Modul 1 การบริหารการพัฒนา (POS 3404) 7-8 สิงหาคม 2564

             


                1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา 

                2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา 
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module นี้  ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า   Post a Comment นักศึกษาคลิกที่นี่ จะปรากฏ กล่อง สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย  

                3.  นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาการบริหารการพัฒนา นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์  ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้  

        4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ 

              4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา

              4.2 เอกสารประกอบการศึกษา

                    ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่   https://supwat.wixsite.com/-education/การบร-หารการพ-ฒนา-modul-1


     5.  Assignment ตอบคำถามต่อไปน้ี

            5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา

            5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ

            5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่ 


  6. นักศึกษาต้องอภิปรายกลุ่ม ในฟอรั่มแสดงความเห็น

      6.1 การอภิปรายแสดงความคิดเห็นในทุก คือ Module 1ม Module 2, และ Module 3

      6.2 นอกจากการประเมินเนื้อหาแล้ว ระบบจะดำเนินการวิเคราะห์ความถี่ในการอภิปรายแสดงความเห็นของนักศึกษาด้วย   


อถิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

https://supwat.wixsite.com/-education/forum/general-discussions/kaarbrihaarkaarphathnaa

Comments

ข้อ5.1
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการ(รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารท่ีมีเป้าหมายแน่นอน ซึ่งงก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร โดยจะต้องมีการปรับปรุงกลไกในการ บริหารงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อให้เป็นระบบท่ีตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมต่อไป
สรุป
การบริหารการพัฒนาจะประสบความสาเร็จหรือไม่เพียงใดส่วนหน่ึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทางสังคมและองค์การเช่นทัศนคติ ค่านิยม แรงจูงใจในการทำงานเป็นต้น และข้อ จำกัดทางด้านเทคนิค ได้แก่ จำนวนคนที่มีความชำนาญในโครงการพัฒนา การจัดสรรงบประมาณแก่โครงการพัฒนา ยิ่งเราสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้มากเพียงใด ก็ยังมีโอกาสที่ประสบความสาเร็จในการบริหารการพัฒนาขึ้นเพียงน้ัน
ข้อ5.2
องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา(Administration of Development / A of D)
หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพฒันามิใช่สิ่งแปลกใหม่ท่ีแตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจจะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POSDCoRB (หลักการบริหาร)ดังน้ี

POSDCoRB
P = การวางแผน
O = การจัดองค์การ
S=การจัดคนให้เข้าทำงาน
D = การอำนวยการ
Co= การประสานงาน
R = การรายงานผล
B = การงบประมาณ

สรุป A of D มุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาใหเ้ป็นไปตามนโยบายแผนงานและโครงการที่กำหนดข้ึน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา รวมทัองเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารโครงการพัฒนาน้ัน มีกระบวนการสำคัญคือ มีการจัดทำและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินการตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ
ข้อ3
แนวคิดดั้งเดิม
เน้นเรื่องเศรษฐกิจการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบทและถือว่าเป็นการ พัฒนาท่ีให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1.การพัฒนาด้านการเกษตร
2.การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชมุชน
3.การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี
และความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1.การพัฒนาเร่ิมจากระดับล่างสู่ระดับบน(Bottom-up)
2.การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน(Basicneeds)ซึ่งเกี่ยวข้องกังการพฒันา
คณุภาพชีวิต(qualityoflife)
3.การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร(Chinese Model)
4.การพัฒนาชนบทที่มุ้งแก่ปัญหาความยากจน(Poverty)รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)
6.การพัฒนาตามแนวคิดเปาโลแฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน
ในชนบทเกิดจิตสานึกโดยใช้กระบวนการสนทนาใช้สัญลักษณ์และใช้การศึกษาอย่างไม่
เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก้ไขด้วยตนเอง
7.การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง(Self-help)ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา
ชมุชนของตนด้วยตนเองข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็นเท่านั้น
8.การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน(Integration)เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก
หนว่ยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

แนวคิดใหม่
แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่6-7ซึ่งให้
ความสาคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainabledevelopment)”การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพฒันาให้คนมีความสุบและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวมปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่“สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”

สรุป
แนวคิดดั้งเดิม ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจของประชาชน แตกจาก จากแนวคิดปฎิรูป ที่เน้นสังคม และจิตใจของประชาชนมากกว่าวัตถุ ส่วนแนวคิดใหม่ จะคล้ายๆกับแนวคิดปฎิรูป แต่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นมาด้วย
5. Assignment ตอบคำถามต่อไปน้ี

5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
5.1 ความหมายของการการพัฒนาและการบริหารพัฒนานี้ซึ้งให้ความรู้แนวทางในการไปปฏิบัติ นำความรู้ใช้ในการว่างแผนงานต่างๆ เช่นในภาครัฐและเอกชน หรือการทำงานในสถานที่ต่างๆทั้งในเมืองและชนบท จึงต้องมีการวางแผนการพัฒนาและการบริหารพัฒนาถึงจะประสบผลสำเร็จ
พัฒนาการองค์ความรู้เก่ียวกับการบริหารการพัฒนา
องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นปรากฏว่าออกมาในรูป ของบทความหนังสือและผลงานวิจัย เช่น
1.บทความของไวเนอร์ เน้นในเรื่องการปฏิรูปการบริหารให้ได้มาซึ่งการประหยัดในการ บริหาร แตขาดในเรื่องนโยบายศาสตร์
2.องค์ความรู้เกี่ยวกบัการบริหารการพัฒนาของเออร์วิงสเวิดโลว์กล่าวถึงการบริหารการ พัฒนามีความแตกต่างจากการบริหารโดยทั่วไปเพราะการบริหารการพัฒนาเป็นการบริหารของ ประเทศที่กำลังพัฒนา

3.องค์ความรู้เกี่ยวกบัการบริหารการพัฒนาของเฟรดดบับลิวริกส์สรุปได้ว่าข้าราชการ จะต้องสามารถที่จะแสดงบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในกระบวนการของการพัฒนาและหัวใจของการ บริหารการพฒันาคือความสามารถในการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ
4.องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒานาโดยพาแนนดิเกอร์และเซอร์ซาร์การ์จากการ สำรวจดูองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ได้จากต่างประเทศพอจะประเมินสถานภาพ ปัจจุบันของวิชานี้ได้คือ
4.1ค่านิยามของการบริหารการพัฒานา การพัฒาการบริหารและการบริหารเพื่อการ พัฒนาเหมือนจะได้รับการยอมรับมากขึ้น
4.2จากการพิจารณาดผูลงานข้างต้นพบว่าองค์ประกอบของการบริหารการพฒันามิใช่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เน้นการรพัฒนาการบริหาร การพัฒานาการบริหารการพฒันาทางการเมืองการพัฒนาทางสังคมการพัฒนาชมุชนเมืองและเรื่อง อื่นๆด้วย
การพัฒนาการบริหาร
การบริหารการพฒันาเน้นการพฒั นาการบริหารมีองค์ประกอบอยู่2องค์ประกอบคือ 1.DofAคือการพฒันาการบริหารเป็นการจดัเตรียมเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิบัติรูปการโครงสร้างกระบวนการและพฤตกิรรมการบริหารให้มีเพิ่มสมรรถนะการบริหารให้เข้มแข็ง
เพื่อที่จะรองรับนโยบายกบั 2.AofDคือการบริหารเพื่อการพฒันาเป็นการเพิ่มสมรรถนะการบริหารให้เข้มแข็งขนึ้
ความสามารถท่ีมีอยู่ในระบบการบริหารมาลงมือปฏิบตัติามนโยบายเพื่อรองรับภารกิจของการ บริหารการพัฒนาที่วางแผนไว้
การพฒั นาการบริหาร D of A
การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบการบริหารงานภายในคือโครงสร้าง กระบวนการและพฤตกิรรมการบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของ สงัคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
เนือ้หาของการพัฒนาการบริหาร ครอบคลมุถึง โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมการบริหารที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนายังครอบคลุมถึงสภาพแวดล้อมก็คือบรรยากาศการ บริหารและคณุภาพชีวิตในการทางาน
แนวทางการพิจารณา
แยกพิจารณาได้เป็น 2 ด้าน คือ
1.ด้านมหาภาค เน้นเป็นการพัฒนาการบริหารด้านฝ่ายบริหาร กับฝ่ายการเมือง

