กฎหมายปกครอง

กฎหมายปกครอง



มคอ.3
 
 
รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา 
     รหัสวิชา      2552116
    ชื่อวิชา       กฎหมายปกครอง
2. จำนวนหน่วยกิต
    3(3-0)หน่วยกิต
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
    รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต 
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
    ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
    ภาคการศึกษาที่ 2/2555 / ชั้นปีที่ 3 ตอนเรียน A1 และ B1
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
     ไม่มี
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
    ไม่มี
8. สถานที่เรียน
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ห้อง                 อาคารเรียน
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
    10 มิถุนายน 2553





หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
            1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะของกฎหมายปกครอง การจัดองค์กรทางการปกครองและการใช้อำนาจทางการปกครอง การกระทำทางการปกครอง นิติกรรมทางการปกครองและสัญญาทางการปกครอง หลักความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางการปกครอง หลักการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางการปกครอง การควบคุมการใช้อำนาจทางการปกครอง
            1.2 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการตีความกฎหมายปกครอง ประเภทของกฎหมายปกครอง ลักษณะของกฎหมายปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539 พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาความคดีปกครอง พ.. 2542
            1.3 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักสำคัญของกฎหมายปกครองซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน
             1.4 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจนำหลักกฎหมายและความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและอนาคต
             
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
            เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต(ศศบ.สาขา รัฐประศาสรศาสตร์) และเพื่อให้สอดคล้องต่อการเรียนการสอนที่ใช้สื่อการสอนที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Web Based)

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ของการปกครอง หลักการปกครองของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐกับเอกชน และระหว่างเอกชนกับรัฐ การบริการสาธารณะ คำสั่งทางปกครอง นิติกรรมและสัญญาทางปกครอง การควบคุมอำนาจรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นิติวิธีทางปกครอง





2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
การฝึก

สอนเสริม
ปฏิบัติ/งาน
ภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
ไม่มีการฝึกปฏิบัติ
การศึกษาด้วยตนเอง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็น 
    รายบุคคล
     - วันจันทร์ เวลา 13.00-15.00 .
      - วัน พฤหัสบดี 13.00-15.00 .
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 
  (เฉพาะรายที่ต้องการ)

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
   1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- ตระหนักถึงการบริหารที่ยึดหลักธรรมาภิบาล
   1.2 วิธีการสอน
-    การยกตัวอย่างและกรณีศึกษา (Case Study)
-    การอภิปรายร่วมกัน (Group Discussion)
-    การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง (Self-study)
-    การเชิญวิทยากรภายนอก
   1.3 วิธีการประเมินผล
-    สังเกตการณ์ปฏิบัติตนของนักศึกษา
-    การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา
2. ความรู้
    2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ
-  มีความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539 พระราชบัญญัติความรับผิดทาง
   ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาความคดี
    ปกครอง พ.. 2542
-  สามารถจำแนกลักษณะของกฎหมายปกครอง ตีความเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายปกครอง
   ได้
-  มีความรู้และทักษะขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้ในหน่วยงาน
-  มีความรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
-  สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ
    2.2  วิธีการสอน
-    การบรรยายประกอบสื่อ
-    การยกตัวอย่างและกรณีศึกษา (Case Study)
-    การอภิปรายร่วมกัน (Group Discussion)
-    การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง (Self-study)
   2.3 วิธีการประเมินผล
-    การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอรายงาน
-    แบบฝึกหัดและทำกิจกรรมตามที่มอบหมาย
-    การสอบเพื่อประเมินความรู้
3. ทักษะทางปัญญา
   3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
-  รู้จักคิดวิเคราะห์ จำแนกอย่างเป็นระบบ และสามารถสรุปเนื้อหาสาระสำคัญการเรียนในแต่ละบทเรียน
-  สามารถค้นคว้า ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้เป็นอย่างดี
   3.2 วิธีการสอน
-    การบรรยายและการบรรยายประกอบสื่อผ่านระบบสารสนเทศ
-    การยกตัวอย่างและกรณีศึกษา (Case Study)
-    การอภิปรายร่วมกัน (Group Discussion)
-    การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง (Self-study)
   3.3 วิธีการประเมินผล
-    สังเกตการณ์ปฏิบัติตนของนักศึกษา
-    การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
    4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
       -  สามารถริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้
    4.2 วิธีการสอน
-    การบรรยายประกอบสื่อ
-    การยกตัวอย่างและกรณีศึกษา (Case Study)
-    การอภิปรายร่วมกัน (Group Discussion)
-    การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง (Self-study)
    4.3 วิธีการประเมินผล
-    สังเกตการณ์ปฏิบัติตนของนักศึกษา
-    การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
-  มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
-  สามารถสืบค้นและสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  
    5.2 วิธีการสอน
-    การบรรยายประกอบสื่อ
-    การยกตัวอย่างและกรณีศึกษา (Case Study)
-    การอภิปรายร่วมกัน (Group Discussion)
-    การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง (Self-Study)
    5.3 วิธีการประเมินผล
-    สังเกตการณ์ปฏิบัติตนของนักศึกษา
-    การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวน
ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน    
การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน
1
- แนะนำรายวิชา
-อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเรียนการสอนในรายวิชา
-อธิบายเกี่ยวกับวิธีการประเมินผล
3
แนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาและแนะนำเอกสารประกอบการสอนรายวิชากฎหมายปกครอง
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
2
- ลักษณะและประเภทของ
  กฎหมายปกครอง
- กฎหมายรัฐธรรมนูญกับ
  กฎหมายปกครอง
- ความสัมพันธ์และความ
  แตกต่าง
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
- ทดสอบย่อย
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
3
หลักการที่เป็นรากฐานของกฎหมายปกครอง
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย

4
การตีความและการวิเคราะห์กฎหมายปกครอง
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
- ทดสอบย่อย
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
5
- การจัดองค์กรภาครัฐ
- หลักการรวมอำนาจ แบ่งอำนาจและกระจายอำนาจ
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
6
 - บุคลากรภาครัฐบุคลากร
   ขององค์กรของรัฐฝ่าย
   บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่าย
   ตุลาการ
- บุคลากรของรัฐตามกฎ 
   หมายรัฐธรรมนูญ
6
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
7
การกระทำทางการปกครอง
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวน
ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน    
การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน



- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
- นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ การ
   กระทำทางการปกครอง

8
นิติกรรมทางการปกครอง
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
- นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ การ
   กระทำทางการปกครองและ
   ความสัมพันธ์ทางการปกครอง
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
9
สอบกลางภาค
3
นักศึกษาทำข้อสอบวัดผลกลางภาค
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
10
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย

.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
11
การควบคุมการใช้อำนาจขององค์กรรัฐฝ่ายบริหาร
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย

.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
12
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ..2542

3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
- ทดสอบย่อย
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
13-14
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ..2542(ต่อ)

9
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
- PowerPoint ประกอบคำบรรยาย
- ทดสอบย่อย
.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
15
สรุปทบทวนบทเรียน
3
นักศึกษาทำการศึกษาเอกสารประกอบการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวน
ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน    
การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน
16
สอบปลายภาค
1.30

.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์


2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
ผลการ
เรียนรู้
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่
ประเมิน
สัดส่วนของการ
ประเมินผล
1
ทดสอบความเข้าใจประเภทลักษณะและการตีความกฎหมายปกครอง
การทดสอบย่อย
2,4  
10 %
2
 ทดสอบความเข้าใจในพระราชบัญญัติการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีทางการปกครอง
การทดสอบย่อย
12,13,14
20%
3
บทที่ 1-บทที่ 8
สอบกลางภาค
9
30%
4
ประเมินผลความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ เนื้อหา บทที่ 1-บทที่ 11

สอบปลายภาค

16

30%
5
การมีส่วนร่วมทางความคิด
การนำเสนอรายงาน

-

7,8

10 %


หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. เอกสารและตำราหลัก
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีทางหารปกครอง พ.. 2542.
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539.
พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.. 2539.
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
    ไม่มี
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
  ณรงค์ฤทธิ์ เพชรฤทธิ์. การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง(ตอนที่1). วารสารศาลยุติธรรม
            ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 5,  มิ..- กรกฎาคม 2554.  หน้า 101-144.
  ณรงค์ฤทธิ์ เพชรฤทธิ์. การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง(ตอนที่2). วารสารศาลยุติธรรม
ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 6, สิงหาคม-กันยายน 2554.  หน้า 66-103.

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
   การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ มีดังนี้
            -  การทดสอบผู้เรียนด้วยการทำแบบทดสอบ
            - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
            - การนำเสนอรายงานและการคิดวิเคราะห์
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทบทวนผลการเรียนรู้จากในห้องเรียน
3. การปรับปรุงการสอน
- การวิจัยในชั้นเรียน
- จัดสัมมนาการเรียนการสอน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
- การวิเคราะห์ผลการเรียนด้วยหลักสถิติทางมาตรฐานการศึกษา
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องเนื้อหาสาระของวิชาการบริหารการพัฒนา








Comments

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565