ความหลากหลายของระบบชีวภาพ การอนุรักษ์ และนโยบายการจัดการ Biodiversity conservation and policy of management

 ความหลากหลายของระบบชีวภาพ การอนุรักษ์ และนโยบายการจัดการ
 Biodiversity conservation and policy of management



เอกสารหมายเลข มคอ.3
 
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา        มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
1. รหัสและชื่อวิชา
       รหัสวิชา 
      ชื่อวิชา   ความหลากหลายของระบบชีวภาพ การอนุรักษ์ และนโยบายการจัดการ
                       Biodiversity conservation and policy of management
2. จำนวนหน่วยกิต
   3 หน่วยกิต
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
      กลุ่มวิชาการบริหารงานท้องถิ่น
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
   อ.ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
   ภาคเรียนที่ 2 ชั้นปีที่ 3
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน(Pre-requisite)(ถ้ามี)
   ไม่มี
7. รายวิชาที่เรียนพร้อมกัน(Co-requisite)(ถ้ามี)
   ไม่มี
8. สถานที่เรียน
   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาราชภัฏสวนดุสิต  
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดครั้งล่าสุด
       30 ก.ย.2556

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
                มีความรู้ความเข้าใจความหมาย แนวคิดแนวคิด การอนุรักษ์ ความหลากหลายของระบบชีวภาพ โดยมุ่งเน้น รูปแบบและวิธีการในการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพ  นโยบายการจัดการระดับชุมชน ท้องถิ่น ระดับประเทศและนานาชาติ   การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพของชุมชนและท้องถิ่นเพื่อใช้ประโยชน์ของระบบดังกล่าวในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
                เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศวิทยา และมีสามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพของชุมชนและท้องถิ่นเพื่อนำประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ ควรให้มีการฝึกปฏิบัติร่วมกับประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดประสบการณ์
หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาแนวคิด การอนุรักษ์ ความหลากหลายของระบบชีวภาพ โดยมุ่งเน้น รูปแบบและวิธีการในการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพ  นโยบายการจัดการระดับชุมชน ท้องถิ่น ระดับประเทศและนานาชาติ   การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพของชุมชนและท้องถิ่นเพื่อใช้ประโยชน์ของระบบดังกล่าวในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงาน/ภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
45 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา
ตามความต้องการของนักศึกษา
12 ชั่วโมง

6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์/
   
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
                -  อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
                -  อาจารย์จัดเวลา 1 ชั่วโมง /สัปดาห์สำหรับให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล 

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1     คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคลการ     
ไม่ลอกเลียนและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรงในการทำงาน การศึกษา มีความรับผิดชอบ
ต่อตนเองและสังคม โดยมีคุณธรรมและจริยธรรมดังนี้
                (1) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                (2) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
                (3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ  
                (4) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ         





      1.2 วิธีการสอน
                การสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบรรยายถึงเนื้อหาหลักของวิชา ให้ผู้เรียนทำการค้นคว้า หรือทำความเข้าใจประเด็นปลีกย่อยด้วยตนเอง เน้นการได้มาซึ่งทฤษฎีและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในเชิงวิเคราะห์ และชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับปรากฏการณ์ที่เป็นจริง กระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยการมอบหมายงานเพื่อให้ผู้เรียนได้มีการฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีการพัฒนาค้นหาความรู้แล้วมาเสนอเพื่อสร้างทักษะในการอภิปรายและนำเสนอ การเรียนการสอนจะแทรกเนื้อหา/กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้งนี้กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น  
1.3 วิธีการประเมินผล
                (1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
ที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
                (2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                (3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
                (4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2. ความรู้ 
                เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎี และแนวคิดด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจสังคม
   2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
                (1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
                (2) มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาความรู้ของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
                (3) สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหาและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
                (4) สามารถบูรณาการในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลาที่นักศึกษาทำการศึกษาอยู่ในหลักสูตรและสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
   2.2 วิธีการสอน
                (1) บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา Problem-based Learning และ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง                            
                (2) บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
                (3) จัดประชุม แบ่งงาน ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
                (4) จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ และนำเสนอ