2.ด้านจุลภาคแนวทางการพฒันาการบริหารจะครอบคลมุถึงโครงสร้างกระบวนการและ พฤตกิรรมการบริหาร
ขนั้ตอนขอลการพฒันาทางด้านการบริหาร สงัคมเปลี่ยนแปลงตามลกัษณะทางด้าน บริหารนี้มีอยู่ด้วยกัน3ขั้นตอนใหญ่ๆคือสังคมการเกษตรกรรมไปสู่สังคมที่กกำลังเปลี่ยนแปลง ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ต่างๆ
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
ตอบ
ในส่วนนี้มุ่งศึกษาแนวคิดและความหมายของการบริหารการพัฒนา ทั้งของต่างประเทศ และของไทยรวมกันไป โดยมีทั้งนักการศึกษาชาวไทยและต่างประเทศ ดังนี้
จอร์จ เอฟ. แก้นท์ [1](George F. Gant) นักวิชาการชาวอเมริกันอธิบายแนวคิดและความหมายของการบริหารการพัฒนา (Development administration) เป็นคนแรก ๆ โดยมีประสบการณ์มาจากการปฏิบัติงานที่ Tennessee Valley Authority (TVA.) ว่า การบริหารการพัฒนาเป็นคำที่ให้ความสำคัญกับหน่วยงานระบบการจัดการ และกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา พร้อมกันนี้ การบริหารการพัฒนายังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลที่กำหนดให้เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ของการพัฒนาเพื่อทำการเชื่อมโยงและทำให้วัตถุประสงค์ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของชาติประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้การบริหารการพัฒนายังช่วยปรับให้ระบบราชการและบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตอบสนองต่อการพัฒนาอีกด้วย ดังนั้น การบริหารการพัฒนาจึงหมายถึง การบริหารนโยบาย แผนงาน และโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบริการและคุณภาพบริการ
1. การพัฒนา
การพัฒนา (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงตามแผนที่มีการกาหนดทิศทาง (Planed or Directed Change) และรายละเอียดไว้ล่วงหน้าว่าจะพัฒนาอะไร พัฒนาอย่างไร เมื่อใด ใครจะเป็นผู้พัฒนา ทั้งนี้ เพื่อความเป็นดีอยู่ดีของคน ซึ่งหมายความรวมถึงการได้รับความเสมอภาค และความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ด้วย ดังนั้นคนจึงเป็นเป้าหมายสุดยอดของการพัฒนา เพราะเป็นทั้งผู้ถูกพัฒนาและรับผลของการพัฒนา
2. การบริการ
การบริการ (Services) หมายถึง พฤติกรรม กิจกรรม หรือกระบวนการดาเนินของบุคคล หรือองค์การเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นและผลจากการกระทานั้นก่อให้เกิด ความพึงพอใจการบริการที่ดีจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้อื่นได้ตรงตามที่บุคคลนั้น คาดหวังไว้พร้อมทั้งทาให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกที่ดีและในขณะเดียวกันก็รู้สึกประทับใจในสิ่งที่ รับไปพร้อม ๆ กันด้วย
การให้บริการมีลักษณะ 5 ประการ คือ ความเสมอภาค ความตรงเวลา ความพอเพียง ความต่อเนื่องและความก้าวหน้า
บริการประชาชน (Public Service) หมายถึง กิจการทุกประเภทที่รัฐจัดทาขึ้นเพื่อสนอง ความต้องการส่วนรวมของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประโยชน์มากที่สุด โดยไม่คานึงถึงตัวบุคคล คือ เป็นลักษณะการให้บริการที่ปราศจากอารมณ์และไม่เป็นการเลือก ปฏิบัติทุกคนจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน การบริการประชาชนแบ่ง ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กิจการที่ตอบสนองความต้องการ 1) ในด้านความปลอดภัย และ 2) ใน ด้านความสะดวกในการดาเนินชีวิต
3. การพัฒนาบริการ
การพัฒนาบริการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงตามแผนหรือที่มีการกาหนดทิศทาง ซึ่งพฤติกรรม หรือกิจกรรม หรือการกระทาในทางที่มีคุณภาพที่บุคคลหนึ่งทาให้หรือส่งมอบต่อ อีกบุคคลหนึ่ง
4. คุณภาพ
คุณภาพ (Quality) หมายถึง ระดับความเป็นเลิศ (Degree of Excellence) ในคุณลักษณะ โดยรวมของผลิตผล หรือบริการที่ปราศจากข้อบกพร่องและตอบสนองความต้องการเป็นที่พึงพอใจ ของลูกค้าหรือผู้รับบริการและเกิดประโยชน์ตามความต้องการของลูกค้า โดยปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางเทคนิคหรือมาตรฐานทางวิชาชีพ ซึ่งต้องมีมิติต่าง ๆ ในด้านความรู้ความสามารถของผู้ให้บริการความเหมาะสมของการให้บริการ มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย มีการเข้าถึงบริการ หรือมีบริการเมื่อจาเป็น รวมถึงการมีความเท่าเทียมและความต่อเนื่องในการรับบริการ หรือกล่าวอีก นัยหนึ่งคุณภาพคือความพอใจของลูกค้า
5. คุณภาพบริการ
คุณภาพบริการ (Service Quality) หมายถึง ระดับความสามารถของผลิตผลหรือบริการใน การบาบัดความต้องการของลูกค้าที่มีคุณลักษณะได้มาตรฐานปราศจากข้อบกพร่อง (Zero Defect) และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าถึงขั้นเป็นที่พึงพอใจ (Satisfaction) องค์ประกอบหลักที่ กาหนดความพึงพอใจของลูกค้าผู้รับบริการต่อการให้บริการ ซึ่งเป็นหัวใจของคุณภาพบริการ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ รวม 4 เป็นปัจจัย กล่าวคือ ส่วนแรก เป็นส่วนของผู้ให้บริการซึ่งสะท้อน ถึงลักษณะการให้บริการมี 3 ปัจจัย คือ 1) ด้านระบบการให้บริการ (Service System) 2) ด้าน กระบวนการให้บริการ (Workflow Process) 3) ด้านพฤติกรรมของผู้ให้บริการ (Providers Behavior) และส่วนที่สองเป็นส่วนของผู้รับบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ คือ ปัจจัยที่ 4) ด้านภูมิหลังของ ผู้รับบริการ (Recipients Background)
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46
5.1 การบริหารการพัฒนา หมายถึงการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้างกกระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
การบริหารการพัฒนา หมายถึงความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบายแผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ ล่วงหน้า ซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารที่มีเป้าหมายแน่นอน ซึ่งก่อให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร โดยจะต้องมีการปรับปรุงกลไกในการบริหารงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อให้เป็นระบบที่ ตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมต่อไป
การบริหารการพัฒนาจะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่2ประการ
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงเทคโนโลยี พฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนำเสนอสมรรถนะหรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบ บริหารมาลงมือปฏิบัติตาม นโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือบริหารรัฐ กิจเปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCC หรือ POSDCORB
POCCC P= การวางแผน O= การจัดองค์การ O= การจัดองค์การ C= การสั่งการ/การบังคับบัญชา C= การประสานงาน C= การควบคุม
POSDCORB P= การวางแผน O= การจัดองค์การ S= การจัดคนให้เข้าทำงาน D= การอำนวยการ CO= การประสานงาน R= การรายงานผล B= การงบประมาณ
ความหมายและลักษณะของการบริหารการพัฒนา ความหมายของการบริหารการพัฒนา
การ บริหารการพัฒนา (Development Administration)โดยพิจารณาว่าการบริหารงานพอจำแนกได้ 2 ประเภทตามความมุ่งหมายและวิธีการ คือ
-การบริหารงานภายใน (Internal Administration) เป็นการมุ่งประสิทธิภาพภายในองค์การซึ่งอาศัยเทคนิคการจัดการ เช่น การบริหารงานบุคคล การวางแผนการบริหารงานคลัง เป็นต้น
-การบริหารภายนอก (External Administration) เป็นการบริหารงานที่ครอบคลุมปัจจัยภายนอก และมิใช่มุ่งประสิทธิภาพในองค์การอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ต้องรับผิดชอบในการติดต่อสัมพันธ์กับ ปัจจัยภายนอกองค์การมาส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้การปฏิบัติงานองค์การสัมฤิทธิผล ซึ่งแกนท์ได้ให้ ความสำคัญกับการบริหารงานภายนอกมาก
จากความหมายการบริหารการพัฒนาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการบริหารการพัฒนามี ลักษณะร่วมกันอยู่อย่างน้อย 4 ประการด้วยกัน คือ
1.มีความหมายที่บ่งชี้ถึงภูมิศาสตร์ (geographical) หรือ แม้ว่าการบริหารการ พัฒนามีบ่อเกิดในประเทศที่เจริญแล้ว คือ สหรัฐอเมริกา แต่ได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนาคือ เอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา
2.เป็นผลพวงหรือผลลัพธ์ที่ได้รับจากสิ่งอื่นๆ (Derivative) หรือ เป็นผลพวงหรือ เกิดจากองค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ นั่นก็คือ การบริหารการพัฒนาเป็นตัวแปรตามหรือผล ส่วนการพัฒนาการบริหาร การพัฒนาทาง การเมือง เศรษฐกิจและสังคมเป็นตัวแปรต้นหรือสาเหตุ
3.เป็นกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสถานการณ์หนึ่งไปสู่เป้าหมายหนึ่ง (teleological) คือ จากสภาพด้อยพัฒนาไปสู่สภาพกำลังพัฒนา และจากสภาพกำลังพัฒนาไปสู่ สภาพการพัฒนาแล้ว และเป้าหมายสุดท้ายก็คือ การพัฒนาประเทศเพื่อลดความทุกข์ยากของคนทั้งที่อยู่ในองค์การและนอกองค์การรัฐบาล โดยการแบ่งปันหรือเฉลี่ยความสุขและความทุกข์กันทั้งด้าน การบริหาร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อให้ประชาชนในชาติมีความมั่งคั่ง ความเสมอภาค ความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4.มีความหมายที่บ่งชี้ว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องปฏิบัติภารกิจที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันกับภารกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว (functional) เช่น จำเป็นต้องปฏิบัติทางการ บริหารเพื่อให้ระบบมีการแบ่งงานกันทำ ใช้ระบบคุณธรรม มีเหตุผล ต้องปฏิบัติทางด้านเศรษฐกิจให้ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้น ต้องปฏิบัติทางด้านการเมืองเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน การตัดสินใจและกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ และต้องปฏิบัติทางสังคมให้ประชาชนมีสถานภาพ ที่เท่าเทียมกันและพึ่งตนเองได้
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46
5.2 องค์ประกอบของการจัดสวัสดิการสังคม
1.นโยบายด้านความยุติธรรมในสังคม (social justice) คือ ขอบเขตทั้งด้าน ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง (มีสิทธิ-ไม่มีสิทธิ-มีส่วนร่วม-ไม่มีส่วนร่วม) และความยุติธรรม จากกระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงความเสมอภาคของกลุ่มคนและชนชั้นต่างๆ ในสังคม
2.นโยบายด้านศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในสังคม (social dignity) เช่น นโยบาย เรื่องการขจัดการแบ่งแยกแตกต่าง (discrimination) ระหว่างเพศ ระหว่างเชื้อชาติระหว่างศาสนา ระหว่างอาชีพ และระหว่างชนชั้น การแบ่งแยกแตกต่างทำให้คนบางกลุ่มถูกเบียดขับจากสังคม (social exclusion) ถูกรังเกียจเหยียดหยาม ถูกข่มเหง และได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียม
3.นโยบายด้านความมั่นคงทางสังคม (social security) ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องสวัสดิการ โดยตรง เพราะสวัสดิการเป็นหลักประกันที่สำคัญยิ่งของความมั่นคงในชีวิต ในประเทศอุตสาหกรรม ก้าวหน้าหรือทุนนิยมก้าวหน้า โครงการความมั่นคงทางสังคม (social security scheme) ที่สำคัญที่สุด คือ โครงการประกันสังคม (social insuranse scheme) ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง โดยรัฐบาลเป็นกลไกเชื่อมโยงประสานและดําเนินงานให้มีขึ้น แต่โครงการสวัสดิการที่อยู่ ในความรับผิดชอบของรัฐบาลมากที่สุดคือการบริการ (social service) ได้แก่การศึกษา บริการสาธารณะ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมไปถึงบริการสาธารณะสุขอื่นๆ ส่วนสุดท้ายที่รัฐบาลต้อง รับผิดชอบโดยตรงด้านงบประมาณ แต่บริการคนเฉพาะกลุ่ม คือ การช่วยเหลือทางสังคม (social assistance) การช่วยเหลือคนชรา คนพิการ เด็กและเยาวชน 9
4.นโยบายสิทธิขั้นพื้นฐานของสังคม (social basic right) ในประเทศที่มีระบบ เศรษฐกิจและการเมืองก้าวหน้ามั่นคง สิทธิเสรีภาพและระบบประชาธิปไตยเข้มแข็ง ถือว่าสิทธิพื้นฐาน ทางสังคมเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องมีไม่จําแนกกลุ่มคนและชนชั้น และสิทธิพื้นฐานนี้จะเป็น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมทางสังคม ความมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และเข้าถึงความมั่นคงทางสังคมและสวัสดิการต่างๆได้ในประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็งสิทธิพื้นฐาน ทางสังคมจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดและชัดเจน มีตั้งแต่สิทธิที่จะได้รับหลักประกันของชีวิต หน้าที่การทำงานตั้งแต่เกิดจนตาย
5.นโยบายด้านการสร้างทุนทางสังคม (social capital building) ทุนทางสังคม จะเป็นตัวเชื่อมโยงประชาชนให้มีความกลมเกลียวและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน องค์ประกอบการเชื่อมโยง มีปัจจัยหลัก คือ ประเพณีวัฒนธรรม ความไว้วางใจต่อกัน (Trust) และเครือข่ายเชื่อมโยง (network) ที่สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องการทบทวนพิจารณาปัญหาจุดอ่อนของทุนนิยม และมองเป็นคุณค่าของทุน ทางสังคมที่เคยเข้มแข็ง จึงได้มีความพยายามที่จะส่งเสริมแนะนําให้มีการรื้อฟื้นพัฒนา เพื่อนํามา แก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ ลดความรุนแรงของการแก่งแย่งแข่งขันในระบบทุนนิยมให้สังคมร่วมมือ กันสร้างสรรค์แบ่งปันและเกื้อกูลต่อกันให้มากขึ้น โดยผ่านสายใยของครอบครัว ชุมชน ด้วยกลไกของ ประเพณีวัฒนธรรม ความไว้วางใจต่อกัน และการประสานสัมพันธ์ของเครือข่ายภาคประชาชน
6.นโยบายการมีส่วนร่วมจากคนในสังคมหรือการเป็นหุ้นส่วนทางสังคม (social partnership) การทำให้ทุกคนเป็นหุ้นส่วนทางสังคม เพื่อทำให้ทุกคนรับผิดชอบร่วมกัน มองเห็น ส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคม จะได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาให้ดีขึ้น ในประเทศเยอรมัน เนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศส โครงการรูปธรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาสังคมนั้น จะเป็น การร่วมมือร่วมใจกันระหว่างรัฐบาลชุมชน หน่วยงานพัฒนาเอกชน หรือมูลนิธิต่างๆผู้ปฏิบัติงานจะเป็น คนในชุมชนและนักพัฒนาเอกชน ส่วนงบประมาณสนับสนุนโดยรัฐและการบริจาคของชุมชนและธุรกิจ หลักการการเป็นหุ้นส่วนทางสังคม เป็นหลักการของประเทศทุนนิยมประชาธิปไตย ที่ถือว่าประชาชนทุกคนคือผู้เสียภาษีเพื่อให้รัฐบาลนําภาษีนั้นมาบริหารจัดการรัฐ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามเจตจํานงของประชาชน ประชาชนจึงเป็นเสมือนหุ้นส่วนของรัฐ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้จัดการ รัฐบาล จึงไม่ใช่รัฐผู้ที่มาเป็นรัฐบาลจึงเป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลือกมาให้เป็นผู้จัดการ โดยมีประชาชนทุกคนเป็นผู้ถือหุ้นแห่งรัฐ ดังนั้น การทำให้ประชาชนเป็นหุ้นส่วน รับรู้เข้าใจ และมี ส่วนร่วมในการกำหนดส่วนได้ส่วนเสียในสังคม จึงเป็นนโยบายแห่งรัฐที่รัฐบาลประชาธิปไตยจะต้อง ปฏิบัติให้เป็นจริง
This comment has been removed by the author.
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46
5.3 ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
ทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิมนี้ได้เริ่มต้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงที่โลกเริ่มปรับตัวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีดั้งเดิมในยุคเริ่มต้นนี้จะมีลักษณะมุ่งเน้นไปยังผลผลิตที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effective and Efficient Productivity) เป็นหลัก มากกว่าการใส่ใจบุคคล ระบบการบริหารงานจึงเน้นการมีแบบแผน กฎเกณฑ์ โครงสร้างชัดเจนแน่นอน มีรูปแบบตายตัว ลักษณะเป็นองค์กรที่มีรูปแบบ (Formal Organization) โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตสูงที่สุด ยุคนี้มนุษย์ที่ใช้แรงงานจะถูกมองเป็นเสมือนเครื่องจักรกล ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพมนุษย์ให้ทำงานได้ดีขึ้นเท่าไรก็ยิ่งสร้างผลผลิตได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยทฤษฎีและแนวความคิดในกลุ่มนี้อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
ลักษณะที่ 1 แนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์นั้นหมายถึงการจัดการการทำงานแบบมีระบบ โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือ “กฎระเบียบ” นำมาใช้กับการปฏิบัติงาน มีการศึกษาเหตุและผล เก็บข้อมูล ตลอดจนวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานั้นๆ เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มเปลี่ยนจากแรงงานคนมาเป็นแรงงานจากเครื่องจักร ทฤษฎีในยุคนี้จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมาย ผลสำเร็จ ที่มาจากการจัดการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลักษณะที่ 2 แนวความคิดการจัดการแบบหลักการบริหาร (Administrative Management) แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคคลาสสิกเช่นกัน แต่จะมีการจัดการที่เป็นระบบระเบียบขึ้น แนวความคิดนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์นั้นเป็นลักษณะสากลที่มีอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่นักทฤษฎีในกลุ่มการจัดการแบบการบริหารนี้จะมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการโดยเฉพาะ ไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง โดยนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะมีสมมติฐานว่าความสำเร็จของงานนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารเสียมากกว่า


ทฤษฎีและแนวความคิดแบบใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization)
ทฤษฎีและแนวความคิดนี้พัฒนามาจากทฤษฎีและแนวความคิดแบบดั้งเดิม (Classical Theory) โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยา ทฤษฎีนี้เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเริ่มมีการศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เพิ่มขึ้น มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของบุคคลากร ตลอดจนการบริหารงานบุคคลในเชิงมนุษย์สัมพันธ์ นอกจากนี้ยังเริ่มเกิดการศึกษากลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Group) ซึ่งแฝงเข้ามาในองค์กรที่มีรูปแบบมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนให้ความสนใจในด้านความต้องการของมนุษย์ที่สามารถส่งผลต่อกระบวนการทำงานและพัฒนาตนเอง สำหรับแนวคิดที่โดดเด่นในยุคนี้ก็ได้แก่
แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation) แนวคิดนี้ค่อนข้างจะขัดแย้งกับแนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นไปที่ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นหลัก และมองข้ามความสำคัญของบุคคลไป มุ่งให้มนุษย์ทำงานให้บรรลุผลสำเร็จตามกระบวนการควบคุมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลผลิตเป็นสำคัญ แต่นักทฤษฎีในแนวมนุษย์สัมพันธ์นี้มีแนวความคิดว่าการที่จะทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยแรงงานคนเป็นสำคัญ แล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการหลากมิติและไร้เหตุผลด้วย ไม่ได้ทำงานเพื่อหวังตอบแทนเรื่องค่าจ้างเพียงอย่างเดียว อีกทั้งมนุษย์ทุกคนยังมีลักษณะที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการใส่ใจเรื่องความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อผลผลิตโดยตรงด้วยเช่นกัน และส่งเสริมประสิทธิภาพขององค์กรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่
ตอบ ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)
จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจําแนกแนวความคิดและทฤษฎีองคค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory) สภาพแวดล้อมของสังคมยุคนั้นเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมี
โครงสร้างที่แน่นอน มีการกําหนดกฎเกณฑ์และเวลาอย่างมีระเบียบแบบแผน มุ่งให้ผลผลิตมี ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตสูง และรวดเร็ว ของมนุษย์เสมือน เครื่องจักรกล (Mechanistic) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทฤษฎีองค์การสมัยมนุษย์ในเชิงจิตวิทยา สังคม วิทยา และมนุษย์วิทยา ทุกอย่างจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ มีรูปแบบก็เพื่อความสะดวกในการบริหาร และปกครอง ดังได้กล่าวแล้วองค์การสมัยดั้งเดิมมุ่งแน่น ผลผลิตสูงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้นั่นเอง
หลักการของทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม มุ่งแน่นองค์การที่มีรูปแบบ (Formal Organization) ซึ่งตั้งอยูบนพื้นฐานหลัก 4 ประการที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนองค์การที่มีรูปแบบ ได้แก่การแบ่งระดับชั้นสายการบังคับบัญชา การแบ่งงาน ช่วงการควบคุม และเอกภาพในการ บริหารงาน
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม โดยพัฒนามาพร้อม กับวิชาการด้านสังคมวิทยา จิตวิทยาในระยะนี้การศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เริ่มได้นํามาพิจารณา โดยมองเห็นความสําคัญและคุณค่าของมนุษย์ ให้ความสําคัญในด้านความรู้สึกของบุคคล ยอมรับถึงอิทธิพลทางสังคมที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน อาทิเช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งมีความเชื่อว่าขบวนการมนุษย สัมพันธ์จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัยดั้งเดิมลง
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวการพัฒนาทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ยังคงใช้ฐานแนวความคิด และหลักการของทฤษฎี องค์การสมัยดั้งเดิมและสมัยใหม่มาปรับปรุงพัฒนา โดยพยายามรวมหลักการทางวิทยาการหลาย สาขาเข้ามาผสมผสาน ที่เรียกกันว่า สหวิทยาการ ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณีเป็น
ทฤษฎีที่พัฒนามาจากความคิดอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นองค์การที่มี โครงสร้างและระบบที่สอด คล้องกับสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงขององค์การ ตั้งอยู่ บนพื้นฐานการศึกษาสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมนุษย์และรูปแบบที่สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ การ สนับสนุน และความต้องการของสมาชิกในองค์การนั้นด้วย
สรุป
ในปัจจุบันการพัฒนาองค?การของไทยได้รับเอาแนวคิดการบริหารจากต่างประเทศมา ใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะดํารงสถานภาพทางการแข่งขัน หรือกล่าวอีกนัยคือเพื่อความอยู่รอด ในกระแสการแขนงขันอันเชี่ยวกรากในระบบทุนนิยม(Capitalist) ดังนั้นสถานภาพที่องค์การต้องการ คือการสร้างความยั่งยืนให่กับองค์การนั่น เอง ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าเครื่องมือทางด้านการบริหาร ประการหนึ่งที่จะ สามารถมีส่วนช่วยให้องค์การได้รับความสําเร็จอันยั่งยืนคือ องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่งได้รับการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐ ได้กําหนดให้มีการตราไว้ในกฎหมายคือพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หมวด 3 มาตรา11 “ ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป์นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถ ประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และ

ปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน” จากภาวะปัจจัยต่างๆจึงทําให้เกิดความปรารถนาที่จะสร้างและพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การ สมัยใหม่ บุคลากรสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถได้อย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างผล งานได้
ตามความปรารถนาอีกทั้งเป็นแหล่งสร้างความคิดทางปัญญาโดยการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้น องค์การสมัยใหม่ควรจะมีลักษณะสําคัญดังนี้ ต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
(Learning Organization)
การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องอาศัยความเข้าใจและความมุ่งมั่นในการทํา ระบบย่อย ทั้ง 5 ระบบขององค์การแห่งการเรียนรู้อันได้แก่
การเรียนรู้(Learning)
องค์การ(Organization)
คน(People)
ความรู้( Knowledge)
และเทคโนโลยี (Technology)
ข้อ 5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา

ตอบ.
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร

ความหมายของการบริหารการพัฒนา
อาษา เมฆสวรรค์ ได้กล่าวถึงความหมายของการบริหารการพัฒนาว่าแบ่งเป็น 2 ทรรศนะ ตามทรรศนะ
-ประการแรกนั้น ถือว่า การบริหารการพัฒนา หรือ Development Administration คือ การบริหารงานหรือการบริหารราชการในประเทศด้อยพัฒนาที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนา ดังที่เขียนในภาษาอังกฤษ ว่า administration in poor developed countries which are committed to development
-ประการที่ 2 การบริหารการพัฒนา ได้แก่ การบริหารเพื่อการพัฒนาหรือการบริหารตามโครงการพัฒนาของประเทศ หรือ administration indevelopment or administra tion of a program of national development ตามความเข้าใจอย่างง่ายๆ ทั่วๆไป
ดังนั้น
ไม่ว่าจะกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นไปตามนโยบายและแผน ย่อมถือว่าอยู่ในขอบเขตของการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น โดยมีขอบเขตทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร ฉะนั้น การบริหารการพัฒนา จึงย่อมหมายถึง การบริหารของงานพัฒนา หรือการนำเอาโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไปดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งการพัฒนาการบริหาร หรือการทำให้การบริหารมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น

ข้อ 5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ

ตอบ.

การเปลี่ยนจุดเน้นของการพัฒนาจากการมุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมาเป็นการพัฒนาสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทำให้ปัจจัยสังคมมีบทบาทกว้างขวางยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีการพัฒนาสังคมนั้นอาจจะมีผู้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันออกไป ดังที่ปรากฏตามตัวอย่างด้านล่างนี้
1. การพัฒนาสังคม หมายถึง การพัฒนาองค์การทางสังคมและบุคคล เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับโอกาสและความสามารถในการใช้โอกาสนั้นๆ
2. การพัฒนาสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้ รวมถึงความเป็นเมืองการปกครอง การสูญสลายของครอบครัวขยายด้วย
3. การพัฒนาสังคม หมายถึง การพัฒนาคุณภาพชีวิตในครอบครัว ความสำนึกในประโยชน์ส่วนรวม การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการพัฒนาชุมชน และความนิยมในประชาธิปไตย
4. การพัฒนาสังคม หมายถึง การปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นซึ่งวัดได้จากระดับของสวัสดิการที่ประชาชนได้รับ (การลดอัตราความเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพทางกาย ใจ ละสังคม) ระดับความเป็นอยู่และระดับความพึ่งพอใจที่ประชาชนมีต่อสินค้าและบริการที่ได้รับจากรัฐ (ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวตั้งแต่มีการกระจายความมั่นคั่งและรายได้ตลอดจนความยากจนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม อาจถือได้ว่ามีการพัฒนาสังคมสูงกว่าประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงแต่มีการกระจายความมั่ง
คั่งและรายได้ตลอดจนความยากจนที่ไม่ดี) และการยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
5. การพัฒนาสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม
6. การพัฒนาสังคม หมายถึง การมุ่งการพัฒนาคุณภาพคนเพื่อให้สามารถพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า มีความสงบสุข เกิดความเป็นธรรม สรรสร้างละสนับสนุนการพัฒนาประเทศส่วนรวมพร้อมๆกับธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรม และค่านิยมอันดีและยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนในชนบทและในเมืองให้ได้ตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน
7. การพัฒนาสังคม หมายถึง การทำให้สังคมซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ คนและสภาพแวดล้อม มีการแปลงที่ดีขึ้น มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ข้อ 5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่

ตอบ.

ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมได้เริ่มคิดค้น และก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 19จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปลายศตวรรษที่ 19 นี้ แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งสภาพแวดล้อมของสังคมยุคนั้นเป็นสังคมอุตสาหกรรมทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมจึงมีโครงสร้างที่แน่นอนมีการกำหนดกฎเกณฑ์และเวลาอย่างมีระเบียบแบบแผนมุ่งให้ผลผลิตมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effective and Effcient Productity) จากลักษณะดังกล่าว ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมจึงมีลักษณะที่มุ่งเน้นเฉพาะความเป็นทางการความมีรูปแบบหรือรูปนัยขององค์การเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตสูง และรวดเร็วของมนุษย์เสมือนเครื่องจักรกล (Mechanistic) กล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีองค์การสมัย มนุษย์ในเชิงจิตวิทยาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาทุกอย่างจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ตามกรอบและ โครงสร้างที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนปราศจากความยืดหยุ่น(Flexibility) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมนี้พยายามที่จะสร้างองค์การขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ เบื้องต้นทางด้านเศรษฐกิจขององค์การและสังคม นอกจากนั้นการที่มุ่งให้โครงสร้างองค์การทาง สังมีกรอบ มีรูปแบบก็เพื่อความสะดวกในการบริหาร และปกครอง ดังได้กล่าวแล้วองค์การสมัยดั้งเดิม มุ่งเน้นผลผลิตสูงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง

ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of Organization) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้านสังคมวิทยา จิตวิทยา การพัฒนาที่สำคัญเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1910 และ 1920 ในระยะนี้การศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เริ่มได้นำมาพิจารณา โดยมองเห็นความสำคัญและคุณค่าของมนุษย์ (Organistic) โดยเฉพาะการทดลองที่ Hawthorne ที่ดำเนินการตั้งแต่ ค.ศ. 1924 – 1932 ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญในการศึกษาทางพฤติกรรม
ศาสตร์ และในช่วงนี้เองแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Movement)ได้รับพิจารณาในองค์การและขบวนการมนุษยสัมพันธ์นี้ได้มีการเคลื่อนไหวพัฒนาในประระเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ในระหว่าง ค.ศ.1940–1950 ความสนใจในการศึกษากลุ่มนอกแบบหรือกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ (InformalGroup) ที่แฝงเข้ามาในองค์การที่มีรูปแบบมีมากขึ้น ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่มุ่งให้ความสนใจด้านความต้องการ(needs)ของสมาชิกในองค์การเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่าทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ ให้ความสำคัญในด้านความรู้สึกของบุคคล ยอมรับถึงอิทธิพลทางสังคมที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน อาทิเช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งมีความเชื่อว่าขบวนการมนุษยสัมพันธ์ จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัยดั้งเดิมลงบุคคลที่มีชื่อเสียงในทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ คือ HugoMunsterberg เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and IndustrialEfficiency, Elton Mayo, Roethlisberger และ Dickson ได้ทำการศึกษาที่ฮอธอร์น (Howthorne Study) เป็นผู้บุกเบิกขบวนการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Movement) นอกจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากนักทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์อีก เช่น MeGregor และ Maslow เป็นต้น

ทฤษฎีแนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1.การพัฒนาเร่ิมจากระดับล่างสู่ระดับบน(Bottom-up)
2.การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน(Basicneeds)ซึ่งเกี่ยวข้องกังการพฒันา
คณุภาพชีวิต(qualityoflife)
3.การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร(Chinese Model)
4.การพัฒนาชนบทที่มุ้งแก่ปัญหาความยากจน(Poverty)รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)
6.การพัฒนาตามแนวคิดเปาโลแฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน
ในชนบทเกิดจิตสานึกโดยใช้กระบวนการสนทนาใช้สัญลักษณ์และใช้การศึกษาอย่างไม่
เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก้ไขด้วยตนเอง
7.การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง(Self-help)ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา
ชมุชนของตนด้วยตนเองข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็นเท่านั้น
8.การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน(Integration)เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก
หนว่ยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.1ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
ความหมายของการบริหารการพัฒนา การบริหารการพัฒนา (Development Administration) หมายถึง สาขาวิชา และยังหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการ การบริหารการพัฒนา ยังหมายถึง การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) และการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D) การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร การบริหารการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเน้น ความเจริญเติบโตทางการบริหาร
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
อนันต์ เกตุวงศ์ กล่าวว่า การบริหารการพัฒนามีขอบเขตครอบคลุมไปถึงการเมืองด้วยและบางคนมีแนวคิดกว้างมากถึงขนาดที่กล่าวว่าการบริหารการพัฒนาหมายถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ไม่ว่าจะกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นไปตามนโยบายและแผน ย่อมถือว่าอยู่ในขอบเขตของการบริหาร การพัฒนาทั้งสิ้นโดยมีขอบเขตทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร ฉะนั้น การบริหาร การพัฒนาจึงย่อมหมายถึง การบริหารของงานพัฒนา หรือการนำเอาโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ไปดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งการพัฒนาการบริหาร หรือการทำให้การบริหารมีขีดความสามารถเพิ่ม มากขึ้น
เอ็ดเวิร์ด ดับบลิว. ไวด์เนอร์(Edward W. Weidner) นักวิชาการชาวอเมริกนั กล่าวว่า การบริหารการพัฒนา หมายถึง การปรับมรรควิธี (means) ของการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายต่างๆ ของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งก่อนอื่นต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไรก่อน แล้วจึงนำการบริหารมาช่วยปฏิบัติการให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายนั้น
ติน ปรัชพฤทธิ์กล่าวว่าการบริหารการพัฒนา (Development Administration, Administration of
Development, หรือ A of D) หมายถึงการนำเอาความสามารถที่มีอยู่ในการพัฒนาการบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผน แผนงาน หรือโครงการพัฒนาประเทศจริง ๆ เพื่อให้บังเกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าและความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าจะมุ่งความเจริญงอกงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศอันจะนำไปสู่การลดความทุกข์ยากของคนทั้งที่อยู่ในองค์การ (ข้าราชการ) และที่อยู่ภายนอกองค์การ (ประชาชน)
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.2องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนา มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ประการคือการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง
การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ / เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D)
หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCC หรือ POSDCoRB (หลักการบริหาร) ดังนี้
POCCC การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ การประสานงาน การควบคุม
POSDCoRB การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การอำนวยการ การประสานงาน รายงานผล งบประมาณ
จุดเน้นของการบริหารการพัฒนาจุดเน้นของการบริหารพัฒนาในฐานะที่เป็นการพัฒนาการบริหาร(Development of Administration : D of A) การบริหารกับการบริหารการพัฒนาเป็นการนำโครงการพัฒนาไปปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลง สังคม หากการบริหารเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโครงการพัฒนาต่างๆก็ย่อมไม่บรรลุ เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในทางกลับกัน หากไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม ก็ย่อมเป็น อุปสรรคต่อการบริหารงาน หรือเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้การบริหารงานขาดประสิทธิภาพได้เช่นกันการบริหารการพัฒนายุคก่อนปี ค.ศ.1970 นั้นเป็นการพิจารณาว่าการบริหารการพัฒนานั้นคือ การพัฒนาการบริหาร ซึ่งเป็นการนำ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์การที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง หน้าที่ ระบบ และสภาพแวดล้อม
ดังนั้น การบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นการพัฒนาการบริหารมีจุดเน้นที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1.โครงสร้างหน้าที่เป็นแนวการศึกษาแบบเก่า ที่มุ่งศึกษาโครงสร้างหน้าที่ระเบียบกฎเกณฑ์ ตลอดจนกระบวนการในการบริหารงานขององค์การที่รับผิดชอบในการพัฒนาประเทศ เน้นระบบบริหารที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย หรือเน้นความสำคัญของการปฏิบัติ (action-oriented) และความสำคัญของการบรรลุเป้าหมาย (goal-oriented) การศึกษาในแนวนี้จึงเป็นการเน้นสมรรถนะในการบริหารพยายามที่จะขจัดปัญหาและอุปสรรคในการบริหารเพื่อที่จะแก้ไขปรับปรุงกลไกในการบริหารให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล และตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ซึ่งจำ เป็นต้องอาศัยแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผน การบริหารงานบุคคล การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงสร้างขององค์การ ตลอดจนกระบวนการตัดสินใจ
2.ระบบแนวการศึกษาระบบจะมองการพัฒนาในลักษณะที่เป็นระบบใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบย่อยๆ อีกมากมาย ดังนั้นเป้าหมายของการพัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างระบบย่อยต่างๆ ซึ่งประกอบกันเป็นระบบใหญ่แต่มีข้อจำกัด ได้แก่ ข้อจำกัดทางด้านสังคม เป็นเรื่องของ สภาพแวดล้อมทางสังคม และองค์การ เช่น ทศันคติ ค่านิยม แรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น และข้อจำกดทางด้านเทคนิคได้แก่จำนวนคนที่มีความชำนาญในโครงการพัฒนาการจัด สรรงบประมาณแก่โครงการพัฒนา เป็นต้น
3.สภาพแวดล้อม แนวการศึกษาสภาพแวดล้อม หรือนิเวศวิทยาเป็นการศึกษาถึงการบริหารงานที่เปลี่ยนแปลง ไปได้ตามสภาพแวดล้อม โดยเน้นสภาพแวดลอ้มทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นประการสำคัญ ซึ่งสภาพแวดล้อม และระบบบริหารจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่
-เออร์วิง สเวิดโลว์ อธิบายว่าการบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารในประเทศที่ยากจนหรือประเทศด้วยพัฒนาทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะการบริหารราชการในประเทศด้วยพัฒนาย่อมมีความแตกต่างกันกับการบริการราชการในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอาจพิจารณาและสังเกตเห็นได้จากลักษณะของความแตกต่างกันหลายแง่หลายมุม อาทิ พิจารณาจากลักษณะและแบบแผนของการบริหาร บทบาทของรัฐบาลและบทบาทของข้าราชการ เป็นต้น
-เมิร์ล เฟนสอดให้แนวคิดหรือความหมายของการบริหารการพัฒนาว่า โดยปรกติ การบริหารการพัฒนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างกลไกเพื่อการวางแผนให้เกิดความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจ การระดมและจัดสรรจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เกิดการแผ่ขยายรายได้ของชาติ จะเห็นได้ว่า การบริหารการพัฒนาตามความคิดของเฟนสอด นั้น เกี่ยวข้องอย่างมากกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
-พอล มิวโดส์ อธิบายว่าการบริหารการพัฒนาถือได้ว่าเป็นการจัดการทางภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่กำหนดไว้ นักบริหารการพัฒนาจึงเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำการเปลี่ยนแปลง
-แฮร์รี่ เจ. ฟรายด์แมน อธิบายว่าการบริการการพัฒนา ประกอบด้วยปัจจัย 2 อย่าง คือ (1) การปฏิบัติงานตามแผนงานต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้เพื่อก่อให้เกิดความทันสมัย (2) การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายในระบบบริหารเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามแผนงานต่าง ๆ ดังกล่าว
-จอห์น ดี.มอนโกเมอรี่ กล่าวว่าการบริหารการพัฒนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติตามแผนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของรัฐ โดยปรกติ จะไม่เกี่ยวข้องกับความพยายามเพิ่มความสามารถทางการเมือง เห็นได้ว่า มอนโกเมอรี่ มีความคิดว่า การบริหารการพัฒนาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก
-เอ็ดเวิร์ด ดับบลิว.ไวด์เนอร์ กล่าว่าว่การบริหารการพัฒนา หมายถึง การปรับมรรควิธีของการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งก่อนอื่น ต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไรก่อน แล้วจึงนำการบริหารมาช่วยปฏิบัติการให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายนั้น
-เฟรด ดับบลิว ริกส์ มีความเห็นว่าการบริหารการพัฒนามีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ การบริหารการพัฒนาหมายถึง (1) การบริหารแผนงานพัฒนา ทั้งหลายด้วยวิธีการต่าง ๆ ขององค์การขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยของของรัฐบาล เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนที่กำหนดขึ้นซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนา การเสริมสร้างสมรรถนะของการบริหาร
-ชู เช็ง สูอธิบายว่า การบริหารการพัฒนามิใช่การบริหารชนิดใหม่ ซึ่งแยกออกมาจากการบริหารรัฐกิจ ในความหมายอย่างกว้าง แต่การบริหารการพัฒนาเป็นการบริหารที่ยึดจุดมุ่งหมาย เป็นหลักและต้องการที่จะเน้นหนักบทบาทเฉพาะอย่างของการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทที่เกี่ยวกับการบริหารเพื่อการพัฒนา
-ฮัน บีน ลี กล่าวว่าการบริหารการพัฒนาเป็น การเพิ่มสมรรถนะของระบบบริหารที่จะรับมืออย่างไม่หยุดยั้งกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
-โจเซ่ เวลโลโซ อบูวา “มีข้อสันนิษฐานว่า การบริหารการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารแผนงานพัฒนาต่าง ๆ ที่ประสบผลสำเร็จได้นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการบริหาร ดังนั้น การบริหารการพัฒนา จึงเป็นการเพิ่มความสามารถของระบบการเมืองหรือของรัฐของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อดำเนินการตามที่ได้ร่วมกันตัดสินใจไว้แล้ว นอกจากนั้น ยังได้ให้คำจำกัดความของการบริหารการพัฒนาว่า หมายถึง การบริหารแผนงานพัฒนาทั้งหลายในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานต่าง ๆ ขององค์การและการบริหารระบบราชการซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชาติ
-อนันต์ เกตุวงศ์ มีความเห็นว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่า การบริหารการพัฒนามีขอบเขต ครอบคลุมไปถึงการเมืองด้วย และบางคนมีแนวคิดกว้างมากถึงขนาดที่กล่าวว่าการบริหารการพัฒนาหมายถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ไม่ว่าจะกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นไปตามนโยบายและแผน ย่อมถือว่าอยู่ในขอบเขตของการบริหารการพัฒนาทั้งสิ้น โดยมีขอบเขตทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร ฉะนั้น การบริหารการพัฒนา จึงย่อมหมายถึง การบริหารของงานพัฒนา หรือการนำเอาโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไปดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งการพัฒนาการบริหาร หรือการทำให้การบริหารมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น และอาจเขียนเป็นรูปสมการดังนี้
(การบริหารการพัฒนา) = (การบริหารเพื่อการพัฒนา) + (การพัฒนาการบริหาร)
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
ตอบ
5.1.การบริหารการพัฒนา (Development Administration)หมายถึง การพัฒนา การบริหาร(Development of Administration/D of A)และการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development /A of D)
การพัฒนาการบริหารหมายถึงการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูปสภาพแวดล้อมนิเวศวิทยาโครงสร้างกระบวนการรวมถึงเทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผนแผนงานโครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
ตอบ
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา การบริหารการพัฒนา มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ การพัฒนาการบริหารและการ บริหารเพื่อการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration/D of A) หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อมนิเวศวิทยารวมถึงโครงสร้างกระบวนการเทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development /A of D)หมายถึง การนำเอาสมรรถนะหรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผน แผนงานโครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจหรือบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบการบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCC หรือ POSDCoRB (หลักการบริหาร) ดังนี้
POCCC
P = การวางแผน
O = การจัดองค์การ
C = การสั่งการ/การบังคับบัญชา
C = การประสานงาน
C = การควบคุม POSDCoRB
P = การวางแผน
O = การจัดองค์การ
S = การจัดคนให้เข้าทำงาน
D = การอำนวยการ
Co= การประสานงาน
R = การรายงานผล
B = การงบประมาณ
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
ตอบ
5.3 การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการ(รวมถึงเทคโนโลยี)และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผนแผนงานโครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
แนวทางการพัฒนาการบริหารแยกพิจารณาได้เป็นสองด้านคือ ด้านมหภาค และจุลภาค
ด้านมหภาค สำหรับแนวทางการพัฒนาการบริหารด้านมหภาคนั้นยังมีการถกเถียงกันว่า การพัฒนาการบริหารนั้นควรจะมีความสมดลหรือไม่สมดุลกับระบบอื่นๆเช่นระบบการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด ฝ่ายหนึ่งเช่น เฟรด ริกกซ์ (Fred Riggs) ราฟไบรบันตี (Ralph Braibanti) และโจเซฟ ลาพาลอมบารา (Joseph Lapalombara) เห็นว่าในการพัฒนาการบริหารน้น ไม่ควรจะให้ระบบ ราชการมีอำนาจมากเกินไป เพราะจะทำให้ระบบและฝ่ายอื่น เช่นพรรคการเมือง ระบบเลือกตั้ง ฝ่ายนิติบัญญัต และกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ถูกครอบงำโดยระบบราชการและอ่อนแรงลง ฉะนั้น จึงควรจะพัฒนาพรรค การเมือง ระบบเลือกตั้งฝ่ายนอิติบัญญัติ และกลุ่มผลประโยชน์ใหม่พลังงานทัดเทียมกับระบบราชการเพื่อคอยถ่วงอำนาจและตรวจสอบซึ่งกันและกัน ฝ่ายนี้ได้ชื่อว่าฝ่ายทฤษฏีหน่วยการปกครองการบริหารทสมดุล(balanced polity)ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายทฤษฏีหน่วยการปกครองการบริหารที่ไม่สมดัล (unbalanced polity) ประกอบด้วย เฟอร์เรล เฮดด (Fereel Heady) และจอห์น เคนเนธ กลเบรธ (John Kenneth Galbraith) เป็นแกนกลาง เชื่อว่า การพัฒนาการบริหารไม่จำเป็นจะต้องมีลักษณะสมดุลกับระบบหรือฝ่ายอื่นๆ ถ้าระบบการบริหารของประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศใดมีความพร้อมที่จะรับความช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาก็ควรจะให้ความช่วยเหลือทันทีเพื่อที่จะกระตุ้นใหระบบราชการในประเทศนั้นๆ มีสมรรถนะในการบริหาร ในอันที่จะส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ประชาชนได้ อย่างไรก็ดีในระยะหลังนี้ทแทนที่นักวิชาการจะมาถกเถียงกันก็ว่าควรจะพัฒนาเพื่อเพิ่มอำนาจให้ระบบการเมืองหรือ ระบบการบริหารมากน้อยเพียงใดก็ดี เหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะพบกันครึ่งทางโดยมีการประนีประนอมว่าระบบการเมืองและการบริการควรจะมีเอกภาพ (Untity) คือ เดินเคียงบ่าเคียงไหลกันโดยไมถือว่างานใดเป็น งานของระบบการเมืองและงานใดเป็นงานของระบบบริหารเหมือนแต่ก่อน (politics administration dichotomy) ตรงกันข้ามระบบราชการควรจะมีประสิทธิภาพทางด้านเทคนิคและมีความรับผิดชอบ
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
1. ความหมายของการบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนา (Development Administration) หมายถึง สาขาวิชา และยังหมายถึง
กิจกรรมหรือกระบวนการ การบริหารการพัฒนา ยังหมายถึง การพัฒนาการบริหาร (Development of
Administration / D of A) และการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D)
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสภาพแวดล้อม
นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
การบริหารการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน
โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเน้น
ความเจริญเติบโตทางการบริหาร
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
1.องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนาจะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ การพัฒนาการบริหารและการ
บริหารเพื่อการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี ้จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง
การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึง โครงสร้าง กระบวนการ /
เทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D)
หมายถึง การน าเอาสมรรถนะ หรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน
แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือบริหารรัฐกิจ
เปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCC หรือ POSDCoRB
(หลักการบริหาร)
POCCC POSDCoRB
P = การวางแผน P= การวางแผน
O = การจัดองค์การ O= การจัดองค์การ
C = การสั่งการ/การบังคับบัญชา S= การจัดคนให้เข้าท างาน
C = การประสานงาน D= การอ านวยการ
C = การควบคุม Co= การประสานงาน
R= การรายงานผล
B= การงบประมาณ
ซึ่งทั ้ง 2 ตัวนี้เป็นพื้นฐานของหลักการบริหารที่เหมือนกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่มี
บางอย่างแตกต่างออกไป คือจุดมุ่งหมาย และลักษณะการบริหารการพัฒนา หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับ
การบริหารการพัฒนา ต้องมี NEROP ประกอบด้วย คือ
NE = ความจำเป็นที่ประเทศด้วยพัฒนาจะต้องผ่านวิกฤตการณ์อะไรบ้างจึง
จะบรรลุขั้นตอนของการพัฒนา
R = คือ ทรัพยากรของแต่ละประเทศที่มีอยู่ เช่น เงิน
O = คืออุปสรรค หรือสิ่งที่เกิดขึ้นขวางของการพัฒนา อุปสรรคต่างๆ
P = ศักยภาพ ความสามารถ หรือศักยภาพมีมากน้อยเกี่ยวกับการพัฒนา
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่
1.1 การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of
administration) หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหา
ต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้า
ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี ้ การพัฒนาการบริหาร ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการ
เล่นพรรคเล่นพวกเป็ นระบบคุณธรรมในการสรรหา การปูนบ าเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทาง
วินัย
1.2 ความเป็ นสมัยใหม่ทางการบริหาร (administrative modernization) หมายถึง การ
สร้ างเสริมสรมรรถนะทางการบริหารในอันที่จะน าเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางการบริหารความ
รับผิดชอบ และหลักเหตุผลมาผสมผสานกับเจตจ านงของประชาชน (popular will) ในอันที่จะด าเนินการ
ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม
เอกสารประกอบการเรียน วิชา การบริหารการพัฒนา
อาจารย์กรรณิการ์ กาญจนวัฏศรี รับประศาสนศาสตร์
37
1.3 การปฏิรูปการบริหาร (administrative reform) หมายถึงการประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ หรือ
การผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื ้อต่อเป้ าหมายของการพัฒนาประเทศ นั่นก็คือ
การปฏิรูปการบริหารหมายถึงการโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงาน
ทางการบริหารในอันที่จะลดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง
1.4 การจัดองค์การเสียใหม่ (reorganization) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย
ภารกิจ กรรมวิธี หน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในองค์การอย่างจงใจเพื่อก่อให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงในบทบาท ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ
1.5 การพัฒนาองค์การ (organization development) หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และ
แก้ไขปัญหาองค์การโดยมุ่งที่จะให้องค์การมีความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความรู้
จากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกหรือภายในหน่วยงานเอง ส าหรับขั ้นตอนของการพัฒนาองค์การนั ้น รวมถึง
ขั ้นค้นหาสาเหตุของปัญหา การวางแผนการด าเนินงานซึ่งหมายถึงขั ้นเตรียมและจัดท ากลยุทธ์เพื่อการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพฤติกรรมการปฏิบัติการให้เป็ นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ และการประเมินผล
1.6 การปรับปรุงฝ่ ายบริหาร (administrative improvement) หมายถึงการปรับปรุง
ผู้บริหารในส่วนที่กับความมีเหตุผล ความสามารถในการเป็ นผู้น า ความคิดเห็นทีเป็ นระบบ การ
เสริมสร้ างทักษะในการคิด ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการกระตุ้นความคิด
สร้างสรรค์
1.7 การปรับปรุงองค์การ (organization improvement) หมายถึง กระบวนการที่จะจัดโค
รางสร้างและภารกิจของระบบราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างประหยัด มีประสิทธิผล
และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิม
1.8 การพัฒนาตนเองเสียใหม่ (Revitalization) หรือ “การท าให้องค์การมีความ
กระปรี ้กระเปร่าอีกครั้ง” หมายถึง กระบวนการของการริเริ่มและการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่
จำเป็นในอันที่จะท าให้องค์การยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่ๆ สามารถ
แก้ปัญหา เรียนรู้จากประสบการณ์และเคลื่อนไปสู่ภาวะขององค์การมากขึ ้น อย่างไรก็ดี เป็ นที่น่าสังเกต
ว่าการพัฒนาตนเองเสียใหม่นี้เป็นการพัฒนาหรือปฏิรูปตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือ หรือ
แทรกแซงจากภายนอก ดังนั ้นการพัฒนาตนเองเสียใหม่จึงเป็ นที่รู้จักกันในนามของ self reform หรือ
self renewal
สรุป การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปล่ียนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูป
โครงสร้าง กระบวนการ (รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่
จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมส าหรับการบริหารการพัฒนา
5.1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและ การบริหารเพื่อการพัฒนา
ตอบ การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือ ปฏิรูปสภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
โดยจุดเน้นของการบริหารเป็นการนำโครงการพัฒนาไปปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม หากการบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โครงการพัฒนาต่างๆก็จะบุรรลุเป้าหมายตามที่ไดกำหนดไว้ โดยการพัฒนาการบริหารมีจุดเน้นสำคัญๆ 3 ประการได้แก่
1.โครงสร้างหน้าที่ เป็นแนวทางการศึกษาแบบเก่า ที่มุ่งศึกษาโครงสร้างหน้าที่ ระเบียบกฎเกณฑ์ ตลอดจนกระบวนการในการบริหารงานขององค์กรที่รับผิดชอบในการพัฒนาประเทศ เน้นระบบบริหารที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย เน้นการปฏิบัติ (Action-Oriented) และความสำคัญของการบรรลุเป้าหมาย (Goal-Oriemted) การศึกษาซึ่งเป็นการเน้นสมรรถนะในการบริหารพยายามที่จะกำจัดปัญหาและอุปสรรคในการบริหารและปรับปรุงคนไข้ให้มีประสิทธิภาพ
2.ระบบ เป้าหมายของการพัฒนาขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างระบบย่อยต่างๆซึ่งประกอบกันเป็นระบบใหญ่แต่มีข้อจำกัด ได้แก่ ข้อจำกัดทางด้านสังคม สภาพแวดล้อมของสังคม และองค์กร เช่น ทัศนคติ ค่านิยม
3.สภาพแวดล้อม เป็นการบริหารงานที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบบริหารต้องพึ่งพาอาศัยกัน
การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development A of D) หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่้งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร โดยมีจุดเน้นของการบริหารเพื่อการพัฒนาได้ 3 ประการดังนี้
1.การให้ความสำคัญต่อโครงการ ในแต่ละสังคมจะมีค่านิยมขอบข่ายและแนวทางในการฒนาที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานย่อยเล็กๆ ที่เรียกว่าโครงการซึ่งอิสระในการตัดสินใจและมีระยะเวลาของการปฎิบัติ
2.การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเฉพาะด้าน เป็นอีกหนึ่งแนวคิดโดย George Grantt ได้ให้คำนิยามว่า การบริหารการพัฒนาแท้จริงก็คือ การพัฒนาเฉพาะด้าน เช่น ด้านเกษตรกรรม แรงงาน การศึก เป็นต้น
3.การให้ความสำคัญต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการมาแล้วก็นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในเรื่องของการจัดการในการทำงานของกลไกลที่สำคัญสามารถบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้ โดยการพยายามศึกษาตัวแปร หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้น รัฐสวัสดิการ
ตอบ ความสาใารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผนงานโครงการกรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่วางแผนไว้ การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ ที่แตกต่างจากการบริหารณัฐกิจหรือบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบการบริหารการพัฒนาจะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ
POCCC.............................................POSDCoRB
P = การวางแผน....................................P = การวางแผน
O = การจัดองค์การ..................................O = การจัดองค์การ
C = การสั่งการ/การบังคับบัญชา.........................S = การจัดคนให้เข้าทำงาน
C = การประสานงาน.................................D = การอำนวยการ
C = การควบคุม....................................Co = การประสานงาน
.................................................R = การรายงานผล
.................................................B = การงบประมาณ
5.3 นักศึกษา เปรีบยเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฏิรูปและแนวคิดใหม่
ตอบ -แนวคิดแบบดั้งเดิม เป็นแนวคิดแบบดั้งเดิมได้เริ่มต้นในช่วง ศตวรรษที่ 19 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงที่โลกกำลังปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่กำลังก้าวสู่สังคมอุตสาหกรรม โดยมีลักษณะมุ่งเน้นไปยังผลผลิตที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มากว่าการใส่ใจบุคคล ระบบบริหารงานจึงเน้นการมีแบบแผน กฎเกณฑ์ โครงสร้าง ที่มีรูปแบบที่ตายตัว และทฤษฎีนี้สามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 แนวคิดแบบการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดการทำงานแบบมีระบบ โดดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือ กฎระเบียบ นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการศึกษาหตุผลและเก็บข้อมูล ไปจนการวิเคราะห์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดของการทำงาน โดยการปฏิวัตินั้นเป็นการเริ่มจากการที่เปลี่ยนแรงงานคนเป็นเครื่องจักร และสิ่งที่คาดหวังคือ การมีประสิทธิภาพของงานที่สูงขึ้นและรวดเร็วในการผลิตมากขึ้น
ลักษณะที่ 2 แนวคิดการจัดการแบบหลีกการบริหาร โดยแนวคิดนี้มีการจัดการที่เป็นระเบียบมากขึค้นจากลักษณะที่ที่หนึ่ง นักทฤษฎีมีความตั้งใจมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการโดยเฉพาะไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง
-แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1.การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน
2.การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นใหญ่ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร
4.การพัฒนาชนบทที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาความจน
5.การพัฒนาการจ้างงาน
6.การพัฒนา การกระตุ้นให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก โดยใช้กระบวนการการสนทนา ใช้สัญลักษณ์และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ถึงปัญหาด้วยตนเอง และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
7.การพัฒนาที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็น
8.การพัฒนา โดยวิธีการผสมผสาน เป็นการรวบรวมความรู้ความสามารถจากหลายๆหน่วยงาน ทั้ง ภาครัฐ และ เอกชน
-แนวคิดแบบใหม่ โดยแนวคิดแบบใหม่นี้ได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎีแบบดั้งเดิม ซึ่งเริ่มมีการศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เพิ่มขึ้น สำหรับแนวคิดที่โดดเด่นในยุคนี้คือ
แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ แนวคิดนี้ค่อนข้างจะขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ท่เน้นไปที่ประสิทธิภาพของการทำงาน และคำนึงถึงผลผลิตเป็นหลัก
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
ตอบข้อ 5.1 การบริหารการพัฒนา หมายถึง การดำเนินการตามนโยบาย แผ่น และโครงการต่าง ๆ ที่ กำหนดขึ้นโดยรัฐบาล
ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และกรบริหร โดยที่การบริหารเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จตาม
เป้าหมาย
การบริหารการพัฒนาเป็นระบบบริหารที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย (Goal Oriented) และมีการปฏิบัติการ (Action Oriented) ตามได้กำหนดจุดมุ่งหมายไว้แล้วจากการที่มีผู้เสนอทัศนะเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาการ บริหาร
หรือการเพิ่มพูนสมรรถนะของระบบบริหารให้เพียงพอที่จะรองรับภารกิจของการบริหารการพัฒนาได้ เช่น Fred W. Riggs เห็นว่า การบริหารการพัฒนามีความหมายสำคัญ 2 ประการ คือ
1 การบริหรโครงการพัฒนา หรือกรรมวิธีต่าง ๆ ที่องค์การขนาดใหญ่โดยเฉพาะ องค์การของรัฐนำมาใช้ในการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนที่กำหนดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนา
2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะทางการบริหารการพัฒนาการบริหารต้องอาศัยกระบนการทางการเมือง หรือ
กลุ่มผลประโยชน์ทาง การเมืองที่คอยกระตุ้นให้มีการพัฒนาการบริหาร หรือการที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการน่นโยบายใน
การ พัฒนาการบริหารต่อข้าราชการและประชาชน จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการบริหารให้มีความทันสมัย หรือมีการปฏิรูประบบการบริหารเสียใหม่
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
ตอบข้อ 5.2 การบริหารการพัฒนา(Development Administration) หมายถึงสาขาวิชาและยัง หมายถึงกิจกรรมหรือกระบวนการ การบริหารการพัฒนา ยังหมายถึง การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) และการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D) การพัฒนาการบริหาร หมายถึงการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้างกกระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร การบริหารการพัฒนา หมายถึงความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ ล่วงหน้า ซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา การบริหารการพัฒนาจะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ประการ
คือองค์การพัฒนาการ บริหารและองค์ประกอบการบริหารการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้จะมีองค์ประกอบรอง อีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงเทคโนโลยี พฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Development of Administration) หมายถึง การน าเสนอสมรรถนะหรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบ บริหารมาลงมือปฏิบัติตาม นโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ว่า แผนไว้ล่วงหน้า การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบรีหมารัฐกิจ หรือบริหารรัฐ กิจเปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCC หรือ POSDCORB POCCC POSDCORB
P = การวางแผน
P= การวางแผน
O = การจัดองค์การ
O= การจัดองค์การ
C = การสั่งการ/การบังคับบัญชา
S= การจัดคนให้เข้าท างาน
C = การประสานงาน
D= การอ านวยการ
C = การควบคุม
CO= การประสานงาน
R= การรายงานผล
B= การงบประมาณ
ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้มันเป็นพื้นฐานของรับการบริหารที่เหมือนกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่มีบางอย่างแตกต่างออกไป
คือจุดมุ่งหมาย และลักษณะการบริหารการพัฒนา หรือถ้าจะให้ดี ยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการบิหารการพัฒนา ต้องมี NEROP ประกอบด้วย
NE = ความจำเป็นที่ประเทศด้วยพัฒนาจะต้องผ่านวิกฤตการณ์อะไรบ้างถึงจะบรรลุ ขั้นตอนของการพัฒนา
R = คือ ทรัพยากรของแต่ละประเทศที่มีอยู่ เช่น เงิน การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) โครงสร้าง กระบวนการ/เทคโนโลยี พฤติกรรม การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D)
- การบริหารโครงการ
-การพัฒนาเศรษฐกิจ
-การพัฒนาสังคม
-การพัฒนาการเมือง
- การพัฒนาชนบท - ฯลฯ
การบริหาร พัฒนา (Development Administra tion ) การพัฒนา ประเทศ (National Development )
O = คืออุปสรรค หรือสิ่งที่เกิดขึ้นขวางของการพัฒนา อุปสรรคต่างๆ
P = ศักยภาพ ความสามารถ หรือศักยภาพมีมากน้อยเกี่ยวกับการพัฒนา
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
5.1 ให้ความหมายของการบริหาร
การพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
ตอบ การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การเพิ่มพูนสมรรถนะของการบริหารที่จะรับมือโดยไม่หยุดยั้ง กับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้าทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม
การพัฒนาการบริหาร คือ การที่รัฐบาลเมื่อมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสามารถที่จะบริหารงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนา
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการรวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริการ
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
5.2 องค์ประกอบของการบริหาร
การพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
ตอบ องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา (DA) มี2ประการ
1) การพัฒนาการบริหาร
องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร(D of A) หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2) การบริหารเพื่อการพัฒนา
องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา(A of D) หมายถึง การนำเอาสมรรถนะหรือความสามารถมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแผนที่วางไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนา มิใช่สิ่งแปลกใหม่ ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารัฐกิจเปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีหลักการพื้นฐานในการบริหารเช่น POCCC หรือ POSDCORB
POCCC ประกอบด้วย
P = การวางแผน
0 =การจัดองค์การ
C =การสั่งการ/การบังกับบัญชา
C =การประสานงาน
C =การควบคุม
POSDCoRB ประกอบด้วย
p = การวางแผน
0 =การจัดองค์การ
S =การจัดคนให้เข้าทำงาน
D =การอำนวยการ
Co =การประสานงาน
R =การรายงานผล
B =การงบประมาณ
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฏิรูปและแนวคิดใหม่
ตอบ แนวคิดการบริหารการพัฒนา
●แนวคิดดั้งเดิม
เน้นเรื่องเศรษฐกิจ การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่า เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยีและความรู้ทางวิทยาศาสตร์

