หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 1; ภาค/ ปีการศึกษา 3/2564

การศึกษาประกอบร่วมกับการศึกษาในชั้นเรียน

ขอบเขตการศึกษา นักศึกษาศึกษาประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้ 

1. ความหมายแนวคิดทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และที่มาของคำว่าการบริหารงานภาครัฐ


2. พัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์และความเป็นสหวิทยาการ


3.การบริหารภาครัฐกับการเมือง


4. การบริหารงานภาครัฐกับนโยบายสาธารณะ



      นักศึกษาศึกษาเอกสารและ Video ที่นี่ 

     ก่อนตอบคำถามให้ศึกษาเอกสารให้เข้าใจ พร้อมทั้งกดติดตามและให้ใส่ชื่อ รูปภาพลงที่มุมกล่องข้อความเพื่อจะได้ทราบว่านักศึกษาคนใดเป็นผู้ตอบคำถาม และสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง (ดูตัวอย่างของภาคการศึกษาที่ผ่านมา)

ตอบคำถามลงในกล่องข้อความด้านล่าง (Post Comment) โดยคลิกที่ Post Comment กล่องข้อความจะปรากฏให้เห็นนักศึกาษาเขียนตอบลงในกล่องข้อความ)

     ศึกษาเอกสารตำราได้ที่นี่ 





        เมื่อนักศึกษาศึกษาเอกสารและฟังคำบรรยายทั้งในชั้นเรียนและบรรยายสรุปผ่านระบบออนไลน์แล้ว นักศึกษาทำ Assignment ต่อไปนี้
      
       Assignment ที่  1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
     
       Assignment ที่  2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง

       Assignment ที่ 3.  อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง


         นักศึกษาทำ Assignment ในกล่องโต้ตอบ ซึ่งจะเขียนว่า  Post a Comment โดยคลิกที่รูป 💬 จะปรากฎ กล่องโต้ตอบ นักศึกษาเขียนในกล่องโต้ตอบและสามารถส่งได้โดย คลิกที่ Publish your comment


              นักศึกษานำเสนอความคิดและงานที่มอบหมายครั้งที่ 1 ผ่านฟอรั่มที่นี่ โดยแสดงความเห็นและนำเสนอได้อย่างมีอิสระทางความคิด โดยใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและไม่ละเมิดดูหมิ่นบุคคลใดๆ การนำเสนองานเป็นกลุ่มผ่านฟอรั่มจะมอบหมายใน Class  โดยห้ักศึกษานำเสนอความคิดเห็น  ประเด็น 



Comments

Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ตอบ 1 ข้อ1
ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์คือการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์ทฤษฎีองค์การทฤษฎีสังคมทฤษฎีการเมืองและการศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งเน้นไปที่ความหมายโครงสร้างและหน้าที่ของการบริการสาธารณะในทุกรูปแบบ มักจะเล่าถึงรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการศึกษาระบบราชการตลอดจนประเด็นทางญาณวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะในฐานะวิชาชีพและในด้านวิชาการ
โดยทั่วไปมีแนวทางที่แตกต่างกันสามวิธีในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ ได้แก่ ทฤษฎีการบริหารรัฐกิจแบบคลาสสิกทฤษฎีการจัดการสาธารณะแนวใหม่และทฤษฎีการบริหารรัฐกิจหลังสมัยใหม่ซึ่งนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ดูแลระบบปฏิบัติในการบริหารราชการ
นักทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเช่น Max Weber แสดงความสำคัญของค่านิยมในการพัฒนาทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ อย่างไรก็ตามทฤษฎีไม่สามารถได้มาจากการสังเกตข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เท่านั้น แต่จะต้องสร้างขึ้นโดยใช้การตัดสินคุณค่าที่ชี้นำการสังเกตเชิงประจักษ์ของเราแล้วชี้นำการตีความข้อสังเกตเหล่านั้น ค่านิยมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์เนื่องจากคำนึงถึงหลักจริยธรรมและปรัชญาที่มีความหมายของวัฒนธรรมซึ่งทำให้มั่นใจได้ถึงการปฏิบัติตามทฤษฎีที่เหมาะสม ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ถูกนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือพิจารณาผ่านกลยุทธ์ที่แตกต่างกันสองสามประการ: แบบคู่ขนานการถ่ายโอนหรือการทำงานร่วมกันหรือที่เรียกว่าการปฏิบัติตามทฤษฎีช่องว่าง แนวปฏิบัตินี้ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติและนักวิชาการ

การบริหารภาครัฐหลังสมัยใหม่หมายถึงผลงานภายในของหน่วยงานของรัฐเกือบทุกแห่งที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาคองเกรสชายและหญิงในวอชิงตัน ดี.ซี. หรือผู้แทนกรมความปลอดภัยสาธารณะซึ่งอยู่ที่สำนักงาน DPS ใด ๆ ที่จัดการงานเอกสารของผู้สมัครที่ต้องการได้รับใบอนุญาตขับรถ แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการนั้นกว้างพอที่จะครอบคลุมตำแหน่งทางราชการทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ สมาชิกของการบริหารภาครัฐมาในรูปแบบและปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อเข้าใจทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์หลังสมัยใหม่สิ่งสำคัญคือต้องสร้างความแตกต่างระหว่างทฤษฎีหลังสมัยใหม่กับยุคหลังสมัยใหม่รวมทั้งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างความหลังสมัยใหม่ (ช่วงเวลา) และหลังสมัยใหม่ (ทฤษฎี / ปรัชญา)

ทฤษฎีหลังสมัยใหม่วิวัฒนาการมาจากยุคหลังสมัยใหม่ ชัคฟ็อกซ์และฮิวจ์มิลเลอร์เป็นสองหลักส่วนทฤษฎีหลังสมัยใหม่เพราะพวกเขามีความสามารถที่จะรับรู้สภาพหลังสมัยใหม่และวิธีที่จะเล่นออกมาในการบริหารงานภาครัฐและนโยบายสาธารณะ ฟ็อกซ์และมิลเลอร์ให้เหตุผลว่าวิธีการบริหารราชการแบบดั้งเดิมนั้น "ใช้ประโยชน์จากนักทฤษฎีการบริหารภาครัฐในเรื่องความเป็นอิสระที่จำเป็นในการจินตนาการถึงเงื่อนไขในการทำงานและการกำกับดูแลที่เป็นอิสระมากขึ้น" [5]มิลเลอร์เสนอรูปแบบเครือข่ายตามประโยชน์ใช้สอยทางเศรษฐกิจซึ่งจะอธิบายเหตุการณ์ต่างๆได้ดีกว่าแนวทางการบริหารราชการแบบเดิม มิลเลอร์ระบุว่า "เครือข่ายนโยบายเป็นช่องทางหนึ่งในการประมวลผลความขัดแย้งการแสดงค่านิยมและการถ่ายทอดกลยุทธ์การดำเนินนโยบายที่เป็นไปได้การหลบหลีกในนามของผลประโยชน์สาธารณะในเครือข่ายที่ละเอียดอ่อนทางการเมืองที่ซับซ้อนนี้เป็นหน้าที่ของการบริหารราชการหลังก้าวหน้า" [6]ทฤษฎีนี้เริ่มขึ้นในปี 1990 แม้ว่าทฤษฎีนี้จะมีอยู่ในสาขาวิชาอื่นมาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม การประมาณเวลาอาจย้อนกลับไปถึงเพลโตและแนวคิดของเขาเกี่ยวกับรัฐบาลสาธารณะและชุมชนที่มีการกำหนดนโยบายและขั้นตอนต่างๆผ่านระดับของประชาธิปไตย ทฤษฎีนี้ได้รับการทบทวนและเปลี่ยนแปลงผ่านการเคลื่อนไหวทางปัญญาสามครั้งโดยซักถามรูปแบบการวนซ้ำของประชาธิปไตยซึ่งหลายคนแย้งว่าส่วนใหญ่เป็นมายาคติแสดงให้เห็นถึงลักษณะเชิงสัญลักษณ์ของนโยบายและการเมืองในสหรัฐอเมริกาและทฤษฎีวาทกรรม หนึ่งในข้อเสียของทฤษฎีนี้ก็คือว่ามันจะขึ้นอยู่กับความลาดชันลื่นของrelativism ทฤษฎีนี้ยังช่วยให้ผู้คนมีเครื่องมือในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระเบียบสัญลักษณ์และสังคมของเราขึ้นมาใหม่ ทฤษฎีนี้อยู่คำถามใหญ่ของสิ่งที่ถูกต้องและผิดและพยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่จะหายาแก้พิษสำหรับภาวะผิดปกติและสัมพัทธภาพ
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
ตอบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง
นิยาม [1] 1.สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ 2.กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐจัดทำขึ้นเช่น การจัดการบริการสาธารณะ (public services),การจัดทำสินค้าสาธารณะ (public goods),การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย 3.แนวทางปฏิบัติบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือแนวทางที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา 4.ความคิดของรัฐที่กำหนดว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างไร เพียงไร เมื่อไร 5.แนวทางกว้าง ๆ ที่รัฐบาล (ไม่ว่าจะระดับใด) กำหนดขึ้นเพื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ตามมา
ลำดับของนโยบายสาธารณะแก้ไข
การจำแนกระดับของนโยบายสาธารณะ[2] ตามลำดับชั้นของกฎหมายถูกแยกออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. นโยบายสาธารณะในรูปแบบของกฎหมาย 2. นโยบายสาธารณะในรูปแบบของนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา 3. นโยบายสาธารณะที่เป็นมติคณะรัฐมนตรี 4. นโยบายสาธารณะในรูปแบบของแผนงานหรือโครงการที่เป็นลายลัษณ์อักษรของหน่วยงานต่างๆ

Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ตอบ จากความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและการบริหาร เห็นได้ว่าฝ่ายบริหารราชการ มีข้าราชการประจําที่มีข้อมูล มีความรู้ และมีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการ บริหารงานของรัฐ ในขณะที่ฝ่ายการเมืองนั้นอาจจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป แต่ฝ่ายบริหารราชการ ยังคงมีข้าราชการประจําที่มีวาระการดํารงตําแหน่ง มีการสืบทอดความรับผิดชอบที่แน่นอนกว่าฝ่ายการเมือง เมื่อเป็นเช่นนี้บทบาทของข้าราชการประจําจึงมีความสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ฝ่ายการเมือง ไม่มีเสถียรภาพและยังไม่เข้ารูปเข้ารอย จึงต้องอาศัยข้าราชการประจําเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง ทั้งด้าน การใช้กฎหมาย ด้านการใช้ทรัพยากร ด้านการแก้ปัญหาต่าง ๆ แต่สิ่งที่สําคัญคือข้าราชการประจําจะต้องมี ความซื่อสัตย์ สุจริตและมีความเป็นมืออาชีพ เพราะจะทําให้ฝ่ายการเมืองไม่สามารถที่จะเข้าไปการแทรกแซง อย่างไม่เป็นธรรมได้ เพื่อให้ข้าราชการประจําสามารถดําเนินงานด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น ฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารราชการจึงมีความสัมพันธ์ในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน โดยบางครั้งมีการแทรกแซงบทบาทหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะในทางปฏิบัติเราไม่สามารถแบ่งบทบาท ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจําได้อย่างเด็ดขาด แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องมีความสมดุลกัน การปฏิบัติงานจึงจะเกิดเสถียรภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้

ฝ่ายการเมืองมี หน้าที่ในการออกกฎหมาย กำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ
- ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่นำเอานโยบายออกไป ปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
- ข้าราชการ ต้องมีความเป็นอิสระ ปลอดจากอิทธิพลในทางการเมืองตั้งใจทำงานด้วยความสุจริต เท่ียงธรรมโปร่งใสโดยยึดหลักการบริหารที่ดีเป็น แนวทางในการทํางาน
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัสนักศึกษา 63423471054 รุ่น46
Assignment ที่1.อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ คือ ศาสตร์หรือสาขาวิชาหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ
การบริหารรัฐกิจ คือ กิจกรรมบริการสาธารณะ หรือกระบวนการบริหารราชการองค์การภาครัฐ

พัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์ยุคเริ่มต้นถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความรู้ว่าด้วยการบริหารรัฐกิจก่อนการก่อตั้งรัฐประศาสนศาสตร์ เป็น สาขาย่อยของรัฐศาสตร์ มองว่าการเมืองกับการบริหารต้องแยกออก จากกัน
พัฒนาการรัฐประศาสตร์ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2- 1970 โดยรัฐ ประศาสนศาสตร์ สนใจเรื่องพฤติกรรมศาสตร์ การเมืองและค่านิยมการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ศาสตร์ การบริหารและทฤษฎีองค์การ
พัฒนาการรัฐประศาสตร์ยุคคริสต์ศักราช 1970 -1990 สนใจรัฐ ประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ สนใจวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เศรษฐกิจการเมือง ทฤษฎีองค์การที่อาศัยหลักมนุษย์นิยม
พัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์ยุคคริสต์ศักราช 1990 ถึง ปัจจุบัน เทคโนโลยีวิทยาการทันสมัยมากขึ้น มีการค้าเสรี โลกาภิวัตน์ เน้น เครือข่ายผู้ประกอบการรายย่อย เป็นแนวคิดระดับโลกซึ่งส่งผลกระทบ ต่อระดับท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคหรือผู้รับบริการสำคัญที่สุด จึงเกิดการปฏิรูประบบราชการ (Reinventing Government)
ระบบราชการ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 แบบ
1. Bureaucracy ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (social institute) สถาบันหนึ่ง นั่นคือ เป็นสถาบันการบริหาร
การปกครองของรัฐ ถือเป็นสถาบันหนึ่งของกระบวนการในการปกครองประเทศ เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ ต้อง
ปกป้อง ดูแล รักษาผลประโยชน์บ้านเมือง อีกแห่งหนึ่ง ต้องการอิสระในการทำงาน เป็นสถาบันที่มั่นคง ยากต่อ
การเปลี่ยนแปลง แก้ไข
2. Bureaucracy ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) เป็นระบบการบริหาร
หรือระบบการทำงานระบบหนึ่ง มีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า “Weberian Bureaucracy” เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไข
เปลี่ยนแปลงให้ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆ

ทฤษฎีระบบราชการระบบราชการ
ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญ 7 ประการ
1. หลักลำดับขั้น (hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5.หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความช านาญเฉพาะด้าน
(differentiation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)

ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
แนวคิดและทฤษฎี Frederick Winslow Taylor (1856) ได้ชื่อว่าเป็นบิดา
แห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Principle of Scientific Management)
โดยสิ่งสำคัญที่สุด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการคิดค้นการทำงานตามหลัก การสร้าง
หลักการบริหารต้องทำอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยเทคนิคหรือวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คือ กฎระเบียบ
วิธีการในทำงาน มาตรฐานการทำงานที่องค์การจะนำมาใช้ต้องผ่านการศึกษาวิเคราะห์เชิงประจักษ์เสียก่อน
โดยมีการสังเกต จับเวลา จดบันทึกวิเคราะห์วิจัยมาแล้วอย่างดีว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว สามารถนำมาใช้ใน
การทำงานนั้นๆ ได้อย่างดี
ซึ่งแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาจากจัดการโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดย
เปรียบเทียบคนงานแต่ละคนเสมือนเครื่องจักร ที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต และมีประสิทธิภาพของการ
ทำงานสูงสุด โดยมีหลักการสำคัญ คือการสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and
Motion Study ศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว

ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วย 3 หลักการ
1.การแบ่งงาน (Division of Labors)
2.การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierachy)
3.การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment) แนวทางที่ดีที่สุดคือ
ประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับ
เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection) การคัดเลือกคนจะต้องมีการนำเอากฎเกณฑ์ทาง
วิทยาศาสตร์มาช่วยในการคัดเลือก เพื่อให้ได้คนงานที่มี ทักษะ ความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม
กับตำแหน่งงาน
ฝึกอบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training) จะต้องมีการพัฒนาคนงานโดยการสอนวิธีการทำงานให้
ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะขจัดวิธีการทำงานตามหลักความเคยชินให้หมดไป
หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation) ต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้
เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายบริหารกับคนงาน อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัสนักศึกษา 63423471054 รุ่น46
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง

นโยบายสาธารณะ (อังกฤษ: public policy) หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง
การบริหาร คือ กลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความ สัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (Man) เงิน (Money) วัตถุดิบ (Material) เครื่องจักร (Machine)

ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การจะมีลักษณะต่างๆ หลายประการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงและทีมที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น การพัฒนาจะมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมขององค์การ (Organization Cultural), ค่านิยม (Value) และทัศนคติของบุคคลภายในองค์การ โดยการพัฒนาจะต้องกระทำเป็นระบบ เช่น ระบบโครงสร้างใหม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง มีการสอดแทรกข้อคิด (Intervention) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาจะต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงสุดและ คณะกรรมการบริหารจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อวัดประสิทธิภาพที่ได้จากการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องใช้เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคล และมุ่งขจัดความขัดแย้งในองค์การ
การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ
ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ
ความจำเป็นในการพัฒนาองค์การ
การบริหารงานเพื่อการปรับเปลี่ยนองค์การจะต้องคำนึงถึงความเป็นจริง โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของคน การบริหารงานระบบนี้ จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคน เพราะสายการบังคับบัญชากำหนดไว้แน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใคร การแบ่งงานจะแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุ เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับความสามารถ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเพื่องานของตนมากกว่าเพื่องานส่วนรวม

การพัฒนาองค์การมิได้หมายถึงการพัฒนาแต่เฉพาะองค์การที่มีปัญหาเท่านั้น หากแต่องค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วก็ควรได้รับพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนมีความเจริญและมีการพัฒนาที่ดีแล้วจึงหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้

1.กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
4.ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
นายกฤตเมธ เชิดชู รหัสนักศึกษา 63423471054 รุ่น46
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง

การเมืองและการบริหาร (Politics & Administration)
ในการปกครองบริหารประเทศต้องอาศัยบุคลากร 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายการเมือง / ข้าราชการการเมือง
2. ฝ่ายบริหารงานประจำ / ข้าราชการประจํา
นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน หรือได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจทางการเมืองให้ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจการทางด้านการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ส.ส. สว. เลขานุการ รมต. ผู้ช่วยเลขานุการ รมต. โฆษกรัฐบาล เลขาธิการนายก รมต.ที่ปรีกษาต่าง ๆ

การเมือง การบริหาร และ การกำหนดนโยบายสาธารณะ : แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและการ บริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน ในสังคมตะวันตก
ในการนา เสนอแนวคิดที่ว่า ดว้ยการบริหารกบัการเมืองและฝ่ายการเมืองกบัฝ่ายราชการประจา ต่างมีความสัมพนัธ์กนัอย่างใกล้ชิดและไม่สามารถแยกออกจากกนัได้ (no politics - administration dichotomy) แนวคิดนี้อยู่บนฐานคติที่ว่าการบริหารมิใช่เรื่องของกิจกรรมทางเทคนิคและปลอดจาก ค่านิยมซึ่งแยกต่างหากจากการเมืองแต่ฝ่ายบริหารได้เข้าไปเกี่ยวข้องกบัการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดนโยบายสาธารณะตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งการบริหารก็คือการเมืองนั่นเอง ทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นจากฐานคติการเมืองการบริหารไม่อาจแยกกันได้มีหลายแนวคิด

ความสัมพันธ์ของระบบการเมือง ระบบการบริหาร และนโยบายสาธารณะ
การเมือง การบริหาร และนโยบายสาธารณะ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการบริหารและการเมือง ระบบการเมืองจะเป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมระบบบริหารแต่ในทางปฏิบัติอาจไม่ชัดเจน บางช่วงเวลาการเมืองต้องอาศัยนักบริหารซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านระบบการเมือง (political system)ในปัจจุบัน นักวิชาการ ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ทฤษฎีระบบมาอธิบายการเมือง David Easton ได้นำเสนอการวิเคราะห์ของระบบการเมือง
ระบบการบริหาร (public administration)
Harold Koontz ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารคือ การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่
กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัตถุสิ่งของเป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้นคำนิยามนี้ใช้ในทางปฏิบัติจริงๆ ซึ่งเน้นไปที่การจัดการ (management)จากคำนิยามดังกล่าวที่นำเสนอมาข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า การบริหารมุ่งถึงการนำเอานโยบายไปปฏิบัติเป็นหลัก ดังนั้น ข้อเขียนของนักรัฐประศาสนศาสตร์ในช่วงแรก ของการขยายตัวจึงพยายามเน้นให้แยกบทบาทระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติจะมุ่งไปที่การกำหนดนโยบาย ในขณะที่ฝ่ายบริหารจะมุ่งไปที่การนำนโยบายไปแปลงเป็นแผน แผนงาน โครงการ และนำแผนไปสู่ปฏิบัติสิ่งที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน คือ ฝ่ายบริหาร ทั้งระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา หรือระบบของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารของอังกฤษมีสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือ การมีระบบราชการ (civil service) เป็นแกนหลักในการนำเอากฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งไปปฏิบัติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าฝ่ายบริหารมีบทบาทที่ทำให้การนำเอานโยบายไปปฏิบัติมีความเข้มแข็งและมีความเป็นไปได้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระบบการเมือง ระบบการบริหาร และ นโยบายสาธารณะ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการศึกษากระบวนการกำหนดนโยบาย หรือการนำเอานโยบายไปปฏิบัติเพราะหากมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ของเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้การศึกษานโยบายสาธารณะเกิดความเข้าใจที่ดีมากขึ้น
ความสัมพันธ์ในประเทศที่ระบอบการเมืองได้มีการพัฒนาไปมากแล้วดัง เช่น หลายประเทศทางทวีปยุโรป หรือหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยมีเหตุผลสนับสนุนการมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างไปจากยุคแรกเริ่ม ใน ช่วงปี ค.ศ.1887 คือ
1. ประเทศที่ระบบการเมืองพัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ สวีเดน นั้น ระบบการเมืองพัฒนาไปมากจนถึงจุดที่พลเมืองทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองโดยถ้วนหน้ากันมีโอกาสรวมกลุ่มทางการเมืองเพื่อเรียกร้องความต้องการต่างๆ หรือไม่ก็แสดงออกถึงการสนับสนุนนโยบายบางอย่างที่ออกมาบังคับใช้ การที่ระบบการเมืองเป็นระบบที่เปิดกว้างย่อมทำให้การกำหนดนโยบายรวมถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ หรือการประเมินผลสำเร็จของนโยบายเปิดกว้างให้บุคคลอื่นที่มิใช่ข้าราชการเข้ามาร่วมในกระบวนการนโยบายด้วย
2. ประเทศที่กำลังพัฒนาทางการเมือง กล่าวคือ ระบอบการเมืองยังคงอยู่ในวงจรของการมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง สลับกับการโค่นล้มรัฐบาลโดยส่วนมากเป็นการกระทำของกลุ่มทหารมักพบว่ามีการก้าวก่ายแทรกแซงในกิจกรรมของกระบวนการนโยบาย โดยบางครั้งฝ่ายการเมืองเข้ามาก้าวก่ายการทำงานของข้าราชการประจำ ซึ่งส่วนมากจะเข้ามาในช่วงการนำนโยบายไปปฏิบัติ การแทรกแซงดังกล่าว นักวิชาการบางคนมองว่าเป็นบทบาทที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ให้ความเกื้อกูลกันในการกำหนดนโยบาย
ข้อ1
ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์คือการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์ทฤษฎีองค์การทฤษฎีสังคมทฤษฎีการเมืองและการศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งเน้นไปที่ความหมายโครงสร้างและหน้าที่ของการบริการสาธารณะในทุกรูปแบบ มักจะเล่าถึงรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการศึกษาระบบราชการตลอดจนประเด็นทางญาณวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะในฐานะวิชาชีพและในด้านวิชาการ
โดยทั่วไปมีแนวทางที่แตกต่างกันสามวิธีในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ ได้แก่ ทฤษฎีการบริหารรัฐกิจแบบคลาสสิกทฤษฎีการจัดการสาธารณะแนวใหม่และทฤษฎีการบริหารรัฐกิจหลังสมัยใหม่ซึ่งนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ดูแลระบบปฏิบัติในการบริหารราชการ
นักทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเช่น Max Weber แสดงความสำคัญของค่านิยมในการพัฒนาทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ อย่างไรก็ตามทฤษฎีไม่สามารถได้มาจากการสังเกตข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เท่านั้น แต่จะต้องสร้างขึ้นโดยใช้การตัดสินคุณค่าที่ชี้นำการสังเกตเชิงประจักษ์ของเราแล้วชี้นำการตีความข้อสังเกตเหล่านั้น ค่านิยมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์เนื่องจากคำนึงถึงหลักจริยธรรมและปรัชญาที่มีความหมายของวัฒนธรรมซึ่งทำให้มั่นใจได้ถึงการปฏิบัติตามทฤษฎีที่เหมาะสม ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ถูกนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือพิจารณาผ่านกลยุทธ์ที่แตกต่างกันสองสามประการ: แบบคู่ขนานการถ่ายโอนหรือการทำงานร่วมกันหรือที่เรียกว่าการปฏิบัติตามทฤษฎีช่องว่าง แนวปฏิบัตินี้ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติและนักวิชาการ
บิดาผู้ก่อตั้งของการบริหารภาครัฐหลังสมัยใหม่มักจะเรียกว่าวูดโรว์วิลสันในขณะที่หลายสามารถค้นหารากเหง้าของตัวเองของแรงบันดาลใจจากผลงานของฟรีดริชนิท การใช้วูดโรว์วิลสันเป็นจุดอ้างอิงสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าในเรียงความของเขา The Study of Administration มี“ เป็นที่ยอมรับกันตามเนื้อผ้าว่าจากการศึกษาของเขา Wilson ใช้หลักการเชิงบวกกับการบริหารภาครัฐ…โดยอาศัยความเชื่อที่ว่าความเป็นจริงทางสังคมจะเป็นที่รู้จักอย่างเป็นกลาง ด้วยการแยกค่านิยมเชิงบวกแบบดั้งเดิมออกจากข้อเท็จจริง” (ร่องรอยของลัทธิหลังสมัยใหม่ในกระบวนทัศน์การจัดการสาธารณะใหม่, Kerim Ozcan-Veysel Agca
2. พัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์และความเป็นสหวิทยาการ
ตอบ ข้อ2
รัฐประศาสนศาสตร์ : พัฒนาการและแนวโน้มทางการศึกษาการบริหารงานภาครัฐในอนาคต Public Administration: the historical development and trend of studies in public administration
พัฒนาการและความเป็นมาของการศึกษารัฐประศานศาสตร์
หากพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์จะพบว่าการบริหารงานภาครัฐหรือการบริหารรัฐกิจ มี ประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานควบคู่ไปกับการพัฒนาอารยธรรมของโลก โดยมีระบบการปกครองและระบบการ บริหารดาเนินไปอย่างเป็นพลวัต จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักร ต่าง ๆ ในอดีต เช่น อารยธรรมอียิปต์ในการสร้างพีระมิดท่ีต้องอาศัยทรัพยากรและกาลังคนจานวนมาก สะท้อนให้ เห็นถึงความหลักแหลมในการบริหารของผู้ปกครอง หรืออารยธรรมจีนในช่วงของราชวงศ์ฮั่นระบบการบริหารก็ได้ เกิดข้ึน ในการคัดเลือกคนเข้ารับราชการโดยประยุกต์หลักคาสอนจากลัทธิขงจือมาดำเนินการคัดสรรคน ส่วนทางอารยธรรมยุโรประบบการบริหารได้ถูกพัฒนากฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อควบคุมระเบียบวิธีการในการดาเนิน กิจการของภาครัฐ อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ที่ใช้ในการบริหารในแต่ละอารยธรรมตามตามที่ได้กล่าวมานั้น ยังคง ไม่ได้ถูกพัฒนาเป็นศาสตร์ (science) เฉกเช่นในปัจจุบัน (จุมพล หนิมพานิช: 2562: 23-24)
จนกระทั่งมาถึงในช่วงยุคการล่าอาณานิคมปี ค.ศ. 1776 ความสนใจในการศึกษาการบริหารงานภาครัฐ ได้รับความสนใจมากข้ึน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของอังกฤษ เนื่องจากการ บริหารอาณานิคมประสบปัญหารูปแบบการบริหารท่ีใช้ในอังกฤษน้ัน ไม่สามารถนามาใช้ได้ในการบริหาร สหรัฐอเมริกา เมืองภายหลังที่ได้มีการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษแล้ว สหรัฐอเมริกาจึงต้องวางรากฐาน การบริหารให้สอดคล้องกับบริบทประเทศของตนเอง จนมาในช่วงปี ค.ศ. 1787 การโต้เถียงทางวิชาการใน ประเด็นการบริหารงานของภาครัฐได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเป็นการถกเถียงทางความคิดระหว่างการมุ่ง ประสิทธิภาพการทางานกับการตอบสนองความต้องการของประชาชน จุดเร่ิมต้นของการศึกษารัฐประศาสน ศาสตร์(Public Administration)จึงถือกาเนิดขึ้นอย่างจริงจังเพ่ือค้นหาหลักการบริหารสาหรับรัฐบาลใน ขณะนั้นและถูกพัฒนาต่อมาตามบริบทของยุคสมัย ในขณะท่ีทางฝั่งยุโรปมีมุมมองว่าการบริหารงานของภาครัฐน้ัน เกิดจากการนาองค์ความรู้จากหลายศาสตร์ท่ีแตกต่างกันมาประยุกต์ใช้กับการบริหาร จึงนับได้ว่าการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์มีจุดเร่ิมต้นจากการศึกษาการบริหารงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกา (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2553: 26-27)
ดังน้ัน แนวทางการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ในยุคนี้น้ีจึงแบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือ การกาหนดวิธี ปฏิบัติทางนโยบายสาธารณะ และศาสตร์ของการบริหารที่บริสุทธ์ิ ซึ่งแนวทางแรกในการศึกษานโยบายสาธารณะ นั้น ส่งผลให้สถานภาพองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ถูกผนวกเข้ารัฐศาสตร์ ในลักษณะที่องค์ความรู้ในเรื่อง นโยบายสาธารณะน้ันมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ รัฐศาสตร์ให้ความสนใจไปในด้านแรงกดดันทางการเมืองและ สังคมนาไปสู่การกาหนดนโยบายสาธารณะ ในขณะท่ีรัฐประศาสนศาสตร์การกาหนดนโยบาย การส่งมอบนโยบาย และการนานโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติในรูปของการบริหารโครงการสาธารณะ สาหรับแนวทางท่ีสองการ พัฒนาศาสตร์การบริหารให้บริสุทธิ์นั้น ทาให้สถานภาพองค์ความรู้ของรัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเป็นศาสตร์ ของการจัดการ ซึ่งเป็นองค์ความรู้หลักของการศึกษาการบริหารธุรกิจท่ีเน้นการศึกษาเชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) แม้ว่าแนวทางนี้จะได้รับการยอมรับจากนักรัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่ทฤษฎีองค์การเป็น หน่ึงในองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ แต่ยังคงมีข้อถกเถียงต่อการพิจารณาการศึกษาในมุมมองขององค์การ ภาครัฐและภาคเอกชน (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2553: 40-41) เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าค่านิยมองค์การของภาครัฐ และภาคเอกชนมีความแตกต่างกัน โดยที่องค์การภาครัฐมุ่งให้ความสาคัญกับผลประโยชน์สาธารณะ ในขณะที่
ภาคเอกชนให้ความสาคัญกับผลกาไรซ่ึงเป็นเปูาหมายสาคัญของการดาเนินธุรกิจ ดังนั้น การนาหลักการจัดการมา ประยุกต์ใช้ในการจัดการองค์การภาครัฐและภาคเอกชน จึงสามารถนามาใช้ได้ในบางประเด็นท่ีมีความคล้ายคลึง กันเท่านั้น
3.การบริหารภาครัฐกับการเมือง
ตอบ ข้อ3
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
ความหมายของการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยนาหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการท่ีมุ่งสู่ ความเป็นเลิศ โดยการนาเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคานึงถึงหลักความคุ้มค่า การ จัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ ความสาคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดท้ังการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ ประชาชนโดยคานึงถึงคุณภาพเป็นสาคัญ
เหตุผลที่ต้องนาแนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่มาใช้
1.กระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมท้ังภายในและภายนอกประเทศเปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงมี ความจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องเพิ่มศักยภาพและความยืดหยุ่นในการ ปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป
2.ระบบราชการไทยมีปัญหาที่สาคัญคือ ความเสื่อมถอยของระบบราชการ และขาดธรรมาภิบาล ถ้าภาครัฐไม่ ปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริหารจัดการของภาครัฐเพ่ือไปสู่องค์กรสมัยใหม่ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ก็จะ ส่งผลบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน อนาคตด้วย
ดังนั้นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่( New Public Management) จึงเป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหาร จัดการภาครัฐซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ของภาครัฐและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม มีแนวทางในการบริหารจัดการดังนี้
1.การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
2.ลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพิ่มอิสระในการบริหารให้แก่หน่วยงาน
3.การกาหนด การวัด และการให้รางวัลแก่ผลการดาเนินงานทั้งในระดับองค์กร และระดับบุคคล
4.การสร้างระบบสนับสนุนท้ังในด้านบุคลากร (เช่น การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) เทคโนโลยี เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถทางานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์
5.การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องของการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และระหว่าง หน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าส่ิงใดควรทาเอง และสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนทำ
4. การบริหารงานภาครัฐกับนโยบายสาธารณะ
ตอบ ข้อ4
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทําให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทําให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทําให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสําคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนําไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ อย่างเหมาะสม
เมื่อบริบทเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสปฏิรูป หรือการปกครอง หรือระบบอภิบาลที่เป็น ประชาธิปไตย (Democratic Governance) ทําให้หน่วยงานภาครัฐอันเป็นหน่วยปฏิบัติตามโยบาย จะต้อง ปรับตัวโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ที่แท้จริงแล้วก็คือ ไม่ว่าจําดําเนินการเรื่องใดก็ตาม การบริหารภาครัฐจําเป็นต้องพัฒนาเพื่อยกระดับการ บริหารภาครัฐให้ตอบสนองต่อสาธารณกิจและประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนา ใน 2 ส่วนคือ แนวทางการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการ พัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจภาครัฐ โดยมีรายละเอียดดังนี้
แนวทางที่ทําให้องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสําคัญสู่ความสําเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสําคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสํานึก รวมถึง ทัศนคติในการทํางานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสําคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่และภารกิจสําคัญของระบบราชการทั้งในส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อําเภอ) และส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต. เป็นต้น) ในฐานะผู้ปฏิบัติตามโยบายของรัฐบาลจะ ต้องดําเนินการเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมาได้กําหนดให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีแถลง นโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 75-79 สรุปความ ได้ว่า รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยชี้แจงให้ ชัดเจนว่ารัฐบาลจะดําเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐและต้องจัดทํารายงานแสดงผลการดําเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละ หนึ่งครั้ง เป็นต้น
นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignmentที่1.
ความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่างๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยในทัศนะของ Chandlerเห็นว่าควรประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษาในขณะที่McCurdyเห็นว่า จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย4สำนักด้วยกัน คือ
1.สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2.สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3.สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4.สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเองหรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่นๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่างๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่นๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่างๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวางแล้ว สิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการผลิตนักรัฐประศาสนศาสตร์ก็คือ การสร้างจริยธรรม อุดมการณ์ และพฤติกรรม ที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อๆไป
การศึกษาที่มีความหลากหลายและเกิดเป็นพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์จนเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมทั่วไป ทำให้มีนักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ทำการศึกษาพัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีการจำแนกลำดับการพัฒนาของสาขาวิชานี้อย่างกว้างขวางและมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับว่านักวิชาการใดจะให้ความสำคัญในมิติใด ตัวอย่างเช่น พิทยา บวรวัฒนา ได้เสนอว่า พัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์
นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignmentที่1.(ต่อ)ดังนั้นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของรัฐประศาสนศาสตร์การบริหารและเอกชนแนวโน้มของโลกาภิวัตน์จึงเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการจัดการภาคสาธารณะอย่างเลี่ยงไม่ได้เรื่องการบริหารสาธารณะที่ได้รับการนำเสนออย่างเป็นศาสตร์แพร่กระจายไปทั่ว ประการสำคัญผลกระทบของเทคโนโลยีเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขอบเขตของแต่ละประเทศบางขวางเกือบจะไล่ผมแดนฉะนั้นรูปของเศรษฐกิจและบทบาทของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญต่อการได้ ชัยชนะเหนือคู่แข่ง นอกจากนี้รัฐบาลยังคงเป็นผู้จัดการผลประโยชน์ที่มีผลกระทบเช่น นโยบายการศึกษา ภาษีอากร การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม งบประมาณและการคลัง และรวมถึงไม่โยบายควบคุมการดำเนินงานทางธุรกิจอื่นๆทำให้หน่วยงานตัวแทนรัฐมีความสามารถในการเข้าถึงการแข่งขันในด้านผลประโยชน์ของชาติ โดยอ้างวิธีการศึกษาวิจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วยวิธีการดั้งเดิมแล้วนำเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเพื่อออกร่างกฎหมายรองรับการปฎิบัติซึ่งจะเชื่อมโยงถึงคุณภาพของการบริการสาธารณะและการดำเนินการด้านเศรษฐกิจทั้งนี้เนื่องจากการสุขภาพอนามัยการศึกษาและการได้รับการฝึกฝนอบรมของประชาชน ประสิทธิภาพในการบริหารและการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลและการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาวิสาหกิจขนาดเล็กๆ
กล่าวโดยสรุปเห็นผลในการเปลี่ยนแปลงของการบริหารสาธารณะแบบดั้งเดิมไปสู่การจัดการสาธารณะใหม่เกิดจากความเป็นจริงที่ว่า การจัดการตอบสนองต่อหน้าที่ในการบริการสาธารณะได้มากกว่าการบริหาร เกิดการโจมตีแนวคิดความคิดทางการบริหารขนาดและขอบเขตของรัฐบาลตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคเอกชนซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันอย่างไรก็ตามเหตุผลหลักของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือความล้มเหลวของตัวแบบดั้งเดิมของระบบราชการที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อภาคสาธารณะในปัจจุบัน นำไปสู่การตั้งคำถามในเรื่องบทบาทและจุดยืนในสังคมก็ตาม แต่แนวคิดความคิดใหม่ของการบริหานในรูปแบบการจัดการภาคสาธารณะซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้เศรษฐศาสตร์และการจัดการภาคเอกชนมาประยุกต์เพื่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานและการปฎิบัติงานสาธารณะทำให้ตัวแบบดั้งเดิมของการบริหารต้องถูกแทนที่
นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignmentที่2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ อย่างเหมาะสม
แนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จะต้องพัฒนา บุคลากรตามแนวทางของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติตามบริบทและยุทธศาสตร์ (Strategies) ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภารกิจงานใหม่ที่ท้าทายศักยภาพของบุคลากรภาครัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นโยบายของรัฐบาลกับระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งนโยบายของ รัฐบาล ก็คือ นโยบายสาธารณะที่มีผลผูกพันและผลกระทบไปสู่สาธารณะหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายของ รัฐบาลมีการดำเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพราะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีการรับรู้และมีความรู้มากขึ้น จึงสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย (Patmasiriwat, 2015) ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดนโยบายอย่างในอดีตที่ผ่านมาที่ผู้กำหนดนโยบายคือ ภาครัฐหรือรัฐบาลจะกำหนดมาโดยอาศัยการตัดสินใจของชนชั้นนำ (Elite) หรือคณะรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้ ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการกำหนดนโยบายด้วย เมื่อบริบทเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสปฏิรูป หรือการปกครอง หรือระบบอภิบาลที่เป็น ประชาธิปไตย (Democratic Governance) ทำให้หน่วยงานภาครัฐอันเป็นหน่วยปฏิบัติตามโยบาย จะต้อง ปรับตัวโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ที่แท้จริงแล้วก็คือ ไม่ว่าจำดำเนินการเรื่องใดก็ตาม การบริหารภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อยกระดับการ บริหารภาครัฐให้ตอบสนองต่อสาธารณกิจและประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนา ใน 2 ส่วนคือ แนวทางการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการ พัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจภาครัฐ โดยมีรายละเอียดดังนี้
แนวทางที่ทำให้องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสำนึก รวมถึง ทัศนคติในการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสำคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่และภารกิจสำคัญของระบบราชการทั้งในส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) และส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต. เป็นต้น)
นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignmentที่2.  (ต่อ)ในฐานะผู้ปฏิบัติตามโยบายของรัฐบาลจะ ต้องดำเนินการเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมาได้กำหนดให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีแถลง นโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 75-79 สรุปความ ได้ว่า รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยชี้แจงให้ ชัดเจนว่ารัฐบาลจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละ หนึ่งครั้ง เป็นต้น ตามบทบัญญัติข้างต้น คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้ สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเมื่อ แถลงต่อรัฐสภาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะดำเนินการตามนโยบายและแผนที่แถลงฯไว้ได้ด้วยเหตุนี้ระบบการ บริหารงานภาครัฐหรือระบบราชการจึงมีความใกล้ชิดกับนโยบายของรัฐบาลเพราะจะต้องเป็นกลไกหรือ เครื่องมือของรัฐบาล เพื่อให้นโยบายและแผนต่างๆบรรลุเป้าหมายเป็นรูปธรรม ในที่นี้จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติจากนั้นจะกล่าวถึงบริบทของ การนำนโยบายไปปฏิบัติภายใต้กระแสการปฏิรูประบบการบริหารภาครัฐในปัจจุบันและสุดท้ายจะสะท้อนให้ เห็นว่าการบริหารภาครัฐจะต้องมีแนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทของนโยบาย รัฐบาลได้อย่างไร
กระแสการบริหารแบบระบบธรรมาภิบาล (Public Governance) ซึ่งถือว่าเป็นการต่อยอดแนว ความคิดมาจากกระแสการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ที่มีอิทธิพลมาตั้งแต่ช่วง ศตวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ระบบธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่สำคัญมีมิติที่หลากหลาย ต้องอาศัยองคาพยพ หลายอย่างในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบธรรมาภิ บาลให้เดินหน้าไปได้ซึ่งไม่พ้นที่ภาครัฐจะต้องเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน ดังนั้น การบริหารภาครัฐให้สอดรับ กับระบบธรรมาภิบาลจึงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยต้องเน้นพัฒนาคนให้สอดคล้องกับหลักการสำคัญของ ระบบธรรมาภิบาล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก ให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม (Rule Of Law) การบริหารงานภาครัฐต้องบริหาร งานโดยยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญ ซึ่งหลักนิติธรรมนี้จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทสภาพแวดล้อม ของสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงวิถีชีวิตของคน กลุ่มคน องค์การที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยและต้องใช้บังคับให้ เสมอภาคกันด้วยหลักคุณธรรม (Merit System) ประการที่สอง ให้ความสำคัญกับความเสมอภาค (Equity) ประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการ บริการสาธารณะที่เสมอภาคกัน เท่าเทียมกันรวมถึงการเข้าถึงบริการสาธารณะนั้นๆอย่างทั่วถึงอีกด้วย ประการที่สาม ให้ความสำคัญกับความโปร่งใส (Transparency) ภาครัฐดำเนินการใดจะต้องมี กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถอธิบายอย่างมีเหตุผล มีผลได้รวมถึงการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริงด้วย ประการที่สี่ ให้ความสำคัญกับการพร้อมรับการตรวจสอบ (Accountability) สอดคล้องกับความ โปร่งใสมักต้องไปควบคู่กัน คือโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ประการที่ห้า ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency And Effectiveness) ในการบริหารงานคำสองคำนี้ต้องมีควบคู่กัน กล่าวคือ ประสิทธิภาพเน้นผลผลิต ประหยัด ส่วนประสิทธิผล เน้นเรื่องของการบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานหรือตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ประการที่หก ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (Participation) ภาครัฐต้องเปิดใจให้กว้างพร้อมที่ จะให้ทุกฝ่ายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เข้าร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิด ขึ้นและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ประการสุดท้าย ให้ความสำคัญกับมิติมหาชน (Consensus) คือการเห็นพ้องต้องกัน ความเห็น ของคนส่วนใหญ่แต่คนละความหมายกับพวกมากลากไป หมายถึงว่าทุกคนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมและ ตัดสินใจภายใต้ข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้จะถือเสียง ส่วนใหญ่เป็นข้อยุติแต่จะต้องไม่เพิกเฉยหรือละเลยต่อเสียงส่วนน้อย (Majority Rule, Minority Rights)หลักการและความสำคัญของระบบธรรมาภิบาลข้างต้น หากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการ
บริหารภาครัฐ จะก่อให้เกิดระบบคุณธรรม (Merit System) ซึ่งเป็นระบบที่พึงปรารถนาในการบริหารที่ดี เพราะระบบธรรมาภิบาลตามหลักการนี้มีธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบด้วย
นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignmentที่2 (ต่อ)ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การเลิกปฏิบัติภายใต้ ระบบอุปถัมภ์จะเกิดขึ้นได้น้อยหรือยากกว่าในอดีตที่ผ่านมา การบริหารภาครัฐหรือระบบการบริหารงานที่ สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนโดยเสมอภาค เท่าเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้บริการ สาธารณะที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งมีความยุติธรรมอันนำไปสู่การบริหารราชการที่ดี(Good Government) ใน ที่สุด ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกและเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของรัฐมากขึ้น เพราะแท้จริง แล้วประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารงานภาครัฐอย่างแท้จริงนโยบายรัฐบาลที่มีสัญญาประชาคมไว้กับประชาชนตอนหาเสียงเลือกตั้งและแถลงไว้ต่อรัฐสภา จะ สำเร็จเป็นรูปธรรมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกลไกการบริหารงานของภาครัฐ อันมีระบบราชการเป็นเสาหลักสำคัญ จะนำนโยบายนั้นสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล ความสำเร็จหรือความล้มเหลมของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทั้งทาง ตรงและทางอ้อมต่อผู้ตัดสินใจนโยบาย ในกรณีที่การนำนโยบายไปปฏิบัติประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ของนโยบาย จะส่งผลให้ผู้ตัดสินใจนโยบายได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชน เพราะได้กรทำการตัดสิน ใจเลือกนโยบายที่ถูกต้องและเลือกหน่วยปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออนาคตทางการเมืองของ ผู้ตัดสินใจนโยบาย ในทางตรงกันข้ามถ้าหากการนำนโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว จะส่งผลให้ ผู้ตัดสินใจนโยบายถูกตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบจากประชาชน ทั้งต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายที่ไม่ เหมาะสมและความบกพร่องในการควบคุมและกำกับหน่วยปฏิบัติหรือการมอบหมายให้หน่วยปฏิบัติที่ไม่ เหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทั้งทาง ตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่นำนโยบายไปปฏิบัติประสบความสำเร็จตาม เป้าประสงค์จะทำให้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้รับการแก้ไขด้วยดีกลุ่มเป้าหมายได้รับความพึงพอใจ ถ้านำ ไปปฏิบัติไม่ได้กลุ่มเป้าหมายอาจเรียกร้องด้วยวิธีต่างๆ ทำให้การิหารงานของรัฐบาลมีความยุ่งยากมากขึ้น ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทั้งทาง ตรงและทางอ้อมต่อหน่วยปฏิบัติในกรณีที่การนำนโยบายไปปฏิบัติประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ หน่วยปฏิบัติจะได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจทั้งจากผู้กำหนดนโยบายและกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นหน่วย ปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร เนื่องจากทุกประเทศมีทรัพยากรที่จำกัด ดังนั้น การนำนโยบายไปปฏิบัติจะต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสามารถแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายหรือสังคม อย่างได้ผล ไม่เกิดภาวการณ์สูญเปล่า หรือต้องกลับมาแก้ไขใหม่ ทรัพยากรในทีนี้หมายความรวมทั้งบุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์และเวลาที่ต้องใช้ไปทั้งหมด ความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ การนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสำคัญต่อการ ก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากการนำนโยบายไปปฏิบัติตามแผนงานและโครงการ พัฒนาต่างๆ ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุเป้าหมาย เพื่อความก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดีและมีความสุข ความสำคัญต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะในกระบวนการวิเคราะห์นโยบาย นั้น การนำนโยบายไปปฏิบัติเข้าไปมีบทบาทตั้งแต่กระบวนการกำหนดทางเลือกนโยบาย กล่าวคือ นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องคำนึงถึงการพิจารณาทางเลือกนโยบายที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกทางเลือกที่นำมาวิเคราะห์จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า และในการจัดทำนโยบายก็จะต้อง คำนึงถึงการกำหนดแนวทางการนำไปปฏิบัติที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและสามารถนำไปปฏิบัติให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ดังนั้น การนำนโยบายไปปฏิบัติจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อ กระบวนการนโยบายว่านโยบายนั้นจะมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignmentที่2 (ต่อ) จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติมีส่วนสำคัญต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เป็นอย่างมาก ซึ่งต้องอาศัยกลไกของระบบราชการเป็นตัวขับเคลื่อนให้ตัวนโยบายนั้นไปสู่การปฏิบัติได้โดย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะต้องพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจและเห็นถึงความ สำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละ ประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับ รัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายรวมไปถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ ถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง

นายเอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ในการปกครองบริหารประเทศต้องอาศัยบุคลากรสองฝ่ายคือ
1 ฝ่ายการเมือง/ ข้าราชการการเมือง
นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนหรือได้รับการเลือกตั้งจากผู้มีอำนาจทางการเมืองได้ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจการทางด้านการเมืองเช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. เลขานุการ รมต. ผู้ช่วยเลขานุการ รมต. โฆษกรัฐบาลเลขาธิการนายกฯ หรือ ที่ปรึกษาต่างๆ ฯลฯ
บทบาทอำนาจหน้าที่ของข้าราชการฝ่ายการเมือง
กำหนดทิศทางในการบริหารและพัฒนาประเทศ ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดอย่างไร เช่นต้องพัฒนาประเทศให้เป็น ศูนย์กลางอาหาร ศูนย์กลางการเกษตรของโลก ศูนย์กลางงานการบิน บทบาทหลักของฝ่ายการเงินคือการออกกฏหมายและกำหนดนโยบายที่จะนำมาใช้เพื่อเป็นกรอบทิศทางของการบริหารประเทศ
2 ฝ่ายบริหารงานประจำ/ข้าราชการประจำ
บุคคล ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามกฏหมายและระบบคุณธรรม พ.ร.บ. ระเบียบราชการพลเมือง ทหาร ตำรวจ ตุลาการ ฯลฯ และได้รับเงิน เดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้แก่ข้าราชการประจำตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ลงมาและเป็นผู้ที่เป็นพนักงานในองค์การของรัฐประเภทอื่นเช่น รัฐวิสาหกิจ
บทบาทอำนาจหน้าที่หลักคือเป็นผู้ที่รับนโยบายที่ฝ่ายการเมืองกำหนดไว้มามอบหมายให้ออกไปปฏิบัติจัดทำให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์อย่างสูงสุด ฝ่ายบริหารงานประจำ ต้องเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ตามกฏหมายระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆและกำหนดแนวทางการทำงานให้เกิดความสำเร็จสูงสุด
ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองควรมีลักษณะอย่างไร เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันในการปกครองบริหารประเทศเพื่อผลประโยชน์สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ต้องแยกการบริหารออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาดเพื่อให้การบริหารงานของรัฐมีความเป็นอิสระหลอดจะธิพลทางการเมือง ฝ่ายบริหาร/ ข้าราชการประจำสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการของแนวคิดที่เกี่ยวกับการแยกการเมืองออกจากการบริหาร
ใน ศ.ต.17-19 การเมืองเข้ามามีอิทธิพลเหนือฝ่ายบริหารงานประจำอย่างมากมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ การเล่นพรรคเล่นพวกมากจนทำให้การบริหารงานของรัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ ราชการครับความอิสระในการทำงาน ไม่เกิดอุดมการของข้าราชการและถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติในประเทศต่างๆ การตั้งวางตัวเป็นกลางในทางการเมืองอย่างเคร่งครัด ต้องอุทิศตนเป็นคนไกลของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ฝ่ายการเมืองต้องเคารพในหลักการไม่ใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้เกิดแนวคิดการแยกการบริหารออกจากการเมืองเกิดขึ้น
ปัญหาของระบบการเมืองการบริหารของไทย
1 การระบบการเมืองที่ยึดมั่นในผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
2 การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญยังถูกครอบงำจากระบบราชการ
3 ระบบราชการไทยขาดความรับผิดชอบต่อประชาชนและขาดประสิทธิภาพ
4 มีการขยายตัวขององค์กรในระบบราชการมากขึ้นทำให้มีการมุ่งสร้างอาณาจักรให้แก่ตนเองมากกว่าที่จะมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาของสังคม
5 ขาดการพัฒนาพรรคการเมือง

นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง 63423471016
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
เน้นการสร้างทักษะที่แตกต่าง ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหา เพิ่มศาสตร์วิชาการสมัยใหม่ มีการลงพื้นที่ศึกษาจริงกับชุมชนรับทราบและเข้าใจปัญหาในพื้นที่อย่างลึกซึ่ง ผลิตนักศึกษายุคใหม่สู่ตลาดงาน และทำงานได้มากกว่าด้วยสหวิทยาการ

แนวคิดวิชารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่
แนวคิดวิชารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่นั้น ได้มีการนำแนวคิดทางการจัดการมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการท้าทายทฤษฎียุคดั้งเดิม โดยนักวิชาการที่ทำการโต้แย้งได้พัฒนาแนวคิดเป็นศาสตร์แห่งการบริหารรวมถึงกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ ทำให้การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์มีการทบทวนองค์ความรู้เอกลักษณ์ของวิชา และมีการพัฒนาให้เป็นศาสตร์มากขึ้น ผลที่เกิดขึ้น คือ การรวมกรอบแนวคิด ระหว่างกรอบแนวคิด การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง และการบริหารเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์การบริหาร มารวมกับทฤษฎีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ดังนั้น กรอบแนวคิดใหม่จึงครอบคลุม ในเรื่องของ การเมือง สังคม พฤติกรรมศาสตร์ และความต้องการของสังคม
นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง 63423471016
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ทฤษฎีชนชั้นผู้นำ (elite theory)

เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายถึง การกำหนดนโยบาย จากความปรารถนาและความต้องการของชนชั้นผู้นำประเทศเนื่องจากประเทศถูกปกครอง ด้วยระบอบอำนาจนิยมเป็นของผู้ปกครองประเทศแต่ผู้เดียว ซึ่งผู้นำในระบอบนี้ใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จหรือแบบเผด็จการ หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ฯลฯ เพราะหลักการของตัวแบบชนชั้นผู้นำที่ใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบายสาธารณะ จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นผู้นำหรือชนชั้นผู้ปกครอง ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ นโยบายสาธารณะอย่างเด็ดขาด โดยชนชั้นปกครองเหล่านี้จะยึดถือความพึงพอใจ (preference) หรือค่านิยม (values) ของตนเองและพวกพ้องที่ใกล้ชิดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจนโยบาย ด้วยเหตุนี้นโยบายจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความพอใจหรือค่านิยม ส่วนตัวของชนชั้นผู้นำโดยตรง ข้าราชการเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่นำนโยบายที่กำหนดโดย ชนชั้นผู้นำไปสู่ประชาชนเท่านั้น ทิศทางของการกำหนดนโยบายจึงเป็นทิศทางแบบ แนวดิ่ง (vertical) จากชนชั้นผู้ปกครองลงมาสู่ประชาชน
แนวคิดสำคัญของตัวแบบ ดุลยภาพระหว่างกลุ่ม ถือว่านโยบายสาธารณะ คือ ผลของความสมดุลของการต่อสู้ระหว่างกลุ่ม ความสมดุลเหล่านี้เกิดขึ้นจากอิทธิพลระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่ตกลง ประนีประนอมกับการเปลี่ยนแปลง อิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ใดที่คาดหมายได้ว่า จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง และนโยบายจะถูกเปลี่ยนทิศทาง ไปสู่กลุ่มที่มีอิทธิพลมากกว่า ส่วนกลุ่มที่มีอิทธิพลน้อยกว่าจะเป็นผู้สูญเสิยผลประโยชน์
ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มจะให้คำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มโดยผู้กำหนดนโยบายจะถูกพิจารณาว่าเป็น ผู้ที่ตอบสนองต่อความกดดันของกลุ่ม ได้แก่ การต่อรอง (bargaining) การประนีประนอม (compromising) การพยายามที่จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเสียงข้างมาก เพื่อให้การประนีประนอมประสบผลสำเร็จโดยง่าย โดยนัยนี้นักการเมืองที่เป็นตัวแบบของกลุ่มที่มีรากฐานกว้างขวางกว่าจะได้เปรียบกลุ่มที่มีรากฐานที่เล็กกว่า ซึ่งสามารถแสดงภาพการต่อรองระหว่างกลุ่มดังปรากฎในภาพ
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ

- เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
- เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
- ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
- กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจนเป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
- กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
- เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
- กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการ แก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้ง หรือความร่วมมือของประชาชน
- เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินแบบเอกเทศ
- เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่ เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
- เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
- เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
- กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
- เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย

3.ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ

- ประการแรก ต่อผู้กำหนดนโยบาย :รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชน และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น
นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง 63423471016
Assignment ที่ 3อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
การเมือง หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งรวมไปถึงการช่วงชิงอำนาจการต่อสู้แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ ซึ่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ของสังคม นอกจากนี้ความหมายของการเมือง คือ Pantip เว็บบอร์ดยังมีการให้ความหมายว่า และเป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรทรัพยากรที่มี ให้เกิดประโยชน์
“การบริหาร” หรือ “การจัดการ” โดยทั่วไปเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้แทนกันได้เสมอ คำภาษาอังกฤษที่มักใช้เรียกในความหมายของ การบริหาร มี 2 คำ คือ Management และ Administration ส่วนมากคำว่า Management มักจะใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง การนำเอานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดแบบงาน วิธีการทำงาน และการใช้ปัจจัย หรือทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า การจัดการ ส่วนคำว่า Administration มักเน้นการบริหาร เกี่ยวกับนโยบาย มักนิยมใช้ในทางราชการ เช่น Public Administration
สำหรับคำนิยามของคำว่า “การบริหาร” มีคำนิยามอยู่หลายคำนิยามแต่ที่นิยมกันแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมี 2 นิยาม คือ
1. การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่นในความหมายนี้ชี้ในเห็นว่าผู้บริหารประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา โดยการเตรียมการให้กับบุคคลอื่นปฏิบัติงานอะไรก็ได้ที่มีความจำเป็น ผู้บริหารมิได้ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง
2. การบริหาร คือ กระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุมกำลังความพยายามของสมาชิกขององค์การ และใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ ในความหมายนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมีเงินทุน อุปกรณ์ ข่าวสาร และคน เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การ คนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดขององค์การ
จากคำนิยามของการบริหารดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าการบริหารจะกินความครอบคลุมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. จะต้องมีวัตถุประสงค์ ( Objective ) คือ เป้าหมายในการดำเนินงานที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
2. จะต้องมีประสิทธิภาพ ( Effectiveness ) คือ ความสำเร็จของผลงานตามที่คาดหมายไว้
3. จะต้องมีทรัพยากร ( Resource ) คือ ปัจจัยต่าง ๆ ของการบริหาร ที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ซึ่งแต่เดิมโดยทั่วไป ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และการจัดการ (Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ๔ M’s แต่ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทรัพยากรดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบในการบริหาร ประกอบด้วย ทรัพยากรคน (Human Resource) ทรัพยากรที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ (Physical Resource) และทรัพยากรทางด้านเงินทุน (Financial Resource) และทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูล (Information Resource)
4. มีการประสมประสานกัน ( Integration and Coordination ) คือ กระบวนการในการดำเนินงานด้วยประการทั้งปวง ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องต่อเนื่องกัน
Assignment1
อธิบายความเป็นสหวิทยาการ
ของรัฐประศาสนศาสตร์ กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ตอบ
เดวิด เอช. โรเซนบูลม์David H. Rosenbloom และคณะ (20095) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
“รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการใช้ทฤษฎีระบบและกระบวนการทางกฎหมาย การเมือง และการบริหารจัดการเพื่อที่จะให้เป็นไปตามความต้องการหรือคําสั่งของฝ่าตุลาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติในการดําเนินการตามหน้าที่ในการให้บริการและสร้างกฎเกณฑ์
กล่าวโดยสรุปการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ สามารถพิจารณาได้เป็น2นัย คือ นัยแรกคือ
Public Administration หมายถึง กิจกรรมและกระบวนการบริหารรัฐกิจเป็นการบริหารงานสาธารณะ ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งการบริหารราชการและรัฐวิสาหกิจนัยที่สองคือ Public Administration หมายถึง สาขาวิชาการบริหาร หรือที่รู้จักกันทั่วไปคือ รัฐประศาสนศาสตร์ คําว่าการบริหารรัฐกิจ ซึ่งภาษาอังกฤษเขียนว่า public administration โดยการใช้อักษรตัวเล็กธรรมดาให้มีความหมายถึงกิจกรรม หรือ กระบวนการบริหารราชการและรัฐวิสาหกิจ
คําว่ารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งภาษาอังกฤษเขียนว่า PublicAdministration โดยการใช้อักษรตัวใหญ่นําทําให้มีความหมายถึง ศาสตร์หรือสาขาความรู้การบริหารภาครัฐ
พัฒนาการของแนวความคิดรัฐประศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยในการบริหารสาธารณะ นำไปสู่การพัฒนาของศาสตร์ทางการบริหารและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารในหลายประเทศ การพัฒนาแนวความคิดและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
แนวความคิดรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในอดีต (HistoricalParadigms)
แนวความคิดหลัก5รูปแบบจากพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในฐานะสาขาวิชาหนึ่ง จะมีลักษณะที่คาบเกี่ยวกันอยู่
1 การเมืองและการบริหารแยกจากกัน (1900-1926)
เป็นยุคที่ได้รับอิทธิพลของแนวความคิดที่ว่า
รัฐประศาสนศาสตร์และรัฐศาสตร์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
Goodnow, White (1900) เสนอว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับการกระทำของกลุ่มผู้บริหารและการกระทำของรัฐเช่น
นโยบายกฎหมายแผนพัฒนา เมกกะโปรเจค
หรือโครงการใหญ่ๆขณะที่การบริหารเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานใหญ่เป็นไปตามนโนบายกฎหมายและแผนพัฒนาการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจค่านิยม ส่วนการบริหารนั้นจะมีความเป็นกลาง
ดังนั้นศาสตร์ทางการบริหารจึงเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของฝ่ายบริหาร
2 หลักการของรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะ (1927-1937)
ช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลของหลักการทางการบริหารเฮนรี่ฟาโยและกุลลิค(Henry Fayol, Gulick, Urwick, 1937) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลักการของการบริหารต้องค้นคว้าให้เกิดความเชี่ยวชาญและผู้เชี่ยวชาญต้องเรียนรู้ให้เกิดความสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่หลักการดังกล่าว
ยังไม่ให้ความสำคัญต่อแนวความคิดด้านวัฒนธรรม หน้าที่และกรอบของความเป็นสถาบันมีเพียงหลักการของการ
บริหาร เป็นเรื่องการตัดสินใจทางการเมืองไซมอน เสนอว่าการบริหารสาธารณะ เป็นเรื่องของประการแรกการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Rational Decision)
ภายใต้ข่าวสารข้อมูลที่สามารถหามาได้และมีอยู่ ประการที่สองคือการตัดสินใจจากทางเลือกทั้งหมดที่สามารถจะนำมาประเมินได้นอกจากนั้น แนวความคิดใหม่
ของเขาเสนอว่าการบริหารสาธารณะเป็นศาสตร์ทางสังคมจิตวิทยาและนำไปใช้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสาธารณะ
3 รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในฐานะรัฐศาสตร์(1950-1970)
ในช่วงที่รัฐประศาสนศาสตร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ เนื่องจากถูกมองว่าการบริหารไม่ได้ปลอดจากการเมือง เอสตัน (Eston,1953) เสนอแนวความคิดระบบการเมือง(Political System) แนวความคิดนำเสนอถึง
ความตึงเครียดระหว่างการเมืองกับการบริหารสาธารณะซึ่งใช้กับการศึกษาเฉพาะกรณีและมีอิทธิพลต่อแนวทางการศึกษามาจนปัจจุบัน นอกจากนั้น แนวทางการศึกษายังแบ่งเป็นการบริหารเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา
มากมายแต่งานเหล่านั้น มักกระทำและเกี่ยวของกับประเทศกำลังพัฒนา
4 รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในฐานะการจัดการ (1956-1970)
ขณะที่รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะศึกษาภายใต้อิทธิพลของรัฐศาสตร์
อีกด้านหนึ่งให้ความสนใจต่อทฤษฎีองค์การ(Organizational Theory)
อันเป็นพื้นฐานของการบริหารศาสตร์
5 รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในฐานะรัฐประศาสนศาสตร์(1970-ปัจจุบัน)
นับแต่ปี1970 เป็นต้นไป
รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะแพร่หลายและเป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสาธารณะมีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งจะเห็นว่า
แนวคิดหรือพาราไดม์ของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันมีการนำแนวคิดการจัดการของภาคเอกชนเข้ามาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารสาธารณะมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของแนวความคิดที่พัฒนาและได้รับการยอมรับว่าสามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบัน
Assignment2 นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
ตอบ
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ทฤษฎีชนชั้นผู้นำ (elite theory)
เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายถึง การกำหนดนโยบายจากความปรารถนาและความต้องการของชนชั้นผู้นำประเทศเนื่องจากประเทศถูกปกครอง ด้วยระบอบอำนาจนิยมเป็นของผู้ปกครองประเทศแต่ผู้เดียว ซึ่งผู้นำในระบอบนี้ใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จหรือแบบเผด็จการหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะหลักการของตัวแบบชนชั้นผู้นำที่ใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบายสาธารณะ จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นผู้นำหรือชนชั้นผู้ปกครอง ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ นโยบายสาธารณะอย่างเด็ดขาด โดยชนชั้นปกครองเหล่านี้จะยึดถือความพึงพอใจ (preference) หรือค่านิยม (values) ของตนเองและพวกพ้องที่ใกล้ชิดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจนโยบาย ด้วยเหตุนี้นโยบายจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความพอใจหรือค่านิยม ส่วนตัวของชนชั้นผู้นำโดยตรง ข้าราชการเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่นำนโยบายที่กำหนดโดย ชนชั้นผู้นำไปสู่ประชาชนเท่านั้น ทิศทางของการกำหนดนโยบายจึงเป็นทิศทางแบบ แนวดิ่ง (vertical) จากชนชั้นผู้ปกครองลงมาสู่ประชาชน
แนวคิดสำคัญของตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม ถือว่านโยบายสาธารณะคือผลของความสมดุลของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มความสมดุลเหล่านี้เกิดขึ้นจากอิทธิพลระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่ตกลง ประนีประนอมกับการเปลี่ยนแปลงอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ใดที่คาดหมายได้ว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องและนโยบายจะถูกเปลี่ยนทิศทางไปสู่กลุ่มที่มีอิทธิพลมากกว่าส่วนกลุ่มที่มีอิทธิพลน้อยกว่าจะเป็นผู้สูญเสิยผประโยชน์
- เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
- เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
- ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
- กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจนเป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
- กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
- เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
- กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการ แก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้ง หรือความร่วมมือของประชาชน
- เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินแบบเอกเทศ
- เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่ เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
- เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
- เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
- กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
- เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
Assignment3 อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
การเมือง
ตอบ
หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับอำนาจสถาบันและองค์กรในสังคมซึ่งรวมไปถึงการช่วงชิงอำนาจการต่อสู้แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ ซึ่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ของสังคม นอกจากนี้ความหมายของการเมืองคือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์
“การบริหาร” หรือ “การจัดการ” โดยทั่วไปเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้แทนกันได้เสมอ คำภาษาอังกฤษที่มักใช้เรียกในความหมายของ การบริหาร มี 2 คำ คือ Management และ Administration ส่วนมากคำว่า Management มักจะใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง การนำเอานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดแบบงาน วิธีการทำงาน และการใช้ปัจจัย หรือทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า การจัดการ ส่วนคำว่า Administration มักเน้นการบริหาร เกี่ยวกับนโยบาย มักนิยมใช้ในทางราชการเช่น PublicAdministration
สำหรับคำนิยามของคำว่า “การบริหาร” มีคำนิยามอยู่หลายคำนิยามแต่ที่นิยมกันแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมี 2 นิยาม คือ
1. การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่นในความหมายนี้ชี้ในเห็นว่าผู้บริหารประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา โดยการเตรียมการให้กับบุคคลอื่นปฏิบัติงานอะไรก็ได้ที่มีความจำเป็น ผู้บริหารมิได้ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง
2. การบริหาร คือ กระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุมกำลังความพยายามของสมาชิกขององค์การ และใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ ในความหมายนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมีเงินทุน อุปกรณ์ ข่าวสาร และคน เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การ คนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดขององค์การ
จากคำนิยามของการบริหารดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าการบริหารจะกินความครอบคลุมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. จะต้องมีวัตถุประสงค์ ( Objective ) คือ เป้าหมายในการดำเนินงานที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
2. จะต้องมีประสิทธิภาพ ( Effectiveness ) คือ ความสำเร็จของผลงานตามที่คาดหมายไว้
3. จะต้องมีทรัพยากร ( Resource ) คือ ปัจจัยต่าง ๆ ของการบริหาร ที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ซึ่งแต่เดิมโดยทั่วไป ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และการจัดการ (Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ๔ M’s แต่ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทรัพยากรดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบในการบริหาร ประกอบด้วย ทรัพยากรคน (Human Resource) ทรัพยากรที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ (Physical Resource) และทรัพยากรทางด้านเงินทุน (Financial Resource) และทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูล (Information Resource)
4. มีการประสมประสานกัน ( Integration and Coordination ) คือ กระบวนการในการดำเนินงานด้วยประการทั้งปวง ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องต่อเนื่องกัน
Assignment 1.1
รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นสหวิทยาการที่มีขอบข่ายเนื้อหาสาระ กว้างขวาง แต่วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะสำคัญที่ถือว่าเป็น เอกลักษณ์อยู่อย่างน้อย 5 ประการ คือ 1เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและนโยบายสาธารณะที่เป็นผลผลิตของระบการเมือง2เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และกฎหมายของรัฐ 3เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการ ที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันะธ์กับที่ข้อ4คือเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการสุดท้าย5คือเป็นวิชาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมส่วมรวม รัลผิดขอบต่อสังคมมากกว่าการมุ่งเน้นที่กำไรหากวิชาไดมีเนื้อหาสาระครบทั้งห้าประการนี้ถือได้ว่าเป็นรัฐศาสนศาสตร์ที่สมบูรณ์และเป็นรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อสังคมส่วมรวมที่ครอบคลุม ครบถ้วน และสมบูรณ์แบบ
1.2เรื่องพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์เป็นหัวเรื่องที่มีความส าคัญ นักวิชาการ
รัฐประศาสนศาสตร์ได้อธิบายหัวเรื่องนี้ผ่านแนวคิดเรื่องพาราไดม์ อย่างไรก็ดีกลับมีข้อ
สงสัยจากการอธิบายด้วยแนวทางดังกล่าวอย่างน้อยสามประการ คือ 1) เหตุใดจ าต้อง
ศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์โดยใช้ค าว่าพาราไดม์ 2) หากไม่ใช้แนวคิดเรื่อง
พาราไดม์สามารถใช้แนวคิดอื่นใดในการอธิบายพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ และ
3) แนวทางการศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันควรเป็นเช่นไร
ทั้งนี้ศึกษาจากแนวคิดของนักวิชาการทั้งรุ่นบุกเบิกและนักคิดร่วมสมัย พบว่า 1) เหตุที่ใช้
ค าว่าพาราไดม์ในการศึกษาประเด็นพัฒนาการเพราะรัฐประศาสนศาสตร์มีความเป็นมา
ยาวนานยากที่จะอธิบายสาระได้ทั้งหมดจึงใช้แนวคิดเรื่องพาราไดม์เพื่อสรุปเฉพาะ
สาระส าคัญที่นักรัฐประศาสนศาสตร์เห็นร่วมกันในแต่ละช่วงเวลาและแนวคิดนี้ยังมี
ลักษณะพิเศษที่เชื่อว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือพาราไดม์ตามความเหมาะสม
2) หากไม่ใช้แนวคิดเรื่องพาราไดม์สามารถใช้แนวคิดอื่นในการอธิบายพัฒนาการของรั
ฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างน้อย 3 แนวทาง ประกอบด้วย แนวการศึกษาที่ใช้มิติของเวลา
มิติของขอบเขตและจุดเน้น และแนวทางที่ใช้มิติของหน่วยวิเคราะห์ และ 3) แนวทาง
การศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันผู้เขียนเห็นว่าควรแบ่งพัฒนาการ
ของรัฐประศาสนศาสตร์ออกเป็นสามช่วงเวลา ประกอบด้วย ช่วงเวลาของยุคดั้งเดิม
ช่วงเวลาของวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ และช่วงเวลาของการใช้ค าว่า “ใหม่”
Assignment 2.1
นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละ
ประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับ
รัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้
กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายรวมไปถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมี
ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง
Assignment3.1
การอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของตัวแสดงฝ่ายการเมือง ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงที่ใช้
อา นาจอธิปไตยภายใตร้ะบอบประชาธิปไตยแบบตวัแทน โดยเขา้สู่อา นาจหน้าที่ผ่านการเลือกต้งัของ
ประชาชน กบั ตวัแสดงฝ่ายบริหาร ซ่ึงหมายถึง ตวัแสดงฝ่ายขา้ราชการประจา ซ่ึงเขา้สู่อา นาจหนา้ที่ดว้ย
การสอบและการพิจารณาแต่งต้งัเขา้สู่ตา แหน่งในระบบราชการ ภายใต้แนวคิดที่ว่าดว้ยการเมืองและ
การบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกนั (no politics-administration dichotomy) ในการกา หนด
นโยบายสาธารณะ ซ่ึงเป็นแนวคิดที่พฒั นาข้ึนในบริบทของสังคมตะวนั ตก เมื่อมีการนา มาปรับใชใ้น
การอธิบาย ในบริบทสังคมไทยอาจกล่าวไดว้า่ มีประเด็นที่น่าสนใจและแตกต่างจากแนวคิดทฤษฏีที่
พฒั นาข้ึนในสังคมตะวนั ตกในหลายประการ บทความน้ีจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะน าเสนอลักษณะและข้อ
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่จากการจัดช่วงเวลาการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากการใช้คำว่าพาราไดม์และจัดกลุ่มเป็นแนวคิดในยุคแรกหรือยุคดั้งเดิมรวมเรียกว่าแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์เก่า (OldPublic Administration : OPA) และ แทนที่ด้วยคำว่าใหม่ (new)เป็นคำนำหน้า (Prefix) นำเสนอแนวคิดใหม่ 3 แนวคิด (โดยมีแนวคิดที่เชื่อมต่อ คือรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ (New PA) เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐประศาสนศาสตร์มีวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ทางแนวคิดจนถึงจุดวิกฤตต้องแก้ไขหรือกระทั่งควรปฏิรูปแนวคิดเสียใหม่) ประกอบด้วย แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่(New PM) การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New PS) และ แนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐแนวใหม่ (New PG)การจัดการภาครัฐใหม่ (New Public Management) เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศโดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐส่วนแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New PublicService) เป็นแนวคิดที่ให้คุณค่ากับความเป็นพลเมืองและการบริการสาธารณะ
รัฐแสดงบทบาทใหม่ในฐานะผู้จัดหาทรัพยากรสาธารณะแก่ประชาชนร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ เช่น เอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไรและพลเมืองเพื่อหาข้อตกลงและความต้องการซึ่งกันและกัน และสำหรับแนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐแนวใหม่ (New Public Governance) เกิดขึ้นภายใต้บริบทที่ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ชุมชนองค์การพัฒนาเอกชน และกลุ่มผลประโยชน์ทาง วิชาชีพต่างๆ ได้เข้าร่วมดำเนินงานสาธารณะ ในรูปแบบของการจัดการภาคีอันหลากหลายการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับสิ่งที่มีคุณค่าการสร้างและกำหนดความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนภาคต่างๆ เหล่านั้น
จากความแตกต่างทางแนวคิดดังกล่าวทำให้นักวิชาการได้อธิบายเปรียบ เทียบแนวคิดทั้งสามด้วยฐานคติที่แตกต่างและหลากหลาย ในที่นี้ยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบมุมมองแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในมุมมองของ นักวิชาการไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย นราธิป ศรีราม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย และชลัช ชรัญญ์ชัย (2556) และ Stephen P. Osborne (2010) รวมทั้งเพื่อนำเสนอความเหมือนและความแตกต่างทางแนวคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงเปรียบเทียบด้วยการใช้กรอบการศึกษาของ เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ (2552) ด้วยแนวทางการศึกษาพัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์ 3 แนวทาง ประกอบด้วยแนวการศึกษาที่ใช้มิติของเวลา แนวทางการศึกษาที่ใช้มิติของ ขอบเขตและจุดเน้น และแนวทางที่ใช้มิติของหน่วยวิเคราะห์ นอกจากนี้ได้ เพิ่มเติมมิติการเปรียบเทียบแนวคิดทั้งสามเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างทาง แนวคิด ที่มาจากฐานคติที่แตกต่างกัน มุมมองต่อผู้รับบริการสาธารณะ บทบาท ของผู้บริหารภาครัฐ เป้าหมายการบริการสาธารณะแก่ประชาชนและกลไก สำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์การบริการสาธารณะ
Assignment ที่2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะ หมายถึง หลักและวิธีการที่เป็นแนวดำเนินการเพื่อประชาชนหรือ คนหมู่มาก ทั้งนี้นโยบาย สาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ในสมัยก่อน อาจเรียกว่า “กฎ ระเบียบ หรือกติกาของชุมชน” ซึ่งหัวหน้าชุมชนเป็นผู้กำหนด ขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกของชุมชนได้ยึดถือและปฏิบัติตาม อันจะนำมาสู่ความสงบ เรียบร้อยของ ชุมชน หากไม่มีกฎระเบียบแล้วมนุษย์ย่อมอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีความสุข เนื่องจากธรรมชาติของ มนุษย์รักที่จะทำในสิ่งที่สร้างความสุขให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจไป ละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือขัดแย้งกับผู้อื่นได้ ทั้งนี้กฎ ระเบียบ หรือกติกาของชุมชนเหล่านั้นถือ เป็นนโยบายสาธารณะ หรือนโยบายในภาษาพูดกระนั้น หากกล่าวถึงนโยบายก็มักไม่ เฉพาะเจาะจงว่านโยบาย ที่กล่าวถึงนั้นจะเกี่ยวข้องกับภาครัฐหรือภาคเอกชน แต่หากใช้ นโยบายสาธารณะ ก็มักเฉพาะเจาะจงว่าเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐหรือรัฐเป็นผู้กำหนด นโยบายสาธารณะ จึงหมายถึงกิจกรรมของรัฐที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่ได้กำหนดไว้ โดยเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนและมีความต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งผลกระทบ ต่อคนหมู่มากหรือประชาชน ฉะนั้น นโยบายสาธารณะจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ กำหนดนโยบายต้องศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายระดับประเทศ หรือระดับท้องถิ่น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการกระจายอำนาจรัฐสู่ ท้องถิ่น ซึ่งการกระจายอำนาจดังกล่าวทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญต่อ ประเด็นนโยบายสาธารณะมากขึ้น เนื่องจากแต่ละชุมชนท้องถิ่นย่อมมีบริบทและเงื่อนไขที่ แตกต่างกันไป
นโยบายสาธารณะมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลต้องออกนโยบายและนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา หรือ ทำให้ประชาชนที่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนประชาชนเมื่อ เห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการในการดำเนินชีวิต ก็จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลมากขึ้น หรืออาจะกล่าวได้ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่ กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ อย่างเหมาะสม
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ตอบนิโคลล์าส เฮนรี่ (Nicoholas Henry, 1980 : 27) ไดใ้ หค้ วามหมายไว้ว่า “รัฐประศาสนศาสตร์ มี เอกลักษณ์เพราะมีความแตกต่างจากวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในแง่ที่ว่าให้ความสนใจในการศึกษาถึง โครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการ รวมทั้ง เป็นศาสตร์ที่มีระเบียบวิธีการศึกษาเป็นของตนเอง วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีความแตกต่างจากศาสตร์การบริหารในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องขององค์การของรัฐที่
ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรเหมือนองค์ก ารธุรกิจเอกชนและเป็นวิชาที่สนับ สนุนให้องค์การของรัฐมีโครงสร้าง กลไกการตัดสินใจ และพฤติกรรมของข้าราชการที่เกื้อหนุนต่อการให้บริการสาธารณะ ”

จอร์จ เอส. กอร์ดอน (George S. Gordon, 1975 : ได้ให้ความหมายไว้ว่า “รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง กระบวนการ องค์การ และบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางราชการทั้งหลายและมีส่วนเก่ียวข้องกับการ กำหนดและนำเอากฎหมาย ระเบียบ แบบแผนต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ออกไปปฏิบัติ”
สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบัน มี 4 ประการดั่งนี้
1. เป็นจุดสนใจที่ใช้สำหรับการศึกษา (Focus of Study) เป็นศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง มีองค์ความรู้แนวคิดทฤษฎีเป็นของตนเอง
2. เป็นสหวิทยาการ (Interdiscipline) ใช้ความรู้จากศาสตร์หลากหลายแขนง เพื่อมาอธิบายจุดท่ีศึกษา
3. เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์(AppliedSocialScience)เน้นการนำเอาสังคมศาสตร์อื่นมาแก้ปัญหาในการ บริหาร
4. เป็นกึ่งวิชาชีพ(Quasi-Profession)มีลักษณะวิชาชีพท่ีแตกต่างจากวิชาชีพแขนงอื่นแม้จะไม่มีการจัดตั้งสถาบันและจรรยาบรรณที่กำหนดข้ึนมาใช้บังคับโดยตรงแต่ความสำเร็จของการบริหารข้ึนกับฝีมือ
ความรู้ความสามารถทักษะความเช่ียวชาญและประสบการณ์เพื่อให้งานสำเร็จโดยอาศัยความร่วมมือ จากบุคคลอื่น
ต่อ Assignment ที่ 1
พัฒนาการของแนวความคิดรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะ และการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยในการบริหารสาธารณะ นําไปสู่การพัฒนาของศาสตร์ทางการบริหารและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการ บริหารในหลายประเทศ การพัฒนาแนวความคิดและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและลักษณะ ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงของการบริหารสาธารณะแบบด้ังเดิมไปสู่การจัดการสาธารณะ ใหม่เกิดจากความเป็นจริงท่ีว่า
ประการแรก การจัดการตอบสนองต่อหน้าท่ีในการบริการสาธารณะได้มากกว่า การบริหาร
ประการที่สอง เกิดการโจมตีแนวความคิดทางการบริหารขนาดและขอบเขตของรัฐบาลตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงของภาคเอกชนซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เหตุผลหลักของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือความล้มเหลวของตัวแบบด้ังเดิมของระบบราชการ ท่ีไม่สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงท่ีมีต่อภาคสาธารณะในปัจจุบันนําไปสู่การต้ังคําถามในเรื่องบทบาทและจุดยืน ในสังคมก็ตาม แต่แนวความคิดใหม่ของการบริหารในรูปแบบการจัดการภาคสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวความ คิดที่ใช้เศรษฐศาสตร์และการจัดการภาคเอกชนมาประยุกต์เพื่อการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานและการปฏิบัติงานสาธารณะ ทําให้ตัวแบบดั้งเดิมของการบริหารสาธารณะต้องเปลี่ยนแปลงและถูกแทนที่
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะมีความสําคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลต้องออกนโยบายและนําไปปฏิบัติเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา หรือ ทําให้ประชาชนท่ีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีย่ิงข้ึนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนประชาชนเมื่อ เห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการในการดําเนินชีวิต ก็จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลมากขึ้น หรืออาจะกล่าวได้ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยผลประโยชน์และแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทน้ันก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนําไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ข้ึนอยู่ กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกําหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากท่ีสุด ดังน้ันนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดีย่ิงขึ้น นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละ ประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนําไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับ รัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกําหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ที่สําคัญต้องให้ความสําคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกําหนดนโยบายรวมไปถึงการนํานโยบายไปปฏิบัติ ถ้าหากสามารถนําไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ในการอธิบายความสัมพันธ์ิและบทบาทของตัวแสดงฝ่ายการเมือง ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงที่ใช้ อำนาจอธิปไตยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยเข้า สู่อำนาจหน้าที่ผ่านการเลือกตั้งของประชาชน กับ ตัวแสดงฝ่ายบริหารซึ่งหมายถึงตวัแสดงฝ่ายข้าราชการประจำซึ่งเข้าสู่อานาจหนา้ท่ีด้วย การสอบและการพิจารณาแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งในระบบราชการ ภายใตแ้ นวคิดที่ว่าด้วย การเมืองและ การบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกนั (no politics-administration dichotomy) ในการกาหนด นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พฒั นาข้ึนในบริบทของสังคมตะวนั ตก เมื่อมีการนามาปรับใชใ้ น การอธิบาย ในบริบทสังคมไทย อาจกล่าวได้ว่ามีประเด็นที่น่าสนใจและแตกต่างจากแนวคิดทฤษฏีที่ พฒันาข้ึนในสังคมตะวนัตกในหลายประการบทความน้ีจึงมีวตัถุประสงค์ที่จะนำเสนอลกัษณะและข้อ แตกต่าง ของ การเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะภายใตแ้ นวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทย การเมือง หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งรวมไปถึงการช่วงชิงอำนาจการต่อสู้แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ ซึ่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ของสังคม นอกจากนี้ความหมายของการเมือง คือ Pantip เว็บบอร์ดยังมีการให้ความหมายว่า และเป็นเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรทรัพยากรที่มี ให้เกิดประโยชน์
“การบริหาร” หรือ “การจัดการ” โดยทั่วไปเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้แทนกันได้เสมอ คำภาษาอังกฤษที่มักใช้เรียกในความหมายของ การบริหาร มี 2 คำ คือ Management และ Administration ส่วนมากคำว่า Management มักจะใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง การนำเอานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดแบบงาน วิธีการทำงาน และการใช้ปัจจัย หรือทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า การจัดการ ส่วนคำว่า Administration มักเน้นการบริหาร เกี่ยวกับนโยบาย มักนิยมใช้ในทางราชการ เช่น Public Administration
สำหรับคำนิยามของคำว่า “การบริหาร” มีคำนิยามอยู่หลายคำนิยามแต่ที่นิยมกันแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมี 2 นิยาม คือ
1. การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่นในความหมายนี้ชี้ในเห็นว่าผู้บริหารประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา โดยการเตรียมการให้กับบุคคลอื่นปฏิบัติงานอะไรก็ได้ที่มีความจำเป็น ผู้บริหารมิได้ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง
2. การบริหาร คือ กระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุมกำลังความพยายามของสมาชิกขององค์การ และใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ ในความหมายนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมีเงินทุน อุปกรณ์ ข่าวสาร และคน เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การ คนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดขององค์การ
จากคำนิยามของการบริหารดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าการบริหารจะกินความครอบคลุมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. จะต้องมีวัตถุประสงค์ ( Objective ) คือ เป้าหมายในการดำเนินงานที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
2. จะต้องมีประสิทธิภาพ ( Effectiveness ) คือ ความสำเร็จของผลงานตามที่คาดหมายไว้
3. จะต้องมีทรัพยากร ( Resource ) คือ ปัจจัยต่าง ๆ ของการบริหาร ที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ซึ่งแต่เดิมโดยทั่วไป ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และการจัดการ (Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ๔ M’s แต่ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทรัพยากรดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบในการบริหาร ประกอบด้วย ทรัพยากรคน (Human Resource) ทรัพยากรที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ (Physical Resource) และทรัพยากรทางด้านเงินทุน (Financial Resource) และทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูล (Information Resource)
4. มีการประสมประสานกัน ( Integration and Coordination ) คือ กระบวนการในการดำเนินงานด้วยประการทั้งปวง ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องต่อเนื่องกัน
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นมาสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์

ตอบ.
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่าง ๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยในทัศนะของ Chandler (1989, pp. 639-641) เห็นว่า ควรประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา
ในขณะที่ McCurdy (1986, pp. 17-21) เห็นว่า จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย 4 สำนักด้วยกัน คือ
1. สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเอง หรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่น ๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ (inter-disciplinary) มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางแล้ว สิ่งที่ขาดเสียมิได้
ต่อ Assignment ที่ 1.

ในการผลิตนักรัฐประศาสนศาสตร์ก็คือ การสร้างจริยธรรม อุดมการณ์ และพฤติกรรม ที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อ ๆ ไป
การศึกษาที่มีความหลากหลายและเกิดเป็นพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์จนเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมทั่วไป ทำให้มีนักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ทำการศึกษาพัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีการจำแนกลำดับการพัฒนาของสาขาวิชานี้อย่างกว้างขวางและมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับว่านักวิชาการใดจะให้ความสำคัญในมิติใด ตัวอย่างเช่น พิทยา บวรวัฒนา (2541, หน้า 9) ได้เสนอว่า พัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วย ช่วงเวลาที่สำคัญ 4 ช่วง คือ (1) สมัยทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ. 1887-1950) ได้แก่ ทฤษฎีและแนวการศึกษาเรื่อง การบริหารแยกออกจากการเมือง ระบบราชการ วิทยาศาสตร์การจัดการ และหลักการบริหาร (2) สมัยทฤษฎีท้าทายหรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ (ค.ศ. 1950-1970) ได้แก่ ทฤษฎีและแนวการศึกษาเรื่อง การบริหาร คือ การเมือง ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ แนวคิดกลุ่มมนุษย์สัมพันธ์และศาสตร์การบริหาร (3) สมัยวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1960-1970) หมายถึง แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ และ (4) สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. 1970 - ปัจจุบัน) โดยครอบคลุมถึงแนวการศึกษาเรื่องนโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน การจัดการแบบประหยัด การออกแบบองค์การสมัยใหม่และการวิจัยเรื่ององค์การ ในขณะที่ อุทัย เลาหวิเชียร (2543, หน้า 17-36) เสนอว่าวิวัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 สมัยด้วยกัน คือ (1) ช่วงของ Wilsonถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 (2) ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึง ค.ศ. 1970 และ (3) ช่วงค.ศ. 1970 จนถึงปัจจุบัน และตามทัศนะของ ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2551, หน้า 1-8) เห็นว่ามุมมองข้างต้นที่กล่าวมานั้นเป็นการศึกษาถึงพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ของกลุ่มสมัยใหม่นิยม (modernism) ที่เน้นในเรื่องของไซเบอร์เนติกส์ (cybernetics) ทฤษฎีเกมส์ (game theory) ทฤษฎีระบบ (systems theory) พร้อมกับการศึกษาในเชิงประจักษ์ (empirical study) เพื่อสามารถบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์ปรากฏการณ์และพฤติกรรมได้เพียงหนึ่งในสามของประเด็นที่ศึกษา คือ ระดับจิตสำนึก (conscious level) เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการศึกษาพัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ใหม่ล่าสุด คือ การศึกษาแนวภายหลังโครงสร้างนิยม (post-structuralism) และภายหลังสมัยใหม่ (post-modernism) เข้ามาท้าทายกลุ่มสมัยใหม่นิยม (modernism) ข้างต้น โดยมุ่งบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม และอีกสองในสามส่วนที่เหลืออยู่ คือ ระดับจิตใต้สำนึก (subconscious level) และระดับวัฒนธรรมหรือระดับจิตไร้สำนึก (cultural or unconscious level)
ในขณะที่มีแนวทางการศึกษาพัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีการเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ พัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เชิงกระบวนทัศน์ โดยถือเป็นเนื้อหาที่นิยมกันในการเรียนการสอนทางรัฐประศาสนศาสตร์
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง

ตอบ.

บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน
และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล
(Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ
ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะความ
ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม
และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น
พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง
เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง
สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้
อย่างเหมาะสม (Jantawan, 2016; Jensantikul, 2013)
แนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จะต้องพัฒนา
บุคลากรตามแนวทางของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติตามบริบทและยุทธศาสตร์ (Strategies)
ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภารกิจงานใหม่ที่ท้าทายศักยภาพของบุคลากรภาครัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
นโยบายของรัฐบาลกับระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งนโยบายของ
รัฐบาล ก็คือ นโยบายสาธารณะที่มีผลผูกพันและผลกระทบไปสู่สาธารณะหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ
นโยบายนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายของ
รัฐบาลมีการดำเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพราะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร
ประชาชนมีการรับรู้และมีความรู้มากขึ้น จึงสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย
(Patmasiriwat, 2015) ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดนโยบายอย่างในอดีตที่ผ่านมาที่ผู้กำหนดนโยบายคือ
ภาครัฐหรือรัฐบาลจะกำหนดมาโดยอาศัยการตัดสินใจของชนชั้นนำ (Elite) หรือคณะรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้
ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการกำหนดนโยบายด้วย
ต่อ Assignment ที่ 2.

ตอบ

เมื่อบริบทเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสปฏิรูป หรือการปกครอง หรือระบบอภิบาลที่เป็น
ประชาธิปไตย (Democratic Governance) ทำให้หน่วยงานภาครัฐอันเป็นหน่วยปฏิบัติตามโยบาย จะต้อง
ปรับตัวโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา
ที่แท้จริงแล้วก็คือ ไม่ว่าจำดำเนินการเรื่องใดก็ตาม การบริหารภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อยกระดับการ
บริหารภาครัฐให้ตอบสนองต่อสาธารณกิจและประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนา
ใน 2 ส่วนคือ แนวทางการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการ
พัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจภาครัฐ
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
บทนำ ในการศึกษาการเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะ ภายใต้แนวคิดการบริหารกับการเมืองที่ไม่แยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและบริบทสังคมไทยกล่าวได้ว่า มีความแตกต่างกัน ใน หลายประการ โดยความแตกต่างที่สำคัญ มาจากความแตกต่างในแง่ที่มาและความชอบธรรมของตัวแสดงใน ฝ่ายการเมือง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร และระดับการเข้าไปเกี่ยวข้องของ ฝ่ายบริหารในกิจกรรมการกำหนดนโยบายสาธารณะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นมาจาก ความแตกต่างในโครงสร้าง สังคมและสภาพแวดล้อมทางการเมืองและการบริหารในบริบทของสังคมตะวันตกและสังคมไทย
ในการอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของตัวแสดงฝ่ายการเมือง ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงที่ใช้ อำนาจอธิปไตยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยเขา้สู่อำนาจหน้าที่ผ่านการเลือกตั้งของ ประชาชน กับ ตัวแสดงฝ่ายบริหาร ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงฝ่ายข้าราชการประจา ซึ่งเขา้สู่อำนาจหน้าที่ด้วย การสอบและการพิจารณาแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งในระบบราชการ ภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและ การบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน(no politics-administration dichotomy) ในการกำหนด นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นในบริบทของสังคมตะวันตก เมื่อมีการนำมาปรับใช้ในการอธิบายในบริบทสังคมไทยอาจกล่าวได้ว่า มีมีประเด็นที่น่าสนใจและแตกต่างจากแนวคิดทฤษฏีที่พัฒนาขึ้นในสังคมตะวันตกในหลายประการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะและข้อแตกต่างของการเมืองการบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทย แนววคิดทฤษฏีที่ พัฒนาขึ้นในสังคมตะวนั ตกในหลายประการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะและข้อแตกต่างของการเมืองการบริหารและการกา หนดนโยบายสาธารณะภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทย
การเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะ : แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและการ บริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน ในสังคมตะวันตก ในการนา เสนอแนวคิดที่ว่าด้วยการบริหารกบัการเมืองและฝ่ายการเมืองกับฝ่ายราชการประจำต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใก้ลชิดและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (no politics - administration dichotomy) แนวคิดนี้อยู่บนฐานคติที่ว่าการบริหารมิใช่เรื่องของกิจกรรมทางเทคนิคและปลอดจากค่านิยมซึ่งแยกต่างหากจากการเมืองแต่ฝ่ายบริหารได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดนโยบายสาธารณะตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งการบริหารก็คือการเมืองนั้นเอง ทฤษฎีที่พัฒนาขึ้น จากฐานคติการเมืองการบริหารไม่อาจแยกกันได้มีหลายแนวคิด อาทิเช่น
John Gaus (1931, cited inFrederickson et.al.,2003:42) มองว่าฝ่ายราชการไม่ใช่แต่เพียงทำ ตามคำสั่งของฝ่ายการเมืองเท่านั้นแต่ยังมีส่วนในการกำหนดแนวทางหรือใช้อำนาจดุลพินิจในการ กำหนดนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแปลงแนวนโยบายยังมีความคลุมเครือไปสู่แนวการการปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงระบบราชการจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองทฤษฏีการบริหารรัฐกิจจึงเป็นเรื่องของทฤษฏีการเมือง
ขณะที่ Nadel and Rourke (1975 อ้างถึงใน ติน ปรัชญพฤทธิ์,2527:56-57) มองว่า หน่วยราชการของฝ่ายบริหารเป็นสาขาที่สี่ของรัฐบาล ซึ่งจะต้องเข้าไปมีส่วนพัวพันกับการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของตนบรรลุเป้าหมายขององค์การ หน่วยราชการมีพลังในการต่อรองทางการเมืองหลายประการ ทั้งในแง่ขนาด และจำนวนขา้ราชการและที่สำคัญที่สุดก็คือความรู้ ในงานที่ตนรับผิดชอบ นอกจากนั้น Waldoและนกัวชิาการคนอื่นๆในกลุ่ม New Public Administration อาทิ Marini (1971) และFrederickson (1971) เห็นว่าทฤษฎีการบริหารรัฐกิจก็ คือทฤษฎีการเมืองนั้น เอง โดยฝ่ายข้าราชการประจำมีความเกี่ยวข้องกับ การจัดทำนโยบายเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์จึงไม่ควรสนใจแต่เฉพาะเรื่องในระบบราชการ แต่ควรจะต้องให้ความสนใจในเรื่องการเมือง โดยเฉพาะเรื่องความต้องการทางสังคม ความเท่าเทียมทางสังคม ความยุติธรรมทางสังคม และค่านิยม ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะฝ่ายข้าราชการประจำมีภาระหน้าที่ในเรื่องนโยบาย สาธารณะที่มุงตอบสนองความต้องการของประชาชนข้าราชการประจา จึงเป็นทั้งผู้นำนโยบายไปปฏิบัติและผู้กำหนดนโยบาย ขณะที่นักวิชาการในกลุ่ม Blacksburg อาทิ Rohr (1989:82-83) อธิบายว่าการบริหารก็คือเรื่องของการเมืองความสัมพันธ์ของอำนาจทั้งสาม คือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและ ตุลาการ แม้จะมิได้ก้าวล่วงระหวา่งกัน แต่ความสัมพันธ์อาจรวมตัวกัน เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันเป็นต้น
ต่อ Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
สำหรับ รุสโซ เห็นว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ เสรีภาพความเสมอภาคในการ ใซเสรีภาพของมนุษย์ มนุษย์จึงต้องทำสัญญาร่วมกัน เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น และเพื่อให้มั่นใจว่าประชาคมการเมืองจะดำรงอยู่เพื่อสนองต้องเจตจำนงทั่วไป (General will) ของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนจะต้องเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยตรง จะมอบหรือแบ่งให้ผู้ใดมิได้(Rousseau, 1974)
แนวคิดดังกล่าวยืนยันให้เห็นว่าประชาคมการเมืองเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์และเพื่อเป้าหมายในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และมีเสรีภาพอย่างเสมอภาค การจัดระเบียบของสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็น อำนาจในการจัดระเบียบของสังคม ก็คือ "อำนาจทางการเมือง"นั่นเอง อำนาจทางการเมืองที่จำเป็นก็คือ อำนาจในการบัญญัติกฎหมาย อำนาจในการบริหารให้เป็นไปตามกฎหมายและอำนาจตุลาการ ด้วยเหตุนี้ระบบการเมืองจึงเป็นกลไกสำคัญในการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์อย่างไรก็ตามเป้าหมายของการใช้อำนาจทางการเมืองจะปรากฎเป็นจริงได้จะต้องมีระบบบริหารมารองรับ ทั้งนี้เพราะระบบการเมืองจะมีบทบาทในการบัญญัติกฎหมายและกำหนดนโยบายเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบบริหารจะมีบทบาทหลักในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ระบบการเมืองและระบบบริหารจึงต้องดำรงอยู่ควบคู่กัน จะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดมิได้ท่ามกลางพัฒนาการของสังคมที่หลากหลายแตกต่างกัน อาจทำให้ระบบการเมืองของแต่ละสังคมแตกต่างกัน ระบบการเมืองที่แตกต่างกัน จะก่อให้เกิดลักษณะของระบบบริหารที่วางกันด้วย อาทิ ระบบการเมืองแบบอำนาจนิยมหรือเผด็จการ จะก่อให้เกิดระบบรวมศูนย์อำนาจ (Centralization of Authority) ในทางตรงกันข้ามระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย จะก่อให้เกิดระบบบริหารแบบกระจายอำนาจ(Decentralization ofAuthority) เป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้จะส่งผลต่อผู้รับบริการแดกต่างกันด้วย
สรุป
ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและทางวิชาการ การเมือง และการบริหารไม่อาจแยกจากกันได้ ตรงกันข้ามทั้งการเมืองและการบริหารจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพราะความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ไม่มีส่วนใดที่จะดำรงอยู่ได้อย่างอิสระ เพราะการดำรงอยู่ของส่วนหนึ่งล้วนที่งพาการดำรงอยู่ของอีกส่วนหนึ่งเสมอในทางวิชาการนักรัฐประศาสนศาสตร์นอกจากจะสนใจเรื่องภายในองค์การแล้ว จะต้องให้ความสนใจต่อเรื่องของระบบการเมืองเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของระบบการเมืองที่มีต่อระบบบริหาร และเรื่องของค่านิยมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดรูปแบบของระบบบริหารอีกด้วย ส่วนนักรัฐศาสตร์ นอกจากจะนใจเรื่องของระบบการเมืองและกระบนนการทางการเมืองแล้ว จะต้องให้ความสนใจด้วยว่า จะทำอย่างไรจึงจะทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนโยบายที่กำหนดโดยฝ่ายการเมืองนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อสามารถทำให้ปรากฏเป็นจริงได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทของระบบบริหารเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันประสิทธิภาพของระบบบริหารก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของระบบการเมือง ถ้าระบบการเมืองมีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูงจะก่อให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างกว้างขวาง การกระจายอำนาจจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งในการกำหนดผู้บริหารและการควบคุมกำกับและตรวจสอบผู้บริหาร ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโดยตรงในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบการเมืองใดมีระดับความเปันประชาธิปไตยต่ำ การบริหารจะมีลักษณะของการรวมศูนย์อำนาจมาก ประชาชนจะไม่มีบทบาททั้งในการกำหนดผู้บริหารและการควบคุม กำกับและตรวจสอบการทำงนของผู้บริหารโดยตรง ระบบบริหารจะสนองตอบความต้องการของส่วนกลางมากกว่าความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทำให้เกิดความ
ล้าหลังในท้องถิ่นโดยทั่วไป ความเจริญมั่งคั่งจะปรากฎเฉพาะในเมืองที่เป็นศูนย์กลางเท่านั้นนอกจากนี้ระบบการเมืองยังทำหน้าที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อระบบบริหารอีกด้วย ทั้งนี้เพราะระบบบริหารเป็นกลไกของระบบการเมืองในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ปรากฎเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางการเมืองจึงมีผลกระทบต่อระบบบริหารทั้งโดยทาง
ตรงและทางอ้อม และเนื่องจากสิ่งแวดล้อมทางการเมือง อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของระบบบริหาร มีความไม่แน่นอนสูง และมีผลกระทบต่อส่วนต่าง ฯ ของระบบบริหารไม่เท่ากัน
ดังนั้นระบบบริหารจึงต้องสร้างเสริมสมรรถนะในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางการเมืองอยู่เสมอ เพื่อดำรงบทบาทในการเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการเมืองด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการบริหาร จึงเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้ เป็นความสัมพันธ์ที่จะต้องดำรงอยู่ร่วมกัน ตราบเท่าที่มนุษย์จะต้องอยู่ร่วม
กันเป็นสังคม
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง

ตอบ.
การเมือง การบริหาร และนโยบายสาธารณะ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการบริหารและการเมือง ระบบการเมืองจะเป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมระบบบริหารแต่ในทางปฏิบัติอาจไม่ชัดเจน บางช่วงเวลาการเมืองต้องอาศัยนักบริหารซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านระบบการเมือง (political system)ในปัจจุบัน นักวิชาการ ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ทฤษฎีระบบมาอธิบายการเมือง David Easton ได้นำเสนอการวิเคราะห์ของระบบการเมือง
ระบบการบริหาร (public administration)
นักรัฐประศาสนศาสตร์ได้ให้ความหมายของคำว่า ระบบบริหารไว้หลากหลาย แต่ยังไม่มีความหมายใดที่เป็นที่ยอมรับกัน ตัวอย่างเช่น
J. Kingsbury และ R. Wilcoxให้ความหมายว่า การบริหารหมายถึงกิจกรรมของกลุ่มชนที่ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อบรรลุจุดหมายปลายทางเดียวกัน ซึ่งได้ขยายความต่อไปว่าต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ต้องมีบุคคลอย่างน้อย 2 คน ขึ้นไป มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เพื่อที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ได้กำหนดไว้
Harold Koontz ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารคือ การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่
กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัตถุสิ่งของเป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้นคำนิยามนี้ใช้ในทางปฏิบัติจริงๆ ซึ่งเน้นไปที่การจัดการ (management)จากคำนิยามดังกล่าวที่นำเสนอมาข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า การบริหารมุ่งถึงการนำเอานโยบายไปปฏิบัติเป็นหลัก ดังนั้น ข้อเขียนของนักรัฐประศาสนศาสตร์ในช่วงแรก ของการขยายตัวจึงพยายามเน้นให้แยกบทบาทระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติจะมุ่งไปที่การกำหนดนโยบาย ในขณะที่ฝ่ายบริหารจะมุ่งไปที่การนำนโยบายไปแปลงเป็นแผน แผนงาน โครงการ และนำแผนไปสู่ปฏิบัติสิ่งที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน คือ ฝ่ายบริหาร ทั้งระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา หรือระบบของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารของอังกฤษมีสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนคือ การมีระบบราชการ (civil service) เป็นแกนหลักในการนำเอากฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งไปปฏิบัติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าฝ่ายบริหารมีบทบาทที่ทำให้การนำเอานโยบายไปปฏิบัติมีความเข้มแข็งและมีความเป็นไปได้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระบบการเมือง ระบบการบริหาร และ นโยบายสาธารณะ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการศึกษากระบวนการกำหนดนโยบาย หรือการนำเอานโยบายไปปฏิบัติเพราะหากมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ของเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้การศึกษานโยบายสาธารณะเกิดความเข้าใจที่ดีมากขึ้น
ในช่วงแรกของการริเริ่มวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในปี ค.ศ 1887 Woodrow Wilson ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาการบริหารอย่างเป็นระบบ และกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการแยกการเมืองออกจากการบริหารทั้งนี้ เพราะงานบริหารเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะที่ต้องมีการศึกษาอบรมการแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายการเมืองก็เพื่อให้ฝ่ายบริหารมีความเป็นอิสระในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกต่าง ๆ ทางการบริหารได้ดียิ่งขึ้น พัฒนาการของความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง การบริหาร และนโยบายสาธารณะในช่วงแรก การเกิดรัฐประศาสนศาสตร์
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นมาสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่างๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย4สำนักด้วยกัน คือ
1.สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2.สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3.สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4.สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเองหรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่นๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่นๆเพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่างๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่นๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่างๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวางแล้ว สิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการผลิตนักรัฐประศาสนศาสตร์ก็คือ การสร้างจริยธรรม อุดมการณ์ และพฤติกรรม ที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อๆไป
การศึกษาที่มีความหลากหลายและเกิดเป็นพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์จนเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมทั่วไป ทำให้มีนักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ทำการศึกษาพัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีการจำแนกลำดับการพัฒนาของสาขาวิชานี้อย่างกว้างขวางและมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับว่านักวิชาการใดจะให้ความสำคัญในมิติใด ตัวอย่างเช่น พิทยา บวรวัฒนา ได้เสนอว่า พัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ ดังนั้นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของรัฐประศาสนศาสตร์การบริหารและเอกชนแนวโน้มของโลกาภิวัตน์จึงเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการจัดการภาคสาธารณะอย่างเลี่ยงไม่ได้เรื่องการบริหารสาธารณะที่ได้รับการนำเสนออย่างเป็นศาสตร์แพร่กระจายไปทั่ว ประการสำคัญผลกระทบของเทคโนโลยีเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขอบเขตของแต่ละประเทศบางขวางเกือบจะไล่ผมแดนฉะนั้นรูปของเศรษฐกิจและบทบาทของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญต่อการได้ ชัยชนะเหนือคู่แข่ง
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ในสมัยก่อน อาจเรียกว่า กฎ ระเบียบ หรือกติกาของชุมชน ซึ่งหัวหน้าชุมชนเป็นผู้กำหนด ขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกของชุมชนได้ยึดถือและปฏิบัติตาม อันจะนำมาสู่ความสงบ เรียบร้อยของ ชุมชน หากไม่มีกฎระเบียบแล้วมนุษย์ย่อมอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีความสุข เนื่องจากธรรมชาติของ มนุษย์รักที่จะทำในสิ่งที่สร้างความสุขให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือขัดแย้งกับผู้อื่นได้ ทั้งนี้กฎระเบียบหรือกติกาของชุมชนเหล่านั้นถือ เป็นนโยบายสาธารณะ หรือนโยบายในภาษาพูดกระนั้น หากกล่าวถึงนโยบายก็มักไม่ เฉพาะเจาะจงว่านโยบาย ที่กล่าวถึงนั้นจะเกี่ยวข้องกับภาครัฐหรือภาคเอกชน แต่หากใช้ นโยบายสาธารณะ ก็มักเฉพาะเจาะจงว่าเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐหรือรัฐเป็นผู้กำหนด นโยบายสาธารณะจึงหมายถึงกิจกรรมของรัฐที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่ได้กำหนดไว้ โดยเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนและมีความต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคนหมู่มากหรือประชาชน ฉะนั้น นโยบายสาธารณะจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ กำหนดนโยบายต้องศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายระดับประเทศหรือระดับท้องถิ่น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่น ซึ่งการกระจายอำนาจดังกล่าวทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญต่อ ประเด็นนโยบายสาธารณะมากขึ้น เนื่องจากแต่ละชุมชนท้องถิ่นย่อมมีบริบทและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป
นโยบายสาธารณะมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลต้องออกนโยบายและนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา หรือ ทำให้ประชาชนที่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนประชาชนเมื่อ เห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการในการดำเนินชีวิต ก็จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลมากขึ้น หรืออาจะกล่าวได้ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่ กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคมในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึงสิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
การบริหาร หรือ การจัดการ โดยทั่วไปเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้แทนกันได้เสมอ คำภาษาอังกฤษที่มักใช้เรียกในความหมายของ การบริหาร มี 2 คำ คือ Management และ Administration ส่วนมากคำว่า Management มักจะใช้ในทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง การนำเอานโยบายไปปฏิบัติ โดยมีการกำหนดแบบงาน วิธีการทำงาน และการใช้ปัจจัย หรือทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า การจัดการ ส่วนคำว่า Administration มักเน้นการบริหาร เกี่ยวกับนโยบาย มักนิยมใช้ในทางราชการ เช่น Public Administration
สำหรับคำนิยามของคำว่า “การบริหาร” มีคำนิยามอยู่หลายคำนิยามแต่ที่นิยมกันแพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันมี 2 นิยาม คือ
1. การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลอื่นในความหมายนี้ชี้ในเห็นว่าผู้บริหารประสบความสำเร็จในเป้าหมายของพวกเขา โดยการเตรียมการให้กับบุคคลอื่นปฏิบัติงานอะไรก็ได้ที่มีความจำเป็น ผู้บริหารมิได้ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วยตัวของพวกเขาเอง
2. การบริหาร คือ กระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุมกำลังความพยายามของสมาชิกขององค์การ และใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้ ในความหมายนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารใช้ทรัพยากรทั้งหมดขององค์การ ซึ่งมีเงินทุน อุปกรณ์ ข่าวสาร และคน เพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การ คนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดขององค์การ
จากคำนิยามของการบริหารดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าการบริหารจะกินความครอบคลุมประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. จะต้องมีวัตถุประสงค์ ( Objective ) คือ เป้าหมายในการดำเนินงานที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
2. จะต้องมีประสิทธิภาพ ( Effectiveness ) คือ ความสำเร็จของผลงานตามที่คาดหมายไว้
3. จะต้องมีทรัพยากร ( Resource ) คือ ปัจจัยต่าง ๆ ของการบริหาร ที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง ซึ่งแต่เดิมโดยทั่วไป ประกอบด้วย คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) และการจัดการ (Management) หรือที่เรียกโดยย่อว่า ๔ M’s แต่ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทรัพยากรดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ ทรัพยากรที่เป็นส่วนประกอบในการบริหาร ประกอบด้วย ทรัพยากรคน (Human Resource) ทรัพยากรที่เป็นวัสดุและอุปกรณ์ (Physical Resource) และทรัพยากรทางด้านเงินทุน (Financial Resource) และทรัพยากรทางด้านข่าวสารข้อมูล (Information Resource)
4. มีการประสมประสานกัน ( Integration and Coordination ) คือ กระบวนการในการดำเนินงานด้วยประการทั้งปวง ที่ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สอดคล้องต่อเนื่องกัน
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
Assingment 1 อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐศาสตร์วนศาสตร์
ตอบ ให้ความสนใจในการศึกษาถึงโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการ เป็นศาสตร์ที่มีระเบียบวิธีการศึกษาเป็นของตนเอง เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องขององค์การของรัฐที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรและสนับสนุนให้องค์การของรัฐมีโครงสร้างกลไกการตัดสินใจและพฤติกรรมของข้าราชการที่เกื้อหนุนต่อการให้บริการสาธารณะ(นิโคลาล่าเฮนรี่)
-กระบวนการองค์การและบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางราชการทั้งหลายและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดและนำเอากฎหมายระเบียบ แบบแผนต่างๆที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการออกไปปฏิบัติ(จอร์จ เอส. กอร์ดอน)
-การกำหนดและปฏิบัติตามนโยยายของระบบราชการ ซึ่งตัวระบบมีขนาดใหญ่โตและมีลักษณะความเป็นสาธารณะ(เจมส์ ดับบลิว.เฟลเลอร์)
สรุป รัฐประศาสนศาสตาร์ คือ ศาสตร์หรือสาขาความรู้

พัฒนาการของแนวความคิดรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะ และการเปลี่ยนแปลงของยุค สมัยในการบริหารสาธารณะ นําไปสู่การพัฒนาของศาสตร์ทางการบริหารและนําไปสู่การเเลี่ยนแปลงทางการบริหารในหลายประเทศ การพัฒนาแนวความคิดและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและลักษณะ ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือพาราไดม์ของรัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดจากปีจจัย แวดล้อมในด้านตาางๆ ทําให้แนวคิดท่ีเก่ียวข้องกับการบริหารสาธารณะมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเห็นว่าแนวคิดหรือพาราไดม์ของรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันมีการนําแนวคิดการจัดการของภาคอกชน เข้ามาใช้เป็น กลไกขับเคลื่อนการบริหารสาธารณะมากข้ึน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของแนวความคิดที่พัฒนาและได้รับการ ยอมรับยาาสามารถนํามาปฏิบัติใช่ได้สอดคละองต่อสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุปัน
Nan. said…
สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
Assignment 2 นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรทึ่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตอบ แนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จะต้องพัฒนา บุคลากรตามแนวทางของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติตามบริบทและยุทธศาสตร์ (Strategies) ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภารกิจงานใหม่ที่ท้าทายศักยภาพของบุคลากรภาครัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นโยบายของรัฐบาลกับระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งนโยบายของ รัฐบาล ก็คือ นโยบายสาธารณะที่มีผลผูกพันและผลกระทบไปสู่สาธารณะหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายนั้น จึงจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายของ รัฐบาลมีการดําเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพราะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีการรับรู้และมีความรู้มากขึ้น จึงสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย (Patmasiriwat, 2015) ซึ่งแตกต่างจากการกําหนดนโยบายอย่างในอดีตที่ผ่านมาที่ผู้กําหนดนโยบายคือ ภาครัฐหรือรัฐบาลจะกําหนดมาโดยอาศัยการตัดสินใจของชนชั้นนํา (Elite) หรือคณะรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้ ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการกําหนดนโยบายด้วย
แนวทางที่ทําให้องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสําคัญสู่ความสําเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสําคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสํานึก รวมถึง ทัศนคติในการทํางานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสําคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่และภารกิจสําคัญของระบบราชการทั้งในส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อําเภอ) และส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต. เป็นต้น) ในฐานะผู้ปฏิบัติตามโยบายของรัฐบาลจะ ต้องดําเนินการเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมาได้กําหนดให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีแถลง นโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 75-79 สรุปความ ได้ว่า รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยชี้แจงให้ ชัดเจนว่ารัฐบาลจะดําเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐและต้องจัดทํารายงานแสดงผลการดําเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละ หนึ่งครั้ง เป็นต้น
ตามบทบัญญัติข้างต้น คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้ สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเมื่อ แถลงต่อรัฐสภาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะดําเนินการตามนโยบายและแผนที่แถลงฯไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ ระบบการ บริหารงานภาครัฐหรือระบบราชการจึงมีความใกล้ชิดกับนโยบายของรัฐบาลเพราะจะต้องเป็นกลไกหรือ เครื่องมือของรัฐบาล เพื่อให้นโยบายและแผนต่างๆบรรลุเป้าหมายเป็นรูปธรรม
Nan. said…
สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
Assignment 3 อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ตอบ ลักษณะของบริหาร
1.การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์
2.การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด
3.การบริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ
4.การเป็นการดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบุคคล
5.เป็นการร่วมมือร่วมใจกันดำเนินภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่าง ๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยในทัศนะของ Chandler (1989, pp. 639-641) เห็นว่า ควรประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา
ในขณะที่ McCurdy (1986, pp. 17-21) เห็นว่า จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย 4 สำนักด้วยกัน คือ
1. สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเอง หรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่น ๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ (inter-disciplinary) มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางแล้ว สิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการผลิตนักรัฐประศาสนศาสตร์ก็คือ การสร้างจริยธรรม อุดมการณ์ และพฤติกรรม ที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อ ๆ ไป
This comment has been removed by the author.
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
Assignment ที่ 2.นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาลทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะความตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคมและกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้นพร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทางเลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึงสิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม (Jantawan, 2016; Jensantikul, 2013)
แนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จะต้องพัฒนาบุคลากรตามแนวทางของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติตามบริบทและยุทธศาสตร์ ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภารกิจงานใหม่ที่ท้าทายศักยภาพของบุคลากรภาครัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านโยบายของรัฐบาลกับระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งนโยบายของรัฐบาล ก็คือ นโยบายสาธารณะที่มีผลผูกพันและผลกระทบไปสู่สาธารณะหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลมีการดำเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพราะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารประชาชนมีการรับรู้และมีความรู้มากขึ้น จึงสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย (Patmasiriwat, 2015) ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดนโยบายอย่างในอดีตที่ผ่านมาที่ผู้กำหนดนโยบายคือภาครัฐหรือรัฐบาลจะกำหนดมาโดยอาศัยการตัดสินใจของชนชั้นนำ หรือคณะรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการกำหนดนโยบายด้วยเมื่อบริบทเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสปฏิรูป หรือการปกครอง หรือระบบอภิบาลที่เป็นประชาธิปไตย ทำให้หน่วยงานภาครัฐอันเป็นหน่วยปฏิบัติตามโยบาย จะต้องปรับตัวโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาที่แท้จริงแล้วก็คือ ไม่ว่าจำดำเนินการเรื่องใดก็ตาม การบริหารภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อยกระดับการบริหารภาครัฐให้ตอบสนองต่อสาธารณกิจและประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนาใน 2 ส่วนคือ แนวทางการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจภาครัฐ
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ในบริบทของสังคมไทย การอธิบายและวิเคราะห์การแสดงบทบาทของฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารในการกำหนดนโยบาย ในบริบทสังคมไทยอาจกล่าวได้ว่า นับต้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมาการเมืองกบัการบริหารไม่อาจแยกออกจากกัน ได้มีความคล้ายคลึง และความแตกต่างจากบริบทของสังคมตะวันตก โดยลักษณะการเมืองกับการบริหารไม่อาจแยกออกจากกันได้ในสังคมไทย มี 2 ลักษณะกล่าวคือ
ลักษณะที่ 1 การบริหารกบัการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด เพราะฝ่ายข้าราชการประจำเขาไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการกำหนดนโยบายของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งลักษณะดังกล่าว คล้ายกับแนวคิดการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันในสังคมตะวันตกเนื่องจากแม้หน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายสาธารณะจะเป็นของฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ มีหน้าที่ในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ แต่ในความเป็นจริงทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องทำงานร่วมกันและพึ่งพากัน เพื่อให้การกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติบรรลุผลสำเร็จ ข้าราชการประจำ บางคร้ังก็มักเข้าไปก้าวก่ายงานของฝ่ายการเมือง โดยการเสนอข้อมูลข้อเสนอแนะ หรือ ริเริ่มนโยบายใหม่แก่ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะนโยบายด้านเทคนิค ซึ่งข้าราชการประจำ มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากกว่าฝ่ายการเมือง ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายของฝ่ายการเมือง การนำ เสนอแนวทางการนำ ไปปฏิบัติ หรือ ร่างกฎหมายและกฎระเบียบของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น หรือการมีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายสาธารณะโดยการตีความเพื่อสร้างความชัดเจนหรือกำหนดรายละเอียดในการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำจะอยู่บนพื้นฐานของอำนาจหน้าที่ และฝ่ายข้าราชการประจำจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของฝ่ายการเมือง
ลักษณะที่ 2 ในบริบทของการเมืองและสังคมไทย ฝ่ายข้าราชการประจำโดยเฉพาะทหารและตำรวจมีอำนาจมาก โดยเฉพาะอำนาจอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพล และใช้อำนาจดังกล่าวในการเข้าสู่สถานะเป็นตัวแสดง ในฝ่ายการเมืองโดยการปฏิวัติรัฐประหาร และมีการพึ่งฝ่ายข้าราชการประจำ ในสายพลเรือนในกิจกรรมการกำหนดนโยบายของฝ่ายการเมืองที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหารในฐานะที่เป็นคลังสมอง ของรัฐบาลทหาร ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของรังสรรค์ธนะพรพนัธุ์ (2546) ที่พบว่าการกำหนดนโยบายสาธารณะทางเศรษฐกิจในช่วงพ.ศ.2475-2530 อยู่ภายใต้ฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งเป็นเทคโนแครท อาทิข้าราชการประจำในกระทรวงการคลงัธนาคารแห่งประเทศไทย สำนกังานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น หรือการศึกษาของทักษ์เฉลิมเตียรณ (2548) ที่พบว่าในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ฝ่ายข้าราชการประจำ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รุ่นที่ 46
Asignment ที่ 1 อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ตอบ = ความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ มีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับสาขาวิชาอื่นๆ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ จึงทำให้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ(Interdisciplinary) ทำให้นักบริหารงานภาครัฐและฝ่ายปฏิบัติต้องมีองค์ความรู้ที่รอบด้านในการพัฒนาองค์การระบบราชการ การบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับของประชาชนในสถานการณ์สภาพแวดล้อมปัจจุบันรัฐประศาสนศาสตร์มีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงและบูรณาการกับสาขาอื่นๆ ดังนี้การพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
การพัฒนาแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์ มี 5 รูปแบบ ได้แก่
1.การเมืองและการบริหาร เป็นยุคที่ รัฐประศาสนศาสตร์และรัฐศาสตร์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การเมืองเกี่ยวข้องกับการกระทำของกลุ่มผู้บริหารและการกระทำของรัฐเช่น นโยบาย กฏหมาย แผนพัฒนาขณะที่การบริหารเกี่ยวข้องกับการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย กฏหมายและการพัฒนา
2.หลัก รัฐประศาสนศาสตร์กับการบริหารสาธารณะ ได้รับอิทธิพลของหลักการมาจากการบริหารต้องค้นคว้าให้เกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญต้องเรียนรู้ให้เกิดความสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
3.รัฐประศาสนศาสตร์กับการบริการสาธารณะในฐานะ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์การบริหารไม่ได้ปลอดจากการเมืองแนวคิดระบบการเมืองเสนอถึง ความตึงเครียดทางการเมืองกับการบริการสาธารณะ รัฐศาสตร์และการบริหารสาธาราณะเป็นการกระทำที่กระทำควบคู่กันไป
4.รัฐประศาสนศาสตร์กับการบริหารสาธารณะในฐานะการจัดการ รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะศึกษาภายใต้อิทธิพลของรัฐศาสตร์ต่อความสนใจต่อทฤษฎีองค์การที่เป็นพื้นฐานของการบริหารศาสตร์การบริหารสาธารณะการจัดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดระบบบริหารเป็นต้น
5.รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในฐานะรัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมในด้านต่างๆทำให้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสาธารณะเปลี่ยนแปลงไปปัจจุบันมีการนำเอาแนวคิดภาคเอกชนมาพัฒนาและได้รับการยอมรับสามารถนำไปปฏิบัติได้ให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมปัจจุบันการพัฒนาแนวคิดรัฐประศาสตร์ศาสตร์จึงมีความหลากหลายในการบริหารการบูรณาการร่วมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆเช่น กลุ่มพฤติกรรมสังคม การเมือง ประชาชน เอกชน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การวิเคราะห์หาเหตุและผลที่เป็นตรรกะร่วมกัน ในการหาจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการพัฒนาแนวคิดคิดใหม่ๆ ทางด้านต่าง ๆ เช่น แนวคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน แนวคิดเรื่องการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสจากสถานณ์ต่าง ๆ แนวคิดการพัฒนาศักยภาพของคน การพัฒนาระบบสาธารณะ ที่มีหลายรูปแบบในการผสมผสานร่วมกันในเชิงบูรณาการ
สรุป รัฐประศาสนศาสตร์นั้น เป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) ทำให้มีการขอหยิบยืมแนวคิด ทฤษฎีรวมถึงวิธีการของสาขาวิชาอื่นๆ มาใช้ ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์จึงที่มีรากฐานมาจากสาขาวิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสังคมวิทยา วิทยาศาสตร์ บริหารหรือจิตวิทยา รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง การดำเนินงานของภาครัฐหรือระบบราชการ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐหรือรัฐบาลที่วางไว้เป็นกิจกรรมหรือ การดำเนินงานของทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการที่จะทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปจะเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรนำหน้าตัว P และ A ใหญ่ คือ Public Administration สำหรับการบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารราชการ เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับการดำาเนินงานกิจกรรมต่างๆที่รัฐปฏิบัติเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อประชาชนโดยส่วนรวมนิยมใช้ภาษาอังกฤษด้วยอักษร p และ a เล็ก คือ public administration รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ มีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับสาขาวิชาอื่นๆเช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์จิตวิทยามนุษยศาสตร์ จึงทำให้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นสหวิทยการ (Interdisciplinary) ทำให้นักบริหารงานภาครัฐและฝ่ายปฏิบัติต้องมีองค์ความรู้ที่รอบด้านในการพัฒนาองค์การ ระบบราชการ การบริการ สาธารณะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับของประชาชนในสถานการณ์สภาพแวดล้อมปัจจุบัน
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รุ่นที่ 46
Asignment ที่ 2 นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
ตอบ = นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละ
ประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญต้องให้ความสำคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายรวมไปถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง
การบริหาร คือ การบริหาร คือ ศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ
การบริหาร คือ กระบวนการทางสังคมซึ่งพิจารณาได้เป็น 3 ทาง คือ
1.ทางโครงสร้าง เป็นความสำพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนของสายการบังคับบัญชา
2.ทางหน้าที่ เป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่ระบุหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
3.ทางปฏิบัติการ เป็นกระบวนการบริหารดำเนินการในสถานการณ์ที่บุคลต่อบุคคลกำลังมีปฏิสัมพันธ์หรือร่วมทำปฏิกิริยาเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
การบริหาร คือการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาศัยคน เงิน วัตถุ สิ่งของเป็นปัจจัยในการปฏิบัติงาน
การบริหาร คือ กระบวนการทางสังคมของบุคคลที่ทำหน้าที่การวางแผนการจัดองค์การ จัดคนเข้าทำงาน สั่งการ และควบคุมการทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานปัจจัยในการผลิต
สรุป นโยบายสาธารณะกับการบริหารจึงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในลักษณะที่เชื่อมโยงกันในด้านต่างๆ โดยการนำเอานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต้องคำนึงถึง ผลสำเร็จหรือความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ผลกระทบต่าง ๆที่เกิดขึ้น การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ การพัฒนาประเทศ กระบวนการนำเอานโยบายสาธารณะมาวิเคราะห์และการกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการกำหนดทางเลือกนโยบายโดยการกำหนดเลือกพิจารณานโยบายที่ดีมีความเป็นไปได้และสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหาเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายสาธารณะที่เลือกมาแล้วจะไม่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าในการจัดทำนโยบายและการกำหนดแนวทางร่วมกับฝ่ายบริหารให้สอดคล้องกันกับความเป็นจริงนำไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 รุ่นที่ 46
Asignment ที่ 3.อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ตอบ = การบริหารและการจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เนื่องจากการบริหารจัดการเป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอด มีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่เกิดจากการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถพิสูจน์ความจริงได้ ตลอดจนได้รับการศึกษาค้นคว้ามากันอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการจัดการเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง การบริหารราชการและการบริหารธุรกิจตลอดจนการจัดการทุกสาขา ในทางปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคนที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายซึ่งเป็นลักษณะผนวกความเป็นศิลป์หมายถึงการประยุกต์เอาความรู้หลักการและทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม เพราะการจัดการในองค์กรแต่ละองค์กรมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นศาสตร์หรือความรู้ในด้านการจัดการเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้จำเป็นต้องประยุกต์ความรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์กรแต่ละองค์กรผู้บริหารที่ดีก็ควรหมั่นศึกษาหาความรู้ในด้านการจัดการเพิ่มเติมอยู่เสมอ ติดตามผลการวิจัย สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทฤษฎีทางวิชาการและเทคนิคการจัดการสมัยใหม่ ตลอดจนใช้ความพยายามของตนมาปรับปรุงบุคลิกของตนให้เหมาะสมต่อการเป็นผู้นำองค์การด้วยดังนั้นการบริหารจึงเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อนและองการความช่วยเหลือจากบุคคลหลายฝ่ายเป็นการระดมทรัพยากรที่สำคัญรวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการองค์การเพื่อดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การเมือง(Politics) เป็นเรื่องของอำนาจ (Politics is Power) และการศึกษาเกี่ยวกับอำนาจ การจัดสรรแบ่งปันส่วนทรัพยากรต่างๆของรัฐบาลการกำหนดนโยบายสาธารณะการเมืองกับความขัดแย้งการเมืองกับการประนีประนอมการเมืองที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศจึงมีลักษณะเป็นการจัดสรรผลประโยชน์และการใช้อำนาจในการบริหารประเทศและการจัดสรรผลประโยชน์ของรัฐให้กับกลุ่มต่างๆการใช้อำนาจ
การได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นผู้แสดงเจตนารมณ์ของประชาชน (GeneralView) ผ่านประชาชนในรูปแบบสาธารณะและเป็นการนำรูปแบบนโยบายมอบหมายไปให้ฝ่ายบริหารไปปฏิบัติ มีการอำนวยการ การควบคุม การเร่งรัด ไปปฏิบัติต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการเมืองกับการบริหารการเมืองทางกฎหมายเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไม่มีความมั่นคงไม่มีเสถียรภาพขึ้นอยู่กับรัฐบาลไม่มีความชำนาญเป็นผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองมีทางเลือกปฏิบัติ ถูกกำหนดโดยกลุ่มประชาชน ส่วนการบริหาร มีลักษณะเป็นราชการ มีความมั่นคง มีความชำนาญการ มีความรู้ ความสามารถ มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ การบริหารจึงมีลักษณะการทำงานเป็นกลุ่ม ๆ และมีเป้าหมายร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้การเมืองกับการบริหารจึงมีความสัมพันธ์กันในลักษณะไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้ทั้งฝ่ายการเมือง ผู้บริหารงานภาครัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติ ล้วนต้องตัดสินใจทางการเมืองและกำหนดนโยบายสาธารณะ(FritzMorstein-Marx)การเมืองกับการบริหารเป็นความสลับซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ปัญหาเชิงค่านิยมปทัสสถานความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์กับองค์กรทางสังคมอื่นๆ (Robert Dahl) การบริหารงานแยกไม่ออกจากการเมือง การบริหารของรัฐล้วนเป็นเรื่องการเมือง กระบวนการบริหารเป็นกระบวนการหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง (Paul Appleby)

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ ผศ.ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
ธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัสนักศึกษา 634-234-711-45 รุ่น 46
Module – 1 มี 3 ข้อ
Assignment ที่ 1
1.อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ กับ การพัฒนาแนวคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ตอบ
ความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์แบ่งได้ 3 ขอบข่าย ได้แก่ การเมืองและนโยบายสาธารณะ ทฤษฎีองค์การ และวิทยาการจัดการ ความเป็นสหวิทยาการเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมีองค์ความรู้ แนวคิดทฤษฎีเป็นของตนเอง เป็นสหวิทยาการหลายแขนงเพื่อมาอธิบายจุดที่ศึกษา เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ เน้นการนำเอาสังคมอื่นมาแก้ปัญหาในการบริหาร และเป็นกึ่งวิชาชีพที่แตกต่างจากวิชาชีพแขนงอื่น ๆ แม้ไม่มีการจัดตั้งสถาบันและจรรยาบรรณที่กำหนดขึ้นมาบังคับใช้โดยตรง
การพัฒนาแนวคิด รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการพัฒนากระบวนการบริหารรัฐกิจให้มีลักษณะที่เป็นสาธารณะรวมทั้งระบบการบริหารราชการและรัฐวิสาหกิจ การบริหาร รัฐประศาสนศาตร์ย่อมมีความแตกต่างกันเปลี่ยนแปลงไปตามขอบข่ายในแต่ละยุคสมัยและปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และกิจการสาธารณะของสังคม
การพัฒนาแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์ มี 5 รูปแบบ ได้แก่
1.การเมืองและการบริหาร เป็นยุคที่ รัฐประศาสนศาตร์และรัฐศาสตร์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การเมือง
เกี่ยวข้องกับการกระทำของกลุ่มผู้บริหารและการกระทำของรัฐเช่น นโยบาย กฏหมาย แผนพัฒนาขณะที่การบริหารเกี่ยวข้องกับการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย กฏหมายและการพัฒนา
2.หลัก รัฐประศาสนศาสตร์กับการบริหารสาธารณะ ได้รับอิทธิพลของหลักการมาจากการบริหารต้องค้นคว้าให้เกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญต้องเรียนรู้ให้เกิดความสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
3.รัฐประศาสนศาตร์กับการบริการสาธารณะในฐานะ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ป็นส่วนหนึ่งของ
รัฐศาสตร์การบริหารไม่ได้ปลอดจากการเมืองแนวคิดระบบการเมืองเสนอถึง ความตึงเครียดทางการเมืองกับ
การบริการสาธารณะ รัฐศาสตร์และการบริหารสาธาราณะเป็นการกระทำที่กระทำควบคู่กันไป
4.รัฐประศาสนศาสตร์กับการบริหารสาธารณะในฐานะการจัดการ รัฐประศาสนศาตร์หรือการบริหารสาธารณะศึกษาภายใต้อิทธิพลของรัฐศาสตร์ต่อความสนใจต่อทฤษฎีองค์การที่เป็นพื้นฐานของการบริหารศาสตร์ การบริหารสาธารณะ การจัดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดระบบบริหารเป็นต้น
5.รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารสาธารณะในฐานะ รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมในด้านต่าง ๆทำให้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสาธารณะเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันมีการนำเอาแนวคิดภาคเอกชนมาพัฒนาและได้รับการยอมรับสามารถนำไปปฎิบัติได้ให้สอดคล้องต่อสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
การพัฒนาแนวคิดรัฐประศาสตร์ศาสตร์จึงมีความหลากหลายในการบริหารการบูรณาการร่วมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆเช่น กลุ่มพฤติกรรมสังคม การเมือง ประชาชน เอกชน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การวิเคราะห์หาเหตุและผลที่เป็นตรรกะร่วมกัน ในการหาจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการพัฒนาแนวคิดคิดใหม่ๆ ทางด้านต่าง ๆ เช่น แนวคิดเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน แนวคิดเรื่องการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสจากสถานณ์ต่าง ๆ แนวคิดการพัฒนาศักยภาพของคน การพัฒนาระบบสาธารณะ ที่มีหลายรูปแบบในการผสมผสานร่วมกันในเชิงบูรณาการ
ขอบคุณครับ
เอกสารอ้างอิง : ผศ. ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ : บรรยาย
ดร.ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ : ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
หลักรัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ ผศ.ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
ธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัสนักศึกษา 634-234-711-45 รุ่น 46
Module - 1
Assignment ที่ 2
2.นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
ตอบ
นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยหลักการบริหารนโยบายสาธารณะมีลักษณะเป็นกิจกรรม นโยบายสาธารณะ การบริหารสาธารณะและการจัดการสาธารณะเน้นการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของภาคการบริหารภาครัฐที่มีการจัดการกระบวนการข่าวสารข้อมูลและกระบวนการผลิตของนโยบาย กฎหมาย สินค้า บริการ นโยบายสาธารณะ เป็นกิจกรรมต่าง ๆที่รัฐบาลจัดทำขึ้นมาหรือแผนงานหรือโครงการ เป็นแนวทางปฎิบัติที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐได้กำหนดขึ้นเพื่อเจตนาในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นโยบายสาธารณะจะเน้นประยุกต์ให้ความรู้ข้อเท็จจริง เกิดประสิทธิผลมากที่สุดในการนำนโยบายการบริหารไปปฎิบัติคือนโยบายสาธารณะ
การบริหารเป็นกิจกรรมกระบวนการบริหารงานสาธารณะซึ่งครอบคลุมทั้งการบริหารราชการและรัฐวิสาหกิจที่นำเอานโยบายของรัฐบาลไปปฎิบัติ นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้อวการของประชาชน เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด ส่วนการบริหารเป็นการวางกลยุทธ์ วิธีการ โครงการ แผนงานต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้สำเร็จเพื่อให้ตรงความต้องการของประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี นโยบายสาธารณะกับการบริหารสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดีซึ่งเป็นปัจจัยไปสู่ความสำเร็จโดยมีปัจจัย คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของภาครัฐมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารและการพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสำนึก รวมถึงการให้ความสำคัญในมิติของการบริหารในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งคือ นโยบายสาธารณะ (Public Policy) เน้นมิติการให้ความสำคัญในการนำนโยบายไปปฎิบัติ (Policy Implementation) เป็นหน้าที่และภารกิจสำคัญของระบบราชการในส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) ส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ.อบต.เป็นต้น) ในฐานะผู้ปฎิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อดำเนินการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการบริหารสารธารณะตามหลักธรรมาภิบาลให้ความคำคัญกับหลัก นิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักความโปร่งใส หลักประสิทธิภาพ หลักการมีส่วนร่วม หลักมิติมหาชน หลักการและการให้ความสำคัญของระบบธรรมาภิบาลสามารถนำไปปิบัติได้จริงในระบบการบริหารงานภาครัฐจะก่อให้เกิดระบบคุณธรรม (Merit System) ที่เป็นระบบที่พึงปรารถนาที่ดีในการบริหาร เพราะระบบธรรมาภิบาล (Good governance) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบในการปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมทางเศรษฐกิจและสังคม ความเสมอภาค ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน รวมไปสู่การบริหารระบบราชการที่ดี (Good Goverment)ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆอย่างแท้จริงในด้านการบูรณาการ
นโยบายสาธารณะกับการบริหารจึงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นพลวัต (Dynamic) ที่เชื่อมโยงกันในด้านต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหารถติดในกรุงเทพฯ มีการกำหนดนโยบายสาธารณะ ฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ไฟฟ้า ประปา คมนาคม การสื่อสาร ผังเมือง กทม โดยการนำเอานโยบายสาธารณะไปปฎิบัติต้องคำนึงถึง ผลสำเร็จหรือความเป็นไปได้ในการปฎิบัติ ผลกระทบต่าง ๆที่เกิดขึ้น การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ การพัฒนาประเทศ กระบวนการนำเอานโยบายสาธารณะมาวิเคราะห์และการกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการกำหนดทางเลือกนโยบาย โดยการกำหนดเลือกพิจารณานโยบายที่ดีมีความเป็นไปได้และสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหาเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายสาธารณะที่เลือกมาแล้วจะไม่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าในการจัดทำนโยบายและการกำหนดแนวทางร่วมกับฝ่ายบริหารให้สอดคล้องกันกับความเป็นจริงนำไปสู่การปฎิบัติให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ขอบคุณครับ
เอกสารอ้างอิง : ผศ. ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ : บรรยาย
ดร.ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ : ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
อิงฟ้า สิงห์น้อย และ รัฐชาติ ทัศนัย : นโยบายสาธารณะ : การบริหารและการจัดการภาครัฐ
หลักรัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ ผศ.ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
ธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัสนักศึกษา 634-234-711-45 รุ่น 46
Module - 3
Assignment ที่ 3
3.อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ตอบ
การบริหารกับการเมืองมีลักษณะที่แตกต่างกัน และคล้ายคลึงกันในเชิงที่มีความสลับซับซ้อนเชิงพฤติกรรมมนุษย์ การใช้อำนาจ การได้มาซึ่งอำนาจ การเมืองและการบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนา การบริหาร มีความหมายที่แคบกว่าและมีข้อจำกัดในด้านหน้าที่ แนวความคิด การจัดการ การเปลี่ยนแปลงของหน้าที่และหลักการของการบริหาร, การเมือง (Politics) นักรัฐศาสตร์มองว่า เป็นเรื่องของอำนาจ ( Politics is Power) และการศึกษาเกี่ยวกับอำนาจ การจัดสรรแบ่งปันส่วนทรัพยากรต่าง ๆของรัฐบาล การกำหนดนโยบายสาธารณะ การเมืองกับความขัดแย้ง การเมืองกับการประนีประนอม การเมืองที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศ (กุลธน ธนาพงศธร) การเมืองจึงมีลักษณะ เป็นการจัดสรรผลประโยชน์และการใช้อำนาจในการบริหารประเทศ
การเมืองเป็นการใช้อำนาจและการได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศและการจัดสรรผลประโยชน์ของรัฐให้กับกลุ่มต่าง ๆ การใช้อำนาจ การได้มาซึ่งอำนาจในการบริหารประเทศ มีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นผู้แสดงเจตนารมณ์ของประชาชน (General View) ผ่านประชาชนในรูปแบบสาธารณะ และเป็นการนำรูปแบบนโยบายมอบหมายไปให้ฝ่ายบริหารไปปฎิบัติ มีการอำนายการ การควบคุม การเร่งรัด ไปปฎิบัติต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ความแตกต่างระหว่างการเมืองกับการบริหาร การเมืองทางกฎหมายเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความมั่นคง ไม่มีเสถียรภาพขึ้นอยู่กับรัฐบาล ไม่มีความชำนาญ เป็นผู้มีอุดมการณ์ทางการเมือง มีทางเลือกปฎิบัติ ถูกกำหนดโดยกลุ่มประชาชน ส่วนการบริหาร มีลักษณะเป็นราชการ มีความมั่นคง มีความชำนาญการ มีความรู้ ความสามารถ มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปฎิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ การบริหารจึงมีลักษณะการทำงานเป็นกลุ่ม ๆ และมีเป้าหมายร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ (ชุบ กาญจนประกร) เช่น การวางนโยบายการบริหารงานประเทศ 20 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารประเทศ แนวคิดการบริหารแยกจากการเมือง (Politics and Administration) มองว่า เป็นการใช้อำนาจบังคับพลเมืองให้ปฎิบัติตาม การใช้อำนาจเพื่อตรสจสอบภาครัฐ การใช้อำนาจในการบริหารกิจการทั้งปวงของรัฐ (Frank Goodnow) และ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเกิดขึ้น การบริหารควรศึกษาอย่างจริงจังและควรนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบในการจัดการตามรูปแบบการแยกอำนาจการบริหารกับการเมือง (Leonard White) การเมืองกับการบริหารจึงมีความสัมพันธ์กันในลักษณะไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้ ทั้งฝ่ายการเมือง ผู้บริหารงานภาครัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติ ล้วนต้องตัดสินใจทางการเมืองและกำหนดนโยบายสาธารณะ (Fritz Morstein -Marx) การเมืองกับการบริหารเป็นความสลับซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ ปัญหาเชิงค่านิยมปทัสสถาน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐประศาสนศาสตร์กับองค์กรทางสังคมอื่นๆ (Robert Dahl) การบริหารงานแยกไม่ออกจากการเมือง การบริหารของรัฐล้วนเป็นเรื่องการเมือง กระบวนการบริหารเป็นกระบวนการหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง (Paul Appleby)
การบริหารจึงมีลักษณะของการนำแนวนโยบายของฝ่ายการเมืองไปปฎิบัติ ฝ่ายบริหารจะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ๆมีเป้าหมายชัดเจน เป็นกระบวนการ มีการวางแผน เพื่อให้แผนที่วางไว้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยการใช้ทรัพยากร คน เงิน วัสดุสิ่งของ องค์ประกอบอื่น ๆมาใช้ในการปฎิบัติงาน ส่วนการเมืองมีลักษณะเป็นการบริหารในเชิงควบคุม การได้มาซึ่งอำนาจ การรักษาอำนาจ การแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งการบริหารประเทศมีลักษณะเป็นปิระมิดรูปสามเหลี่ยมบนสุด ส่วนการบริหารในเชิงพฤติกรรมเป็นศาสตร์และศิลปะในการทำงานร่วมกัน ทำงานเป็นทีมมีเป้าหมายร่วมกันร่วมกับผู้อื่น (Peter Druker) การบริหารมีลักษณะเด่นคือ มีวัตถุประสงค์ อาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบ การใช้ทรัพยากรบุคคล เป็นกระบวนการ การดำเนินการร่วมกัน การร่วมมือกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ (สมพงษ์ เกษมสิน) การเมือง จึงมีลักษณะเด่นคือ การแสวงหาอำนาจ การได้มาซึ่งอำนาจ การรักษาอำนาจ และการใช้อำนาจในฝ่ายบริหารและการจัดสรรทรัพยากร
ขอบคุณครับ
เอกสารอ้างอิง : ผศ. ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ : บรรยาย
ดร.ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ : ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
กุลธน ธนาพงศธร : การเมืองและการบริหาร
Dr.Churairat Chullachakkawat : การเมืองและการบริหาร

Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่างๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา
จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย
4 สำนักด้วยกัน คือ
1. สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเอง หรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่น ๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ (inter-disciplinary) มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลต้องออกนโยบายและนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา หรือ ทำให้ประชาชนที่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนประชาชนเมื่อ เห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการในการดำเนินชีวิต ก็จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลมากขึ้น หรืออาจะกล่าวได้ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่ กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้
องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสำนึก รวมถึง ทัศนคติในการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสำคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation) ต้องดำเนินการเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละ ประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับ รัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายรวมไปถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ ถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง
Assignment ที่ 3.อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ในการศึกษาการเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะ ภายใต้แนวคิดการบริหารกับการเมืองที่ไม่แยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและบริบทสังคมไทยกล่าวได้ว่า มีความแตกต่างกัน ใน หลายประการ โดยความแตกต่างที่สำคัญ มาจากความแตกต่างในแง่ที่มาและความชอบธรรมของตัวแสดงใน ฝ่ายการเมือง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร และระดับการเข้าไปเกี่ยวข้องของ ฝ่ายบริหารในกิจกรรมการกำหนดนโยบายสาธารณะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นมาจาก ความแตกต่างในโครงสร้าง สังคมและสภาพแวดล้อมทางการเมืองและการบริหารในบริบทของสังคมตะวันตกและสังคมไทย
ในการอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของตัวแสดงฝ่ายการเมือง ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงที่ใช้ อำนาจอธิปไตยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยเข้าสู่อำนาจหน้าที่ผ่านการเลือกตั้งของ ประชาชน กับ ตัวแสดงฝ่ายบริหาร ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงฝ่ายข้าราชการประจา ซึ่งเข้าสู่อำนาจหน้าที่ด้วย การสอบและการพิจารณาแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งในระบบราชการ ภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและ การบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน(no politics-administration dichotomy) ในการกำหนด นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นในบริบทของสังคมตะวันตก เมื่อมีการนำมาปรับใช้ในการอธิบายในบริบทสังคมไทยอาจกล่าวได้ว่า มีมีประเด็นที่น่าสนใจและแตกต่างจากแนวคิดทฤษฏีที่พัฒนาขึ้นในสังคมตะวันตกในหลายประการ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะและข้อแตกต่างของการเมืองการบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทย แนวคิดทฤษฏีที่ พัฒนาขึ้นในสังคมตะวัน ตกในหลายประการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะและข้อแตกต่างของการเมืองการบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทยการเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะ : แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและการ บริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน ในสังคมตะวันตก ในการนา เสนอแนวคิดที่ว่าด้วยการบริหารกับการเมืองและฝ่ายการเมืองกับฝ่ายราชการประจำต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและไม่สามารถแยกออกจากกันได้
(no politics - administration dichotomy) แนวคิดนี้อยู่บนฐานคติที่ว่าการบริหารมิใช่เรื่องของกิจกรรมทางเทคนิคและปลอดจากค่านิยมซึ่งแยกต่างหากจากการเมืองแต่ฝ่ายบริหารได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดนโยบายสาธารณะตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งการบริหารก็คือการเมืองนั้นเอง ทฤษฎีที่พัฒนาขึ้น จากฐานคติการเมืองการบริหารไม่อาจแยกกันได้มีหลายแนวคิด กำหนดนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแปลงแนวนโยบายยังมีความคลุมเครือไปสู่แนวการการปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงระบบราชการจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองทฤษฏีการบริหารรัฐกิจจึงเป็นเรื่องของทฤษฏีการเมือง
หน่วยราชการของฝ่ายบริหารเป็นสาขาที่สี่ของรัฐบาล ซึ่งจะต้องเข้าไปมีส่วนพัวพันกับการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของตนบรรลุเป้าหมายขององค์การ หน่วยราชการมีพลังในการต่อรองทางการเมืองหลายประการ ทั้งในแง่ขนาด และจำนวนข้าราชการและที่สำคัญที่สุดก็คือความรู้ ในงานที่ตนรับผิดชอบ เห็นว่าทฤษฎีการบริหารรัฐกิจก็ คือทฤษฎีการเมืองนั้นเอง โดยฝ่ายข้าราชการประจำมีความเกี่ยวข้องกับ การจัดทำนโยบายเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์จึงไม่ควรสนใจแต่เฉพาะเรื่องในระบบราชการ แต่ควรจะต้องให้ความสนใจในเรื่องการเมือง โดยเฉพาะเรื่องความต้องการทางสังคม ความเท่าเทียมทางสังคม ความยุติธรรมทางสังคม และค่านิยม ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะฝ่ายข้าราชการประจำมีภาระหน้าที่ในเรื่องนโยบาย สาธารณะที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนข้าราชการประจำจึงเป็นทั้งผู้นำนโยบายไปปฏิบัติและผู้กำหนดนโยบาย การบริหารก็คือเรื่องของการเมืองความสัมพันธ์ของอำนาจทั้งสาม คือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและ ตุลาการ แม้จะมิได้ก้าวล่วงระหว่างกัน แต่ความสัมพันธ์อาจรวมตัวกัน เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง63423471141
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
สำหรับการศึกษาพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย นักวิชาการไทย ได้ศึกษาผ่านการใช้แนวคิดเรื่องพาราไดม์เช่นเดียวกันโดยศึกษาผ่านหัวเรื่องวิวัฒนาการกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ไทยช่วงระหว่าง พ.ศ. 2498-2551 โดยกล่าวว่ามีการแบ่งออกเป็น 5 กระบวนทัศน์โดยกระบวนทัศน์ทั้งหมดถูกสร้างเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นทางการบริหารว่าจะพัฒนาระบบราชการไทยให้ดีขึ้นได้อย่างไรประกอบด้วย (1) กระบวนทัศน์หลักการบริหารแบบคลาสสิค (The Principles of Public Administration Paradigm) (พ.ศ. 2498-2522) มีฐานคติสำคัญคือมุ่งการจัดการบริหารให้เป็นระเบียบมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ระบบการประสานงานและความร่วมมือเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพและความประหยัด ต่อมาเกิดกระแสการท้าทายว่ากระบวนทัศน์นี้ เน้นให้เกิดประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียวและความสามารถใช้ได้จริงของระบบคุณธรรมจึงเกิดกระบวนทัศน์ต่อมา (2) กระบวนทัศน์การจัดการ (The Management Paradigm) (พ.ศ. 2522-2537) แนวคิดสำคัญคือการใช้แนวทางการจัดการแบบภาคธุรกิจมาประยุกต์ใช้ ซึ่งคือการใช้เครื่องมือทางการบริหารและแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) ต่อมาจึงถูกโจมตีเรื่องการละเลยปัญหาด้านจริยธรรมและความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจจึงเกิดกระบวนทัศน์ใหม่ (3) กระบวนทัศน์ธรรมาภิบาล (The Good Governance Paradigm) (พ.ศ.2540-ปัจจุบัน) โดยมีฐานคติที่มุ่งให้เกิดองค์ประกอบต่างๆ ของธรรมาภิบาล เช่น หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ เพื่อช่วยลดปัญหาด้านจริยธรรมการบริหารและ ตอบสนองแนวคิดประชาธิปไตยยุคใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรก็ดีแนวคิดนี้มีความเป็นนามธรรมสูงจึงเกิดกระบวนทัศน์กลุ่มที่สองซึ่งมีสองกระบวนทัศน์ย่อย คือ (4) กระบวนทัศน์การเมือง-การบริหาร (The Politics-Administration Paradigm) (พ.ศ.2498-ปัจจุบัน) ซึ่งมีฐานคติว่าสำหรับระบบราชการไทยไม่ควรมีการแยกการบริหารจากการเมืองการศึกษารวมถึงการแก้ไขปัญหาระบบราชการต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างการเมืองและการบริหาร และ (5) กระบวนทัศน์แบบไทย (The Thai-Paradigm) (พ.ศ. 2498-ปัจจุบัน) ซึ่งมีฐานคติว่าสำหรับการแก้ปัญหาระบบราชการย่อมต้องพิจารณาจากบริบทของสังคมนั้นๆ ดังการศึกษาและแก้ปัญหาระบบราชการไทยย่อมต้องใช้กระบวนทัศน์แบบไทย (นิศาชล พรหมรินทร์, 2552, น. 394-398
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง63423471141
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาลโดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกันซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุดดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญต้องให้ความสำคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายรวมไปถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง63423471141
Assignment ที่ 3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ฝ่ายบริหาร – มีหน้าที่รับนโยบายออกไปปฏิบัติให้บรรลุผลนำนโยบายไปปฏิบัตและเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายโดยอาศัยความรอบรู้ ข้อมูล ความชำนาญงาน เพื่อให้ได้นโยบายที่ดี เหมาะสม ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติ
ฝ่ายการเมือง
1) ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายโดยให้ทิศทางกว้างๆไว้เป็นแนวทางการปฏิบัติ
2)จัดทรัพยากรสนับสนุนให้เพียงพอเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้
3)จัดให้มีการประเมินผลการทำงานเพื่อหาข้อบกพร่องและนำไปแก้ไขไม่ควรเข้าไปก้าวก่ายในภาคปฏิบัต
4) ใช้อำนาจอย่างมีวุฒิภาวะ มีศีลธรรม เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ตอบ 1 ข้อ1
ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์คือการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์ทฤษฎีองค์การทฤษฎีสังคมทฤษฎีการเมืองและการศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งเน้นไปที่ความหมายโครงสร้างและหน้าที่ของการบริการสาธารณะในทุกรูปแบบ มักจะเล่าถึงรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการศึกษาระบบราชการตลอดจนประเด็นทางญาณวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะในฐานะวิชาชีพและในด้านวิชาการ
โดยทั่วไปมีแนวทางที่แตกต่างกันสามวิธีในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ ได้แก่ ทฤษฎีการบริหารรัฐกิจแบบคลาสสิกทฤษฎีการจัดการสาธารณะแนวใหม่และทฤษฎีการบริหารรัฐกิจหลังสมัยใหม่ซึ่งนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ดูแลระบบปฏิบัติในการบริหารราชการ
นักทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเช่น Max Weber แสดงความสำคัญของค่านิยมในการพัฒนาทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ อย่างไรก็ตามทฤษฎีไม่สามารถได้มาจากการสังเกตข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เท่านั้น แต่จะต้องสร้างขึ้นโดยใช้การตัดสินคุณค่าที่ชี้นำการสังเกตเชิงประจักษ์ของเราแล้วชี้นำการตีความข้อสังเกตเหล่านั้น ค่านิยมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์เนื่องจากคำนึงถึงหลักจริยธรรมและปรัชญาที่มีความหมายของวัฒนธรรมซึ่งทำให้มั่นใจได้ถึงการปฏิบัติตามทฤษฎีที่เหมาะสม ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ถูกนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือพิจารณาผ่านกลยุทธ์ที่แตกต่างกันสองสามประการ: แบบคู่ขนานการถ่ายโอนหรือการทำงานร่วมกันหรือที่เรียกว่าการปฏิบัติตามทฤษฎีช่องว่าง แนวปฏิบัตินี้ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติและนักวิชาการ

การบริหารภาครัฐหลังสมัยใหม่หมายถึงผลงานภายในของหน่วยงานของรัฐเกือบทุกแห่งที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาคองเกรสชายและหญิงในวอชิงตัน ดี.ซี. หรือผู้แทนกรมความปลอดภัยสาธารณะซึ่งอยู่ที่สำนักงาน DPS ใด ๆ ที่จัดการงานเอกสารของผู้สมัครที่ต้องการได้รับใบอนุญาตขับรถ แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการนั้นกว้างพอที่จะครอบคลุมตำแหน่งทางราชการทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ สมาชิกของการบริหารภาครัฐมาในรูปแบบและปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อเข้าใจทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์หลังสมัยใหม่สิ่งสำคัญคือต้องสร้างความแตกต่างระหว่างทฤษฎีหลังสมัยใหม่กับยุคหลังสมัยใหม่รวมทั้งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างความหลังสมัยใหม่ (ช่วงเวลา) และหลังสมัยใหม่ (ทฤษฎี / ปรัชญา)

ทฤษฎีหลังสมัยใหม่วิวัฒนาการมาจากยุคหลังสมัยใหม่ ชัคฟ็อกซ์และฮิวจ์มิลเลอร์เป็นสองหลักส่วนทฤษฎีหลังสมัยใหม่เพราะพวกเขามีความสามารถที่จะรับรู้สภาพหลังสมัยใหม่และวิธีที่จะเล่นออกมาในการบริหารงานภาครัฐและนโยบายสาธารณะ ฟ็อกซ์และมิลเลอร์ให้เหตุผลว่าวิธีการบริหารราชการแบบดั้งเดิมนั้น "ใช้ประโยชน์จากนักทฤษฎีการบริหารภาครัฐในเรื่องความเป็นอิสระที่จำเป็นในการจินตนาการถึงเงื่อนไขในการทำงานและการกำกับดูแลที่เป็นอิสระมากขึ้น" [5]มิลเลอร์เสนอรูปแบบเครือข่ายตามประโยชน์ใช้สอยทางเศรษฐกิจซึ่งจะอธิบายเหตุการณ์ต่างๆได้ดีกว่าแนวทางการบริหารราชการแบบเดิม มิลเลอร์ระบุว่า "เครือข่ายนโยบายเป็นช่องทางหนึ่งในการประมวลผลความขัดแย้งการแสดงค่านิยมและการถ่ายทอดกลยุทธ์การดำเนินนโยบายที่เป็นไปได้การหลบหลีกในนามของผลประโยชน์สาธารณะในเครือข่ายที่ละเอียดอ่อนทางการเมืองที่ซับซ้อนนี้เป็นหน้าที่ของการบริหารราชการหลังก้าวหน้า" [6]ทฤษฎีนี้เริ่มขึ้นในปี 1990 แม้ว่าทฤษฎีนี้จะมีอยู่ในสาขาวิชาอื่นมาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม การประมาณเวลาอาจย้อนกลับไปถึงเพลโตและแนวคิดของเขาเกี่ยวกับรัฐบาลสาธารณะและชุมชนที่มีการกำหนดนโยบายและขั้นตอนต่างๆผ่านระดับของประชาธิปไตย ทฤษฎีนี้ได้รับการทบทวนและเปลี่ยนแปลงผ่านการเคลื่อนไหวทางปัญญาสามครั้งโดยซักถามรูปแบบการวนซ้ำของประชาธิปไตยซึ่งหลายคนแย้งว่าส่วนใหญ่เป็นมายาคติแสดงให้เห็นถึงลักษณะเชิงสัญลักษณ์ของนโยบายและการเมืองในสหรัฐอเมริกาและทฤษฎีวาทกรรม หนึ่งในข้อเสียของทฤษฎีนี้ก็คือว่ามันจะขึ้นอยู่กับความลาดชันลื่นของrelativism ทฤษฎีนี้ยังช่วยให้ผู้คนมีเครื่องมือในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระเบียบสัญลักษณ์และสังคมของเราขึ้นมาใหม่ ทฤษฎีนี้อยู่คำถามใหญ่ของสิ่งที่ถูกต้องและผิดและพยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่จะหายาแก้พิษสำหรับภาวะผิดปกติและสัมพัทธภาพ
Assignmentที่2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ อย่างเหมาะสม
แนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จะต้องพัฒนา บุคลากรตามแนวทางของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติตามบริบทและยุทธศาสตร์ (Strategies) ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภารกิจงานใหม่ที่ท้าทายศักยภาพของบุคลากรภาครัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นโยบายของรัฐบาลกับระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งนโยบายของ รัฐบาล ก็คือ นโยบายสาธารณะที่มีผลผูกพันและผลกระทบไปสู่สาธารณะหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายของ รัฐบาลมีการดำเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพราะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีการรับรู้และมีความรู้มากขึ้น จึงสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย (Patmasiriwat, 2015) ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดนโยบายอย่างในอดีตที่ผ่านมาที่ผู้กำหนดนโยบายคือ ภาครัฐหรือรัฐบาลจะกำหนดมาโดยอาศัยการตัดสินใจของชนชั้นนำ (Elite) หรือคณะรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้ ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการกำหนดนโยบายด้วย เมื่อบริบทเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสปฏิรูป หรือการปกครอง หรือระบบอภิบาลที่เป็น ประชาธิปไตย (Democratic Governance) ทำให้หน่วยงานภาครัฐอันเป็นหน่วยปฏิบัติตามโยบาย จะต้อง ปรับตัวโดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ที่แท้จริงแล้วก็คือ ไม่ว่าจำดำเนินการเรื่องใดก็ตาม การบริหารภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อยกระดับการ บริหารภาครัฐให้ตอบสนองต่อสาธารณกิจและประชาชนได้มากขึ้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนา ใน 2 ส่วนคือ แนวทางการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการ พัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจภาครัฐ โดยมีรายละเอียดดังนี้
แนวทางที่ทำให้องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสำนึก รวมถึง ทัศนคติในการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสำคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่และภารกิจสำคัญของระบบราชการทั้งในส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) และส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต. เป็นต้น)
อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ตอบ ลักษณะของบริหาร
1.การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์
2.การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด
3.การบริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ
4.การเป็นการดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบุคคล
5.เป็นการร่วมมือร่วมใจกันดำเนินภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์
กัลกร อภิชาติวรนันท์ 63423471007
1. รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่าง ๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยในทัศนะของ Chandler (1989, pp. 639-641) เห็นว่า ควรประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา
ในขณะที่ McCurdy (1986, pp. 17-21) เห็นว่า จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย 4 สำนักด้วยกัน คือ
1. สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเอง หรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่น ๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ (inter-disciplinary) มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์
กัลกร อภิชาติวรนันท์ 63423471007
3. อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
การบริหารประเทศภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น มีองค์กรสําคัญที่ทํางาน เกี่ยวเนื่องกัน คือ ฝ่ายการเมืองที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งซึ่งทําหน้าที่กําหนดนโยบาย และฝ่ายบริหาร ราชการที่มีระบบราชการและข้าราชการเป็นฟันเฟืองสําคัญในการนํานโยบายไปปฏิบัติ และอาจมีบทบาท ในการกําหนดนโยบายระดับหนึ่ง บทบาทและความสัมพันธ์ของฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจําถือว่า เป็นส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐซึ่งมีองค์ประกอบคือ การกําหนดนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติ หากฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจํามีความสัมพันธ์ ท่ีดีต่อกัน ก็จะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายของนโยบายที่ได้กําหนดไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและ ฝ่ายข้าราชการประจําจึงเป็นส่ิงสําคัญสําหรับการบริหารประเทศให้ดําเนินต่อไปอย่างเรียบร้อยและเกิด ประโยชน์ต่อประชาชน และการจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจํา จําเป็นที่จะต้องทําความเข้าใจเก่ียวกับความหมายของการเมือง บทบาทหน้าท่ีหลักของฝ่ายการเมือง ความหมายของการบริหารราชการ และบทบาทหน้าท่ีหลักของข้าราชการประจํา เพื่อจะได้เชื่อมโยงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่ายได้อย่างชัดเจน
 กัลกร อภิชาติวรนันท์ 63423471007
2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะมีความสําคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลต้องออกนโยบายและนําไปปฏิบัติเพ่ือช่วยแก้ไขปัญหา หรือ ทําให้ประชาชนท่ีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีย่ิงข้ึนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนประชาชนเม่ือ เห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการในการดําเนินชีวิต ก็จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลมากขึ้น หรืออาจะกล่าวได้ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยผลประโยชน์และแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทน้ันก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนําไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ข้ึนอยู่ กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกําหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากท่ีสุด ดังน้ันนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพ่ือตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดีย่ิงขึ้น
Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
ความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่าง ๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยในทัศนะของ Chandler (1989, pp. 639-641) เห็นว่า ควรประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา
ในขณะที่ McCurdy (1986, pp. 17-21) เห็นว่า จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย 4 สำนักด้วยกัน คือ
1. สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเอง หรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่น ๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ (inter-disciplinary) มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางแล้ว สิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการผลิตนักรัฐประศาสนศาสตร์ก็คือ การสร้างจริยธรรม อุดมการณ์ และพฤติกรรม ที่รับผิดชอบต่อสังคมต่อ ๆ ไป
Assignment 2 นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรทึ่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตอบ แนวทางในการพัฒนาการบริหารภาครัฐให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จะต้องพัฒนา บุคลากรตามแนวทางของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติตามบริบทและยุทธศาสตร์ (Strategies) ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภารกิจงานใหม่ที่ท้าทายศักยภาพของบุคลากรภาครัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นโยบายของรัฐบาลกับระบบราชการหรือการบริหารภาครัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งนโยบายของ รัฐบาล ก็คือ นโยบายสาธารณะที่มีผลผูกพันและผลกระทบไปสู่สาธารณะหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายนั้น จึงจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญ ซึ่งปัจจุบันกระบวนการสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายของ รัฐบาลมีการดําเนินการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก เพราะปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ประชาชนมีการรับรู้และมีความรู้มากขึ้น จึงสนใจและต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย (Patmasiriwat, 2015) ซึ่งแตกต่างจากการกําหนดนโยบายอย่างในอดีตที่ผ่านมาที่ผู้กําหนดนโยบายคือ ภาครัฐหรือรัฐบาลจะกําหนดมาโดยอาศัยการตัดสินใจของชนชั้นนํา (Elite) หรือคณะรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้ ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการกําหนดนโยบายด้วย
แนวทางที่ทําให้องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสําคัญสู่ความสําเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสําคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสํานึก รวมถึง ทัศนคติในการทํางานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสําคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ซึ่งเป็นหน้าที่และภารกิจสําคัญของระบบราชการทั้งในส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อําเภอ) และส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต. เป็นต้น) ในฐานะผู้ปฏิบัติตามโยบายของรัฐบาลจะ ต้องดําเนินการเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมาได้กําหนดให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีแถลง นโยบายต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 75-79 สรุปความ ได้ว่า รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยชี้แจงให้ ชัดเจนว่ารัฐบาลจะดําเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐและต้องจัดทํารายงานแสดงผลการดําเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละ หนึ่งครั้ง เป็นต้น
ตามบทบัญญัติข้างต้น คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้ สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเมื่อ แถลงต่อรัฐสภาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะดําเนินการตามนโยบายและแผนที่แถลงฯไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ ระบบการ บริหารงานภาครัฐหรือระบบราชการจึงมีความใกล้ชิดกับนโยบายของรัฐบาลเพราะจะต้องเป็นกลไกหรือ เครื่องมือของรัฐบาล เพื่อให้นโยบายและแผนต่างๆบรรลุเป้าหมายเป็นรูปธรรม
ณัฐภรณ์ ยศพิมพ์ 63423471025 ค่ะ

Assignment ที่ 1. อธิบายความเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์กับการพัฒนาแนวความคิดของรัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คือ การเป็นสหวิทยาการ ซึ่งประกอบไปด้วยศาสตร์ต่างๆ ใช้ร่วมในการศึกษา ตลอดจนอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยประกอบไปด้วย วิชารัฐศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาวิทยาการจัดการ วิชาการบริหารธุรกิจวิชาสังคมวิทยา วิชาจิตวิทยา วิชามนุษยศาสตร์ และวิชานิติศาสตร์ ซึ่งจะมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการศึกษา
จากพัฒนาการทางรัฐประศาสนศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแนวคิดหลักในการศึกษาประกอบไปด้วย
4 สำนักด้วยกัน คือ
1. สำนักที่สนใจศึกษาแบบดั้งเดิม กล่าวคือ สนใจศึกษาสังคมวิทยา จิตวิทยา โดยเน้นและปรับใช้ในเรื่องของความสัมพันธ์ของมนุษย์ และสนใจในรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์โดยนำมาใช้ในการปฏิรูประบบ
2. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงพฤติกรรม โดยนำมาใช้ศึกษาถึงระบบราชการทฤษฎีองค์การ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ และการพัฒนาองค์การ
3. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงเหตุผลนิยม โดยนำวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจมาใช้ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย และการจัดการ
4. สำนักที่สนใจศึกษาในเชิงการเมือง โดยสนใจในเรื่องการเมืองและกฎหมายโดยศึกษาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารงานในท้องถิ่น
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐประศาสนศาสตร์มีการนำความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในวิชาของตนเอง หรือนำวิชาเหล่านั้นมาประกอบเข้ากันเป็นลักษณะของสหวิทยาการ และถือว่าเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาทางการบริหารในองค์การให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเป็นสหวิทยาการของรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้จำเป็นต้องนำศาสตร์อื่น ๆ และนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาในขอบข่ายของการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติ เศรษฐศาสตร์หรือแม้กระทั่งการตลาด และการประชาสัมพันธ์รวมถึงในปัจจุบันมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องของจริยธรรมและคุณธรรมภายในวิชารัฐประศาสนศาสตร์การดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐนั้นมีขอบเขตครอบคลุมหลายมิติ เพื่อการบริหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้น รัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องนำเอาสาขาวิชาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ และมีขอบเขตที่กว้างขวางตามความเหมาะสม และกลับจะเป็นการเปล่าประโยชน์ถ้าหากจะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ในความจริงแล้วสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ได้มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน มีการร่วมมือศึกษาและทำการวิจัยร่วมกัน ดังนั้น วิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงต้องใช้ความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่าง ๆ เหล่านั้น หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ (inter-disciplinary) มาประยุกต์ใช้กับโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้ในทางปฏิบัติแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น ๆ อีก เช่น วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับสาขาวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมา และนอกจากนี้การศึกษาในวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง

ณัฐภรณ์ ยศพิมพ์ 63423471025 ค่ะ
Assignment ที่ 2. นโยบายสาธารณะกับการบริหารมีลักษณะอะไรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง
นโยบายสาธารณะมีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ โดยรัฐบาลต้องออกนโยบายและนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา หรือ ทำให้ประชาชนที่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนประชาชนเมื่อ เห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการในการดำเนินชีวิต ก็จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลมากขึ้น หรืออาจะกล่าวได้ว่า นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่ กับรัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
บริบทของนโยบายสาธารณะในกระแสการปฏิรูปมีเงื่อนไขของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องที่สลับซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบริบทของการบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ระบบอภิบาล (Governance) ทำให้กระบวนการนโยบายมีผู้แสดง และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ภาครัฐ ต้องหันกลับมาให้ความสนใจต่อการตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะความ ตระหนักถึงภาวการณ์พึ่งพาหน่วยงานต่างๆ ในสังคมในการให้บริการสาธารณะและการแก้ไขปัญหาสังคม และกระบวนการการส่งเสริมการมีส่วนร่มของพลเมือง ทำให้เกิดเครือข่ายนโยบายในลักษณะต่างๆ ขึ้น พร้อมๆกับความต้องการข้อมูลและความรู้ในการใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและทาง เลือกนโยบายสังคม ในลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึง สิทธิและหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้
องค์การสามารถรับมือหรือปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์สภาพแวดล้อมขององค์การ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดีซึ่งปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จคือ “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ” มีส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารและพัฒนาระบบบริหารภาครัฐถ้าปราศจากคนที่มีศักยภาพ จิตสำนึก รวมถึง ทัศนคติในการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องแล้ว การบริหารภาครัฐจะเดินหน้าไปสู่สิ่งระบบในที่นี้จึงมุ่งเน้น ให้ความสำคัญในมิติของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐที่ต้องตระหนักเพราะการปฏิบัติงานจะต้อง เกี่ยวข้องกันอยู่เสมอกับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นถึงมิติความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation) ต้องดำเนินการเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นโยบายสาธารณะ คือ นโยบายที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์และแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ต่อทั้งประชาชนและรัฐบาล โดยนโยบายสาธารณะแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละ ประเภทนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม ส่วนการนำไปใช้บริหารประเทศนั้นก็ขึ้นอยู่กับ รัฐบาลแต่ละชุดว่าจะกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะแบบไหน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลที่มุ่งเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ กับประชาชนเป็นหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายรวมไปถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ ถ้าหากสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและตรงกับความต้องการของประชาชนก็จะสามารถช่วยให้ประชาชนมี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริงา
ณัฐภรณ์ ยศพิมพ์ 63423471025 ค่ะ

Assignment ที่ 3.อะไรคือลักษณะของการบริหารกับการเมือง
ในการศึกษาการเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะ ภายใต้แนวคิดการบริหารกับการเมืองที่ไม่แยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและบริบทสังคมไทยกล่าวได้ว่า มีความแตกต่างกัน ใน หลายประการ โดยความแตกต่างที่สำคัญ มาจากความแตกต่างในแง่ที่มาและความชอบธรรมของตัวแสดงใน ฝ่ายการเมือง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร และระดับการเข้าไปเกี่ยวข้องของ ฝ่ายบริหารในกิจกรรมการกำหนดนโยบายสาธารณะ เหตุที่เป็นเช่นนั้นมาจาก ความแตกต่างในโครงสร้าง สังคมและสภาพแวดล้อมทางการเมืองและการบริหารในบริบทของสังคมตะวันตกและสังคมไทย
ในการอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของตัวแสดงฝ่ายการเมือง ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงที่ใช้ อำนาจอธิปไตยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยเข้าสู่อำนาจหน้าที่ผ่านการเลือกตั้งของ ประชาชน กับ ตัวแสดงฝ่ายบริหาร ซึ่งหมายถึง ตัวแสดงฝ่ายข้าราชการประจา ซึ่งเข้าสู่อำนาจหน้าที่ด้วย การสอบและการพิจารณาแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งในระบบราชการ ภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและ การบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน(no politics-administration dichotomy) ในการกำหนด นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นในบริบทของสังคมตะวันตก เมื่อมีการนำมาปรับใช้ในการอธิบายในบริบทสังคมไทยอาจกล่าวได้ว่า มีมีประเด็นที่น่าสนใจและแตกต่างจากแนวคิดทฤษฏีที่พัฒนาขึ้นในสังคมตะวันตกในหลายประการ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะและข้อแตกต่างของการเมืองการบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทย แนวคิดทฤษฏีที่ พัฒนาขึ้นในสังคมตะวัน ตกในหลายประการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะและข้อแตกต่างของการเมืองการบริหารและการกำหนดนโยบายสาธารณะภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วยการเมือง และการบริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันในบริบทสังคมตะวันตกและในบริบทสังคมไทยการเมือง การบริหาร และการกำหนดนโยบายสาธารณะ : แนวคิดที่ว่าด้วยการเมืองและการ บริหารที่ไม่สามารถแยกออกจากกัน ในสังคมตะวันตก ในการนา เสนอแนวคิดที่ว่าด้วยการบริหารกับการเมืองและฝ่ายการเมืองกับฝ่ายราชการประจำต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและไม่สามารถแยกออกจากกันได้
(no politics - administration dichotomy) แนวคิดนี้อยู่บนฐานคติที่ว่าการบริหารมิใช่เรื่องของกิจกรรมทางเทคนิคและปลอดจากค่านิยมซึ่งแยกต่างหากจากการเมืองแต่ฝ่ายบริหารได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดนโยบายสาธารณะตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งการบริหารก็คือการเมืองนั้นเอง ทฤษฎีที่พัฒนาขึ้น จากฐานคติการเมืองการบริหารไม่อาจแยกกันได้มีหลายแนวคิด กำหนดนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแปลงแนวนโยบายยังมีความคลุมเครือไปสู่แนวการการปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงระบบราชการจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมืองทฤษฏีการบริหารรัฐกิจจึงเป็นเรื่องของทฤษฏีการเมือง
หน่วยราชการของฝ่ายบริหารเป็นสาขาที่สี่ของรัฐบาล ซึ่งจะต้องเข้าไปมีส่วนพัวพันกับการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของตนบรรลุเป้าหมายขององค์การ หน่วยราชการมีพลังในการต่อรองทางการเมืองหลายประการ ทั้งในแง่ขนาด และจำนวนข้าราชการและที่สำคัญที่สุดก็คือความรู้ ในงานที่ตนรับผิดชอบ เห็นว่าทฤษฎีการบริหารรัฐกิจก็ คือทฤษฎีการเมืองนั้นเอง โดยฝ่ายข้าราชการประจำมีความเกี่ยวข้องกับ การจัดทำนโยบายเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์จึงไม่ควรสนใจแต่เฉพาะเรื่องในระบบราชการ แต่ควรจะต้องให้ความสนใจในเรื่องการเมือง โดยเฉพาะเรื่องความต้องการทางสังคม ความเท่าเทียมทางสังคม ความยุติธรรมทางสังคม และค่านิยม ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะฝ่ายข้าราชการประจำมีภาระหน้าที่ในเรื่องนโยบาย สาธารณะที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนข้าราชการประจำจึงเป็นทั้งผู้นำนโยบายไปปฏิบัติและผู้กำหนดนโยบาย การบริหารก็คือเรื่องของการเมืองความสัมพันธ์ของอำนาจทั้งสาม คือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและ ตุลาการ แม้จะมิได้ก้าวล่วงระหว่างกัน แต่ความสัมพันธ์อาจรวมตัวกัน เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563