จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 2 ภาคการศึกษาที่ 3/2563 (เสาร์ที่ 1- อาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม 2564) 44/01
จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง
Module 2
1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา
2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module นี้ ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า
Post a Comment คลิกที่นี่ จะปรากฏ blog สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบ
หมาย
3. นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชา จริยธรรมและธรรมาภิ
บาลทางการเมือง Email และ ทางไลน์
ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่
โปรไฟล์ ชื่อ รหัส นักศึกษา จะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้
4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ
4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา
4.2 เอกสารประกอบการศึกษา
1. หลักจริยธรรม
2. ปรัชญาตะวันออก
3. ปรัชญาตะวันตก
4. จริยธรรมทางการเมือง
โดยนักศึกษาศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่
จริยธรรมและธรรมาภิบาล 3/2563 Module 2
5. ศึกษาวิดีโอและเอกสารแล้ว ทำ Assignment ; คำถาม
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
*** ให้นักศึกษาเปลี่ยนช่องแสดงความเห็นที่นี่แทนช่องเก่าครับ
Comments
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรม หรือ ปรัชญาคุณธรรม(moral philosophy) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ "ประกอบด้วยการจัดระบบ, ปกป้อง และแนะนำแนวคิดของการกระทำที่ถูกหรือผิดในมุมมองของจริยศาสตร์ ควบคู่ไปกับสุนทรียศาสตร์ ศึกษาและอยู่กับประเด็นของคุณค่า (value) จึงรวมกันเกิดเป็นสาขาการศึกษาใหม่ที่เรียกว่า สมุฏฐานวิทยาทางปรัชญา
สามสาขาหลักที่ได้รับการยอมรับในจริยศาสตร์ในปัจจุบันได้แก่
1.อภิจริยศาสตร์ (Meta-ethics) ศึกษาเกี่ยวกับความหมายเชิงทฤษฎีและการอ้างถึงการวางตัวทางศีลธรรม และการนิยามคุณค่าของสัจจะนั้นจะทำได้อย่างไร
2.จริยศาสตร์นอร์มาทีฟ (Normative ethics) ศึกษาเกี่ยวกับมุมมองเชิงปฏิบัติของการประเมินการกระทำที่ทำไปเพื่อเป้าหมายทางจริยธรรม
3.จริยศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลหนึ่ง ๆ ทำด้วยเป็นภาระหน้าที่ (หรือได้รับอนุญาต) ทำในสถานการณ์เฉพาะหรือในชุดการกระทำเฉพาะหนึ่ง
คนดี: ศีลธรรมกับจริยธรรม
โคลเบิร์ก (Lawrence Kolberg) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) มีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ จึงเชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โครงสร้างทางปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ความหมายของความจริง ความดี ความงาม จึงขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ (พื้นฐานปรัชญาว่าด้วยความเป็นจริง (reality) คือ ความจริง ความดี ความงาม)
จอห์น ล็อก (Locke, J.) นักปราชญาชาวอังกฤษ ได้แสดงทรรศนะทางจริยธรรมไว้ว่า การกระทําท่ี ก่อให้เกิดความสุขแก่ตนเองเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่มีความจริงทางศีลธรรมท่ีมีมาแต่กําเนิด มนุษย์มีมาตรฐานในการ ตัดสินทางศีลธรรมอยู่ในหัวใจของมนุษย์เอง โดยการอิงอาศัยประสบการณ์ จอห์น ล็อก ได้แสดงแบบทาง ศีลธรรมไว้ว่า มนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับความถูกผิดทางศีลธรรมได้โดยประสบการณ์เท่าน้ัน และ พระเจ้าได้ใส่ ความปรารถนาดีไว้ในจิตของมนุษย์ เพ่ือให้มนุษย์มีเจตจํานงในทางศีลธรรม และเพ่ือบรรลุจุดมุ่งหมาย คือ ความสุข และเพราะเหตุที่พระเจ้าได้ใส่เหตุผลไว้ในจิตใจของมนุษย์นั่นเอง มนุษย์จึงสามารถเข้าถึงทางศีลธรรม ได้
คานต์ (Kant, I) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ได้แสดงทรรศนะไว้ว่า ความดีความชั่วความถูก ความผิด เป็นสิ่งที่มีความเป็นจริง แน่นอน และ ตายตัวของมันเอง ไม่ขึ้นอยู่กับส่ิงใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลกาลเวลาหรือ สถานที่ เป็นต้นคานต์ ได้อธิบายว่าเจตจํานง (Will) เป็นเครื่องตัดสิน ความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด ในขณะการกระทําของมนุษย์การกระทําท่ีดีได้แก่การกระทําท่ีมาจากเจตจํานงดี(Good Will) และในนัยตรงกันข้าม การกระทําท่ีชั่ว หรือการกระทําไม่ดี ได้แก่ การกระทําที่มาจากเจตจํานงเลว (Bad Will) ดังนั้น การ กระทําท่ีดี คือ การกระทําที่เกิดจากเจตจํานงดีหมายความว่าถ้าบุคคลกระทําการใด ๆ ด้วยเจตจํานงดีแล้วการ กระทํานั้นถือได้ว่าเป็นการกระทําที่ดี เป็นการกระทําที่ถูกต้อง โดยไม่คํานึงถึงผลที่จะเกิดติดตามมาจากการ กระทํานั้นเลยว่า ผลจะดีหรือจะช่ัว การอธิบาย เรื่องศีลธรรมไม่ควรเกี่ยวข้องกับอารมณ์ การกระทําท่ีเกิดจาก เจตจํานงดี หรือการกระทําด้วยเจตจํานงดีนี้
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ
ความหมายของจริยธรรม
คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม กับ ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม
ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ เห็นว่า จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
๑. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
๒. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
๓. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
๔. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
๕. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
๖. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
๗. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
๘. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
๙. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
๑๐. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๑๑. ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ คุณธรรมทางการเมือง"(POLITICAL VIRTUE) 5 ประการ
1.ปัญญา(WISDOM)ในที่นี้หมายถึง ปัญญาในการ"รู้ความดี"
รู้ความดี ก็คือ การมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง ทำเป็นนโยบายแผนงานโครงการ และการนำนโยบายไปปฏิบัติได้ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีต่อไป
2.ความกล้าหาญในที่นี้หมายถึง ความกล้าหาญในการทำความดี
3.การควบคุมตนเอง(TEMPERANCE)ในที่นี้หมายถึง การควบคุมตนเองให้เป็นคนดี
4.ความยุติธรรม(JUSTICE)ในที่นี้หมายถึง การมีความเที่ยงตรง
5.การกระทำความดี(PIETY)ในที่นี้หมายถึงการมีศีลธรรม การยกย่องคนดี
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ” ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่จริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ เช่น ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีจริยธรรมทางการเมืองไปในทางการเคารพสิทธิหน้าที่ของมนุษย์ การยอมรับนับถือเสียงส่วนมาก การยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นและการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการ จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นไปในทางยอมรับนับถือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ฉะนั้นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จึงคอยรับคำสั่งและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิ จารณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาแต่ประการใด
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ
จริยธรรมตามแนวคิดตะวันออกและตะวันตก
ส่วนทรรศนะทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน
คำว่า "จริยธรรม" เป็นศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถาน คำนี้ไม่มีรากศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งแตกต่างจากคำอื่น ๆ เช่น คำว่า"ศีลธรรม" หรือในภาษาอังกฤษว่า morality นั้นมาจากภาษาละติน หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงาม ส่วนคำว่า "จริยศาสตร์" (Ethics) นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Ethos ซึ่งปัจจุบันนี้ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้ว่าเป็นชื่อวิชาหนึ่งที่เป็น สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ส่วนคำว่า "มโนธรรม" นั้นมาจากภาษาละตินว่า "CUM+SCIR" หมายถึงความสำนึกสองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (Guilty and Shame) ซึ่งนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างเชื่อตรงกันว่ามีอยู่ในใจของมนุษย์ ดังนั้นคำว่า "จริยธรรม" เข้าใจว่านั้นเป็นการบัญญัติจากศัพท์ภาษาไทยแท้ ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นมาจากคำสองคำ คือ คำว่า "จริย" ซึ่งแปลว่า " ความประพฤติ" กับคำว่า "ธรรม" ซึ่งแปลว่า "หลักความจริง" เมื่อแปลออกมาแล้ว ราชบัณฑิตของไทยให้ความหมาย " หลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สูงสุดแห่งตนเองและสังคม " ซึ่งเป็นความหมายแรกของจริยธรรมที่สังคมไทยใช้
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ความหมายการเมืองการปกครอง
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
ในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ”
ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่จริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ เช่น ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีจริยธรรมทางการเมืองไปในทางการเคารพสิทธิหน้าที่ของมนุษย์ การยอมรับนับถือเสียงส่วนมาก การยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นและการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการ จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นไปในทางยอมรับนับถือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ฉะนั้นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จึงคอยรับคำสั่งและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิ จารณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาแต่ประการใด
การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมจะใช้เฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมจะบรรลุเป้าหมายได้ยาก เหมือนกับการใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปเพียงอย่างเดียวย่อมจะได้ผลไม่มากนัก ดังนั้นจะต้องใช้หลักศีลธรรม จริยธรรมทางศาสนาเข้าไปควบคุมด้วย จึงจะมีผลมากยิ่งขึ้น พฤติกรรมทางการเมืองแห่งสมาชิกในสังคมก็ต้องอาศัยจริยธรรมทางการเมืองเข้าช่วยเช่นกัน หรืออย่างแนวความคิดของบุคคลบางกลุ่มบางพวกเกี่ยวกับรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในทำนองไม่เชื่อในความสุจริต ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติมากนัก เพราะคิดว่า ผู้ที่เข้ามามีบทบาท มีอำนาจทางการเมืองหรือเป็นรัฐบาลในชุดนี้ได้มาด้วยการทุ่มเทเงินทองอย่างมหาศาล เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลเช่นนี้อาจจะมีโอกาสกอบโกยเอาผลประโยชน์ในทางที่ไม่สุจริต
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่ประชาชนพลเมืองนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จึงทำให้ผู้ปกครองและประชาชนของชาติได้นำเอาหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองประเทศและดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เช่น
1.หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเรียกว่า“ทศพิธราชธรรม” คือ
1.1 ทาน การให้ คือ การเสียสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือ ประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
1.2 ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวจกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิติคุณ ได้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์มิให้มีข้อที่ควรจะดูแคลน
1.3 บริจาค การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
1.4 อาชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มายา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน
1.5 มัทวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาบ กระด้าง ถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนิ่มนวลละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง
1.6 ตบะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครองงำ ย่ำยีจิตระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำจิตให้สมบูรณ์
1.7 อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและควรทำต่าง ๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความขุ่นเคือง
1.8 อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษี ขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา
1.9 ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย เหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อไม่ถ้อย
1.10 อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรมคงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหวเพราะถ้อยคำ
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลัก
ปรัชญามีอะไรบ้าง
-ความประพฤติ คุณค่าความประพฤติดี
กฎเกณฑ์ แห่งความประพฤติ หลักแห่งความดี
ความถูกต้อง ความยุติธรรม คุณค่าของจริยจริยธรรม และหลักในการ แสวงหาความดี
แนวทางอันพึงประพฤตินี้ แบ่งออกได้ เป็น3ประเภท คือ
-ความประพฤติ(Conduct) หมายถึง
พฤติกรรมที่มีมโนธรรมเข้าแทรก เมื่อมีโนธรรม
เกิดขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการตัดสินใจอย่างเสรี
(deliberation) ตามมา ถ้าตัดสินใจเลือกทำตามมโนธรรม ก็เรียกว่ามี ความประพฤติดี ถ้าตัดสินใจเลือกปฏิบัติอย่างฝืนมโนธรรมก็เรียกว่ามีความประพฤติเลว
-พฤติกรรม (Behaviour) หมายถึงการกระทำทุกอย่างของมนุษย์และสัตว์ ถ้ามีมโนธรรมเข้าแทรกแซง เรียกว่า ความประพฤติ ถ้าไม่มีมโนธรรมเข้าแทรกแซงเรียกว่า พฤติกรรมที่ไร้ศีลธรรม ปราศจากศีลธรรม (A moral behavior)
-มโนธรรม (Conscience) หมายถึง
ความสำนึกที่ทุกคนมีโดยธรรมชาติในฐานะเป็นมนุษย์ ความสำนึกอันนี้เป็นเสียงภายในจิตใจที่ทำให้มนุษย์ตัดสินอะไรไต้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิดอย่างไร เช่นความสำนึกในเรื่องความดี ความชั่วไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผล เรารู้ว่าสิ่งนั้นผิด เพราะมันผิดไม่ดีในตัว
ของมันเอง จึงไม่ควรทำ ดังนั้นมโนธรรมก็คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
-ปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของตะวันตกที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาตะวันตกทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมี
อะไรบ้าง
-จริยธรรมทางการเมือง” เรื่องชวนเชื่อของคนภาครัฐ
-วาทกรรมที่มุ่งจูงใจให้คล้อยตาม หรือวาทกรรมชวนเชื่อ (Persuasive Discourse)
หมายถึง วาทกรรมที่สร้างขึ ้น โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้รับสารคล้อยตาม โดยไม่สนใจ
ว่าวาทกรรมนั้นจะสมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งมักปรากฏอยู่ในถ้อยความหาเสียงของนักการเมือง เช่น ขอให้เลือกพรรคของเราเพราะเราจะทำลายยาเสพติดให้หมดไปจากประเทศ ซึ่งไม่เคยมีใครประเทศไหนที่มีการกำหนดสิ่งเสพติดนั้นผิดกฎหมายทำได้ นอกจากทำให้ถูกกฎหมาย
-จริยธรรมทางการเมือง” อาวุธในการต่อสู้ทางวาทกรรม
-วาทกรรมโต้แย้ง หรือถกเถียงอย่างมีเหตุมีผล (Argumentation Discourse) หมายถึงวาทกรรมที่มีเป้าหมายให้ผู้ฟัง ผู้อ่านเกิดความคล้อยตาม เช่นเดียวกับวาทกรรมชวนเชื่อ แต่ต่างกันตรงที่ “วาทกรรมโต้แย้ง” จะใช้เหตุผลในการถกเถียงที่น่าเชื่อถือ สมเหตุสมผล และอาจมีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนกว่า
-จะต้องไม่ใช้อำนาจทางการเมืองแสวงหา
ผลประโยชน์ให้ธุรกิจของตัวเอง
ครอบครัว และพวกพ้อง คอยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายแสวงหาอำนาจ และบิดเบือน
การใช้อำนาจนั้นเพื่อก่อผลประโยชน์ทับซ้อนของธุรกิจส่วนตัวกับผลประโยชน์ของรัฐ
-
วันเสาร์ที่1-วันอาทิตย์ที่2 เดือนพฤษภาคม 2564
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
1. ปรัชญา (Philosophy) ในโลกตะวันตกปรัชญามีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยปรากฏหลักฐานเมื่อราวสองพันกว่าปี ตั้งแต่ยุคปรัชญากรีกโบราณ (Ancient Greek Philosophy) ปรัชญาสมัยกลาง (Medieval Philosophy) ปรัชญาสมัยใหม่ (Modern Philosophy) และปรัชญาหลังสมัยใหม่ หรือ หลังนวยุค (Postmodern Philosophy) ปรัชญาจึงเป็นสิ่งที่มี บทบาทในการกําหนดความคิด วิถีชีวิต และจริยธรรมของชาวตะวันตกมาจนถึงปัจจุบันดังแนวคิดโดยสังเขปของปรัชญาดังต่อไปนี้ ปรัชญาเป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริงที่ประสบการณ์ของ มนุษยชาติได้สืบค้นและแสวงหาสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์จนกลายเป็นมรดกทางปัญญาของมนุษยชาติโดยทั่วไปมีการแบ่งแบบง่ายออกเป็น 4 สาขาหลัก ดังนี้ (กีรติ บุญเจือ, 2545)
1.1 อภิปรัชญา (Metaphysics) ศึกษาในเรื่องความจริงสูงสุด (Ultimate Reality) จักรวาลว่ามีลักษณะเป็นจิตหรือสสารโดยย่อแบ่งเป็น 2 กลุ่มแนวคิดคือ
1.1.1 สสารนิยม (Materialism) เชื่อว่า ความจริงแท้เป็นสสารหรือวัตถุ เท่านั้น
1.1.2 จิตนิยม (Idealism) เชื่อว่า ความจริงแท้เป็นจิต
1.2 ญาณวิทยา (Epistemology or Theory of Knowledge) ศึกษาในเรื่องมาตรการ ตัดสินความรู้โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวคิดย่อยคือ
1.2.1 ประสบการณ์นิยม (Empiricism) เชื่อว่า ความรู้ที่มาจากและคํ้าประกัน โดยประสบการณ์ (คือผ่านมาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์) เท่านั้นที่เป็นจริง
1.2.2 เหตุผลนิยม (Rationalism) เชื่อว่าความรู้ที่มาจากและคํ้าประกันโดยเหตุผล (การคิดใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยจิตของมนุษย์) เท่านั้นที่เป็นจริง
1.3 ตรรกวิทยา หรือ ตรรกศาสตร์ (Logic) ซึ่งเป็นศาสตร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์ การใช้เหตุผลของมนุษย์เอาไว้ด้วย ซึ่งประกอบด้วย
1.3.1 ตรรกวิทยาภาษาสามัญ
1.3.2 ตรรกวิทยาสัญลักษณ์
1.4 คุณวิทยา (Axiology) ศาสตร์ว่าด้วยคุณค่า แบ่งออกเป็น
1.4.1 สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ศาสตร์ว่าด้วยคุณค่าแห่งความงาม และเกณฑ์ตัดสินความงาม
1.4.2 จริยศาสตร์ (Ethics) ศาสตร์ว่าด้วยความดีและเกณฑ์ตัดสินความดีในที่นี้จะอธิบายเฉพาะจริยศาสตร์เท่านั้น จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยมาตรการตัดสินความประพฤติ ของมนุษย์ ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด ประกอบไปด้วย 2 ส่วน หลักคือ
1) อุดมคติของชีวิต (summum bonum) อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดใน ชีวิตที่มนุษย์ควรแสวงหา
2) เกณฑ์ตัดสินจริยธรรม ปรัชญาสาขาจริยศาสตร์นี่เองที่ทําหน้าที่ในการแสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความดีความชั่ว ความถูกความผิด ความควร ความไม่ควร ของความประพฤติของมนุษย์โดยมีนักปรัชญาหลายท่านที่ทําหน้าที่แสวงหาคําตอบดังกล่าว
วันเสาร์ที่1-วันอาทิตย์ที่2 เดือนพฤษภาคม 2564
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก
1. ปรัชญาตะวันตก หมายถึงความรู้เรื่องหลักคือหลักเกี่ยวกับโลกและชีวิต ส่วนปรัชญาตะวันออก หมายถึงความรู้อันประเสริฐคือความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากโลกียะ
2. ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามหาทางทำลายความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้หลังจากหมดความสงสัยแล้ว
3. ปรัชญาตะวันตก เป็นการประติดประต่อความคิดของหลาย ๆ คนเข้าด้วยกัน โดยที่แต่ละคนก็คิดกันคนละฐาน ส่วนปรัชญาตะวันออก อาศัยความตรัสรู้ของคนใดคนหนึ่งเป็นฐานแล้วขยายต่อออกไปตามเหตุผล หรือความสามารถทางสติปัญญาของนักคิดหรือผู้อธิบายแต่ละคน
4. ปรัชญาตะวันตกเริ่มจากความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เริ่มต้นจากความหมดสงสัยหรือความรู้แจ้ง
5. ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามแสวงหาคำตอบเพื่อแก้ความสงสัย ฐานของปรัชญาตะวันตกคือความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นการอธิบายหรือขยายความของความตรัสรู้ตามหลักเหตุผล ฐานของปรัชญาตะวันออก คือความตรัสรู้หรือความรู้อันสมบูรณ์แล้ว
6. ปรัชญาตะวันตก แสวงหาความรู้จากสิ่งภายนอกเพื่ออธิบายความจริงภายใน ส่วนปรัชญาตะวันออก แสวงหาความรู้จากสิ่งภายในเพื่ออธิบายความจริงภายนอก
7. ปรัชญาตะวันตก มุ่งศึกษาความจริงส่วนรวมเพื่อเอามาอธิบายความจริงส่วนย่อย ส่วนปรัชญาตะวันออก มุ่งแสวงหาความจริงส่วนย่อยเพื่ออธิบายความจริงส่วนรวม
8. ปรัชญาตะวันตก เริ่มต้นการศึกษาโดยอาศัยการสังเกตหรือประสบการณ์จากภายนอก แล้วจึงพยายามตีความตามหลักเหตุผล ส่วนปรัชญาตะวันออก เริ่มต้นการศึกษาด้วยการเพ่งพินิจภายในจนเห็นความจริง แล้วจึงอธิบายความจริงนั้นตามที่ตนเห็น
9. ปรัชญาตะวันตก แรงกระตุ้นที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการคิดค้นในทางปรัชญา คือความสงสัยใครจะรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือความเป็นไปขอธรรมชาติหรือสิ่งรอบ ๆ ตัวเอง ฉะนั้นปรัชญาตะวันตกจึงมีลักษณะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติเพื่อเข้าใจธรรมชาติ ส่วนปรัชญาตะวันออก แรงกระตุ้นสำคัญที่ก่อให้เกิดการคิดค้นทางปรัชญานั้นคือปัญหาของชีวิต หรือปัญหาของตัวเอง ฉะนั้นปรัชญาตะวันออกจึงมีลักษณะเป็นแนวทางแก้ปัญหาชีวิตหรือเป็นวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
10. ปรัชญาตะวันตก นักปรัชญาเป็นเพียงนักคิด ข้อสรุปของปรัชญาตะวันตกจึงเป็นผลของการคิด ส่วนปรัชญาตะวันออก นักปรัชญาเป็นนักปฏิบัติ ข้อสรุปของปรัชญาตะวันออกจึงเป็นผลของการปฏิบัติด้วยตนเอง
11. ปรัชญาตะวันตก จุดหมายปลายทางของนักปรัชญา คือความรู้หรือการรู้ความจริงเกี่ยวกับโลกหรือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาตะวันออก จุดหมายปลายทางของปรัชญาคือการเข้าถึงความจริงหรือหลุดพ้นจากสิ่งที่ไม่จริงคือโลก
12. คำนิยามของปรัชญาตะวันตกคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยใคร่จะรู้ คำนิยามของปรัชญาตะวันออกคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันมีความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน
วันเสาร์ที่1-วันอาทิตย์ที่2 เดือนพฤษภาคม 2564
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
