ
แนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทาง ที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
หลังจากทราบปัญหา และเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป
คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะ
เป็นหน้าที่หลัก ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของ
คณะกรรมการร่วมระหว่างบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน
4)ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
ตอบ ยุค4.0 คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ Value–Based Economy หรือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมและเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้นดังนั้น ประเทศไทย4.0 จึงเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ เปลี่ยนจาก Traditional SMEsหรือSMEsที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart EnterprisesและStartups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจากTraditional Servicesซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Servicesและเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
ลักษณะสำคัญในยุค 5G
1.การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดจนลดข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน มีรายละเอียดถี่ถ้วนในการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน กฎระเบียบที่วางไว้ อันเป็นการแสดงอุปนิสัยรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในงานและในสภาวะแวดล้อมรอบตัว แม้ว่าคุณลักษณะการปฏิบัติงานจะอยู่ในยุค5G มีความรวดเร็วมากก็ตามแต่ด้วยบริบทการปฏิบัติงานขององค์ภาครัฐพึ่งระวังเรื่องความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น การปฏิบัติงานด้วยความรอบครอบจึงเป็นการลดผลกระทบและสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นต่อประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดที่เกิดความผิดพลาดนั้นๆ ด้วยการเฝ้าระวังและสังเกตการณ์ทั่วไปให้ละเอียดมากที่สุดที่สำคัญจะเป็นสมรรถนะหลักของข้าราชการในองค์กรภาครัฐด้วย
2.การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัยในยุค5G องค์กรภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเองไปสู่กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างขององค์การในด้านระบบการติดต่อสื่อสารวัฒนธรรมองค์การภายในที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และการปรับกระบวนการบริหารให้เป็นลักษณะการบริหารแบบยืดหยุ่น โดยมีฐานคิดหลักสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิง นวัตกรรม เปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
3.การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม โดยการเร่งพัฒนาและปรับกระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่กำลังจะ เปลี่ยนไป ทั้งด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐานทันสมัยและเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด สามารถปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง ส่วนกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูงพร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
4.ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่อง เพราะบริบทการเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาของประชาชนที่ซับซ้อนตามไปด้วยทำให้องค์กรภาครัฐที่มีหน้าที่ในการดูแลแก้ไขปัญหาประชาชนจำต้องเท่าเทียมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบกรให้บริการโดยนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนเพื่อให้บริการประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตอบสนองความต้องการและให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส

นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
จุดเด่น
1.การจัดลำดับขั้นของการบังคับบัญชา ทำให้เกิดการควบคุม
สมาชิกในองค์การและทำให้เกิดความสัมพันธ์ทีดีระหว่างกัน
2.ทำให้คนในองค์การรู้บทบาทหน้าที่ว่าตนจะต้องทำอะไร ที่
ไหนและอย่างไร ทำให้แต่ละฝ่ายไม่สับสนในบทบาทของตนเองและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
3.การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุนในการกำกับ
ดูแล
4.การแยกภาระงานแต่ละอย่างตามหลักความสามารถเฉพาะ
ด้านทำให้พนักงานได้ใช้ความรู้ความสามารถได้เต็มที่และตรงสายงาน
5.ทุกคนอยู่ภายใต้กฎกติกาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่มีการแบ่งแยกฝักฝ่ายหรือการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จุดด้อย
1.การที่หน่วยงานมีการปฏิบัติงานกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ และเป็นองค์การที่กว้างขวางมีระบบ ซับซ้อนทำให้ไม่อาจจัดระบบควบคุม ตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจของ ข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2.ทำให้ข้าราชการเมื่อปฏิบัติงานจะมีจุดเน้นที่การถูกต้อง ตามหลักกฎหมายหรือกฎระเบียบม ากกว่าจะไปมุ่งเน้นให้งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จนเกิด เป็นวัฒนธรรมองค์กร
3.ระบบการทำงานไม่สามารถยืดหยุ่นได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานที่ตายตัว ไม่ปรับไปตามยุคสมัย
4.การผูกขาดข้อมูลข่าวสารขององค์การภาครัฐ มีลักษณะที่เป็นเผด็จการ และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
5.การที่มีระบบราชการแข็งแกร่งทำให้เกิดการเกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นระบบที่ยากแก่ การเปลี่ยนแปลง
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนำมาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นคำตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้
2.ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริงของประชาชนนั้น อาจนำมาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด
3.การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่างมั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ลดข้อโต้แย้งทางการเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
4.การนำไปปฏิบัติง่ายขึ้น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำให้ประชาชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น และทันทีที่การตัดสินใจได้เกิดขึ้น พวกเขาก็อยากเห็นมันเกิดผลในทางปฏิบัติ และยังอาจเข้ามาช่วยกันอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย
5.การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุด เพราะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาแสดงความต้องการและข้อห่วงกังวลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จะช่วยลดโอกาสของการโต้แย้งและการแบ่งฝ่าย ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงได้
6.การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชนและเกิดความชอบธรรมโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งกัน
7.การคาดการณ์ความห่วงกังวลและทัศนคติของสาธารณชน เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มาทำงานร่วมกับสาธารณชนในกระบวนการมีส่วนร่วม พวกเขาจะได้รับรู้ถึงความห่วงกังวล และมุมมองของสาธารณชนต่อการทำงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของสาธารณชนต่อกระบวนการและการตัดสินใจขององค์กรได้
8.การพัฒนาภาคประชาสังคม ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้ทั้งในส่วนของเนื้อหาโครงการและกระบวนการตัดสินใจของรัฐ รวมทั้งเป็นการฝึกอบรมผู้นำ และทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของการมีส่วนร่วม
1.เจ้าหน้าที่ภาครัฐและประชาชนขาดการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิด และความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน
2.โครงสร้างกฎหมายและกระบวนการนโยบายยังไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอ
3.การขาดแคลนผู้มีทักษะในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมการเมืองและความพร้อมของประชาชน
5.ปัญหาด้านความพร้อมของภาครัฐ
6.การไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ที่จะบอกให้ทราบว่าประชาชนมีส่วนร่วมแล้วหรือยัง หรือหน่วยงานของรัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถทำงานให้ดีขึ้นได้เพราะไม่มีมาตรฐานในการทำงานที่ชัดเจน
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
-จุดเด่น
1.การจัดลำดับขั้นของการบังคับบัญชาทำให้เกิดการควบคุมสมาชิกในองค์การและทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
2. ทำให้คนในองค์การรู้บทบาทหน้าที่ว่าตนต้องทำอะไรที่ไหนและอย่างไรทำให้แต่ละฝ่ายไม่สับสนในบทบาทของตนและสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
3. มีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาทช่วยลดต้นทุนในการกำกับดูแล
4. การเรียกภาระงานแต่ละอย่างตามหลักความสามารถเฉพาะด้านทำให้พนักงานได้ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่และตรงสายงาน
5. ทุกคนอยู่ภายใต้ กฎกติกาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายหรือการใช้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
-ข้อเสีย
1. การที่หน่วยงานมีการปฏิบัติงานกระจายอยู่ในหลายพื้นที่และเป็นองค์กรที่กว้างขวางมีระเบียบซับซ้อนทำให้ไม่อาจตัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลยพินิจในการใช้อำนาจของราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ทำให้ข้าราชการเมื่อปฏิบัติงานจะมีจุด เน้นที่การถูกต้องตามหลักกฏหมายหรือกฎระเบียบมากกว่าจะมุ่งเน้นให้งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร
3. ระบบการทำงานไม่สามารถยึดหยุ่นได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานที่ตายตัวไม่ปรับไปตามยุคสมัย
4. การผูกขาดข้อมูลข่าวสารขององค์การภาครัฐมีลักษณะที่เป็นเผด็จการและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
5. การมีระบบราชการแข็งแกร่งทำให้เกิดการเกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบที่ยากแก่การเปลี่ยนแปลงและแก้ไข
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
-การมีส่วนร่วม หมายถึงลักษณะของการเข้าไปกระทำร่วมกันโดยบุคคลที่อยู่เป็นกลุ่มชนทั้งทางด้านนามธรรม คือ จิตใจ ความคิด อารมณ์ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการพัฒนา ทั้งทาง การแก้ไขปัญหาและปกป้องปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการคิดดิเริ่มเริ่มกำหนดนโยบายร่วมวางแผนตัดสินใจ และปฏิบัติตามแผนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับร่วมติดตาม และประเมินผลและรับผิดชอบในส่วนต่างๆอันมีผลกระทบถึงประชาชน ชุมชนและเครือข่ายทุกทุกแบบในพื้นที่
-ปัญหาของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
เจ้าหน้าที่ภาครัฐขาดความรู้แนวคิด ที่เกี่ยวกับความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยโครงสร้างกฎหมายและกระบวนการนโยบายยังไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มากเพียงพอและเจ้าหน้าที่รัฐ ขาดแคนผู้มีทักษะในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนที่แท้จริง ปัญหาเรื่องวัฒนธรรมการเมืองและความพร้อมของประชาชนในการร่วมมือปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่รัฐปัญหาด้านความพร้อมของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการรับมือ กับปัญหาของประชาชน และการไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่จะบอกให้ทราบว่าประชาชนมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถทำงานได้ดีขึ้นเพราะไม่มีมาตรฐานในการทำงานที่ชัดเจน และทักษะความรู้ที่ภาครัฐยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนไว้วางใจและเชื่อในระบบราชการของประเทศไทย
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไร้บาง
ปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการลดอัตราการว่างานความยากจนอย่างเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจเพราะทรัพยากรที่มีอยู่ได้ใช้ไปเพื่อสนองความต้องการของผู้คนไม่กี่คนในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่มีหมายค้นทั้งสิ่งของที่จะสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือกล่าวอีกนับหนึ่งว่าความมั่งคั่งร่ำรวยความยากจนเป็นปัญหาของการพัฒนาด้วยกันทั้งคู่เพราะที่แท้จริงแล้วความยากจนก็คือซักที่หลงเหลืออยู่จากการแสวงหาความตั้มรวยแต่เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมแล้วความยากจนไม่เป็นสิ่งที่คุณปรารถนาทั้งจากแง่มุมของรัฐบาล และคนจนเองและทั้งสองฝ่ายก็พยายามพัฒนาในทุกๆด้านความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่ไม่พึงปรารถนานี้เสียส่วนประชาชนหรือคนจนเองนั้นก็พยายามถีบตัวเองให้ผลจากวงจรชีวิตแห่งความจนความชั่วร้ายเช่นกัน เพราะความยากจนนั้นเป็นอุปสรรคต่อการตัดตรงชีวิตและกระทบต่อ ความเป็นมนุษย์การที่ชาวบ้านหรือคนจนมักจะบ่นเสมอว่าคนจนนั้นไม่มีใครอยากเป็นเพื่อนกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเอง สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการลดอัตราความยากจนลงทั้งในระดับโลกระดับประเทศครอบคลุมถึงจำนวนคนที่ยากจน ได้ยังมีคนจนที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตได้อย่างรุนแรงและมีปรากฏการณ์อื่นๆที่เป็นผลของความยากจนดังนี้
1 ไม่สามารถอ่านและเขียนได้เนื่องจากไม่มีเงินในการศึกษา
2 ไม่มีงานทำไม่มีรายได้เพื่อจุนเจือครอบครัว
3 ประสบความหิวโหยหรือทุพลภาพ
4 ขาดน้ำดื่มสะอาดและปลอดภัย
5 อาศัยอยู่ที่ชุมชนแออัดหรือสลัม
6 คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัวย่ำแย่
สภาพของความยากจนอาจแสดงให้เห็นได้โดยความหิวความอดยากที่พักสุดโทรมเสื้อผ้าขาดวิ่นสุขภาพที่ย่ำแย่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ขาดความมั่นคงในชีวิตและมีโอกาสได้พักผ่อนยนใจเพียงกระท่อนกระแท่นเท่านั้นสิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากผู้ยากจนเองแต่ส่วน ใหญ่แล้วมักจะเกิดจากปัญหาภายนอกอื่นๆในทางตรงกันข้ามคนที่ร่ำรวยกลับได้เปรียบจนเทียบกันไม่ได้เพราะเขาสามารถใช้เงินเพื่อการศึกษามากกว่าคนอื่นถึง 100 เท่าเพื่อสุขภาพอนามัยมากกว่าคนอื่นถึง 150 เท่า มีอาหารสำหรับรับประทานมากกว่าที่ต้องการจะเห็นได้ว่าคนที่ร่ำรวยได้เปรียบคนจนก็เพราะเขาสามารถมีชีวิตที่สะดวกสบายและคุณเฟิร์นมากกว่าคนอื่น
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
5.4ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค5G มีอะไรบ้าง
-ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 ตามที่รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่การพัฒนาไปสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ดังนั้นระบบราชการซึ่งเป็นคนไกลสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของระบานจึงมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดรับกับบริบทที่จะเกิดขึ้นกล่าวคือภาครัฐจะต้องปรับตัวสู่ยุค ดิจิตอลเพื่อยกระดับการให้บริการตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
การพัฒนา ระบบราชการไปสู่ระบบราชการ 4.0 มีองค์ประกอบสามประการด้วยกัน
1 ภาพรักที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกันหมายถึงการทำงานของภาครัฐจะต้องเปิดเผยและโปร่งใสโดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้โดยไม่มีความลับ และสามารถเข้าตรวจสอบการทำงานได้มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างส่วนราชการด้วยกันมีการเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
2 ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางหมายถึงส่วนราชการต้องทำงานเชิงรุกแม้เน้นการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยไม่ต้องรอให้เข้ามาติดต่อหรือร้องขอ
3 ภาครัฐมีสมรรถนะสูงและทันสมัยหมายถึงต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้ามีการวิเคราะห์ความเสี่ยงสร้างนวัตกรรมและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ต่างๆเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงหรือยังตลอดเวลา
ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย
1 การศาลพลังระหว่างพระรัฐและภาคส่วนอื่นๆในสังคมหมายถึงการยกระดับการทำงานจากการประสานงานกันเป็นการทำงานร่วมกันและการพัฒนาไปสู่การร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ
2 การสร้างนวัตกรรมหมายถึงการคิดค้นหรือหาวิธีใหม่ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
3 การปรับเข้าสู่ยุคดิจิตอลหมายถึงเป็นการภาษาอการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สร้างสมัยเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนทุกที่ทุกเวลาทุกช่องทางมีความปลอดภัยและประหยัด
ในส่วนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานของภาครัฐต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางความคิดให้ตนเองมี ความเป็นผู้ประกอบการสาธารณะเพิ่มทักษะให้มีสมรรถนะที่จำเป็นและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนอันจะช่วยทำให้สามารถแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์สุขแก่ประชาชน
ทางยกระดับหน่วยงานภาครัฐไปสู่การเป็นราชการ 4.0 ที่หยุดหลักธรรมาภิบาลและรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของประชาชนโดยแท้จริงนั้นต้องอาศัยคุณลักษณะสำคัญ 10 ประการของระบบราชการ 4.0 ด้วย
1 ทำงานอย่างเปิดเผยโปร่งใสเพื่อให้บุคคลภายนอกและประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2 ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชากรและ สร้างคุณค่า
3 แบ่งปันข้อมูลระหว่างงานเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จณจุดเดียว
4 ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการบริหารการจัดการมีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และการตัดสินใจในการทำงาน
5 ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัวรองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6 ทำงานยังมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ให้ทันเวลามีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและระดับปฏิบัติการ
7 เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนไปดำเนินการแทนได้
8 ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเริ่มและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9 บุคลากรผู้ดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่องค์การที่มีความทันสมัยและสร้างผลงานที่ดี
10 ให้ความสำคัญกับบุคลากรดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูงพัฒนาให้ตรงตามบริบทหน้าที่สร้างความผูกพันสร้างแรงจูงใจมีแผ่นเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลง
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
(ต่อ)-ลักษณะสำคัญของระบบราชการยุค 5G
หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมหรือประเทศเขาขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือองค์การภาครัฐเป็นสำคัญหากองค์กรภาครัฐมีความอ่อนแอทั้งในเชิงโครงสร้าง ระบบ อุปถัมภ์นิยมขาดเทคนิคในเชิงการบริหารการจัดการองค์กรการบริหารการจัดการทรัพยากรบุคคลที่เป็นฐานรองอำนาจการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการไทยผู้บริหารองค์กรที่ยึดเอาความคิดความเห็นของตนเป็นใหญ่เป็นต้นจะทำให้ประเทศโดยการพัฒนาลงไปเรื่อยเรื่อยเพราะองค์การภาครัฐเป็นเครื่องมือที่บ่งบอกว่าสังคม หรือประเทศจะก้าวหน้าหรือถอยหลังซึ่งโลกยุคใหม่มีเทคนิคมากมายที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารองค์กรภาครัฐให้มีคุณภาพผนวกกับบริบททางสังคมโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโลกยุค 5G ที่ก่อให้เกิดการปรับตัวอย่างรุนแรงแบบก้าวกระโดดทั้งในทางด้านวิทยาการสมัยใหม่ระบบการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆทั้งระบบการตัดสินใจ ในเชิงการบริหารองค์กรภาครัฐสามารถก่อให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาของประชาชนบนฐานเทคนิคการบริหารองค์กรภาครัฐโดยเทคนิคซุปเปอร์ได้แก่
1 Studious ความรอบคอบ
2 Underlie การรองรับ
3 Precipitate การเร่งรัด
4 Expeditious ความรวดเร็ว
5 Responsible ความรับผิดชอบต่อสังคม
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ปัญหาของการพัฒนาสังคม
ประการแรก ได้แก่ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้ าหมายมีความต้องการหรือมีปัญหาอะไร และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือ ปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามกาลเวลาและสถานที่ แน่นอนกาลที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้าหมายหรือมีปัญหาอะไรนั้นก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องสอบถาม หรือสังเกตจากถ้อยคำและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือ ตัวประชาชนเอง ส่วนวิธีการที่ค้นให้ พบปัญหาที่แท้จริงนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะอาจจะเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3 กรณี กล่าวคือกรณีที่แรก มีปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเป้าหมายแต่รัฐบาลไม่ได้แก้ เพราะไม่ตระหนักว่าสิ่ง นั้นคือปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ชี้ให้เห็นว่าเรื่องสังคมเป็นเรื่องที่ใหญ่ มหาศาล และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ทำให้ยากแก่การเข้าใจ และในทรรศนะของนักวิชาการท่านนี้มองว่าความเจริญเติบโตและความเสมอภาคไม่ขัดแย้งกัน แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหา ก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เร่งรัดมากเกินไป การเติบโตด้วยตัวของมันเองไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อัตรา การเติบโตต่างหากที่เป็นตัวก่อปัญหา การเติบโตคือระบบรวยเร็วที่จะเป็นภัยต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การเติบโตทุกวันนี้เติบโตด้วยการที่กลุ่มเล็กนิดเดียวแล้วโตขึ้น โดยอาศัยการเหยียบไหล่ของคนส่วนใหญ่ขึ้นไปไม่ใช่ไปด้วยความสามรถโดยแท้จริงตรงนี้เองที่เป็นที่มาของปัญหาสังคม
ประการที่สอง สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว ประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือ ประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละ แนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและ แนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทางที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ประการที่สาม หลังจากทราบปัญหาและเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะเป็นหน้าที่หลัก ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมระหว่าบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน
ประการที่สี่ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะๆ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบาย และการนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต
ประการสุดท้าย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด การพัฒนาสังคมจะกระท ากันขั้นใด ขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้าหมายมีความยากจนน้อยลง มีงานทำมากขึ้นหรือได้รับผลพวงของการ พัฒนาอย่างเสมอภาค หรือจะให้ประชากรเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้กล่าวนี้จะให้อยู่ในระดับพอยังชีพ ระดับพึ่งตนเองได้หรือสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้แน่ละ ปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว และในท้ายที่สุดแล้วปัญหาเหล่านี้คงจะเป็ นปัญหาทางการเมืองด้วย ทั้งนี้ก็เพราะการพัฒนาสังคมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพัฒนาด้านอื่นๆอยู่ประการหนึ่ง นั้นก็คือ ในการพัฒนาเหล่านี้ คงจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ค่านิยมเช่นนี้ คงจะต้องกระทำลงไปภายในบริบทของการเมืองทั้งในประเทศที่นิยมชมชอบนายทุนและ ประชาธิปไตย และในประเทศที่เน้นส่วนรวมนิยมและสังคมนิยม
นายศรัณย์ สัธนานันต์
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ระบบราชการ 4.0
เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทํางานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน แนวคิดและวิธีการทํางานใหม่เพื่อพลิกโฉม ให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ และเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
1.เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน
ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใสในการทํางาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ของทางราชการ หรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการ ทํางานได้ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม และโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดําเนินการเองออกไปให้แก่ ภาคส่วนอื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการแทน โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิง โครงสร้างให้สอดรับกับการทํางานแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่าย มากกว่าตาม สายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง ขณะเดียวกันก็ยังต้องเชื่อมโยงการทํางานในภาครัฐ ด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2.ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ต้องทํางานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคําถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้น แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้เข้ามาติดต่อขอรับบริการ หรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ รวมทั้งใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลภาครัฐ และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการจัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมทั้ง อํานวยความสะดวก โดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทางราชการเพื่อให้บริการได้เสร็จสิ้น ในจุดเดียว ประชาชนสามารถเรียกใช้บริการของทางราชการได้ตลอดเวลา ตามความต้องการของตนและผ่านการติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน ทั้งการติดต่อมาด้วยตนเอง เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ
3.มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย
ต้องทํางานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือ ความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่นและ ความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันเวลา ตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็น สํานักงานสมัยใหม่ รวมทั้งทําให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน
นายศรัณย์ สัธนานันต์
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง (ต่อ)
เทคโนโลยี 5G หรือ 5th Generation คือ ระบบการสื่อสารแบบไร้สายในยุคที่ 5 ซึ่งมีความสามารถในการส่งข้อมูลในปริมาณที่มากกว่าระบบ 4G ถึง 1,000 เท่า โดยผิวเผินระบบ 5G ถูกมองว่า เป็นเพียงระบบใหม่ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนระบบเดิมด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่า ดังเช่นที่ระบบ 4G มาทดแทนระบบ 3G แต่ในความจริงแล้ว 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูง และมีความสามารถในการส่งข้อมูลปริมาณมาก จึงทำให้อุปกรณ์ที่รองรับระบบนี้ จะไม่จำกัดเพียงแค่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนอีกต่อไป แต่จะรวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ และระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด
โดยระบบ 5G เป็นพื้นฐานของแนวคิด Internet of Thing และ Machine to Machine ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือ ยานพาหนะ หรือ อาคารสิ่งก่อสร้างที่มีการติดตั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และเครือข่ายการเชื่อมต่อต่างๆ ที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งผ่านข้อมูลถึงกัน โดยมีความล่าช้าของเวลา (time lag) น้อยมาก ทำให้สามารถใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เคยทำไม่ได้ในอดีต เช่น การผ่าตัดทางไกลที่แพทย์สามารถทำการผ่าตัดให้คนไข้ที่อยู่ในอีกซีกโลกได้ ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับระบบนี้ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะเปลี่ยนวิถีชีวิตในอนาคตของผู้คนโดยสิ้นเชิง
ประโยชน์ของ 5G
สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย
นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะและนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะในอนาคต
ข้อด้อยของ 5G เนื่องจากต้องใช้คลื่นความถี่ที่สูงมากหรือคลื่นเทคโนโลยีความถี่ระดับมิลลิเมตร โดยถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา สามารถดำเนินการได้ด้วยข้อมูลจำนวนมาก และมีสัญญาณการถ่ายโอนข้อมูลที่มีค่าต่ำ(ความล่าช้าน้อยที่สุด)และด้วยประโยชน์ดังกล่าว จึงต้องแลกมาด้วยปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าสัญญาณที่ส่งผ่านคลื่นความถี่สูงจะส่งผ่านในระยะสั้นเท่านั้น และก็ไม่สามารถเจาะอาคารได้ดี ทำให้ต้องอาศัยเสาสัญญาณกับเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง (ต่อ)
แนวคิดของเทคโนโลยี 5G
การพัฒนามาตรฐานสำหรับระบบ 5G หรือมาตรฐาน IMT for 2020 and beyond ของ ITU-R นั้น มีวัตถุประสงค์หลักแตกต่างจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ผ่านมาตั้งแต่ยุค 1G ถึง 4G โดยระบบ 5G ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง การรองรับการติดต่อสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลของคน เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการในการ ติดต่อสื่อสารของสรรพสิ่ง ในภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจ หรือที่เรา เรียกว่า Verticals ซึ่งได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคการเงิน หรือ ภาคของสื่อ เป็นต้น อีกด้วย การที่ระบบ 5G สามารถรองรับการติดต่อสื่อสารในภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจ จะส่งผลให้โลกของเราก้าวสู่ ยุคที่ 4 ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว แนวโน้มอุตสาหกรรมจะมีการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆและการทำงาน แบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยการทำงานต่างๆที่เป็นกิจวัตรของมนุษย์ในปัจจุบันอาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี อุตสาหกรรมจะมีความแข็งแกร่งขึ้น รวดเร็วขึ้น และฉลาดขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารจะไม่เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบหนึ่งในวิถีชีวิตของเราอีกต่อไป แต่จะเป็นสิ่งจำเป็นที่เราขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ขนาดใหญ่ และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่ม ศักยภาพและประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจหรือสังคม เนื่องจากเทคโนโลยี 5G จะทำให้อัตรา ความเร็วในการส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้นเทียบเท่ากับการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ เทคโนโลยี 5G จึงจะมีบทบาทสำคัญในด้าน ต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม ยาน ยนต์ การขนส่ง สิ่งก่อสร้าง พลังงาน การเงิน สุขภาพ อุตสาหกรรมการผลิต การบันเทิง ความมั่นคงปลอดภัย และพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งนี้ ITU-R ได้กำหนดมาตรฐาน IMT for 2020 and beyond ซึ่งมีขีดความสามารถในด้าน ต่างๆเพิ่มขึ้นจากมาตรฐาน IMT-Advanced ของระบบ 4G โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ
5G จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มขึ้น 20 เท่า อัตราการส่งข้อมูล ที่ผู้ใช้ได้รับเพิ่มขึ้น 10 เท่า ความหน่วงของระบบ ลดลง 10 เท่า ความสามารถในการรับข้อมูลในขณะเคลื่อนที่โดยสามารถรองรับการเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ความหนาแน่นในการเชื่อมต่อ ซึ่งหมายถึงจำนวนอุปกรณ์ที่ระบบสามารถ รองรับได้ เพิ่มขึ้น 10 เท่า ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโครงข่าย เพิ่มขึ้น 100 เท่า ประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่ เพิ่มขึ้น 3 เท่า และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น 100 เท่า ซึ่งขีดความสามารถที่มากขึ้นเหล่านี้ ฃจะตอบสนองความสามารถใน รองรับการทำงานของ ระบบ 5G ใน 3 ด้านหลัก ดังนี้
eMBB หรือ enhanced Mobile Broadband คือ การใช้งานในลักษณะที่ต้องการการส่ง ข้อมูลความเร็วสูงในระดับกิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้ตอบสนองความต้องการการส่ง และรับข้อมูลที่มากขึ้นเรื่อยๆ
mMTC หรือ massive Machine Type Communications คือการใช้งานที่มีการเชื่อมต่อของ อุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกัน โดยมีปริมาณมากถึงระดับล้านอุปกรณ์ต่อตารางกิโลเมตร โดยการส่งข้อมูล ของอุปกรณ์ในการใช้งานลักษณะนี้ จะเป็นการส่งข้อมูลปริมาณน้อยๆ ที่ไม่ต้องการความเร็วสูง หรือ ความหน่วงเวลาต่ำ อุปกรณ์โดยทั่วไปมีราคาถูก และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มากกว่าอุปกรณ์ทั่วไป ซึ่ง ความสามารถนี้ทำให้ระบบ 5G เหมาะสมกับการทำงานของอุปกรณ์จำพวก IoT
URLLC หรือ Ultra-reliable and Low Latency Communications คือการใช้งานที่ต้องการ ความสามารถในการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมาก รวมทั้งมีความหน่วงเวลา หรือความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำในระดับ 1 มิลลิวินาที ระบบ 4G ในปัจจุบันรองรับความหน่วงเวลาในระดับ 10 มิลลิวินาที) ซึ่ง ความสามารถนี้ทำให้ระบบ 5G เหมาะกับการใช้งานระบบที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การผ่าตัดทางไกล การควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน หรือการควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ตอบ
ข้อดี ของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทํางานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อํานาจตามอําเภอใจได้เพราะการทํางานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2.การทํางานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักรสามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กําหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้านช่วยทําให้ระบบราชการสามารถทํางานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทํางานตามขั้นตอน กฎระเบียบและ มีหลักฐานอย่างสมเหตสมผล ช่วยลด
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้

ข้อเสียของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2. การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก(iron cage) ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับนโยบายสาธารณะในความหมายกว้างซึ่งมักจะคาบเกี่ยวกับกับการพัฒนานั้นก็คือ การให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายการตัดสินใจ กำหนดปัญหาความ ต้องการของตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเสริมพลังอำนาจ ให้แก่
ประชาชน/กลุ่ม/องค์กรชุมชน ให้สามารถระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และควบคุมดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ สามารถกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองให้มีชีวิตมีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามความ
จำเป็นอย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพัฒนาศักยภาพของ ประชาชน/ชุมชน ในด้านภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการจัดการและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้ และประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างมีอิสระ การทำงานต้องเน้นในรูปกลุ่ม หรือองค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมอย่างชัดเจน เนื่องจากพลังกลุ่มจะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้งานพัฒนาต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ทั้งนี้ การจะเกิดสภาพของการมีส่วน ร่วมของประชาชนตามความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น จะต้องเกิดสภาพการณ์หรือเงื่อนไขสำคัญคือ การมีความตระหนักและความเห็นพ้องต้องกันของประชาชนที่มีจำนวนมากพอต่อการริเริ่ม โครงการ/กิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดเพื่อที่จะการเปลี่ยนแปลงที่เป็นความต้องการของส่วนรวม ทั้งนี้ ความร่วมมือของประชาชนไม่ว่าของปัจเจกชน บุคคลหรือกลุ่มคนที่เห็นพ้องต้องกันและเข้ามา รับผิดชอบเพื่อการดำเนินการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ต้องการโดยมีลักษณะเป็น การกระทำผ่านกลุ่ม หรือองค์กรเพื่อให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ปัญหาสังคมไทย
ตอบ
1.เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
2.เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
3.ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
4.ปัญหาสังคมย่อมผันแปร “ไปตามกาลเวลา”
5.ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังคมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
6.บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเองมากที่สุด

5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ
ระบบราชการ 4.0
เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทํางานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Better Governance, Happier Citizens) หมายความว่า ระบบราชการต้องปรับเปลี่ยน แนวคิดและวิธีการทํางานใหม่เพื่อพลิกโฉม (transform) ให้สามารถเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ และเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง (Credible and Trusted Government) ดังนี้
1. เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government)
2.ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government)
3. มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government)
สำคัญในยุค 5 G
บริการทางสาธารณสุข
เทคโนโลยี 5G สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ติดตามตัวผู้ป่วยเป็นจำนวนมากพร้อมกันได้ อีกทั้งต้องรองรับการส่งข้อมูลสุขภาพอย่างละเอียดได้รวดเร็วเพื่อใช้ในการประมวลผลโดยทันที
หุ่นยนต์ที่ใช้ในการผ่าตัดต้องอาศัยโครงข่ายการสื่อสารไร้สายที่มีความหน่วงต่ำมาก (Low latency) เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถตอบสนองคำสั่งในการการรักษาได้ทันที
การให้บริการทางการแพทย์แม้ผู้ป่วยจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสามารถขอรับคำปรึกษาผ่านเทคโนโลยี AR ในระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ซึ่งเทคโนโลยีนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ได้ด้วย เช่น การฝึกผ่าตัดจาลองโดยใส่ถุงมือที่มีเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของมือ (Haptic gloves) และทำการจำลองการผ่าตัดเสมือนจริงได้โดยทันที
บริการสาธาณูปโภค การขนส่ง การจัดการผังเมือง
การบริหารเครือข่ายระบบไฟฟ้า น้ำปะปา การขนส่ง ยานพาหนะแบบไร้คนขับ การควบคุมการจราจร การสร้างเมืองอัจฉริยะ การเรียนรู้ด้วย AI การวิเคราะห์ด้วย Big Data สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีอุปกรณ์ IoT เป็นหลายล้านชิ้น มีเซนเซอร์หลายล้านตัว มีการส่งและรับข้อมูลปริมาณมาก บนความรวดเร็วและแม่นยำสูง มีการประมวลผลที่รวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลจะเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี 5G

นายธนาวุฒิ สีหะนาม 63423471004
1.จุดเด่นและจุดด้วยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
จุดเด่นของระบบราชการ
1. ลําดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุม สมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทํา อะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทําให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุน ในการกํากับดูแล
4. การทํางานขององค์กรมีความแน่นอน มี ลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชํานาญเฉพาะ ด้าน
6. กระบวนการทํางานในองค์การทั้งระบบมี ผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุกคนต้องทําตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
จุดด้อยของระบบราชการ
1. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่ง เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจ จัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อํานาจ ของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ระเบียบข้อบังคับจํานวนมากนี้ได้สร้างความ เคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตาม ระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง ทําให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับราคา
4. เป็นระบบที่ยากที่จะทําลายได้ การไม่กล้า เปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทําลาย กฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทําให้องค์กรแตกสลาย หรือนําไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้าน การเปลี่ยนแปลงและทําตัวเป็นเผด็จการ
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของการพัฒนาชุมชน โดยเป็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องของการปกครองตนเอง (Self–government) คือ ต้องการ ให้ประชาชนได้เข้าไปตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งสามารถนามาใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาทุก ๆ แขนง โดย โคเฮนและอัฟฮอฟฟ์ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมไว้กล่าวคือ การมีส่วน ร่วมโดยทั่วไป หมายถึง การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการตัดสินใจ (Decision Making) แต่ก็ไม่ได้ หมายความว่าจะเป็นการตัดสินใจเพียงอย่างเดียว ยังใช้การตัดสินใจควบคู่ไปกับขั้นตอนการ ปฏิบัติการ (Implementation) ด้วย เช่น ในการจัดองค์กร การกาหนดกิจกรรมพัฒนา เป็นต้น การ ตัดสินใจยังมีความเกี่ยวข้องกับประชาชนในเรื่องของผลประโยชน์ (Benefit) และการประเมินผล (Evaluation) ในกิจกรรมการพัฒนาด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องเกือบโดยตรงกับ การปฏิบัติการ แต่ก็เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และการประเมินผลด้วยเหมือนกัน โดยที่ผลประโยชน์ นั้นเป็นผลมาจากการปฏิบัติการ และผลประโยชน์ก็จะมาเป็นตัวกาหนดให้มีการประเมินผล ซึ่งต่าง ก็ได้รับผลมาจากขั้นตอนการตัดสินใจแล้วทั้งสิ้นนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีผลสะท้อนกลับ (Feed - back) จากการประเมินผลและการปฏิบัติการกลับไปสู่การตัดสินใจอีกด้วย

5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ปัญหาสังคมไทย
ปัญหาหาของการพัฒนาสังคมท่ีคำนึงถึงความต้องการของประชาชน การพัฒนาสัวคมที่คำนึงถึงความต้องการของประชาชนมุ่ง ที่จะหาคำตอบว่าประชาชนต้องการอะไร ซึ่งการพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนนี้มีความสำคัญมากเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศทุนนิยมและประชาธิปไตยทั้งนี้ เพราะว่าคนเป็นทั้งเครื่องมือและเป็นผู้รับประโยชน์จากความพยายามในการพัฒนาดัวนั้นการพัฒนาสังคมจึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาและทำงานกับประชาชนไม่ใช่ทำงานเพื่อประชาชน ต้องทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับพวกเขาเพื่อให้พวกเขาพึ่งตนเองได้ประชาชนจึงเป็นผู้กระทำมิใช่ผู้ถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียวอย่างไร ก็ดีการที่จะทำงานกับประชาชนให้ประสบผลสำเร็จนั้น (ที่รับผิดชอบจะต้องทำงานให้กลมกลืนกับ ประชาชนและที่สำคัญที่สุดจะต้องรู้ว่าประชาชนต้องการอะไรและพยายามทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อให้พวกเขาสามารถสนองความต้องการของพวกเขาด้วยตัวของพวกเขาเอง ซึ่งในทรรศนะคติของไพรัตน์ เดชะรินทร์ และธวัช มกรพงศ์ นั้น ประชาชนมีความต้องการหลายสิ่งหลายอย่างด้วยกันคือ
(1)ต้องการน้ำดื่มและน้ำใช้เพื่อการเกษตรตลอดปี
(2)ต้องการถนนที่ใช้การได้ตลอดฤดูกาลรวมทั้งสะพาน (3)ต้องการความสงบเรียบร้อยภายในหม่บู้านไม่มีโจรผู้ร้ายลกัขโมยวัวควาย
(4)ต้องการอยู่อย่างสันติไม่มีผู้ก่อกวนทางการเมืองมาทำให้ชาวบ้านอยู่อย่างไม่เป็นสุข
(5)ต้องการบ้านเรือนอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
(6)ต้องการมีงานทำในระหว่างจากการทำนา
(7)ต้องการบริหารด้านสาธารณสุขที่ทกให้การรักษาพยาบาลได้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ
(8)ต้องการที่ดินทไกินเป็นของตัวเองไม่ต้องเช่าหรือรับจ้างผู้อื่น (9)ต้องการยาปราบศัตรูพืชพันธ์พืชผักต่างๆให้ได้ผลดีแต่ลงทุนต่ำ
(10)ต้องการปลดปล่อยหนีสินหรือความต้องการสินเชื่อเพื่อนำไปลงทุนในการผลิต
(11)ต้องการตลาดเพื่อจาหน่ายผลผลิตในราคาที่ยตุธิรรม
(12)ต้องการสัตว์เลี้ยง
(13) ต้องการปรับปรุงฝีมือและความรู้ในการประกอบอาชีพ (14)ต้องการให้บตุรหลานได้รับการศึกษา
ต่อ5.3
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การบริหารราชการเป็นแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ แนวใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินโดยส่งเสริม ให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับ ผลประโยชน์และร่วมประเมินผล ซึงจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร ราชการและบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาระบบราชการวมทั้งสามารถตอบสนองความ ต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงแม้ว่าการพัฒนาระบบราชการให้เป็นระบบ ราชการแบบเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเรื่องใหม่ สาหรับสังคมไทยรวมถึงระบบ ราชการและข้าราชการไทยคงยังคุ้นเคยกับการทำงานแบบรวมศูนย์และสั่ งการแต่ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายสำคัญน้ีจำเป็นต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางและมาตรการที่ชัดเจนเพื่อเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการวางระบบการบริหาร ราชการไทยให้สนับสนุนกระบวนการทำงานของส่วนราชการที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเพราะหากระบบราชการมีการบริหารราชการ ที่ เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมใน งานราชการในระดับต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพก็จะถือว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการ พัฒนาระบบราชการ
5.4ลักษณะของระบบราชการยุค4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค5g มีไรบ้าง

การปฏิรูประบบราชการในปัจจุบันเน้นการสร้างการบริหารจัดการระบบราชการ 4.0 ประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภาครัฐต้องปรับตัวให้สามารถอำนวยความดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ยุคดิจิทัลท่ามกลางความที่รวดเร็วและไม่สามารถคาดเดาได้จึงต้องมุ่งเน้นความคล-องตัวภารกิจพิเศษ (Agenda – Based) และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพราชการสู่ Government 4.0 (ปริญญา บุญดีสกุลโชค, 2560 : 4) แต่ด้วย วิทยาการทางด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบอย่างรวดเร็วทำให้องค์กรภาครัฐเกิดความจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการไปสู่ยุคที่มีความรวดเร็วมากขึ้นด้วยการนำเทคนิคการบริหารระบบ ราชการยุค 5G มาปรับใช้ให้เกิดความพร้อมและประสิทธิภาพในเชิงการบริหารจัดการมากข้ึนโดยมีลักษณะท่ีสำคัญ เช่น การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนที่มิได้ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนอีกต่อไป การบริหารสาธารณะที่มี ความรวดเร็วมากข้ึน การบริการประชาชนได้มากขึ้นน ครอบคลุมมากข้ึนไม่ว่าจะอยู่พื้นท่ีใดก็ตาม การตอบสนองต่อ การแก้ไขปัญหา และช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพมากข้ึน และเกิดความครอบคลุมท่ีสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ อีกทั้งการสร้างจิตสไนึกร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชนภายใต้บริบทอย่างรอบคอบ รองรับ เร่งรัด รวดเร็ว และรับผิดชอบ
5.1จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการ
ข้อดีของระบบราชการ
1. วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถมาทดแทนการใช้อำนาจบาทใหญ่ของระบบเผด็จการได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามรูปแบบที่ต้องการได้เหมือน ๆ กันเสมอ
3. การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกบ กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความขัดแย้งและการกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ได้
4. การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
5. องค์การแบบระบบราชการ มีหลักการที่ชัดเจน ใช้เหตุใช้ผล ย่อมดีกว่าองค์การแบบอื่น ๆ ที่ผู้นำสามารถใช้อารมณ์ หรืออิทธิพล หรือ บารมีส่วนตัวได้ง่าย
6. ระบบราชการจะใช้ได้ผลเต็มที่ ต่อเมื่อนำไปใช้ในสังคมที่ระบบเศรษฐกิจสังคม ที่มีความก้าวหน้าพอสมควร และที่สำคัญ ผู้ใช้ระบบราชการต้องสามารถควบคุมนั้นได้ มิฉะนั้นแล้วจะตกเป็นเหยื่อของระบบราชการ

ข้อเสียของระบบราชการ

1. ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ของระบบราชการทำให้คนต้องทำตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า และเต็มไปด้วยเอกสาร และสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นเกราะกำบังอย่างดีของผู้ปฏิบัติงาน
2. ระบบราชการมักเป็นองค์การขนาดใหญ่ จึงเป็นระบบการทำงานที่ใหญ่โต เทอะทะ มีงานจำนวนมากเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ ขั้นตอน และมีสายการบังคับบัญชาตามลำดับขั้น เป็นขั้น ๆ แบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ถือเป็นข้อเสียและทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในทางปฏิบัติ
3. ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ มนุษย์ที่ทำงานในองค์การ จึงเป็นเพียงเฟืองตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีบทบาทอะไรเลย แต่ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำขององค์การ ไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้ นอกไปจากที่องค์การวางไว้ให้ ไม่มีที่เหลือให้คนที่อยู่ในระบบได้มีโอกาส ต่อสู้ โต้แย้ง คัดค้านในสิ่งที่เขาไม่เห็นด้วยกับผู้บังคับบัญชา
- มองข้าม การต่อสู้เชิงอำนาจที่อาจเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ
- มองข้าม ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์ในองค์การ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฉ้อฉล
4. ระบบราชการ เป็นรูปแบบของการจัดองค์การที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก (iron cage) ขาดความยืดหยุ่นเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เกิดความล่าช้า
5. ระบบราชการทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) ไม่มีคุณค่า เพราะต้องรับฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาอย่างเดียว ทำให้ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ระบบราชการไม่มีความรับผิดชอบ และเป็นตัวสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา กลายเป็นวงจรแห่งความชั่วร้าย (vicious circle) เพราะวิธีการแก้ไขปัญหาของระบบราชการคือ การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ คำสั่งต่าง ๆ ออกมามากเกินไป จนทำให้ระบบราชการกลายเป็นอัมพาต ทำงานได้เพียง งานประจำ (routine work) เท่านั้น
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
“การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่มประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนำมาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นคำตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้
2. ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่คำนึงถึงความต้องการแท้จริงของประชาชนนั้น อาจนำมาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด
3. การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่างมั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ลดข้อโต้แย้งทางการเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
4. การนำไปปฏิบัติง่ายขึ้น การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำให้ประชาชนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น และทันทีที่การตัดสินใจได้เกิดขึ้น พวกเขาก็อยากเห็นมันเกิดผลในทางปฏิบัติ และยังอาจเข้ามาช่วยกันอย่างกระตือรือร้นอีกด้วย

5. การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้ายที่สุด เพราะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาแสดงความต้องการและข้อห่วงกังวลตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จะช่วยลดโอกาสของการโต้แย้งและการแบ่งฝ่าย ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงได้
6. การคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม เนื่องจากกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จะสร้างความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชนและเกิดความชอบธรรมโดยเฉพาะเมื่อต้องมีการตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งกัน
7. การคาดการณ์ความห่วงกังวลและทัศนคติของสาธารณชน เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มาทำงานร่วมกับสาธารณชนในกระบวนการมีส่วนร่วม พวกเขาจะได้รับรู้ถึงความห่วงกังวล และมุมมองของสาธารณชนต่อการทำงานขององค์กร ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของสาธารณชนต่อกระบวนการและการตัดสินใจขององค์กรได้
8. การพัฒนาภาคประชาสังคม ประโยชน์อย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้ทั้งในส่วนของเนื้อหาโครงการและกระบวนการตัดสินใจของรัฐ รวมทั้งเป็นการฝึกอบรมผู้นำ และทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ประการแรก ได้แก่ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้าหมายมีความ
ต้องการหรือมีปัญหาอะไร และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั ้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือ
ปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมัก จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามกาลเวลาและสถานที่
แน่นอนกาลที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้าหมายหรือมีปัญหาอะไรนั้นก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องสอบถาม
หรือสังเกตจากถ้อยคำและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือ ตัวประชาชนเอง ส่วนวิธีการที่
ค้นให้ พบปัญหาที่แท้จริงนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะอาจจะเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3 กรณี
กล่าวคือกรณีที่แรก มีปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเป้าหมายแต่รัฐบาลไม่ได้แก้ เพราะไม่ตระหนักว่าสิ่ง
นั้นคือปัญหายกตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ชี ้ให้เห็นว่าเรื่องสังคมเป็ นเรื่องที่ใหญ่
มหาศาล และเป็ นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ท าให้ยากแก่การเข้าใจ และในทรรศนะของนักวิชาการท่านนี ้ มองว่า
ความเจริญเติบโตและความเสมอภาคไม่ขัดแย้งกัน แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหา ก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่เร่งรัดมากเกินไป การเติบโตด้วยตัวของมันเองไม่เป็ นพิษเป็นภัยต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อัตรา
การเติบโตต่างหากที่เป็ นตัวก่อปัญหา “การเติบโตคือระบบรวยเร็วที่จะเป็ นภัยต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
การเติบโตทุกวันนี้เติบโตด้วยการที่กลุ่มเล็กนิดเดียวแล้วโตขึ้น โดยอาศัยการเหยียบไหล่ของคนส่วนใหญ่
ขึ้นไปไม่ใช่ไปด้วยความสามรถโดยแท้จริงตรงนี้เองที่เป็นที่มาของปัญหาสังคม
ประการที่สอง สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว
ประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือ
ประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั ้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละ
แนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและ
แนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทางง ที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ประการที่สาม หลังจากทราบปัญหา และเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป
คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะ
เป็นหน้าที่หลัก ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็ นหน้าที่ของ
คณะกรรมการร่วมระหว่าบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน
ประการที่สี่ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็ นระยะๆเพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบาย และการนานโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต
ประการสุดท้าย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ส าคัญที่สุด การพัฒนาสังคมจะกระทำกันขั้นใด
ขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้าหมายมีความยากจนน้อยลง มีงานทำมากขึ ้นหรือได้รับผลพวงของการ
พัฒนาอย่างเสมอภาค หรือจะให้ประชากรเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้กล่าวนี้จะ
ให้อยู่ในระดับ ระดับพอยังชีพ ระดับพึ่งตนเองได้หรือสามารถก าหนดชะตากรรมของตนเองได้ แน่ละ
ปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาเหล่านี ้คงจะไม่ใช่เป็ นปัญหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว และในท้ายที่สุดแล้วปัญหาเหล่านี ้คงจะเป็ นปัญหาทางการเมืองด้วย
ทั้งนี้ก็เพราะการพัฒนาสังคมนั ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพัฒนาด้านอื่นๆอยู่ประการหนึ่ง นั ้นก็คือ ใน
การพัฒนาเหล่านี ้ คงจะมีทั ้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
ค่านิยมเช่นนี ้ คงจะต้องกระท าลงไปภายในบริบทของการเมืองทั ้งในประเทศที่นิยมชมชอบนายทุนและ
ประชาธิปไตย และในประเทศที่เน้นส่วนรวมนิยมและสังคมนิยม
5.4ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะส าคัญ 10 ประการของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย
1. ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2. ทำงานเชิงรุก แก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3. แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการท างานเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5. ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว องรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6. ทางานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7. เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนไปดำเนินการแทนได้
8. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9. บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี
10. ให้ความส าคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสม
ตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ประโยชน์ของ 5G
สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย
นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
5.1จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการ
จุดเด่นของระบบราชการ
1. วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถมาทดแทนการใช้อำนาจบาทใหญ่ของระบบเผด็จการได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามรูปแบบที่ต้องการได้เหมือน ๆ กันเสมอ
3. การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกบ กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความขัดแย้งและการกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ได้
4. การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
5. องค์การแบบระบบราชการ มีหลักการที่ชัดเจน ใช้เหตุใช้ผล ย่อมดีกว่าองค์การแบบอื่น ๆ ที่ผู้นำสามารถใช้อารมณ์ หรืออิทธิพล หรือ บารมีส่วนตัวได้ง่าย
6. ระบบราชการจะใช้ได้ผลเต็มที่ ต่อเมื่อนำไปใช้ในสังคมที่ระบบเศรษฐกิจสังคม ที่มีความก้าวหน้าพอสมควร และที่สำคัญ ผู้ใช้ระบบราชการต้องสามารถควบคุมนั้นได้ มิฉะนั้นแล้วจะตกเป็นเหยื่อของระบบราชการ
จุดด้อยของระบบราชการ
1. ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ของระบบราชการทำให้คนต้องทำตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า และเต็มไปด้วยเอกสาร และสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นเกราะกำบังอย่างดีของผู้ปฏิบัติงาน
2. ระบบราชการมักเป็นองค์การขนาดใหญ่ จึงเป็นระบบการทำงานที่ใหญ่โต เทอะทะ มีงานจำนวนมากเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ ขั้นตอน และมีสายการบังคับบัญชาตามลำดับขั้น เป็นขั้น ๆ แบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ถือเป็นข้อเสียและทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในทางปฏิบัติ
3. ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ มนุษย์ที่ทำงานในองค์การ จึงเป็นเพียงเฟืองตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีบทบาทอะไรเลย แต่ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำขององค์การ ไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้ นอกไปจากที่องค์การวางไว้ให้ ไม่มีที่เหลือให้คนที่อยู่ในระบบได้มีโอกาส ต่อสู้ โต้แย้ง คัดค้านในสิ่งที่เขาไม่เห็นด้วยกับผู้บังคับบัญชา
- มองข้าม การต่อสู้เชิงอำนาจที่อาจเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ
- มองข้าม ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์ในองค์การ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฉ้อฉล
4. ระบบราชการ เป็นรูปแบบของการจัดองค์การที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก (iron cage) ขาดความยืดหยุ่นเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เกิดความล่าช้า
5. ระบบราชการทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) ไม่มีคุณค่า เพราะต้องรับฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาอย่างเดียว ทำให้ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ระบบราชการไม่มีความรับผิดชอบ และเป็นตัวสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา กลายเป็นวงจรแห่งความชั่วร้าย (vicious circle) เพราะวิธีการแก้ไขปัญหาของระบบราชการคือ การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ คำสั่งต่าง ๆ ออกมามากเกินไป จนทำให้ระบบราชการกลายเป็นอัมพาต
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การที่บุคคลกระทำการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึงความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ห่วงใย ก็เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้ และยังได้ให้คำจำกัดความของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่มประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
ปัญหาของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
1.เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมอำนาจนิยม-อุปถัมภ์ ผู้มีอำนาจไม่ค่อยอมรับฟังความคิดเห็นของคนที่มีตำแหน่งแห่งที่ต่ำกว่า หรือด้อยกว่า ทั้งในองค์กร และภายนอกองค์กร ผู้มีอำนาจทำตัวเป็นเจ้าของหน่วยงาน หรือองค์กร เหมือนมรดกตกทอดของครอบครัว และมักจะออกมาตอบโต้คนที่คิดเห็นต่างกับตน ด้วยตรรกะที่คับแคบ บิดเบือน เพื่อเอาชนะคะคาน สร้างความชอบธรรมให้แก่ความคิด ความเห็นของตนเอง และสร้างความไม่ชอบธรรมให้แก่ฝ่ายที่เห็นต่าง โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง และความเป็นจริง เพราะถ้าเปลี่ยนแปลงตามฝ่ายที่คัดค้านจะเป็นเรื่องเสียหน้า เสียจุดยืนในสังคม เป็นเรื่องที่ทำใจให้ยอมรับได้ยาก
2.ผู้มีส่วนร่วมฝ่ายที่สนับสนุน หรือมีความคิดคล้อยตามผู้มีอำนาจแบบ “สาวก” หรือองครักษ์พิทักษ์นาย มักจะทำหน้าที่เป็นสาวก ปกป้องผู้มีอำนาจแบบสุดลิ่มทิ่มประตู อ้างข้างๆ คูๆ ตามตรรกะของผู้มีอำนาจ และรุมประณามฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อผู้มีอำนาจ กระทำตนเป็น “ลิ่วล้อ” ในหนังจีน ส่วนมากมักจะจบลงด้วยการดูหมิ่นดูแคลนอีกฝ่าย ฝ่ายนี้เข้ามีส่วนร่วมด้วยความรู้สึก ด้วยอารมณ์ มากกว่าด้วยข้อมูล ด้วยความรู้ และด้วยจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ จุดยืนหลักคือ พิทักษ์นายแลกกับผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ
3.ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อผู้มีอำนาจถูกกระทำทุกวิถีทางให้ขาดความชอบธรรม ไม่มีที่ยืนในสังคม และต้องแบกรับภาระทั้งต้องแจกแจง หรือบอกข้อบกพร่องของผู้มีอำนาจ
4.ประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือรับผลกระทบก็ตาม มักจะเพิกเฉย คอยเสมอนอก เมื่อฝ่ายใดแพ้ก็จะรุมประณา
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
1.7เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้แก่
- สมาชิกในสังคมสร้างระบบสังคมและค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้ระเบียบกฎเกณฑ์เดิมไม่อาจนำมาใช้ได้
- การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมือง ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น แหล่งเสื่อมโทรม ความยากจน
2.เกิดจากสมาชิกในสังคมบางคนหรือบางกลุ่ม ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ ทำให้เกิดการขาดระเบียบและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมขึ้น โดยมีสาเหตุเกิดจาก
3.เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ยอมร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของสังคม
4.การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ก่อให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ
- ปัญหาการว่างงานเพราะมีการนำเครื่องจักร เครื่องทุ่นแรงมาใช้
- ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีนั้น
5.การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของสังคม เช่น หากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย อาจก่อให้เกิดการต่อต้านหรือการผูกขาดอำนาจทางการเมือง
6.ความล้าหลังทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะความเจริญทางวัตถุกับจิตใจยังไม่มีความสัมพันธ์กัน
นาย อิทธิพัฒน์ เเซมกลาง รหัส 63423471016
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5G มีอะไรบ้าง
1.เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ หรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม และโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองออกไปให้แก่ภาคส่วนอื่นๆเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทน โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างให้สอดกับการทำงานแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่าย มากกว่าตามสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง ขณะเดียวกันก็ยังต้องเชื่อมโยงการทำงานในภาครัฐด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2.ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้เข้ามาติดต่อขอรับบริการ หรือร้องขอความช่วยเหลือจากทางราชการ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐ และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ใน
การจัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก โดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทางราชการเพื่อให้บริการได้เสร็จสิ้นในจุดเดียว ประชาชนสามารถเรียกใช้บริการของทางราชการได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตนและผ่านการติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน ทั้งการติดต่อมาด้วยตนเอง เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ
3.มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างทันเวลา
ตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็นสำนักงานสมัยใหม่ รวมทั้งทำให้ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน
ลักษณะสำคัญยุค5G
เป็นพื้นฐานของแนวคิด Internet of Thing และ Machine to Machine ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือ ยานพาหนะ หรือ อาคารสิ่งก่อสร้างที่มีการติดตั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และเครือข่ายการเชื่อมต่อต่างๆ ที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งผ่านข้อมูลถึงกัน โดยมีความล่าช้าของเวลา (time lag) น้อยมาก ทำให้สามารถใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เคยทำไม่ได้ในอดีต เช่น การผ่าตัดทางไกลที่แพทย์สามารถทำการผ่าตัดให้คนไข้ที่อยู่ในอีกซีกโลกได้ ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับระบบนี้ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะเปลี่ยนวิถีชีวิตในอนาคตของผู้คนโดยสิ้นเชิง
นายอิทธิณัฐ แซมกลาง63423471284
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
จุดเด่นคือ
1. ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุม
สมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำ
อะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุน
ในการกำกับดูแล
4. การทำงานขององค์กรมีความแน่นอน มี
ลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะ
ด้าน
6. กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมี
ผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทุก
คนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
จุดด้อยคือ

1. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศซึ่ง
เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อนจนไม่อาจ
จัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจ
ของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความ
เคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตาม
ระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง
ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม
และสอดคล้องกับราคา
4. เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้ การไม่กล้า
เปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลาย
กฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลาย
หรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้าน
การเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ
นายอิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง กระบวนการสื่อสาร การร่วมดำเนินการระหว่างภาครัฐและประชาชนที่เปิดเผยและติดต่อสืบเนื่องอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เรียนรู้เข้าใจในความคิดเห็นและกระบวนการดำเนินการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินและเพื่อให้มีทางเลือก มุมมองและคุณค่าที่หลากหลายจากทุกภาคส่วนของสังคม ทำให้การตัดสินและการดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและทางเลือกที่ดีที่สุด
[2] และเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process) การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเงื่อนไขการมีส่วนร่วมมีดังนี้
1) ต้องมีอิสรภาพ หมายถึงประชาชนมีอิสระที่จะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้และต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจการถูกบังคับให้ร่วมไม่ว่าจะในรูปแบบใดไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วม
2) ต้องมีความเสมอภาค ประชาชนที่เข้าร่วมในกิจกรรมใดต้องมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ
3) ต้องมีความสามารถ ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายต้องมีความสามารถพอที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมนั้นๆหมายความว่าในบางกิจกรรมแม้ว่าจะกำหนดว่าผู้เข้าร่วมมีเสรีภาพและเสมอภาคแต่กิจกรรมที่กำหนดไว้มีความซับซ้อนเกินความสามารถของกลุ่มเป้าหมาย การมีส่วนร่วมย่อมเกิดขึ้นไม่ได้มิเช่นนั้นต้องเสริมสร้างความสามารถของประชาชนให้มีความสามารถเข้าร่วมได้
นอกจากนี้หลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนประกอบด้วยหลัก 4S ดังนี้
[4]
1) Starting Early (การเริ่มต้นเร็ว) การมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก มีการให้ข้อมูลกระตุ้นให้เกิดความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นก่อนการตัดสินใจ
2) Stakeholders (ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง) ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางโดยผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่รับฟังผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นอันดับแรก
3) Sincerity (ความจริงใจ) เนื่องจากเป็ นเรื่องละเอียดอ่อน ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับประชาชนมีความสำคัญในการประสบผลสำเร็จต้องมีความจริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ปราศจากอคติและมีการสื่อสารสองทางตลอดเวลา
4) Suitability (วิธีการที่เหมาะสม) โดยการเลือกเทคนิคหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับประชาชนทั้งโครงการ วัฒนธรรม สังคม ค่านิยม ระดับความสนใจของชุมชนในประเด็นต่างๆหากผู้กำหนดนโยบายเข้าใจหลักการพื้นของการมีส่วนร่วมก็จะทำให้ การวางแผนการมีส่วนร่วมมีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับขันตอนการวางแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ส่วนปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเกิดขึ้นได้ต่างคนต่างความคิดเมื่อมาร่วมกันหลายๆกลุ่มอาจเกิดปัญหาการดำเนินงานกันได้ทำให้เกิดความวุ่นวายเเละเกิดอุปสรรคในการทำเพราะด้วยวิธีเเละขั้นตอนการดำเนินงานต่างกันเช่น ระบบราชการเน้นการทำงานด้วยความถูกต้องมีขั้นตอนการทำงานชัดเจนเเต่ขาดประสิทธิภาพในการยืดหยุนเเละดำเดินงายลนล่าช้าต่างจากภาคประชาชนเเละเอกชนที่เน้นการทำงานรวดเร็วข้อบังคับน้อยกว่ายึดหยุนมากกว่าทำให้ถ้าการมีส่วนร่วมของภาคประชาเมื่อมาร่วมกับภาคราชการทำให้เกิดปัญหาเรื่องการทำได้
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ตอบ ปัญหาของการพัฒนาสังคมประการแรกได้แก่ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบประชากรเป้าหมายมีความต้องการหรือมีปัญหาอะไร และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามกาลเวลาและสถานที่ แน่นอนกาลที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้าหมายหรือมีปัญหาอะไรนั้นก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องสอบถาม หรือสังเกตจากถ้อยคำและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือ ตัวประชาชนเองส่วนวิธีการที่ค้นให้ พบปัญหาที่แท้จริงนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะอาจจะเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3 กรณี กล่าวคือกรณีที่แรก มีปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเป้าหมายแต่รัฐบาลไม่ได้แก้ เพราะไม่ตระหนักว่าสิ่งนั้นคือปัญหา ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสังคมเป็นเรื่องที่ใหญ่มหาศาล และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนทำให้ยากแก่การเข้าใจ และในทรรศนะ
ความเจริญเติบโตและความเสมอภาคไม่ขัดแย้งกัน แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร่งรัดมากเกินไป การเติบโตด้วยตัวของมันเองไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอัตราการเติบโตต่างหากที่เป็นตัวก่อปัญหา “การเติบโตคือระบบรวยเร็วที่จะเป็นภัยต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมการเติบโตทุกวันนี้เติบโตด้วยการที่กลุ่มเล็กนิดเดียวแล้วโตขึ้น โดยอาศัยการเหยียบไหล่ของคนส่วนใหญ่ขึ้นไปไม่ใช่ไปด้วยความสามรถโดยแท้จริงตรงนี้เองที่เป็นที่มาของปัญหาสังคม
ประการที่สอง สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว
ประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละแนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและแนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทางที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ประการที่สาม หลังจากทราบปัญหา และเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป
คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะเป็นหน้าที่หลัก ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมระหว่าบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน
ประการที่สี่ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบาย และการนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต
ประการสุดท้าย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด การพัฒนาสังคมจะกระทำกันขั้นใด ขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้าหมายมีความยากจนน้อยลง มีงานทำมากขึ้นหรือได้รับผลพวงของการพัฒนาอย่างเสมอภาค หรือจะให้ประชากรเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้กล่าวนี้จะ
ให้อยู่ในระดับ ระดับพอยังชีพ ระดับพึ่งตนเองได้หรือสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ แน่ละ
ปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว และในท้ายที่สุดแล้วปัญหาเหล่านี้คงจะเป็นปัญหาทางการเมืองด้วย ทั้งนี้ก็เพราะการพัฒนาสังคมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพัฒนาด้านอื่นๆอยู่ประการหนึ่ง นั้นก็คือ ในการพัฒนาเหล่านี้ คงจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมเช่นนี้ คงจะต้องกระทำลงไปภายในบริบทของการเมืองทั้งในประเทศที่นิยมชมชอบนายทุนและประชาธิปไตย และในประเทศที่เน้นส่วนรวมนิยมและสังคมนิยม
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ 4.0” ตามนโยบายของ
รัฐบาล โดยมีคุณลักษณะส าคัญ 10 ประการ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563 : 1) ประกอบด้วย
1) ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2) ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3) แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4)ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการมีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5) ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6) ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7) เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้ ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9) บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและ มุ่งเน้นผลงานที่ดี
10) ให้ความสำคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร

ทคนิคในยุค 5G จะทำให้ภาครัฐกลายเป็นองค์กรที่เชื่องช้าไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนผู้เสียภาษีได้ ดังนั้น องค์กรภาครัฐจึงควรเห็นมิติทางโอกาสที่จะสามารถใช้ศักยภาพทั้งหมดเพื่อการเรียนรู้และปรับใช้จากประโยชน์จากระบบ 5G ด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
1. การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งกระทบต่อประชาชน (Studious) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดจนลดข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน มีละเอียดถี่ถ้วนในการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบที่วางไว้อันเป็นการแสดงอุปนิสัยรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในงานและในสภาวะแวดล้อมรอบตัว อาทิ จัดระเบียบโต๊ะทำงาน และบริเวณหน่วยงานที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่ริเริ่มหรือร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อความเป็นระเบียบของสถานที่ทำงาน อาทิ กิจกรรม 5 ส. ด้วยความสมัครใจ กระตือรือร้น ฯลฯ สามารถลดข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นแล้วจากความไม่ตั้งใจ
2. การรองรับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย (Underlie) ในยุค 5G องค์กร
ภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเองไปสู่กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถให้บริการประชาชนได้มากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน เน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยีปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างขององค์การในด้านระบบการติดต่อสื่อสารวัฒนธรรมองค์การภายในที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และการปรับกระบวนการ
บริหารให้เป็นลักษณะการบริหารแบบยืดหยุ่น
3. การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้ครอบคลุม (Precipitate) โดยการเร่งพัฒนาและปรับ
กระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่กำลังจะเปลี่ยนไป ทั้งด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐาน ทันสมัยและเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด สามารถปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง ส่วนกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูงพร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอีกทั้งระบบบริหารงานบุคคลที่สามารถดึงดูดสร้าง และรักษาคนดีคนเก่งไว้ในภาครัฐ และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คล่องตัว โปร่งใสและมีกลไกป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
*จุดเด่นของระบบราชการได้แก่
1. ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุม สมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำ อะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุน ในการกำกับดูแล
4. การทำงานขององค์กรมีความแน่นอน มี ลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะ ด้าน
6. กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมี ผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุก คนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
*จุดด้อยของระบบราชการ
1.มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่ง เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจ จัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจ ของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2.ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความ เคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตาม ระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3.มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับราคา
4.เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้ การไม่กล้า เปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลาย กฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลาย หรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5.มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้าน การเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ

น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
5.2จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
•การมีส่วนร่วม คือ ลักษณะของการเข้าไปกระทำ ร่วมกันโดยบุคคลที่อยู่เป็นกลุ่มชนทั้งทางด้านนามธรรมคือจิตใจ ความคิด อารมณ์ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน การพัฒนาทั้งในการแก้ไข ปัญหาและป้องกันปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม ร่วมกำหนด นโยบาย ร่วมวางแผน ตัดสินใจและปฏิบัติตามแผน ร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุก ระดับ ร่วมติดตามประเมินผลและรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึง ประชาชน ชุมชนและเครือข่ายทุกรูปแบบในพื้นที่
อกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ได้ให้นิยามคำว่า “การมีส่วนร่วม ของประชาชน” ไว้ เช่น เจมส์ แอล เครยัน ได้กำหนดความหมายของการมีส่วนร่วม ของประชาชนว่า เป็นกระบวนการที่รวบรวมเอาความห่วงกังวล ความต้องการและ ค่านิยมต่าง ๆ ของสาธารณชนไว้อยู่ในกระบวนการตัดสินใจของรัฐและเอกชน เป็น การสื่อสารสองทาง และเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่มีเป้าหมายเพื่อการตัดสินใจที่ดีกว่า และที่ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน
•ปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
1.ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเมืองดีแต่ก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เป็นทางการหรือการใช้ สิทธิ์เลือกตั้งเพราะขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อพฤติกรรมของนักการเมืองและ พรรคการเมืองที่สังกัดอยู่นอกจากนี้วิถีชีวิตในโลกเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้คนกลุ่มนี้เร่งรีบหาประโยชน์ส่วนตน
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจนขาดการศึกษา ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพทำให้ไม่เห็นการมีส่วนร่วมกับการเมอง เพราะคิดว่าไม่มีประโยชน์ต่ออาชีพตนเอง
3.การมีส่วนร่วมทางการเมืองในเชิงสัญลักษณ์โดยปราศจากความตระหนัก และความเข้าใจในคุณค่าของการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง
4.การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีระบบและมีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างไม่เป็นทางการมากเกินไป ตัวอย่างเช่น การประท้วงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอาจจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจแย่ลง
5.ปัญหาจากบทบาทของพรรคการเมือง การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการ เมืองน้อยนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งคือ การขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอย กระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ
-ปัญหาวัฒนธรรมทาง การเมืองของคนไทย มีงานวิจัยหลายเรื่องสรุปและแสดงถึงวัฒนธรรมทางการเมือง ของคนไทยไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะประชาชน โดยทั่วไปเชื่อว่าการเมืองหรือการบริหารประเทศเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม เท่านั้น อีกประการหนึ่งคนไทยยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์อย่างชัด แจ้งเกินไป ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาหรือความกระตือรือร้น ที่ จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองแต่ถ้าเข้ามาก็มักจะมีวัตถุประสงค์อย่างอื่น
น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
การพัฒนาสังคมในประเทศไทยก็มิได้รับการบรรจุไว้ใน แผนการพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด เพิ่งจะได้รับการสนใจก็ เฉพาะนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) เป็นต้นไปเท่านั้น สาเหตุที่การ พัฒนาสังคมได้รับความสนใจน้อยมากในระยะต้นๆ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ อาจจะสืบ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1.ผู้คนเคยเชื่อกันว่า หากประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถพัฒนาเศรษฐกิจจนเป็น ผลสำเร็จแล้วการพัฒนาด้านสังคมและการพัฒนาด้านอื่นๆ ก็จะตามมาเป็นเงาตามตัวและโดยอัตโนมัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจจะช่วยลดความยากจน ความไม่รู้ ความเจ็บไข้ได้ ป่วยและความหิวโหยของประชาชนในโลกให้หมดไป มองจากแง่มุมนี้นักวิชาการบางท่านเห็นว่า การ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของการพัฒนาด้านอื่นๆ และการพัฒนาสังคม
2.ในระยะแรกๆของการพัฒนา ผู้คนในประเทศทุนนิยมพากันรังเกียจคำว่า “สังคม” เพราะเกรงว่าจะไปพ้องกับ “สังคมนิยม” ที่พยายามจะให้รัฐเข้ามาแทรกแซงในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ดังที่ปรากฏอยู่ในประเทศสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนในขณะนั้น
3.เมื่อเทียบกับการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ แล้ว การพัฒนาสังคมสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้น้อยกว่า ดังนั้นข้าราชการและนักการเมืองที่ เกี่ยวข้องจึงไม่ค่อยนิยมที่จะนำเอาปัญหาเหล่านี้มาพิจารณาในแง่ของนโยบายและการนำเอานโยบายไป ปฏิบัติ เพราะโอกาสที่จะเสียคะแนนนิยมจากประชาชนมีอยู่ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ผลของการพัฒนา สังคมยังต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะเห็นเป็นรูปธรรม
4.การพัฒนาสังคมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยุ่งยากสลับซับซ้อนเกิน ความสามารถของผู้ที่รับผิดชอบจะพิจารณาได้อย่างครบถ้วนและตรงประเด็น ทั้งเสียกำลังสมอง เวลา ข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ
5.ผลทางลบที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเพิกเฉยไม่พัฒนาสังคมยังไม่รุนแรงพอที่ ผู้เกี่ยวข้องจะหันมาพิจารณาปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง
6.การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาสังคมยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ การพัฒนาด้านอื่นๆ และรัฐบาลของประเทศโลกที่สามมักจะมุ่งไปพัฒนาทางด้านการทหารและการซื้อ อาวุธมากกว่าการพัฒนาสังคม
น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ความพร้อมของระบบราชการในปัจจุบันน่าเป็นห่วงอย่างมากถึงแม้ประเทศจะเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้ว ก็ตามหรือยุคการบริหารแบบ 5G ที่มีปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้เกิดเทคโนโลยีสำคัญอย่างมากซึ่งมาจากการผลักดันทาง การเมือง เศรษฐกิจของโลกภายใต้การแข่งขันอย่างเท่าเทียม ประเทศใดที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้มีความ ได้เปรียบเทียบในทุกช่องทางเพราะสามารถมีเทคโนโลยีมีความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนภายในไม่กี่วินาที มีความสะดวก ขึ้นไปตามด้วยเพราะใช้แรงงานข้าราชการน้อยลง
1.การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบที่ไม่ส่งกระทบต่อประชาชน (Studious) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะ ปฏิบัติงานให้ถูกต้องครบถ้วนตลอดจนลดข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตาม แผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน มีละเอียดถี่ถ้วนในการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบที่วางไว้อัน เป็นการแสดงอุปนิสัยรักความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในงานและในสภาวะแวดล้อมรอบตัว
2.เน้นการให้บริการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนและควบคุมระบบเทคโนโลยีปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างของ องค์การในด้านระบบการติดต่อสื่อสารวัฒนธรรมองค์การภายในที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และการปรับกระบวนการ บริหารให้เป็นลักษณะการบริหารแบบยืดหยุ่น
3.การเร่งพัฒนาและปรับ กระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่กำลังจะ เปลี่ยนไป ทั้งด้านบริการภาครัฐ ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน ข้อมูลภาครัฐมีมาตรฐาน ทันสมัยและเชื่อมโยงกัน ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด สามารถปรับตัวได้เร็วและ ระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง ส่วนกำลังคนภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมและมีสมรรถนะสูงพร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ อีกทั้งระบบบริหารงานบุคคลที่สามารถดึงดูดสร้าง และรักษาคนดีคนเก่งไว้ในภาครัฐ และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คล่องตัว โปร่งใสและมีกลไกป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
4.การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส โดยภาครัฐต้องทำงานร่วมมือ และประสานพลังในการปฏิบัติหน้าที่ มี ระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตาม หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
5.สร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน มีลักษณะการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวอาจดูได้จากการองค์กรภาครัฐใดที่มีProductivity สูงๆ และมีความรับผิดชอบในการทำงานได้ อย่างดีไม่ถูกดึงดูดออกไปจากงานได้ง่ายๆ ก็จะเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จได้สูงกว่า และองค์กรอื่นๆ
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รัฐศาสตร์รุ่น46

5.1) จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
        Ans​ = สำหรับจุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการแยกออกได้ดังต่อไปนี้​ คือ
        จุดเด่นของระบบราชการ
- มีลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุมสมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
- ไม่สับสนในบทบาท​ เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำอะไรและสามารถตรวจสอบได้
- การมีกฏระเบียบทำให้รู้บทบาท​ ช่วยลดต้นทุนในการในการกำกับดูแล
- การทำงานขององค์กรมีความแน่นอน​ มีลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
- มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะด้าน
-  กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมีผู้รับผิดชอบ
-  ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง​ ทุกคนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้.
            จุดด้อยของระบบราชการ
-  มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย​ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจจัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลยพินิจในการใช้อำนาจของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้.
-  ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความเคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตามระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน.
-  มีมาตราฐานการจ้างงานเพียงมาตราฐานเดียว​ ซึ่งทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับราคา
-  เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้​ การไม่กล้าเปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากการที่คนไม่กล้าทำลายกฎระเบียบที่มีอยู่​ เพราะอาจทำให้องค์กร​ แตกสลายหรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
-  มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และทำตัวเป็นเผด็จการ.     
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รัฐศาสตร์รุ่น46
5.2) จงอธิบายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการส่วนร่วมของภาคประชาชน.
    Ans​ = การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน​ หมายถึง​การที่กลุ่มประชาชน​หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกัน​ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม​ มีความต้องการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง​ หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ​ มติชน​ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมหรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง​ เศรษฐกิจ​การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน​  จากที่กล่าวมาจึงพอจะสรุปความหมายได้ว่า การมีส่วนร่วม​หมายถึง​ ลักษณะของการเข้าไปกระทำร่วมกันโดยบุคคลที่อยู่เป็นกลุ่ทใมทั้งทางด้านนามธรรมคือ​ จิตใจ​ ความคิด​ อารมณ์​ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน​ การพัฒนาทั้งในการแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม​ ร่วมกำหนดนโยบาย​ ร่วมวางแผน​ ตัดสินใจและปฏิบัติตามแผน​ ร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ​ ร่วมติดตามประเมินผลและรับผิดชอบในเรื่องๆ​ อันมีผลกระทบถึงประชาชน​ ชุมชนและเครืิอข่ายทุกรูปแบบในพื้นที่.
  ปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน​ มีดังนี้​คือปัญหาด้านการมีส่วนร่วมทางกาเมืองของประชาชน​มีดังต่อไปนี้
  1) ประชาชนเป็นกลุ่มคนชนชั้นกลางขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองแต่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เป็นทางการเพราะขาดความเชื่อมั่นศรัทธาในพฤติกรรมของนักการเมืองและพรรคการเมืองที่สังกัดอยู่
2) ประชาชนที่เป็นกลุ่มคนระดับล่างในสังคมที่มีฐานะยากจนขาดการศึกษาขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ​ ทำให้ประชาชนมองไม่เห็นและไม่เข้าว่า​ การมีส่วนร่วมทางทางการเมืองจะมีความสำคัญการหาเลี้ยงชีพของตนอย่างไรจึงปฏิเสธการมีส่วนร่วมทางการเมือง.
3) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในเชิงสัญลักษณ์โดยปราศจากความตระหนักและความเข้าใจในคุณค่าของการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะมีปัจจัยแทรกซ้อนอื่น.
4) การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไม่มีระบบและมีส่วนร่วมทางเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากเกินไป.
5) ปัญหาจากบทบาทพรรคการเมือง​ การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยอีกอย่าง​คืิอ​ การขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอยกระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ.
  นอกจากนี้แล้วยังมีปัญหาอีกประการ​ คือ​ ปัญหาทางวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทย​ไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพราะประชาชนโดยทั่วไปเชื่อว่าการเมืองหรือการบริหารประเทศเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มเท่านั้น​ และคนไทยยังมองเ็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทำให้ประชาชนขสดความศรัทธาหรือความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง.
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รัฐศาสตร์รุ่น46
5.3) ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
Ans= ปัญหาการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคม​ มีดังต่อไปนี้​
ประการแรก​ ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้าหมายมีความต้องการหรือมีปัญหาอะไร​ และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร​ ความต้องการหรือปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ​ ตามกาลเวลาและสถานที่.
ประการที่สอง​ คือ​ รัฐบาลจะแก้ปัญหาเหล่านั้นที่เป็นเป้าหมายของประชากรตามแนวทางใดจึงจะเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน​ การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละแนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน
ประการที่สาม​ หลังจากทราบปัญหาและเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป​ คือ​การพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด​ การพัฒนาสังคมควรจะเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล​ขององค์การไม่หวังผลกำไร​ หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมระหว่างบุคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมกัน.
ประการที่สี่​ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะ​ ๆ​ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบายและการการนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต.
ประการสุดท้าย​ คือ​ การพัฒนาสังคมจะกระทำกันขั้นใดขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้่าหมายมีความยากจนน้อยลง​ มีงานทำมากขึ้นหรือได้รับผลพวงของการพัฒนาอย่างเสมอภาค​หรือจะให้ประชากรเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้ดังกล่าวนี้จะให้อยู่ในระดับ ระดับพอยังชีพ​ ระดับพึ่งตนเอง​ได้หรือสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้​ ปัญหาเหล่านี้เป็นแก้ปัญหาทางการเมืองด้วย.
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รัฐศาสตร์รุ่น46
5.4) ลักษณณะของระบบราชการยุค​ 4.0​ กับลักษณะสำคัญในยุค​ 5G มีอะไรบ้าง.
Ans= ลักษณะของระบบราชการ​ 4.0​ ในปัจจุบันได้มีกาีเน้นการสร้างการบริหารจัดการระบบราชการ​ 4.0​ ประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์​ 4.0​ ยุทธศาสตร์ชาติ​ 20​ ปี​ที่ปัจจุบันต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีดิจิตัล การทำงานเพื่อก้าวสู่การเป็นระบบราชการ​ 4.0​ ด้วยการจัดระบบระเบียบการให้บริการประชาชนให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​โดยปรับเปลี่ยนและปฏิรูปการทำงานให้สอดรับกับนโยบายและวิสัยทัศน์ดังกล่าว​ เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการะัฒนา​ องค์กรไปสู่ " ระบบราชการ​ 4.0​" ตามนโยบายของรัฐบาล​โดยมีคุณลักษณะ​10​ ประการ​ คือ
1.ทำงานอย่างเปิดเผย​ โปร่งใส​ เอื้อให้บุคคลภายนอก​และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2.ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนและสร้างคุณค่า.
3.แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4.ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ​ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัย​ เพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และการตัดสินใจในการทำงาน
5.ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว​ รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6.ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์​ ทันเวลา​ มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับระดับปฏิบัติการ
7.เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม​ ถ่ายโอนกิจการไปดำเนินการแทนได้
8.ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม​ ความคิดริเรื่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9.บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง​ สู่องค์การที่มีควาใทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี.
10.ให้ความสำคัญกับบุคลากร​ ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง​ะัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่​ สร้างความผูกพัน​ สร้างแรงจูงใจ​ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร.
ลักษณะสำคัญในยุค​ 5G​ คือ​ ยุคที่การบริหารแบบ​5​G​
ที่มีการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีสำคัญอย่างมาก​เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวมีความรวดเร็วในการรับ -​ส่ง​ ข้อมูลจำนวนมากภายในไม่กี่วินาทีหรือมีความเร็วมากกว่า​ 4​G​ ถึง​20​ เท่า​.ดังนั้นลักษณะ​สำคัญ​ที่ได้ประโยชน์ในยุค​ 5G​ มีดังต่อไปนี้.
1.การปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน​ รวมถึงการควบคุมตรวจตราให้งานเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างถูกต้องชัดเจน.
2.รองรับการเปบี่นแปลงและการปรับตัวต่อการปฏิบัติให้ทันสมัย​ในยุค​ 5​G​.
3การเร่งรัดการตอบสนองต่อความต้องการให้คลอบคลุม​โดยการเร่งะัฒนาและปรับกระบวนงานระบบบริหารและบริการประชาชนให้เป็นดิจิตัลมากขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของประชาชนที่กำลังจะเปลี่ยนไป​ ทั้งด้านบริหารภาครัฐ​ ต้องมีความสะดวกรวดเร็วและตอบโจทย์ชีวิตประชาชน​ ข้อมูลภาครัฐมีมาตราฐานทันสมัยและเชื่อมโยงกัน​ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล​โครงสร้างองค์กรภาครัฐต้องกะทัดรัด​ สามารถปรับตัวได้เร็วและระบบงานมีผลสัมฤทธิ์สูง.
4.ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนครอบคลุมและต่อเนื่องเพราะการเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วอย่างมากด้านการเมือง​ สังคม​ เศรษฐกิจ​ สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี.
5.การสร้างมิติความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและประชาชน​ ซึ่งมีลักษณะการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไป.
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ตอบ จุดเด่นของระบบราชการ
1. ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุม สมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำอะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาทช่วยลดต้นทุนในการกำกับดูแล
4. การทำงานขององค์กรมีความแน่นอนมีลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะด้าน
6. กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมีผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทุกคนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
จุดด้อยของระบบราชการ
1. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อนจนไม่อาจจัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความเคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตามระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียวซึ่งทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับราคา
4. เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้การไม่กล้าเปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลายกฎระเบียบที่มีอยู่เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลายหรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ตอบ การมีส่วนร่วม (Participation) “เป็นการมีส่วน (ร่วมกับคนอื่น) ในการกระทำบางอย่างหรือบางเรื่อง” คำว่า การมีส่วนร่วมโดยมากมักจะใช้ในความหมายตรงข้ามกับคำว่า “การเมินเฉย (Apathy)” ฉะนั้นคำว่าการมีส่วนร่วมตามความหมายข้างต้นจึงหมายถึง การที่บุคคลกระทำการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึงความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตามและไม่จำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้แต่การมีทัศนคติความคิดเห็น ความสนใจห่วงใยก็เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้และยังได้ให้คำจำกัดความของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่มประชาชนหรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกันที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วมความสนใจร่วมมีความต้องการ ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมืองหรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมหรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
ปัญหาจากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งคือ การขาดองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่คอย กระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองอยู่เสมอ สถาบันทางการเมืองที่สำคัญคือ“พรรคการเมือง”ในปัจจุบันพรรคการเมืองยังเป็นองค์กรที่อ่อนแอมากและยังขาดความเป็นสถาบันที่ต่อเนื่องปัญหาที่สำคัญที่สุดของพรรคการเมืองไทยคือเป็นองค์กรที่ซับซ้อนและต้องเผชิญกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพรรคการเมืองไทยตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกเพื่อสนับสนุนผู้นำทางการเมืองคนใดคนหนึ่งเท่านั้นพรรคการเมืองทุกพรรคไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีสาขาพรรคน้อยสาขาพรรคบางแห่งมีแต่รูปแบบเท่านั้นไม่มีบทบาทอะไร
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
ตอบ ปัญหาของการพัฒนาสังคม
ประการแรก ได้แก่ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้าหมายมีความ ต้องการหรือมีปัญหาอะไร และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือปัญหาของประชากรเป้าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกาลเวลาและสถานที่แน่นอนกาลที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้าหมายหรือมีปัญหาอะไรนั้นก็จำเป็นอยู่ที่จะต้องสอบถามหรือสังเกตจากถ้อยคำและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือตัวประชาชนเองส่วนวิธีการที่ค้นให้พบปัญหาที่แท้จริงนั้นค่อนข้างลำบากเพราะอาจจะเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3 กรณี กล่าวคือกรณีที่แรกมีปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเป้าหมายแต่รัฐบาลไม่ได้แก้เพราะไมตระหนักว่าสิ่งนั้นคือปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ได้ชี้ให้เห็นว่าเรื่องสังคมเป็นเรื่องที่ใหญ่มหาศาลและเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนทำให้ยากแก่การเข้าใจ และในทรรศนะของนักวิชาการท่านนี้มองว่าความเจริญเติบโตและความเสมอภาคไม่ขัดแย้งกันแต่สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร่งรัดมากเกินไปการเติบโตด้วยตัวของมันเองไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอัตราการเติบโตต่างหากที่เป็นตัวก่อปัญหา “การเติบโตคือระบบรวยเร็วที่จะเป็นภัยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมการเติบโตทุกวันนี้เติบโตด้วยการที่กลุ่มเล็กนิดเดียวแล้วโตขึ้นโดยอาศัยการเหยียบไหล่ของคนส่วนใหญ่ขึ้นไปไม่ใช่ไปด้วยความสามรถโดยแท้จริงตรงนี้เองที่เป็นที่มาของปัญหาสังคม
ประการที่สอง สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้วประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละแนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและ แนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทางง ที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ประการที่สาม หลังจากทราบปัญหาและเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะเป็นหน้าที่หลัก ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลกำไรหรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมระหว่าบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน
ประการที่สี่ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะๆ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบายและการนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต
ประการสุดท้าย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดการพัฒนาสังคมจะกระทำกันขั้นใดขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้าหมายมีความยากจนน้อยลงมีงานทำมากขึ้นหรือได้รับผลพวงของการพัฒนาอย่างเสมอภาคหรือจะให้ประชากรเป้าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้กล่าวนี้จะให้อยู่ในระดับพอยังชีพ ระดับพึ่งตนเองได้หรือสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้แน่ละปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวและในท้ายที่สุดแล้วปัญหาเหล่านี้คงจะเป็นปัญหาทางการเมืองด้วยทั้งนี้ก็เพราะการพัฒนาสังคมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพัฒนาด้านอื่นๆอยู่ประการหนึ่งนั้นก็คือในการพัฒนาเหล่านี ้ คงจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ซึ่งการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมเช่นนี้คงจะต้องกระทำลงไปภายในบริบทของการเมืองทั้งในประเทศที่นิยมชมชอบนายทุนและประชาธิปไตยและในประเทศที่เน้นส่วนรวมนิยมและสังคมนิยม
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ตอบ ระบบราชการ 4.0 มีลักษณะสำคัญ 10 ประการ
1) ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอกและประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2) ทำงานเชิงรุกแก้ไขปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนและสร้างคุณค่า
3) แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานเชื่อมโยงการทำงานซึ่งกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการมีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์และการตัดสินใจในการทำงาน
5) ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัวรองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6) ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ทันเวลามีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7) เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมถ่ายโอนภารกิจไปดำเนินการแทนได้
8) ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมความคิดริเริ่มและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9) บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและ มุ่งเน้นผลงานที่ดี
10) ให้ความสำคัญกับบุคลากรดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูงพัฒนาอย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีลักษณะที่สำคัญ เช่น การส่งผ่านของข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนที่มิได้ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนอีกต่อไป การบริหารสาธารณะที่มีความรวดเร็วมากขึ้น การบริการประชาชนได้มากขี้นครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตาม การตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดความครอบคลุมที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้อีกทั้งการสร้างจิตสำนึกร่วมพัฒนาสังคมระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชนภายใต้บริบทอย่างรอบคอบ รองรับ เร่งรัด รวดเร็ว และรับผิดชอบ
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
การพัฒนาสังคมในประเทศไทยก็มิได้รับการบรรจุไว้ใน แผนการพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด เพิ่งจะได้รับการสนใจก็ เฉพาะนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) เป็นต้นไปเท่านั้น สาเหตุที่การ พัฒนาสังคมได้รับความสนใจน้อยมากในระยะต้นๆ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ อาจจะสืบ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1.ผู้คนเคยเชื่อกันว่า หากประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถพัฒนาเศรษฐกิจจนเป็น ผลสำเร็จแล้วการพัฒนาด้านสังคมและการพัฒนาด้านอื่นๆ ก็จะตามมาเป็นเงาตามตัวและโดยอัตโนมัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจจะช่วยลดความยากจน ความไม่รู้ ความเจ็บไข้ได้ ป่วยและความหิวโหยของประชาชนในโลกให้หมดไป มองจากแง่มุมนี้นักวิชาการบางท่านเห็นว่า การ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของการพัฒนาด้านอื่นๆ และการพัฒนาสังคม
2.ในระยะแรกๆของการพัฒนา ผู้คนในประเทศทุนนิยมพากันรังเกียจคำว่า “สังคม” เพราะเกรงว่าจะไปพ้องกับ “สังคมนิยม” ที่พยายามจะให้รัฐเข้ามาแทรกแซงในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ดังที่ปรากฏอยู่ในประเทศสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนในขณะนั้น
3.เมื่อเทียบกับการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ แล้ว การพัฒนาสังคมสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้น้อยกว่า ดังนั้นข้าราชการและนักการเมืองที่ เกี่ยวข้องจึงไม่ค่อยนิยมที่จะนำเอาปัญหาเหล่านี้มาพิจารณาในแง่ของนโยบายและการนำเอานโยบายไป ปฏิบัติ เพราะโอกาสที่จะเสียคะแนนนิยมจากประชาชนมีอยู่ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ผลของการพัฒนา สังคมยังต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะเห็นเป็นรูปธรรม
4.การพัฒนาสังคมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยุ่งยากสลับซับซ้อนเกิน ความสามารถของผู้ที่รับผิดชอบจะพิจารณาได้อย่างครบถ้วนและตรงประเด็น ทั้งเสียกำลังสมอง เวลา ข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ
5.ผลทางลบที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเพิกเฉยไม่พัฒนาสังคมยังไม่รุนแรงพอที่ ผู้เกี่ยวข้องจะหันมาพิจารณาปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง
6.การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาสังคมยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ การพัฒนาด้านอื่นๆ และรัฐบาลของประเทศโลกที่สามมักจะมุ่งไปพัฒนาทางด้านการทหารและการซื้อ อาวุธมากกว่าการพัฒนาสังคม
5.1 จงกล่าวถึงการบริหารเพื่อการพัฒนาในยุคต่าง ๆ และรูปแบบของพัฒนาการของการบริหาร
1 ความหมายการพัฒนาการบริหาร
การพัฒนาการบริหารนั ้น มีผู้เรียกชื่อเป็ นภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น administrative
development or development of administration, administrative modernization, administrative
reform, reorganization, organization development,administrative improvement,organization
improvement และ revitalization เป็ นต้น อย่างไรก็ดี คำเรียกชื่อการพัฒนาการบริหารที่เป็น
ภาษาอังกฤษข้างต้นนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะประเด็นปลีกย่อยเท่านั ้น
ดังรายละเอียดข้างล่างนี ้
1.2 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration) หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา
ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า
ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี ้ การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ
เล่นพรรคเล่นพวกเป็ นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบ าเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง
วินัย
1.3 ความเป็นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization) หมายถึง การ
สร้ างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ
รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจ านงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะด าเนินการ
ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม
เอกสารประกอบการเรียน วิชา การบริหารการพัฒนาอาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
1.4 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform) หมายถึงการประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ
การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื ้อต่อเป้ าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ
การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน
ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
1.5 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย
ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
1.6 การพัฒนาองค์การ (organization development) หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ
แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้
จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง ส าหรับขั ้นตอนของการพัฒนาองค์การนั ้น รวมถึง
ขั ้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั ้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็ นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
1.7 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement) หมายถึงการปรับปรุง
ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็ นผู้น า ความคิดเห็นทีเป็ นระบบ การ
เสริมสร้ างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด
สร้างสรรค์
1.8 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement) หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค
รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล
และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
1.9 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization) หรือ “การทำให้องค์การมีความ
กระปรี ้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่
จำเป็นนในอันที่จะทำให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ
แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ ้น อย่างไรก็ดี เป็ นที่น่าสังเกต
ว่า การพัฒนาตนเองเสียใหม่นี ้เป็ นการพัฒนา หรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ
แทรกแซงจากภายนอก ดังนั ้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็ นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ
self renewal
5.2 แนวทางการพัฒนาในระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
ด้านจุลภาค แนวทางการพัฒนาการบริหารอาจครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้ าง
กระบวนการ และพฤติกรรมทางการบริหาร
1. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหาร อาจท าได้หลายวิธี
ประการแรก เราอาจจะทำการวิเคราะห์วิจัยเพื่อดูว่าโครงสร้างทางการบริหารในปัจจุบันเอื ้อหรือ
ขัดขวางการบริหารการพัฒนามากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาในอินเดียพบว่า ลักษณะ
ทางโครงสร้างของระบบราชการ ไม่ว่าจะเป็ นสายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันท าและระบบ
กฎเกณฑ์ ล้วนแต่ไม่เอื่อต่อการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้ างระบบราชการซึ่งเป็ น
แนวความคิดของประเทศตะวันตกและใช้ได้ผลในประเทศเหล่านั ้น แต่เมื่อน ามาประยุกต์ในประเทศที่
ก าลังพัฒนากลับไม่ได้ผล หรือได้ผลแต่ไม่เต็มที่ และยิ่งประเทศที่กำาลังพัฒนาเน้นโครงสร้างระบบ
ราชการสมัยใหม่เป็นกรอบในการพัฒนามากเท่าใด ก็ยังทำให้รัฐบาลและมวลชนในประเทศที่กำาลัง
พัฒนายิ่งแยกกันมากขึ้นเพียงนั่น ผลที่ตามมาก็คือ ความแตกแยกการก่อการร้ ายและคตินิยมดั ้งเดิมที่
เน้นความรุนแรงขึน
2. แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริหาร แนวทางการพัฒนากระบวนการการบริ
หาอาจพิจารณาได้เป็ นหลายแนวทาง
แนวทางที่หนึ่ง ก็คือ ความพยายามที่จะท าให้เส้นทางเดินของงานสั ้นเข้าทั ้งแนวตั ้งและแนวนอน
ทั ้งนี ้ก็เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร
แนวทางที่สอง ก็คือ การพยายามท างานให้ง่ายเข้า
แนวทางที่สาม ก็คือ การกระจายอ านาจออกไปยังหน่วยต่างๆ ที่อยู่เบื ้องล่างเพื่อลดความแอดัด
ของภารกิจของงานที่ส่วนกลาง (Deconcentration) และบางทีก็มอบอ านาจให้หน่วยล่างอย่างเด็ดขาด
ไปเลย (devolution) อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะกระจายอ านาจไปยังเบื ้องล่างนั ้นหน่วยงานพัฒนาจ าเป็ น
จะต้อง รวมอ านาจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เสียก่อน มิฉะนั ้นจะก่อให้เกิดปัญหาในการติดตามและ
ประเมินผลงานในภายหลัง
3.การพัฒนาพฤติกรรมทางการบริหาร จากการศึกษาในอินเดียวเกี่ยวกับลักษณะทาง
พฤติกรรมของระบบราชการอันได้แก่ การไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัว ความมีเหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตาม
กฎเกณฑ์ พบว่าการไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนตัวมีส่วนเอื้อต่อการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล (การปฏิบัติงานให้
สัมฤทธิผลเป็ นดรรชนีหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศหรือการบริหารการพัฒนา) และความมี
เหตุผล มีส่วนเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ความเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผล และการยอมให้ประชาชนเข้า
มามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็ นดรรชนีของการบริหารการพัฒนาเช่นเดียวกัน) แต่การมุ่งปฏิบัติตาม
กฎเกณฑ์กลับไม่เอื้อต่อดรรชนีของการบริหาร มิใช่สูตรส าเร็จที่ลอกเลียนกันได้อย่างง่ายๆ ทั้งในแง่กรอบ
แนวความคิด ระเบียบวิธีวิจัยเละการตีความข้อมูล ตรงกันข้าม พฤติกรรมการพัฒนา ไม่พัฒนา หรือที่
ผู้เขียนเรียกว่า ความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศนั้น อาจจะสืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม นโยบายการ
บริหารโครงสร้างทางการบริหาร และกระบวนการการบริหาร ตลอดจนภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจของ
ผู้ปฏิบัติงานเองก็ได้
5.3 จงกล่าวถึงพัฒนาการบริหารของระบบราชการไทยรวมทั้งภาระกิจของการพัฒนาเพื่อการบริหาร
ิวัฒนาการของการบริหาร
วิวัฒนาการการบริหารราชการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย อาจแยกได้ 3 สมัย คือ
(1) สมัยที่เน้นการออกกฎระเบียบ และการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ (Law and
Order) ซึ่งเป็นสมัยก่อนปี ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆมากมาย เพื่อ
ก าหนดให้ประชาชนต้องจดทะเบียนต่างๆ ต้องขออนุญาตกับทางราชการก่อนที่จะสามารถด าเนิน
กิจการบางอย่างได้ และจะมีการบังคับการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆอย่างเคร่งครัด โดยมี
วัตถุประสงค์หลักเพื่อการจัดเก็บภาษีอากร ค่าใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อเป็นรายได้
ของแผ่นดิน
(2) สมัยที่เน้นการบริหารการพัฒนา (Development Administration) ซึ่งอยู่
ระหว่างปีค.ศ.1960-1990 (พ.ศ.2503-2533) เป็นสมัยที่ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้แผนในการ
พัฒนาประเทศ ในกรณีของประเทศไทยก็ได้มีการใช้แผนในการพัฒนาประเทศเช่นกัน ก็คือ
“แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1” (พ.ศ.2504-2509) โดยรัฐบาลเป็นผู้น าและอ านวยการ
ในการพัฒนา ในระยะเริ่มแรกได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจก่อน ต่อมาได้มีการรวมการพัฒนาสังคม
เข้าไปด้วยเป็น “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” จนถึงปัจจุบัน
(3) สมัยที่เน้นการก ากับดูแลมากกว่าการจัดท าเอง (Steering Rather Than
Rowing) ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) เป็นต้นมา โดยจะให้ภาคเอกชน
เข้ามารับงานหรือภาระหน้าที่บางอย่างของรัฐไปด าเนินการแทน และรัฐจะท าหน้าที่เป็นเพียงผู้
กระบวนการบริหาร
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายถึงกระบวนการบริหาร
ดังต่อไปนี้
กลูลิค และอูวิค (Gulick and Urwick) ได้สรุปกระบวนการบริหารไว้ใน “Paper on the
Science of Administration” ว่า กระบวนการบริหารย่อมประกอบด้วย ขั้นตอนที่ส าคัญ 7
ประการหรือที่เรียกกันย่อๆว่า “POSDCORB Model”
5.1จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการ
ข้อดีของระบบราชการ
1. วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถมาทดแทนการใช้อำนาจบาทใหญ่ของระบบเผด็จการได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามรูปแบบที่ต้องการได้เหมือน ๆ กันเสมอ
3. การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกบ กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความขัดแย้งและการกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ได้
4. การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
5. องค์การแบบระบบราชการ มีหลักการที่ชัดเจน ใช้เหตุใช้ผล ย่อมดีกว่าองค์การแบบอื่น ๆ ที่ผู้นำสามารถใช้อารมณ์ หรืออิทธิพล หรือ บารมีส่วนตัวได้ง่าย
6. ระบบราชการจะใช้ได้ผลเต็มที่ ต่อเมื่อนำไปใช้ในสังคมที่ระบบเศรษฐกิจสังคม ที่มีความก้าวหน้าพอสมควร และที่สำคัญ ผู้ใช้ระบบราชการต้องสามารถควบคุมนั้นได้ มิฉะนั้นแล้วจะตกเป็นเหยื่อของระบบราชการ

ข้อเสียของระบบราชการ

1. ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ของระบบราชการทำให้คนต้องทำตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า และเต็มไปด้วยเอกสาร และสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นเกราะกำบังอย่างดีของผู้ปฏิบัติงาน
2. ระบบราชการมักเป็นองค์การขนาดใหญ่ จึงเป็นระบบการทำงานที่ใหญ่โต เทอะทะ มีงานจำนวนมากเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ ขั้นตอน และมีสายการบังคับบัญชาตามลำดับขั้น เป็นขั้น ๆ แบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ถือเป็นข้อเสียและทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในทางปฏิบัติ
3. ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ มนุษย์ที่ทำงานในองค์การ จึงเป็นเพียงเฟืองตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีบทบาทอะไรเลย แต่ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำขององค์การ ไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้ นอกไปจากที่องค์การวางไว้ให้ ไม่มีที่เหลือให้คนที่อยู่ในระบบได้มีโอกาส ต่อสู้ โต้แย้ง คัดค้านในสิ่งที่เขาไม่เห็นด้วยกับผู้บังคับบัญชา
- มองข้าม การต่อสู้เชิงอำนาจที่อาจเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ
- มองข้าม ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์ในองค์การ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฉ้อฉล
4. ระบบราชการ เป็นรูปแบบของการจัดองค์การที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก (iron cage) ขาดความยืดหยุ่นเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เกิดความล่าช้า
5. ระบบราชการทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) ไม่มีคุณค่า เพราะต้องรับฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาอย่างเดียว ทำให้ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ระบบราชการไม่มีความรับผิดชอบ และเป็นตัวสร้างปัญหามากกว่าแก้ปัญหา กลายเป็นวงจรแห่งความชั่วร้าย (vicious circle) เพราะวิธีการแก้ไขปัญหาของระบบราชการคือ การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ คำสั่งต่าง ๆ ออกมามากเกินไป จนทำให้ระบบราชการกลายเป็นอัมพาต ทำงานได้เพียง งานประจำ (routine work) เท่านั้น
5.4ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะส าคัญ 10 ประการของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย
1. ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2. ทำงานเชิงรุก แก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3. แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการท างานเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5. ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว องรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6. ทางานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7. เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนไปดำเนินการแทนได้
8. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9. บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี
10. ให้ความส าคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสม
ตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ประโยชน์ของ 5G
สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย
นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต
5.1 จุดเด่นและจุดด้อยของระบบราชการมีอะไรบ้าง
ระบบราชการ หมายถึง ระบบที่มีการจัดลำดับอำนาจหน้าที่ มีการพัฒนาข้าราชการด้วย การฝึกอบรมให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน และลักษณะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ประกอบด้วยระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐานในการบังคับใช้อย่างเสมอภาค
ระบบราชการถือเป็นกลไกสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของรัฐในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ดังนั้นการพัฒนาระบบราชการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศในแต่ละยุค ระบบราชการไทยแต่เดิมในอดีตเกิดขึ้นภายใต้สังคมในระบบเกษตรกรรม ที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองดำรงอยู่ภายใต้ระบบการผลิตและความสัมพันธ์ทางสังคม และการเมืองของผู้คนเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน แต่ในปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง ได้เปิดกว้างและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
จุดเด่นของระบบราชการ
1. ลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นเครื่องมือควบคุม สมาชิกและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
2. ไม่สับสนในบทบาท เพราะแต่ละคนรู้ว่าจะทำ อะไรและสามารถตรวจสอบได้
3. การมีกฎระเบียบทำให้รู้บทบาท ช่วยลดต้นทุน ในการกำกับดูแล
4. การทำงานขององค์กรมีความแน่นอน มี ลักษณะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้
5. มีการแบ่งแยกงานถือหลักความชำนาญเฉพาะ ด้าน
6. กระบวนการทำงานในองค์การทั้งระบบมี ผู้รับผิดชอบ
7. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทุก คนต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
จุดด้อยของระบบราชการ
1. มีองค์การปฏิบัติงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่ง เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางซับซ้อน จนไม่อาจ จัดระบบควบคุมตรวจสอบดุลพินิจในการใช้อำนาจ ของข้าราชการทุกคนเป็นการเฉพาะรายได้
2. ระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความ เคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตาม ระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
3. มีมาตรฐานการจ้างงานเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับราคา
4. เป็นระบบที่ยากที่จะทำลายได้ การไม่กล้า เปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากคนไม่กล้าทำลาย กฎระเบียบที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้องค์กรแตกสลาย หรือนำไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวก
5. มีแนวโน้มที่จะผูกขาดข้อมูลข่าวสารต่อต้าน การเปลี่ยนแปลงและทำตัวเป็นเผด็จการ
5.2 จงอภิปรายถึงการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วม หมายถึง การที่บุคคลกระทำการในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งหรือในประเด็นที่บุคคลนั้นสนใจ ไม่ว่าเขาจะได้ปฏิบัติการเพื่อแสดงถึง ความสนใจอย่างจริงจังหรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมนั้นโดยตรงก็ได้ แต่การมีทัศนคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ห่วงใย ก็ เพียงพอแล้วที่จะเรียกว่าเป็นการมีส่วนร่วมได้ และยังได้ให้คำจำกัดความของการมี ส่วนร่วมของประชาชนว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” หมายถึง การที่กลุ่ม ประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการ ทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วม มีความต้องการ ที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังคมหรือการเมือง
การมีส่วนร่วมของ ประชาชนก็มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นสถาบันที่ฝึกหัดให้ประชาชนได้มี ส่วนร่วมทางการเมืองทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นอันเป็นที่อยู่ของ ตนเอง เกิดความหวงแหนและความรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่น เป็นผลให้ประชาชนมี ความรู้สึกที่ดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การบริหารราชการไทยเป็นการ นำแนวความคิด เกี่ยวกับการปรับระบบราชการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและการเมือง โดยเฉพาะการนำ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มา แปลงให้เป็นรูปแบบกฎหมายเพื่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นการถาวร โดยกำหนดให้การ ปฏิบัติหน้าที่ ของส่วนราชการต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
5.3 ปัญหาของการบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง
การพัฒนาสังคม หมายถึง การปรับปรุง คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นเพื่อให้ปลอดจากความยากจน ความไม่รู้ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความ หิวโหย ตลอดจนมุ่งที่จะให้ประชาชนตระหนักถึงศักยภาพศักดิ์ศรีความใฝ่ฝัน และความพึงพอใจในชีวิต ของตนเองด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การพัฒนาสังคม ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ยกย่องตนเอง และเป็นอิสระจากการตกเป็นทาสและพันธนาการทั้งปวง
ประการแรก ได้แก่ปัญหาที่ว่าทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะทราบว่าประชากรเป้ าหมายมีความ ต้องการหรือมีปัญหาอะไร และรัฐบาลจะสามารถค้นปัญหาเหล่านั้นให้พบได้อย่างไร ความต้องการหรือ ปัญหาของประชากรเป้ าหมายนั้นมีอยู่มากมายและมัก จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามกาลเวลาและสถานที่ แน่นอนกาลที่รัฐบาลจะทราบว่าประชากรเป้ าหมายหรือมีปัญหาอะไรนั้นก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องสอบถาม หรือสังเกตจากถ้อยคำและพฤติกรรมของผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาคือ ตัวประชาชนเอง ส่วนวิธีการที่ ค้นให้ พบปัญหาที่แท้จริงนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะอาจจะเกิดปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ 3 กรณี กล่าวคือกรณีที่แรก มีปัญหาเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเป้ าหมายแต่รัฐบาลไม่ได้แก้ เพราะไม่ตระหนักว่าสิ่ง นั้นคือปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ชี้ให้เห็นว่าเรื่องสังคมเป็นเรื่องที่ใหญ่ มหาศาล และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ทำให้ยากแก่การเข้าใจ ความเจริญเติบโตและความเสมอภาคไม่ขัดแย้งกัน แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหา ก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เร่งรัดมากเกินไป การเติบโตด้วยตัวของมันเองไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม อัตรา การเติบโตต่างหากที่เป็นตัวก่อปัญหา “การเติบโตคือระบบรวยเร็วที่จะเป็นภัยต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม การเติบโตทุกวันนี้เติบโตด้วยการที่กลุ่มเล็กนิดเดียวแล้วโตขึ้น โดยอาศัยการเหยียบไหล่ของคนส่วนใหญ่ ขึ้นไปไม่ใช่ไปด้วยความสามรถโดยแท้จริงตรงนี้เองที่เป็นที่มาของปัญหาสังคม
ประการที่สอง สมมติว่ารัฐบาลทราบว่าประชากรเป้าหมายมีปัญหาอะไรอย่างถ่องแท้แล้ว ประเด็นต่อไปก็คือจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามแนวทางใดจึงเหมาะสมกับบริบทและเนื้อหาของชุมชนหรือ ประเทศเพราะแต่ละแนวทางดังกล่าวนั้นเสนอวิธีการที่แตกต่างกัน การเลือกประยุกต์แนวทางแต่ละ แนวทางจึงจำเป็นจะต้องมีการประเมินผลได้อย่างเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างแนวทางที่ใช้ทุนและ แนวทางที่ใช้แรงงานหรือระหว่างแนวทางง ที่มุ่งส่งเสริมหรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
ประการที่สาม หลังจากทราบปัญหา และเลือกแนวทางการพัฒนาสังคมได้แล้วประเด็นต่อไป คือการพัฒนาสังคมดังกล่าวนี้ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบของใครหน่วยงานใด การพัฒนาสังคมควรจะ เป็นหน้าที่หลัก ของรัฐบาล ขององค์การที่ไม่หวังผลก ไร หรือเป็นหน้าที่ของเอกชนหรือจะเป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการร่วมระหว่าบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ไปพร้อมๆกัน
ประการที่สี่ สมควรหรือไม่ประการใดที่จะต้องติดตามผลการพัฒนาสังคมเป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะใช้ข้อมูลในการวางนโยบาย และการนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติในอนาคต
ประการสุดท้าย ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด การพัฒนาสังคมจะกระทำกันขั้นใด ขั้นที่จะส่งเสริมให้ประชากรเป้ าหมายมีความยากจนน้อยลง มีงานท ามากขึ้นหรือได้รับผลพวงของการ พัฒนาอย่างเสมอภาค หรือจะให้ประชากรเป้ าหมายสามารถพึ่งตนเองได้และการพึ่งตนเองได้กล่าวนี้จะ ให้อยู่ในระดับ ระดับพอยังชีพ ระดับพึ่งตนเองได้หรือสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ แน่ละ ปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาเหล่านี้คงจะไม่ใช่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว และในท้ายที่สุดแล้วปัญหาเหล่านี้คงจะเป็นปัญหาทางการเมืองด้วย ทั้งนี้ก็เพราะการพัฒนาสังคมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพัฒนาด้านอื่นๆอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ ใน การพัฒนาเหล่านี้คงจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ ค่านิยมเช่นนี้ คงจะต้องกระทำลงไปภายในบริบทของการเมืองทั้งในประเทศที่นิยมชมชอบนายทุนและ ประชาธิปไตย และในประเทศที่เน้นส่วนรวมนิยมและสังคมนิยมหลักการนี้ได้ ปรากฏ ในมาตรา 3/1 วรรค 3 ว่าในการปฏิบัติหน้าที่ ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของ ผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ ซึ่งเป็นการ กำหนดเจตนารมณ์ของการมุ่งพัฒนาระบบราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์
5.4 ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะสำคัญ ของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย
1. ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2. ทำงานเชิงรุก แก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3. แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการท างานเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ เบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการ วางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5. ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว รองรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6. ทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้า ตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการ วิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7. เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนไปดำเนินการ แทนได้
8. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการ ท างานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9. บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้น ผลงานที่ดี
10. ให้ความสำคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสม ตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ลักษณะสำคัญในยุค 5 G
สังคม 5.0 ผู้คนจะต้องมีชีวิตที่ มั่นคงปลอดภัย สะดวกสบาย มีสุขภาพดี และมีวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการ ของตน ซึ่งประกอบด้วย การทำงาน การพักผ่อน การบริโภค การศึกษา การเดินทาง และการดูแลสุขภาพ ทั้งนี้ รัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน ในการพัฒนาประเทศ โดยภาคเอกชนจะปรับเพิ่มผลิตภาพด้วยการใช้ ดิจิทัลและต้องปฏิรูปรูปแบบในการท ธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจและสังคมใหม่จะอยู่บนพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรม ญี่ปุ่นจะขยายธุรกิจใหม่ ๆ ออกไปยังต่างประเทศ และจะมีบทบาทในการแก้ปัญหาในระดับโลก ญี่ปุ่นต้องใช้ความได้เปรียบของโลกกายภาพที่มีอยู่ในการสร้าง ความสามารถในการแข่งขันภายใต้ ระบบที่ประกอบด้วยโลกทั้งสองมิติ เพื่อผลิตทั้ง Hardware และ Software สร้างนวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป และนวัตกรรมแบบพลิกโฉม รวมถึงสร้างนวัตกรรมบนฐานเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ตอบสนองประเด็นทางสังคม ทั้งนี้การสร้างเศรษฐกิจ และสังคมใหม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน ก็จำเป็นต้องทำลาย กำแพง 5 ชั้น ได้แก่
(1) กำแพงระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชน
(2) กำแพงของระบบกฎหมาย
(3) กำแพงด้านเทคโนโลยี
(4) กำแพงด้านทรัพยากรมนุษย์
(5) กำแพงด้านการยอมรับของสังคม


5.4ลักษณะของระบบราชการยุค 4.0 กับลักษณะสำคัญในยุค 5 G มีอะไรบ้าง
ลักษณะส าคัญ 10 ประการของระบบราชการ 4.0 ประกอบด้วย
1. ทำงานอย่างเปิดเผย โปร่งใส เอื้อให้บุคคลภายนอก และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้
2. ทำงานเชิงรุก แก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของประชาชน และสร้างคุณค่า
3. แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เชื่อมโยงการท างานเข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
4. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการ มีฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนยุทธศาสตร์ และการตัดสินใจในการทำงาน
5. ปรับรูปแบบการทำงานให้คล่องตัว องรับการประสานงานแนวระนาบและในลักษณะเครือข่าย
6. ทางานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าตอบสนองต่อสถานการณ์ ทันเวลา มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งในระดับองค์การและในระดับปฏิบัติการ
7. เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนไปดำเนินการแทนได้
8. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดริเริ่ม และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการทำงานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
9. บุคลากรทุกระดับพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่องค์การที่มีความทันสมัยและมุ่งเน้นผลงานที่ดี
10. ให้ความส าคัญกับบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง พัฒนาอย่างเหมาะสม
ตามบทบาทหน้าที่ สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจ มีแผนเชิงรุกรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร
ประโยชน์ของ 5G
สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย
นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565

นโยบายรัฐบาลไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร