Final Examination

                   

                    ข้อสอบปลายภาค หลักรัฐประศาสนศาสตร์

           
                    Final Examination

Comments

FINAL EXAMINATION
ชื่อนางสาวนิตย์รดี จิณะไชย รหัสนักศึกษา62423471015 รุ่นที่44
วันอาทิตย์ที่16พฤษภาคม2563

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดราชการของ maxweber
ตอบ องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วย
1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
หลักการน้ีมีเป้าหมายท่ีจะทาให้องค์การต้องอยู่ภายใต้การควบคุมโดยเชื่อว่าการบริหารที่มีลำดับขั้นจะทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุมทำให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้นตอนมีความเหมาะสม
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนความรับผิดชอบหมายถึงการรับผิดและรับชอบต่อการกระทำใดๆท่ีตนได้กระทำลงไปและความพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้บังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลาด้วย
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
1. เจ้าหน้าที่ต้องมีหลักการและวิธีการในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อลโดยถือหลัก
ประสิทธิภาพหรือหลักประหยัด
2. ความมีประสิทธิผลในการบริหารงานจะเกิดข้ึนต่อเมื่อมีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน
3. การบริหารจะได้รับประสิทธิผลสูงสุดต่อเมื่อมีการกาหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสม
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน
(differentation, specialization)
ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการต้องมีการแบ่งงานและจัพแผนกงานหรือจัดส่วนงานข้ึนมาเพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานท่ีต้องทำออกเป็นส่วนๆแล้วหน่วยงานมารองรับ
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
ต้องมีการกำหนดระเบียบวินัยและบทลงโทษข้ึนมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการถือเป็นอาชีพอย่างหน่ึงและต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา
- ความเป็นวิชาชีพ “รับราชการ” นั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เก่ียวกับกฎระเบียบข้อบังคับตลอดจนตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าท่ีของตนด้วย




2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมตัวอย่างเช่นสภาพการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาโดยรวมรายได้โดยรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายได้เรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ3อันดับแรกได้แก่
1.ด้านโครงสร้างการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา
2.ด้านการใช้ภาวะผู้นำในการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วยเสียทางการศึกษา
3.ด้านสภาพแวดล้อมในการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษารองลงมาจากสภาพแวดล้อมและโครสร้างตามลำดับ และเป็นด้านหนี้สินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดด้วย
ประสิทธิผลการจัดการศึกษาของ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมและรายได้โดยรวมมี
ระดับปฏิบัติบัติในระดับมาก
2. รูปแบบการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยปัจจัยการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา ได้แก่
(1) ด้านเป้าหมายของการบริหาร
(2) ด้านโครงสร้างการบริหาร
(3) ด้านการใช้ภาวะผู้นำ
(4)ด้านสภาพแวดล้อมท่ีส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา 4 ด้าน ได้แก่
(1) ด้านงานวิชาการ
(2) ด้านงบประมาณ
(3) ด้านงานบุคคล
(4) ด้านงานทั่วไปรูปแบบมีประเด็นพิจารณาทั้งหมด 163 ประเด็นและทุกประเด็นไดรับฉันทามติจากผู้ร่วมประชุมสนทนากลุ่มเห็นด้วยอยู่ในระดับมากท่ีสุด และไดรับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญในการประชุมอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) โดยรวมและรายด้านทุกด้านเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาที่มีประสิทธิผลต่อการจดั การศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานโดยรวมและรายด้านเมื่อพิจารณาโดยรวมมี ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาราย
ได้เรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความถูกต้องรองลงมาคือด้านความเป็นไปได้และด้านความเหมาะสมตามลำดับส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือความเป็นประโยชน์
นายลัญจกร พวงศรี รหัสนักศึกษา62423471015 รุ่นที่44 17/5/63


1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดราชการของ max weber
ตอบ.หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน
ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการ ต้องมีการแบ่งงาน และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน ขึ้นมา เพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานที่ต้อง ทำออกเป็นส่วนๆ แล้วหน่วยงานมารองรับการจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การได้หลายรูปแบบคือ
1. การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ เป็นการแบ่งงานโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน และมีการกำหนดภาระกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ ที่องค์การต้องบริหารจัดการไว้ด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่การบริหารราชการออกเป็น จังหวัด อำเภอ อ.บ.จ. อ.บ.ต. เทศบาล
2. การแบ่งงานตามหน้าที่ หรือภารกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติจัดทำ เช่นการจัดแบ่งงานของกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง
3. การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น การแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลสงฆ์
4. การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน โดยคำนึงว่างานที่จะทำสามารถแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง แล้วกำหนดหน่วยงานมารองรับ


2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการ ประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
1) ผู้ดำเนินกิจกรรมหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2) เป้าประสงค์
3) ทรัพยากร
4) กระบวนการและแนวทางการ
ทำงาน และ
5) ผลกระทบ ผลผลิต และการบูรณาการท าให้องค์กรเกิดประโยชน์สามารถลดความซ้ าซ้อนของงาน
ความสูญเปล่าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ เวลา ประหยัดทรัพยากร ลดปัญหาความขัดแย้งภายในองค์การ


-พฤติกรรมกาบริหาร บทบาททางการบริหาและความรับผิดชอบทางการบริหาร
ตอบ.การทำงานตามระเบียบข้อบังคับทำให้คนต้องทำตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัดทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้าเฉื่อยชาซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพการบริหารตามลำดับขั้นทำให้เกิดการทำงานแบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูงอาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานระบบราชการมองคนเป็นแค่วัตถุสิ่งของคนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลยเพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เองระบบราชการเป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร


รัฐบาลต้องมีภาระรับผิดชอบต่อประชนพลเมืองทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันไม่ใช่พยายามสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพราะความพึงพอใจเป็นเรื่องของบุคคลไม่ใช่
ประโยชน์สาธารณะอับเป็นของสังคมโดยรวมดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของอำนาจจึงต้องมีฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้กำหนดกรอบเจตนารมณ์ของกฎหมาย ให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติบรรลุผล
Final Examination)
น.ส.ธวิภรณ์ ธีรเกษตร รหัสนักศึกษา 61823451107 วันที่ 17/05/63
1.) การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการ Max Weber ?
ตอบ. การบริหารรัฐกิจ (รัฐประศาสน์ ) หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน (Public Administration)คือ การกำหนดนโยบายและทิศทางว่าจะจัดการปกครองประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ ไปในแนวทางใดและใช้วิธีการใด จึงจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ประเทศไทยได้ยึดหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยระบอบการปกครองนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินจำต้องมีคณะบุคคลขึ้นมารับผิดชอบมีบุคคลหนึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้บริหาร ที่พร้อมจะถูกควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจทางการบริหารจากรัฐสภาตามแนวคิดอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนที่แต่ละฝ่ายต่างมีความเป็นอิสระในการใช้อำนาจของตนเอง แต่ยังมีการควบคุมและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีระบบราชการ (BUREAURATICTHEORY) “Max Weber”
ที่สอดคล้องกับ( ระบบราชการไทย )ในบรรดาสถาบันต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมไทยนับแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าสถาบันขุนนางและข้าราชการนั้น เป็นสถาบันที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในทางการเมืองการปกครองของไทย ระบบราชการได้หยั่งรากลึกลงอย่างมั่นคงและมีพลังอำนาจอิทธิพลอยู่ในสังคมไทยอย่างสืบเนื่องต่อกันมานานนับศตวรรษ ดังนั้นหากจะทำความเข้าใจในระบบขุนนางข้าราชการจำเป็นอย่างยิ่งระบบบริหารราชการจากประวัติศาสตร์ เพื่อให้รับรู้ถึงความเป็นมาในอดีต คือการสืบทอดที่สั่งสมและตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การบริหารงานแบบมืออาชีพการคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าการจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะการให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพคุณธรรมและจริยธรรมตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
2.) จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง ?
ตอบ. การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงานทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน (Result) ตามยุทธศาสตร์เป็นหลักเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญการของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์เดียวกันโดยร่วมกันคิดร่วมกันทำงานโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความประหยัดเสริมสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลักทั้งในลักษณะของการทำงานข้ามกระทรวง กระทรวงเดียวกันแต่ต่างกรมหรือกรมเดียวกันแต่ต่างกองรวมทั้งกรณีมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำงานกับภาครัฐในระบบเครือข่าย (Network)
สภาพแวดสิ่งแวดล้อมของการบริหารหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร (The environment of public administration) หมายถึง ส่ิงท่ีเป็นรูปธรรม นามธรรมทั้งภายนอก ภายใน และรอบๆ องค์การ และส่ิงท่ีเป็นรูปธรรมและนามธรรมดังกล่าวนี้มีอิทธิพลเหนือโครงสร้างกระบวนการและพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการ บริหารเพื่อการพัฒนา(หรือการบริหารการพัฒนา)หรือในทางสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ประชากรเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม อันรวมถึงสหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ อุดมการณ์ อารยธรรมธุรกิจ (business civilization) บรรษัท ปัจเจกชนนิยม ระบบ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเป็นต้น
Final​ ​Examination
นายพิช​ชา​ ​ดา​ระ​สวัสดิ์​ รหัส​62423471046​ รุ่น44
1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการ Max Webe
1.มีการควบคุมงานโดยแบ่งตามลำชั้นของการบังคับบัญชา

2.การจัดคนที่มีความรู้ความชำนา​ญ​เข้าด้วยกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ​ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
3. ความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ​ ข้าราชการทุกคนจะต้องรู้ขอบเขตของอำนาจและหน้าที่ของตน​ และต้องรับผิดชอบในการกระทำำ​ มีการตรวจสอบโดยผู้บังคับบัญชา
4.​หลักแห่งความสมเหตุสมผล​ มีการกำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ขึ้นมาไว้อย่างชัดเจนในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับขององค์การ
5.การปฏิบัติงานใด ๆ จะมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ เจ้าหน้าที่ต้องมีหลักการและวิธีการในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้อง
6.หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน​ มีการแบ่งงาน และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน​ แล้วหน่วยงานมารองรับการจัดส่วนงาน
7.หลักระเบียบวินัย มีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
8.ความเป็นวิชาชีพ​ ผู้​ปฏิบัติงานต้องมีความรู้​ ความชำนาญ​ ในสายงานที่ต้นอยู่​ และต้องมีความรู้​กฎระเบียบ​ และกฎหมาย
nuengpolamat said…
FINAL EXAMINATION
นายหนึ่ง พลอามาตย์ รหัสนักศึกษา 61823451109 รุ่น41
1.) การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการ Max Weber ?
ตอบ Bureaucracy หรือ ระบบราชการ อาจแยกพิจารณาได้เป็ น 2แบบ
1. Bureaucracy–ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (Social Institute) สถาบัน หน่ึ่งในนั่น คือเป็นสถาบนัการบริหาร/การปกครองของรัฐ
2. Bureaucracy - ในฐานะที่เป็ น รูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (AForm of Organization)
Max Weber –ไดเ้สนอแนวคิดเกี่ยวกบัการจัดองค์การแบบ ระบบราชการ หรือ Bureaucracy ข้ึนมา
สมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพ เเละประสิทธิผล
1. ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และ ความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำ อย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3. อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรืออปรากฎการณ์ได้
ระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจดัองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้
เป็นวิธีการในการจดัองค์การได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใชใ้นองค์การภาครัฐเท่านั้นแต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วยจึงเป็นระบบการบริหารระบบหน่ึงที่นิยมนำ ไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการประสานงานร่วมมมือกับ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสงัคม
การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการ ประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาที่มีประสิทธิผลต่อการจดั การศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานโดยรวมและรายด้านเมื่อพิจารณาโดยรวมมี ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาราย
ได้เรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความถูกต้องรองลงมาคือด้านความเป็นไปได้และด้านความเหมาะสมตามลำดับส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือความเป็นประโยชน์
Nancy said…
final examination 17/5/63
นางสาวชฎาวัลย์ คำพันธ์ รหัส 62423471026 นักศึกษาภาคพิเศษ รุ่นที่ 44

1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดสอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ แนวคิดระบบราชการของ Max Weber เป็นรูปแบบองค์กรที่ใช้เหตุผล และประสิทธิภาพ โดยมีอาจหน้าที่ตามระเบียบและกฎหมาย คือ
1. Hierarchy หลักสายการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขึ้นไป
2. Rules and Regulations หลักกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในการปฏิบัติงานและกำกับการดำเนินงานของพนักงาน
3. Division of labor หลักการแบ่งแยกแรงงาน กำหนดว่างานแต่ละอย่างในองค์กรจะต้องมีผู้รับผิดชอบประจำตำแหน่งและมีการแบ่งงานกันทำเพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง
4. Impersonality หลักการแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน ไม่นำเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับเรื่องงาน แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากผลประโยชน์ขององค์การ
5. Competence หลักการยึดหลักความสามารถในการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของระบบคุณธรรมระบบอุปถัมภ์ เมื่อองค์กรส่งเสริมคนตามความสามารถก็จะทำให้ได้คนดีคนเก่งเข้ามาทำงานแข่งขันกันด้วยการสร้างผลงาน
6. Formal written records หลักการปฏิบัติงานแบบลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การทำงานขององค์กรมีความต่อเนื่อง ชัดเจน สามารถตรวจสอบยืนยันได้
การนำมาปรับให้ทำให้ระบบการสั่งการหรือการควบคุมงานเป็นไปอย่างรัดกุม สามารถประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆได้เนื่องจากมีผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
แต่มีข้อเสีย คือ จัดระบบตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจของข้าราชการทุกคนไม่ได้ มีมาตรฐานการจ้างงานมาตรฐานเดียว และมีระเบียบข้อบังคับจำนวนมากทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน เพราะข้าราชการเน้นความถูกต้องตามระเบียบ

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การคำนึงถึงผลประโยชน์เป็นหลัก การกำหนดบทบาทของผู้บริหารในการรับผิดชอบงานทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนงานสำเร็จ มีการทำงานที่รวดเร็ว มีการรวบรวมข้อมูลที่ดีประกอบการตัดสินใจ มีความคิดเป็นของตัวเอง ทำงานเป็นทีม มีการใช้ทีมงานในลักษณะทีมนำคิด ทีมกำกับการทำงาน ทีมติดตามและประเมินผล ใช้วิธีบริหารที่เป็นยุทธศาสตร์
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การมีความสำคัญต่อการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ เพื่อวางแผนในการตอบสนองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น หรือนำเอาข้อมูลจากการตรวจสอบสภาพแวดล้อมมาใช้ประกอบในการตัดสินใจที่สำคัญขององค์การ ความตื่นตัวของผู้บริหารต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดและสำเร็จขององค์การในปัจจุบัน การทำความเข้าใจ การเก็บรวบรวมและพิจารณาข้อมูลที่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะองค์การอาจจะได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์การประสบความสำเร็จในอนาคต การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อองค์การ 3 ประการ
1. บทบาทเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย เป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ควรมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงมีข้อมูลแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถตัดสินใจตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
2. การบูรณาการเข้ากับแผนกลยุทธ์ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การ โดยช่วยให้ผู้บริหาร หรือสายงานต่างๆ ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนในทุกระดับ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การ มีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์สภาพแวดล้อม เพื่อกำหนดสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการขององค์การและแผนงานในอนาคต
3. บทบาทเกี่ยวกับหน้าที่ทางธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพหรือการดำเนินงานตามหน้าที่ในแต่ละส่วนขององค์การ เช่น การตลาด การเงิน หรือทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานราบรื่นและประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงาน เช่น การพัฒนาเทคนิคการผลิตให้มีประสิทธิภาพ การปรับระบบสวัสดิการ
Final​ ​Examination
นายพิช​ชา​ ​ดา​ระ​สวัสดิ์​ รหัส​62423471046​ รุ่น44
จงอธิบายถึงการบริหารแบบ​บูรณาการ​และสภาพ​แวด​ล้อ​มที่​มีผลต่อ​การบริหาร​ การบริหาร​แบบบูรณาการ คือ การ​บริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุเป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน, โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการ ประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคมบริหาร​สาธารณะ
การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการ ประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคมุ​ สภาพ​แวดล้อม​ทางการเมือง​ เนื่องจากมีความคิดที่แตกต่างทางการเมืองจึงทำให้การดำเนินงานไม่ราบรื่น สภาพแวดล้อมทางสังคมด้วยจำนวนประชากรที่มากทั้งความแตกต่างทางด้านความคิดรวมไปถึงการเข้าถึงการบริการสาธารณะ
FINAL EXAMINATION
นางสาว อภิญญา สืบเหล่างิ้ว รหัสนักศึกษา 61823451003 รุ่น 41
1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดราชการของ Max Weber.
ตอบ การบริหารราชการแผ่นดิน (Public Administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและ ตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการ และการเป็นสาขาวิชาหนึ่งในการบริหารและการจัดการภาครัฐ ที่จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกาไรสูงสุดแต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าคือ ประชาชนที่มาใช้ บริการและต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม
ลักษณะองค์การของระบบราชการ Bureaucracy โดย Max Weber กลุ่มนี้มองระบบราชการว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารขนาดใหญ่ เพราะว่ามีการจัดองค์ การที่ดีมี การแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบและสัดส่วน ทำให้เกิดความชำนาญ ความรวดเร็ว และความประหยัดเป็นระบบบทที่สร้างความยุติธรรม ทา งานภายใต้กรอบ ของกฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่รัดกุมมี เหตุผลจึงลดการเล่นพรรค เล่นพวกลง ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูง
1) หลักลำดับขั้น
2) อำนาจของสมาชิกองค์การมีที่มาจากอำนาจตามตำแหน่งราชการ
3) การทำงานในองค์การแบบระบบราชการถูกกำหนดโดยกรอบของ ระเบียบแบบแผนที่เป็นทางการ และเป็นลายลักษณ์อักษรของหน่วยงานราชการ
4) ข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลาง
5) การรับราชการถือว่าเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
6) ระบบราชการมีลักษณะที่คงทนถาวร อยู่ยงคงกระพัน และแข็งแกร่ง
7) ระบบราชการมีแน่นโน้มจะปกปิดความรู้ในความสลับซับซ้อนของ กลไกระบบราชการไม่ให้คนภายนอกได้ทราบ
ระบบราชการ Bureaucracy จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการเป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการใน การจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การ ภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย Bureaucracy จึง เป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวน มาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก
Max Weber องค์การแบบระบบราชการ (bureaucracy) เป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ประหยัดที่สุดเหตุผล
- ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผลและความถูกต้องตามกฎหมายในการ ปฏิบัติงาน
– มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
- อาศัยหลักความรู้ความสามารถ(ระบบคุณธรรม)เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
- สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรือปรากฎการณ์

FINAL EXAMINATION
นางสาว อภิญญา สืบเหล่างิ้ว รหัสนักศึกษา 61823451003 รุ่น 41
2. จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการ ประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
สภาพแวดล้อมในการบริหาร หมายถึงปัจจัยต่างๆที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การ และมีอิทธิพลที่จะทำให้การบริหารงานของ องค์การเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมของการบริหารหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร
(The environment of public administration) หมายถึง สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐและสามารถ ส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของ การบริหารงานของรัฐ ในปัจจุบันแนวความคิดโดยผู้บริหารองค์การต่างพบว่าตนเองไม่สามารถที่จะกำหนด นโยบายโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของสังคมที่องค์การนั้นๆสังกัดอยู่ เพราะความเจริญเติบโต ของสังคมทำให้สิ่งแวดล้อมในการบริหารงานมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การบริหารงานของรัฐพบว่า ปัจจัยแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบาย สาธารณะ, เป็นปัจจัยที่ช่วยวัดความสำเร็จของการบริหารงานสาธารณะ, เป็นทรัพยากรหรือ วัตถุดิบสำหรับป้อนให้กับระบบการบริหารเพื่อทำการแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการตามนโยบาย ของรัฐ ปัจจัยแวดล้อมบางประเภทมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ของสังคม ซึ่งปัจจัยประเภทนี้สามารถแทรกตัวอยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ มีอิทธิพลต่อ ความรู้สึกนึกคิดของผู้บริหาร ตลอดจนถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การ อันเป็นผลทำให้เกิด ปัญหาในการนำเอากฎ ระเบียบ หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ สภาพแวดล้อมในการบริหารงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรของการบริหารสินค้าขององค์การ
2. สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปของนามธรรม เช่น ค่านิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคม
การบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง องค์การในภาครัฐ เป็นองค์การที่ถูกกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ค่อนข้างมาก เพราะเป็นองค์การขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่างๆ จากภายนอกเป็น จำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆในการดำเนินการค่อนข้างมาก และยังถูกคาดหวัง จากกลุ่มลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักการเมือง ประชาชนตลอดจนภาคธุรกิจเอกชนให้
ต้องจัดบริการสาธารณะต่างๆ ให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของชาติที่เปลี่ยนไปอย่าง รวดเร็ว องค์การภาครัฐ จึงมัก ถูกเรียกร้องให้ต้องปรับตัว ปรับวิธีการดำเนินงานให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มาโดยตลอดซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวปรากฏให้เห็นในรูปของแผนปฏิรูประบบ ราชการซึ่งเป็นนโยบายข้อสำคัญของเกือบทุกรัฐบาลทั้งของไทย และในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกโดย ระบบบริหารงานภาครัฐของไทยต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ทั้งยิ่งใหญ่และซับซ้อน ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี ้
1. กระแสความต้องการบริการจากภาครัฐที่มีมากขึ้น และสลับซับซ้อน ซึ่งเกิดจากปัจจัย ต่างๆ เช่น กระแสเศรษฐกิจเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งทาให้รัฐบาลไทยต้องเร่งลงมือพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้ รัฐบาลต้องทำงานขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน กระแสเศรษฐกิจเสรีก็เป็นกระแสที่บีบให้รัฐต้อง จำกัดบทบาทและขนาดของตนให้เหลือน้อยที่สุด
2. กระแสแรงกดดันที่ทำให้รัฐต้องมีขนาดและอำนาจน้อยลง เช่น กระแสเศรษฐกิจเสรีที่ บีบให้รัฐ ลดบทบาทและใช้ทรัพยากรของประเทศให้น้อยลง ดังที่กล่าวมาแล้ว หรือ กระแส ประชาธิปไตย ที่ทาให้รัฐต้องกระจายอำนาจ ถ่ายโอนภารกิจ งบประมาณ และกำลังคนไปยัง ท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งในปี งบประมาณ 2549 งบประมาณแผ่นดินก็จะต้องกระจายไปยังองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 35 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับงบประมาณแผ่นดิน ส่วนที่เป็นงบลงทุนเป็นต้น
3. กระแสการบริหารจัดการปกครองที่ดี(Good Governance) ซึ่งทำให้การดำเนินงาน ของภาครัฐต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้จากที่รัฐเคยคิดเองทำเองโดยไม่ต้องให้ใครเข้ามา ยุ่งเกี่ยว ก็จะต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการดำเนินงานที่ต้องเปิดเผย ให้ประชาชนตรวจสอบได้และ ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นเป็นระยะๆ
วันอาทิตย์ที่17/5/63 Final Examination
นาย อาทิตย์ ภูครองทุ่ง รหัส 62423471003 ภาคพิเศษ รุ่นที่ 44

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ ในปัจจุบันไทยใช่แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ซึ่งมีแนวความคิดที่มีความสอดคล้องกับแนวคิดของMax weber มีดังนี้
1. เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีวินัยและประหยัด (Stress on greater discipline and parsimony in resource use) วิธีนี้อาจทำได้ เช่น การตัดค่าใช้จ่าย เพิ่มวินัยการทำงาน หยุดยั้งการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน จำกัดต้นทุนการปฏิบัติ เหตุผลก็เพราะต้องการตรวจสอบความต้องการใช้ทรัพยากรของภาครัฐ และ “ทำงานมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง” (do more with less) ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ Max wrber คือ หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
-  การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ (ประสิทธิผล)
-  ประสิทธิผล หรือผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอย่างน้อย 3 อย่างคือ
1.เจ้าหน้าที่ต้องมีหลักการและวิธีการในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้อง โดยถือหลัก ประสิทธิภาพ หรือ หลักประหยัด
หลักประสิทธิภาพ (efficiency) - ในระหว่างทางเลือกหลาย ๆ ทางที่จะต้องใช้จ่ายเงินเท่ากัน ควรเลือกทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
หลักประหยัด  (economy) - ถ้ามีทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลได้เท่า ๆ กัน หลายทางเลือก ควรเลือกทางเลือกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2.ความมีประสิทธิผลในการบริหารงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน
3.การบริหารจะได้รับประสิทธิผลสูงสุดต่อเมื่อมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ ถูกต้อง เหมาะสมกับลักษณะงาน  สถานที่ ช่วงเวลา สภาพแวดล้อม ในทางเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง   และเป้าหมายหรือผลสำเร็จที่ต้องการ
2. แยกหน่วยงานภาครัฐออกเป็นหน่วยย่อยๆ (Shift to disaggregation of units in the public sector) การแยกหน่วยงานใหญ่ออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ ตามลักษณะสินค้าและบริการที่ผลิต ให้เงินสนับสนุนแยกกัน และติดต่อกันอย่างเป็นอิสระ
สอดคลองกับแนวคิดของ Max Weber คือ หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)
ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการ ต้องมีการแบ่งงาน  และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน (departmentation) ขึ้นมา เพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานที่ต้อง ทำออกเป็นส่วนๆ แล้วหน่วยงานมารองรับการจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การได้หลายรูปแบบ  คือ
1.การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ เป็นการแบ่งงานโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน และมีการกำหนดภาระกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ ที่องค์การต้องบริหารจัดการไว้ด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่การบริหารราชการออกเป็น จังหวัด อำเภอ อ.บ.จ. อ.บ.ต. เทศบาล
2.การแบ่งงานตามหน้าที่ หรือภารกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติจัดทำ เช่นการจัดแบ่งงานของกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง
3.การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น การแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลสงฆ์
4.การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน โดยคำนึงว่างานที่จะทำสามารถแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง แล้วกำหนดหน่วยงานมารองรับ
3.จัดการโดยนักวิชาชีพที่ชำนาญการ (Hands-on professional management) หมายถึง ให้ผู้จัดการมืออาชีพได้จัดการด้วยตัวเอง ด้วยความชำนาญ โปร่งใส และมีความสามารถในการใช้ดุลพินิจ เหตุผลก็เพราะเมื่อผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ก็จะเกิดความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบจากภายนอก
สอดคลองกับแนวคิดของ Max Webe
คือหลักระเบียบวินัย (discipline)ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การและความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)
-  ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา
-  ความเป็นวิชาชีพ  “รับราชการ”  นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย
วันอาทิตย์ที่17/5/63 Final Examination
นาย อาทิตย์ ภูครองทุ่ง รหัส 62423471003 ภาคพิเศษ รุ่นที่ 44

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ หมายถึง การบริหารที่ทุกหน่วยงาน ทำงานตามยุทธศาสตร์เป็นหลัก เป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน เฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์เดียวกัน โดยร่วมกันคิดร่วมกันทำงาน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก ทั้งในลักษณะของการทำงานข้ามกระทรวง กระทรวงเดียวกันแต่ต่างกรม หรือกรมเดียวกันแต่ต่างกอง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำงานกับภาครัฐในระบบเครือข่าย(Network) การสร้างระบบบริหารแบบบูรณาการ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างให้เกิดระบบการบริหารจัดการที่ดีของรัฐ การส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยร่วมกันสร้างพลังผลักดันให้ทุกส่วนราชการที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสำเร็จเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติโดยถือประชาชนเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะมีดังนี้
1. สภาพแวดล้อมภายนอกหรือสภาพแวดล้อมโดยท่ัวไปของการบริหารงาน
เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานในทุกๆส่วน หรือกล่าวว่าปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อองค์การรัฐทุกๆองค์การระดับความสัมพันธ์ขององค์การอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ“ขอบเขต” (Boundary) ของแต่ละองค์การ เนื่องจากปัจจัยประเภทนี้เป็นปัจจัยที่ เกิดจากลักษณะร่วมกันของสังคมดังนั้นองค์การทุกๆประเภทที่ดำรงอยู่ในสังคมดังกล่าวจึงต้อง เผชิญและได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมประเภทนี้เสมอซึ่งได้แก่
1)เศรษฐกิจเช่นปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน
2) สังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม, ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม, กลุ่มสังคมและครอบครัว, ประชากร, การศึกษา, ภาวะทางสุขอนามัยและโภชนาการ และปัญหา สังคม
3) การเมือง
4) กฎหมาย
5) สภาพทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปัญหาวิกฤตการณ์ภาวะโลก
ร้อน
6) เทคโนโลยี
7)โลกาภิวัตน์และต่างประเทศ
2. สภาพแวดล้อมภายในหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่างๆของ รัฐ เป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบการบริหารในแต่ละองค์การ เรียกได้ว่าเป็น ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การหรืออาจพิจารณาระบบ สภาพแวดล้อมประเภทนี้ว่าเป็นระบบของทรัพยากรในการบริหารก็ได้สภาพแวดล้อมประเภทนี้จะ มีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินการสำหรับองค์การหนึ่งๆแต่อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่นๆเลยก็ได้ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน บุคลากร เครื่องจักร เทคโนโลยีการบริหาร กฎระเบียบขององค์การ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Unknown said…

Final Examination
วันอาทิตย์ที่17/5/63
นางสาวฐานิดา จันทร์ธิ รหัส62423471006 ภาคพิเศษ รุ่นที่44

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคลอ้องกับแนวคิดระบบราชการของMax weber
ตอบ ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการต้องมีการแบ่งงานและจัดแผนกงานหรือจัดส่วนงานขึ้นมาเพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานที่ต้อง ทำออกเป็นส่วนๆแล้วหน่วยงานมารองรับการจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การได้หลายรูปแบบคือ
1.การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่เป็นการแบ่งงานโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจนและมีการกำหนดภาระกิจ บาทบาท อำนาจหน้าที่ที่องค์การต้องบริหารจัดการไว้ด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่การบริหารราชการออกเป็นจังหวัด อำเภอ อบจ.อบต. เทศบาล
2.การแบ่งงนตามหน้าที่หรือภารกิจทีองค์การจะต้องปฏิบัติจัดทำ เช่นการจัดแบ่งงานของกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง
3.การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น การแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลสงฆ์ล
4.การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน โดยคำนึงว่างานที่จะทำสามารถแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง แล้วกำหนดหน่วยงานมารองรับ





2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการคือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และมีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคทุกส่วนในสังคม
สภาพแวดล้อมทีมีผลต่อการบริหารสาธารณะมีดังนี้
1.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรการบริหารสินค้าทางองค์การ
2.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปนามธรรม เช่น คำนิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคมการบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง องค์การในภาครัฐเป็นองคฺ์การที่ถูกกระทบจกากระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ค่อนข้างมากเพราะเป็นองค์ดารขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่างๆจากภายนอกเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆในการดำเนินการค่อนข้างมากและให้เห็นในรูปแบบปฏิบัติระบบราชการซึ่งเป็นนโยบายข้อสำคัญของเกือบทุกรัฐบาลของไทย


Final Examination วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2563
ชื่อนายดุษฎี ราชา รหัสนักศึกษา 61423451002 รุ่นที่ 41

1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ แมคซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
คุณลักษณะในปัจจุบันของภาครัฐ ยกตัวอย่าง ระบบราชการของกองทัพบก
1. การควบคุมโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา กองทัพบกต้องแบ่งการบังคับบัญชาตามชั้นยศ โดยเริ่มจากชั้นยศที่ต่ำสุด ไปถึงชั้นยศที่สูงสุด โดยชั้นยศที่สูงกว่าก็ย่อมควบคุมชั้นยศที่น้อยให้ปฏิบัติตามคำสั่งของชั้นยศที่สูงกว่า
2. การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ระบบราชการของกองทัพบกต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางกองทัพบกเป็นคนกำหนดขึ้นมา อย่างเคร่งครัดถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็ต้องมีโทษตั้งแต่โทษเบาไปจนถึงโทษที่หนัก
3. การจัดคนที่มีความรู้ ความชำนาญเข้าด้วยกัน กองทัพบกเป็นคนจัดสรรผู้มีความรู้ ความสามารถในการเข้ารับการฝึก การศึกษายุทโธปกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งทางต้นสังกัดและแนวทางที่กองทัพบกกำหนดขึ้นมา
4. การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว ข้าราชการกองทัพบกต้องสละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการทำงานต้องทุ่มเท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5. แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์กร ข้าราชการกองทัพบกต้องไม่ยึดประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของส่วนตัว ซึ่งการกระทำแบบนี้ผิดทางวินัยของกองทัพบกอย่างเด็ดขาด


2. จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงาน ต้องทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน
ตามยุทธศาสตร์ แผน และนโยบายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมในการทำงานกับภาครัฐ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วน และได้รับประโยชน์สูงสุด

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐ และสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพ และความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ มี 10 ประการดังนี้
1. ปัจจัยทางวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นให้กับสังคม และเป็นการถ่ายทอดของสังคมสืบต่อกันมา หรือหมายถึง สิ่งที่ดีงามที่สังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
2. ระบบชนชั้นและสถาบันสังคม คือ การแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นความพยายามที่จะศึกษาถึงโครงสร้างของสถานภาพของบุคคลในสังคม
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์การต่างๆของรัฐ ทั้งโดยทางตรงทางอ้อม มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม
4. ปัจจัยทางประชากร คือ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีความระเอียดอ่อน และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงาน
5. ปัจจัยทางทรัพยากรธรรมชาติ คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วพื้นบนโลกที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น หิน แร่ ดิน ป่าไม้ พืชพรรณ สัตว์ป่า ภูมิประเทศต่างๆ ได้แก่ ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม และภูมิอากาศ ฯลฯ
6. การศึกษาของประชาชน คือ ระดับการศึกษาของประชาชนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับความเจริญของสังคม และมีอิทธิพลยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบของการบริหาร
7. ปัจจัยทางการเมือง คือ การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาอำนาจเพื่อปกครองประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อระบบการบริหารและระบบสังคม
8. ปัจจัยทางด้านกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม ซึ่งกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี เป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดาเนินชีวิตของประชาชน
9. เทคโนโลยี คือ เป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดาเนินชีวิต
10. ปัญหาและวิกฤตการณ์ของสังคม เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงานของรัฐ มีลักษณะเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่รัฐบาลจะต้องเผชิญและแก้ไข เช่น ปัญหาหารว่างงาน ปัญหาพลังงาน ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ฯลฯ
นางสาววรรษมล สังวรินทะ รุ่น 44 รหัสนักศึกษา 1075