คุณธรรม และจริยธรรม ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการจัดทําประมวลจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งมีการกําหนดการลงโทษตามความร้ายแรงของการกระทําเพื่อให้นักการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความประพฤติที่ดีมีสํานึกในหน้าที่สามารถประสานงานกับทุกฝ่ายตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมและให้คําแนะนําในการจัดทําประมวลจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กําหนดมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ ซึ่งทุกหน่วยงาน ของรัฐจะต้องกําหนดไว้ในประมวลจริยธรรมของแต่ละหน่วยงาน
1) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2) การมีจิตสํานึกที่ดีซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบ
3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4) การยืนหยัดทําในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
5) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร (เฉลิมศักดิ์จันทรทิม, ม.ป.ป., น. 8)
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
คำว่า จริยธรรม มาจากคำว่า 2 คำคือ จริย+ธรรม คำว่า จริย หมายถึงความประพฤติ หรือ กิริยา ที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายได้หลายอย่างเช่น คุณความดี หลักคำสอนของศาสนา หลัก ปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็นจริยธรรม จึง ได้ความหมายตัวอักษรว่าหลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางการของการประพฤติ
ความหมายของจริยธรรม ในทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ จากสำนักต่างๆ
-จริยธรรม หมายถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตน และเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
-จริยธรรม หมายถึง หลักคำสอนว่าด้วยตความประพฤติเป็นหลักสำหรับให้บุคคลยึดถือในการปฏิบัติตน
คำว่า จริยธรรม นี้ถ้านำเอาคำ ธรรม มาวางไว้ จริย ก็จะเป็นคำ ธรรมจริยหรือ ธรรมจริยา หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญเป็น อุดมมงคลแก่ชีวิต หรือมงคลสูงสุด3ประการ ได้แก่ ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต เลี้ยงดูมารดาบิดา มีความกตัญญูกตเวที รู้จักเคารพบุคคลที่มีคุณค่า มีความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน เหล่านี้เป็นต้น ล้วนเป็นจริยธรรม คือธรรมที่พึงประพฤติตนทั้งสิ้น
ดังนั้น จริยธรรม จึงหมายถึงหลักธรรม ที่ควรประพฤติ เป็นแนวทางของการ ประพฤติปฏิบัติ ตนเป็นคนดี ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อบัญญัติให้บุคคลประพฤติตนเช่นนี้ อันถือว่าเป็นการกระทำที่ดีและการดำเนินชีวิตตามหลักจริยธรรมเป็นสิ่งที่สังคม ต้องการ สังคมจึงจัดให้มีการสั่งสอนอบรมเรื่องจริยธรรม แก่สมาชิกของสังคม คาดหวังคือการที่สมาชิกน้อมนำเอาจริยธรรมไปประพฤติในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะ ควบคุมความประพฤติในชีวิตทางกายวาจาใจให้ตั้งอยู่ในความดีความงามและความถูกต้อง
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความ แตกต่างในแง่ใดบ้าง
ปรัชญาในความเห็นของตะวันตกนั้นเน้นไปที่ ความเห็นหรือทัศนะเกี่ยวกับชีวิตและสิ่งทั้งปวงที่มนุษย์รับรู้หรือสงสัยซึ่งเป็นความเห็นที่มีความเป็นระบบ ไม่มากก็น้อยโดยอาศัยการใช้เหตุผลคือการคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์เป็นเครื่องมือสาคัญในการได้มาซึ่ง ความเห็นนั้นๆ การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) การใช้เหตุผล (reasoning) และการวิเคราะห์ ทางตรรกะ (logical analysis) จึงเป็นเครื่องมือและเป็นเรื่องสาคัญที่ได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอเมื่อพูดถึง ปรัชญาโดยเฉพาะในบริบทของปรัชญาตะวันตกเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ทาให้นักปรัชญา “ทางปรัชญา” (doingphilosophy/philosophize)คือสร้างทัศนะหรือองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือหรือมีความ เป็นระบบคือมีความสอดรับกันระหว่างความเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกัน เรื่องเหล่านี้จะยิ่งเข้าใจชัดขึ้นเมื่อ อภิปรายถึงลักษณะของของปรัชญาในหัวข้อถัดไป
ปรัชญาที่เป็นผลผลิตของนักปราชญ์ตะวันออกนั้นมักมีการกล่าวถึงในประเด็น ที่ว่า “ปรัชญา” ซึ่งตรงกับคาว่า “ปัญญา” ในภาษาบาลี มีความหมายไม่ตรงกับความหมายของ philosophy ซึ่งประเด็นนี้เกี่ยวโยงกับลักษณะของปรัชญาตะวันออกโดยเฉพาะปรัชญาอินเดียที่จะนามา กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป เพราะตามทัศนะของนักปรัชญาตะวันออกโดยเฉพาะนักปรัชญาอินเดีย ปรัชญา หมายถึงความรู้แจ้งหรือเป็นความรู้ที่มาจากการเห็นแจ้งของศาสดาหรือเป็นความรู้ที่มาจากการเปิดเผยของพระเป็นเจ้าที่ภาษาทางศาสนาเรียกว่า “การวิวรณ์” (revelation) ซึ่งทาให้นักปรัชญาอินเดียเรียกความรู้ นี้ว่า “ทัศนะ” หรือ “ทรรศนะ” ที่หมายถึง “การเห็น” (vision) หรือ “สิ่งที่ได้เห็นมา” เช่น พุทธปรัชญาก็
คือความรู้ที่ได้มาจากการเห็นแจ้งหรือ “ตรัสรู้” ของพระพุทธเจ้า ดังนั้น ตามความเชื่อนี้ “ปรัชญา” ใน ความหมายของปรัชญาตะวันออกจึงเป็นความรู้ขั้นสุดท้ายที่ไม่มีทางผิดพลาดหรือไม่มีวันเป็นเท็จได้ “ปรัชญา” ไม่ใช่ความรู้ที่มาจากการคิดเชิงวิพากษ์อย่างปรัชญาตะวันตกซึ่งเป็นความรู้ที่ยังสงสัยได้หรืออาจ ผิดพลาดได้
อย่างไรก็ตามหากเรามองข้ามประเด็นความเชื่อเรื่องการเห็นแจ้งหรือการวิวรณ์ที่เป็น เรื่องพิสูจน์ ให้ประจักษ์โดยทั่วไปไม่ได้ และพิจารณาเฉพาะเนื้อหาของความเห็นหรือคำสอนในปรัชญาตะวันออก เราก็ พอจะบอกได้ว่า “ปรัชญา” ในความหมายของปรัชญาตะวันออกมีความคล้ายคลึงกับปรัชญาตะวันตก เพราะสามารถถือได้ว่า ปรัชญาตะวันออกก็คือโลกทัศน์ของคนตะวันออกเหมือนอย่างที่ปรัชญาตะวันตก เป็นโลกทัศน์ของคนตะวันตก และปรัชญาตะวันออกก็มีความเป็นระบบในระดับหนึ่ง เพราะคาสอนหรือ ทัศนะต่างๆ ในปรัชญาตะวันออกก็มีความสอดรับกันแทบจะไม่ต่างจากปรัชญาตะวันตกเลย เพียงแต่การใช้ เหตุผลรองรับทัศนะต่างๆ อาจไม่มากและโดดเด่นเท่ากับปรัชญาตะวันตกเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่า ปรัชญาตะวันออกไม่ได้ใช้เหตุผลเลยอีกทั้งการใช้เหตุผลของปรัชญาตะวันออกก็มีส่วนท่ีต่างกับการใช้ เหตุผลของตะวันตกด้วย เราจะเข้าใจความเหมือนและความต่างระหว่างปรัชญาของตะวันตกกับตะวันออก มากขึ้นในหัวข้อเรื่องลักษณะของปรัชญาที่จะกล่าวต่อไป
โดยสรุป ความหมายของปรัชญาเมื่อมองอย่างกว้างๆจึงอาจกล่าวได้ว่ามีความคล้ายคลึงกัน สำหรับ “ปรัชญา” ในความหมายของปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
1. จริยธรรมทางการเมือง กับบริบทที่ปราศจากและแสวงหา
บริบทของการปราศจาก คือ การใช้คำว่า จริยธรรมทางการเมือง ในความหมายที่แสดงให้เห็นว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ปราศจาก)ไม่มีคุณสมบัติที่ว่าด้วยจริยธรรมการเมืองนี้อยู่เลยซึ่งคำที่แรากฎแนบอยู่ด้วยกันเสมอ คือคำว่า “ไร้” และ “ขาด” โดยฝ่ายที่ถูกพูดถึงตลอดมาตลอดก็คือฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ล้วนเป็นยุคที่นัการเมืองตกเป็นผู็ต้องสงสัยในข้อหาปราศจากจริยธรรมกันบ่อยครั้ง
อีกบริบทหนึ่ง ที่มักจะปรากฎคำว่า “จริยธรรมทางการเมือง” ให้เห็นบ่อยอยู่เสมอ คือบริบทของ การแสวงหา หมายถึง บริบทที่เรียกร้อง ต้องการให้เกิดจริยธรรมทางการเมืองขึ้น ในสังคม ซึ่งคำที่ปรากฎอยู่ ปรากฏ อยู่ในบริเวณ บริบทร่วมกันก็คือ ควรคิดถึงจริยธรรมทางการเมืองบ้างควรมีจริยธรรมทางการเมือง ผู้ใฝ่หาจริยธรรมทางการเมือง การแสดงออกซึ่งจริยธรรมทางการเมือง ต้องมีจริยธรรมทาง การเมือง และ ควรสร้างจริยธรรมทางการเมือง เป็นต้น โดยผู้ที่ออกมาเรียกร้อง แสดงความ ปรารถนาดงักล่าวมีหลายฝ่ายได้แก่นกัวิชาการสื่อมวลชนและภาคประชาชนในรูปแบบของ ประชาคมต่าง ๆ
2.จริยธรรมทางการเมือง เรื่องชวนเชื่อของคนภาครัฐ
วาทกรรมที่มุ่งจูงใจให้คล้อยตาม หรือวาทกรรมชวนเชื่อ (Persuasive Discourse) หมายถึงวาทกรรมที่สร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายจงูใจให้ผ้อู่านผ้ฟูังผ้รูับสารคล้อยตามโดย ไม่สนใจว่าวาทกรรมนั้นจะสมเหตสุมผลหรือไม่ซึ่งกับปรากฏอยู่ในถ้อยความหาเสียงของนักการเมืองเช่น ขอให้เลือกพรรคของเราเพราะเราจะทำลายยาเสพติดให้หมดไปจากประเทศไม่มีการอธิบายว่า ขจัดยาเสพตดิดเพราะอะไรอย่างไรจึงดูเป็นการจงูใจที่ไร้เหตผุล เป็นต้น
โดยสรุปแล้วการใช้คำว่า จริยธรรมทางการเมือง ของรัฐบาลยังจัดอยู่ใน วาทกรรม ของการเบี่ยงประเด็นและสร้างภาพลักษณ์ ซึ่งในแนวคดิเรื่อง ปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practice) เรียกว่า เป็นการสร้างวาทกรรมเพื่อควบคุมวาทกรรมอื่น (The Limit and Control of Discourse) หมายถึงการสร้างวาทกรรมหนงึ่ขนึ้มาเพื่อจะควบคมุและจากดั วาทกรรมอื่นโดยเห็นได้ชดัว่าฝ่ายรัฐบาลพยายามควบคมุกระแสข่าวอันเป็นวาทกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำที่ไม่ถูกต้องของตน ด้วยการเบี่ยงประเด็นให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นการถูกใส่ร้าย ป้ายสีแถมยังออกมาสร้างวาทกรรมสร้างภาพลกัษณ์ให้พรรคตามมาอีกเพื่อตอกซ้ำ ย้ำให้เห็นว่า รัฐบาลได้ยึดแนวทางการทำงานที่ถูกต้องฝ่ายอื่นต่างหาก ที่ขาดจริยธรรมทางการเมืองแทนที่จะ ออกมาอธิบายรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
3.จริยธรรมทางการเมือง อาวุธในการต่อสู้ทางวาทกรรม
วาทกรรมโต้แย้งหรือถกเถียงอย่างมีเหตมุีผล (Argumentation Discourse) หมายถึงวาท กรรมที่มีเป้าหมายให้ผ้ฟูังผู้อื่นเกิดความคล้อยตามเชน่เดียวกบัวาทกรรมชวนเชื่อแตก
ต่างกันตรงที่“วาทกรรมโต้แย้ง”จะใช้เหตผุลในการถกเถียงที่น่าเชื่อถือสมเหตสุมผลและอาจมีหลักฐาน ยืนยันอย่างชัดเจนกว่าคำว่า “จริยธรรมทางการเมือง”ที่ถูกใช้โดยภาครัฐบาลถูกนำไปวางในบริบทของการเบี่ยง ประเด็นและสร้างภาพลกัษณ์ให้นายกฯและพรรคการเมืองดงัที่ได้กล่าวไปแต่เมื่อบุคคลฝ่ายอื่นนาคานีม้าใช้คาว่า“จริยธรรมทางการเมือง”นี้ได้ถกูวางในบริบทที่อธิบายความหมายทาง พฤติกรรมของคำนี้ได้อย่างละเอียด ก่อให้ผู้อ่านเกิดความคล้อยตามได้โดยง่าย ด้วยข้อมูลที่สมเหตุสมผล คำนี้จึง กลายเป็นวาทกรรมโต้แย้งที่ดูทรงพลังกว่าวาทกรรมชวนเชื่อจากคนภาครัฐ
4. “จริยธรรมทางการเมือง” วาทกรรมสร้างความชัดเจนวาทกรรมการอธิบาย (Descriptive Discourse) หมายถึงวาทกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญ คืออธิบายรายละเอียดของสิ่งที่พดูถึงให้ละเอียดโดยกระจ่างและเป็นวาทกรรมที่ไม่อ้างอิงถึงผ้อูื่น ไม่โต้แย้งหรือชวนเชื่อให้เกิดการโอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนงึ่แบบวาทกรรมชวนเชื่อ หรือวาทกรรมโต้แย้งที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะมีพระสงฆ์ และนักวิชาการที่ใช้คำว่า “จริยธรรมทางการเมือง” ในบริบทของการอธิบาย ขยายความเพื่อให้เกิดความเข้าใจในความหมายของคำคำนี้มากยิ่งขึ้น
5. “จริยธรรมทางการเมือง” ความฝันของประชาชนข้อต้องห้ามของนักการเมือง ในยคุของรัฐบาลไทยรักไทยที่ผ่านมาคำว่า “จริยธรรมทางการเมือง” ได้ปรากฏให้เห็นบนหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้งและถี่ขึ้นมากในปี2549 คนทุกฝ่ายทกุส่วนของประเทศได้พูดคำคำนี้ในบริบทที่ทาให้เกิดวาทกรรมที่แตกต่างกัน ดังที่ได้วิเคราะห์ไปข้างต้นท้ายสุดนี้คงพอจะสรุป ได้ว่า ประชาชนแต่ละฝ่าย ล้วนปรารถนาที่จะมีผู้บริหารประเทศที่เปี่ยมไปด้วยจริยธรรมทาง การเมือง แต่หากจะหานิยามคำว่า “จริยธรรมทางการเมือง” อย่างเป็นรูปธรรมเชิงพฤติกรรม เรา คงไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากเนื้อข่าวหนังสือพิมพ์โดยทันที เพราะส่วนมากมักจะจำกัดคำว่า “ไม่มีจริยธรรมทางการเมือง” กันเสียมากกว่า ดังนั้น ต้องวิเคราะห์ต่อเนื่องหาความหมายขั้วตรงข้ามเพื่อจะได้ทราบถึงลกัษณะของนกัการเมืองผู้มีจริยธรรมในความต้องการประชาชน “จริยธรรมทางการเมือง” กลายเป็นข้อต้องห้าม ในการกระทำการรต่า ง ๆ ของนักการเมืองเลยก็ว่าได้
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรม (Ethics)หรือ ปรัชญาคุณธรรม(moral philosophy) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ "ประกอบด้วยการจัดระบบปกป้อง และแนะนำแนวคิดของการกระทำที่ถูกหรือผิด"ในมุมมองของจริยศาสตร์ ควบคู่ไปกับสุนทรียศาสตร์ ศึกษาและอยู่กับประเด็นของคุณค่า (value) จึงรวมกันเกิดเป็นสาขาการศึกษาใหม่ที่เรียกว่า สมุฏฐานวิทยาทางปรัชญา
สามสาขาหลักที่ได้รับการยอมรับในจริยศาสตร์ในปัจจุบันได้แก่
-อภิจริยศาสตร์ (Meta-ethics) ศึกษาเกี่ยวกับความหมายเชิงทฤษฎีและการอ้างถึงการวางตัวทางศีลธรรม และการนิยามคุณค่าของสัจจะนั้นจะทำได้อย่างไร
-จริยศาสตร์นอร์มาทีฟ (Normative ethics) ศึกษาเกี่ยวกับมุมมองเชิงปฏิบัติของการประเมินการกระทำที่ทำไปเพื่อเป้าหมายทางจริยธรรม
-จริยศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลหนึ่ง ๆ ทำด้วยเป็นภาระหน้าที่ (หรือได้รับอนุญาต) ทำในสถานการณ์เฉพาะหรือในชุดการกระทำเฉพาะหนึ่ง
นางสาวอุมาพร สุรวิทย์ รหัส62423471001 รุ่น44
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตก แตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ จริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่
-โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด
-เพลโต มีแนวความคิดหลักด้านจริธรรมว่า ผู้ปกครองหมายถึงนักปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ทรงคุณธรรมควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้
-อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลมุ่งที่จริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา อันหมายถึง กฎหมาย ซึ่งแจกแจงออกเป็นแบบแผนทางสังคม และระบอบการปกครอง รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ราษฎรจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ”ในส่วนของจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันนออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่
-ปรัชญาเต๋า ถือเป็นกระบวนความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุด
-ปรัชญาโม่จื้อ ถือว่าคุณธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอำนาจรัฐเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักความรักสากล
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง ควรยึดหลักตามนี้
1.หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน
2.ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
5.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
6.ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย (equality before the law) ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียง (one man one vote) การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลอันใดก็ตามจึงถือว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
7. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย (the democratic ethos) ซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาที่เสมอภาค ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตย
8. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนโดยส่วนรวม การกระทำอันใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การนั้นย่อมไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นการประกอบภารกิจอันศักสิทธิ์ หรือหน้าที่อันสูงส่งเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติ เป็นต้น
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
1.ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
5.ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
6.ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
7.การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
8. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
9. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10.ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
11.ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียงพระราชวรมุนี ได้กล่าวถึงจริยธรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ การคลองชีวิตการใช้ชีวิตการเคลื่อนไหวของชีวิตทุกด้านทุกระดับ ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ การปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิ บำเพ็ญสมถะ เจริญวิปัสสน
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ จริยธรรมตามแนวคิดตะวันออก
ในการศึกษาปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันนออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื้อ ปรัชญาโม่จื้อ แนวคิดของเม้งจื๊อ แนวคิดของซุนจื๊อ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ปรัชญาเต๋า ถือเป็นกระบวนความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ๒ แนวทาง คือ ลัทธิธรรมของขงจื้อ และปรัชญาเต๋าของเหลาจื๊อ ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญที่หล่อหลอมอารายธรรมจีนให้มีลักษณะเด่นชัดและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
เหลาจื๊อเห็นว่า กฎธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล คือ เต๋า ซึ่งแปลว่า ทางหรือสัจธรรม และสำหรับสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่น ๆ จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัว เรียกว่า “เต๋อ” ซึ่งแปลว่าพลังอำนาจ (Power);หรือคุณธรรม (Virtue) หลักจริยธรรมของเหลาจื๊อ จำแนกได้ ๔ ประการ คือ การรู้จักตนเอง การชนะตนเอง ความสันโดษ และอุดมคติแห่งเต๋า
ขณะที่ขงจื๊อเห็นว่า ปรัชญาการเมืองมีรากฐานมาจากคุณธรรม ความกตัญญู ความเมตตา คุณงามความดี ความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา การสนับสนุนและความไว้วางใจจากประชาชน โดยสั่งสอนให้คนปลูกฝังตนเองก่อน ดูแลจัดการเรื่องในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงจะปกครองประเทศให้มีสันติสุขได้ ดังนั้น คำสอนของขงจื๊อจึงถือว่าคุณธรรมกับการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน
ปรัชญาโม่จื้อ ถือว่าคุณธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอำนาจรัฐเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนปฏิบัติตามหลัก ความรักสากล (Universal love) ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองของรัฐ คือ การดูแลความประพฤติของประชาชน คอยให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติตามหลัก “ความรักสากล” และคอยลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม
แนวคิดของเม่งจื๊อ แนวคิดทางด้านจริยธรรมทางการเมืองของเม่งจื๊อ ได้แก่
๑) การเริ่มต้นจากการมองว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ดีมาแต่กำเนิด มีความรู้สึกที่ดี ๔ ประการ คือ ความเห็นอกเห็นใจ ความละอายในสิ่งที่ผิดและความภาคภูมิใจในสิ่งที่ถูก ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษยธรรม ความรู้สึกละอายในสิ่งที่ผิดและภาคภูมิใจในสิ่งที่ถูกเป็นจุดเริ่มต้นของความชอบธรรม ความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นจุดเริ่มต้นของความประพฤติอันเหมาะสม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นจุดเริ่มต้นของสติปัญญา
๒) มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง และมนุษย์จะสามารถพัฒนาตัวเองได้เต็มที่ เมื่ออาศัยอยู่หรือดำรงอยู่ในรัฐหรือในสังคมเท่านั้น ขณะที่รัฐเป็นสถาบันทางศีลธรรม และผู้ปกครองของรัฐเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรม
๓) สิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล คือ ความถูกต้องชอบธรรมและศีลธรรมอันยิ่งใหญ่
แนวคิดของซุนจื๊อ ถือว่า ธรรมชาติของมนุษย์เลวมาแต่กำเนิด ความดีเกิดจากการฝึกฝนอบรม ความดีหรือคุณธรรมมีมาจากการที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม โดยร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อที่จะเอาชนะสัตว์อื่น การที่มนุษย์สามารถแยกความสัมพันธ์ในสังคม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก สามีกับภรรยา พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง และสามารถปฏิบัติต่อกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคม ความดีจึงเกิดขึ้น ในขณะที่สัตว์ไม่สามารถแยกแยะเรื่องเหล่านี้ได้
ต่อจากข้อ2
จริยธรรมตามแนวคิดตะวันตก
วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด คือ ความยุติธรรม ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมือง คือ คุณธรรม และรัฐที่ดีที่สุด คือ รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือรัฐผสม (Mixed Regime) โสเกรตีส เชื่อว่า เมื่อราชากลายเป็นปรัชญาเมธี หรือเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นราชาเท่านั้น รัฐที่ดีที่สุดจึงจะเกิดขึ้นได้
เพลโต มีแนวความคิดหลักด้านจริธรรมว่า ผู้ปกครองหมายถึงนักปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ทรงคุณธรรมควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้ คือคุณธรรม จึงจำเป็นต้องแสวงหาและฝึกฝนอบรมคนที่รู้ได้ดีที่สุด เพื่อเสริมสร้างผู้ปกครองที่เป็นธรรม เพลโตแบ่งประเภทของคุณธรรมออกเป็น ๔ ประเภท คือ ปรีชาญาณ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลมุ่งที่จริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา อันหมายถึง กฎหมาย ซึ่งแจกแจงออกเป็นแบบแผนทางสังคม และระบอบการปกครอง รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ราษฎรจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” คุณธรรมหลักตามแนวคิดของอริสโตเติล มี ๔ ประการ คือ ความรอบคอบ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
จากแนวคิดปรัชญาตะวันตกที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญอันนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดจริยธรรมตะวันตกในช่วงต่อมาอย่างมาก โดยสามารถจำแนกวิวัฒนาการของแนวคิดทางปรัชญาทางด้านจริยธรรมตะวันตกได้เป็น ๔ ยุค คือ
1. Ancient Greek Philosophy : ปรัชญากรีกโบราณ
2. Medieval Philosophy : ปรัชญาสมัยกลาง หรือยุคบุพกาล (๑-๑๕ A.D. / ระหว่างคริสตศตวรรษที่ ๑-๑๕)
3. Modern Philosophy: ปรัชญาสมัยใหม่ (ศตวรรษที่ ๑๖-๑๘)
4. Contemporary Philosophy: ปรัชญาร่วมสมัย หรือปรัชญาสมัยปัจจุบัน (ศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ คุณธรรมทางการเมืองมี5ประการคือ
1. ปัญหา (Wisdom) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกบั ความดี เช่น คนเราเกิดมาต้องรู้ว่าพ่อแม่ที่ดีเป็นอย่างไร,การเป็นลูกที่ดีเป็นอย่างไร,การเป็นครูและนักเรียนที่ดีเป็นอย่างไรและการเป็นนักปกครองที่ดีหากคนเรารู้เกี่ยวกับความดีและกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความดีเขาเชื่อว่าสังคมจะสันติสุข
2. ความกล้าหาญ(Courage) เป็นความกล้าหาญในการรักษาความถูกตอ้ งและความดีงามของสังคมผู้ปกครองต้องกล้ายืนหยัดในความถูกต้องไม่ใช่เข้าข้างยอมจำนนต่อคนชั่วดังนั้นในการรักษาความถูกต้อง ต่อสุ้กับความชั่ว บางครั้งต้องเสี่ยงถึงชีวิต แต่โสเครติสบอกว่าถึงเสี่ยงก็จำ เป็นต้องสู้ ต้องยืนหยัด เพื่อให้คนทุก คนในสังคมพร้อมที่จะต่อสู้ด้วยกันมิฉะนั้น คนชั่วจะครองเมือง
การเผยแพร่คุณธรรมในลักษณะนี้ซึ่งเป็นการตอบโต้คนชั่วจนถูกสมาชิกสภานครรัฐเอเธนส์บางส่วนกล่าวหาว่าโสเครติสพยายามเผยแพร่คำสอนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าแล้วนำเข้า ไปไต่สวนและถูกตัดสินให้กินยาพิษตายหลายคนบอกให้หนีแต่เขาก็ไม่หนีเพราะต้องการแสดงให้เห็นถึงความกล้าหายมิใช่เป็นคนขี้ขลาด เสียชื่อต่อวงศ์ตระกูล แต่ในสังคมไทยมีการปลูกฝังให้ คนเรารู้จักเอาตัวรอดดังคำสุภาษิตไทย เช่น รู้รักษัวรอดเป็นยอดดี, อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน, ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด คนไทยขาดยืนหยัดในการต่อสู้ต่อสิ่งชั่วสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะเกรงกลัวต่อสิ่งเหลั้นว่าจะส่งผลไม่ดีมาถึงตนเอง
3.การควบคุมคนเอง (Temperance) คือการควบคุมตนเองไม่ให้ตกเป็นทาสของความโกรธ ความโลภ ความหลง นักปราชญ์เชื่อว่าทุกคนเกิดมาจะมีสิ่งเหล่านี้ติดตัวมาแต่ทุกคนมึความแตกต่างกันในเรื่องของการควบคุมตนเองและการยับยั้งชั่งใจ หากยับยั้งชั่งใจได้มากก็แสดงว่ามีคุณธรรมสูง
4.ความยตุิธรรม(Justice)คือธรรมที่ยงิ่ใหญ่ในการปกครองหากผู้นำมีความยตุิธรรมก็จะมีแต่คนดีอยู่ใกล้ๆผุ้นำก็จะไม่เดือดร้อยมีคนคอยเกื้อหนุนช่วยเหลือ
5.การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา(Piety)คือการกระทำความดีและการยกย่องคนดีดังนั้นผู้นำก็ควรทำดีเพื่อเป็นแบบอย่างให้ประชาชนเอาอย่าง และต้องรู้จักยกย่องความดีด้วยเพื่อให้คนที่ทำดีมีกำลังใจในการกระทำความดีต่อไปเพื่อสังคม
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ”
ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่จริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ เช่น ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีจริยธรรมทางการเมืองไปในทางการเคารพสิทธิหน้าที่ของมนุษย์ การยอมรับนับถือเสียงส่วนมาก การยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นและการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการ จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นไปในทางยอมรับนับถือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ฉะนั้นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จึงคอยรับคำสั่งและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิ จารณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาแต่ประการใด
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ ความหมายของจริยธรรม คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่างๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2535 ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม กับ ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ เห็นว่า จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
1. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
5. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
6. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
7. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
8. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
9. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
11. ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ คำว่า "จริยธรรม" เป็นศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถาน คำนี้ไม่มีรากศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งแตกต่างจากคำอื่น ๆ เช่น คำว่า"ศีลธรรม" หรือในภาษาอังกฤษว่า morality นั้นมาจากภาษาละติน หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงาม ส่วนคำว่า "จริยศาสตร์" (Ethics) นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Ethos ซึ่งปัจจุบันนี้ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้ว่าเป็นชื่อวิชาหนึ่งที่เป็น สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ส่วนคำว่า "มโนธรรม" นั้นมาจากภาษาละตินว่า "CUM+SCIR" หมายถึงความสำนึกสองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (Guilty and Shame) ซึ่งนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างเชื่อตรงกันว่ามีอยู่ในใจของมนุษย์ ดังนั้นคำว่า "จริยธรรม" เข้าใจว่านั้นเป็นการบัญญัติจากศัพท์ภาษาไทยแท้ ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นมาจากคำสองคำ คือ คำว่า "จริย" ซึ่งแปลว่า " ความประพฤติ" กับคำว่า "ธรรม" ซึ่งแปลว่า "หลักความจริง" เมื่อแปลออกมาแล้ว ราชบัณฑิตของไทยให้ความหมาย " หลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สูงสุดแห่งตนเองและสังคม " ซึ่งเป็นความหมายแรกของจริยธรรมที่สังคมไทยใช้
ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ขอบเขตของคำว่าจริยธรรมนี้กว้างมาก ถ้าเราพูดถึงจริยธรรมในความหมายของศาสนา แน่นอนที่สุดว่าจริยธรรมในความหมายนี้จะต้องมาจากหลักศีลธรรมในแต่ละศาสนา เช่น พระพุทธศาสนามีศีล ๕ เป็นหลักจริยธรรมสำหรับชาวบ้าน เพราะฉะนั้นจริยธรรมในความหมายของเช่น พระพุทธศาสนาก็คือพึงมีเมตตาพึงซื่อสัตย์ พึงสำรวมความประพฤติ เป็นต้น ถ้าเป็นจริยธรรมที่มาจากกฎหมายก็จะมีมาตรากฎหมายเป็นฐานว่าเวลาที่เราพูดถึง จริยธรรมในแง่กฎหมาย ก็จะระบุว่าพึงเคารพกฎหมาย พึงใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น ถ้าเป็นจริยธรรมในความหมายของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หรือค่านิยมจะมาจากวัฒนธรรมไทย เช่น พึงเคารพผู้อาวุโส พึงกตัญญู พึงสุภาพอ่อนโยน ถ่อมตน เหล่านี้เป็นจริยธรรมในความหมายที่มาจากขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ถ้าเป็นจริยธรรมที่มาจากปรัชญาวิชาชีพ ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า จรรยาบรรณ ภาษาอังกฤษ คือ "Code of Ethics" เมื่อเราพูดถึงจริยธรรมในวิชาชีพ ในสงไทยเราใช้คำว่า " จรรยาบรรณ" ทันที เพราะว่าอะไร ? เพราะขึ้นอยู่กับปรัชญาของแต่ละวิชาชีพ เช่นการแพทย์บอกว่าปรัชญาของวิชาชีพที่สำคัญที่สุดก็คือ การป้องกันส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ ดังนั้นจริยธรรมข้อหนึ่งซึ่งเป็นสากล (Universal) สำหรับผู้ที่เป็นแพทย์ เป็นพยาบาล ก็คือพึงให้บริการโดยเคารพศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของมนุษย์ (Human Dignity) นี้เป็นความหมายของจริยธรรมซึ่งมาจากศัพท์บัญญัติ
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความหมายของจริยธรรมที่เป็นศัพท์บัญญัติ ยังมีจริยธรรมอีกความหมายหนึ่งซึ่งเรากำลังพูดกันมากอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วก็โยงเข้ากับหัวข้อการสัมมนานี้ คือ คำว่า "จริยธรรม" หมายถึง หลักความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติ (Ethical Rule) จะมีคำที่สำคัญอยู่ 2 คำ คือคำว่า "มนุษย์" กับคำว่า "ควร" เพราะว่าคำทั้งสองนี้บอกถึงความสำคัญของคำว่าจริยธรรมในความหมายนี้ว่า ลักษณะพิเศษประการหนึ่งของมนุษย์คือความเป็นผู้มีสำนึกทางจริยธรรม ซึ่งประเด็นนี้ตรงกันทั้งทางตะวันออกและตะวันตกว่า ถ้าคนเราเป็นมนุษย์ เวลาเราพูดถึงเรื่องทำแท้ง ในที่สุดก็จะถามว่า เรายังตระหนักถึงความเป็นสัตว์ประเสริฐหรือผู้มีสำนึกทางมโนธรรมอยู่หรือไม่
ส่วนคำว่า "ควร" นี้หมายถึงการที่คนเรารู้จักไตร่ตรอง เราพินิจพิจารณา ศีลธรรมบอกว่า จงอย่าพูดปด แต่จริยธรรม หมายถึงว่า ในสถานการณ์หนึ่ง เราจะพูดจริงหรือเราจะพูดเท็จหรือพูดเลี่ยง นี้คือจริยธรรมในความหมายนี้ เพราะฉะนั้นจริยธรรมในความหมายนี้จะแยกจากศีลธรรม ศีลธรรมนั้นเป็นหลักความประพฤติที่มาจากศาสนา เช่น ในศาสนาพุทธ ห้ามพูดปด ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพราะฉะนั้นจริยธรรมในความหมายนี้ไม่ตัดสินความเป็นคนดีหรือคนไม่ดี แต่จะตัดสินว่าเหตุการณ์หนึ่งเป็นเรื่องควรทำหรือไม่ควรทำ เพราะอะไร เช่นในด้านการแพทย์ การทดลองในเด็ก การที่ไปขอบริจาคอวัยวะ เป็นสิ่งควรทำหรือไม่ควรทำ เพราะอะไร การบอกว่าควรทำก็ไม่ได้หมายความว่า การกระทำนี้ถูกศีลธรรมในศาสนา หรือมิควรทำก็ไม่ได้หมายความว่า คนนี้ผิดศีลธรรม ความหมายนี้สำคัญมากสำหรับการที่เราจะพูดกันในสาขาของแพทย์ รวมทั้งในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันด้วย
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ ความหมายการเมืองการปกครองจริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics) การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมจะใช้เฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมจะบรรลุเป้าหมายได้ยาก เหมือนกับการใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปเพียงอย่างเดียวย่อมจะได้ผลไม่มากนัก ดังนั้นจะต้องใช้หลักศีลธรรม จริยธรรมทางศาสนาเข้าไปควบคุมด้วย จึงจะมีผลมากยิ่งขึ้น พฤติกรรมทางการเมืองแห่งสมาชิกในสังคมก็ต้องอาศัยจริยธรรมทางการเมืองเข้าช่วยเช่นกัน หรืออย่างแนวความคิดของบุคคลบางกลุ่มบางพวกเกี่ยวกับรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในทำนองไม่เชื่อในความสุจริต ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติมากนัก เพราะคิดว่า ผู้ที่เข้ามามีบทบาท มีอำนาจทางการเมืองหรือเป็นรัฐบาลในชุดนี้ได้มาด้วยการทุ่มเทเงินทองอย่างมหาศาล เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลเช่นนี้อาจจะมีโอกาสกอบโกยเอาผลประโยชน์ในทางที่ไม่สุจริต เพื่อเป็นการกู้ทุนที่ลงไปในสมัยเลือกตั้ง ซึ่งแนวคิดอันนี้จะเป็นจริงหรือไม่นั้นก็ต้องอาศัยหลักของจริยธรรมหรือหลักของศีลธรรมเข้าควบคุมด้วยนอกจากกฎหมาย คือถ้าคณะรัฐบาลชุดนี้มีหลักจริยธรรมและหลักศีลธรรมแล้ว เรื่องไม่ดีที่หลายคนคิดนั้นจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามีบุคคลบางคนในคณะรัฐบาลขาดจริยธรรมและศีลธรรมแล้ว ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตย่อมเกิดขึ้นได้
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่ประชาชนพลเมืองนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จึงทำให้ผู้ปกครองและประชาชนของชาติได้นำเอาหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองประเทศและดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เช่น
หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเรียกว่า“ทศพิธราชธรรม” คือ
1.1 ทาน การให้ คือ การเสียสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือ ประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
1.2 ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวจกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิติคุณ ได้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์มิให้มีข้อที่ควรจะดูแคลน
1.3 บริจาค การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
1.4 อาชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มายา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน
1.5 มัทวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาบ กระด้าง ถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนิ่มนวลละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง
1.6 ตบะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครองงำ ย่ำยีจิตระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำจิตให้สมบูรณ์
1.7 อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและควรทำต่าง ๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความขุ่นเคือง วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบ เป็นตัวของตน
1.8 อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษี ขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
1.9 ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย เหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยคำเสียดสีถากถางอย่างไรก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณียกิจที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม
1.10 อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรมคงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิษฐารมณ์ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือความเที่ยงธรรมก็ดี นิติธรรมคือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง คลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามก็ดี ไม่ประพฤติเคลื่อนคลาดวิบัติไป
*จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
*จากความหมายและคำนิยามที่ยกมาเป็น ตัวอย่างข้างบนนั้น สรุปได้ว่า จริยธรรม คือแนวทางของการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ สุขของตนเองและสังคมส่วนรวม อะไรควรประพฤติ ปฏิบัติ แต่จริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมาย เป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม โดยมีบทลงโทษ (punishment) สำหรับผู้ฝ่าฝืน คนเคารพเชื่อพึงกฎหมาย เพราะกลัวถูกลงโทษ ส่วนจริยธรรมไม่มีบทลงโทษ คนมีจริยธรรมเพราะแรงจูงใจ (motivation) ถึงอย่างไร ก็ตามกฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะ เป็นแรงหนุนส่งภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม ลักษณะ ของจริยธรรม และคนมีจริยธรรม
จริยธรรมมักจะอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะ คำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม โดยเฉพาะจริยธรรมของสังคมไทย ขึ้นอยู่กับศีลธรรม ของพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการ ปฏิบัติในชีวิตประจำวันไว้อย่างไร นั้นหมายความว่าได้ กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้น
2.1 ปรัชญาตะวันตก
-ปรัชญาและแนวคิดปรัชญาการเมืองยุคโบราณ เป็นความพยายามที่จะทดแทน ความเห็น (opinion) ในเรื่องธรรมชาติของการเมือง ด้วยความรู้ในเรื่องธรรมชาติของสิ่งที่เป็น การเมือง ทั้งยังเป็นความพยายามที่จะรู้ทั้งธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมืองและระเบียบทาง การเมืองที่ถูก ที่ดี พร้อมกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะเป็นการเน้นรูปแบบ การเมืองในลักษณะของอุดมคติ อุดมการณ์ แนวคิด การศึกษาวิเคราะห์ โดยยึดหลักจริยธรรม และคุณธรรมของผู้ปกครองว่า ที่ดีที่สุดหรือที่เลวที่สุดเป็นอย่างไร รูปแบบการปกครองที่พึง ประสงค์และไม่พึงประสงค์เป็นอย่างไร โดยเกิดจากการศึกษา ค้นคิดขึ้นมาเองของนักปราชญ์ เป็นส่วนมาก โดยไม่ได้มีการศึกษาทดสอบ วิเคราะห์ในเชิงวิทยาการที่เป็นที่ยอมรับได้ใน หลักการว่า ถูกต้องเที่ยงตรง เพียงแต่อาศัยความมีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือของเจ้าของ แนวความคิดเท่านั้น ก็น าไปสู่แนวทางการปฏิบัติ
2.2ปรัญชาตะวันออก
-ปรัชญาเป็นความพยายามแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและสิ่ง ทั้งปวงที่เกี่ยวกับโลกและมนุษย์โดยใช้เหตุผลหรือการคิดอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ โลกทัศน์หรือทฤษฎีทางปรัชญาที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ แม้จะยังเป็นความรู้ที่อาจจะเป็นเท็จ ได้ก็ตามที ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอะไร เพราะแม้แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วไปยอมรับก็ยัง ถูกหักล้างอยู่เรื่อยๆ
ความแตกต่างของทั้งสองปรัชญาคือ
-ตะวันตก ปรัชญา จีน เน้นรู้ความจริง เพื่อเป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติ ดังนั้นจึงใกล้ชิดกับจริยศาสตร์ การเมือง วรรณคดีและศิลปะ “เข้าใจวิถีของธรรมชาติ และล่วงรู้ความต้องการของประชาชน” (รู้เพื่อเป็นอุปกรณ์) เน้นรู้ด้านปฏิบัติในชีวิตมากกว่าเป็นวิทยาการ ส่วนปรัชญาตะวันตกเน้นรู้เพื่อรู้ ปรัชญาตะวันตก (โดยเฉพาะปรัชญายุคปัจจุบัน) จึงใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์
(การ แสวงหาโลกทัศน์ การสร้างทัศนะหรือความรู้ที่เป็นระบบ แม้การใช้เหตุผลอาจไม่ชัดเจนหรือโดดเด่นเท่า ตะวันตก)
-ตะวันออก ปรัชญาตะวันออกก็มีใช้เหตุผลในแบบตะวันออกซึ่งบางกรณีก็มีลักษณะเหมือนปรัชญา ตะวันตกเช่นกัน เช่น การอ้างเหตุผลสนับสนุนความมีอยู่จริงของพระเจ้าในปรัชญานยายะ ก็มีลักษณะ คล้ายกับการอ้างเหตุผลสนับสนุนความมีอยู่จริงของพระเจ้าของเซนต์ ทอมัส อไควนัส (Thomas Aquainas) การอ้างประสบการณ์ในการโต้แย้งเรื่องความไม่มีจริงของพระเจ้า (พระพรหมาผู้สร้างโลกและ สรรพสัตว์) ของพระพุทธเจ้าก็เป็นการใช้เหตุผลแบบหนึ่งคล้ายกับพวกประสบการณ์นิยมในตะวันตก นอกจากนั้น ปรัชญาอินเดียยังพยายามสร้างระบบการอ้างเหตุผลแบบอนุมานซึ่งปรัชญาอินเดียสำนักที่มี ชื่อเสียงทางด้านนี้คือ ปรัชญานยายะและพุทธปรัชญามหายาน แม้แต่ปรัชญาจีนก็มีการใช้เหตุผลหรือการ ใช้ตรรกะเช่นกัน๙ ความคล้ายคลึงกันระหว่างปรัชญาตะวันตกกับตะวันออกจะปรากฏชัดมากขึ้นเมื่อเรา พูดถึงเนื้อหา ขอบเขตและการแบ่งสาขาหรือประเภทของปรัชญาในลำดับต่อไป
“จริยธรรมทางการเมือง” วาทกรรมสร้างความชัดเจน วาทกรรมการอธิบาย (Descriptive Discourse) หมายถึงวาทกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ อธิบายรายละเอียดของสิ่งที่พูดถึงให้ละเอียดโดยกระจ่าง และเป็นวาทกรรมที่ไม่อ้างอิงถึงผู้อื่น ไม่โต้แย้งหรือชวนเชื่อให้เกิดการโอนเอียงเข้าข้างฝ่ ายใดฝ่ายหนึ่งแบบวาทกรรมชวนเชื่อ หรือวาท กรรมโต้แย้งที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะมีพระสงฆ์ และนักวิชาการที่ใช้คำว่า “จริยธรรมทาง การเมือง” ในบริบทของการอธิบาย ขยายความเพื่อให้เกิดความเข้าใจในความหมายของคำคำนี้มากขึ้น
1.จริยธรรมทางการเมืองกับบริบทที่ปราศจากการแสวงหา
2.จริยธรรมทางการเมือง เรื่องชวนเชื่อของคนภาครัฐ
-ปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practice) เรียกว่า เป็นการสร้างวาทกรรมเพื่อควบคุมวาทกรรมอื่น (The Limit and Control of Discourse) หมายถึง การสร้างวาทกรรมหนึ่งขึ้นมาเพื่อจะควบคุมและจำกัด วาทกรรมอื่น โดยเห็นได้ชัดว่า ฝ่ายรัฐบาลพยายามควบคุมกระแสข่าวอันเป็นวาทกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำที่ไม่ถูกต้องของตน ด้วยการเบี่ยงประเด็นให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นการถูกใส่ร้าย ป้ายสี
3. จริยธรรมทางการเมือง อาวุธในการต่อสู้ทางวาทกรรม
-จริยธรรมทาง การเมือง คือการไม่ทา ให้รัฐหรือประเทศต้องสูญเสียประโยชน์
4.จริยธรรมทางการเมือง วาทกรรมสร้างความชัดเจน
-จริธรรมทางการเมือง คือการไม่ใช่อำนาจ เพื่อพวกพ้อง ไม่เรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ เคารพกติกาของสังคม ไม่ยกย่องผู้ทุจริต และไม่ใช่ อิทธิพลหาผลประโยชน์
5.จริยธรรมทางการเมือง” ความฝันของประชาชน ข้อต้องห้ามของนักการเมือง
2. ประเด็นจริยธรรมตามหลักปรัชญาทางการเมือง ทั้งของทางตะวันออกละตะวันตกมีความแตกต่างแง่ใดบ้าง
ตอบ ปรัชญาตะวันออก มีปรัชญาอินเดียกับปรัชญาจีนเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น เน้นที่ความคิด การมีมโนธรรม เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด การปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น การปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือเป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาดความรู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดีเสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบิร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรมทางการเมือง เป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรมในการวัดความดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ควรทำ-ไม่ควรทำในแต่ละสถานการณ์ของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มากหรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลาสถานที่บุคคลและถูกกาลเทศะ
คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรม คือ การแนะนำแนวคิดของการกระทำ ที่ใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติหรือการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสม ความถูก-ผิด ดี-เลว ควรทำ-ไม่ควรทำในแต่ละสถานการณ์ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อปกป้องผลประโยชน์สุขของตนเองและสังคม
Ans.
คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ ได้แก่
1.ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม
2.ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม
ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ เห็นว่า จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะกำหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐานของตนเองว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีงาม และอะไรคือความถูกต้อง โดยทั่วไปมิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคมในขณะเดียวกัน
Ans.
ปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง
วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด คือ ความยุติธรรม ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมือง คือ คุณธรรม และรัฐที่ดีที่สุด คือ รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือรัฐผสม (Mixed Regime) โสเกรตีส เชื่อว่า เมื่อราชากลายเป็นปรัชญาเมธี หรือเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นราชาเท่านั้น รัฐที่ดีที่สุดจึงจะเกิดขึ้นได้
เพลโต มีแนวความคิดหลักด้านจริธรรมว่า ผู้ปกครองหมายถึงนักปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ทรงคุณธรรมควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้ คือคุณธรรม จึงจำเป็นต้องแสวงหาและฝึกฝนอบรมคนที่รู้ได้ดีที่สุด เพื่อเสริมสร้างผู้ปกครองที่เป็นธรรม เพลโตแบ่งประเภทของคุณธรรมออกเป็น ๔ ประเภท คือ ปรีชาญาณ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลมุ่งที่จริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา อันหมายถึง กฎหมาย ซึ่งแจกแจงออกเป็นแบบแผนทางสังคม และระบอบการปกครอง รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ราษฎรจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ”
Ans.
จริยธรรมคือสํานึกของบุคคลทที่เกิดจากการรู้ผิด รู้ชอบ รู้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดีสิ่งใดควรทํา สิ่งใดไม่ควรทํา โดยแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ดีงาม ซึ่งแตกต่างจากกฎหมาย ที่เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลแต่ไม่อาจควบคุมหรือขัดเกลาความนึกคิดได้ในบทนี้จึงขอนําเสนอความหมายและแนวคิดของคุณธรรมและจริยธรรมโดยสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างค่านิยมและหลักเกณฑ์การประพฤติที่ดีงามของผู้บริหารประเทศและประชาชน ดังนี้
1. ความหมาย
คุณธรรม (Morality/Virtue) และจริยธรรม (Ethics) เป็นคําศัพท์ทีมีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
“คุณธรรม” หมายถึง สภาพคุณงามความดีเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นสองความหมาย คือ
1)ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณีหลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ
2)การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทํา ไม่ควรทํา และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมคือจริยธรรมแต่ละข้อที่นํามาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น เป็นคนซื่อสัตย์เสียสละ อดทน มีความรับผิดชอบ เป็นต้น
“จริยธรรม” แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติศีลธรรม กฎศีลธรรม ซึ่งก็คือ กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ความเป็นผู้มีปัญญาและเหตุผลทําให้มนุษย์มีมโนธรรม รู้จักแยกแยะความถูก ผิด ควร ไม่ควร จริยธรรมมีลักษณะ ๔ ประการ คือ
1)การตัดสินทางจริยธรรม (Moral Judgment) บุคคลจะมีหลักการของตนเอง เพื่อตัดสินการกระทําของผู้อื่น
2) หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลก่อนที่จะปฏิบัติการต่าง ๆ ลงไป
3) หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลที่บุคคลใช้ตัดสินใจในการกระทําสิ่งต่างๆ
4) ทัศนะเกี่ยวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคมจนเกิดเป็น
ทัศนะในการดํารงชีวิตของตน และของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ (อ้างใน กิตติยา โสภณโภไคย, ม.ป.ป., น. 3)
นอกจากนี้ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติพ.ศ.๒๕๕๐
ได้กําหนดความหมายของ “คุณธรรม” ว่า สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดีเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตสํานึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน เป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นและเหมาะสมกับความต้องการในสังคมไทย และคําว่า “จริยธรรม” หมายถึง กรอบหรือแนวทางอันดีงาม 12 ที่พึงปฏิบัติซึ่งกําหนดไว้สําหรับสังคม เพื่ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงาม ความสงบร่มเย็นเป็นสุข ความรักสามัคคีความอบอุ่น มั่นคงและปลอดภัยในการดํารงชีวิต สําหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลมีความสําคัญอย่างยิ่ง ต่อการดํารงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากหลักการอิสรภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาพของประชาธิปไตยมีความเสี่ยงที่จะทําให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้หากผู้ปกครองไม่มีคุณธรรมและ
จริยธรรม และประชาชนก็ไม่รู้หน้าที่ของตนเองที่มีต่อส่วนรวม สังคมก็จะไร้ระเบียบและเกิดความวุ่นวายได้ คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย ต้องประกอบด้วยรูปแบบ สร้างสรรค์เชิงบวกในบทบาทของการร่วมพัฒนาและการแก้ไขปัญหาของสังคมด้านต่าง ๆ อาทิ
1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะอย่างแข็งขัน
2) การมีส่วนร่วมในการกระทําเพื่อส่วนรวมด้วยความเต็มใจ
3) การสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4) การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง/เคารพในกฎกติกาของสังคม
5)การติดตามตรวจสอบการทํางานของผู้บริหารและหน่วยงานของรัฐ (กิตติยา โสภณโภไคย,
ม.ป.ป., น. 4–5)
1)ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ความหมายของจริยธรรมในทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ จากสำนักต่างๆพอสรุปได้ดังนี้
- จริยธรรม หมายถึงแนวทางประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตนและเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
- จริยธรรม หมายถึง หลักคำสอนว่าด้วยความประพฤติเป็นหลักสำหรับให้บุคคลยึดถือในการปฏิบัติตน จากความหมายและคำนิยามที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างบนนั้น พอจะประมวลสรุปได้ว่า จริยธรรมคือแนวทางของการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคมส่วนรวม อะไรควรประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมไมใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม โดยมีบทลงโทษ (punish-ment) สำหรับผู้ฝ่าฝืน คนเคารพเชื่อพึงกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ส่วนจริยธรรมไม่มีบทลงโทษ คนมีจริยธรรมเพราะแรงจูงใจ (motivation) ถึงอย่างไรก็ตามกฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนส่งภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม ลักษณะของจริยธรรม และคนมีจริยธรรม
2)ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล
ในการศึกษาปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื้อ ปรัชญาโม่จื้อ แนวคิดของเม้งจื๊อ แนวคิดของซุนจื๊อ
3)คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
โดยสามารถสรุปความสำคัญที่นักการเมืองต้องยึดถือ และคุณธรรมจริยธรรมที่นักการเมืองพึงปฏิบัติ ได้ดังต่อไปนี้
1. หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่าง
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความโปร่งใส (transparency) การมีส่วนร่วมของประชาชน (participation) ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ (accountability) และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (efficiency and effectiveness) ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้ (output) และผลลัพธ์ (outcome)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
7.ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย (equality before the law) ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย (the democratic ethos) ซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี (means) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่ง (noble end) ในตัวเอง
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชน
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องกระทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดต่อประชาชน ชาติ และบ้านเมือง
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ ต้องเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติอันได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology) การมีจริยธรรมทางการเมือง (political ethics) การมีความรู้ทางการเมือง (political knowledge) การมีประสาทสัมผัสทางการเมือง (political sense) และการเข้าใจอารมณ์ทางการเมือง (political mood) ของประชาชนอย่างถูกต้อง
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
เพลโต (Plato) กล่าวว่า คุณธรรม คือ การปฏิบัติที่ดีตามหน้าทีของวิญญาณ และคุณธรรมไม่สารถเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เพราะมนุษย์จะต้องรู้ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร คุณธรรมจึงเกิดขึ้นจากความรู้ ไม่ใช่ความรู้ทฤษฏี แต่เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง คุณธรรมตามแนวคิดของเพลโต มี 4 ประการ คือ
1. ปัญญาหรือความรู้ (wisdom) คือการหยั่งรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ
2. ประมาณ (temperance) คือ การรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายชีวิต มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
3. กล้าหาญ (courage) คือ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตราย เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง หรือด้วยความมั่นใจว่าได้กระทำดีที่สุดแล้ว
4. ยุติธรรม (justice) คือการให้แก่ทุกคนอย่างเหมาะสม เช่น การให้แก่ตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างมีเหตุผลอันควร
อริสโตเติล(Aristotle)ได้นำคุณธรรมของเพลโต (Plato) มาอธิบายว่าคุณธรรม ได้แก่ การเดินสายกลางระหว่างความไม่พอดีกับความพอดี หรือคุณธรรมคือความพอดีพองาม ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความกล้าหาญจะอยู่ระหว่างความบ้าบิ่นกับความขลาด ความสุภาพอยู่ระหว่างความขี้อายกับความไร้ยางอาย และความเอื้อเฟื้ออยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ คุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือการรู้และค้นหาความจริงนั่นเอง
2. คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปคำสอน ละมุ่งเพื่อความดีงาม คนมีคุณธรรมก็คือคนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม อริสโตเติลเสนอคุณธรรมพิเศษไว้ 4 ประการ คือ มิตรภาพ ประมาณ กล้าหาญ และยุติธรรม
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ส่วนทรรศนะทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน
ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาตะวันออกเกิดขึ้นมาในความเป็นศาสนา ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแทบจะแยกไม่ได้ โดยศาสนานั้นมีรากเหง้ามาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนหรือเนื้อหาของศาสนานั้นๆ นำไปสู่พิธีกรรมต่างๆที่มุ่งสู่มรรคผล โดยปรัชญานั้นประกอบแนบแน่นกันกับศาสนาในตัวของความรู้ และวิธีการได้มาซึ่งความรู้
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาตะวันตก หมายถึง แนวความคิด หลักการ ความรู้ทางปรัชญาที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตกทั้งหมด ซึ่งนักปรัชญาเมธีเชื่อชาตินั้นๆ ทางซีกโลกตะวันตกได้คิดค้นขึ้น ก่อให้เกิดขึ้นหรือตั้งสำนักขึ้นโดยปกติแล้วมักจะถือกันว่า ปรัชญาตะวันตกเริ่มก่อตัวขึ้นประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตศักราช และเมื่อเกิดขึ้นก็ได้มีความเจริญ วิวัฒนาการทางด้านความรู้ ความคิดเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
1. หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรม (due process of law) จะต้องเป็นไปตามครรลอง หลักนิติธรรม (the rule of law) จึงต่างจาก the rule by law ซึ่งหมายถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และบ่อยครั้งก็กลายเป็นการบริหารงานโดยตัวบุคคล (the rule by men) มากกว่าหลักการ
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้ (output) และผลลัพธ์ (outcome)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
7.ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย (equality before the law) ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียง (one man one vote) การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลอันใดก็ตามจึงถือว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย (the democratic ethos) ซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาที่เสมอภาค ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี (means) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่ง (noble end) ในตัวเอง การมองว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเฉพาะกรรมวิธี( means) จึงไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า end คือ ผลประโยชน์จะตกต่อสังคมก็ตาม เพราะถ้าทำลายกระบวนของความถูกต้อง แม้จะส่งผลในทางบวกต่อสังคม แต่ถ้ามีผลกระทบในทางลบต่อระบบก็จะเป็นการทำลายเป้าหมายอันสูงส่งของระบบประชาธิปไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยจึงเป็นทั้งกรรมวิธี (means) และเป้าหมาย (end) ในตัวเอง ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
คำว่า Ethics มาจากภาษากรีกว่า Ethikosแปลว่า ประเพณี หรือขนบธรรมเนียม คำนี้อริสโตเติ้ล
เป็นผู้นำมาใช้ครั้งแรก หมายถึงลักษณะนิสัยและอารมณ์ ต่อมา ซิเซโร (Cicero) ได้นำคำ Moralis มาใช้
แทนคำนี้เป็นภาษาลาตินและมีความหมายเช่นเดียวกับคำ Ethikos ของอริสโตเติ้ล คำทั้งสองนั้นมีความ
สัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันในทางปฏิบัติมีผู้เข้าใจกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วว่า
พฤติกรรมทางจริยศาสตร์คือ การกระทำความดีและความ ถูกต้อง การวิเคราะห์ทางจริยศาสตร์ มักใช้คำทั้งสองนี้เป็นหลัก
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ปรัชญาทางการเมืองตะวันออก ปรัชญาเป็นความพยายามแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและสิ่ง
ทั้งปวงที่เกี่ยวกับโลกและมนุษย์โดยใช้เหตุผลหรือการคิดอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ
โลกทัศน์หรือทฤษฎีทางปรัชญาที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ แม้จะยังเป็นความรู้ที่อาจจะเป็นเท็จ
ได้ก็ตามที ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอะไร เพราะแม้แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วไปยอมรับก็ยัง
ถูกหักล้างอยู่เรื่อยๆ อย่างน้อยปรัชญาก็ให้ค าตอบหรือค าอธิบายบางอย่างที่ช่วยแก้ความสงสัยของมนุษย์ไป
ได้บ้าง และท าให้มนุษย์มีวิจารณญาณที่รอบคอบในการยอมรับความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ไม่ถูก
หลอกหรือหลงงมงายจนเกิดความเสียหายตามมา
ปรัชญาทางการเมืองตะวันตก ปรัชญาและแนวคิดปรัชญาการเมืองยุคโบราณ เป็นความพยายามที่จะทดแทน
ความเห็นในเรื่องธรรมชาติของการเมือง ด้วยความรู้ในเรื่องธรรมชาติของสิ่งที่เป็น
การเมือง ทั้งยังเป็นความพยายามที่จะรู้ทั้งธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมืองและระเบียบทาง
การเมืองที่ถูก ที่ดี พร้อมกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะเป็นการเน้นรูปแบบ
การเมืองในลักษณะของอุดมคติ อุดมการณ์ แนวคิด การศึกษาวิเคราะห์ โดยยึดหลักจริยธรรม
และคุณธรรมของผู้ปกครองว่า ที่ดีที่สุดหรือที่เลวที่สุดเป็นอย่างไร รูปแบบการปกครองที่พึง
ประสงค์และไม่พึงประสงค์เป็นอย่างไร โดยเกิดจากการศึกษา ค้นคิดขึ้นมาเองของนักปราชญ์
เป็นส่วนมาก โดยไม่ได้มีการศึกษาทดสอบ วิเคราะห์ในเชิงวิทยาการที่เป็นที่ยอมรับได้ใน
หลักการว่า ถูกต้องเที่ยงตรง เพียงแต่อาศัยความมีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือของเจ้าของแนวความคิดเท่านั้น
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน
2.ความอดทนอดกลั้นความใจกว้าง และความมีน้ำใจนักกีฬาทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมายความชอบธรรมทางการเมือง ความถูกต้องเหมาะสม ความน่าเชื่อถือทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใสการมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้และผลลัพธ์
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
6.สิทธิเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
7.ความเสมอภาคซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมายความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียงการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลอันใดก็ตามจึงถือว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตยซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาที่เสมอภาค ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่งในตัวเอง การมองว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเฉพาะกรรมวิธี จึงไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า คือ ผลประโยชน์จะตกต่อสังคมก็ตาม เพราะถ้าทำลายกระบวนของความถูกต้อง แม้จะส่งผลในทางบวกต่อสังคม แต่ถ้ามีผลกระทบในทางลบต่อระบบก็จะเป็นการทำลายเป้าหมายอันสูงส่งของระบบประชาธิปไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยจึงเป็นทั้งกรรมวิธี และเป้าหมาย ในตัวเอง ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนโดยส่วนรวม การกระทำอันใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การนั้นย่อมไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นการประกอบภารกิจอันศักสิทธิ์ หรือหน้าที่อันสูงส่งเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติ
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องกระทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดต่อประชาชน ชาติ และบ้านเมือง เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะงานการเมืองเป็นงานอาสาสมัครที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ ต้องเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติอันได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมือง การมีจริยธรรมทางการเมืองการมีความรู้ทางการเมืองการมีประสาทสัมผัสทางการเมือง และการเข้าใจอารมณ์ทางการเมือง ของประชาชนอย่างถูกต้อง
62423471051 รุ่นที่44
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
1. จริยธรรม มี2 ความหมาย คือ
1.1. ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา
ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2. การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควร ไม่ควรทำ
หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้วลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
2. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
3. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
4. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
5. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้
62423471051 รุ่นที่44
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
62423471051 รุ่นที่44
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมจะใช้เฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมจะบรรลุเป้าหมายได้ยาก เหมือนกับการใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปเพียงอย่างเดียวย่อมจะได้ผลไม่มากนัก ดังนั้นจะต้องใช้หลักศีลธรรม จริยธรรมทางศาสนาเข้าไปควบคุมด้วย จึงจะมีผลมากยิ่งขึ้น พฤติกรรมทางการเมืองแห่งสมาชิกในสังคมก็ต้องอาศัยจริยธรรมทางการเมืองเข้าช่วยเช่นกัน หรืออย่างแนวความคิดของบุคคลบางกลุ่มบางพวกเกี่ยวกับรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในทำนองไม่เชื่อในความสุจริต ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติมากนัก เพราะคิดว่า ผู้ที่เข้ามามีบทบาท มีอำนาจทางการเมืองหรือเป็นรัฐบาลในชุดนี้ได้มาด้วยการทุ่มเทเงินทองอย่างมหาศาล เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลเช่นนี้อาจจะมีโอกาสกอบโกยเอาผลประโยชน์ในทางที่ไม่สุจริต เพื่อเป็นการกู้ทุนที่ลงไปในสมัยเลือกตั้ง ซึ่งแนวคิดอันนี้จะเป็นจริงหรือไม่นั้นก็ต้องอาศัยหลักของจริยธรรมหรือหลักของศีลธรรมเข้าควบคุมด้วยนอกจากกฎหมาย คือถ้าคณะรัฐบาลชุดนี้มีหลักจริยธรรมและหลักศีลธรรมแล้ว เรื่องไม่ดีที่หลายคนคิดนั้นจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามีบุคคลบางคนในคณะรัฐบาลขาดจริยธรรมและศีลธรรมแล้ว ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตย่อมเกิดขึ้นได้
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่ประชาชนพลเมืองนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จึงทำให้ผู้ปกครองและประชาชนของชาติได้นำเอาหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองประเทศและดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เช่น
1.หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเรียกว่า“ทศพิธราชธรรม” คือ
1.1 ทาน การให้ คือ การเสียสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือ ประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
1.2 ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวจกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิติคุณ ได้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์มิให้มีข้อที่ควรจะดูแคลน
1.3 บริจาค การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
1.4 อาชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มายา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน
1.5 มัทวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาบ กระด้าง ถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนิ่มนวลละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง
1.6 ตบะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครองงำ ย่ำยีจิตระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำจิตให้สมบูรณ์
1.7 อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและควรทำต่าง ๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความขุ่นเคือง วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบ เป็นตัวของตน
1.8 อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษี ขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
1.9 ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย เหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยคำเสียดสีถากถางอย่างไรก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณียกิจที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม
1.10 อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรมคงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิษฐารมณ์ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือความเที่ยงธรรมก็ดี นิติธรรมคือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง คลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามก็ดี ไม่ประพฤติเคลื่อนคลาดวิบัติไป
จากราชธรรมทั้ง 10 ประการนี้ พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติด้วยดีอย่างสมบูรณ์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทยทั้งปวงแล้ว ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือจากสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่เสนอข่าวอยู่เป็นประจำทุกวัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นหลักชัยของบ้านเมือง เป็นศูนย์รวมพลังของชาวไทยทั้งชาติ
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง ตอบ จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้ จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูก ต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย นักปรัชญาเช่นคานต์ (Kant) เชื่อว่า มนุษย์มีกฎจริยธรรมเกิดขึ้นในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด แนวศีลธรรม ให้ยึดถือปฏิบัติการบำเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตามหลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามที่ได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบำเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึงเป้าหมายของความเชื่อสูงสุดที่ยึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสุคติหรือหนทางดีงาม หลักจริยธรรมที่ขยายขอบเขตจากจุดเล็กสุดคือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก
รหัส 62423471003รุ่นที่44
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ จริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนเช่ง ขงจื้อ เม่งจื้อ เต๋า ซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวันปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe)
จริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล
รหัส 62423471003รุ่นที่44
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.เป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการและเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
3.ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
4.เคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
5.รักษาความลับของราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
6.พึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุขและรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
7.ไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
8.รักษาทรัพย์สินของราชการและใช้ทรัพย์สินของราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นๆ เท่านั้น
9.แสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เป็นต้น
รหัสนักศึกษา 63423471004 รุ่นที่46
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
เดมอคริตุส (Democritus, 460-370B.C.) เห็นว่าความพอใจหรือความสขุ คือเป้าหมายของการประเมินค่าและการประเมินค่าของความพอใจหรือ ความสุขและความทุกข์น้ัน คือ วิธีกำหนดความดี และ ความถูกต้อง แนวคิดน้ี เป็นของนักสุขนิยม(Hedonist) นักธรรมชาตินิยม (naturalist) และนักอันตวิทยา (Teleologist)
การศึกษาจริยธรรมเกี่ยวข้องกับวิชาจริยศาสตร์ ซึ่ง หมายถึง สาขาหน่ึงของวิชาปรัชญาในส่วนของอัคฆปรัชญา หรือ คุณวิทยา หรือ ปรัชญาคุณค่า (Axiology) อันเป็นสาขาที่ศึกษาเรื่องของคุณค่าหรืออุดมคติที่มนุษย์ควรแสวงหาเช่นความดีความงาม รัฐในอุดมคติ หรือ สังคมอุดมคติ แบ่งออกเป็น สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ปรัชญาสังคม (Social philosophy) และปรัชญาการเมือง (Political philosophy) และจริยศาสตร์ (Ethics) โดยสนใจที่จะ ศึกษาในแง่ของเกณฑ์การตัดสินคุณค่าของความประพฤติของมนุษย์
”จริยธรรม„ จึงหมายถึงหลักธรรม ที่ควรประพฤติเป็นแนวทางของการประพฤตปฏิบัติตน เป็นคนดี ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อบัญญัติให้บุคคลประพฤติ ตนเช่นน้ันเช่นนี้ อันถือกันว่าเป็นการกระทำที่ดีและ การดำเนินชีวิตตามหลักจริยธรรมเป็นส่ิงท่ีสังคม ต้องการ สังคมจึงจัดให้มีการสั่งสอนอบรมเรื่อง จริยธรรมแก่สมาชิกของสังคม คาดหวังคือ การที่สมาชิกน้อมนำเอาจริยธรรมไปประพฤติ ในชีวินประจำวัน เพื่อที่จะควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ให้ตั้งอยู่ใน ความดี ความงาม และความถูกต้อง
นายธนาวุฒิ สีหะนาม
รหัสนักศึกษา 63423471004
รุ่นที่46
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ปรัชญาตะวันตกเน้นที่โลกทัศน์หรือทัศนะที่ได้มาด้วยวิธีการ ของการคิดเชิงวิพากษ์หรือการใช้เหตุผล ปรัชญาตะวันตกพยายามใช้ เครื่องมือคือความคิดเชิงวิพากษ์ในการแสวงหาโลกทัศน์หรือความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในโลกตลอด ถึงเอกภพทั้งหมด ทำให้เกิดปรัชญาสาขาต่างๆ นอกจากลักษณะสาคัญที่กล่าวมาแล้ว ปรัชญาของตะวันตกยังมีลักษณะอื่นๆ อีกโดย เฉพาะที่ต่างจากปรัชญาตะวันออก เช่น นักปรัชญาตะวันตกถือว่า ปรัชญาตะวันตกแยกต่างหากจากศาสนา ไม่ใช่คำสอนของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ปรัชญามุ่งแสวงหาความรู้เป็นหลักไม่มีเป้าหมายด้านการปฏิบัติ หรือไม่มีเป้าหมายด้านจริยธรรม และความรู้ในปรัชญาตะวันตกยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายหรือความจริงแท้ กล่าวอีกอย่างก็คือความรู้ที่ยังเป็นเท็จหรือผิดได้ ดังนั้น จึงถือกันว่า ปรัชญาตะวันตกมีลักษณะของการคาดเก็งความจริง (speculation) คือคาดคะเนหรือสันนิษฐานความ จริงบนฐานของเหตุผลที่หามาได้ว่า ความจริงเรื่องนั้นๆ น่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งพอจะสรุปลักษณะสำคัญของปรัชญาไ้ด้ดั่งนี้
1. ปรัชญาตะวันออกส่วนมากเป็นแนวคิดหรือคำสอนในศาสนาต่างๆ ในโลกตะวันออกส่วนปรัชญาตะวันตกต่างจากปรัชญาตะวันออกเพราะโดยทั่วไปปรัชญาตะวันตก ถือว่า ปรัชญาเป็นเอกเทศจากศาสนาหรือไม่ใช่แนวคิดของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
2. ปรัชญาตะวันออกมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ความดีงามและประโยชน์สุขของสังคมส่วนปรัชญาตะวันตกแม้จะมีแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมในปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ แต่ปรัชญา ตะวันตกไม่ได้มีจุดมุ่งหมายด้านการปฏิบัติโดยตรงอย่างปรัชญาตะวันออก
3. ปรัชญาตะวันออกไม่ได้ใช้ตรรกวิทยาอย่างจริงจังเหมือนปรัชญาตะวันตก
4. ปรัชญาตะวันออกโดยเฉพาะปรัชญาอินเดียถือว่า ปรัชญาเป็นความรู้แท้หรือความจริงขั้นสูงสุด ที่ไม่มีทางเป็นเท็จ เพราะมาจากการตรัสรู้หรือการวิวรณ์ของพระเจ้า ซึ่งต่างจากปรัชญาตะวันตกที่ถือว่า ความรู้ทางปรัชญาเป็นความรู้ที่ยังอาจเป็นเท็จได้
5. ปรัชญาตะวันออกบางสำนักเริ่มต้นจากความสงสัยอยากรู้ความจริงเพื่อหาความพ้นทุกข์ อย่างเช่นพุทธปรัชญาส่วนนักปรัชญาตะวันตกมีความอยากรู้หรือเข้าใจความ จริงต่างๆ ดังที่อาริสโตเติลเห็นว่า มนุษย์มีความอยากรู้เป็นธรรมชาติทำให้มนุษย์แสวงหาความรู้เกี่ยวสิ่ง ต่างๆ ที่ตัวเองสงสัย
รหัสนักศึกษา 63423471004
รุ่นที่46
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
จากการที่นักการเมืองเป็นที่จับตาจากสาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกโดยการใช้อำนาจ การพูดจา การกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง พฤติกรรมจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องควบคุม ระงับ ดังนั้นการควบคุม พฤติกรรมของนักการเมืองให้ประสบผลสำเร็จจึงจำเป็นต้องสร้างสำนึกหรือมโนธรรมแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยให้เกิดความรู้สึกละอายหากจะทำในสิ่งไม่ถูกไม่ควร หรือรียกได้ว่า “คุณธรรมและจริยธรรม”
โดยสามารถสรุปความสำคัญที่นักการเมืองต้องยึดถือ และคุณธรรมจริยธรรมที่นักการเมืองพึงปฏิบัติ ได้ดังต่อไปนี้
1. หลักนิติธรรม (the rule of law)
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit)
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility)
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty)
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom)
7.ความเสมอภาค (equality)
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย (the democratic ethos)
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี (means) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่ง (noble end) ในตัวเอง
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ ต้องเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติอันได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology) การมีจริยธรรมทางการเมือง (political ethics) การมีความรู้ทางการเมือง (political knowledge) การมีประสาทสัมผัสทางการเมือง (political sense) และการเข้าใจอารมณ์ทางการเมือง (political mood) ของประชาชนอย่างถูกต้อง
1 ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ = จริยธรรม หมายถึงแนวทางประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตนและเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าที่พึงประสงค์ จริยธรรม หมายถึงหลักคำสอนว่าด้วยความประพฤติเป็นหลักสำหรับให้บุคคลยึดถือในการปฏิบัติตน
ลักษณะของจริยธรรมพอจะนำมากล่าวสรุปได้ดังต่อไปนี้
1 จริยธรรมเป็นเรื่องของการเลือกหรือการตัดสินใจ จริยธรรมจึงเป็นสิ่งคู่กับเสรีภาพปัญหาของจริยธรรมจึงอยู่ที่ว่าจะเลือกกระทำอย่างใดในระหว่างการกระทำหลายๆอย่าง
2 จริยธรรมเกี่ยวข้องกับคุณค่า ปัญหาของจริยธรรมเกิดขึ้นเพราะคนต้องการเลือกจากเหตุการณ์หลายอย่าฃ
3 คนที่มีจริยธรรมคือ คนเช่นไร จริยธรรม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติทุกเรื่องราวของมนุษย์ ทั้งถูกและผิด
ในมงคลสูตร ๓๒ ประการนั้น มีอยู่ประการหนึ่งคือ ทานณฺจ ธมฺมจริยา จ เอตมฺมงคลมุตฺตมํ : การให้ ทานและการประพฤติธรรม นับเป็นมงคลอันสูงสุด ซึ่งเป็นคำกล่าวถึงธัมมจริยา หรือ จริยธรรม ธัมมจริยา คือจริยธรรม ธัมมจริยา หรือจริยธรรม ก็ตรงกับคำว่า Ethically คล้ายกับค่า Ethics ซึ่งหมายถึงจริยศาสตร์
สรุป จริยธรรมเป็นหลักหรือแนวแห่งความประพฤติ ไม่ได้เน้นที่ความรู้ แต่เน้นเรื่องที่ควรทำเมื่อเห็นว่าสิ่งไหนดีก็ต้องลงมือประพฤติปฏิบัติ สิ่งไหนไม่ดีก็ต้องงดเว้นเพื่อให้ตัวเองเป็นคนดีทั้งส่วนตัวและสังคม จริยธรรมเป็นเรื่องการเลือกสิ่งที่ดีและทำลงไปไม่ต้องบังคับ จริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนาคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างจริยธรรมอยู่เป็นส่วนมากในทุกยุคทุกสมัยทุกสังคม
2 ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งสองตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ = จริยธรรมตะวันตก คือ จริยธรรมตะวันตกจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้ ความดี และคุณธรรม ซึ่งโดยรวมแล้วอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นตัวสำคัญในการที่จะเลือกปฏิบัติหรือเลือกกระทำในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ผิดหรือถูก
จริยธรรม ตะวันออก คือ จะเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการทำความดี – ความชั่ว จะเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ โดยยึดหลักคำสอนและคำพูดเป็นสำคัญ
จริยธรรมตะวันตกและจริยธรรมตะวันออกมีความแตกต่างกัน คือ การที่ศึกษาเบญจศีลและเบญจธรรม ในการศึกษาในทางสิ่งที่ดีหรือไม่ดีที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
จริยธรรมตะวันออกและจริยธรรมตะวันตกแตกต่างกันคือ จริยธรรมตะวันออกจะเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ตัวอย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องปฏิบัติตนอย่างแน่วแน่จนบรรลุโสดาบรรณ แล้วจากนั้นท่านก็นำสิ่งที่ได้มาถ่ายทอด โดยยึดหลักศีลธรรม
ปรัชญาตะวันตกมุ่งแสวงหาความจริงหรือข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวโดยไม่ พยายามที่จะปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าถึงความจริงที่ได้แสวงหาพบแล้ว” และ “ปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือแยกเป็นคนละส่วนกับศาสนา” เพราะฉะนั้น นักปรัชญาตะวันตก (ส่วนใหญ่) จึงดำเนินชีวิตไปในทางที่ตรงข้ามกับแนวความคิดทางปรัชญาของตนก็ได้ นั่นหมายความว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความจริงของปรัชญาตะวันตก คือ การมุ่งสู่การรู้ความจริงเพื่อตอบสนองความสงสัยในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความ เป็นจริง แม้ว่าความจริงนั้นจะไม่ได้ช่วยให้บรรลุถึงความเป็นจริงเลยก็ตาม ซึ่งหมายความว่า นักปรัชญาตะวันตกมีแนวโน้มในการศึกษาความจริงในประเด็นที่ตนสงสัย เมื่อได้แนวคำตอบที่ถูกใจ (แม้ไม่ถูกใจทั้งหมด) ก็หยุดเพียงแค่นั้น นักปรัชญาตะวันตกไม่พยายามนำแนวคำตอบที่ตนได้รับมาพัฒนาเป็นคำสอนให้ปฏิบัติ เพราะถือว่าศาสนากับปรัชญาเป็นคนละส่วนที่แยกจากกัน
ปรัชญาตะวันออก คือ การรู้ความจริงเพื่อการบรรลุถึงความเป็นจริง
แม้ ว่าลักษณะแนวคิดของปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) จะมุ่งปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงและการรู้ความจริง (เกี่ยวกับความเป็นจริง) แต่จุดเน้นของปรัชญาตะวันออกมีลักษณะพิเศษต่างจากปรัชญาตะวันตก กล่าวคือ ปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาอินเดีย) สนใจปัญหาความเป็นจริง และรู้ความจริง (เกี่ยวกับความเป็นจริง) เพื่อการบรรลุถึงความเป็นจริง
3 คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ = คุณธรรมและจริยธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตและสังคม มีส่วนสำคัญที่จะนำความสงบสุขความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ
คุณธรรมและจริยธรรมมีความสำคัญดังต่อไป
1 ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ 2 ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
จริยธรรมทางการเมือง
1 จริยธรรมของนักการเมืองต่อประชาชน
1)นักการเมืองคือผู้เสียสละให้แก่ประชาชน ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี หรือในระดับพอเลี้ยงตัวได้ จึงเสียสละอาชีพเดิมและความสุขส่วนตัวเพื่อมารับใช้ประชาชน
2)นักการเมืองคือผู้แทนของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ การเป็นผู้แทนของประชาชนจึงหมายถึงการนำความต้องการ ความมุ่งหวัง ความเดือดร้อนของประชาชนไปดำเนินการแก้ไข
3)นักการเมืองควรเคารพเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประชาธิปไตยเสื่อมลงจนประชาชนสิ้นศรัทธา ไม่หาเสียงในทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ซื้อขายเสียง
2 จริยธรรมของนักการเมืองที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองควรจะมีมารยาทหรือจริยธรรมในการประพฤติต่อพรรคและสมาชิกร่วมพรรค พรรคร่วมรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน
1 ช่วยกันสร้างพรรคให้เป็นปึกแผ่น
2 ช่วยกันเป็นสมาชิกที่ดีของพรรค การเคารพกติกา ระเบียบข้อบังคับ มติของพรรค ตลอดจนช่วยบริหารงานของพรรค
3สร้างพรรคให้มีอุดมการณ์และนโยบายที่ชัดเจนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์อย่างมั่นคงยั่งยืนไม่เปลี่ยนพรรคบ่อย
4 สร้างระบบการปกครองและการบริหารภายในพรรคให้เป็นระเบียบชัดเจน มีการลำดับอาวุโสในพรรคตามความรู้ความสามารถเฉพาะตัว
5 สร้างศรัทธาให้แก่พรรคในสายตาประชาชน การมีอุดมการณ์ซื่อสัตย์สุจริตไม่ปกป้องนักการเมืองทุจริต
3 จริยธรรมเกี่ยวกับพรรคหรือสมาชิกพรรคตรงข้าม
1 นักการเมืองควรมีข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ทุกฝ่ายทุกคนก็มีเจตนาดีทำเพื่อชาติเพื่อประชาชนเสมือนกับตัวเอง พรรคฝ่ายรัฐบาลก็ไม่ควรมองพรรคฝ่ายค้านเป็นศัตรู
2พรรคต่างๆควรมีข้อตกลงกันได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์สำคัญของชาติไม่นำเรื่องเหล่านั้นมากล่าวโจมตีหาเสียงแข่งกันอีก
3 การเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของนักการเมืองอื่น ไม่นำเรื่องที่ปราศจากหลักฐานมากล่าวหากันให้เกิดการเสื่อมเสียหายได้
4 ไม่เอาชนะกันด้วยเรื่องเล็กน้อย เพราะเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
5 ไม่เอารัดเอาเปรียบกันด้วยเรื่องเล็กน้อย ไม่ถือโอกาสลงคะแนนในเวลาที่อีกฝ่ายไม่ทันตั้งตัวหรือออกจากห้องประชุม
4) จริยธรรมทางการเมืองอื่นๆ
1 การลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบเมื่อการงานหน้าที่เกิดความบกพร่อง แม้ไม่ใช่ความผิดของตนเองแต่เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับประเทศชาติ แม้เรื่องที่ไม่เหมาะสมเกิดกับตัวเองและครอบครัว ซึ่งต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มาก สำหรับประเทศไทยนักการเมืองไม่ได้แสดงความรับผิดชอบกับงานเต็มที่เมื่อเกิดความบกพร่องจะใช้วิธีปรับคณะรัฐมนตรีใหม่
2 การลาออกจากคณะรัฐมนตรีจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น รัฐมนตรีลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีได้ปรับปรุงคณะรัฐมนตรี เมื่อนายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้รัฐสภาตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
3 การประพฤติปฏิบัติตัวในการประชุมสภา การลุกขึ้นยืนพร้อมประธานและการพูดกับประธานในขณะพูดอภิปรายในสภาการกล่าวถึงสมาชิกท่านอื่นอย่างให้เกียรติ
4การไม่มีส่วนพัวพันกับธุรกิจที่จะมาเกี่ยวข้องกับการงานในหน้าที่ตนเองและครอบครัวต้องไม่เป็นเจ้าของบริษัทแต่หุ้นในบริษัทห้างร้านทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับกระทรวงที่ตนเองรับผิดชอบ บางประเทศให้พักการถือหุ้นไว้ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผลกำไรที่เกิดขึ้นในระหว่างมอบให้องค์กรการกุศล บางประเทศถึงกับกำหนดให้ต้องขายหุ้นออกไป
5 การไม่รับของขวัญของกำนัลที่มีค่าจากบุคคล บริษัท ห้างร้าน แม้แต่รัฐบาลของประเทศต่างๆ สิ่งใดควรประมูลขายเป็นรายได้เข้ารัฐ ส่วนของกำนัลเล็กน้อยที่มีค่าน้อย สิ่งของราคาต่ำกว่า 100 บาทเก็บไว้ใช้เอง
6การไม่ยืมใช้ของมีค่าจากเอกชนมาใช้เป็นการส่วนตัวการรับบริจาคเป็นของส่วนราชการย่อมทำให้เกิดการครหา จะเสียความเที่ยงธรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
7การแสดงบัญชีรายได้และรายจ่ายประจำปีของนักการเมืองโดยเฉพาะผู้มีตำแหน่งบริหารแสดงบัญชีทรัพย์สินในการเข้ารับตำแหน่งและพ้นตำแหน่งตามกฎหมายเพื่อความโปร่งใสในการบริหารและดำรงตำแหน่ง
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
เพลโต (Plato) กล่าวว่า คุณธรรม คือ การปฏิบัติที่ดีตามหน้าทีของวิญญาณ และคุณธรรมไม่สารถเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เพราะมนุษย์จะต้องรู้ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร คุณธรรมจึงเกิดขึ้นจากความรู้ ไม่ใช่ความรู้ทฤษฏี แต่เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง คุณธรรมตามแนวคิดของเพลโต มี 4 ประการ คือ
1. ปัญญาหรือความรู้ (wisdom) คือการหยั่งรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ
2. ประมาณ (temperance) คือ การรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายชีวิต มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
3. กล้าหาญ (courage) คือ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตราย เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง หรือด้วยความมั่นใจว่าได้กระทำดีที่สุดแล้ว
4. ยุติธรรม (justice) คือการให้แก่ทุกคนอย่างเหมาะสม เช่น การให้แก่ตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างมีเหตุผลอันควร
อริสโตเติล(Aristotle)ได้นำคุณธรรมของเพลโต (Plato) มาอธิบายว่าคุณธรรม ได้แก่ การเดินสายกลางระหว่างความไม่พอดีกับความพอดี หรือคุณธรรมคือความพอดีพองาม ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความกล้าหาญจะอยู่ระหว่างความบ้าบิ่นกับความขลาด ความสุภาพอยู่ระหว่างความขี้อายกับความไร้ยางอาย และความเอื้อเฟื้ออยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ คุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือการรู้และค้นหาความจริงนั่นเอง
2. คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปคำสอน ละมุ่งเพื่อความดีงาม คนมีคุณธรรมก็คือคนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ส่วนทรรศนะทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน
ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาตะวันออกเกิดขึ้นมาในความเป็นศาสนา ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแทบจะแยกไม่ได้ โดยศาสนานั้นมีรากเหง้ามาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนหรือเนื้อหาของศาสนานั้นๆ นำไปสู่พิธีกรรมต่างๆที่มุ่งสู่มรรคผล โดยปรัชญานั้นประกอบแนบแน่นกันกับศาสนาในตัวของความรู้ และวิธีการได้มาซึ่งความรู้
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาตะวันตก หมายถึง แนวความคิด หลักการ ความรู้ทางปรัชญาที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตกทั้งหมด ซึ่งนักปรัชญาเมธีเชื่อชาตินั้นๆ ทางซีกโลกตะวันตกได้คิดค้นขึ้น ก่อให้เกิดขึ้นหรือตั้งสำนักขึ้นโดยปกติแล้วมักจะถือกันว่า ปรัชญาตะวันตกเริ่มก่อตัวขึ้นประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตศักราช และเมื่อเกิดขึ้นก็ได้มีความเจริญ วิวัฒนาการทางด้านความรู้ ความคิดเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
1. หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรม (due process of law) จะต้องเป็นไปตามครรลอง หลักนิติธรรม (the rule of law) จึงต่างจาก the rule by law ซึ่งหมายถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และบ่อยครั้งก็กลายเป็นการบริหารงานโดยตัวบุคคล (the rule by men) มากกว่าหลักการ
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้ (output) และผลลัพธ์ (outcome)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
1 ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ :
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
๑. ความรับผิดชอบ คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
๒. ความซื่อสัตย์ คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
๓. ความมีเหตุผล คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
๔. ความกตัญญูกตเวที คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
๕. ความมีระเบียบวินัย คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
๖. ความเสียสละ คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
๗. การประหยัด คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
๘. ความอุตสาหะ คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
๙. ความสามัคคี คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
๑๐. ความเมตตาและกรุณา คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๑๑. ความยุติธรรม คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
“จรรยา” หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ เช่น จรรยาครู จรรยาตำรวจ ฯลฯ
“คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ เป็นคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของ ผู้นั้น คุณธรรมจึงเป็นจริยธรรมที่ฝึกฝนจนเป็นนิสัย เช่น ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน เสียสละ รับผิดชอบ
ตอบ : คำว่า "จริยธรรม" เป็นศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถาน คำนี้ไม่มีรากศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งแตกต่างจากคำอื่น ๆ เช่น คำว่า"ศีลธรรม" หรือในภาษาอังกฤษว่า นั้นมาจากภาษาละติน หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงาม ส่วนคำว่า "จริยศาสตร์" นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า ซึ่งปัจจุบันนี้ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้ว่าเป็นชื่อวิชาหนึ่งที่เป็น สาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ส่วนคำว่า "มโนธรรม" นั้นมาจากภาษาละตินว่า "CUM+SCIR" หมายถึงความสำนึกสองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งนักปรัชญาตะวันตกและตะวันออกต่างเชื่อตรงกันว่ามีอยู่ในใจของมนุษย์ ดังนั้นคำว่า "จริยธรรม" เข้าใจว่านั้นเป็นการบัญญัติจากศัพท์ภาษาไทยแท้ ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นมาจากคำสองคำ คือ คำว่า "จริย" ซึ่งแปลว่า " ความประพฤติ" กับคำว่า "ธรรม" ซึ่งแปลว่า "หลักความจริง" เมื่อแปลออกมาแล้ว ราชบัณฑิตของไทยให้ความหมาย " หลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สูงสุดแห่งตนเองและสังคม " ซึ่งเป็นความหมายแรกของจริยธรรมที่สังคมไทยใช้ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ขอบเขตของคำว่าจริยธรรมนี้กว้างมาก ถ้าเราพูดถึงจริยธรรมในความหมายของศาสนา แน่นอนที่สุดว่าจริยธรรมในความหมายนี้จะต้องมาจากหลักศีลธรรมในแต่ละศาสนา เช่น พระพุทธศาสนามีศีล ๕ เป็นหลักจริยธรรมสำหรับชาวบ้าน เพราะฉะนั้นจริยธรรมในความหมายของเช่น พระพุทธศาสนาก็คือพึงมีเมตตาพึงซื่อสัตย์ พึงสำรวมความประพฤติ เป็นต้น ถ้าเป็นจริยธรรมที่มาจากกฎหมายก็จะมีมาตรากฎหมายเป็นฐานว่าเวลาที่เราพูดถึง จริยธรรมในแง่กฎหมาย ก็จะระบุว่าพึงเคารพกฎหมาย พึงใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น ถ้าเป็นจริยธรรมในความหมายของขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หรือค่านิยมจะมาจากวัฒนธรรมไทย เช่น พึงเคารพผู้อาวุโส พึงกตัญญู พึงสุภาพอ่อนโยน ถ่อมตน เหล่านี้เป็นจริยธรรมในความหมายที่มาจากขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ถ้าเป็นจริยธรรมที่มาจากปรัชญาวิชาชีพ ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า จรรยาบรรณ ภาษาอังกฤษ คือ "Code of Ethics" เมื่อเราพูดถึงจริยธรรมในวิชาชีพ ในสงไทยเราใช้คำว่า " จรรยาบรรณ" ทันที เพราะว่าอะไร ? เพราะขึ้นอยู่กับปรัชญาของแต่ละวิชาชีพ เช่นการแพทย์บอกว่าปรัชญาของวิชาชีพที่สำคัญที่สุดก็คือ การป้องกันส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ ดังนั้นจริยธรรมข้อหนึ่งซึ่งเป็นสากล สำหรับผู้ที่เป็นแพทย์ เป็นพยาบาล ก็คือพึงให้บริการโดยเคารพศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของมนุษย์ นี้เป็นความหมายของจริยธรรมซึ่งมาจากศัพท์บัญญัติ
สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น จะเน้นที่ความคิด การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดีเสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ตอบ : จากการใช้อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองที่เอื้อต่อการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง เช่นการรับสินบนหรือการมีผลประโยชน์ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ ทำให้มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นอยู่เสมอ การแสดงออกด้วยคำพูดไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายในที่ประชุมสภาฯซึ่งได้รับ เอกสิทธิ์อย่างเต็มที่ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน การกล่าวปราศรัยบนเวทีต่อหน้าชุมชน การใช้ตำแหน่ง อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม การแสดงกิริยาก้าวร้าว การไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของการเป็นตัวแทนประชาชน การฝ่าฝืนคุณธรรมและจริยธรรมแห่งความดีงามกลายเป็นเรื่องปกติเพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ไม่มีการสอบสวน ไม่มีการลงโทษ ท้ายที่สุดจึงเกิดวิกฤตทาง การเมือง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากการไร้คุณธรรมจริยธรรมของนักการเมือง
การควบคุม ส.ส. ส.ว.นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งถือเป็น “ข้าราชการการเมือง” ไม่ให้ทุจริตคอรัปชั่นนั้น แม้จะมีมาตรการการควบคุมทางการเมือง เช่นการยื่นกระทู้ถาม การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การควบคุมทางสังคมที่มีสื่อมวลชนเป็นสถาบันที่คอยทำหน้าที่รายงานข่าวสารและแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ และประชาชนคอยติดตามตรวจสอบ รวมทั้งการควบคุมทางกฎหมาย หรือแม้แต่การควบคุมโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ กระทั่งองค์กรอิสระหลายองค์กรยังถูกกล่าวหาว่าถูกผู้มีอำนาจทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง ครอบงำทั้งกระบวนการสรรหาและการคัดเลือกโดยวุฒิสภา
โดยสามารถสรุปความสำคัญที่นักการเมืองต้องยึดถือ และคุณธรรมจริยธรรมที่นักการเมืองพึงปฏิบัติ ได้ดังต่อไปนี้
1. หลักนิติธรรม
2. ความอดทนอดกลั้น ความใจกว้าง และความมีน้ำใจนักกีฬา
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom)
7.ความเสมอภาค
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี (means)
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง
รหัส62423471014
ข้อที่1 ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบจริยธรรมมาจากคำ 2 คำ คือ จริย + ธรรม จริย คือ ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายได้หลายอย่าง เช่น คุณความดี หลักคำสอนของศาสนา หลักปฏิบัติ เป็นต้น เมื่อนำคำสองคำนี้มารวมกันเป็น จริยธรรม จึงได้ความหมายตามมตัวอักษรว่า หลักแห่งความประพฤติ หรือ แนวทางของ การประพฤติ
ความหมายของจริยธรรมตามหลักปรัชญา สรุปได้ดังนี้
- จริยธรรม หมายถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตนเองและเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
- จริยธรรม หมายถึง หลักคำสอนว่าด้วยความประพฤติ เป็นหลักสำหรับให้บุลคลยึดถือในการปฏิบัติตน
สรุปได้ว่า จริยธรรมตามหลักปรัชญา คือแนวทางการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคมส่วนรวม อะไรควรประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมมไม่ใช่กฎหมาย เพราะจริยธรรมไม่มีบทลงโทษเหมือน จริยธรรม เป็นหลักธรรม ที่ควรประพฤติ เป็นแนวทางของการ ประพฤติปฏิบัติ ตนเป็นคนดี ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อบัญญัติให้บุคคลประพฤติตนเช่นนี้ อันถือว่าเป็นการกระทำที่ดีและการดำเนินชีวิตตามหลักจริยธรรมเป็นสิ่งที่สังคม ต้องการ สังคมจึงจัดให้มีการสั่งสอนอบรมเรื่องจริยธรรม แก่สมาชิกของสังคม คาดหวังคือการที่สมาชิกน้อมนำเอาจริยธรรมไปประพฤติในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะ ควบคุมความประพฤติในชีวิตทางกายวาจาใจให้ตั้งอยู่ในความดีความงามและความถูกต้อง
รหัส62423471014
ข้อที่2 ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ จริยธรรมหลักปรัชญาของตะวันออกต่างจากตะวันตก ในแง่ต่างๆดังนี้
1. ปรัชญาตะวันออกส่วนมากเป็นแนวคิดหรือคำสอนในศาสนาต่างๆ ดังนั้นปรัชญาตะวันออกจึงไม่ได้แยกขาดจากศาสนา แต่เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา ส่วน ปรัชญาตะวันตกต่างจากตะวันออก เพราะโดยทั่วไปปรัชญาตะวันตกถือว่าปรัชญาเป็นเอกเทศจากศาสนาคือไม่ใช่แนวคิดของศาสนา
2.ปรัชญาตะวันออกมีเป้าหมายกลักอยู่ที่ความดีงามและประโยชน์ของสังคม แนวคิดของปรัชญาตะวันออกจึงเกี่ยวโยงอยู่กับเรื่องของจริยธรรมและการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอุดมคติของชีวิต ส่วนปรัชญาตะวันตกแม้จะมีแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมในปรัชญาสาขาจริยศาสตร์ แต่ปรัชญาตะวันตกไม่ได้มีจุดมุ่งหมายด้านการปฏิบัติโดยตรงอย่างปรัชญาตะวันออก
3.ปรัชญาตะวันออกไม่ได้ใช้ตรรกวิทยาอย่างจริงจังเหมือนปรัชญาตะวันตก ปรัชยาตะวันออกมีการยึดถือบางสิ่งบางอย่างเป็นหลักอ้างอิงในการยืนยันความถูกต้องของคำสอน แต่ปรัชญาตะวันตกจะห้ามการอ้างอิงในทำนองนี้ โดยถือเป็นเหตุผลวิบัติ หรือการทิ้งเหตุผลชนิดหนึ่งที่เรียกว่า การอาศัยจารีตหรือความศรัทธา ทำให้การอ้างเหตุผลนั้นไม่น่าเชื่อถือ
4. ปรัชญาตะวันออกเป็นปรัชญาความรู้แท้จริงขั้นสูงสุดที่ไม่มีวันเป็นเท็จ เพราะมาจากการตรัสรู้หรือวิวรณ์ของพระเจ้า ต่างจากปรัชญาตะวันตกที่ถือว่าความรู้ทางปัญญาเน้นความรู้ที่ยังอาจเป็นเท็จได้ เพราะได้มาด้วยการคาดเดาความจริงตามหลักการใช้เหตุผล
5.ปรัชญาตะวันออกบางสำนักเริ่มต้นจากความสงสัย อยากรู้ ความจริง เพื่อหาความพ้นทุกข์ แต่ปรัชญาตะวันตก เริ่มต้นจากความสงสัยและความอยากรู้แต่ไม่ใช่เพื่อการพ้นทุกข์
รหัส62423471014
ข้อที่3 คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม
คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองที่ควรมี คือ
1.การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.การมีความอดทนอดกลั้น ความใจกว้าง และความมีน้ำใจ ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3.การเสียสละให้แก่ประชาชน นักการเมืองควรจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ ที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี หรือในระดับที่พอเลี้ยงตัวได้แล้ว จึงเสียสละอาชีพเดิม และความสุขส่วนตัวเพื่อมารับใช้ประชาชน
4.ใช้หลักนิติธรรมในการบริหารประเทศหลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของ
5.การให้ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด
•จริยธรรมของนักการเมืองต่อประชาชน
(1) นักการเมืองคือผู้เสียสละให้แก่ประชาชน นักการเมืองควรจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ ที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี จึงเสียสละอาชีพเดิม และความสุขส่วนตัวเพื่อมารับใช้ประชาชน
(2) นักการเมืองคือผู้แทนของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ การเป็นผู้แทน ของประชาชนจึงหมายถึงการนําความต้องการ ความมุ่งหวัง ความเดือดร้อนของประชาชนไปดําเนินการ แก้ไข และชี้นําประเทศชาติให้ไปสู่ความเจริญ จึงต้องทําหน้าที่เป็นผู้แทนที่ดี เป็นผู้รักษา ผลประโยชน์ของประชาชน
(3) นักการเมืองควรเคารพและเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่กระทําการใด ๆ อันเป็น เหตุให้ประชาธิปไตยเสื่อมลงจนประชาชนสิ้นศรัทธา
(4) นักการเมืองต้องบริการประชาชนในทางที่ถูกต้องเท่านั้น การช่วยเหลือโดยทํา ความเดือดร้อนและสร้างความไม่ยุติธรรมแก่บุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทํา
(5) นักการเมืองต้องช่วยกันสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชาติ ไม่สร้างความแตกแยก ด้วยการริเริ่มก่อให้เกิดความแตกแยก ยุยงส่งเสริม สร้างข่าวลือ หรือไม่ช่วยชี้แจงในเรื่องที่ถูกต้อง เพราะในบ้านเมืองใหญ่ ๆ แม้มีบุคคลที่มีความเชื่อทางการเมือง มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม แตกต่างกัน ถ้านักการเมืองไม่มีคุณธรรม ก็จะเกิดการยุยงให้ประชาชนขัดแย้งและต่อสู้กันได้
•จริยธรรมของนักการเมืองที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองควรจะมีมารยาทหรือจริยธรรมในการ ประพฤติต่อพรรคและสมาชิกร่วมพรรค พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ดังนี้
(1) ช่วยกันสร้างพรรคให้เป็นปึกแผ่น ลงรากฝังลึกลงในจิตใจประชาชน และสร้างฐาน ให้แก่พรรคตามท้องถิ่นต่าง ๆ การสร้างพรรคให้เป็นปึกแผ่นเท่ากับเป็นการขยายฐานมวลชนไปในตัว
(2) ช่วยกันเป็นสมาชิกที่ดีของพรรค ด้วยการเคารพกติกา ระเบียบข้อบังคับ และมติ ของพรรค ตลอดจนช่วยบริหารงานของพรรค ร่วมกิจกรรมของพรรค ไม่ใช่เป็นสมาชิกแต่ในนาม แต่ไม่ช่วย ทํางาน
(3) สร้างพรรคให้มีอุดมการณ์และนโยบายที่ชัดเจนและต่อสู้เพื่ออุดมการณ์นั้น ๆ อย่างมั่นคง ยั่งยืน ไม่เปลี่ยนพรรคบ่อย
(4) สร้างระบบการปกครองและการบริหารภายในพรรคให้เป็นระเบียบชัดเจน มีการ ลําดับอาวุโสในพรรคตามความรู้ความสามารถเฉพาะตัว และความนิยมของประชาชน มีการเลื่อนตําแหน่ง ภายในพรรคอย่างมีขั้นตอนและมีระบบ ไม่แก่งแย่งชิงตําแหน่งกัน
(5) สร้างศรัทธาให้แก่พรรคในสายตาประชาชน อาทิ การมีอุดมการณ์ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ปกป้องนักการเมืองทุจริต
62423471099
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
คำว่า จริยธรรม มาจากคำว่า 2 คำคือ จริย+ธรรม คำว่า จริย หมายถึงความประพฤติ หรือ กิริยา ที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายได้หลายอย่างเช่น คุณความดี หลักคำสอนของศาสนา หลัก ปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็นจริยธรรม จึง ได้ความหมายตัวอักษรว่าหลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางการของการประพฤติ
ความหมายของจริยธรรม ในทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ จากสำนักต่างๆ
-จริยธรรม หมายถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตน และเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
-จริยธรรม หมายถึง หลักคำสอนว่าด้วยตความประพฤติเป็นหลักสำหรับให้บุคคลยึดถือในการปฏิบัติตน
คำว่า จริยธรรม นี้ถ้านำเอาคำ ธรรม มาวางไว้ จริย ก็จะเป็นคำ ธรรมจริยหรือ ธรรมจริยา หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญเป็น อุดมมงคลแก่ชีวิต หรือมงคลสูงสุด3ประการ ได้แก่ ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต เลี้ยงดูมารดาบิดา มีความกตัญญูกตเวที รู้จักเคารพบุคคลที่มีคุณค่า มีความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน เหล่านี้เป็นต้น ล้วนเป็นจริยธรรม คือธรรมที่พึงประพฤติตนทั้งสิ้น
ดังนั้น จริยธรรม จึงหมายถึงหลักธรรม ที่ควรประพฤติ เป็นแนวทางของการ ประพฤติปฏิบัติ ตนเป็นคนดี ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อบัญญัติให้บุคคลประพฤติตนเช่นนี้ อันถือว่าเป็นการกระทำที่ดีและการดำเนินชีวิตตามหลักจริยธรรมเป็นสิ่งที่สังคม ต้องการ สังคมจึงจัดให้มีการสั่งสอนอบรมเรื่องจริยธรรม แก่สมาชิกของสังคม คาดหวังคือการที่สมาชิกน้อมนำเอาจริยธรรมไปประพฤติในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะ ควบคุมความประพฤติในชีวิตทางกายวาจาใจให้ตั้งอยู่ในความดีความงามและความถูกต้อง
62423471099
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก
1. ปรัชญาตะวันตก หมายถึงความรู้เรื่องหลักคือหลักเกี่ยวกับโลกและชีวิต ส่วนปรัชญาตะวันออก หมายถึงความรู้อันประเสริฐคือความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากโลกียะ
2. ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามหาทางทำลายความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้หลังจากหมดความสงสัยแล้ว
3. ปรัชญาตะวันตก เป็นการประติดประต่อความคิดของหลาย ๆ คนเข้าด้วยกัน โดยที่แต่ละคนก็คิดกันคนละฐาน ส่วนปรัชญาตะวันออก อาศัยความตรัสรู้ของคนใดคนหนึ่งเป็นฐานแล้วขยายต่อออกไปตามเหตุผล หรือความสามารถทางสติปัญญาของนักคิดหรือผู้อธิบายแต่ละคน
4. ปรัชญาตะวันตกเริ่มจากความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เริ่มต้นจากความหมดสงสัยหรือความรู้แจ้ง
5. ปรัชญาตะวันตก เป็นการพยายามแสวงหาคำตอบเพื่อแก้ความสงสัย ฐานของปรัชญาตะวันตกคือความสงสัย ส่วนปรัชญาตะวันออก เป็นการอธิบายหรือขยายความของความตรัสรู้ตามหลักเหตุผล ฐานของปรัชญาตะวันออก คือความตรัสรู้หรือความรู้อันสมบูรณ์แล้ว
6. ปรัชญาตะวันตก แสวงหาความรู้จากสิ่งภายนอกเพื่ออธิบายความจริงภายใน ส่วนปรัชญาตะวันออก แสวงหาความรู้จากสิ่งภายในเพื่ออธิบายความจริงภายนอก
7. ปรัชญาตะวันตก มุ่งศึกษาความจริงส่วนรวมเพื่อเอามาอธิบายความจริงส่วนย่อย ส่วนปรัชญาตะวันออก มุ่งแสวงหาความจริงส่วนย่อยเพื่ออธิบายความจริงส่วนรวม
8. ปรัชญาตะวันตก เริ่มต้นการศึกษาโดยอาศัยการสังเกตหรือประสบการณ์จากภายนอก แล้วจึงพยายามตีความตามหลักเหตุผล ส่วนปรัชญาตะวันออก เริ่มต้นการศึกษาด้วยการเพ่งพินิจภายในจนเห็นความจริง แล้วจึงอธิบายความจริงนั้นตามที่ตนเห็น
9. ปรัชญาตะวันตก แรงกระตุ้นที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการคิดค้นในทางปรัชญา คือความสงสัยใครจะรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือความเป็นไปขอธรรมชาติหรือสิ่งรอบ ๆ ตัวเอง ฉะนั้นปรัชญาตะวันตกจึงมีลักษณะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติเพื่อเข้าใจธรรมชาติ ส่วนปรัชญาตะวันออก แรงกระตุ้นสำคัญที่ก่อให้เกิดการคิดค้นทางปรัชญานั้นคือปัญหาของชีวิต หรือปัญหาของตัวเอง ฉะนั้นปรัชญาตะวันออกจึงมีลักษณะเป็นแนวทางแก้ปัญหาชีวิตหรือเป็นวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
10. ปรัชญาตะวันตก นักปรัชญาเป็นเพียงนักคิด ข้อสรุปของปรัชญาตะวันตกจึงเป็นผลของการคิด ส่วนปรัชญาตะวันออก นักปรัชญาเป็นนักปฏิบัติ ข้อสรุปของปรัชญาตะวันออกจึงเป็นผลของการปฏิบัติด้วยตนเอง
11. ปรัชญาตะวันตก จุดหมายปลายทางของนักปรัชญา คือความรู้หรือการรู้ความจริงเกี่ยวกับโลกหรือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาตะวันออก จุดหมายปลายทางของปรัชญาคือการเข้าถึงความจริงหรือหลุดพ้นจากสิ่งที่ไม่จริงคือโลก
12. คำนิยามของปรัชญาตะวันตกคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยใคร่จะรู้ คำนิยามของปรัชญาตะวันออกคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันมีความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน
62423471099
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ความหมายการเมืองการปกครอง
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
ในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ”
ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่จริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ เช่น ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีจริยธรรมทางการเมืองไปในทางการเคารพสิทธิหน้าที่ของมนุษย์ การยอมรับนับถือเสียงส่วนมาก การยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นและการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการ จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นไปในทางยอมรับนับถือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ฉะนั้นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จึงคอยรับคำสั่งและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิ จารณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาแต่ประการใด
การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมจะใช้เฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมจะบรรลุเป้าหมายได้ยาก เหมือนกับการใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปเพียงอย่างเดียวย่อมจะได้ผลไม่มากนัก ดังนั้นจะต้องใช้หลักศีลธรรม จริยธรรมทางศาสนาเข้าไปควบคุมด้วย จึงจะมีผลมากยิ่งขึ้น พฤติกรรมทางการเมืองแห่งสมาชิกในสังคมก็ต้องอาศัยจริยธรรมทางการเมืองเข้าช่วยเช่นกัน หรืออย่างแนวความคิดของบุคคลบางกลุ่มบางพวกเกี่ยวกับรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในทำนองไม่เชื่อในความสุจริต ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติมากนัก เพราะคิดว่า ผู้ที่เข้ามามีบทบาท มีอำนาจทางการเมืองหรือเป็นรัฐบาลในชุดนี้ได้มาด้วยการทุ่มเทเงินทองอย่างมหาศาล เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลเช่นนี้อาจจะมีโอกาสกอบโกยเอาผลประโยชน์ในทางที่ไม่สุจริต
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่ประชาชนพลเมืองนับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จึงทำให้ผู้ปกครองและประชาชนของชาติได้นำเอาหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองประเทศและดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เช่น
1.หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเรียกว่า“ทศพิธราชธรรม” คือ
1.1 ทาน การให้ คือ การเสียสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือ ประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
1.2 ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวจกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิติคุณ ได้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์มิให้มีข้อที่ควรจะดูแคลน
1.3 บริจาค การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
1.4 อาชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มายา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน
1.5 มัทวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาบ กระด้าง ถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนิ่มนวลละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง
1.6 ตบะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครองงำ ย่ำยีจิตระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำจิตให้สมบูรณ์
1.7 อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและควรทำต่าง ๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความขุ่นเคือง
1.8 อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษี ขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา
1.9 ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย เหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อไม่ถ้อย
1.10 อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรมคงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหวเพราะถ้อยคำ
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
1.ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
5.ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
6.ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
7.การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
8. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
9. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10.ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
11.ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียงพระราชวรมุนี ได้กล่าวถึงจริยธรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ การคลองชีวิตการใช้ชีวิตการเคลื่อนไหวของชีวิตทุกด้านทุกระดับ ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ การปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิ บำเพ็ญสมถะ เจริญวิปัสสน
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ จริยธรรมตามแนวคิดตะวันออก
ในการศึกษาปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันนออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื้อ ปรัชญาโม่จื้อ แนวคิดของเม้งจื๊อ แนวคิดของซุนจื๊อ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ปรัชญาเต๋า ถือเป็นกระบวนความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ๒ แนวทาง คือ ลัทธิธรรมของขงจื้อ และปรัชญาเต๋าของเหลาจื๊อ ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญที่หล่อหลอมอารายธรรมจีนให้มีลักษณะเด่นชัดและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
เหลาจื๊อเห็นว่า กฎธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล คือ เต๋า ซึ่งแปลว่า ทางหรือสัจธรรม และสำหรับสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่น ๆ จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัว เรียกว่า “เต๋อ” ซึ่งแปลว่าพลังอำนาจ (Power);หรือคุณธรรม (Virtue) หลักจริยธรรมของเหลาจื๊อ จำแนกได้ ๔ ประการ คือ การรู้จักตนเอง การชนะตนเอง ความสันโดษ และอุดมคติแห่งเต๋า
ขณะที่ขงจื๊อเห็นว่า ปรัชญาการเมืองมีรากฐานมาจากคุณธรรม ความกตัญญู ความเมตตา คุณงามความดี ความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา การสนับสนุนและความไว้วางใจจากประชาชน โดยสั่งสอนให้คนปลูกฝังตนเองก่อน ดูแลจัดการเรื่องในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงจะปกครองประเทศให้มีสันติสุขได้ ดังนั้น คำสอนของขงจื๊อจึงถือว่าคุณธรรมกับการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน
ปรัชญาโม่จื้อ ถือว่าคุณธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอำนาจรัฐเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนปฏิบัติตามหลัก ความรักสากล (Universal love) ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองของรัฐ คือ การดูแลความประพฤติของประชาชน คอยให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติตามหลัก “ความรักสากล” และคอยลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม
แนวคิดของเม่งจื๊อ แนวคิดทางด้านจริยธรรมทางการเมืองของเม่งจื๊อ
ได้แก่
๑) การเริ่มต้นจากการมองว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ดีมาแต่กำเนิด มีความรู้สึกที่ดี ๔ ประการ คือ ความเห็นอกเห็นใจ ความละอายในสิ่งที่ผิดและความภาคภูมิใจในสิ่งที่ถูก ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษยธรรม ความรู้สึกละอายในสิ่งที่ผิดและภาคภูมิใจในสิ่งที่ถูกเป็นจุดเริ่มต้นของความชอบธรรม ความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นจุดเริ่มต้นของความประพฤติอันเหมาะสม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นจุดเริ่มต้นของสติปัญญา
๒) มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง และมนุษย์จะสามารถพัฒนาตัวเองได้เต็มที่ เมื่ออาศัยอยู่หรือดำรงอยู่ในรัฐหรือในสังคมเท่านั้น ขณะที่รัฐเป็นสถาบันทางศีลธรรม และผู้ปกครองของรัฐเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรม
๓) สิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล คือ ความถูกต้องชอบธรรมและศีลธรรมอันยิ่งใหญ่
แนวคิดของซุนจื๊อ ถือว่า ธรรมชาติของมนุษย์เลวมาแต่กำเนิด ความดีเกิดจากการฝึกฝนอบรม
จริยธรรมตามแนวคิดตะวันตก
วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด คือ ความยุติธรรม ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมือง คือ คุณธรรม และรัฐที่ดีที่สุด คือ รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือรัฐผสม (Mixed Regime) โสเกรตีส เชื่อว่า เมื่อราชากลายเป็นปรัชญาเมธี หรือเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นราชาเท่านั้น รัฐที่ดีที่สุดจึงจะเกิดขึ้นได้
เพลโต มีแนวความคิดหลักด้านจริธรรมว่า ผู้ปกครองหมายถึงนักปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ทรงคุณธรรมควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้ คือคุณธรรม จึงจำเป็นต้องแสวงหาและฝึกฝนอบรมคนที่รู้ได้ดีที่สุด เพื่อเสริมสร้างผู้ปกครองที่เป็นธรรม เพลโตแบ่งประเภทของคุณธรรมออกเป็น ๔ ประเภท คือ ปรีชาญาณ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลมุ่งที่จริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา อันหมายถึง กฎหมาย ซึ่งแจกแจงออกเป็นแบบแผนทางสังคม และระบอบการปกครอง รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ราษฎรจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” คุณธรรมหลักตามแนวคิดของอริสโตเติล มี ๔ ประการ คือ ความรอบคอบ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
จากแนวคิดปรัชญาตะวันตกที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญอันนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดจริยธรรมตะวันตกในช่วงต่อมาอย่างมาก โดยสามารถจำแนกวิวัฒนาการของแนวคิดทางปรัชญาทางด้านจริยธรรมตะวันตกได้เป็น ๔ ยุค คือ
1. Ancient Greek Philosophy : ปรัชญากรีกโบราณ
2. Medieval Philosophy : ปรัชญาสมัยกลาง หรือยุคบุพกาล (๑-๑๕ A.D. / ระหว่างคริสตศตวรรษที่ ๑-๑๕)
3. Modern Philosophy: ปรัชญาสมัยใหม่ (ศตวรรษที่ ๑๖-๑๘)
4. Contemporary Philosophy: ปรัชญาร่วมสมัย หรือปรัชญาสมัยปัจจุบัน (ศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)
ชื่อนางสาววรรษมล สังวรินทะ รหัสนักศึกษา62423471075 รุ่นที่ 44
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ คุณธรรมทางการเมืองมี5ประการคือ
1. ปัญหา (Wisdom) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกบั ความดี เช่น คนเราเกิดมาต้องรู้ว่าพ่อแม่ที่ดีเป็นอย่างไร,การเป็นลูกที่ดีเป็นอย่างไร,การเป็นครูและนักเรียนที่ดีเป็นอย่างไรและการเป็นนักปกครองที่ดีหากคนเรารู้เกี่ยวกับความดีและกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความดีเขาเชื่อว่าสังคมจะสันติสุข
2. ความกล้าหาญ(Courage) เป็นความกล้าหาญในการรักษาความถูกตอ้ งและความดีงามของสังคมผู้ปกครองต้องกล้ายืนหยัดในความถูกต้องไม่ใช่เข้าข้างยอมจำนนต่อคนชั่วดังนั้นในการรักษาความถูกต้อง ต่อสุ้กับความชั่ว บางครั้งต้องเสี่ยงถึงชีวิต แต่โสเครติสบอกว่าถึงเสี่ยงก็จำ เป็นต้องสู้ ต้องยืนหยัด เพื่อให้คนทุก คนในสังคมพร้อมที่จะต่อสู้ด้วยกันมิฉะนั้น คนชั่วจะครองเมือง
การเผยแพร่คุณธรรมในลักษณะนี้ซึ่งเป็นการตอบโต้คนชั่วจนถูกสมาชิกสภานครรัฐเอเธนส์บางส่วนกล่าวหาว่าโสเครติสพยายามเผยแพร่คำสอนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าแล้วนำเข้า ไปไต่สวนและถูกตัดสินให้กินยาพิษตายหลายคนบอกให้หนีแต่เขาก็ไม่หนีเพราะต้องการแสดงให้เห็นถึงความกล้าหายมิใช่เป็นคนขี้ขลาด เสียชื่อต่อวงศ์ตระกูล แต่ในสังคมไทยมีการปลูกฝังให้ คนเรารู้จักเอาตัวรอดดังคำสุภาษิตไทย เช่น รู้รักษัวรอดเป็นยอดดี, อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน, ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด คนไทยขาดยืนหยัดในการต่อสู้ต่อสิ่งชั่วสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะเกรงกลัวต่อสิ่งเหลั้นว่าจะส่งผลไม่ดีมาถึงตนเอง
3.การควบคุมคนเอง (Temperance) คือการควบคุมตนเองไม่ให้ตกเป็นทาสของความโกรธ ความโลภ ความหลง นักปราชญ์เชื่อว่าทุกคนเกิดมาจะมีสิ่งเหล่านี้ติดตัวมาแต่ทุกคนมึความแตกต่างกันในเรื่องของการควบคุมตนเองและการยับยั้งชั่งใจ หากยับยั้งชั่งใจได้มากก็แสดงว่ามีคุณธรรมสูง
4.ความยตุิธรรม(Justice)คือธรรมที่ยงิ่ใหญ่ในการปกครองหากผู้นำมีความยตุิธรรมก็จะมีแต่คนดีอยู่ใกล้ๆผุ้นำก็จะไม่เดือดร้อยมีคนคอยเกื้อหนุนช่วยเหลือ
5.การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา(Piety)คือการกระทำความดีและการยกย่องคนดีดังนั้นผู้นำก็ควรทำดีเพื่อเป็นแบบอย่างให้ประชาชนเอาอย่าง และต้องรู้จักยกย่องความดีด้วยเพื่อให้คนที่ทำดีมีกำลังใจในการกระทำความดีต่อไปเพื่อสังคม
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ”
ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่จริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ เช่น ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีจริยธรรมทางการเมืองไปในทางการเคารพสิทธิหน้าที่ของมนุษย์ การยอมรับนับถือเสียงส่วนมาก การยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นและการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการ จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นไปในทางยอมรับนับถือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ฉะนั้นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จึงคอยรับคำสั่งและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิ จารณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาแต่ประการใด
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
คำว่า Ethics มาจากภาษากรีกว่า Ethikosแปลว่า ประเพณี หรือขนบธรรมเนียม คำนี้อริสโตเติ้ล
เป็นผู้นำมาใช้ครั้งแรก หมายถึงลักษณะนิสัยและอารมณ์ ต่อมา ซิเซโร (Cicero) ได้นำคำ Moralis มาใช้
แทนคำนี้เป็นภาษาลาตินและมีความหมายเช่นเดียวกับคำ Ethikos ของอริสโตเติ้ล คำทั้งสองนั้นมีความ
สัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันในทางปฏิบัติมีผู้เข้าใจกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วว่า
พฤติกรรมทางจริยศาสตร์คือ การกระทำความดีและความ ถูกต้อง การวิเคราะห์ทางจริยศาสตร์ มักใช้คำทั้งสองนี้เป็นหลัก
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ปรัชญาทางการเมืองตะวันออก ปรัชญาเป็นความพยายามแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและสิ่ง
ทั้งปวงที่เกี่ยวกับโลกและมนุษย์โดยใช้เหตุผลหรือการคิดอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ
โลกทัศน์หรือทฤษฎีทางปรัชญาที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ แม้จะยังเป็นความรู้ที่อาจจะเป็นเท็จ
ได้ก็ตามที ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอะไร เพราะแม้แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วไปยอมรับก็ยัง
ถูกหักล้างอยู่เรื่อยๆ อย่างน้อยปรัชญาก็ให้ค าตอบหรือค าอธิบายบางอย่างที่ช่วยแก้ความสงสัยของมนุษย์ไป
ได้บ้าง และท าให้มนุษย์มีวิจารณญาณที่รอบคอบในการยอมรับความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ไม่ถูก
หลอกหรือหลงงมงายจนเกิดความเสียหายตามมา
ปรัชญาทางการเมืองตะวันตก ปรัชญาและแนวคิดปรัชญาการเมืองยุคโบราณ เป็นความพยายามที่จะทดแทน
ความเห็นในเรื่องธรรมชาติของการเมือง ด้วยความรู้ในเรื่องธรรมชาติของสิ่งที่เป็น
การเมือง ทั้งยังเป็นความพยายามที่จะรู้ทั้งธรรมชาติของสิ่งที่เป็นการเมืองและระเบียบทาง
การเมืองที่ถูก ที่ดี พร้อมกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะเป็นการเน้นรูปแบบ
การเมืองในลักษณะของอุดมคติ อุดมการณ์ แนวคิด การศึกษาวิเคราะห์ โดยยึดหลักจริยธรรม
และคุณธรรมของผู้ปกครองว่า ที่ดีที่สุดหรือที่เลวที่สุดเป็นอย่างไร รูปแบบการปกครองที่พึง
ประสงค์และไม่พึงประสงค์เป็นอย่างไร โดยเกิดจากการศึกษา ค้นคิดขึ้นมาเองของนักปราชญ์
เป็นส่วนมาก โดยไม่ได้มีการศึกษาทดสอบ วิเคราะห์ในเชิงวิทยาการที่เป็นที่ยอมรับได้ใน
หลักการว่า ถูกต้องเที่ยงตรง เพียงแต่อาศัยความมีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือของเจ้าของแนวความคิดเท่านั้น
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน
2.ความอดทนอดกลั้นความใจกว้าง และความมีน้ำใจนักกีฬาทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมายความชอบธรรมทางการเมือง ความถูกต้องเหมาะสม ความน่าเชื่อถือทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใสการมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้และผลลัพธ์
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
6.สิทธิเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
7.ความเสมอภาคซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมายความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียงการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลอันใดก็ตามจึงถือว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตยซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาที่เสมอภาค ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่งในตัวเอง การมองว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเฉพาะกรรมวิธี จึงไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า คือ ผลประโยชน์จะตกต่อสังคมก็ตาม เพราะถ้าทำลายกระบวนของความถูกต้อง แม้จะส่งผลในทางบวกต่อสังคม แต่ถ้ามีผลกระทบในทางลบต่อระบบก็จะเป็นการทำลายเป้าหมายอันสูงส่งของระบบประชาธิปไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยจึงเป็นทั้งกรรมวิธี และเป้าหมาย ในตัวเอง ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนโดยส่วนรวม การกระทำอันใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การนั้นย่อมไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นการประกอบภารกิจอันศักสิทธิ์ หรือหน้าที่อันสูงส่งเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติ
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องกระทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดต่อประชาชน ชาติ และบ้านเมือง เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะงานการเมืองเป็นงานอาสาสมัครที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ ต้องเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติอันได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมือง การมีจริยธรรมทางการเมืองการมีความรู้ทางการเมืองการมีประสาทสัมผัสทางการเมือง และการเข้าใจอารมณ์ทางการเมือง ของประชาชนอย่างถูกต้อง
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญา มีอะไรบ้าง
ตอบ.จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างกันในแง่ใด
ตอบ.จริยธรรมตะวันตก
นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงและกล่าวถึงกันมากคือ โสเกรตีส (Socrates) เพลโต (Plato) และ อริสโตเติล (Aristotle) ตามลำดับ ซึ่งเน้นความรู้ ความคิดว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด และมีความยุติธรรมต่อตนเองและผู้อื่น แตกต่างจากยุคสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่สิทธิเสรีภาพ การคิดอย่างเป็นระบบ และมีทฤษฎีรองรับ
จริยธรรมตะวันออก
ปรัชญาจริยธรรมตะวันออกเกิดจากความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา ที่ศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก แต่อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาค ปรัชญาตะวันออกได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื๊อ
จริยธรรมของสังคมจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ของโลก สังคมได้มองเห็นคุณค่าของจริยธรรม เพราะจริยธรรมทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายมาบังคับใช้ หลักปฏิบัติจริยธรรมตะวันตก เน้นไปที่ความรู้ ความคิด ความกล้าหาญ การควบคุมตนเอง ความยุติธรรมต่อผู้อื่น และในยุคหลังจะ
ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาอธิบายทฤษฎีของตน สำหรับหลักปฏิบัติจริยธรรมตะวันออก จะเน้นที่การประพฤติ ปฏิบัติต่อตนเอง ครอบครัว และคนในสังคม ด้วยคุณธรรม ความดี ในหลายประเทศได้ใช้หลักธรรม
คำสอนของศาสนา มาเป็นหลักจริยธรรมของสังคม แต่ละศาสนาก็มีหลักคำสอนแตกต่างกันไป มนุษย์มีอิสระในการประกอบอาชีพ แต่ละอาชีพมีจริยธรรมที่แตกต่างกันไป
3.คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ.จริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐปัญหาการทุจริตและการประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยตระหนักถึงความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหานี้โดยมีความพยายามในการปฏิรูประบบราชการ และพัฒนาบุคลากรของภาครัฐให้มีความรู้ความสามารถควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม
และจริยธรรม ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการจัดทําประมวลจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งมีการกําหนดการลงโทษตามความร้ายแรงของการกระทําเพื่อให้นักการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความประพฤติที่ดีมีสํานึกในหน้าที่สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมและให้คําแนะนําในการจัดทําประมวลจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองข้าราชการ และเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ได้กําหนดมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ ซึ่งทุกหน่วยงาน
ของรัฐจะต้องกําหนดไว้ในประมวลจริยธรรมของแต่ละหน่วยงาน
1) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
2) การมีจิตสํานึกที่ดีซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบ
3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
4) การยืนหยัดทําในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
5) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วนถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
7) การมุ่งผลสัมฤทธของงานรักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้
8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
นอกจากนี้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถยึดหลักทศพิธราชธรรมเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจําวันและในการปฏิบัติงานเพื่อประเทศชาติได้ด้วย คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าทศพิธราชธรรมเป็นธรรมะของพระราชาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงคําว่าทศพิธราชธรรมนั้นนอกจากจะหมายถึงธรรมะสําหรับพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังหมายรวมถึงคุณสมบัติของนักปกครองหรือผู้บังคับบัญชาที่ดีอีกด้วย
ตอบ คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
1.ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
5.ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
6.ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
7.การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
8. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
9. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10.ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
11.ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียงพระราชวรมุนี ได้กล่าวถึงจริยธรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ การคลองชีวิตการใช้ชีวิตการเคลื่อนไหวของชีวิตทุกด้านทุกระดับ ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ การปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิ บำเพ็ญสมถะ เจริญวิปัสสน
ตอบ สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.เป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการและเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
3.ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
4.เคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
5.รักษาความลับของราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
6.พึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุขและรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
7.ไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
8.รักษาทรัพย์สินของราชการและใช้ทรัพย์สินของราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นๆ เท่านั้น
9.แสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เป็นต้น
รหัส 62423471006
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง ตอบ จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้ จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูก ต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย นักปรัชญาเช่นคานต์ (Kant) เชื่อว่า มนุษย์มีกฎจริยธรรมเกิดขึ้นในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด แนวศีลธรรม ให้ยึดถือปฏิบัติการบำเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตามหลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามที่ได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบำเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึงเป้าหมายของความเชื่อสูงสุดที่ยึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสุคติหรือหนทางดีงาม หลักจริยธรรมที่ขยายขอบเขตจากจุดเล็กสุดคือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็นขั้นตอน
รหัส 62423471006
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรมทางการเมือง เป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรมในการวัดความดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ควรทำ-ไม่ควรทำในแต่ละสถานการณ์ของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มากหรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลาสถานที่บุคคลและถูกกาลเทศะ
คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
คำว่า จริยธรรม มาจากคำว่า 2 คำคือ จริย+ธรรม คำว่า จริย หมายถึงความประพฤติ หรือ กิริยา ที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายได้หลายอย่างเช่น คุณความดี หลักคำสอนของศาสนา หลัก ปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็นจริยธรรม จึง ได้ความหมายตัวอักษรว่าหลักแห่งความประพฤติหรือแนวทางการของการประพฤติ
ความหมายของจริยธรรม ในทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ จากสำนักต่างๆ
-จริยธรรม หมายถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตน และเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ ปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของตะวันตกที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาตะวันตกทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด
3.คุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
1. หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรม (due process of law) จะต้องเป็นไปตามครรลอง หลักนิติธรรม (the rule of law) จึงต่างจาก the rule by law ซึ่งหมายถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และบ่อยครั้งก็กลายเป็นการบริหารงานโดยตัวบุคคล (the rule by men) มากกว่าหลักการ
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้ (output) และผลลัพธ์ (outcome)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
May 7, 2021 at 5:50 AM
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ ความหมายของ จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดี งามทางสังคมมนุษย์จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว
2.ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ ปรัชญาตะวันออกนั้น ปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
3.คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ”
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้ จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูก ต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย นักปรัชญาเช่นคานต์ (Kant) เชื่อว่า มนุษย์มีกฎจริยธรรมเกิดขึ้นในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอาแนวทางที่ดีมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเกิดจากการเรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ที่ได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดชั่วดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด แนวศีลธรรม ให้ยึดถือปฏิบัติการบำเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมีความสัมพันธ์เป็นมิตรไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธิหน้าที่ทำให้เกิดความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตามหลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลที่ครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนาว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามที่ได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบำเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึงเป้าหมายของความเชื่อสูงสุดที่ยึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสุคติหรือหนทางดีงาม หลักจริยธรรมที่ขยายขอบเขตจากจุดเล็กสุดคือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
3 . คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
ตอบ จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม
คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองที่ควรมี คือ
1.การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.การมีความอดทนอดกลั้น ความใจกว้าง และความมีน้ำใจ ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3.การเสียสละให้แก่ประชาชน นักการเมืองควรจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ ที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี หรือในระดับที่พอเลี้ยงตัวได้แล้ว จึงเสียสละอาชีพเดิม และความสุขส่วนตัวเพื่อมารับใช้ประชาชน
4.ใช้หลักนิติธรรมในการบริหารประเทศหลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของ
5.การให้ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด
•จริยธรรมของนักการเมืองต่อประชาชน
(1) นักการเมืองคือผู้เสียสละให้แก่ประชาชน นักการเมืองควรจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ ที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี จึงเสียสละอาชีพเดิม และความสุขส่วนตัวเพื่อมารับใช้ประชาชน
(2) นักการเมืองคือผู้แทนของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ การเป็นผู้แทน ของประชาชนจึงหมายถึงการนําความต้องการ ความมุ่งหวัง ความเดือดร้อนของประชาชนไปดําเนินการ แก้ไข และชี้นําประเทศชาติให้ไปสู่ความเจริญ จึงต้องทําหน้าที่เป็นผู้แทนที่ดี เป็นผู้รักษา ผลประโยชน์ของประชาชน
(3) นักการเมืองควรเคารพและเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่กระทําการใด ๆ อันเป็น เหตุให้ประชาธิปไตยเสื่อมลงจนประชาชนสิ้นศรัทธา
(4) นักการเมืองต้องบริการประชาชนในทางที่ถูกต้องเท่านั้น การช่วยเหลือโดยทํา ความเดือดร้อนและสร้างความไม่ยุติธรรมแก่บุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทํา
(5) นักการเมืองต้องช่วยกันสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชาติ ไม่สร้างความแตกแยก ด้วยการริเริ่มก่อให้เกิดความแตกแยก ยุยงส่งเสริม สร้างข่าวลือ หรือไม่ช่วยชี้แจงในเรื่องที่ถูกต้อง เพราะในบ้านเมืองใหญ่ ๆ แม้มีบุคคลที่มีความเชื่อทางการเมือง มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม แตกต่างกัน ถ้านักการเมืองไม่มีคุณธรรม ก็จะเกิดการยุยงให้ประชาชนขัดแย้งและต่อสู้กันได้
•จริยธรรมของนักการเมืองที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองควรจะมีมารยาทหรือจริยธรรมในการ ประพฤติต่อพรรคและสมาชิกร่วมพรรค พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ดังนี้
(1) ช่วยกันสร้างพรรคให้เป็นปึกแผ่น ลงรากฝังลึกลงในจิตใจประชาชน และสร้างฐาน ให้แก่พรรคตามท้องถิ่นต่าง ๆ การสร้างพรรคให้เป็นปึกแผ่นเท่ากับเป็นการขยายฐานมวลชนไปในตัว
(2) ช่วยกันเป็นสมาชิกที่ดีของพรรค ด้วยการเคารพกติกา ระเบียบข้อบังคับ และมติ ของพรรค ตลอดจนช่วยบริหารงานของพรรค ร่วมกิจกรรมของพรรค ไม่ใช่เป็นสมาชิกแต่ในนาม แต่ไม่ช่วย ทํางาน
(3) สร้างพรรคให้มีอุดมการณ์และนโยบายที่ชัดเจนและต่อสู้เพื่ออุดมการณ์นั้น ๆ อย่างมั่นคง ยั่งยืน ไม่เปลี่ยนพรรคบ่อย
(4) สร้างระบบการปกครองและการบริหารภายในพรรคให้เป็นระเบียบชัดเจน มีการ ลําดับอาวุโสในพรรคตามความรู้ความสามารถเฉพาะตัว และความนิยมของประชาชน มีการเลื่อนตําแหน่ง ภายในพรรคอย่างมีขั้นตอนและมีระบบ ไม่แก่งแย่งชิงตําแหน่งกัน
(5) สร้างศรัทธาให้แก่พรรคในสายตาประชาชน อาทิ การมีอุดมการณ์ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ปกป้องนักการเมืองทุจริต
63423471130
๑.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
จริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางครั้งก็มีการนำมาใช้แทนกัน ซึ่งให้ความหมายทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจความหมายและขอบข่ายของจริยธรรมกับศัพท์เกี่ยวข้องในหลายมุมมอง ทำให้ทราบถึงทรรศนะมุมมองของผู้รู้ต่าง ๆ ที่พยายามศึกษาแนวคิดจริยธรรมในด้านที่แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าจริยธรรม ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้ จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ธรรมะหมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย สิ่งของทั้งหลาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จากความหมายดังกล่าวหากมีการจัดระดับจริยธรรม สาโรช บัวศรี ได้ให้ความเห็นว่า จริยธรรมมีหลายระดับ ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับกว้าง ๆ ได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับของผู้ครองเรือน คือ โลกีย์ธรรม กับ ระดับของผู้ที่สละบ้านเรือนแล้ว คือ โลกุตตรธรรม
จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
ค่านิยม หมายถึง ความโน้มเอียง หรือแนวทางที่คนจะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือและปฏิบัติตามแนวคิดนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ค่านิยมมีความหมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับความดีงามในความประพฤติ โดยผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากความประพฤตินั้น ๆ ถ้าหากเป็นเพียงเจตคติ (Attitude) ความเชื่อ (Belief) ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นค่านิยมจนกว่าจะได้พิจารณาถึงผลที่จะตามมาจากความประพฤติหรือการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบและมีการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
๑. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
๒. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
๓. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
๔. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
๕. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
๖. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
๗. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
๘. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
๙. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
๑๐. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๑๑. วามยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
63423471130
๒. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
จริยธรรมตามแนวคิดตะวันออก
ในการศึกษาปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันนออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื้อ ปรัชญาโม่จื้อ แนวคิดของเม้งจื๊อ แนวคิดของซุนจื๊อ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ปรัชญาเต๋า ถือเป็นกระบวนความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ๒ แนวทาง คือ ลัทธิธรรมของขงจื้อ และปรัชญาเต๋าของเหลาจื๊อ ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญที่หล่อหลอมอารายธรรมจีนให้มีลักษณะเด่นชัดและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
เหลาจื๊อเห็นว่า กฎธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล คือ เต๋า ซึ่งแปลว่า ทางหรือสัจธรรม และสำหรับสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่น ๆ จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัว เรียกว่า “เต๋อ” ซึ่งแปลว่าพลังอำนาจ (Power);หรือคุณธรรม (Virtue) หลักจริยธรรมของเหลาจื๊อ จำแนกได้ ๔ ประการ คือ การรู้จักตนเอง การชนะตนเอง ความสันโดษ และอุดมคติแห่งเต๋า
ขณะที่ขงจื๊อเห็นว่า ปรัชญาการเมืองมีรากฐานมาจากคุณธรรม ความกตัญญู ความเมตตา คุณงามความดี ความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา การสนับสนุนและความไว้วางใจจากประชาชน โดยสั่งสอนให้คนปลูกฝังตนเองก่อน ดูแลจัดการเรื่องในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงจะปกครองประเทศให้มีสันติสุขได้ ดังนั้น คำสอนของขงจื๊อจึงถือว่าคุณธรรมกับการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน
ปรัชญาโม่จื้อ ถือว่าคุณธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอำนาจรัฐเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนปฏิบัติตามหลัก ความรักสากล (Universal love) ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองของรัฐ คือ การดูแลความประพฤติของประชาชน คอยให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติตามหลัก “ความรักสากล” และคอยลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม
แนวคิดของเม่งจื๊อ แนวคิดทางด้านจริยธรรมทางการเมืองของเม่งจื๊อ ได้แก่
๑) การเริ่มต้นจากการมองว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ดีมาแต่กำเนิด มีความรู้สึกที่ดี ๔ ประการ คือ ความเห็นอกเห็นใจ ความละอายในสิ่งที่ผิดและความภาคภูมิใจในสิ่งที่ถูก ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษยธรรม ความรู้สึกละอายในสิ่งที่ผิดและภาคภูมิใจในสิ่งที่ถูกเป็นจุดเริ่มต้นของความชอบธรรม ความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นจุดเริ่มต้นของความประพฤติอันเหมาะสม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นจุดเริ่มต้นของสติปัญญา
๒) มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง และมนุษย์จะสามารถพัฒนาตัวเองได้เต็มที่ เมื่ออาศัยอยู่หรือดำรงอยู่ในรัฐหรือในสังคมเท่านั้น ขณะที่รัฐเป็นสถาบันทางศีลธรรม และผู้ปกครองของรัฐเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรม
๓) สิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล คือ ความถูกต้องชอบธรรมและศีลธรรมอันยิ่งใหญ่
แนวคิดของซุนจื๊อ ถือว่า ธรรมชาติของมนุษย์เลวมาแต่กำเนิด ความดีเกิดจากการฝึกฝนอบรม ความดีหรือคุณธรรมมีมาจากการที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม โดยร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อที่จะเอาชนะสัตว์อื่น การที่มนุษย์สามารถแยกความสัมพันธ์ในสังคม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก สามีกับภรรยา พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง และสามารถปฏิบัติต่อกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคม ความดีจึงเกิดขึ้น ในขณะที่สัตว์ไม่สามารถแยกแยะเรื่องเหล่านี้ได้
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ”
ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง
การควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมจะใช้เฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมจะบรรลุเป้าหมายได้ยาก เหมือนกับการใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปเพียงอย่างเดียวย่อมจะได้ผลไม่มากนัก ดังนั้นจะต้องใช้หลักศีลธรรม จริยธรรมทางศาสนาเข้าไปควบคุมด้วย
1.หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเรียกว่า“ทศพิธราชธรรม” คือ
1.1 ทาน การให้ คือ การเสียสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือ ประชาราษฎร์และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
1.2 ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวจกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิติคุณ ได้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์มิให้มีข้อที่ควรจะดูแคลน
1.3 บริจาค การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
1.4 อาชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มายา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน
1.5 มัทวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาบ กระด้าง ถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนิ่มนวลละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง
1.6 ตบะ ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครองงำ ย่ำยีจิตระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญ และความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำจิตให้สมบูรณ์
1.7 อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและควรทำต่าง ๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความขุ่นเคือง วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบ เป็นตัวของตน
1.8 อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษี ขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง
1.9 ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกาย เหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยคำเสียดสีถากถางอย่างไรก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณียกิจที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม
1.10 อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรมคงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิษฐารมณ์ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือความเที่ยงธรรมก็ดี นิติธรรมคือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง คลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามก็ดี ไม่ประพฤติเคลื่อนคลาดวิบัติไป
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง ตอบ จริยธรรม (Ethics) คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"(พระเมธีธรรมาภรณ์, 2534:74)
จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรมตามหลักในศาสนาพุทธ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามว่า จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นข้อ ประพฤติ ปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
วิทย์ วิศทเวทย์ และ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ให้คำนิยามว่า จริยธรรม หมายถึง หลักคำสอน ว่าด้วย ความประพฤติเป็นหลักสำหรับให้บุคคลยึดถือในการปฏิบัติตน (วิทย์ วิศทเวทย์ และเสฐียรพงษ์ วรรณปก, 2530:2)
ประภาศรี สีหอำไพ (2535:24) ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม หมายถึงหลัก ความประพฤติที่อบรมกิริยาและปลูกฝังลักษณะนิสัยให้อยู่ในครรลองของคุณธรรมหรือศีลธรรม คุณค่า ทางจริยธรรมชี้ให้ เห็นความเจริญงอกงามในการดำรงชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมของ บุคคลที่มีลักษณะทางจิตใจ ที่ดีงามอยู่ในสภาพแวดล้อมที่โน้มนำให้บุคคลมุ่งกระทำความดี ละเว้น ความชั่ว มีแนวทางความประพฤติอยู่ในเรื่องของความดี ความถูกต้อง ควรในการประพฤติตนเพื่อ อยู่ในสังคมได้อย่างสงบเรียบร้อยและ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น มีคุณธรรมและมโนธรรมที่จะสร้าง ความสัมพันธ์อันดี โดยมีสำนึกที่จะใช้สิทธิและหน้าที่ของตนตามค่านิยมที่พึงประสงค์
น้อย พงษ์สนิท (2526:181) ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรม ไว้ว่า จริยธรรม คือหลักความดีอัน ควรประพฤติปฏิบัติ โดยนัยนี้จริยธรรมจึงเป็นผลได้มาจากหลาย ๆ ทาง เช่น ประเพณีวัฒนธรรม กฎหมาย เป็นต้น จริยธรรมจึงเป็นบรรทัดฐานของความประพฤติหลายประการ หนึ่งในบรรดาบรรทัดฐานของ ความประพฤติทั้งหลาย เป็นสิ่งกำหนดว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ว่า ถ้าเช่นนั้น จริยธรรมแตกต่างจากค่านิยม กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นตัวกำหนดว่า อะไรควรประพฤติปฏิบัติเช่นกัน จึงขอกล่าวเพิ่มเติมว่า จริยธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ควรนำไปประพฤติเพื่อให้เกิดความดีงาม มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่คุณความดี ส่วนค่านิยมนั้นเป็นเพียงสิ่งที่คนนิยมปฏิบัติกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ใส่วงเล็บคำว่า Ethics หลังคำว่า จริยศาสตร์ (จริยศาสตร์ (Ethics)) และใส่วงเล็บคำว่า Moral Education หลังคำว่า จริยศึกษา (จริยศึกษา Moral Education) แต่ไม่มีการใส่วงเล็บคำภาษาอังกฤษหลังคำว่า จริยธรรม อันแสดงถึง ความไม่แน่ใจว่า คำนี้ ตรงกับคำใดในภาษาอังกฤษ เมื่อไม่มีการกำหนดให้แน่นอนลงไป บางท่าน จึงใช้คำว่า จริยธรรม ให้หมายถึง Morality เช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ ถึงกับกล่าวว่า จริยธรรมก็คือศีลธรรม ซึ่งตรงกับ Morality นั่นเอง
จริยธรรม (Ethics) ในความหมายทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หรือหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจ เพื่อการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดต่อผู้อื่น ตัวอย่างการกระทำความผิดในด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ เช่น
-การใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ
-การโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง
-การกระทำที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น
-การกล่าวพาดพิงถึงผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
-การใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยผู้อื่นไม่เต็มใจ
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
ตอบ สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
จริยธรรมคือ ความถูกต้องดีงาม สังคมทุกสังคมจะก าหนดกฎเกณฑ์กติกา บรรทัดฐาน มิได้มีการเขียนเป็นกฎข้อบังคับให้สมาชิกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งหากมีการละเมิดจะถูกลงโทษโดยสังคม ในขณะเดียวกัน นักปกครอง ควรเป็นแบบอย่างในด้านมาตรฐานทางจริยธรรม จริยธรรมนักนักปกครอง ทั้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และการทุจริตคอร์รัปชั่น นักปกครองเป็นที่จับตาจากสาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกโดยการใช้อ านาจ การพูดจา การกระท าทุกสิ่งทุกอย่าง พฤติกรรมจึงถือเป็นสิ่งส าคัญที่ต้องควบคุม ระงับ ดังนั้นการควบคุม พฤติกรรมของนักการเมืองให้ประสบผลส าเร็จจึงจ าเป็นต้องสร้างส านึกหรือมโนธรรมแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยให้เกิดความรู้สึกละอายหากจะท าในสิ่งไม่ถูกไม่ควร หรือรียกได้ว่า “คุณธรรมและจริยธรรม”ทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม
คุณธรรมทางการเมือง"(POLITICAL VIRTUE) 5 ประการ
1.ปัญญา(WISDOM)ในที่นี้หมายถึง ปัญญาในการ"รู้ความดี"
รู้ความดี ก็คือ การมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง ทำเป็นนโยบายแผนงานโครงการ และการนำนโยบายไปปฏิบัติได้ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีต่อไป
2.ความกล้าหาญในที่นี้หมายถึง ความกล้าหาญในการทำความดี
3.การควบคุมตนเอง(TEMPERANCE)ในที่นี้หมายถึง การควบคุมตนเองให้เป็นคนดี
4.ความยุติธรรม(JUSTICE)ในที่นี้หมายถึง การมีความเที่ยงตรง
5.การกระทำความดี(PIETY)ในที่นี้หมายถึงการมีศีลธรรม การยกย่องคนดี
จริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics)
จริยธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมทางสังคม ดังนั้นคำว่า จริยธรรม (Ethics) ตามความหมายทางศาสนา หมายถึง ความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสม ที่คนในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ยอมรับถือปฏิบัติเป็นหลักทางศีลธรรม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า จริยธรรม คือเครื่องมือในการวัดความดี ความไม่ดี ความถูก ความผิด ความเหมาะความไม่เหมาะแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม จริยธรรมไม่เป็นหลักสากล คือ จริยธรรมในสังคมหนึ่งอาจจะไม่ถูกยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็เป็นได้ แต่จริยธรรมที่หมายถึงความดีงาม ความถูกต้องและความเหมาะสมนั้นจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มาก หรือส่วนใหญ่
2. พฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความพอใจ การยอมรับของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
3. พฤติกรรมนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นในสังคม
4. พฤติกรรมนั้นเหมาะสมกับกาลเวลา สถานที่และบุคคล เรียกว่า “ถูกกาลเทศะ” ส่วนจริยธรรมทางการเมืองก็คือความดีงาม ความถูกต้อง ความเหมาะสมแห่งพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ดังนั้นจริยธรรมทางการเมืองจึงเป็นกฎหรือกติกาทางศีลธรรมที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายหรืออันตรายต่อสังคมการเมือง แต่จริยธรรมทางการเมืองในแต่ละลัทธิทางการเมืองย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์หรือปรัชญาการเมืองของแต่ละลัทธิ เช่น ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีจริยธรรมทางการเมืองไปในทางการเคารพสิทธิหน้าที่ของมนุษย์ การยอมรับนับถือเสียงส่วนมาก การยอมรับฟังเหตุผลของคนอื่นและการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ส่วนประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการ จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นไปในทางยอมรับนับถือคำสั่งของผู้ปกครองเป็นสำคัญ ฉะนั้นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จึงคอยรับคำสั่งและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิ จารณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาแต่ประการใด
รหัส 62423471132
1.ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
คำตอบ โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด คือ ความยุติธรรม ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมือง คือ คุณธรรม และรัฐที่ดีที่สุด คือ รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือรัฐผสม (Mixed Regime) โสเกรตีส เชื่อว่า เมื่อราชากลายเป็นปรัชญาเมธี หรือเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นราชาเท่านั้น รัฐที่ดีที่สุดจึงจะเกิดขึ้นได้
เพลโต มีแนวความคิดหลักด้านจริธรรมว่า ผู้ปกครองหมายถึงนักปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ทรงคุณธรรมควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้ คือคุณธรรม จึงจำเป็นต้องแสวงหาและฝึกฝนอบรมคนที่รู้ได้ดีที่สุด เพื่อเสริมสร้างผู้ปกครองที่เป็นธรรม เพลโตแบ่งประเภทของคุณธรรมออกเป็น ๔ ประเภท คือ ปรีชาญาณ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลมุ่งที่จริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา อันหมายถึง กฎหมาย ซึ่งแจกแจงออกเป็นแบบแผนทางสังคม และระบอบการปกครอง รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ราษฎรจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” คุณธรรมหลักตามแนวคิดของอริสโตเติล มี ๔ ประการ คือ ความรอบคอบ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
จากแนวคิดปรัชญาตะวันตกที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญอันนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดจริยธรรมตะวันตกในช่วงต่อมาอย่างมาก โดยสามารถจำแนกวิวัฒนาการของแนวคิดทางปรัชญาทางด้านจริยธรรมตะวันตกได้เป็น ๔ ยุค คือ
รหัส 62423471132
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาตะวันนออกว่าด้วยจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ปรัชญาเต๋า ปรัชญาขงจื้อ ปรัชญาโม่จื้อ แนวคิดของเม้งจื๊อ แนวคิดของซุนจื๊อ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
• ปรัชญาเต๋า ถือเป็นกระบวนความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ ลัทธิธรรมของขงจื้อ และปรัชญาเต๋าของเหลาจื๊อ ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญที่หล่อหลอมอารายธรรมจีนให้มีลักษณะเด่นชัดและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
เหลาจื๊อเห็นว่า กฎธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล คือ เต๋า ซึ่งแปลว่า ทางหรือสัจธรรม และสำหรับสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่น ๆ จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัว เรียกว่า “เต๋อ” ซึ่งแปลว่าพลังอำนาจ (Power);หรือคุณธรรม (Virtue) หลักจริยธรรมของเหลาจื๊อ จำแนกได้ 4 ประการ คือ การรู้จักตนเอง การชนะตนเอง ความสันโดษ และอุดมคติแห่งเต๋า
ขณะที่ขงจื๊อเห็นว่า ปรัชญาการเมืองมีรากฐานมาจากคุณธรรม ความกตัญญู ความเมตตา คุณงามความดี ความถูกต้อง ความตรงไปตรงมา การสนับสนุนและความไว้วางใจจากประชาชน โดยสั่งสอนให้คนปลูกฝังตนเองก่อน ดูแลจัดการเรื่องในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงจะปกครองประเทศให้มีสันติสุขได้ ดังนั้น คำสอนของขงจื๊อจึงถือว่าคุณธรรมกับการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน
• ปรัชญาโม่จื้อ ถือว่าคุณธรรมของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอำนาจรัฐเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนปฏิบัติตามหลัก ความรักสากล (Universal love) ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองของรัฐ คือ การดูแลความประพฤติของประชาชน คอยให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติตามหลัก “ความรักสากล” และคอยลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม
วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
• โสเกรตีส ได้สร้างหลักการสำคัญเกี่ยวกับคุณธรรม หรือจริยธรรม คือ ความรู้ คุณธรรม เป็นสิ่งที่อาจแสวงหาค้นพบได้ และคุณธรรมเป็นสิ่งที่อาจสอนและเรียนรู้ได้ คุณธรรมทางสังคมที่สูงสุด คือ ความยุติธรรม ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมือง คือ คุณธรรม และรัฐที่ดีที่สุด คือ
รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือรัฐผสม (Mixed Regime) โสเกรตีส เชื่อว่า เมื่อราชากลายเป็นปรัชญาเมธี หรือเมื่อปรัชญาเมธีกลายเป็นราชาเท่านั้น รัฐที่ดีที่สุดจึงจะเกิดขึ้นได้
• เพลโต มีแนวความคิดหลักด้านจริธรรมว่า ผู้ปกครองหมายถึงนักปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ทรงคุณธรรมควรเป็นผู้ปกครอง และเมื่อความรู้ คือคุณธรรม จึงจำเป็นต้องแสวงหาและฝึกฝนอบรมคนที่รู้ได้ดีที่สุด เพื่อเสริมสร้างผู้ปกครองที่เป็นธรรม เพลโตแบ่งประเภทของคุณธรรมออกเป็น 4 ประเภท คือ ปรีชาญาณ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
• อริสโตเติล ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลมุ่งที่จริยธรรมเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรฐานความประพฤติปฏิบัติและข้อวัตรทางศีลธรรมจรรยา อันหมายถึง กฎหมาย ซึ่งแจกแจงออกเป็นแบบแผนทางสังคม และระบอบการปกครอง รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ราษฎรจะต้องประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งหมดเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” คุณธรรมหลักตามแนวคิดของอริสโตเติล มี 4 ประการ คือ ความรอบคอบ ความกล้าหาญ การรู้จักประมาณ และความยุติธรรม
รหัส 62423471132
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
คำตอบ ความสำคัญที่นักการเมืองต้องยึดถือ และคุณธรรมจริยธรรมที่นักการเมืองพึงปฏิบัติ ได้ดังต่อไปนี้
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรม จะต้องเป็นไปตามครรลอง หลักนิติธรรมจึงต่าง ซึ่งหมายถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และบ่อยครั้งก็กลายเป็นการบริหารงานโดยตัวบุคคล มากกว่าหลักการ
2.ความอดทนอดกลั้น ความใจกว้าง และความมีน้ำใจนักกีฬา ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตและผู้มีประสบการณ์ เพื่อนำมาประมวลใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน ที่สำคัญอะไรที่ตนไม่ชอบและไม่พอใจแต่ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อสิทธิของตนก็ ต้องยอมให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลภายใต้ระบบที่มีความเสมอภาค
3.ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย ความชอบธรรมทางการเมือง ความถูกต้องเหมาะสม ความน่าเชื่อถือทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4.การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้และผลลัพธ์
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์
6.สิทธิเสรีภาพ เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
นายประเสริฐ เอนกวิชณกุล
รหัส 62423471132
7.ความเสมอภาค ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียง การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลอันใดก็ตามจึงถือว่าขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาที่เสมอภาค ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธีเพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่งในตัวเอง การมองว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเฉพาะกรรมวิธีจึงไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าเป้าหมาย คือ ผลประโยชน์จะตกต่อสังคมก็ตาม เพราะถ้าทำลายกระบวนของความถูกต้อง แม้จะส่งผลในทางบวกต่อสังคม แต่ถ้ามีผลกระทบในทางลบต่อระบบก็จะเป็นการทำลายเป้าหมายอันสูงส่งของระบบประชาธิปไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยจึงเป็นทั้งกรรมวิธีและเป้าหมายในตัวเอง ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนโดยส่วนรวม การกระทำอันใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การนั้นย่อมไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นการประกอบภารกิจอันศักสิทธิ์หรือหน้าที่อันสูงส่งเพื่อประชาชน เพื่อประเทศชาติ
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องกระทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดต่อประชาชน ชาติ และบ้านเมือง เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะงานการเมืองเป็นงานอาสาสมัครที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
วิลเลียม แห่งโอคคัม (William ofckham, c. 1290-1349) ถือว่า จริยธรรมทั้งหมดอยู่ที่เจตจำนงของพระเจ้า คำสั่งหรือข้อห้ามของพระเจ้าเท่านั้น คือตัวกำหนดความถูกต้องหรือความผิดของการกระทำ แนวคิดนี้เป็นนักโทรวิทยา ลัทธิอารมณ์วิทยา
จักรวาล (Cosmic emotivism)
โสกราตีส (Socrates, 470-400 B.C.)เห็นว่า การประสบทุกข์ดีกว่าการทำความชั่วเสมอเขาได้เสนอให้พิจารณาหลักการภายใน คือ ใจของคนไม่ใช่พิจารณาที่ผล ในขณะเดียวกัน ความสุขความพอใจก็คือ สิ่งหนึ่งในองค์ประกอบภายในคือใจนั้นแนวคิดนี้จัดเป็นของนักแบบแผนนิยม (Formalist)นักธรรมชาตินิยม (naturalist) หรือนักสัญชาตญาณวิทยา (intujtionist)
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
*แนวคิดจริยธรรมตะวันออกนั้น จะกล่าวถึงปรัชญาของจีนซึ่งมีแนวคิดเน้นที่การปฏิบัติ มีลักษณะเป็น Ethical Philosophy ที่เน้นด้านความคิด (Wisdom) การมี มโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาของการปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม และในชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย ซึ่งแตกต่างจากปรัชญาของอินเดียที่ไม่แยกขาดจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มี ข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม จึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาเกี่ยวข้อง
*วิวัฒนาการด้านจริยธรรมของตะวันตกมีพื้นฐานความเป็นมา และกระบวนการต่อเนื่อง คำว่า จริยธรรมมิได้เกิดขึ้นลอย ๆ แต่มีจุดกำเนิดจากปรัชญาพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการด้านจริยธรรมตะวันตกจะทำให้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของจริยธรรม ทั้งนี้ แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของนักการเมืองที่สำคัญของตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในช่วงต่อมา ได้แก่ โสเกรตีส เพลโต อริสโตเติล
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
1. หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรม (due process of law) จะต้องเป็นไปตามครรลอง หลักนิติธรรม (the rule of law)
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit) ทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตย เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความโปร่งใส (transparency) การมีส่วนร่วมของประชาชน (participation)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
7.ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย (equality before the law)
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย (the democratic ethos) ซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี (means) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่ง (noble end) ในตัวเอง การมองว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเฉพาะกรรมวิธี( means)
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อประเทศชาติ
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องกระทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ ต้องเป็นบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติอันได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology) การมีจริยธรรมทางการเมือง (political ethics) การมีความรู้ทางการเมือง (political knowledge) การมีประสาทสัมผัสทางการเมือง (political sense) และการเข้าใจอารมณ์ทางการเมือง (political mood) ของประชาชนอย่างถูกต้อง
รหัสนักศึกษา 62423471131 รุ่น 44
1. ความหมายของคำว่าจริยธรรมตามหลักปรัชญามีอะไรบ้าง
= แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม
แนวคิด หลักการ ทฤษฏี รวมทั้งหลักคำสอนทางศาสนาต่างๆ มีอยู่มากมาย ผู้บริหารควรศึกษาน้อมนำมาพิจารณาเป็นแนวทางปฏิบัติตนและการดำเนินงาน หลักคำสอนที่จะนำมาพอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้มีทั้งจากคำสอนทางศาสนา หลักปรัชญา แนวคิดของนักปราชญ์ทั้งในอดีตกาล และแนวใหม่ ทั้งของทางตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งของไทยดังนี้
โสคราตีส (Socrates) กล่าวถึงคุณธรรมว่า คุณธรรมคือความรู้ (virtue is knowledge) การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม คือการแสวงหาคุณธรรม เพราะคุณธรรมคือความรู้ที่แท้จริง ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริงๆ แล้ว เขาจะไม่พลาดจากการประกอบความดีละเว้นความชั่ว คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์มี 5 ประการ คือ
1. ปัญญา หรือความรู้ (wisdom) หมายถึง รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
2. การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (duty) คือ การทำความดี การเคารพยกย่องสิ่งที่ควรเคารพ เช่นพระผู้เป็นเจ้า พระธรรม การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
3. ความกล้าหาญ (courage) คือกล้าในสิ่งควรกล้าและกลัวในสิ่งควรกลัว
4.การควบคุมตนเอง (self control หรือ temperance) คือ การใช้ปัญญาควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก
5.ยุติธรรม (justice) คือการปฏิบัติต่อผู้อื่น และต่อตนเองอย่างเหมาะสม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เพลโต ( Plato) กล่าวว่า คุณธรรม คือ การปฏิบัติที่ดีตามหน้าทีของวิญญาณ และคุณธรรมไม่สารถเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เพราะมนุษย์จะต้องรู้ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร คุณธรรมจึงเกิดขึ้นจากความรู้ ไม่ใช่ความรู้ทฤษฏี แต่เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง คุณธรรมตามแนวคิดของเพลโต มี 4 ประการ คือ
1. ปัญญาหรือความรู้ (wisdom) คือการหยั่งรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ
2. ประมาณ (temperance) คือ การรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายชีวิต มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
3. กล้าหาญ (courage) คือ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตราย เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง หรือด้วยความมั่นใจว่าได้กระทำดีที่สุดแล้ว
4. ยุติธรรม (justice) คือการให้แก่ทุกคนอย่างเหมาะสม เช่น การให้แก่ตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างมีเหตุผลอันควร
อริสโตเติล (Aristotle) ได้นำคุณธรรมของเพลโต ( Plato) มาอธิบายว่าคุณธรรม ได้แก่ การเดินสายกลางระหว่างความไม่พอดีกับความพอดี หรือคุณธรรมคือความพอดีพองาม ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความกล้าหาญจะอยู่ระหว่างความบ้าบิ่นกับความขลาด ความสุภาพอยู่ระหว่างความขี้อายกับความไร้ยางอาย และความเอื้อเฟื้ออยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ คุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือการรู้และค้นหาความจริงนั่นเอง
2. คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปคำสอน ละมุ่งเพื่อความดีงาม คนมีคุณธรรมก็คือคนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม อริสโตเติลเสนอคุณธรรมพิเศษไว้ 4 ประการ คือ มิตรภาพ ประมาณ กล้าหาญ และยุติธรรม
รหัสนักศึกษา 62423471131 รุ่น 44
2. ประเด็นจริยธรรมหลักปรัชญาทางการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างในแง่ใดบ้าง
= ความหมายของจริยธรรมที่เราใช้ในทางจริยศาสตร์ชีวภาพ (Bioethics) จะเป็นจริยธรรมในความหมายนี้ แล้วเมื่อเราจะดูว่า ใครจะแสดงออกทางจริยธรรมหรือไม่นั้นเราต้องดูเมื่อมีสถานการณ์ 2 อย่าง (Dilemma) มาท้าทาย หลักศีลธรรมทางพุทธศาสนาบอกว่า จะดูว่าใครมีศีลธรรมหรือไม่ ต้องอยู่ด้วยกันดูเวลาที่มีปัญหา เวลาตัดสินใจแล้วจึงจะพูดไดว่ามีศีลธรรมหรือไม่ ไม่ใช่ดูว่าไปสำนักไหน ถือศีลหรือไม่ ประเด็นนี้ค่อนข้างจะสอดคล้องกับความหมายนี้
สำหรับ ปรัชญาตะวันออกนั้น เรามีปรัชญาจีนกับปรัชญาอินเดียเป็นแม่แบบของจริยธรรม และทั้งสองระบบนี้ต่างกันด้วย ปรัชญาจีนนั้นเน้นที่การปฏิบัติ จะมีลักษณะเป็น Ethical Philosophy จะเน้นที่ความคิด (Wisdom) การมีมโนธรรม และการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปรัชญาจีนจะเป็นปรัชญาชองการ ปฏิบัติจริง ๆ ในสังคม ในชีวิตประจำวันไม่ได้พูดถึงชีวิตหลังความตาย แต่ปรัชญาอินเดียไม่แยกจากศาสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจะรวมอยู่กับศาสนา เพราะฉะนั้นนอกจากจะเน้นที่ปรัชญา เน้นที่มโนธรรมแล้ว ยังมีเรื่องศรัทธา (Faith) กับความเชื่อ (Believe) ด้วย ซึ่งทำให้มีข้อผูกมัด (Commitment) กับหลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมนั้น แล้วจึงออกมาเป็นการปฏิบัติได้ พุทธศาสนาเป็นปรัชญาอินเดีย เพราะฉะนั้นจริยธรรมในพุทธศาสนาจึงมีลักษณะของปรัชญาอินเดีย มีศรัทธา ความเชื่อ และการปฏิบัติ เข้ามาด้วย
ส่วนปรัชญา จีนนั้น เป็นเรื่องของการใคร่ครวญ การมีมโนธรรม แยกออกว่า อะไรถูก อะไรผิด และนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อกล่าวว่า "ความมีจริยธรรมอยู่ภายในใจของมนุษย์" แล้วถ้าใจเป็นรากแก้ว พฤติกรรมที่แสดงออกให้คนเห็นคือคุณธรรม สำหรับใจของจีนนั้นจีนเน้นว่าเป็นใจที่คิดด้วยเหตุผล ด้วยการไตร่ตรอง เช่น คนที่มีความรู้สึกสงสารคนในใจบุคลิกภาพ หรือการปฏิบัติตนที่แสดงออกมาคือ เป็นคนที่ยุติธรรม เป็นคนที่มีมนุษยธรรม เพราะฉะนั้นคนที่มีความละอาย มีหิริโอตัปปะอยู่ในใจจะเป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ทำสิ่งใดผิดหลักการเป็นอันขาด ความ รู้สึกอ่อนโยนในใจจะแสดงออกมาด้านบุคลิกภาพคือคนที่มีมารยาทงาม ความรู้สึกถูกผิด จะทำให้เป็นคนที่มีปัญญา เพราฉะนั้นจีนจะบอกว่าคนที่มีปัญญาไม่ได้หมายถึงคนมีการศึกษาดี (Well-Educated) เสมอไป แต่เป็นคนที่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วจากจิตใจก็ออกมาทางพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องแบบเพื่อน นี่คือทรรศนะทางด้านตะวันออก
ส่วนทรรศนะ ทางด้านตะวันตกนั้น เวลาพูดถึงจริยธรรมจะแยกปรัชญาออกจากศาสนา นี่คือจุดสำคัญ เพราะฉะนั้นเวลาฝรั่งพูดถึงจริยธรรมหรือศีลธรรมจะพูดถึงการไตร่ตรอง (Philosophizing) การคิดด้วยปรัชญาเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ แยกออกจาศาสนา และสิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญของตะวันตกคือเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีทฤษฎีรองรับ และในที่สุดก็จะเน้นที่ Value Clarification ซึ่งโคลเบอร์กนำไปอธิบายเรื่อง การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral Reason) หรือทฤษฎีพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลซึ่งอธิบายอย่างเป็น ขั้นตอน
รหัสนักศึกษา 62423471131 รุ่น 44
3. คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองควรมีอะไรบ้าง
= ความสำคัญที่นักการเมืองต้องยึดถือ และคุณธรรมจริยธรรมที่นักการเมืองพึงปฏิบัติ ได้ดังต่อไปนี้
1.หลักนิติธรรม (the rule of law) ได้แก่ การใช้กฎหมายในการบริหารประเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องผ่านกระบวนการร่างกฎหมายอย่างถูกต้อง และหลักของกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยกระบวนการยุติธรรม (due process of law) จะต้องเป็นไปตามครรลอง หลักนิติธรรม (the rule of law)
2. ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ความใจกว้าง (open-mindedness) และความมีน้ำใจนักกีฬา (sporting spirit)เพราะในสังคมประชาธิปไตยนั้นจะต้องยอมรับความแตกต่างทั้งในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี จุดยืนและความคิดเห็นทางการเมืองของคนในสังคม การรู้แพ้รู้ชนะ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การกระทำอันใดก็ตามต้องคำนึงถึงหลักการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย (legality) ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความถูกต้องเหมาะสม (decency) ความน่าเชื่อถือ (credibility) ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวจะทำให้งานที่รับผิดชอบอยู่นั้นประสบความสำเร็จ การมุ่งเน้นไปที่ตัวบทกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่พอเพียง การกระทำอันใดที่ไม่เหมาะสมแม้จะถูกต้องตามกฎหมายก็จะขาดความชอบธรรมทางการเมือง อันจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในที่สุด
4. การบริหารบ้านเมืองจะต้องอิงหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งได้แก่ ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) ความโปร่งใส (transparency) การมีส่วนร่วมของประชาชน (participation) ความรับผิดชอบเปิดให้ไล่เบี้ยได้ (accountability) และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (efficiency and effectiveness) ซึ่งหมายถึงการกระทำนั้นต้องส่งผลในทางบวกทั้งในแง่ผลได้ (output) และผลลัพธ์ (outcome)
5.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือระบบที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย และมอบหมายให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกถึงสิทธิและอำนาจของประชาชน ดังคำกล่าวที่ว่า เสียงของประชาชนคือเสียงของสวรรค์ (vox populi, vox dei)
6.สิทธิเสรีภาพ (rights and freedom) เป็นหัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารและข้าราชการประจำที่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องยึดถือตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะถ้ามีการกระทำดังกล่าวก็เท่ากับละเมิดเจ้าของอำนาจอธิปไตย
7.ความเสมอภาค (equality) ซึ่งความเสมอภาคหมายรวมถึงความเสมอภาคทางการเมือง และความเสมอภาคทางกฎหมาย (equality before the law) ความเสมอภาคภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนเสมอภาคเท่ากันหมด หนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียง (one man one vote)
8. ค่านิยมและจิตวิญญาณความเป็นประชาธิปไตย (the democratic ethos) ซึ่ง หมายถึงค่านิยมที่ได้รับการอบรมตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และทางสังคม ให้มีความเชื่อและศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย มองคนอื่นด้วยสายตาที่เสมอภาค
9. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือกรรมวิธี (means) เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยก็เป็นเป้าหมายอันสูงส่ง (noble end) ในตัวเอง ผลกระทบในทางลบต่อระบบก็จะเป็นการทำลายเป้าหมายอันสูงส่งของระบบประชาธิปไตย อันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยจึงเป็นทั้งกรรมวิธี (means) และเป้าหมาย (end) ในตัวเอง ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน
10. ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องตระหนักว่าตนเป็นผู้ซึ่งได้รับอาณัติจากประชาชน ดังนั้นผลประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นผลประโยชน์ที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนโดยส่วนรวม การกระทำอันใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
11. ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงทั้งในนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องยึดถือหลักจริยธรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งมารยาททางการเมือง โดยจะต้องกระทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดต่อประชาชน ชาติ และบ้านเมือง เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะงานการเมืองเป็นงานอาสาสมัครที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน
12. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถนำประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญ หรือไปสู่ความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งในแง่การเมือง สังคม เศรษฐกิจ อุดมการณ์ ศรัทธาและความเชื่อในระบบ ฯลฯ
1.ความหมายของคำว่า จริยธรรม ตามหลักปรัชญา
ความหมายของ จริยธรรมตามหลักของปรัชญา โดยจรรยาบรรณหมายถึงสาขาของปรัชญาคุณธรรมที่ชี้นำผู้คนเกี่ยวกับสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานและหลักการของตัวละครในอุดมคติของมนุษย์ เป็นหลักที่ช่วยให้การตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งถูก – ผิด ทำให้ทราบถึงวิธีการดำเนินการสถานการณ์เฉพาะเจาะจงและเลือกตัดสินทางเลือกที่ดี
2. จริยธรรมหลักปรัชญาการเมืองทั้งของตะวันออกและตะวันตกมีความแตกต่างกันในแง่ใด
ปรัชญาการเมือง จริยธรรมตะวันตก เป็นหลักคำสอน แนวทางประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เพื่อประโยชน์ของตน ปรัชญาตะวันออกจะเป็นแนวคิด หรือคำสอนต่าง ๆ ในศาสนา ปรัชญาตะวันออกจึงไม่แยกจากศาสนา แต่เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา หรือเป็นภาคทฤษฎีของศาสนา จึงไม่อาจแยกขาดจากศาสนาได้ เป้าหมายหลักของปรัชญาตะวันออกอยู่ที่ความดีงามและประโยชน์สังคม
ลักษณะของปรัชญาตะวันตกจะเป็นปรัชญาลักษณะวิพากษ์ คือ ปรัชญาวิเคราะห์และวิจารณ์ทุกสิ่ง เป็นปรัชญาพื้นฐาน ในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความคิดที่รองรับความจริงและปรัชญาการแสวงหาโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในบริบทของปรัชญาตะวันตก จึงนับโลกทัศน์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงวิพากย์ วิจารณ์ ปรัชญาตะวันตก เริ่มจากความสงสัยและความอยากรู้ความจริง ปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตกมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น การแสวงหาโลกทัศน์ การสร้างทัศนะหรือความรู้ที่เป็นระบบ แต่ปรัชญาตะวันออกมีการใช้เหตุและผล
ปรัชญาตะวันตก เป็นปรัชญาที่พยายามค้นคว้าเรื่องที่พิสูจน์และเป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ทำให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ แยกตัวออกมาเป็นศาสตร์ต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น จะเห็นว่าปรัชญาตะวันออกเป็นการค้นหาและแสวงหาความจริงอย่างอิสระ ยึดถือเหตุผล ในการแสวงหาความรู้การศึกษาและอธิบายธรรมชาติ โดยยึดหลักธรรมชาติ ไม่ยอมเอาความเชื่อลึกลับที่อยู่นอกเหตุผล และการศึกษาโดยวิทยาศาสตร์
ปรัชญาตะวันออก เป็นปรัชญา (ตะวันออก) คือ ความรู้อันประเสริฐ ได้แก่ ความรู้อันสุดท้าย ซึ่งเมื่อบรรลุถึงแล้วความอยาก เป็นแนวคิดเชิงปรัชญาในดินแดนเอเชีย ซึ่งในอดีตอารยะธรรมที่เจริญรุ่งเรือง นับตั้งแต่โบราณ แบ่งออกได้ 2 แนว คือ ปรัชญาอินเดีย และปรัชญาจีน เป็นแนวคิดหลักการความรู้ต่าง ๆ ทางปรัชญาที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันออกทั้งหมด โดยปรัชญาอินเดียจะนับการครองตน การมีชีวิตที่สมบูรณ์ ส่วนปรัชญาจีน เน้นแนวคิดปรัชญาของลัทธิต่าง ๆ โดยอิงแนวคิดทางพุทธศาสนา โดยลัทธิที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ลัทธิขงจื้อ
3. คุณธรรม และจริยธรรมทางการเมือง ควรมีอะไรบ้าง
คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง คือ การไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยการใช้อำนาจทางการเมือง และต้องไม่เคยเป็นลิ่วล้อของฝ่ายต่าง ๆ ผู้นำทางการเมืองที่มีมารยาท ไม่ฉวยโอกาสสร้างความได้เปรียบคู่แข่งทางการเมือง แม้จะมีอำนาจทำได้ จริยธรรม ผู้บริหารประเทศที่มีจริยธรรมจะต้องไม่ใช้อำนาจทางการเมือง แสวงหาผลประโยชน์ให้ธุรกิจของตนเอง และครอบครัว พวกพ้อง จริยธรรมทางการเมืองสรุปได้ดังนี้ ต้องไม่ทำให้รัฐ ประเทศ สูญเสียผลประโยชน์ ไม่ใช้อำนาจทางการเมืองให้ธุรกิจของตนเอง ไม่เพิกเฉยต่อการปราบปรามทุจริต ไม่ออกกฎหมายเอื้อต่อบุคคลในคณะรัฐมนตรี ไม่ฉวยโอกาสสร้างความได้เปรียบทางการเมือง ไม่สร้างความแตกแยกในสังคม ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำด้วยการลาออก ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ขายสมบัติชาติ ไม่คอรัปชั่นนโยบาย และไม่ปิดกั้นเสรีภาพประชาชน ในการรับรู้ข่าวสาร