   2.3 วิธีการประเมิน
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
            (3) ประเมินจากรายงาน และกิจกรรมการปฏิบัติงานที่นักศึกษาทำ
                (4) ประเมินจากการจัดกิจกรรมทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
3. ทักษะทางปัญญา
                พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ ประยุกต์แนวคิดกับปรากการณ์ด้านด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางได้เป็นอย่างดีและสามารถเสนอแนะวิธีการพัฒนา การเมืองไทยได้เป็นอย่างดี
   3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                (1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบและมีตรรกะ
                (2) มีความสามารถในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น
                (3) สามารถรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขได้
                (4) ความสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
   3.2 วิธีการสอน
                (1) การมอบหมายโจทย์และกรณีศึกษา
                (2) จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ และการอภิปราย นำเสนอ
                (3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง                                                     
   3.3 วิธีการประเมินผล
                ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้อง และควรนำมาเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
   4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                (1) มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างและหลากหลายได้อย่าง
เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                (2) มีความเข้าใจผู้อื่น และสังคมและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม
                (3) สามารถแก้ไขปัญหา หรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                (4) มีจิตสาธารณะ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   4.2 วิธีการสอน
                ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น ข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบดังนี้
                (1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
                (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่าง
   4.3 วิธีการประเมินผล
                ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ดำเนินกิจกรรม
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
   (1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   (2) สามารถสื่อสารแนะนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการพูดการเขียนสามารถเลือกใช้
สื่อและเครื่องมือในการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
                (3) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการสืบค้นได้อย่างดี
                (4) สามารถใช้ข้อมูลสถิติและตัวเลข ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม                             
   5.2 วิธีการสอน
                วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน การวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
   5.3 วิธีการประเมินผล
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ
คณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การ
อภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
















หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จน.ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน
1-2
1. บทนำ การนำเข้าสู่บทเรียน
 2. แนวคิดการอนุรักษ์ และความหมายของความหลากหลายของระบบชีวภาพ
     2.1 ความหมายที่นิยามตามความแตกต่างกันในแต่ละสังคมและยุคสมัย
   2.1 การนิยามและมาตรวัดและตัวชี้วัดความหลากหลายของระบบชีวภาพ            
6
ชั่วโมง
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบ การสอน  หนังสือ ตำรา
 เวบไซด์ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร
3-4
4. วิธีการอนุรักษ์ที่นิยมใช้ในระดับนานาประประเทศ
5. องค์กรและข้อตกลงระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพ
5. การวางแผนเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพ            
6
ชั่วโมง
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบ การสอน  หนังสือ ตำรา
 เวบไซด์ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร
5-7
 6. การอนุรักษ์ภายในพื้นที่ที่ได้รับการปกป้อง ประเภทและลักษณะ
7.  การอนุรักษ์ด้วยวิธีการเลือกสรรพื้นที่เพื่อการปกป้องและอนุรักษ์
8. การพิจารณาสายพันธุ์ เพื่อการอนุรักษ์
9. การพิจารณาจากกิจกรรมการท่องเที่ยว
10. การพิจารณาจากสภาพความเป็นแหล่งต้นน้ำ
11.การออกแบบพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์
    11.1 ขนาดที่รองรับ
    11.2 รูปแบบของพื้นที่
    11.3 การบูรณาการเพื่อการรองรับพื้นที่ที่มีผลผลิตทางชีวภาพ
     11.4 พื้นที่เขตกันชน
     11.5 ถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตตามเขตติดต่อหรือเขตชายแดน  
9
ชั่วโมง
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบ การสอน  หนังสือตำรา
 เวบไซด์ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จน.ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน
8-10
12. การอนรักษ์ความหลากหลายของระบบชีวภาพภายนอกพื้นที่การปกป้อง
     12.1การอนุรักษ์ในพื้นที่ธรรมชาติ
     12.2 การอนุรักษ์พื้นที่สวนป่า หรือ ป่าไม้
   12.3 การอนุรักษ์ในพื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศ
   12.4 การอนุรักษ์ในรูปแบบของรความหลากหลายทางชีวภาพในระบบเกษตร
  12.5 การจัดการป่าไม้ เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  12.6 การใช้ที่ดินแบบผสมผสาน
9
ชั่วโมง
บรรยาย  
ศึกษาจากเอกสารประกอบ การสอน  งานวิจัย  โครงการอนุรักษ์และป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม
 เวบไซด์ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร
11-12
13. ระบบของสิ่งแวดล้อมกับระบบเศรษฐกิจ
   13.1 ชุมชนกับสัตว์และพืช
   13.2 การเปลี่ยนแปลงเชิงนิเวศน์ภายในชุมชน
  13.3 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความหลากหลายของระบบชีวภาพในชุมชนและท้องถิ่น
  13.4  ปัญหาของระบบนิเวศน์และความหลากหลายของระบบชีวภาพ
6
ชั่วโมง


13-14
14. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป้องกัน
     14.1 การอนุรักษ์โดยการไม่เข้าไปแทรกแซง
     14.2การอนุรักษ์โดยการเข้าไปแทรกแซง
15. การท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์

6
ชั่วโมง
บรรยาย และการอภิปรายของนักศึกษา
ศึกษาจากเอกสารประกอบ การสอน  งานวิจัย     
อาจารย์ประจำหลักสูตร




สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จน.ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้สอน

16. เทคนิคในการควบคุมนักท่อง เที่ยว
17. ชุมนท้องถิ่นและพื้นที่อนุรักษ์
18. การบูรณาการการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์

โครงการอนุรักษ์และป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม
 เวบไซด์  เวบไซด์ 

15-16
  19. นโยบายภาครัฐกับการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติกับสิ่ง แวดล้อม
20. รัฐธรรมนูญของไทยกับสิทธิหน้าที่ในการมีส่วนร่วมส่งเสริม รักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
21. กรณีศึกษา การมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งของไทยและของต่างประเทศ
 12. สรุปประเด็นการเรียนการสอน  
สรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็น แนวทางในการสอบ วัดและประเมินผล
6
ชั่วโมง
บรรยาย  ซักถาม
ศึกษาจากเอกสารประกอบ การสอน  งานวิจัย  โครงการอนุรักษ์และป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม
 เวบไซด์ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร
17
สอบปลายภาค






2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้ (16 สัปดาห์)
กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมิน
1
1.1(1), 1.1(2),  2.1(1), 2.1(2), 2.1(4), 3.1(1), 3.1(3),3.1(4)
ทดสอบย่อยครั้งที่ 1
สอบกลางภาค
ทดสอบย่อยครั้งที่ 2
สอบปลายภาค
4
8
12
16
10%
25%
10%
25%
2
1.1(1), 1.1(2), 1.1(3),1.1(4),  2.1(1), 2.1(2),   
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอ
รายงาน
การทำงานกลุ่มและผลงาน
ตลอดภาค
การศึกษา
20%


กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมิน

2.1(3), 3.1(2), 3.1(4), 4.1(1), 4.1(2),4.1(3),
4.1(4),5.1(1)-5.1(4)





1.1(1)-1.1(4), 3.11(,)3.1(2)
การอ่านและสรุปบทความ
การส่งงานตามที่มอบหมาย




หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. เอกสารและตำรา
 เอกสารการสอน. ความหลากหลายของระบบชีวภาพ และนโยบายการจัดการ.
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
 ไม่มี
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
  The Precautionary Principle Project and TRAFFIC, SouthAmerica “The Precautionary Principlein                 Biodiversity Conservation and Natural Resource Management: Uncertainty,                 Risk,Biodiversity and           Livelihoods”, Quito, Ecuador 16th-18th March, 2005
KAMALJIT S.BAWA AND REINMAR SEIDLER ,1997. CONSERVATION BIOLOGY. VALUE 12, NO 1,
                FABUARY 1997.
www geeocities. com / scied 2002
www google co.th /
advanced. www
 http: www. geogle. Com

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
                การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
                - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
                - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
                - ข้อเสนอแนะผ่านเวบบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
                ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
                - การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
                - ผลการเรียนของนักศึกษา
                - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
                หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
                - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน      
                - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
        ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผ
การทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
        - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
        - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย
ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
                จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ
สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
        - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
        - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มา
จากงานวิจัยของอาจารย์ต่าง ๆ


Comments

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565