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ max weber
ในการนำระบบราชการไปใช้มักพบ
ปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแต่เกิดจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้กระทำหรือผู้แสดงบทบาทในระบบ
ราชการ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการตัดตัวแปรที่นำไปสู่การไม่มีเหตุมีผลออกจากตัวแบบ เช่น ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านมนุษย์ เป็นต้น ทำให้ระบบราชการในอุดมคติเหลือแต่ภาพ
ของโครงสร้างที่กำหนดพฤติกรรมหรือการกระทำต่างๆ ของ
สมาชิกในองค์กรเท่านั้น เมื่อนำตัวแบบไปปฏิบัติจริงจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ได้ ทำให้ระบบราชการในอุดมคติเป็นเพียงการอธิบายด้านโครงสร้างเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอต่อการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด นั่นเพราะมนุษย์สามารถใช้โครงสร้างเป็นเครื่องมือหรือทรัพยากรในการได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนได้ ทรัพยากรเหล่านั้นก็คืออำนาจที่โครงสร้างกำหนดให้ตามตำแหน่งของแต่ละตำแหน่งนั้นเอง ผู้บังคับบัญชาอาจใช้อำนาจของตำแหน่ง เพื่อสั่งการและควบคุมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามความ
ต้องการของตนเองได้ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้
ดังนั้น ระบบราชการในอุดมคติของ weber จึงมุ่งอธิบายเพียงมุมมองด้านโครงสร้างเท่านั้น โดยละเลยที่จะให้ผู้กระทำหรือผู้แสดงบทบาทมีความรู้สึกนึกคิด เพราะจะทำให้ระบบราชการไม่มี เหตุมี ผล ทำให้ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้อยางเพียงพอ ดังนั้น หากนักวิชาการสนใจศึกษาระบบราชการ จำเป็นจะต้องพิจารณาแนวคิดหรือทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกบบทบาทของตัวแสดงบทบาทในระบบราชการด้วย เพื่อให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากที่สุด


2. จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา
1. ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ
1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ
2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ ดร.อนันท์ งามสะอาด
2.1 ภาวะผู้นำ
2.2 วัฒนธรรมองค์การ
2.3 มีส่วนร่วม

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ
นางสาววรรษมล สังวรินทะ รุ่น 44 รหัสนักศึกษา 1075

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ
1. ด้านสถาบัน กลุ่มอำนาจโครงสร้างและสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการเมืองของไทยเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ในปัจจุบันมีการรัฐประหารขึ้น มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2550 โดยหลักการแล้วที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญมาจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางหรือเนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีสถาบันตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจไว้ ก็เช่นกัน การที่ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดหรือผลักดันนโยบายเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม หากแต่ถูกครอบงำของกลุ่มอำนาจที่มีผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าผลประโยชน์ของชาติทำหน้าที่แทนประชาชนอย่างจริงจัง โดยอ้างความชอบธรรมที่ตนเองได้รับความไว้วางใจให้กับประชาชน
2. ด้านเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นด้านที่สำคัญมาก กระแสของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนท่าทีหรือบทบาทหรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายที่ริเริ่มใหม่หรือที่เกิดจากการปรับปรุงนโยบายเก่ามาจากปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาอัตราดอกเบี้ย การว่างงาน ค่าจ้างและประสิทธิภาพการผลิตตกต่ำ ขณะที่แหล่งวัตถุดิบก็ไม่แน่นอนเพราะปัญหาการเมือง การปฏิวัติ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการสะสมทุนต่ำ การผลิตไม่มีประสิทธิภาพ การค้าระหว่างประเทศมีการตั้งกำแพงภาษีและจำกัดการนำเข้า ทำให้การขาดดุลงบประมาณไม่ลดลงง่ายๆ สถานการณ์เศรษฐกิจไม่เพียงกระทบต่อนโยบายเศรษฐกิจ ยังกระทบนโยบายอื่นๆ ด้วย เช่น นโยบายการเมือง เป็นต้น
3. ด้านอุดมการณ์ ความเข้มแข็งของอุดมการณ์ของประชาชนชาวไทยเป็นที่ยอมรับกันว่ามีน้อยมาก โดยเฉพาะนักการเมือง ทั้งที่โดยทฤษฎีแล้วนโยบายสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากแรงผลักดันจากอุดมการณ์ ซึ่งมีตั้งแต่ซ้ายสุดไปจนกระทั่งขวาสุด การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของสังคมควบคุมการผลิตและเน้นการกระจายรายได้ที่เปลี่ยนไป ทำให้ปัจจัยด้านอุดมการณ์ของประชาชนมีน้อยและนักการเมืองแทบไม่มีเลย สังเกตจากปรากฎการณ์สังคมของนักการเมืองที่ยึดประโยชน์ของตนเองเป็นหลักไม่ได้สนใจประโยชน์ของส่วนรวมเลย ที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น การเปลี่ยนสังกัดพรรคการเมือง การรวมกลุ่มทางการเมืองของนักการเมืองในอดีตและปัจจุบัน
นอกจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมทางการเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของนโยบายสาธารณะ มีหลายลักษณะ เช่น

1. เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของปัจเจกบุคคลโดยจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับความสนใจของปัจเจกบุคคล และถือว่ารัฐบาล คือ กลไกสำหรับใช้ประโยชน์ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนและนักการเมืองจะสนใจตำแหน่งทางการเมืองเพื่อควบคุมสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำ

2. เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่มุ่งเน้นด้านศีลธรรม โดยเห็นว่ารัฐบาล คือ กลไกในการตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชน และถือว่าบริการของรัฐคือบริการสาธารณะ การแทรกแซง ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับประเด็นนโยบาย (Policy Issues) เป็นอย่างมาก

3. วัฒนธรรมทางการเมืองที่มุ่งเน้นด้านประเพณีจะให้คุณค่าแก่ทัศนะชนชั้นนำ (Elitist) ในรัฐบาลและสนับสนุนในการดำรงรักษาระเบียบของสังคม ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง อยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย โดยเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ตื่นตัวหรือสนใจทางการเมือง
สรุป สภาพแวดล้อมของนโยบายสาธารณะ คือ ปัญหาสังคม เหตุที่เป็นดังนี้เพราะนโยบายสาธารณะเป็นความพยายามแก้ปัญหาสังคม โดยรัฐบาลเป็นผู้เลือกกระทำนโยบายสาธารณะจึงมองได้เป็นกระบวนการที่มีปัญหาและมีการผลักดันปัญหาเข้าสู่วาระการกำหนดนโยบาย การสร้างทางเลือก การยอมรับนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผล อย่างไรก็ตามนโยบายสาธารณะมีกระบวนการที่ซับซ้อนเพราะไม่ได้มีแรงผลักดันมาจากหลักเหตุผลอย่างเดียว หากแต่มีแรงผลักดันมาจากอำนาจหรือกลุ่มอำนาจและอุดมการณ์อีกด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นบางครั้งนโยบายสาธารณะก็ขึ้นอยู่กับอำนาจและอุดมการณ์ จึงทำให้กระบวนการนโยบายไม่มีระเบียบ ในบางกรณี ซึ่งในความเป็นจริงนั้น นโยบายส่วนใหญ่มีภาคสังคมและเครือข่ายของผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นอันมาก ไม่ใช่มีเพียงแค่สถาบันหลักของสังคมอย่างเช่น รัฐสภา ฝ่ายบริหาร ศาล และระบบราชการ รวมทั้งนโยบายสาธารณะยังขับเคลื่อนด้วยการเมืองอีกด้วย
นางสาววาสนา ปราบบำรุง รหัสนักศึกษา 62423471010 รุ่นที่ 44 วันอาทิตย์ที่ 17/05/63
Final Examination
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ.การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
หลักการ/แนวคิดระบบราชการ (bureaucracy) จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดีของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องทำงานตามขั้นตอน กฎระเบียบและ มีหลักฐานอย่างสมเหตุสมผล ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล และหน่วยงาน ต่าง ๆ ได้
ข้อเสียของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2. การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง
4.ระบบราชการ เป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก(iron cage) ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร
การนำไปใช้
1. ทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างรัดกุม ทำให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
2. ลดความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกและองค์การ
3. สามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้


นางสาววาสนา ปราบบำรุง รหัสนักศึกษา 62423471010 รุ่นที่ 44 วันอาทิตย์ที่ 17/05/63
Final Examination
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็ นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
สิ่งแวดล้อมของการบริหารหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร (The environment of public administration) หมายถึง สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐและสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพและความส าเร็จของการบริหารงานของรัฐ
ในปัจจุบันแนวความคิดโดยผู้บริหารองค์การต่างพบว่าตนเองไม่สามารถที่จะกำหนดนโยบายโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของสังคมที่องค์การนั้นๆสังกัดอยู่ เพราะความเจริญเติบโตของสังคมทำให้สิ่งแวดล้อมในการบริหารงานมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นการบริหารงานของรัฐพบว่าปัจจัยแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เป็นปัจจัยที่ช่วยวัดความสำเร็จของการบริหารงานสาธารณะ เป็ นทรัพยากรหรือวัตถุดิบสำหรับป้อนให้กับระบบการบริหารเพื่อทำการแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการตามนโยบายของรัฐ
ปัจจัยแวดล้อมบางประเภทมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณีของสังคม ซึ่งปัจจัยประเภทนี้สามารถแทรกตัวอยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้บริหาร ตลอดจนถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การ อันเป็นผลทำให้เกิดปัญหาในการนำเอากฎระเบียบ หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้
สภาพแวดล้อมในการบริหารงาน แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ
1. สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรของการบริหาร สินค้าขององค์การ
2. สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปของนามธรรม เช่น ค่านิยม ประเพณี ความรู้ ความต้องการ
ของสังคม
ประเภทของสภาพแวดล้อมของการบริหาร สามารถแบ่งแยกระบบสภาพแวดล้อมได้
เป็น 2 ประเภท คือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอกหรือสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงานเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานในทุกๆส่วน หรือกล่าวว่าปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อองค์การรัฐทุกๆองค์การ ระดับความสัมพันธ์ขององค์การอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ “ขอบเขต” (Boundary) ของแต่ละองค์การ เนื่องจากปัจจัยประเภทนี้เป็ นปัจจัยที่เกิดจากลักษณะร่วมกันของสังคม ดังนั้นองค์การทุกๆประเภทที่ดำรงอยู่ในสังคมดังกล่าวจึงต้องเผชิญและได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมประเภทนี้เสมอ ซึ่งได้แก่
1. เศรษฐกิจ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน
2. สังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม, ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม,กลุ่มสังคมและครอบครัว, ประชากร, การศึกษา, ภาวะทางสุขอนามัยและโภชนาการ และปัญหาสังคงต่างๆ
3. การเมือง
4. กฎหมาย
5. สภาพทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปัญหาวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน
6. เทคโนโลยี
7. โลกาภิวัตน์และต่างประเทศ
2. สภาพแวดล้อมภายในหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่างๆของรัฐเป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบการบริหารในแต่ละองค์การ เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การหรืออาจพิจารณาระบบสภาพแวดล้อมประเภทนี้ว่าเป็นระบบของทรัพยากรในการบริหารก็ได้ สภาพแวดล้อมประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินการสำหรับองค์การหนึ่งๆแต่อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่นๆเลยก็ได้ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน บุคลากร เครื่องจักร (เช่น เครื่องพิมพ์)เทคโนโลยีการบริหาร กฎระเบียบขององค์การ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องการแบ่งแยกประเภทของสภาพแวดล้อมอาจพิจารณาถึงระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมเป็นเกณฑ์ เช่น แนวความคิดของ Emery และ Trist ที่ได้
FINAL EXAMINATION
นายสิทธิพร เลาหพูนรังษี รหัสนักศึกษา 61823451112 รุ่น41
1.) การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการ Max Weber
ตอบ แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
1. อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
- การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2. ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
ที่เห็นได้ชัดในการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่สอดคล้องกับแนวคิดของ max waber ก็คือ การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณีควบคู่ไปกับการปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี ยกตัวอย่างเช่นหน่วยงานในกลาโหมจะเห็นได้อย่างชัดเจน จะมีการถือรุ่นน้องรุ่นพี่ตามจารีตประเพณีที่สืบต่อกันมา และรุ่นพี่สามารถสั่งรุ่นน้องได้ ก็ถือว่าเป็นการครอบงำอย่างหนึ่งเช่นกัน

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงาน ต้องทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน
ตามยุทธศาสตร์ แผน และนโยบายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมในการทำงานกับภาครัฐ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วน และได้รับประโยชน์สูงสุด
สภาพแวดล้อมทีมีผลต่อการบริหารสาธารณะมีดังนี้
1.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรการบริหารสินค้าทางองค์การ
2.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปนามธรรม เช่น คำนิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคมการบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง องค์การในภาครัฐเป็นองคฺ์การที่ถูกกระทบจกากระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ค่อนข้างมากเพราะเป็นองค์ดารขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่างๆจากภายนอกเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆในการดำเนินการค่อนข้างมากและให้เห็นในรูปแบบปฏิบัติระบบราชการซึ่งเป็นนโยบายข้อสำคัญของเกือบทุกรัฐบาลของไทย
Pawin Potibat said…
นาย ภวินท์ โพธิบัตร รุ่น 44 รหัส 1002

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber​
แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเอยรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดย เขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
1.อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
- การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2.ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ

การนำไปใช้ : เป็น รูปแบบอุดมคติ ไม่ได้มีการทดสอบเพื่อการนำไปใช้ มองคนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือ ไม่มีชีวิตจิตใจ คนจึงเห็นแก่ตัว เกียจคร้าน ไม่มองการณ์ไกล เชื่อถือไม่ได้ มีการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ดี

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง​
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) หมายถึง กระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการบรรลุเป้าหมาย โดยการเชื่อมโยงเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการในระดับองค์กร หน่วยงานและระดับบุคคลเข้าด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่บนฐานกระบวนการความต่อเนื่อง ตั้งแต่

๑) การวางแผนการปฏิบัติงานที่จะต้องทำให้ชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางตามยุทธศาสตร์ขององค์กร
๒) การติดตามผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้บังคับบัญชากำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
๓) การพัฒนาผลการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้ดียิ่งขึ้น
๔) การประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อวัดความสำเร็จของงาน โดยเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก และ
๕) การนำผลที่ได้จากการประเมินไปประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน
Kapook said…
นางสาวอริศรา แสงรัศมี รุ่น 44 รหัส 1099

1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ การคัดและพัฒนาคน
ระบบน้ีจะใช้ วิธิสรรหาและคัดเลือกบุคลากรด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) คือวัดกัน ที่ความรู้ ความสามารถเพรียวๆ มีการสอบ บรรจุแต่งตั้ง กันอย่างเป็นระบบ คนเก่งได้ทั้งงาน คนห่วยต้องกลับไปนอนบ้าน เมื่อเข้ามาทำงานแล้วจะมีแผนในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบว่าช่วงน้ีต้องรู้เรื่องน้ี เมื่อเวลาผ่านไปทำงานสูงข้ึนก็ควรจะต้องผ่านการฝึกอบรมเพื่อต้อง รู้เรื่องนั้นอย่างน้ีเป็นต้นตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัดเช่นสายทหารจะเป็นทหารได้นั้นต้องผ่านการสรรหาสมัครสอบคัดเลือกบรรจุแต่งตั้งเมื่อทำงานจนก้าวหน้าไปถึงจุดหน่ึงก็จะต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องนั้น เมื่อทำงานมีอายุงานสูงข้ึนไปอีกระดับหน่ึงก็ต้อง ไปอบรมหลักสูตรที่สูงข้ึนไปเรื่อยๆอย่างน้ีเป็นต้น