●แนวคิดปฏิรูป
เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็น พื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Chinese Model)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverly) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย(target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)
6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโล แฟร์ เป็นแนคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชนในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนาชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration)เป็นการระดมความรู้ความสามารถจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

●แนวคิดใหม่
แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า"การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)" การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก มุ่งพัฒนาสังคมสู "สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ"
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลื่ยนแปลง ปรับปรุง หรือ ปฎิรูป สภาพเเวดล้อม นิเทศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยีเเละพฤติกรรมการบริหาร ซึ่งการพัฒนาการบริหารทำให้เกิดประสิทธิภาพในบริหาร เกิดการปรับปรุงเปลื่ยนเเปลง โครงสร้าง ทำให้พฤติกรรมในการบริหารเเละเน้นความเจริญเติบโตทางการพัฒนา
การบริหารเพื่อพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบายแผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อเกิดการเปลื่ยนแปลง ตามท่ได้วางแผ่นไว้ล่วงหน้า ซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง
การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดลอ้ ม นิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ /
เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D)
หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยใู่ นระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน
แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพฒั นาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไวล้่วงหนา้
การบริหารการพฒั นามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือบริหารรัฐกิจ
เปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพ้ืนฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCCหรือ POSDCoRB
(หลักการบริหาร) ดังนี้
POCCC POSDCoRB
P =การวางแผน P= การวางแผน
O =การจัดองค์การ O = การจัดองค์การ
C =การสั่งการ/การบังคับบัญชา S= การจัดคนให้เข้าทำงาน
C =การประสานงาน D = การอ านวยการ
C =การควบคุม Co= การประสานงาน
R = การรายงานผล
B = การงบประมาณ
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่
��แนวคิดดั้งเดิม
เน้นเรื่องเศรษฐกิจ การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่า เป็นการ
พัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี
และความรู้ทางวิทยาศาสตร์
��แนวคิดปฏิรูป
เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1. การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
2. การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็น พื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนา
คุณภาพชีวิต
3. การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร (Chinese
Model)
4. การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก่ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
(target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)
6. การพัฒนาตามแนวคิดเปาโลแฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน
ในชนบทเกิดจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการสนทนา ใช้สัญลักษณ์ และใช้การศึกษาอย่างไม่
เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก่ไขด้วยตนเอง
7. การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา
ชุมชนของตน ด้วยตนเอง ข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่
จำเป็นเท่านั้น
8. การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก
หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน
��แนวคิดใหม่
แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้
ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า
“การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)” การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ใช้
เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์
รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก มุ่งพัฒนาสังคมสู่ “สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
ตอบ การพัฒนาการบริหาร (administrative development or development of administration) หมายถึง การ เพิ่มพูน สมรรถนะหรือความสามารถของระบบบริหารเพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลง ของสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางในการสร้างความก้าวหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากน้ีการพัฒนาการบริหารยังรวมไปถึงการเปลี่ยนจากการเล่นพรรคเล่นพวกเป็นระบบคุณธรรมในการสรรหาการปูนบำเหน็จความดีความชอบและการลงโทษทางวินัย
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผน แผนงานโครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซ่ึงเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
ตอบ การบริหารการพัฒนามีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ประการ คือการพัฒนาการบริหารและการ บริหารเพื่อการพัฒนาโดยแต่ละองค์ประกอบหลักน้ีจะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ / เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D) หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหนา

supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่
ตอบ แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจ การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่าเป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1. การพัฒนาด้านการเกษตร
2. การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
3. การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์
แนวคิดใหม่ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)” การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวมปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่ “สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”
นางสาว กัลกร อภิชาติวรนันท์ 63423471007
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
- การบริหารการ พัฒนา หมายถึง การปรับมรรควิธี(means) ของการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายต่างๆ ของแผนงานของรัฐบาล ก่อนอื่นต้องทราบจุดมุ่งเน้นแล้วนำการบริหารมาเข้าช่วย การบริหารการพัฒนา เป็น 2 ส่วน คือกระบวนการ และความรู้ ทางวิชาการส่วนที่เป็นกระบวนการนั้น ไวด์เนอร์ มีความเห็นว่าการบริหารการพัฒนาเป็น กระบวนการบริหารงานของรัฐบาลที่นา องค์กรไปสู่การประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ส่วนที่เป็นความรู้ทางวิชาการ
- การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่ง เน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
- การพัฒนาการบริหาร หมายถึงการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้างกกระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร

นางสาว กัลกร อภิชาติวรนันท์ 63423471007
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
การบริหารการพัฒนา มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ประการคือการพัฒนาการบริหารและการ บริหารเพื่อการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนั้น จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ / เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล้วงหน้า
นางสาว กัลกร อภิชาติวรนันท์ 63423471007
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฏิรูปและแนวคิดใหม่
*แนวคิดดั้งเดิมจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ในประเทศให้แก่ประชาชนในชนบท ถือเป็นการพัฒนา ที่ให้ความสำคัญทางวัตถุมากว่าจิตใจ
*แนวคิดปฏิรูป จะเน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนมากกว่าทางด้านวัตถุ ซึ่งทั้งสองแนวคิดแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
*แนวคิดใหม่ จะแตกต่างออกไปในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป เรียกสั้นๆว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะมีการปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากฐาน มุ่งพัฒนาสู่สังคม
นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
การพัฒนาการบริหาร หมายถึงการจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้างกกระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่ง เน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
นายอิทธิพัฒน์ เเซมกลาง รหัส63423471016
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามีอยู่สามส่วน คือ ผู้กระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เจตนารมณ์ อุดมการณ์ วิธีการรวมทั้งกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายของกระทำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความเข้าใจชัดเจนในแต่ละองค์ประกอบ
ตามความหมายของการพัฒนาสังคมซึ้งเน้นรัฐสวัสดิการ
1. ในความหมายอย่างแคบ การพัฒนา หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้นหรือริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาและนำมาใช้เป็นครั้งแรก เช่นการคิดค้นกระแสไฟฟ้า การกระดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์

2. ในความหมายอย่างกว้าง การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของระบบต่าง ๆ ในสังคมที่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมนั้น โดยมีหลักที่ใช้ในการพิจารณาโดยมีจุดเน้นอยู่ที่ลักษณะของการพัฒนา คือ

การเปลี่ยนแปลงในด้านปริมาณ คุณภาพ และสิ่งแวดล้อม ทุกด้านให้ดีขึ้นหรือเหมาะสมกว่าสภาพที่เป็นอยู่เดิม
มีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกันไป
มีลักษณะเป็นพลวัตร ซึ่งหมายความว่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
มีลักษณะเป็นแผนและโครงการ คือ เกิดขึ้นจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้าว่าจะเปลี่ยนแปลงใคร ด้านใด ด้วยวิธีการใด เมื่อใด ใช้งบประมาณและสิ่งสนับสนุนเท่าใด ใครรับผิดชอบ
มีลักษณะเป็นวิชาการ ซึ่งหมายถึง การกำหนดขอบเขตและกลวิธีที่นำมาใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาชนบท การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาชุมชน การพัฒนาการศึกษา
มีลักษณะที่ให้น้ำหนักต่อการปฏิบัติการจริงที่ทำให้เกิดผลจริง
การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์ หรืออาจจะเกิดขึ้นเอง
มีเกณฑ์หรือเครื่องชี้วัด ซึ่งสามารถจะบอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นมากหรือน้อยเดียงใด ในระดับใด
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฏิรูปและแนวคิดใหม่
แบบเดิม เน้นการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน สร้างความเจริญออกจากเมืองไปสู่ชนบท การสร้างรายได้ การสร้างวัตถุนิยมเน้นความสะดวกสบาย
เเบบใหม่ การเเก้ไขปัญกาของระบบต่างๆให้ดียิ่งขึ้น การเรียนรู้ปลที่ได้ ผลเสียของการพัฒนา ให้ความสำคัญการสิ่งเเวดล้อมเป็นอย่างมาก ใช้ทรัพยากรที่อย่างคุ้มค่าให้ได้มากที่สุด ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นไม่ไห้เกิดความซับซ้อนมากเกินไปเเละต้องงมีความเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฎิรูปและแนวคิดใหม่
ตอบข้อ5.3
แนวคิดดั้งเดิม เน้นเรื่องเศรษฐกิจ การเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่า เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
แนวคิดปฏิรูป / แนวคิดใหม่ เน้นการพัฒนาทางด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ และ แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-7 ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า"การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainable development)"
การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวม ปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก มุ่งพัฒนาสังคม สู่สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพการบริหาร
การพัฒนาที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประเทศ เจริญเติบโตเป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาการเมืองควบคู่ไปด้วยกัน นั้น จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในประเทศที่ก าลังพัฒนาและโลกที่สามก็ตาม แต่การพัฒนา ดังกล่าวก็มีปัญหาตามมาด้วยในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ฯลฯ ดังนั้น ประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศไทย ตระหนักถึงปัญหา นี้และพยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการนำแนวคิดทฤษฎีเคนส์ ซึ่งเป็นแนวคิดใน ทฤษฎีกระแสหลักของการบริหารการพัฒนาที่มีผู้ศึกษานา
มาอธิบายและเสนอแนวทางในการแก้ไข ปัญหาได้ เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่สามารถนาวิธีการมากระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐเข้าควบคุมกลไกตลาด จำกัดบทบาทภาคเอกชน ลงทุนสร้างงานให้เกิดการหมุนเวียนระบบตลาดเงิน ตลาดทุน ภายในประเทศ
ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้ รวมทั้งยุทธศาสตร์การวาง แผนการพัฒนาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศไทยโดยตัวแบบของ Harry Shutt ซึ่ง นักวิชาการทั้งสองดังกล่าวสามารถตอบคำถามปัญหาการบริหารการพัฒนาในสถานการณ์ปัจจุบันได้ เป็นอย่างดี
น.ส.เกศรา​ จักรโนวัน​ รหัสนักศึกษา​ 63423471128 รัฐศาสตร์ รุ่นที่46
5.1) ให้อธิบายความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา.
Ans= การบริหารการพัฒนา​ (Development Administration)​ หมายถึงการพัฒนาการบริหาร​( Development​ of​ Administration​ ​/ D​ of​ A )​ และการบริหารเพื่อการพัฒนา​ ​( Administration​ of​ Development​
A of​ D )​
การพัฒนาการบริหาร​ หมายถึง​ การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง​ ปรับปรุง​ หรือปฏิรูป​ สภาพแวดล้อม​ นิเวศวิทยา​ โครงสร้าง​ กระบวนการ​ รวมถึงเทคโนโลยี​ และพฤติกรรมการบริหาร
การบริหารเพื่อการพัฒนา​ หมายถึง​ ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ​ ตามนโยบาย​ แผน​ แผนงาน​ โครงการ​ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ​ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง​ตามที่ได้วางไว้ล่วงหน้าซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา63423471128 รัฐศาสตร์ รุ่นที่46

5.2) องค์ประกอบการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
Ans​ = องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา​ มีองค์ประกอบ2​ประการ​คือ
- การพัฒนาการบริหาร​(Development of​ Administration / D of​ A )
-การบริหารเพื่อการพัฒนา​( Administration​ of​ Development./ A.of.D )
การบริหารการพัฒนามีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่​คือ​POCCC หรือ​ POSDCoRB  (หลักการบริหาร)​ ดังนี้
POCCC.​                                                   POSDCoRB
P= การวางแผน​                                 P= การวางแผน
O= การจัดองค์การ​                           O= การจัดองค์การ
C= การสั่งการ/ การบังคับบัญชา​    S= การจัดคนให้เข้าทำงาน
C=การประสานงาน​                          D=การอำนวยการ
C=การควบคุม                                  Co =การประสานงาน
                                                          R=การรายงานผล
                                                          B = การงบประมาณ
การพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ​หมายความว่าการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น​เพื่อให้ปลอดความยากจน​ความไม่รู้​ ความเจ็บป่วย​ ตลอดจนมุ่งเน้นที่จะให้ประชาชนตระหนักถึงศักยภาพ​ ศักดิ์ศรี​ และความพึงพอใจในชีวิตของตนที่รัฐเข้ามามีส่วนในการจัดระบบสวัสดิการสังคม​ อย่างถ้วนหน้าให้แก่ทุกคนในสังคม​ โดยมีลักษณะทั่วไป​ 3​ ประการ​ ​คือ​ ประกันรายได้ขั้นต่ำ, สร้างความมั่นคงในชีวิต,  ให้พลเมืองในสังคมได้รับบริการทางสังคมอย่างเสมอกันมาตราฐานที่ดี​เท่าเทียมกัน.
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา63423471128 รัฐศาสตร์ รุ่นที่46

5.3)นักศึกษา​ เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา​ แบบดั้งเดิม​ แนวคิดปปฏิรูปและแนวคิดใหม่.
Ans = เเนวคิดการบริหารการพัฒนาแบบดั้งเดิมเป็นยุคเริ่มต้น​ มีลักษณะมุ่งเน้นไปยังประสิทธิภาพและผลผลิตที่มีประสิทธิผล​ ( Effective.​and​ Efficient​ Productivity )​ เป็นหลักการมากกว่าการใส่ใจบุคคล​ การบริหารงานจึงเน้นการมีแบบแผน​ กฏเกณฑ์​ โครงสร้างชัดเจนแน่นอน​ มีลักษณะเป็นองค์กรมีรูปแบบ​( Formal.Organization )​ มุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตสูงที่สุด
แนวคิดปฏิรูป​หมายถึงการประยุกต์แนวคิดใหม่ๆ​หรือการผสมผสานแนวคิดใหม่ๆ​ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อเป้าหมายของการพัฒนา​ นั่นก็คือ​การปฏิรูปบริหาร​ หมายถึง​การโน้มน้าวจิตใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลงานทางการบริหารในอันที่ลดการต่อค้านการเปลี่ยนแปลง.
เเนวคิดสมัยใหม่​ หมายถึง​ การเสริมสร้างสมรรถนะในอันที่จะนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญทางการบริหาร​ ความรับผิดชอบและหลักเหตุผลผสมผสานกับเจตจำนงค์ของประชาชน​ ในอันที่จะดำเนินการให้ำด้มาซึ่งความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม.
สรุป​ ความแตกต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา​แบบดั้งเดิม​ แนวคิด​ปฏิรูปและเเนวคิดใหม่​ คือ​แนวคิดดั้งเดิมมุ่งเน้นผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล​ การบริหารงานมีแบบแผน​ กฎเกณฑ์​ มุ่งเน้นให้เกิดผลผลิตสูงสุด​ ส่วนแนวคิดปฏิรูปเป็นการประยุกต์แนวคิดใหม่​ เพื่อปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อเป้าหมายของการพัฒนาและแนวคิดสมัยใหม่เป็นการเสริมสร้าง​สมรรถนะและนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญมาใช้ให้ได้ซึ่งความเสมอภาคและยุติธรรมในสังคม.
นาย คณิติน ศิริธีรวัฒนสุข
63423471142
ข้อ5.1
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการ(รวมถึงเทคโนโลยี) และพฤติกรรมการบริหารเพื่อให้มีความสามารถที่จะรองรับนโยบาย แผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมสำหรับการบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนา หมายถึง การบริหารท่ีมีเป้าหมายแน่นอน ซึ่งงก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร โดยจะต้องมีการปรับปรุงกลไกในการ บริหารงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อให้เป็นระบบท่ีตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมต่อไป
สรุป
การบริหารการพัฒนาจะประสบความสาเร็จหรือไม่เพียงใดส่วนหน่ึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทางสังคมและองค์การเช่นทัศนคติ ค่านิยม แรงจูงใจในการทำงานเป็นต้น และข้อ จำกัดทางด้านเทคนิค ได้แก่ จำนวนคนที่มีความชำนาญในโครงการพัฒนา การจัดสรรงบประมาณแก่โครงการพัฒนา ยิ่งเราสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้มากเพียงใด ก็ยังมีโอกาสที่ประสบความสาเร็จในการบริหารการพัฒนาขึ้นเพียงน้ัน
นาย คณิติน ศิริธีรวัฒนสุข
6342347114
ข้อ5.2
องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา(Administration of Development / A of D)
หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพฒันามิใช่สิ่งแปลกใหม่ท่ีแตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจจะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POSDCoRB (หลักการบริหาร)ดังน้ี

POSDCoRB
P = การวางแผน
O = การจัดองค์การ
S=การจัดคนให้เข้าทำงาน
D = การอำนวยการ
Co= การประสานงาน
R = การรายงานผล
B = การงบประมาณ

สรุป A of D มุ่งเน้นไปที่การบริหารการ พัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารโครงการพัฒนาใหเ้ป็นไปตามนโยบายแผนงานและโครงการที่กำหนดข้ึน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา รวมทัองเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารโครงการพัฒนาน้ัน มีกระบวนการสำคัญคือ มีการจัดทำและ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินการตามโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ
นาย คณิติน ศิริธีรวัฒนสุข
63423471142
ข้อ5.3
แนวคิดดั้งเดิม
เน้นเรื่องเศรษฐกิจการเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบทและถือว่าเป็นการ พัฒนาท่ีให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
1.การพัฒนาด้านการเกษตร
2.การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชมุชน
3.การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี
และความรู้ทางวิทยาศาสตร์

แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1.การพัฒนาเร่ิมจากระดับล่างสู่ระดับบน(Bottom-up)
2.การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน(Basicneeds)ซึ่งเกี่ยวข้องกังการพฒันา
คณุภาพชีวิต(qualityoflife)
3.การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร(Chinese Model)
4.การพัฒนาชนบทที่มุ้งแก่ปัญหาความยากจน(Poverty)รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (target group)
5. การพัฒนาที่เน้นการจ้างงาน (Employment)
6.การพัฒนาตามแนวคิดเปาโลแฟร์เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ประชาชน
ในชนบทเกิดจิตสานึกโดยใช้กระบวนการสนทนาใช้สัญลักษณ์และใช้การศึกษาอย่างไม่
เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหาของตนเอง และดำเนินแนวทางแก้ไขด้วยตนเอง
7.การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง(Self-help)ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา
ชมุชนของตนด้วยตนเองข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็นเท่านั้น
8.การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน(Integration)เป็นการระดมความรู้ความสามารถจาก
หนว่ยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

แนวคิดใหม่
แนวทางการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่6-7ซึ่งให้
ความสาคัญกับการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน (subtainabledevelopment)”การเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพฒันาให้คนมีความสุบและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาแบบองค์รวมปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากมุ่งพัฒนาสังคมสู่“สังคมเข้มแข็งและมีดุลยภาพ”

สรุป
แนวคิดดั้งเดิม ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจของประชาชน แตกจาก จากแนวคิดปฎิรูป ที่เน้นสังคม และจิตใจของประชาชนมากกว่าวัตถุ ส่วนแนวคิดใหม่ จะคล้ายๆกับแนวคิดปฎิรูป แต่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นมาด้วย
1) ให้อธิบายความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนาต
ตอบ ความหมายของการบริหารการพัฒนา การบริหารการพัฒนา หมายถึง สาขาวิชา และยังหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการ การบริหารการพัฒนา ยังหมายถึง การพัฒนาการบริหาร และการบริหารเพื่อการพัฒนา การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร การบริหารการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเน้น ความเจริญเติบโตทางการบริหาร
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าซึ่งเน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
อนันต์ เกตุวงศ์ กล่าวว่า การบริหารการพัฒนามีขอบเขตครอบคลุมไปถึงการเมืองด้วยและบางคนมีแนวคิดกว้างมากถึงขนาดที่กล่าวว่าการบริหารการพัฒนาหมายถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ไม่ว่าจะกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เป็นไปตามนโยบายและแผน ย่อมถือว่าอยู่ในขอบเขตของการบริหาร การพัฒนาทั้งสิ้นโดยมีขอบเขตทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร ฉะนั้น การบริหาร การพัฒนาจึงย่อมหมายถึง การบริหารของงานพัฒนา หรือการนำเอาโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ไปดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งการพัฒนาการบริหาร หรือการทำให้การบริหารมีขีดความสามารถเพิ่ม มากขึ้น
เอ็ดเวิร์ด ดับบลิว. ไวด์เนอร์ นักวิชาการชาวอเมริกนั กล่าวว่า การบริหารการพัฒนา หมายถึง การปรับมรรควิธี ของการบริหารให้เข้ากับจุดมุ่งหมายต่างๆ ของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งก่อนอื่นต้องทราบถึงความต้องการของรัฐบาลว่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างไรก่อน แล้วจึงนำการบริหารมาช่วยปฏิบัติการให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายนั้น
ติน ปรัชพฤทธิ์กล่าวว่าการบริหารการพัฒนา หมายถึงการนำเอาความสามารถที่มีอยู่ในการพัฒนาการบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบายแผน แผนงาน หรือโครงการพัฒนาประเทศจริง ๆ เพื่อให้บังเกิดความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าและความเปลี่ยนแปลงตามที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าจะมุ่งความเจริญงอกงามทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศอันจะนำไปสู่การลดความทุกข์ยากของคนทั้งที่อยู่ในองค์การ และที่อยู่ภายนอกองค์การ
2)องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
ตอบ องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา
การบริหารการพัฒนาจะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ การพัฒนาการบริหารและการ
บริหารเพื่อการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้ จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร หมายถึง
การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึง โครงสร้าง กระบวนการ /
เทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา
หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือ ความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน
แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้า
การบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือบริหารรัฐกิจ
เปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCC หรือ POSDCoRB
(หลักการบริหาร)
POCCC POSDCoRB
P = การวางแผน P= การวางแผน
O = การจัดองค์การ O= การจัดองค์การ
C = การสั่งการ/การบังคับบัญชา S= การจัดคนให้เข้าท างาน
C = การประสานงาน D= การอ านวยการ
C = การควบคุม Co= การประสานงาน
R= การรายงานผล
B= การงบประมาณ
ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้เป็นพื้นฐานของหลักการบริหารที่เหมือนกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ แต่มี
บางอย่างแตกต่างออกไป คือจุดมุ่งหมาย และลักษณะการบริหารการพัฒนา หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับ
การบริหารการพัฒนา ต้องมี NEROP ประกอบด้วย คือ
NE = ความจำเป็นที่ประเทศด้วยพัฒนาจะต้องผ่านวิกฤตการณ์อะไรบ้างจึง
จะบรรลุขั้นตอนของการพัฒนา
R = คือ ทรัพยากรของแต่ละประเทศที่มีอยู่ เช่น เงิน
O = คืออุปสรรค หรือสิ่งที่เกิดขึ้นขวางของการพัฒนา อุปสรรคต่างๆ
P = ศักยภาพ ความสามารถ หรือศักยภาพมีมากน้อยเกี่ยวกับการพัฒนา
3)นักศึกษา​ เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา​ แบบดั้งเดิม​ แนวคิดปปฏิรูปและแนวคิดใหม่
ตอบ แนวคิดแบบดั้งเดิม เป็นแนวคิดแบบดั้งเดิมได้เริ่มต้นในช่วง ศตวรรษที่ 19 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงที่โลกกำลังปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่กำลังก้าวสู่สังคมอุตสาหกรรม โดยมีลักษณะมุ่งเน้นไปยังผลผลิตที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มากว่าการใส่ใจบุคคล ระบบบริหารงานจึงเน้นการมีแบบแผน กฎเกณฑ์ โครงสร้าง ที่มีรูปแบบที่ตายตัว และทฤษฎีนี้สามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 แนวคิดแบบการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดการทำงานแบบมีระบบ โดดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือ กฎระเบียบ นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการศึกษาหตุผลและเก็บข้อมูล ไปจนการวิเคราะห์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดของการทำงาน โดยการปฏิวัตินั้นเป็นการเริ่มจากการที่เปลี่ยนแรงงานคนเป็นเครื่องจักร และสิ่งที่คาดหวังคือ การมีประสิทธิภาพของงานที่สูงขึ้นและรวดเร็วในการผลิตมากขึ้น
ลักษณะที่ 2 แนวคิดการจัดการแบบหลีกการบริหาร โดยแนวคิดนี้มีการจัดการที่เป็นระเบียบมากขึค้นจากลักษณะที่ที่หนึ่ง นักทฤษฎีมีความตั้งใจมุ่งเน้นสนใจในการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการโดยเฉพาะไม่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงานระดับล่าง
-แนวคิดปฏิรูป เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
1.การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน
2.การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.การพัฒนาตามแนวทางจีนแผ่นใหญ่ซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านการเกษตร
4.การพัฒนาชนบทที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาความจน
5.การพัฒนาการจ้างงาน
6.การพัฒนา การกระตุ้นให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก โดยใช้กระบวนการการสนทนา ใช้สัญลักษณ์และใช้การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้ประชาชนเรียนรู้ถึงปัญหาด้วยตนเอง และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
7.การพัฒนาที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีข้าราชการเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการหรือวัสดุที่จำเป็น
8.การพัฒนา โดยวิธีการผสมผสาน เป็นการรวบรวมความรู้ความสามารถจากหลายๆหน่วยงาน ทั้ง ภาครัฐ และ เอกชน
-แนวคิดแบบใหม่ โดยแนวคิดแบบใหม่นี้ได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎีแบบดั้งเดิม ซึ่งเริ่มมีการศึกษาด้านปัจจัยมนุษย์เพิ่มขึ้น สำหรับแนวคิดที่โดดเด่นในยุคนี้คือ
แนวความคิดการจัดการแบบมนุษย์สัมพันธ์ แนวคิดนี้ค่อนข้างจะขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ท่เน้นไปที่ประสิทธิภาพของการทำงาน และคำนึงถึงผลผลิตเป็นหลัก
5.1 ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาจากพื้นฐานความรู้ความเข้าใจความหมายของคำว่าการพัฒนาการบริหารและการบริหารเพื่อการพัฒนา
การพัฒนาการบริหาร หมายถึง การจัดเตรียมเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือปฏิรูป สภาพแวดล้อม นิเวศวิทยา โครงสร้าง กระบวนการ รวมถึงเทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
การบริหารเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ ตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ตามที่ไดว้างแผนไว้ล่วงหน้า เน้นความเจริญเติบโตทางการบริหาร
5.2 องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาทั้งตามความหมายที่ใช้ได้ทั่วไปและความหมายของการพัฒนาสังคมซึ่งเน้นรัฐสวัสดิการ
มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ประการคือการพัฒนาการบริหารและการ บริหารเพื่อการพัฒนา โดยแต่ละองค์ประกอบหลักนี้จะมีองค์ประกอบรองอีกด้วย
1.องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร (Development of Administration / D of A) หมายถึง การจัดเตรียม เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือปฏิรูปสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา รวมถึงโครงสร้าง กระบวนการ / เทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริหาร
2.องค์ประกอบหลักการบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development / A of D) หมายถึง การนำเอาสมรรถนะ หรือความสามารถที่มีอยู่ในระบบบริหารมาลงมือปฏิบัติตามนโยบาย แผน แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาจริงๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่วางแผนไว้ล่วงหน้าการบริหารการพัฒนามิใช่สิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากการบริหารรัฐกิจ หรือบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ การบริหารการพัฒนา จะต้องมีพื้นฐานหรือปัจจัยหน้าที่คือ POCCCหรือ POSDCoRB (หลักการบริหาร) ดังนี้
POCCC POSDCoRB
P =การวางแผน P= การวางแผน
O =การจัดองค์การ O = การจัดองค์การ
C =การสั่งการ/การบังคับบัญชา S= การจัดคนให้เข้าทำงาน
C =การประสานงาน D = การอำนวยการ
C =การควบคุม Co= การประสานงาน
R = การรายงานผล B = การงบประมาณ
5.3 นักศึกษา เปรียบเทียบความต่างของแนวคิดการบริหารการพัฒนา แบบดั้งเดิม แนวคิดปฏิรูปและแนวคิดใหม่
แนวคิดดั้งเดิม
-จะเน้นการเพิ่มผลิตหรือเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท และถือว่า เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากกว่าจิตใจ
-การพัฒนาด้านการเกษตร
-การพัฒนาด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
-การพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วมและการนำเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาศาสตร์
แนวคิดปฏิรูป
-เน้นการพัฒนาด้านสังคม และจิตใจของประชาชนในชนบทมากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ
-การพัฒนาเริ่มจากระดับล่างสู่ระดับบน (Bottom-up)
-การพัฒนาตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน (Basic needs) เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (quality of life)
-การพัฒนาซึ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเกษตร (Chinese Model)
-การพัฒนาชนบทที่มุ่งแก้ปัญหาความยากจน (Poverty) รวมถึงการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
-การพัฒนาที่เน้นการจ้างาน (Employment)
-การพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง (Self-help) ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาชุมชนของตน โดยมีข้าราชการ ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน
-การพัฒนาโดยวิธีการผสมผสาน (Integration) เป็นการระดมความรู้ความสามารถจากหน่วยงานต่างๆ
แนวคิดใหม่
-การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาให้คนมีความสุขและเน้นคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

Popular posts from this blog

จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 1 ภาคการศึกษาที่ 3/2563 (เสาร์ที่ 24 - อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564) 44/01

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 1; ภาค/ ปีการศึกษา 3/2564