2. 2. จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PM) หมายถึง การบริหารแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์กร เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้สภาพแวดล้อมที่มีผมลต่อการบริหารสาธารณะสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ส่วนองค์การของรัฐ อาจมีความหมายครอบคลุมองค์การ ทั้งหมดของรัฐ ส่วนลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การของรัฐกับสิ่งแวดล้อมของ
นายณัฐพล พงศ์แพทย์ รุ่น 41 รหัสนักศึกษา 6123451204 16/5/63
FINAL EXAMINATION
1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดราชการของ Max Weber
ตอบ.การจัดองค์การแบบราชการ (Bureaucracy) ของ แมค วีเบอร์ (Max Weber) ได้เน้น ให้เห็นถึง การจัดองค์การที่เป็นระเบียบ สาระสำคัญที่ แมค วีเบอร์ ได้เน้นก็คือ องค์การแบบราชการในอุดมคติ นั้น จะต้องประกอบด้วย จะต้องมีการแบ่งงานกันทำ โดยให้แต่ละคนปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความชำนาญ การยึดถืองานให้ยึดถือกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด เพื่อที่จะให้ได้มาตรฐานของงาน เท่าเทียมกัน การยึดถือกฎเกณฑ์นี้จะช่วยขจัดพฤติกรรมที่บุคคลแตกต่างกันสามารถมา ประสานงานกันได้ สายการบังคับบัญชาต้องชัดเจน โดยผู้บังคับบัญชามอบหมายอำนาจหน้าที่ และความ รับผิดชอบลดหลั่นกันลงไป บุคคลในองค์การต้องไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล โดยพยายามทำงาน ให้ดีที่สุดเพื่อเป้าหมายขององค์การ การคัดเลือกบุคคลการว่าจ้า ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และการเลื่อน ตำแหน่งให้คำนึงถึง การประสบความสำเร็จในการงานและอาวุโสด้วยจุดอ่อนขององค์การแบบราชการก็คือ การเน้นที่องค์การโดย ละเลยการพิจารณาถึงปัญหาของคน และเชื่อว่าการที่มีโครงสร้างที่รัดกุมแน่นอนจะช่วย ให้บุคคลปรับ พฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การได้
การบริหารภาครัฐในปัจจุบันระบบราชการไทย
1.พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 เหตุผลในการตราพระราชบัญญัตินี้ คือ เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบบริหารราชการเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและ การให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยกำหนดให้การบริหารราชการแนวทางใหม่ต้องมีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละ ระดับได้อย่างชัดเจน มีกรอบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการกำกับการกำหนดนโยบายและ การปฏิบัติราชการ และเพื่อให้กระทรวงสามารถจัดการบริหารงานให้เป็นไป ตามเป้าหมายได้ จึงกำหนดให้มี รูปแบบการบริหารใหม่ โดยกระทรวงสามารถแยกส่วนราชการจัดตั้งเป็นหน่วยงานตามภาระหน้าที่ เพื่อให้เกิด ความคล่องตัวและสอดคล้องกับเป้าหมายของงานที่จะต้องปฏิบัติและกำหนดให้มีกลุ่มภารกิจของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีงานสัมพันธ์กันเพื่อที่จะสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกันได้ และมีผู้รับผิดชอบกำกับการ บริหารงานของกลุ่มภารกิจนั้นโดยตรงเพื่อให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งให้มีการ ประสานการปฏิบัติงาน และการใช้งบประมาณเพื่อที่จะให้การบริหารงานของทุกส่วนราชการบรรลุเป้าหมาย ของกระทรวงได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความซ้ำซ้อน มีการมอบหมายงานเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติ ราชการ และสมควรกำหนดการบริหารราชการในต่างประเทศให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติหน้าที่และ สามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและมีเอกภาพ โดยมีหัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหาร ราชการ นอกจากนี้ สมควรให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแล การจัดส่วนราชการและการปรับปรุงระบบการทำงานของภาคราชการให้มีการจัดระบบราชการอย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป




นายณัฐพล พงศ์แพทย์ รุ่น 41 รหัสนักศึกษา 6123451204 16/5/63
FINAL EXAMINATION
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.การบริหารแบบบูรณาการ ช่วยทำให้ระบบบริหารภาครัฐ โดยเฉพาะในระดับจังหวัดมีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สนับสนุนหรือส่งเสริมราชการบริหารส่วนภูมิภาค โดยให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางของการบริหาร จัดการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอ หรือผู้ว่าฯ ซีอีโอ เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร สูงสุดในระดับจังหวัด เพิ่มอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวคือ การบริหารงานของจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้บริหารสูงสุดที่ผ่านมาประสบกับความล้มเหลว ขาดประสิทธิภาพ ขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาทำให้ ไม่อาจแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ได้ ที่เป็นเช่นนี้มีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ในระดับจังหวัดไม่มีอำนาจในการบริหารงาน คนและเงิน มากเท่าที่ควร จึงควรเพิ่มอำนาจให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สามารถประสานและกำกับดูแลการทำงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในด้านการบริหารงาน ทั่วไป (อำนาจวินิจฉัยสั่งการ อนุมัติ อนุญาต) การบริหารงานบุคคล และการบริหารงบประมาณ ได้ครอบคลุม ครบวงจรและทันต่อเหตุการณ์ บูรณาการนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรมทั้งภายนอก ภายใน และรอบ ๆ องค์การ และสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดังกล่าวนี้มีอิทธิพลเหนือโครงสร้างกระบวนการและพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการ บริหารเพื่อการพัฒนา(หรือการบริหารการพัฒนา)หรือในทางสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ประชากรเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม อันรวมถึงสหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรการบริหารสินค้าทางองค์การ
สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปนามธรรม เช่น คำนิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคมการบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นองค์การขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่าง ๆ จากภายนอกเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดำเนินการค่อนข้างมากและให้เห็นในรูปแบบปฏิบัติระบบราชการรวมทั้งนโยบายสาธารณะ

นายธนกร แตงเนียม รหัสนักศึกษา 61423451090 รุ่น41
ข้อสอบ Final Examination
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ. แม็คซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎี ชาวเยอรมัน ซึ่งเกี่ยวกับการครอบงำ โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานมีประสิทธิภาพได้
1. อำนาจการปกครองบังคับบัญชา
- การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2. ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฎิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัว

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.
คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามแนวทางยุทธสาสตร์ ให้บรรลุเป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ทรัพยากรในองค์กร และมีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคมบริหารสาธารณะ
การบริหารแบบบูรณาการคือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามแนวทางยุทธสาสตร์ ให้สนองต่อความต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิทุกๆภาคส่วนโดยเกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนและตอบสนองความต้องการของประชาชน ในการบูรณาการ ด้านยุทธศาตร์ มีการประสานงานทุกๆภาคส่วน ในสังคม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เนื่องจากมีคสามคิดที่แตกต่างทางการเมือง จึงทำให้การดำเนินงานไม่ราบรื่น สภาพแวดล้อมทางสังคมด้วยจำนวนประชากรที่มีมากทั้งความแตกต่างทางด้านความคิดและเข้าไปถึงการเข้าถึงการบริการสาธารณะ
นาย จิตรภานุ ศรีวายะมา รหัสนักศึกษา 61823451018 รุ่น41
ข้อสอบ Final Examination
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ max weber
ในการนำระบบราชการไปใช้มักพบ
ปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแต่เกิดจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้กระทำหรือผู้แสดงบทบาทในระบบ
ราชการ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการตัดตัวแปรที่นำไปสู่การไม่มีเหตุมีผลออกจากตัวแบบ เช่น ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านมนุษย์ เป็นต้น ทำให้ระบบราชการในอุดมคติเหลือแต่ภาพ
ของโครงสร้างที่กำหนดพฤติกรรมหรือการกระทำต่างๆ ของ
สมาชิกในองค์กรเท่านั้น เมื่อนำตัวแบบไปปฏิบัติจริงจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ได้ ทำให้ระบบราชการในอุดมคติเป็นเพียงการอธิบายด้านโครงสร้างเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอต่อการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด นั่นเพราะมนุษย์สามารถใช้โครงสร้างเป็นเครื่องมือหรือทรัพยากรในการได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนได้ ทรัพยากรเหล่านั้นก็คืออำนาจที่โครงสร้างกำหนดให้ตามตำแหน่งของแต่ละตำแหน่งนั้นเอง ผู้บังคับบัญชาอาจใช้อำนาจของตำแหน่ง เพื่อสั่งการและควบคุมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามความ
ต้องการของตนเองได้ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้
ดังนั้น ระบบราชการในอุดมคติของ weber จึงมุ่งอธิบายเพียงมุมมองด้านโครงสร้างเท่านั้น โดยละเลยที่จะให้ผู้กระทำหรือผู้แสดงบทบาทมีความรู้สึกนึกคิด เพราะจะทำให้ระบบราชการไม่มี เหตุมี ผล ทำให้ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้อยางเพียงพอ ดังนั้น หากนักวิชาการสนใจศึกษาระบบราชการ จำเป็นจะต้องพิจารณาแนวคิดหรือทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกบบทบาทของตัวแสดงบทบาทในระบบราชการด้วย เพื่อให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากที่สุด

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงาน ต้องทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน
ตามยุทธศาสตร์ แผน และนโยบายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมในการทำงานกับภาครัฐ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วน และได้รับประโยชน์สูงสุด
สภาพแวดล้อมทีมีผลต่อการบริหารสาธารณะมีดังนี้
1.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรการบริหารสินค้าทางองค์การ
2.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปนามธรรม เช่น คำนิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคมการบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง องค์การในภาครัฐเป็นองคฺ์การที่ถูกกระทบจกากระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ค่อนข้างมากเพราะเป็นองค์ดารขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่างๆจากภายนอกเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆในการดำเนินการค่อนข้างมากและให้เห็นในรูปแบบปฏิบัติระบบราชการซึ่งเป็นนโยบายข้อสำคัญของเกือบทุกรัฐบาลของไทย
FINAL EXAMINATION
นางสาว อุมาพร สุวิทย์ รหัส1001 รุ่น44
1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดสอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ แนวคิดระบบราชการของ Max Weber เป็นรูปแบบองค์กรที่ใช้เหตุผล และประสิทธิภาพ โดยมีอาจหน้าที่ตามระเบียบและกฎหมาย องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
การนำไปใช้ เป็น รูปแบบอุดมคติ ไม่ได้มีการทดสอบเพื่อการนำไปใช้ มองคนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือ ไม่มีชีวิตจิตใจ คนจึงเห็นแก่ตัว เกียจคร้าน ไม่มองการณ์ไกล เชื่อถือไม่ได้ มีการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ดี ดังนี้
1. ทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างรัดกุม ทำให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
2. ลดความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกและองค์การ
3. สามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบได้
FINAL EXAMINATION
นางสาว อุมาพร สุวิทย์ รหัส1001 รุ่น44
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การคำนึงถึงผลประโยชน์เป็นหลัก การกำหนดบทบาทของผู้บริหารในการรับผิดชอบงานทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนงานสำเร็จ มีการทำงานที่รวดเร็ว มีการรวบรวมข้อมูลที่ดีประกอบการตัดสินใจ มีความคิดเป็นของตัวเอง ทำงานเป็นทีม มีการใช้ทีมงานในลักษณะทีมนำคิด ทีมกำกับการทำงาน ทีมติดตามและประเมินผล ใช้วิธีบริหารที่เป็นยุทธศาสตร์
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์การประสบความสำเร็จในอนาคต การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อองค์การ 3 ประการ
1. บทบาทเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย เป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ควรมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงมีข้อมูลแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถตัดสินใจตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
2. การบูรณาการเข้ากับแผนกลยุทธ์ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การ โดยช่วยให้ผู้บริหาร หรือสายงานต่างๆ ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนในทุกระดับ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การ มีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์สภาพแวดล้อม เพื่อกำหนดสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการขององค์การและแผนงานในอนาคต
3. บทบาทเกี่ยวกับหน้าที่ทางธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพหรือการดำเนินงานตามหน้าที่ในแต่ละส่วนขององค์การ เช่น การตลาด การเงิน หรือทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานราบรื่นและประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงาน เช่น การพัฒนาเทคนิคการผลิตให้มีประสิทธิภาพ การปรับระบบสวัสดิการ
การบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมตัวอย่างเช่นสภาพการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาโดยรวมรายได้โดยรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายได้เรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ3อันดับแรกได้แก่
1.ด้านโครงสร้างการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา
2.ด้านการใช้ภาวะผู้นำในการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วยเสียทางการศึกษา
3.ด้านสภาพแวดล้อมในการบริหารแบบบูรณาการเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษารองลงมาจากสภาพแวดล้อมและโครสร้างตามลำดับ และเป็นด้านหนี้สินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดด้วย
นาย ภูสิรัช แก้วแพ รหัสนักศึกษา62423471119 รุ่นที่44

ข้อสอบ Final Examination วันอาทิตย์ ที่17 พฤษภาคม 2563

คำถาม
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดสอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ.สอดคล้องกับการ เสนอแนวคิดอำนาจ (Authority)
มี 3 ข้อ.
1.1รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัว
(Charismatic domination)
1.2รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม
(Traditional domination)
1.3รูปแบบการใช้อำนาจตามกฏหมาย
(Legal domination)

รวมถึงหลักการได้มาซึ่งอำนาจตามแนวคิดของ Max Webber
1.แบบที่อาศัยบารมี (Charismatic domination)
-ผู้บริหารที่มีคุณสมบัติพิเศษ หรือบารมีที่จะให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเกิดความศรัทธาในตัวผู้บริหาร และพร้อมให้การสนับสนุน ได้แก่ระบบ เผด็จการ(dictation)

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ. คือการบริหารจัดการในองค์กรจึงเข้าสู่ยุคการบริหารสมัยใหม่ซึ่งองค์กรจะต้องปรับรูปแบบและโครงสร้างให้เกิดมูลค่าการดำเนินกิจการ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะแข่งขันและปรับเปลี่ยน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นในการบริหารสำหรับองค์กรในปัจจุบัน อาทิเช่น
1.จะต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับธุรกิจการเมืองและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2.เป็นผู้นำเชิงบริหารและการจัดการ (Manager Leader Ship & Management) มีการปรับปรุงพัฒนาหาวิธีใหม่ๆ มาปรับปรุงอยู่เสมอ รู้จักวิธีการจูงใจและกระตุ้นให้ทีมงานด้วยความตั้งใจและมีความมุ่งมั่น มุ่งเข้าสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
3.มีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถติดตามและวัดผลงานได้ทันท่วงทีเพื่อทำการแก้ไขและปรับปรุงก่อนที่จะเกิดผลกระทบต่อเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
4.ทำงานเชิงรุกและกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารองค์กร เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างบูรณาการโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม
5.มีความรู้และทักษะในกิจการงานที่ทำอย่างรอบด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารและตัดสินใจเชิงบูรณาการ

สภาพแวดล้อมอันมีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าว
คือ เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีองค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาเป็นตัวบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้การทำงานไม่สามารถทำเช่นปกติได้ การทำงานให้สำเร็จไม่สามารถทำเพียงหน่วยงานเดียวได้ ต้องมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วยงาน ทั้งในระดับภายในส่วนราชการเดียวกัน ระดับกรม และระดับกระทรวง เช่น
-การจัดเก็บภาษี ต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างกรมสรรพากร และ กรมศุลกากรและ กรมสรรพสามิต
-การเปิดเสรี ทางการค้า (FTA) กับประเทศต่างๆ ต้องมีการทำงานร่วมกัน ระหว่างกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงสาธารณะสุข
-การปราบปรามยาเสพติด ต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณะสุข และกระทรวงแรงงาน เป็นต้น
PATCHAREE said…
นางสาว พัชรี ปิ่นดอนไพร รหัสนักศึกษา61823451008 รุ่นที่41
ข้อสอบ Final Examination วันอาทิตย์ ที่17 พฤษภาคม 2563
คำถาม
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดสอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
แนวคิดระบบราชการ จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้

1. หลักลำดับขั้น(hierachy)

2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)

3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)

4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)

5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)

6. หลักระเบียบวินัย (discipline)

7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)


2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงาน ต้องทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน
ตามยุทธศาสตร์ แผน และนโยบายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมในการทำงานกับภาครัฐ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วน และได้รับประโยชน์สูงสุด
สภาพแวดล้อมทีมีผลต่อการบริหารสาธารณะมีดังนี้
1.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรการบริหารสินค้าทางองค์การ
2.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปนามธรรม เช่น คำนิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคมการบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง องค์การในภาครัฐเป็นองคฺ์การที่ถูกกระทบจกากระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ค่อนข้างมากเพราะเป็นองค์ดารขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่างๆจากภายนอกเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆในการดำเนินการค่อนข้างมากและให้เห็นในรูปแบบปฏิบัติระบบราชการซึ่งเป็นนโยบายข้อสำคัญของเกือบทุกรัฐบาลของไทย
Unknown said…
Final Examination
วันอาทิตย์ที่17/5/63
นางสาว บุตรียาภรณ์ พวงจันทร์ รหัส 61423451033รุ่น41
1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใด ที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ
1.  อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
 
     -  การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
   -  การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
    -  การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
 
2.  ลักษณะ
     -  มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
     -  การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
     -  การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
     -  การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
      -  เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
     -  การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล  
     -  แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
 
2. จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการ และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ มีอะไรบ้าง
     
ตอบ  การบริหารแบบบูรณาการ คือ การประสานกลมกลืนกันของแผน กระบวนการ สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ และการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ที่สำคัญขององค์กร การบูรณาการที่มีประสิทธิผล เป็นมากกว่าความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment) และจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อการดำเนินการของแต่ละองค์ประกอบภายในระบบการจัดการผลการดำเนินการมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์
         สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ เงื่อนไขของสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระดับการศึกษาของประชาชน รูปแบบของการปกครองรัฐธรรมนูญ และระบบราชการ
Final Examination
นางสาวเมวียา แก้วกัน
รหัสนักศึกษา 61423451152 รุ่นที่41
คำถาม 1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ ระบบราชการ (Bureaucracy) MaxWeber–เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการหรือ Bureaucracy ขึ้นมาข้อสมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ประหยดัที่สุดเหตุผล
1.ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3.อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรืออปรากฎการณ์ได้
ระบบราชการ เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการในการจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐ และเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย
ระบบราชการ จึงเป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวน มาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก กลไกการบริหาร เป็นกลไกการควบคุม และทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้นำ และกลุ่มชนที่ถูกปกครองกลไกการบริหารต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับรูปแบบแห่งอานาจที่ผู้นำในสังคมนั้น ใช้อยู่รูปแบบแห่งการใช้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชา ตามแนวคิดของ Max Weber แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ
-Charismatic Domination รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัวแบบอาศัยบารมี กลไกลการบริหารที่ใช้คือ Dictatorship, communal
-Traditional domination รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม
-Feudal / Patrimonial (ระบบศักดินา / เจ้าขุนมูลนาย) รูปแบบการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Legal Domination)
องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1.หลักลำดับขั้น (Hierachy)
2.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (Achievement Orientation)
5. หลักการทำห้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (Differentation, Specialization) 6.หลักระเบียบวินัย (Discipline)
7.ความเป็นวชิาชีพ (Professionalization)

Final Examination
นางสาวเมวียา แก้วกัน
รหัสนักศึกษา 61423451152
รุ่นที่41
คำถาม 2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบรูณาการคือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประชาชนไดรับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และมีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
สภาพแวดล้อมภายในหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่างๆของรัฐเป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบการบริหารในแต่ละองค์การ เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การหรืออาจพิจารณาระบบ สภาพแวดล้อมประเภทนี้ว่าเป็นระบบของทรัพยากรในการบริหารก็ได้สภาพแวดล้อมประเภทนี้จะมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินการสำหรับองค์การหนึ่งๆแต่อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความ จำเป็นสำหรับองค์การอื่นๆเลยก็ได้ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน บุคลากร เครื่องจักร (เครื่องพิมพ์) เทคโนโลยีการบริหาร กฎระเบียบขององค์การ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การบริหารงานในปัจจุบันองค์การต้องให้ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางการบริหาร คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานองค์การ เพื่อกำหนดแนวทางวิธีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การนำไปสู่ผลสำเร็จตามที่ต้องการ เมื่อพิจารณาถึงประเภทของสภาพแวดล้อมการบริหารงานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกับองค์การ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี สังคม การศึกษาวัฒนธรรม ค่านิยมของประชาชน เป็นต้น
2.สภาพแวดล้อมอีกประเภทได้แก่ สภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมเฉพาะองค์การ เช่น บุคลากร แรงงาน อปุกรณ์ เครื่องจักร งบประมาณ เงิน ข้อมูล เทคนิควิธีการ ปฏิบัติงาน ซึ่งองค์การต้องมีทรัพยากรในการบริหารที่เพียงพอ สามารถนามาปฏิบัติงานแล้วเกิดผลงาน ผลผลิตที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
การบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นหน่วยงานภาครัฐจะต้องมี การทบทวนบทบาท ภารกิจ และกลยุทธ์วิธีการดาเนินงาน ขององค์การภาครัฐมีการปรับวิธีการบริหารจัดการในภาครัฐจากเดิมที่เน้นด้านการทำตามระเบียบไปสู่การบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Management) การดำเนินงานของภาครัฐให้เปิดเผยโปร่งใสประชาชนต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าการดำเนินงานขององค์การภาครัฐนั้นเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ


Pimolnat said…
น.ส.พิมลณัฏฐ์ ภักค์ทองกุล รหัส61423451093 รุ่น41

1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใด ที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber

ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy) Max Weber.

bureaucracy หรือ ระบบราชการ อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 แบบ

1. Bureaucracy – ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (social institute) สถาบันหนึ่ง นั่นคือ เป็นสถาบันการบริหาร / การปกครองของรัฐ
1.1 ถือเป็นสถาบันหนึ่งของกระบวนการในการปกครองประเทศ
1.2 เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ ต้องปกป้อง ดูแล รักษาผลประโยชน์บ้านเมือง อีกแห่งหนึ่ง
1.3 ต้องการอิสระในการทำงาน เป็นสถาบันที่มั่นคง ยากต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไข
2. bureaucracy - ในฐานะที่เป็น รูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) ในแง่นี้ bureaucracy
2.1 ระบบการบริหาร หรือระบบการทำงานระบบหนึ่ง
2.2 มีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า “Weberian Bureaucracy”
2.3 เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ
ระบบราชการ (Bureaucracy)
Max Weber – ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการ หรือ Bureaucracy ขึ้นมา
การบริหารภาครัฐที่คล้ายกับ ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy) Max Weber. กล่าวโดยสรุปคือ

1.  อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
 
     -  การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
   -  การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
    -  การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
 
2.  ลักษณะ
     -  มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
     -  การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
     -  การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
     -  การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
      -  เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
     -  การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล  
     -  แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
 
2. การบริหารแบบบูรณาการ และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ
        -การบริหารแบบบูรณาการ คือ การผสมกลมกลืนกันของแผน กระบวนการ สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ และวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่สำคัญขององค์กร การบูรณาการที่มีประสิทธิผล เป็นความสอดคล้องที่ไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment) และจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อการดำเนินการของแต่ละองค์ประกอบภายในระบบการจัดการผลการดำเนินการมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์
         สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ
เงื่อนไขของสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระดับการศึกษาของประชาชน รูปแบบของการปกครองรัฐธรรมนูญ และระบบราชการ
นาย พงษ์เทพ สมเนตร 61823451022 รุ่น41
ข้อสอบ Final Examination วันอาทิตย์ ที่17 พฤษภาคม 2563
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ การบริหาร ของ Max weber ระบบราชการ (Bureaucracy) การบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7
1.หลักลำดับขั้น (hierachy) คือ การทำงานของระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุมทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้น
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility) คือ การกระทำของตนความรับผิดชอบ หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการกระทำใด ๆ ที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำลงไปและความพร้อมที่ จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดการเจ้าหน้ที่จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันที
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality) คือ ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 ประสิทธิผล การทำงานหรือการดำเนินกิจการใด ๆ ที่สามารถประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.2 ประสิทธิภาพ ความสามารถในการที่จะใช้ทรัพยากรบริหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เวลาไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานนั้นได้มากที่สุด
3.3 ประหยัด ความสามารถในการที่จะประหยัดทรัพยากรบริหาร แต่สามารถที่จะให้บริการ หรือผลิตออกมาให้ได้ระดับเดิม
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) คือ การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายโดยสำเร็จ ตามนโยบายที่ตั้งไว้
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization) คือ การแบ่งส่วนงานตามความสามารถตามความถนัดของ แต่ละหน่อยงานของ รัฐบาล เมื่อมีปัญหาทางด้านใด ให้เจ้าหน้าที่ที่มีความถนัดเฉพาะด้าน ซึ่งทำให้เกิด การแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
6. หลักระเบียบวินัย (discipline) คือ ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization) คือ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วยความสำเร็จของระบบราชการ

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสมัฤทธิ์ ตอบสนองต่อความตามงการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการทรัพยากรในองค์การ และ มีการประสานงานร่วมมือกับเกี่ยวข้องภาคส่วนในสงัคม
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะสภาพแวดล้อม ของการบริหารองค์การ สภาพแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหน่วยงานภาครัฐ โดยผู้ ศึกษาได้ทราบความสำคัญและอิทธิพลของระบบสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ว่ามีผลอย่างไรกับการบริหารงานองค์การและองค์การต้ องพิจารณาปัจจัยใดบ้างในการบริหารที่ตอบ สนองสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
ผลกระทบ 1. ภาวะเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้
2. ภาวะทางการเมือง การเมืองนับว่ามีอิทธิพลเหนือการควบคุมของธุรกิจเป็นอย่างมาก นักธุรกิจจึงพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพื่อจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตน
3. สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดว่าสภาพสังคมและวัฒนธรรมในลักษณะนี้ เหมาะที่จะประกอบธุรกิจประเภทใด เพื่อให้สินค้าและบริการที่ผลิตออกมาสามารถจำหน่ายได้
นายประเสริฐ เอนกวิชณกุล รหัสนักศึกษา 62423471132 รุ่นที่ 44 วันอาทิตย์ที่ 17/05/63
Final Examination
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
1. Bureaucracy – ในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม (social institute) สถาบันหนึ่ง นั่นคือ เป็นสถาบันการบริหาร / การปกครองของรัฐ
1.1 ถือเป็นสถาบันหนึ่งของกระบวนการในการปกครองประเทศ
1.2 เป็นสถาบันที่มีหน้าที่ ต้องปกป้อง ดูแล รักษาผลประโยชน์บ้านเมือง อีกแห่งหนึ่ง
1.3 ต้องการอิสระในการทำงาน เป็นสถาบันที่มั่นคง ยากต่อการเปลี่ยนแปลง แก้ไข
2. bureaucracy - ในฐานะที่เป็น รูปแบบหนึ่งของการจัดองค์การ (a form of organization) ในแง่นี้ bureaucracy
2.1 ระบบการบริหาร หรือระบบการทำงานระบบหนึ่ง
2.2 มีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า “Weberian Bureaucracy”
2.3 เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ
ระบบราชการ (Bureaucracy)
Max Weber – ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการ หรือ Bureaucracy ขึ้นมา

ข้อสมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดที่สุดเหตุผล

1. ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และ ความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3. อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรืออปรากฎการณ์ได้
ระบบราชการ (bureaucracy) เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการในการจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย
Bureaucracy จึงเป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก
องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้

1. หลักลำดับขั้น (hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)

นายประเสริฐ เอนกวิชณกุล รหัสนักศึกษา 62423471132 รุ่นที่ 44 วันอาทิตย์ที่ 17/05/63
Final Examination
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการ ประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
1) ผู้ดำเนินกิจกรรมหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2) เป้าประสงค์
3) ทรัพยากร
4) กระบวนการและแนวทางการ
ทำงาน และ
5) ผลกระทบ ผลผลิต และการบูรณาการท าให้องค์กรเกิดประโยชน์สามารถลดความซ้ าซ้อนของงาน
ความสูญเปล่าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ เวลา ประหยัดทรัพยากร ลดปัญหาความขัดแย้งภายในองค์การ


-พฤติกรรมกาบริหาร บทบาททางการบริหาและความรับผิดชอบทางการบริหาร
ตอบ.การทำงานตามระเบียบข้อบังคับทำให้คนต้องทำตามขั้นตอนกฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัดทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้าเฉื่อยชาซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพการบริหารตามลำดับขั้นทำให้เกิดการทำงานแบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูงอาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานระบบราชการมองคนเป็นแค่วัตถุสิ่งของคนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลยเพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เองระบบราชการเป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่แข็งเหมือนกรงเหล็ก ขาดความยืดหยุ่นและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะการทำงานที่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร


รัฐบาลต้องมีภาระรับผิดชอบต่อประชนพลเมืองทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันไม่ใช่พยายามสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพราะความพึงพอใจเป็นเรื่องของบุคคลไม่ใช่
ประโยชน์สาธารณะอับเป็นของสังคมโดยรวมดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของอำนาจจึงต้องมีฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้กำหนดกรอบเจตนารมณ์ของกฎหมาย ให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติบรรลุผล
Final Examination
น.ส.วนิดา. ปัญชาติ รหัสนักศึกษา 62423471014 รุ่น44 วันที่ 17/05/63

1.) การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการ Max Weber ?
ตอบ. แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
Weber ศึกษาเปรียบเทียบระบบการบริหารในประเทศ ต่างๆแล้วเสนอตัวแบบระบบราชการที่ควรจะเป็น(normative) ที่เรียกกันว่า “ระบบราชการในอุดมคติ (ideal-type bureaucracy)”อันเป็นที่มาของระบบราชการในสังคมโดยเชื่อ ว่าระบบราชการในอุดมคตินี้ เป็นระบบบริหารที่มีเหตุมีผล เนื่องจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่โดยยึดความสามารถของบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งเป็นหลัก และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการ หรือ Bureaucracy ข้ึนมา โดย
1. ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และ ความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำ อย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3. อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรือปรากฎการณ์ได้
ซึงลักษณะองค์การแบบระบบราชการของ Max Weber ก็จะมี
1. ลำดับสายชั้นการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
2. มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะทาง
3 .มีกฎระเบียบ ข้อบังคับ
4. มีการวางตัวเป็นกลาง

ซึ่งจะเห็นได้ว่าการบริหารภาครัฐในปัจจุบันจะมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการ Max Weber ไม่กี่อย่าง สำหรับที่เห็นได้ในปัจจุบันตอนนี้ คือ
1. การลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และ
2. มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะทาง เช่นผู้ที่มีความรู้ด้านการบัญชีก็ต้องจัดให้อยู่ฝ่ายบัญชีดูแลรายรับรายจ่ายงบประมาณต่างๆ เป็นต้น

Final Examination
น.ส.วนิดา. ปัญชาติ รหัสนักศึกษา 62423471014 รุ่น44 วันที่ 17/05/63

2.) จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง ?
ตอบ. การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงานนั่นร่วมแรงร่วมใจกันทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน (Result) ตามยุทธศาสตร์เป็นหลัก เป็นการทำงานหลายหน่วยงาน ซึ่งจะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญการของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์เดียวกันโดยร่วมกันคิดร่วมกันทำงานโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัดเสริมสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลักทั้งในลักษณะของการทำงานข้ามกระทรวง กระทรวงเดียวกันแต่ต่างกรมหรือกรมเดียวกันแต่ต่างกองรวมทั้งกรณีมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำงานกับภาครัฐในระบบเครือข่าย
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐ และสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพ และความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ มี ดังนี้
1. ปัจจัยทางวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นให้กับสังคม และเป็นการถ่ายทอดของสังคมสืบต่อกันมา หรือหมายถึง สิ่งที่ดีงามที่สังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
2. ระบบชนชั้นและสถาบันสังคม คือ การแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นความพยายามที่จะศึกษาถึงโครงสร้างของสถานภาพของบุคคลในสังคม
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์การต่างๆของรัฐ ทั้งโดยทางตรงทางอ้อม มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม
4. ปัจจัยทางประชากร คือ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีความระเอียดอ่อน และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงาน
5. ปัจจัยทางทรัพยากรธรรมชาติ คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วพื้นบนโลกที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น หิน แร่ ดิน ป่าไม้ พืชพรรณ สัตว์ป่า ภูมิประเทศต่างๆ ได้แก่ ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม และภูมิอากาศ ฯลฯ
6. การศึกษาของประชาชน คือ ระดับการศึกษาของประชาชนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับความเจริญของสังคม และมีอิทธิพลยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบของการบริหาร
7. ปัจจัยทางการเมือง คือ การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาอำนาจเพื่อปกครองประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อระบบการบริหารและระบบสังคม
8. ปัจจัยทางด้านกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม ซึ่งกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี เป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดาเนินชีวิตของประชาชน
9. เทคโนโลยี คือ เป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดาเนินชีวิต
10. ปัญหาและวิกฤตการณ์ของสังคม เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงานของรัฐ มีลักษณะเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่รัฐบาลจะต้องเผชิญและแก้ไข เช่น ปัญหาหารว่างงาน ปัญหาพลังงาน ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ฯลฯ
Anonymous said…
นางสาวอัญจิมา เม็งมุธา 61823451019 รุ่น41
ข้อสอบ Final Examination วันอาทิตย์ ที่17 พฤษภาคม 2563
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ การบริหาร ของ Max weber ระบบราชการ (Bureaucracy) การบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7
1.หลักลำดับขั้น (hierachy) คือ การทำงานของระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุมทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้น
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility) คือ การกระทำของตนความรับผิดชอบ หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการกระทำใด ๆ ที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำลงไปและความพร้อมที่ จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดการเจ้าหน้ที่จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันที
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality) คือ ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 ประสิทธิผล การทำงานหรือการดำเนินกิจการใด ๆ ที่สามารถประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.2 ประสิทธิภาพ ความสามารถในการที่จะใช้ทรัพยากรบริหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เวลาไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานนั้นได้มากที่สุด
3.3 ประหยัด ความสามารถในการที่จะประหยัดทรัพยากรบริหาร แต่สามารถที่จะให้บริการ หรือผลิตออกมาให้ได้ระดับเดิม
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation) คือ การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายโดยสำเร็จ ตามนโยบายที่ตั้งไว้
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization) คือ การแบ่งส่วนงานตามความสามารถตามความถนัดของ แต่ละหน่อยงานของ รัฐบาล เมื่อมีปัญหาทางด้านใด ให้เจ้าหน้าที่ที่มีความถนัดเฉพาะด้าน ซึ่งทำให้เกิด การแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
6. หลักระเบียบวินัย (discipline) คือ ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization) คือ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วยความสำเร็จของ
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสมัฤทธิ์ ตอบสนองต่อความตามงการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการทรัพยากรในองค์การ และ มีการประสานงานร่วมมือกับเกี่ยวข้องภาคส่วนในสงัคม
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะสภาพแวดล้อม ของการบริหารองค์การ สภาพแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหน่วยงานภาครัฐ โดยผู้ ศึกษาได้ทราบความสำคัญและอิทธิพลของระบบสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ว่ามีผลอย่างไรกับการบริหารงานองค์การและองค์การต้ องพิจารณาปัจจัยใดบ้างในการบริหารที่ตอบ สนองสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
ผลกระทบ 1. ภาวะเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้
2. ภาวะทางการเมือง การเมืองนับว่ามีอิทธิพลเหนือการควบคุมของธุรกิจเป็นอย่างมาก นักธุรกิจจึงพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพื่อจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตน
3. สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดว่าสภาพสังคมและวัฒนธรรมในลักษณะนี้ เหมาะที่จะประกอบธุรกิจประเภทใด เพื่อให้สินค้าและบริการที่ผลิตออกมาสามารถจำหน่ายได้
Final Examination นางสาว สริตา จุลทองไสย รหัสนักศึกษา 61423451047 รุ่น 41
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ แนวคิดของ Max Weber ทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการและจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1. หลักลำดับขั้น (hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ซึ่งในการบริหารภาครัฐในปัจจุบันนั้นมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดของ Max weber ทุกประการ โดยสังเกตภายในองค์กรนั้นๆ จะมีการบริหารที่มีลำดับขั้น ทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุม ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแบ่งงาน และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงานขึ้นมา มีการแบ่งงานที่ต้องทำออกเป็นส่วนๆ เช่น ส่วนงานดูแลงบประมาณ ส่วนงานที่เกี่ยวกับดูแลส่วนท้องถิ่น ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาต้องมีความเป็นวิชาชีพ มีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์กร เช่น เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจะมีการถูกเรียกสอบสวน ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร และแนวทางบทลงโทษเป็นต้น

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ ในองค์กรใดองค์กรหนึ่งต้องมีการบริหารแบบบูรณาการเพื่อบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในงานนั้น นอกจากนี้ยังอาศัยสภาพแวดล้อมการบริหารด้วย
การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย เกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
สภาพแวดล้อมของการบริหาร หมายถึง สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐและสามารถ ส่งอิทธิพลมายัง ภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ สภาพแวดล้อมทั่วๆไปของสังคม ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อการบริหารงานของทุกๆองค์การ
- ปัจจัยทางวัฒนธรรมประเพณีและค่านิยม
- ระบบชนชั้นและสถาบันสังคม โครงสร้างของสถานภาพของบุคคลในสังคม เช่น วงศ์ตระกูล
- ปัจจัยทางประชากร โครงสร้างทางอายุและเพศ จำนวนประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน
การบริหารงานในปัจจุบันองค์การต้องให้ความสาคัญของสภาพแวดล้อมทางการบริหาร คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อ การบริหารงานองค์การ เพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการ ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน สอดคล้องกับเป้รหมายขององค์การนำไปสู่ผลสำเร็จตามที่ต้องการ สภาพแวดล้อมภายในองค์การเป็นสภาพแวดล้อมเฉพาะองค์การ เช่น บุคลากร แรงงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร งบประมาณ เงิน ข้อมูล เทคนิควิธีการ ปฏิบัติงาน ซึ่งองค์การต้องมีทรัพยากรในการบริหารที่เพียงพอ สามารถนำมาปฏิบัติงานแล้ว เกิดผลงานผลผลิตที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
นางสาว เชษฐ์สุดา ตัญญวงษ์
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
ข้อสอบ Final Examination

1.) การบริหารภาครัฐในยุคปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Maxweber
ตอบ แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
1. อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
- การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2. ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
หลักการ/แนวคิดระบบราชการ
องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4.การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6.หลักระเบียบวินัย (discipline)
7.ความเป็นวิชาชีพ(professionalization)

2.) จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารแบบบรูณาการ หมายถึง การประสานกลมกลืนกันของแผน กระบวนการ สารสนเทศ การจัดสรรทรัพยากร การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ และการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ที่สำคัญขององค์กร การบูรณาการที่มีประสิทธิผล เป็นมากกว่าความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment) และจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อการดำเนินการของแต่ละองค์ประกอบภายในระบบการจัดการผลการดำเนินการมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์
การบริหารแบบบูรณาการแล้วการที่จะบริหารแบบนี้ให้สำเร็จผลผู้บริหารจะต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ
1.มีข้อมูลทันสมัยเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
2.มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์หลักและแผนยุทธศาสตร์ย่อย
3.มีการจัดระบบบริหารจัดการที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้
4.มีการติดตามและประเมินผลการบริหารอยู่ตลอดเวลา
สิ่งแวดล้อมของการบริหารหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร (The environment of public administration) หมายถึง สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐและสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพและความสาเร็จของการบริหารงานของรัฐ
ในปัจจุบันความคิดโดยผ้บูริหารองค์การต่างพบว่าตนเองไม่สามารถที่จะกำหนดนโยบายโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของสังคมที่องค์การนั้นๆสังกัดอยู่เพราะความเจริญเติบโตของสังคมทำให้สิ่งแวดล้อมในการบริหารงานมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
การบริหารงานของรัฐพบว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นปัจจัยที่ช่วยวัดความสาเร็จของการบริหารงานสาธารณะเป็นทรัพยากรหรือวัตถุดิบสำหรับป้อนให้กับการบริหารเพื่อทำการแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการตามนโยบายของรัฐ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประเภทมีลักษณะเป็นนามธรรมเช่นความเชื่อค่านิยมประเพณีของสังคมซึ่งปัจจัย ประเภทนี้สามารถแทรกตัวอยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผ้บูริหารตลอดจนถึงพนกังานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การอันเป็นผลทำให้เกิดปัญหาในการนำเอากฎระเบียบหรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้
สภาพแวดล้อมในการบริหารงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่นทรัพยากรของการบริหารสินค้าขององค์การ
2.สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปของนามธรรมเช่นค่านิยมประเพณีความรู้ความต้องการของสังคม
นายสุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ รหัสนักศึกษา 62423471020
การบ้านวันเสาร์ที่ 16 พ.ค. 2563
คำถามช่วงเช้า
ข้อที่ 1) งบประมาณและการคลังสาธารณะ หมายถึงอะไร ?
ตอบ. งบประมาณ หมายถึง แผนเบ็ดเสร็จซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงิน แสดงโครงการดําเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่งรวมถึงการกะประมาณการบริหารกิจกรรม โครงการ และค่าใช้จ่ายตลอดจนทรัพยากรที่จําเป็นในการสนับสนุน รวมถึงวางแผนการเงินในช่วงเวลาที่กำหนดชัดเจนโดยมากแล้วคือหนึ่งปีงบประมาณอาจรวมถึงปริมาณแผนการขายและรายได้, ปริมาณทรัพย์สิน, ค่าใช้จ่าย, สินทรัพย์, หนี้สินและกระแสเงินสดโดยที่บริษัท รัฐบาล ครอบครัว และองค์กรต่าง ๆ
การคลังสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและร่ายจ่ายและการก่อหนี้ของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบจากกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ทางการคลังของรัฐบาลที่มีต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม โดยมีขอบเขตเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน การคลังด้านรายรับ การคลังด้านรายจ่าย และหนี้สาธารณะ
ข้อที่ 2) อธิบายโครงสร้างรายรับและรายจ่ายของไทย
ตอบ. โครงสร้างรายรับของรัฐบาลมาจาก 3 ส่วน ดั้งนี้
1.รายรับที่ได้มาจากการจัดเก็บภาษีอากร
ประกอบด้วย ภาษีทางตรง ภาษีทางอ้อม ภาษีลักษณะอนุญาตเช่น ค่าใบอนุญาตอาวุธปืน
ค่าใบอนุญาตการพนัน (เป็นรายรับด้านนี้ส่วนใหญ่ของประเทศไทย)
2. รายรับที่ไม่มาจากการจัดเก็บภาษี
คือรายรับที่มีจากการประกอบธุรกรรมอย่างอื่นของรัฐได้แก่
-รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ อันได้แก่ การขายหลักทรัพย์ และ ทรัพย์สิน เช่นการขายสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ค่าขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าขาย หลักทรัพย์ ค่าขายบริการและค่าเช่า เป็นต้น
-รายได้จากรัฐพาณิชย์ คือผลกำไรขององค์การของรัฐบาลรัฐวิสาหกิจ รายได้จากโรงงานยาสูบ รายได้จากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล (ล็อตเตอรี่) เป็นต้น
-รายได้อื่นๆ เช่น ค่าแสตมป์ ฤชา ค่าปรับ เงินรับคืนและรายได้ เบ็ดเตล็ด
3. รายรับที่ไม่ใช่รายได้
คือ -รายรับที่มาจากการกู้เงิน จากธนาคารกลาง ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์
-การกู้จากประชาชน โดยการขายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
-การยืมเงินคงคลัง ที่รัฐบาลเก็บสะสมไว้และสามารถยืมมาใช้ในปีที่รายจ่ายสูงเกินกว่ารายได้
รายจ่ายของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
1.รายจ่ายประจำ
*เงินเดือน+ สวัสดิการต่าง ๆ
- ข้าราชการประจำ เช่น ครู ทหาร ตำรวจ พยาบาล เป็นต้น
- ข้าราชการการเมือง(นักการเมือง) เช่น ส.ส. ส.ว. ส.อบต. ส.อบจ. นายก อบต. ฯลฯ
*อื่นๆ เช่น เป็นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าบริการต่างๆ ของทางราชการ
2.รายจ่ายเพื่อการลงทุน
-การสร้าง ถนน สะพาน เป็นต้น
-โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ตามนโยบายรัฐบาล
-การลงทุน ของรัฐที่เรียกว่า รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
3.ชำระหนี้ เช่น
*ในกรณีที่มีพันธะในการช าระ
-หนี้จากการกู้ยืม
-ซื้อพันธบุตรรัฐบาล
-คืนเงินคงคลัง



(คำถามช่วงบ่าย )
ข้อที่ 1) อธิบายนโยบายงบประมาณ
ตอบ. นโยบายที่จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล ทางด้านการใช้จ่ายเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มหรือลดภาษี และหนี้สิน การตัดสินใจของรัฐ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระดับอุปสงค์รวม เช่น ระดับราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย ระดับรายได้ประชาชาติ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ดุลการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ที่มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลัก งบประมาณที่ดีควรจะดําเนินการจัดสรรโดยยึดหลักการพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด จึงควรมีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักการพัฒนาที่ดีว่าด้านไหนควรมาก่อนหลัง ตามสถานการณ์และความจำเป็น
ข้อที่ 2)อธิบายประเภทของหนี้สาธารณะ
ตอบ.หนี้สาธารณะ (Public debt) คือ หนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณการกู้เงินของรัฐบาล มีได้หลายช่องทาง รัฐอาจกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารกลาง, สถาบันการเงินต่างประเทศ, เอกชน, รัฐบาลต่างประเทศ หรือ องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นต้น ในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่งบประมาณของรัฐบาลจะขาดดุบเนื่องจากระดับรายได้ของประชาชนต่ำ มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้น้อย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้รายจ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ
นายสุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ รหัสนักศึกษา 62423471020
การบ้านวันเสาร์ที่ 16 พ.ค. 2563
คำถามช่วงเช้า
ข้อที่ 1) งบประมาณและการคลังสาธารณะ หมายถึงอะไร ?
ตอบ. งบประมาณ หมายถึง แผนเบ็ดเสร็จซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงิน แสดงโครงการดําเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่งรวมถึงการกะประมาณการบริหารกิจกรรม โครงการ และค่าใช้จ่ายตลอดจนทรัพยากรที่จําเป็นในการสนับสนุน รวมถึงวางแผนการเงินในช่วงเวลาที่กำหนดชัดเจนโดยมากแล้วคือหนึ่งปีงบประมาณอาจรวมถึงปริมาณแผนการขายและรายได้, ปริมาณทรัพย์สิน, ค่าใช้จ่าย, สินทรัพย์, หนี้สินและกระแสเงินสดโดยที่บริษัท รัฐบาล ครอบครัว และองค์กรต่าง ๆ
การคลังสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและร่ายจ่ายและการก่อหนี้ของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบจากกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ทางการคลังของรัฐบาลที่มีต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม โดยมีขอบเขตเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน การคลังด้านรายรับ การคลังด้านรายจ่าย และหนี้สาธารณะ
ข้อที่ 2) อธิบายโครงสร้างรายรับและรายจ่ายของไทย
ตอบ. โครงสร้างรายรับของรัฐบาลมาจาก 3 ส่วน ดั้งนี้
1.รายรับที่ได้มาจากการจัดเก็บภาษีอากร
ประกอบด้วย ภาษีทางตรง ภาษีทางอ้อม ภาษีลักษณะอนุญาตเช่น ค่าใบอนุญาตอาวุธปืน
ค่าใบอนุญาตการพนัน (เป็นรายรับด้านนี้ส่วนใหญ่ของประเทศไทย)
2. รายรับที่ไม่มาจากการจัดเก็บภาษี
คือรายรับที่มีจากการประกอบธุรกรรมอย่างอื่นของรัฐได้แก่
-รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ อันได้แก่ การขายหลักทรัพย์ และ ทรัพย์สิน เช่นการขายสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ค่าขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ค่าขาย หลักทรัพย์ ค่าขายบริการและค่าเช่า เป็นต้น
-รายได้จากรัฐพาณิชย์ คือผลกำไรขององค์การของรัฐบาลรัฐวิสาหกิจ รายได้จากโรงงานยาสูบ รายได้จากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล (ล็อตเตอรี่) เป็นต้น
-รายได้อื่นๆ เช่น ค่าแสตมป์ ฤชา ค่าปรับ เงินรับคืนและรายได้ เบ็ดเตล็ด
3. รายรับที่ไม่ใช่รายได้
คือ -รายรับที่มาจากการกู้เงิน จากธนาคารกลาง ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์
-การกู้จากประชาชน โดยการขายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
-การยืมเงินคงคลัง ที่รัฐบาลเก็บสะสมไว้และสามารถยืมมาใช้ในปีที่รายจ่ายสูงเกินกว่ารายได้
รายจ่ายของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
1.รายจ่ายประจำ
*เงินเดือน+ สวัสดิการต่าง ๆ
- ข้าราชการประจำ เช่น ครู ทหาร ตำรวจ พยาบาล เป็นต้น
- ข้าราชการการเมือง(นักการเมือง) เช่น ส.ส. ส.ว. ส.อบต. ส.อบจ. นายก อบต. ฯลฯ
*อื่นๆ เช่น เป็นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าบริการต่างๆ ของทางราชการ
2.รายจ่ายเพื่อการลงทุน
-การสร้าง ถนน สะพาน เป็นต้น
-โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ตามนโยบายรัฐบาล
-การลงทุน ของรัฐที่เรียกว่า รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
3.ชำระหนี้ เช่น
*ในกรณีที่มีพันธะในการช าระ
-หนี้จากการกู้ยืม
-ซื้อพันธบุตรรัฐบาล
-คืนเงินคงคลัง



(คำถามช่วงบ่าย )
ข้อที่ 1) อธิบายนโยบายงบประมาณ
ตอบ. นโยบายที่จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล ทางด้านการใช้จ่ายเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มหรือลดภาษี และหนี้สิน การตัดสินใจของรัฐ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระดับอุปสงค์รวม เช่น ระดับราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย ระดับรายได้ประชาชาติ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ดุลการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ที่มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลัก งบประมาณที่ดีควรจะดําเนินการจัดสรรโดยยึดหลักการพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด จึงควรมีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักการพัฒนาที่ดีว่าด้านไหนควรมาก่อนหลัง ตามสถานการณ์และความจำเป็น
ข้อที่ 2)อธิบายประเภทของหนี้สาธารณะ
ตอบ.หนี้สาธารณะ (Public debt) คือ หนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณการกู้เงินของรัฐบาล มีได้หลายช่องทาง รัฐอาจกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารกลาง, สถาบันการเงินต่างประเทศ, เอกชน, รัฐบาลต่างประเทศ หรือ องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นต้น ในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่งบประมาณของรัฐบาลจะขาดดุบเนื่องจากระดับรายได้ของประชาชนต่ำ มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้น้อย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้รายจ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ
Final Examination นาย พัฒนพงษ์ จันทาพูน รหัสนักศึกษา 61423451064 รุ่น 41
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นคนเสนอแนวคิดในการจัดการองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) การจัดองค์การด้วยระบบราชการมีหลักการที่เป็นลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่
1. Hierarchy : หลักสายการบังคับบัญชา
2. Rules and Regulations : หลักกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
3. Division of Labor : หลักการแบ่งแยกแรงงาน
4. Impersonality : หลักการแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน
5. Competence : หลักการยึดหลักความสามารถในการทำงาน
5. Formal written records : หลักการปฏิบัติงานแบบลายลักษณ์อักษร
โครงสร้างการบริหารราชการของไทยได้นำเอาระบบราชการของ Max weber มาปรับใช้มีการพัฒนาการของการบริหารราชการแผ่นดินมาเป็นลำดับ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้บั่นทอนการพัฒนา ของประเทศ รวมถึงกระแสความกดดันจากภายนอกประเทศ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การค้า และเทคโนโลยี สารสนเทศ เป็นต้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถอย่างเป็นองค์รวม และมีการบูรณาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและการสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งแนวคิดของการ บริหารราชการสมัยใหม่ ซึ่งเน้นการปรับบทบาทภาครัฐให้มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง โดยมีประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ จึงจำเป็นจะต้องมีการบริการจัดการ ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเน้นการมอบให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ สภาพแวดล้อมในการบริหาร หมายถึงปัจจัยต่างๆที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การและมีอิทธิพลที่จะทำให้การบริหารงานของ องค์การเปลี่ยนแปลงไป
การบริหารแบบบรูณาการคือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุปุระสงค์/เป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนและประชาชนไดรับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการ ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และ มีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคม
สิ่งแวดล้อมของการบริหารหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร (The environment of public administration) หมายถึง สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐและสามารถ ส่งอิทธิพลมายัง ภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ
ปัจจัยแวดล้อมบางประเภทมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อค่านิยมประเพณี ของสังคม ซึ่งปัจจัย ประเภทนี้สามารถแทรกตัว อยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผ้บูริหารตลอดจนถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การอันเป็นผลทำให้เกิด ปัญหาในการนำเอากฎระเบียบหรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้
FINAL EXAMINATION
นางสาวธัญชนก อุ่นใจ
รหัสนักศึกษา62423471131 รุ่นที่44
1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
= การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐในปัจจุบันนำหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศโดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่นการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การบริหารงานแบบมืออาชีพการคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าการจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะการให้ความสำคัญต่อค่านิยมจรรยาบรรณวิชาชีพคุณธรรมและจริยธรรมตลอดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
ลักษณะของระบบราชการตามความหมายของ Max Weber แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
-ลักษณะทางด้านโครงสร้าง ได้แก่ การมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมาเป็นลำดับจากสูงลงมาต่ำการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญพิเศษและการมีระบบของกฎเกณฑ์ไว้อย่างแน่นอน
-ลักษณะทางด้านพฤติกรรม ได้แก่ การไม่คำนึงถึงบุคคลการใช้เหตุผลและการมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
-หลักลำดับขั้น
-อำนาจของสมาชิกองค์การมีที่มาจากอำนาจตามตำแหน่งราชการ
-การทำงานในองค์การแบบระบบราชการถูกกำหนดโดยกรอบของระเบียบแบบแผนที่เป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษรของหน่วยงานราชการ
-ข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลาง
-การรับราชการถือว่าเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง -ระบบราชการมีลักษณะที่คงทนถาวรอยู่ยงคงกระพันและแข็งแกร่ง
-ระบบราชการมีแนวโน้มที่จะปกปิดความรู้ในความสลับซับซ้อนของกลไกระบบราชการไม่ให้คนภายนอกได้ทราบ
ระบบราชการว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบริหาร เพราะว่ามีการจัดองค์การที่ดี มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบและสัดส่วน ทำให้เกิดความชำนาญและความรวดเร็ว เป็นระบบที่สร้างความยุติธรรมทำงานภายใต้กรอบของกฎหมายระเบียบแบบแผนที่รัดกุม ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูง

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
= การบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการเป็นการนำเอาขั้นตอนการทำงาน(Transaction) ที่เป็นปัจจัย Input ที่เกี่ยวข้อง ภายในกรอบความคิดเชิงการบริหารและจัดการ
การบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการเป็นการนำเอาการบริหารการจัดการมี่มีการคิดและการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์และการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การนำระบบการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องภายในกรอบความคิดเชิงนโยบายการบริหารมาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมและสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารการจัดการได้ทันท่วงที
การกำหนดรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานบริหารการจัดการภายในองค์กรโดยการกำหนดกรอบและหลักการบริหารที่ชัดเจน เช่น กำหนดจริยธรรมองค์กรโดยมีจุดประสงค์ให้พนักงานทุกคนในองค์กรได้เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติและเป็นแนวทางในการดำเนินการเช่น
-การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานเพื่อส่งเสริมสภาพการทำงาน
-การสร้างความไว้วางใจระหว่างพนักงานและผู้บริหารเพื่อลดช่องว่างในการสื่อสารและการสั่งการ
-การมีความซื่อสัตย์ในการดำเนินทางธุรกิจทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรเพื่อให้เกิดการไว้วางใจกับผู้
-มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
-การสร้างวัฒนธรรมให้พนักงานทุกระดับส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและการพัฒนา
-การสร้างจรรยาบรรณในการทำงาน การให้เกียรติและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นการนำวิธีการทำงานหรือกลไกการจัดการแบบภาคเอกชนมาใช้ในภาครัฐมีการจัดการแบบมืออาชีพมีมาตรฐานวัดความสำเร็จที่ชัดเจนเน้นการควบคุมผลผลิตเป็นหลักแทนการควบคุมทรัพยากรมีหน่วยการจัดการที่อิสระคล่องตัวเน้นการแข่งขันโดยเป้าหมายให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีคุณภาพสูงข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเท่าเทียมมีมาตรฐานสากลหน่วยราชการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าไวต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนยืดหยุ่นและปรับตัวได้ตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือยกระดับคุณภาพชีวิตของไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกินดีอยู่ดีมีความสุขสังคมมีเสถียรภาพได้รับความเชื่อถือและสามารถแข่งขันในระดับโลกได้
นายสุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ รหัส62423471020 รุ่น 44
วันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค. 63 Final Examination
ข้อที่ 1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ.การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
โดยแนวคิดของ แมคซ์  เวเบอร์ แนวคิดการบริหารนี้เรารับและนำใช้ในรับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา โดยแนวคิดของ แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน  ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ

1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดีของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2. การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
= การบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการเป็นการนำเอาขั้นตอนการทำงาน(Transaction) ที่เป็นปัจจัย Input ที่เกี่ยวข้อง ภายในกรอบความคิดเชิงการบริหารและจัดการ
การบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการเป็นการนำเอาการบริหารการจัดการมี่มีการคิดและการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์และการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การนำระบบการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องภายในกรอบความคิดเชิงนโยบายการบริหารมาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมและสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารการจัดการได้ทันท่วงที
การกำหนดรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานบริหารการจัดการภายในองค์กรโดยการกำหนดกรอบและหลักการบริหารที่ชัดเจน เช่น กำหนดจริยธรรมองค์กรโดยมีจุดประสงค์ให้พนักงานทุกคนในองค์กรได้เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติและเป็นแนวทางในการดำเนินการเช่น
-การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานเพื่อส่งเสริมสภาพการทำงาน
-การสร้างความไว้วางใจระหว่างพนักงานและผู้บริหารเพื่อลดช่องว่างในการสื่อสารและการสั่งการ
-การมีความซื่อสัตย์ในการดำเนินทางธุรกิจทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรเพื่อให้เกิดการไว้วางใจกับผู้
-มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
-การสร้างวัฒนธรรมให้พนักงานทุกระดับส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและการพัฒนา
-การสร้างจรรยาบรรณในการทำงาน การให้เกียรติและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นการนำวิธีการทำงานหรือกลไกการจัดการแบบภาคเอกชนมาใช้ในภาครัฐมีการจัดการแบบมืออาชีพมีมาตรฐานวัดความสำเร็จที่ชัดเจนเน้นการควบคุมผลผลิตเป็นหลักแทนการควบคุมทรัพยากรมีหน่วยการจัดการที่อิสระคล่องตัวเน้นการแข่งขันโดยเป้าหมายให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีคุณภาพสูงข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเท่าเทียมมีมาตรฐานสากลหน่วยราชการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าไวต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนยืดหยุ่นและปรับตัวได้ตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดคือยกระดับคุณภาพชีวิตของไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกินดีอยู่ดีมีความสุขสังคมมีเสถียรภาพได้รับความเชื่อถือและสามารถแข่งขันในระดับโลกได้
นางสาวกนกวรรรณ ชัยพิมูล รหัสนักศึกษา 61423451087
ข้อสอบ Final Examination

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ. แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัย ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำรือนักบริหารจะบริหารให้มีประทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู้ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฎิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลบังคับได้
1.อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
-การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
-การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
-การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2.ลักษณะ
-มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับขั้นของการบังคับบัญชา
-การปฎิบัติงานุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
-การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
-การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
-เน้นการยึดถือวามสามารถทางวิชาการ
-การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
-แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
หลักการ/แนวคิดระบบราชการ(Bureaucracy) จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครองบังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐนที่สำคัญ 7 ประการ ดังนี้
1.หลักลำดับขั้น (Heirachy) หลักการนี้มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์การต้องอยู่ภายใต้การควบคุม
2.ความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (Responsibility) เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อการกระทำงานตน
3.หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rationality) ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฎิบัติที่จะนะมาใช้เป็นแนวมางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่งมีประสิทธิภาพ
4.หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (Achievement orientation) การปฎิบัติงานใดๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัสถุประสงค์ของอค์การเสมอ
5.หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialiation) ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการต้องมีการแบ่งงานและจัดแผนกงานหรือจัดส่วนงานขึ้นมา
6.หลักระเบียบวินัย (Discipline) ต้องมีการกำหนดระเบียบวินัยและบทลงโทษขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
7.ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization) ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบีนย ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.การบริหารแบบบูรณาการคือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และมีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคทุกส่วนในสังคม
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐ และสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพ และความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ ปัจจัยแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบาย สาธารณะ เป็นปัจจัยที่ช่วยวัดความสำเร็จของการบริหารงานสาธารณะเป็นทรัพยากรหรือ วัตถุดิบสำหรับป้อนให้กับระบบการบริหารเพื่อทำการแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการตามนโยบาย ของรัฐ ปัจจัยแวดล้อมบางประเภทมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ของสังคม ซึ่งปัจจัยประเภทนี้สามารถแทรกตัวอยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ มีอิทธิพลต่อ ความรู้สึกนึกคิดของผู้บริหาร ตลอดจนถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การ อันเป็นผลทำให้เกิด ปัญหาในการนำเอากฎ ระเบียบ หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้
นางสาวกิตนิชา ปรีชาชาญ 61423451132 รุ่น 41 ข้อสอบวันที่ 17/5/63
Final Examination
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ 1.จัดการโดยนักวิชาชีพที่ชำนาญการ (Hands-on professional management) หมายถึง ให้ผู้จัดการมืออาชีพได้จัดการด้วยตัวเอง ด้วยความชำนาญ โปร่งใส และมีความสามารถในการใช้ดุลพินิจเหตุผล ก็เพราะเมื่อรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ก็จะเกิดความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบจากภายนอก
2.มีมาตรฐานและการวัดผลงานที่ชัดเจน (Explicit standards and measures of performance) ภาครัฐจึง ต้องมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของผลงาน และการตรวจสอบจะมีได้ก็ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
3.เน้นการควบคุมผลผลิตที่มากขึ้น (Greater emphasis on output controls) การใช้ทรัพยากรต้องเป็นไป ตามผลงานที่วัดได้ เพราะเน้นผลสำเร็จมากกว่าระเบียบวิธี
4.แยกหน่วยงานภาครัฐออกเป็นหน่วยย่อยๆ (Shift to disaggregation of units in the public sector) การแยกหน่วยงานใหญ่ออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ ตามลักษณะสินค้าและบริการที่ผลิตให้เงินสนับสนุนแยกกัน และติดต่อกันอย่างเป็นอิสระ
5.เปลี่ยนภาครัฐให้แข่งขันกันมากขึ้น (Shift to greater competition in the public sector) เป็นการเปลี่ยนวิธีทำงานไปเป็นการจ้างเหมาและประมูล เหตุผลก็เพื่อให้ฝ่ายที่เป็นปรปักษ์กัน (rivalry) เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ต้นทุนต่ำและมาตรฐานสูงขึ้น
6.เน้นการจัดการตามแบบภาคเอกชน (Stress on private sector styles of management practice) เปลี่ยนวิธีการแบบข้าราชการไปเป็นการยืดหยุ่นในการจ้างและให้รางวัล
7.เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีวินัยและประหยัด (Stress on greater discipline and parsimony in resource use) วิธีนี้อาจทำได้ เช่น การตัดค่าใช้จ่าย เพิ่มวินัยการทำงาน หยุดยั้งการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน จำกัดต้นทุนการปฏิบัติ เหตุผลก็เพราะต้องการตรวจสอบความต้องการใช้ทรัพยากรของภาครัฐ และ“ทำงานมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง” (do more with less)
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ การบริหารราชการแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงานทำงานแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์เป็นหลัก เป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้าน ทำงานภายใต้เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์เดียวกัน โดยร่วมกันคิด ร่วมกันทำงาน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก ทั้งในลักษณะของการทำงานข้ามกระทรวง กระทรวงเดียวกันแต่ต่างกรม หรือกรมเดียวกันแต่ต่างกอง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำงานกับภาครัฐในระบบเครือข่าย
การให้บริการสาธารณะจะเริ่มต้นจากความจำเป็น ความต้องการและข้อเรียกร้องของประชาชน ความจำเป็นของการให้บริการสาธารณะโดยทั่วไปแล้ว จะเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินงานตามกฎหมายหรือเพื่อเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ เช่นการทำบัตรประชาชน การทำใบอนุญาตขับรถ การจัดเก็บภาษีอากรการเกณฑ์ทหาร การป้องกันภัยพิบัติและสาธารณภัยเป็นต้น รวมถึงข้อเรียกร้องต่างๆ ที่ประชาชนเห็นว่าเมื่อรัฐจัดทำบริการสาธารณะแล้วประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การพักชำระหนี้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย การมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้มีรายได้น้อย การแจกเบี้ยยังชีพแก่คนชรา เป็นต้น
Araya Wongsa said…
Final Examination ข้อสอบท้ายวิชา 17พค63
สตต หญิงอารยา วงษา รหัสนักศึกษา62423471117

1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ การนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่นการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบรหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันการให้บริการสาธารณะ การให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลิดทั้งการมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนโดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Max weber ในเรื่องแนวทางที่จะนำไปสู่ควมสมเหตุสมผลหรือประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ขึ้นมาไว้อย่างชัดเจนในรูปแบบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับขององค์กร Weber ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานว่ามีความสำคัญต่อการที่จะทำให้งานบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะวิธีการทำงานแสดงให้เห็นว่าจะทำงานอย่างไร โดยวิธีการใดจึงทำให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอไรบ้าง
ตอบ การบริหารสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในการควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่งการบริการสาธารณะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะที่ดำเนินการจัดการขึ้นโดยบุคคลในกฏหมายมหาชนหรือเอกชน ซึ่งฝ่ายปกครองต้องให้อำนาจในการกำกับดูแลบางประการและอยู่ภายใต้ระบบพิเศษ
ในการนำมาบริหารแบบบูรณการนั้นเพื่อปรับเปลี่ยน แก้ไขให้บรรลุเป้ามายจนเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองความต้องการของประชาชนและประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยมีสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบรหาร คือ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ทรัพยากรองค์กรและมีการประสานงานความร่วมมือเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยร่วมกันสร้างพลังผลักดันให้ทุกส่วนราชการที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสำเร็จเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติโดยถือประชาชนเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะมีดังนี้
1. สภาพแวดล้อมภายนอกหรือสภาพแวดล้อมโดยท่ัวไปของการบริหารงาน
เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานในทุกๆส่วน หรือกล่าวว่าปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อองค์การรัฐทุกๆองค์การระดับความสัมพันธ์ขององค์การอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ“ขอบเขต” (Boundary) ของแต่ละองค์การ เนื่องจากปัจจัยประเภทนี้เป็นปัจจัยที่ เกิดจากลักษณะร่วมกันของสังคมดังนั้นองค์การทุกๆประเภทที่ดำรงอยู่ในสังคมดังกล่าวจึงต้อง เผชิญและได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมประเภทนี้เสมอซึ่งได้แก่
1)เศรษฐกิจเช่นปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน
2) สังคม เช่นวัฒนธรรม ประเพณีและค่านิยม,ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม,กลุ่มสังคมและครอบครัว,ประชากร,การศึกษา,ภาวะทางสุขอนามัยและโภชนาการและปัญหา สังคม
3) การเมือง
4) กฎหมาย
5) สภาพทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เช่นปัญหาวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน
6) เทคโนโลยี
7)โลกาภิวัตน์และต่างประเทศ
2. สภาพแวดล้อมภายในหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่างๆของ รัฐ เป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบการบริหารในแต่ละองค์การ เรียกได้ว่าเป็น ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การหรืออาจพิจารณาระบบ สภาพแวดล้อมประเภทนี้ว่าเป็นระบบของทรัพยากรในการบริหารก็ได้สภาพแวดล้อมประเภทนี้จะ มีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินการสำหรับองค์การหนึ่งๆแต่อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับองค์การอื่นๆเลยก็ได้ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน บุคลากร เครื่องจักร เทคโนโลยีการบริหาร กฎระเบียบขององค์การ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นางสาววรารัตน์ เมืองเจริญ รหัส 62423471037 รุ่น 44
ข้อ1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของMax Weber
1. อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
- การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2. ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
หลักการ/แนวคิดระบบราชการ (bureaucracy)
จะทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารของกลุ่มชน โดยผู้นำจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายปกครอง บังคับบัญชาโดยผ่านระบบราชการ องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ข้อ2. จงอธิบายการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน จําเป็นที่จะต้องนําหลักการ การบริหารแบบบูรณาการมาใช้ในการทํางานมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ หลักของการพัฒนาประเทศของรัฐบาล หรือยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์
คือ
1) ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้
4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและดําเนินนโยบายระหว่างประเทศ
6) ยุทธศาสตร์การพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
7) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม
8) ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ

FINAL EXAMINATION วันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค. 2563
ชื่อนายนธี พรมจันทร์ รหัสนักศึกษา61423451015 รุ่นที่41
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดราชการของ Max weber?
ตอบ การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดราชการของ Max weber มากมายหลายข้อคือ
การบริหารภาครัฐในปัจจุบันได้นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน ซึ่งหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งหลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ
1. หลักคุณธรรม
2. หลักนิติธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักความมีส่วนร่วม
5.หลักความรับผิดชอบ
6.หลักความคุ้มค่า
ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber ที่อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารระบบราชการ ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการคือ
1. หลักลำดับขั้น (hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ดังนั้นอาจกล่าวสรุปได้ว่าหลักของธรรมาภิบาล มุ่งเน้นให้ทราบถึงปัจจุบันที่มีการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมุ้งเน้นให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการของประชาชนสูงที่สุด และเป็นการเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ้านเมือง ซึ่งการที่จะทำให้หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองเกิดผลสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารหรือผู้นำมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะนำมายึดปฏิบัติเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน และเพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจถึงหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น ต้องเร่งดำเนินการให้การศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ประชาชน ซึ่งได้สอดคล้องกับ Max weber ที่กำหนดโครงสร้างพื้นฐานเอาไว้เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการของประชาชนสูงที่สุดเหมือนกับหลักธรรมาภิบาลนั่นเอง.
FINAL EXAMINATION วันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค. 2563
ชื่อนายนธี พรมจันทร์ รหัสนักศึกษา 61423451015 รุ่นที่41

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง?
ตอบ การบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะสามารถอธิบายได้ดังนี้
การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงานทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน (Result) ตามยุทธศาสตร์เป็นหลักเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญการของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์เดียวกันโดยร่วมกันคิดร่วมกันทำงานโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลักทั้งในลักษณะของการทำงานข้ามกระทรวง กระทรวงเดียวกันแต่ต่างกรมหรือกรมเดียวกันแต่ต่างกองรวมทั้งกรณีมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำงานกับภาครัฐในระบบเครือข่าย (Network).
สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรมทั้งภายนอกภายในและรอบๆองค์การ และสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดังกล่าว มีอิทธิพลเหนือโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการบริหารเพื่อการพัฒนา (หรือการบริหารการพัฒนา)หรือในทางกลับกันสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม อาจรวมถึงสภาพแวดที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร เทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพ ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม รวมถึงสหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ อุดมการณ์ อารยธรรมธุรกิจ บริษัท ปัจเจกชนนิยม ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น สภาพแวดล้อมการบริหารการพัฒนาที่แบ่งตามมติผลกระทบ
บริหารการพัฒนาที่แบ่งตามมติเฉพาะด้านและที่แบ่งตามผลกระทบนั้นซึ่งสภาพแวดล้อมของการบริหาร การพัฒนาเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายนอกประเทศ อันได้แก่ ประชากร เทคโนโลยีและชีวภาพ สิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านสังคม และอุดมการณ์ เป็นต้น
2) สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาภายในประเทศ อันได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง การเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3) สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาภายในองค์การ ซึ่งรวมถึงปฏิกิริยาโต้ตอบหรือ ความขัดแย้งระหว่างองค์การและบุคคล ความขัดแย้งระหว่างความคาดหวังขององค์การและความต้องการของบุคคล ทั้งนี้รวมถึงสถานการณ์ต่างๆภายในองค์การด้วยและปฏิกิริยาโต้ตอบและความขัดแย้งดังกล่าวนี้นั่นเองที่เป็นบ่อเกิดของพฤติกรรม(ที่พัฒนาหรือไม่พัฒนา)ของบุคคล.
ดังนั้นอาจกล่าวสรุปได้ว่า การบริหารการพัฒนาประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จเพียงใดส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย อย่างไรก็ตามแนวความคิดของการบริหารการพัฒนานั้น การบริหารการพัฒนามิใช่เป็นฝ่ายถูกกระทำ คือยอมสยบอยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว ตรงข้ามการบริหารการพัฒนาที่ดีนั้นจำเป็นต้องเข้าไปควบคุมสภาพแวดล้อมให้เบี่ยงเบนไปในทิศทางที่เราต้องการด้วยหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ยิ่งเราสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้มากเพียงใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่ประสบความสำเร็จในการบริหารการพัฒนาขึ้นเพียงนั้น.

กิตติพศ พุ่มมูล รุ่น 44 รหัส 62423471062 said…
นายกิตติพศ พุ่มมูล รหัส62423471062 รุ่น 44
วันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค. 63 Final Examination
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ.การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
โดยแนวคิดของ แมคซ์ เวเบอร์ แนวคิดการบริหารนี้เรารับและนำใช้ในรับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา โดยแนวคิดของ แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) คือ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ
1. หลักลำดับขั้น(hierachy)
2. หลักความรับผิดชอบ (responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (differentation, specialization)
6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
7. ความเป็นวิชาชีพ (professionalization)
ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดีของระบบราชการ
1.วิธีการจัดรูปแบบองค์การที่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน สามารถป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ เพราะการทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ และมีหลักฐานเสมอ
2. การทำงานตามระบบราชการ เปรียบเสมือนการผลิตสิ่งของด้วยเครื่องจักร สามารถผลิตสิ่งของออกมาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3.การสั่งการตามสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ช่วยทำให้ระบบราชการสามารถทำงานขนาดใหญ่ ที่มีความสลับซับซ้อนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของระบบราชการ
1.การทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้คนต้องทำตามขั้นตอน กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างเคร่งครัด ทำให้การทำงานเต็มไปด้วยเอกสาร เกิดความล่าช้า เฉื่อยชา ซึ่งอาจนำมาซึ่งการขาดประสิทธิภาพ
2. การบริหารตามลำดับขั้น ทำให้เกิดการทำงาน แบบรวมศูนย์ รวมอำนาจไว้ที่ผู้บริหารระดับสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
3.ระบบราชการ มองคนเป็นแค่วัตถุ สิ่งของ คนที่ทำงานในองค์กร จึงไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ทำให้คนกลายเป็นหุ่นยนต์ (yes man or organization man) เพราะไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง

2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.การบริหารแบบบูรณาการคือ การบริหารราชการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีการบูรณาการยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ ทรัพยากรในองค์การ และมีการประสานงานร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคทุกส่วนในสังคม
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐ และสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพ และความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ ปัจจัยแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบาย สาธารณะ เป็นปัจจัยที่ช่วยวัดความสำเร็จของการบริหารงานสาธารณะเป็นทรัพยากรหรือ วัตถุดิบสำหรับป้อนให้กับระบบการบริหารเพื่อทำการแปรรูปให้เป็นสินค้าและบริการตามนโยบาย ของรัฐ ปัจจัยแวดล้อมบางประเภทมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ของสังคม ซึ่งปัจจัยประเภทนี้สามารถแทรกตัวอยู่ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์การ มีอิทธิพลต่อ ความรู้สึกนึกคิดของผู้บริหาร ตลอดจนถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การ อันเป็นผลทำให้เกิด ปัญหาในการนำเอากฎ ระเบียบ หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้
Unknown said…
Final Examination วันที่17 พ.ค. 2563
นายสุพิษ ดาบส รหัส 61423451024 รุ่น41
1.การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max weber
ตอบ ระบบราชการ (Bureaucracy) MaxWeber–เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบ ระบบราชการหรือ Bureaucracy ขึ้นมาข้อสมมติฐาน องค์การแบบระบบราชการเป็นองค์การที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ประหยดัที่สุดเหตุผล
1.ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผล และความถูกต้องตามกฎหมายในการปฏิบัติงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
3.อาศัยหลักความรู้ความสามารถ (ระบบคุณธรรม) เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
4. สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรืออปรากฎการณ์ได้
ระบบราชการ เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการในการจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐ และเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย
ระบบราชการ จึงเป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวน มาก มีภารกิจที่ต้องทำมาก กลไกการบริหาร เป็นกลไกการควบคุม และทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้นำ และกลุ่มชนที่ถูกปกครองกลไกการบริหารต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับรูปแบบแห่งอานาจที่ผู้นำในสังคมนั้น ใช้อยู่รูปแบบแห่งการใช้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชา ตามแนวคิดของ Max Weber แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ
-Charismatic Domination รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัวแบบอาศัยบารมี กลไกลการบริหารที่ใช้คือ Dictatorship, communal
-Traditional domination รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม
-Feudal / Patrimonial (ระบบศักดินา / เจ้าขุนมูลนาย) รูปแบบการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Legal Domination)
องค์การแบบระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1.หลักลำดับขั้น (Hierachy)
2.หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rationality)
4. การมุ่งสู่ผลสำเร็จ (Achievement Orientation)
5. หลักการทำห้เกิดความแตกต่างหรือความชำนาญเฉพาะด้าน (Differentation, Specialization) 6.หลักระเบียบวินัย (Discipline)
7.ความเป็นวชิาชีพ (Professionalization)
Unknown said…
Final Examination วันที่17 พ.ค. 2563
นายสุพิษ ดาบส รหัส 61423451024 รุ่น41
2.จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ.การบริหารแบบบูรณาการ ช่วยทำให้ระบบบริหารภาครัฐ โดยเฉพาะในระดับจังหวัดมีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สนับสนุนหรือส่งเสริมราชการบริหารส่วนภูมิภาค โดยให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางของการบริหาร จัดการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอ หรือผู้ว่าฯ ซีอีโอ เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร สูงสุดในระดับจังหวัด เพิ่มอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวคือ การบริหารงานของจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้บริหารสูงสุดที่ผ่านมาประสบกับความล้มเหลว ขาดประสิทธิภาพ ขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาทำให้ ไม่อาจแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการ ฉ้อราษฎร์บังหลวง ได้ ที่เป็นเช่นนี้มีสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ในระดับจังหวัดไม่มีอำนาจในการบริหารงาน คนและเงิน มากเท่าที่ควร จึงควรเพิ่มอำนาจให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สามารถประสานและกำกับดูแลการทำงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในด้านการบริหารงาน ทั่วไป (อำนาจวินิจฉัยสั่งการ อนุมัติ อนุญาต) การบริหารงานบุคคล และการบริหารงบประมาณ ได้ครอบคลุม ครบวงจรและทันต่อเหตุการณ์ บูรณาการนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะหรือสภาพแวดล้อมของการบริหาร หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรมทั้งภายนอก ภายใน และรอบ ๆ องค์การ และสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมดังกล่าวนี้มีอิทธิพลเหนือโครงสร้างกระบวนการและพฤติกรรมของการพัฒนาการบริหาร และการ บริหารเพื่อการพัฒนา(หรือการบริหารการพัฒนา)หรือในทางสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมอาจรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ประชากรเทคโนโลยีกายภาพและชีวภาพส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม อันรวมถึงสหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปวัตถุ เช่น ทรัพยากรการบริหารสินค้าทางองค์การ
สภาพแวดล้อมที่อยู่ในรูปนามธรรม เช่น คำนิยม ประเพณี ความรู้ความต้องการของสังคมการบริหารภาครัฐในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นองค์การขนาดใหญ่ ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรต่าง ๆ จากภายนอกเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการดำเนินการค่อนข้างมากและให้เห็นในรูปแบบปฏิบัติระบบราชการรวมทั้งนโยบายสาธารณะ
Final Examination วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2563
ชื่อนางสาวธิญาภรณ์ เคนคูน รหัสนักศึกษา 61423451006 รุ่นที่ 41

1. การบริหารภาครัฐในปัจจุบันมีลักษณะใดที่สอดคล้องกับแนวคิดระบบราชการของ Max Weber
ตอบ : แมคซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
คุณลักษณะในปัจจุบันของภาครัฐ ยกตัวอย่าง ระบบราชการของกองทัพบก
1. การควบคุมโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา กองทัพบกต้องแบ่งการบังคับบัญชาตามชั้นยศ โดยเริ่มจากชั้นยศที่ต่ำสุด ไปถึงชั้นยศที่สูงสุด โดยชั้นยศที่สูงกว่าก็ย่อมควบคุมชั้นยศที่น้อยให้ปฏิบัติตามคำสั่งของชั้นยศที่สูงกว่า
2. การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ระบบราชการของกองทัพบกต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางกองทัพบกเป็นคนกำหนดขึ้นมา อย่างเคร่งครัดถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็ต้องมีโทษตั้งแต่โทษเบาไปจนถึงโทษที่หนัก
3. การจัดคนที่มีความรู้ ความชำนาญเข้าด้วยกัน กองทัพบกเป็นคนจัดสรรผู้มีความรู้ ความสามารถในการเข้ารับการฝึก การศึกษายุทโธปกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งทางต้นสังกัดและแนวทางที่กองทัพบกกำหนดขึ้นมา
4. การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว ข้าราชการกองทัพบกต้องสละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการทำงานต้องทุ่มเท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5. แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์กร ข้าราชการกองทัพบกต้องไม่ยึดประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของส่วนตัว ซึ่งการกระทำแบบนี้ผิดทางวินัยของกองทัพบกอย่างเด็ดขาด

2. จงอธิบายถึงการบริหารแบบบูรณาการและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ตอบ : การบริหารแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่ทุกหน่วยงาน ต้องทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน
ตามยุทธศาสตร์ แผน และนโยบายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการทำงานหลายหน่วยงานโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ และความชำนาญของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันเฉพาะด้านทำงานภายใต้เป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ผลสำเร็จและเป้าหมายของงานร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความประหยัด เสริมสร้างประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาชน มาร่วมในการทำงานกับภาครัฐ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วน และได้รับประโยชน์สูงสุด

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการบริหารสาธารณะ คือ สภาพของปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การของรัฐ และสามารถส่งอิทธิพลมายังภายในของระบบการบริหารองค์การ อันมีผลต่อประสิทธิภาพ และความสำเร็จของการบริหารงานของรัฐ มี 10 ประการดังนี้
1. ปัจจัยทางวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นให้กับสังคม และเป็นการถ่ายทอดของสังคมสืบต่อกันมา หรือหมายถึง สิ่งที่ดีงามที่สังคมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
2. ระบบชนชั้นและสถาบันสังคม คือ การแบ่งชนชั้นทางสังคม เป็นความพยายามที่จะศึกษาถึงโครงสร้างของสถานภาพของบุคคลในสังคม
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์การต่างๆของรัฐ ทั้งโดยทางตรงทางอ้อม มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม
4. ปัจจัยทางประชากร คือ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีความระเอียดอ่อน และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงาน
5. ปัจจัยทางทรัพยากรธรรมชาติ คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วพื้นบนโลกที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น หิน แร่ ดิน ป่าไม้ พืชพรรณ สัตว์ป่า ภูมิประเทศต่างๆ ได้แก่ ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม และภูมิอากาศ ฯลฯ
6. การศึกษาของประชาชน คือ ระดับการศึกษาของประชาชนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับความเจริญของสังคม และมีอิทธิพลยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบของการบริหาร
7. ปัจจัยทางการเมือง คือ การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาอำนาจเพื่อปกครองประเทศ เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อระบบการบริหารและระบบสังคม
8. ปัจจัยทางด้านกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม ซึ่งกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี เป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการดาเนินชีวิตของประชาชน
9. เทคโนโลยี คือ เป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดาเนินชีวิต
10. ปัญหาและวิกฤตการณ์ของสังคม เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงานของรัฐ มีลักษณะเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่รัฐบาลจะต้องเผชิญและแก้ไข เช่น ปัญหาหารว่างงาน ปัญหาพลังงาน ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ฯลฯ

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565

นโยบายรัฐบาลไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร