การบริหารงานคลังและงบประมาณ POS3402 Module 1 เสาร์ที่ 11 -อาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564

 1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา 

                2. นักศึกษาต้องทำ Assignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา 
ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module 1 นี้  ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า   Post a Comment นักศึกษาคลิกที่นี่ จะปรากฏ กล่อง สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย  

                3.  นักศึกษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาการบริหารงานคลังและงบประมาณ นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์  ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้  

        4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ 

              4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา

              4.2 เอกสารประกอบการศึกษา

                    ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่ 

         https://supwat.wixsite.com/-education/การบร-หารงานคล-งและงบประมาณ

     5. เมื่อศึกษาเอกสาร และวิดีโอคลิปแล้วให้นักศึกษาทำ   Assignment ลงในช่อง Comment ด้านล่างของหน้าเพจนี้ โดยคลิ๊ก Post a Comment จะปรากฏกล่องข้อความสำหรับทำ Assignment

         5.1  อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ    

         5.2 อธิบายนโยบายการคลัง 

         5.3 อธิบายถึง  a. นโยบายการคลังแบบสมดุล

                                   b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล

                                    c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล

          5.4  อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร

          5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

                        ได้แก่  1. ภาษีได้บุคคล  

                                    2. ภาษีนิติบุคคล 

                                    3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

                                     4. ภาษีสรรพสามิต               

    6. นักศึกษาแสดงความเห็น และงานกลุ่ม ในฟอรั่มนี้ ซึ่ง มีคะแนนความคิดเห็นและงานกลุ่ม นำมาประเมินร่วมกับผลคะแนนทดสอบ

https://supwat.wixsite.com/-education/forum/general-discussions/kaarbrihaarngaankhlangaelangbpramaan-pos-3402

Comments

น.ส. ศริพร งามวิไล รหัส 62423471201
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการจ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล โดยมีการกำหนดนโยบายทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับรายจ่ายหนี้สาธารณะ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดทำเป็นงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อจะแสดงให้ประชาชนรู้ว่าในปีต่อไป รัฐบาลจะมีโครงการทำอะไรบ้าง และงบประมาณแผ่นดินเป็นการวางแผนใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์แหล่งที่มาของรายได้รายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง เริ่มจาก 1 ตุลาคมไปสิ้นสุด ของ 30 กันยายนของทุกปีถัดไป สำนักงานงบประมาณเป็นหน่วยที่รับผิดชอบการจัดการทำงบประมาณประจำปีโดยรวมถึงโครงการและรายจ่ายด้านต่างๆของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานรวมถึงภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ต่อไป
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศนั่นเอง
5.3 อธิบาย a. นโยบายการคลังแบบสมดุล b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ a. นโยบายการคลังแบบสมดุล รายได้ เท่ากับ รายจ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
ตอบ b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล รายได้ มากกว่า รายจ่าย ออม (เงินคงคลังเพิ่มมากขึ้น) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจชะลอตัว
ตอบ c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย (กู้หนี้สาธารณะ) หรือนำเงินคลังออกมาใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจตกต่ำให้ขยายตัวและให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ คือรายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร หลัก ๆ แล้วเราก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รายได้จากการอุดหนุนและการให้ มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ


5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภทได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล 2. ภาษีนิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1. ภาษีได้บุคคลภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด
2. ภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการ นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
4. ภาษีสรรพสามิต คือภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

Arnon said…
จ.ส.อ.อานนท์ สวนตะโก รหัสนักศึกษา 62423471173 (ทบ.45/01)
ใบงานที่ 1 วิชาการบริหารงานคลังและงบประมาณ
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ คือ บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายและการก่อหนี้เพื่อบรรลุ เป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ผลที่เกิดจากการกระทำของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค เป็นต้น
5.2 อธิบาย นโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลใช้นโยบายการคลัง เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล และการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายรวม คือ การบริโภค การลงทุน หรือ หมายถึง แนวทางและเป้าหมายในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินของรัฐบาลสนด้านรายจ่าย รายรับ และการก่อหนี้ของภาครัฐ เป็นต้น
5.3 อธิบายถึง
ตอบ 1.) นโยบาย การคลังแบบสมดุล คือ รายได้ = รายจ่าย
- การปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับภาษี
- การเก็บภาษีให้เหมาะสมกับการใช้จ่าย
- การกู้ยืมในระดับที่เหมาะสม
- การดำรงเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสม
2.) นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ รายได้ > รายจ่าย
- การลดการใช้จ่าย
- การเพิ่มภาษีหรือการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
- การลดการกู้ยืม การลดหนี้
- การเพิ่มเงินคงคลัง
3.) นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ รายได้ < รายจ่าย
- การเพิ่มการใช้จ่าย
- การลดภาษี การยกเว้นภาษี
- การเพิ่มการกู้ยืม
- การลดเงินคงคลัง

5.4 อธิบายรายได้ ที่ไม่ใช่ รายได้จากภาษีอากร
ตอบ
1) รายได้จากการอุดหนุนและการให้ คือ มาจากเงินบริจาคเงินให้เปล่า ของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ
2) รายได้จากการชายสิ่งของและบริการ คือ เป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาล เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าขายหรือเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึดมาจากคดีต่างๆ
3) รายได้จากการประกอบการรัฐวิสาหกิจ คือ มาจากที่รัฐบาลเข้าไปลงทุนในรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทต่างๆ พอมีกำไรก็จะเอาเข้าคลังมาเป็นรายได้ของรัฐบาล
4) รายได้อื่นๆ เช่น ค่าปรับ แสตมป์อากร เงินคืนจากส่วนเหลือจ่ายปีก่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
ตอบ 1.) ภาษีรายได้ส่วนบุคคล
คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
2.) ภาษีรายได้นิติบุคคล
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ/ ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการต้องทำหน้าแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบ คือ ภ.ง.ด 50 สำหรับรอบบัญชี ภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ ภ.ง.ด 51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลัง ปิดรอบบัญชีครึ่งปี
3.) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ 7%) ซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้าน ขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร จะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ โดยผู้ประกอบจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้งและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรทุกๆวันที่ 15 ของเดือน
4.) ภาษีสรรพสามิต
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จ.ส.อ. ไพฑูรย์ ภูสวัสดิ์เจริญ 62423471168
แบบฝึกหัด การบริหารงานคลังและงบประมาณ
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ส่วนตัวคิดว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารกิจการงานต่าง ๆ ของประเทศให้ขับเคลื่อนไปในแนวทางและนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าหากจะให้เกิดการพลังผลักดันต่อไปก็ต้องทิ้งเสียไม่ได้เลยคือ งบประมาณ ซึ่งงบประมาณจะเป็นตัวซัพพอร์ทให้กับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งไว้บรรลุเป้าหมายตามที่รัฐบาลไว้

5.2 อธิบาย นโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายนโยบายการคลังแบบสมดุล, เกินดุล และขาดดุล
1.นโยบายการคลังแบบสมดุล การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี งบประมาณสมดุลจะมีข้อขำกัด ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินฝืด จึงเป็นนโยบายที่ไม่ยืดหยุ่นไม่สามารถปรับได้คล่องตัวเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
2.นโยบายการคลังแบบเกินดุล การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ และจำเป็นต้องนำรายรับจากเงินกู้หรือเงินคงคลังมาชดเชยการขาดดุล
3.นโยบายการคลังแบบขาดดุล การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ ทำให้มีเงินเหลือเข้าเป็นเงินคงคลังเพิ่มขึ้น

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร คือ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1. ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2. ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3. รายรับจากเงินกู้ (loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืน เมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
1. ภาษีรายได้บุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
2. ภาษีนิติบุคคล เป็นภาษีที่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นผู้เสียภาษี โดยอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20% โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดเก็บ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) กำไรสุทธิ
2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7 % จากผู้บริโภคแล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม และวิธีคำนวณภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้มูลค่าของสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) เป็นฐานการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าสินค้า/บริการxอัตราภาษี=ค่าภาษี VAT เช่น สินค้า 100 บาท x อัตราภาษี 7% = ค่าภาษี VAT 7 บาท เป็นต้น
4. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการเฉพาะบางประเภทโดยเป็นภาษีทางอ้อมชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติโดยมี กรมสรรพสามิต เป็นผู้รับผิดชอบโดยสินค้าหรือบริการที่ถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต อาจเรียกว่า สินค้าสรรพสามิต ซึ่งมีเหตุผลพิเศษในการจัดเก็บโดยจำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้ตามกฎหมายซึ่งเหตุผลในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภาษีสรรพสามิตมักจะจัดเก็บกับสินค้าและบริการที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนี่ง
นาย ธนวิชญ์ นพคุณ รหัส 62423471200
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาล หรือหนี้สาธารณะ และนโยบายการคลัง และงบประมาณแผ่นดินเป็นการวางแผนใช้จ่ายเงินของรัฐบาล
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการใช้งบประมาณของรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจมหภาค
- อาทิ เพิ่มระดับการจ้างงาน
- รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
- เพิ่มระดับการจ้างงาน รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำในการกระจาย
รายได้
5.3 อธิบาย a. นโยบายการคลังแบบสมดุล b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ a. นโยบายการคลังแบบสมดุล รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
ตอบ b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล รายได้ มากกว่า รายจ่าย ออม
ตอบ c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรเป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่นรายได้เก็บจากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุตต่างๆ รายได้จากการช่วยเหลือจากต่างประเทศ และค่าปรับดอกเบี้ยเงินกู้ สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นต้น
5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภทได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล 2. ภาษีนิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1. ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง
2. ภาษีนิติเป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ.
4. ภาษีสรรพสามิต คือภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ

ร.อ. สุโชติ ไตรวิชา รหัส 62423471185
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การบริหารการคลังที่มีประสิทธิภาพ และสร้างประสิทธิผลต่องานทางด้านการคลัง หน่วยงานภาครัฐจะต้องกำหนดประเด็นสำคัญในการบริหารให้แยกออกเป็นขอบข่ายที่สำคัญ 4 ขอบข่าย ดังต่อไปนี้การจัดการและการคัดเลือกผู้นำ การจัดการนโยบายและการวางแผน งบประมาณ คือ การวางแผนการเงินในช่วงเวลาที่กำหนดชัดเจน โดยมากแล้วคือหนึ่งปี งบประมาณอาจรวมถึง ปริมาณแผนการขาย และรายได้, ปริมาณทรัพย์สิน, ค่าใช้จ่าย, สินทรัพย์, หนี้สินและกระแสเงินสด โดยที่บริษัท รัฐบาล ครอบครัว และองค์กรต่าง ๆ จะใช้งบประมาณเพื่อแสดงแผนกลยุทธ์ของกิจกรรมหรือผลให้สามารถวัดได้
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่รัฐใช้ในการดูแลเศรษฐกิจโดยผ่านการใช้จ่ายและการเก็บภาษีเงินได้ ถ้ารัฐบาลต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐจะใช้นโยบายที่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ และการลดภาษี ถ้ารัฐต้องการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐจะใช้นโยบายที่ก่อให้เกิดการลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐ และเพิ่มอัตราภาษี
5.3 อธิบาย a. นโยบายการคลังแบบสมดุล b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ a. นโยบายการคลังแบบสมดุล คือการจัดงบประมาณรายได้เข้ามามีจำนวน เท่ากับงบประมาณที่รัฐบาลใช้จ่ายออกไป
ตอบ b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือการจัดหางบประมาณรายรับมีจำนวน มากกว่า งบประมาณรายจ่ายที่จ่ายออกไป
ตอบ c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือจัดการประมาณรายรับเข้ามามีจำนวนน้อยกว่าการจ่ายงบประมาณที่ออกไป
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ คือรายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร หลัก ๆ รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรเป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน ได้แก่ รายได้จากการอุดหนุนและการให้ มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น รายได้จากการรถไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน
5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภทได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล 2. ภาษีนิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1. ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง
2. ภาษีนิติ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
รอบระยะเวลาบัญชี
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ ผู้นำเข้า โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ
4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย

น.ส.ศิริเพ็ญ จันทเพ็ชร์ รหัส 62423471202
แบบฝึกหัด วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1)อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
-แนวคิดของการคลัง บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ การใช้จ่ายและการก่อหนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
-งบประมาณทำหน้าที่เป็นทรัพยากรการบริหารเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้บรรลุเป้าหมาย
5.2)อธิบายนโยบายการคลัง
-รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจโดยผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายรวม คือการบริโภค การลงทุน
5.3)อธิบายถึง
-นโยบายการคลังแบบสมดุล
คือนโยบายการคลังที่มีผลทำให้รายได้ภาษีอากรและรายจ่ายของรัฐบาลผันแปลไปในทิศทางที่ช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
-นโยบายการคลังแบบเกินดุล
คือนโยบายการคลังที่ลดรายจ่ายของภาครัฐฐบาลและเพิ่มอัตราภาษีใช้เมื่อภาวะเศรษฐกิจขยายตัวมากเกินไปเกิดภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาเศรษฐกิจขยายตัวมาก
-นโยบายการคลังแบบขาดดุล
คือนโยบายการคลังที่เพิ่มรายจ่ายของภาครัฐบาลและลดอัตราภาษีใช้งบประมาณแบบขาดดุลใช้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าและบริการของผู้ผลิตขายไม่ออก ระดับการว่างานในประเทศสูง
5.4)อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
-คือรายได้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร ได้แก่รายได้จากการอุดหนุนและการให้มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชนภาคเอกชนหรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่นการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลหรือหน่วยงานรัฐ
5.5)อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
-ภาษีได้บุคคลคือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
-ภาษีนิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการและจำหน่ายสินค้าหรือบริการทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
-ภาษีสรรพสามิต คือภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภทซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ บริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือยหรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ส.ต.หญิง สุดารัตน์ ทรัพย์ยิ่ง รหัสนักศึกษา 62423471205 (ทบ.45/01)
ใบงานที่ 1 วิชาการบริหารงานคลังและงบประมาณ
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ คือ บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายและการก่อหนี้เพื่อบรรลุ เป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ผลที่เกิดจากการกระทำของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค เป็นต้น
5.2 อธิบาย นโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่รัฐใช้ในการดูแลเศรษฐกิจโดยผ่านการใช้จ่ายและการเก็บภาษีเงินได้ ถ้ารัฐบาลต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐจะใช้นโยบายที่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ และการลดภาษี ถ้ารัฐต้องการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐจะใช้นโยบายที่ก่อให้เกิดการลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐ และเพิ่มอัตราภาษี
5.3 อธิบาย a. นโยบายการคลังแบบสมดุล b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ a. นโยบายการคลังแบบสมดุล รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
ตอบ b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล รายได้ มากกว่า รายจ่าย ออม
ตอบ c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรเป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่นรายได้เก็บจากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุตต่างๆ รายได้จากการช่วยเหลือจากต่างประเทศ และค่าปรับดอกเบี้ยเงินกู้ สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นต้น
5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภทได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล 2. ภาษีนิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1. ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง
2. ภาษีนิติ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
รอบระยะเวลาบัญชี
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ ผู้นำเข้า โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ
4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย
Unknown said…
อัครพล ทับอินทร์ 62423471209
การบริหารงานคลังและงบประมาณ POS3402 Module 1 เสาร์ที่ 11 -อาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
การคลังและการงบประมาณ คือ การคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การคลังภาครัฐ หรือการคลังของรัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม เนื่องจากมีผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือในยุคต่อไป
การคลังยังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาลที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล,หนี้ของรัฐบาล หรือหนี้สาธารณะและนโยบายการคลัง

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง คือ เป็นนโยบายหรือเป็นแผนการแนวคิดที่รัฐบาลนั้นทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยมีสองวิธี คือ 1.ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล 2.การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
5.3 อธิบายถึง a. นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร คือ รายได้ที่ได้มานอกเหนือจากจากการเก็บภาษีอากร แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทได้แก่ 1.รายได้จากการอุดหนุนและการให้ 2.รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ 3.รายได้จากการประกอบการรัฐวิสาหกิจ 4.รายได้อืนๆ เช่น ค่าอากรแสตมป์ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
(1.) ภาษีได้บุคคล ฐานภาษีเงินบุคคล คือ เงินได้ที่ผู้เสียภาษีต้องนำมาคำนวณภาษีเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรมดา โดยฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นำมาใช้คำนวณด้วยอัตราภาษีก้าวหน้าจะใช้เงินได้สุทธิเป็นฐานภาษี ซึ่งมาจากเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนภาษีแล้ว
( 2.) ภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1.กำไรสุทธิ 2.ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย 3.เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย 4.การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
(3.) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
(4.) ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1. การคำนวณภาษีตามมูลค่า ให้ถือตามมูลค่าดังนี้
ในกรณีสินค้า ถือตามราคาขายปลีกแนะนำ(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) อันประกอบด้วย ราคาต้นทุนการผลิต ค่าบริหารจัดการและกำไรมาตรฐานซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาขายต่อผู้บริโภครายสุดท้ายในตลาดปกติ
ในกรณีบริการ ถือตามรายรับของสถานบริการ โดยให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของสถานบริการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. การคำนวณภาษีตามปริมาณ ให้ถือตามหน่วย ตามน้ำหนักสุทธิหรือตามปริมาณสุทธิของสินค้านั้น
โดยคำนวณจาก ปริมาณสินค้าคูณด้วยอัตราภาษีสรรพสามิต
ส.ท.วิศรุต บุญสงกรานต์ รหัสนักศึกษา 62423471212
งานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลังและการงบประมาณ คือ การศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตครอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน เพื่อนำไปบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
นโยบายการคลังใช้เครื่องมือ 3 ชนิด
1. นโยบายภาษีอากร (Tax Policy)
2. นโยบายงบประมาณ (Budget Policy)
3. นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ (Public Debt Management Policy)

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล ตอบ การจัดหางบประมาณรายรับมีจำนวนเท่ากับงบประมาณร่ายจ่ายที่รัฐบาลใช้จ่ายออกไป

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล ตอบ การจัดหางบประมาณรายรับมีจำนวนมากกว่างบประมาณรายจ่ายที่จ่ายออกไป

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล ตอบ การจัดทำงบประมาณรายรับเข้ามามีจำนวนน้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณที่ออกไป

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่ 1) ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ 2) ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ 3) รายรับจากเงินกู้(loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้นิติบุคคลคือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายหรือการให้บริการและสินค้านำเข้า โดยกรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บภาษีนี้ ซึ่งอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 10% แต่มีการออกกฎหมายพิเศษลดลงมาเหลือ 7% และใช้วิธีต่ออายุแบบรายปี

4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ส.อ.ชนะศักดิ์ สุพรรณ รหัสนักศึกษา 62423471197
ใบงานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล (Government Expenditure) หนี้ของรัฐบาล (Government Debt) หรือหนี้สาธารณะ (Public Debt)
แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ (Budgeting) คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่ารายจ่าย

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1. ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2. ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3.รายรับจากเงินกู้ ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด

2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญ

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ

4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ
ส.ท.กันตินัทธ์ ลพเมฆ รหัสนักศึกษา 62423471217
ใบงานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้
เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

5.2อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ เป็นการใช้การเก็บรายได้ภาครัฐและรายจ่ายภาครัฐเพื่อส่งอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ การใช้รายได้และรายจ่ายภาครัฐเพื่อให้มีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคนั้นพัฒนาขึ้นในช่วงหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐและเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่าๆกัน

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ เป็นการลดค่าใช้จ่าวยของรัฐบาลลดลงและเรียกเก็บภาษีมากขึ้น

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลและลดภาษีของรัฐบาล

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร หลัก ๆ แล้วเราก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รายได้จากการอุดหนุนและการให้ มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดไว้

2. ภาษีนิติบุคคล คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศ

4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภทต่อสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นซึ่งจะเรียกเก็บในขณะที่ได้ทำการผลิตมากกว่าการขาย ภาษีสรรพสามิตมักจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร
ส.ท.พศวีร์ สุขสมจิตร รหัสนักศึกษา 62423471203
ใบงานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาลที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายถึง
(1)นโยบายการคลังแบบสมดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี

(2)นโยบายการคลังแบบเกินดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่ารายจ่าย

(3)นโยบายการคลังแบบขาดดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์บริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
(1)ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
(2)ค่าภาคหลวงแร่ต่างๆ
(3)รายรับจากเงินกู้ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
(1)ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี

(2)ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

(3)ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆโดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิตการจำหน่ายหรือการให้บริการ

(4)ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภทโดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย
สิบโท จักรพงค์ ครุดจ้อน รหัส 62423471206
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ 
ตอบ ส่วนตัวคิดว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถบริหารกิจการงานต่าง ๆ ของประเทศให้ขับเคลื่อนไปในแนวทางและนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าหากจะให้เกิดการพลังผลักดันต่อไปก็ต้องทิ้งเสียไม่ได้เลยคือ งบประมาณ ซึ่งงบประมาณจะเป็นตัวซัพพอร์ทให้กับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งไว้บรรลุเป้าหมายตามที่รัฐบาลไว้

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการใช้งบประมาณของรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจมหภาค
- อาทิ เพิ่มระดับการจ้างงาน
- รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
- เพิ่มระดับการจ้างงาน รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศกระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดความเหลื่อมล้ำในการกระจาย
รายได้

5.3 อธิบายถึง
a.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ


5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1) ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2) ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3) รายรับจากเงินกู้(loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
ได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด

2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญ

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ

4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ
ส.อ.ณัฐวุฒิ ชื่นวิเศษ รหัสนักศึกษา 62423471170
ใบงานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตครอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน เพื่อนำไปบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดการงบประมาณ คือ แผนเบ็ดเสร็จซึ่งแสดงออกในรูปของตัวเงิน แสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่ง แผนนี้จะรวมถึง การกะประมาณบริการ กิจกรรม โครงการและค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุน

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล ตอบ การจัดทำงบประมาณรายได้ให้มีจำนวนเท่ากับงบประมาณรายจ่าย

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล ตอบ การจัดทำงบประมาณรายได้ให้มีจำนวนมากกว่างบประมาณรายจ่าย

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล ตอบ การจัดทำงบประมาณรายได้มีจำนวนน้อยกว่างบประมาณรายจ่าย

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บจากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่างๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับดอกเบี้ยเงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษีตอนครึ่งปี

2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ส.อ.รณชัย แก้วพักดี รหัสนักศึกษา 62423471196
ใบงานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล (Government Expenditure) หนี้ของรัฐบาล (Government Debt) หรือหนี้สาธารณะ (Public Debt)
แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ (Budgeting) คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่ารายจ่าย

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1. ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2. ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3.รายรับจากเงินกู้ ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด

2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญ

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ

4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ
ส.ท.สุรเชษฐ์ วงศ์สมศักดิ์ 62423471174
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาลที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศ

5.3 อธิบายถึง
a.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ


5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บจากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่างๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับดอกเบี้ยเงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
1. ภาษีรายได้บุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
2. ภาษีนิติบุคคล เป็นภาษีที่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นผู้เสียภาษี โดยอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20% โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดเก็บ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) กำไรสุทธิ
2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7 % จากผู้บริโภคแล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที
ส.อ.เจริญศักดิ์ จำนงนรินทร์รักษ์ รหัส 62423471189
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การใช้จ่ายเพื่อการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยกำหนดนโยบายและการดำเนินงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับ รายข่าย หนี้สาธารณะ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องจัดทำเป็นงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อแสดงให้ประชาชนรู้ว่าในปีต่อไปรัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้าง แต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าใด และรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้น ๆ ดังนั้นงบประมาณแผ่นดินจึงเป็นแผนเกี่ยวกับการหารายได้และการใช้จ่ายตามโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล อีกทั้งยังการคลังยังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ และนโยบายการคลัง
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ การคลังมีความสำคัญในการดำเนินงานของรัฐบาล เพราะรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลัง ควบคุมภาวะเศรษฐกิจของประเทศด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
-การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทรัพยากรของสังคมในการผลิตสินค้าและบริการให้เกิดประโยชน์เต็มที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้นโยบายงบประมาณที่กำหนดไว้
-การกระจายรายได้ของสังคม เพื่อให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมา ได้รับการจัดสรร จำแนก แจกจ่ายได้ทั่วถึง และเป็นธรรม
-การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยรัฐบาลจะควบคุมดูแลให้เศรษฐกิจของสังคม เป็นไปด้วยความราบรื่นด้วยการรักษาระดับการจ้างให้อยู่ในอัตราสูง ระดับราคาสินค้าเสถียรภาพ รวมทั้งมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
5.3 อธิบายถึง a. นโยบายการคลังแบบสมดุล b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล d. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ a. นโยบายการคลังแบบสมดุล จะใช้ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจดำเนินไปในทิศทางที่น่าพอใจแล้วการใช้งบประมาณสมดุลจะทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นเท่ากับงบประมาณท่ีใช้เท่านั้น
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือการเพิ่มภาษีเพื่อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ 
d. นโยบายการคลังแบบขาดดุล การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
-รายได้จากการอุดหนุนและการให้
-รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ
-รายได้จากการประกอบรัฐวิสากิจ
-รายได้อื่นๆ
5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่ 1.ภาษีได้บุคคล 2.ภาษีนิติบุคคล 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.ภาษีสรรพสามิต
ตอบ 1.ภาษีได้บุคคล ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี
2.ภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลคือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ  ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
4.ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีใด ๆ ต่อสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นซึ่งจะเรียกเก็บในขณะที่ได้ทำการผลิตมากกว่าการขาย ภาษีสรรพสามิตมักจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร ภาษีศุลกากรนั้นจะถูกเรียกเก็บจากสินค้าที่ได้กลายเป็นสินค้าที่พึงชำระภาษี ณ ที่ชายแดน ในขณะที่ภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากสินค้าที่มีอยู่ภายในประเทศ
ส.ท.เชิดศักดิ์ ไกวัลวิศรุต 62423471179
วิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ (POS 3402)
(ใบงานที่ 1)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาล หรือหนี้สาธารณะ
แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง
หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่ารายจ่าย
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1. ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2. ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3. รายรับจากเงินกู้ ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ
Anonymous said…
ส.อ.อาทิตย์ จิตมั่น 62423471169
วิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ (POS 3402)
ตอบ= 5.1 แนวคิดของการคลัง บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ การใช้จ่ายและการก่อหนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล งบประมาณทำหน้าที่เป็นทรัพยากรการบริหารเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้บรรลุเป้าหมาย
5.2เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
นโยบายการคลังใช้เครื่องมือ 3 ชนิด
1. นโยบายภาษีอากร (Tax Policy)
2. นโยบายงบประมาณ (Budget Policy)
3. นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ (Public Debt Management Policy)
5.3 นโยบายการคลังที่มีผลทำให้รายได้ภาษีอากร และรายจ่ายของรัฐบาลผันแปรไปในทิศทางที่ช่วย รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องด าเนินการสิ่งใดเพิ่มเติม ไม่ ต้องออกกฎหมายปรับปรุงแก้ไขใดๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านภาษีอากร หรือทางด้านรายจ่ายของ รัฐบาล
5.4 รายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร หลัก ๆ แล้วเราก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รายได้จากการอุดหนุนและการให้ มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ
5.5
5.5.1ภาษีได้บุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้
5.5.2ภาษีนิติบุคคล คือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
5.5.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายหรือการให้บริการและสินค้านำเข้า โดยกรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บภาษีนี้
5.5.4 สรรพสามิต หรือ ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีใด ๆ ต่อสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นซึ่งจะเรียกเก็บในขณะที่ได้ทำการผลิตมากกว่าการขาย ภาษีสรรพสามิตมักจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร(ซึ่งจะเรียกเก็บจากสินค้าที่มีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อข้ามชายแดนที่ได้กำหนดไว้ในทิศทางเฉพาะทาง) ภาษีศุลกากรนั้นจะถูกเรียกเก็บจากสินค้าที่ได้กลายเป็นสินค้าที่พึงชำระภาษี ณ ที่ชายแดน ในขณะที่ภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากสินค้าที่มีอยู่ภายในประเทศ
ส.ท. วิทยา สารากูล รหัสนักศึกษา 62423471177
วิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ (POS 3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ เป็นการศึกษา ข้อเท็จจริง หลักการ วิธีการและผลกระทบกระเทือนในการจัดรายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมทั้งการจัดการภาระหนี้สินของรัฐบาล
5.2 อธิบาย นโยบายการคลัง
ตอบ คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่างๆ เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเพิ่มหรือลดภาษี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จ่ายก็จะลดลง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่น เดียวกับนโยบายการคลัง ได้แก่
1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget) กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือการเพิ่มภาษีเพื่อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (surplus budget) จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ นโยบายแบบสมดุล คือ การที่รัฐมีรายได้เท่ากับรายจ่าย
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ การที่รัฐมีรายได้มากกว่ารายจ่าย
c. นโยบายขาดดุล
ตอบ นโยบายขาดดุล คือ การที่รัฐมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย


5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ คือรายได้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้มีที่มาจากภาษีอากร หลักๆแล้ว เราจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่
1. รายได้จากการอุดหนุนหรือการให้ คือ มาจากการบริจาคหรือเงินไห้เปล่าของประชาชน เอกชน หรือ รัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ
2. รายได้จากการขายสิ่งของหรือบริการ คือ เป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารงานขงอรัฐบาล เช่น ค่าใบอนุญาต ค่าขายหรือเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ที่ยึดมาจากคดีต่าง
3. รายได้มาจากประกอบการรัฐวิสาหกิจ คือ มาจากรัฐบาลที่เข้าไปลงทุนในรัฐวิสาหกิจหรือการลงทุนต่างๆ พอมีกำไรก็จะเอาเข้าคลังมาเป็นกำไรของรัฐบาล
4. รายได้อื่นๆ เช่น ค่าปรับ แสตมป์อากร เงินคืนจากส่วนเหลือจ่ายปีก่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
2. ภาษีนิติบุคคล คือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


สิบเอก คมเดช อุตมเตชะ 62423471182
ใบงานที่ 1 วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)

ใบงานที่ 1
วิชา บริหารคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้
เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

5.2อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ เป็นการใช้การเก็บรายได้ภาครัฐและรายจ่ายภาครัฐเพื่อส่งอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ การใช้รายได้และรายจ่ายภาครัฐเพื่อให้มีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคนั้นพัฒนาขึ้นในช่วงหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐและเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่าๆกัน

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ เป็นการลดค่าใช้จ่าวยของรัฐบาลลดลงและเรียกเก็บภาษีมากขึ้น

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลและลดภาษีของรัฐบาล

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร หลัก ๆ แล้วเราก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รายได้จากการอุดหนุนและการให้ มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดไว้

2. ภาษีนิติบุคคล คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศ

4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภทต่อสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นซึ่งจะเรียกเก็บในขณะที่ได้ทำการผลิตมากกว่าการขาย ภาษีสรรพสามิตมักจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร

ขอบคุณครับ
นางสาวสุนิตา ทนรัมย์ รหัส62423471207

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ
บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายและการก่อหนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
การคลังสาธารณะคือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายและการก่อหนี้ของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบจากกิจกรรมการดำเนินการต่างๆทางการครั้งของรัฐบาลที่มีผลต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวมโดยมีขอบเขตเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดินการคลังด้านรายรับการคลังด้านรายจ่ายและหนี้สาธารณะ
งบประมาณหมายถึงการจัดทำงบประมาณและการควบคุมโดยงบประมาณร่วมกันการจัดทำงบประมาณคือการจัดทำแผนการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นรายลักษณ์อักษรพร้อมตัวเลขสำหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหลังโดยอาจทำแผนงานนัดระยะยาว

5.2นโยบายการคลัง
ตอบ
การใช้นโยบายการคลังของรัฐบาลเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับการใช้จ่ายของรัฐบาลภาษีอากรและการก่อหนี้สาธารณะซึ่งเป็นเครื่องมือทางการคลังเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการกระจายรายได้และการจัดสรรทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมนโยบายการคลังเป็นนโยบายเกี่ยวกับการใช้รายได้รายจ่ายของรัฐบาลและการก่อหนี้สาธารณะการดำเนินนโยบายการคลังมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2.เพื่อรักษาความมีเสถียรภาพสร้างเศรษฐกิจ
3.เพื่อกระจายรายได้ที่เป็นธรรม4.เพื่อการจัดทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5.3อธิบายถึง
a.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือการจัดหางบประมาณรายรับเข้ามามีจำนวนเท่ากับงบประมาณที่รัฐบาลจ่ายออกไป
b.นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือการจัดหางบประมาณรายรับมีจำนวนมากกว่างบประมาณรายจ่ายที่จ่ายออกไป
c.นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือการจัดทำงบประมาณรายรับเข้ามามีจำนวนน้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณที่ออกไป


5.4อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรคือรายได้จากแหล่งเงินอื่นที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากรหลักๆแล้วเราก็จะสามารถแบ่งออกเป็นสี่ประเภทคือ
-รายได้จากการอุดหนุนและการให้มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชนภาคเอกชนหรือรัฐบาลประเทศอื่น
-รายได้จากการขายสิ่งของและบริการเป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารงานรัฐบาลเช่นค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาต
-รายได้จากการประกอบการรัฐวิสาหกิจมาจากการที่รัฐบาลเข้าไปลงทุนในรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทต่างๆ
-รายได้อื่นๆเช่นค่าปรับแสตมป์อากรเงินคืนจากส่วนเหลือจ่ายปีก่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

5.5อธิบายลักษณะทานภาษีอากรแต่ละประเภท
1.ภาษีได้บุคคลคือภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี
2.ภาษีนิติบุคคลคือภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทหรือรูปแบบห้างหุ้นส่วนโดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ
3.ภาษีมูลค่าเพิ่มคือจำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8ล้านขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร
4.ภาษีสรรพสามิตคือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการสินค้าและบริการบางประเภทซึ่งมีเหตุผลสมควรที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่าปกติ
ส.อ.รนกฤต แก้วเตชะ รหัส62423471187
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังคือการวางแผนเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงิน(รายได้ รายจ่าย การก่อหนี้สาธารณะ)ของรัฐบาลเพื่อใช้จ่ายให้บรรลุตามเป้าประสงค์เพื่อประเทศชาติ และประชาชน ในส่วนของแผนจะเป็นแผนเกี่ยวกับการใช้เงินในแต่ละปีโดยการแบ่งงบออกเป็นหลายส่วน
ในส่วนของงบประมาณ รัฐบาลจะทำการวางแผนการใช้เงินในกิจกรรมต่างๆรวมไปถึงระยะเวลาโดยละเอียด
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ หมายถึง แผนการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้โดยเฉลี่ยของประชาชนสูงขึ้นและประชาชนมีการครองชีพที่ดีขึ้น
โดยแบ่งออกเป็น 3 นโยบายดังนี้
นโยบายภาษีอากร
นโยบายงบประมาณ
นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ
5.3 อธิบาย a. นโยบายการคลังแบบสมดุล b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ a เป็นนโยบายที่จัดทำให้รายได้สมดุลกับรายจ่าย
b เป็นนโยบายการที่รายได้มากกว่ารายจ่าย
c เป็นนโยบายที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ได้แก่ ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ รายรับจากเงินกู้ ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด
5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
ตอบ รายได้จากภาษีอากร
รายได้จากภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
รายได้จากภาษีทางอ้อม ด้แก่ รายได้จากการขายทั่วไป(ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ) ภาษีการขายเฉพาะ(ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลี่ยม ภาษีทรัพยากรธรรมชาติ และอื่นๆ)
อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
การคลังและการงบประมาณ คือ การคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การคลังภาครัฐ หรือการคลังของรัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม เนื่องจากมีผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือในยุคต่อไป
การคลังยังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาลที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล,หนี้ของรัฐบาล หรือหนี้สาธารณะและนโยบายการคลัง

อธิบายนโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง

นโยบายการคลังแบบสมดุล
• การท่ีรัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ และเก็บภาษีเพิ่มข้ึนในสัดส่วน เท่าๆกัน
• นโยบายการคลังน้ีไม่มีผลต่อการ ใช้จ่ายรวม
• ดังน้ันจึงไม่ทำให้รายได้ประชาติ เกิดการเปลี่ยนแปลง

นโยบายการคลังแบบเกินดุล
•เป็นการใช้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล และการลดภาษีของรัฐบาล
• ส่งผลให้ความต้องการรวมของเศรษฐกิจเพิ่มสูงข้ึน
• ส่งผลให้รายได้ประชาชาติ โดยรวม
• สามารถใช้เพื่อแกปัญหาเศรษฐกิจ ที่กำลังตกต่ำ หรือเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเงินฝืดได้

นโยบายการคลังแบบขาดดุล
• การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายของ รัฐบาลลดลง และมีการเรียกเก็บ ภาษีเพิ่มข้ึน
• การใช้จ่ายรวมของประชากรใน ประเทศลดต่ำลง
• ส่งผลให้รายได้ประชาชาติลดลงด้วย
• ดังน้ันนโยบายในลักษณะน้ีจึงเหมาะกับการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1) ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2) ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ 
3) รายรับจากเงินกู้(loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืนเมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด

ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฏหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ/ ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการต้องทำหน้าแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบ คือ ภ.ง.ด 50 สำหรับรอบบัญชี ภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ ภ.ง.ด 51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลัง ปิดรอบบัญชีครึ่งปี
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ 7%) ซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร จะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ โดยผู้ประกอบจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้งและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรทุกๆวันที่ 15 ของเดือน
4. ภาษีสรรพสามิต คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพและสังคม เช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น
ส.อ.มนุชา ฤกษ์วิรี 62423471172
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังในส่วนของรัฐบาล หรือการคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การคลังภาครัฐ หรือการคลังของรัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม เนื่องจากมีผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือในยุคต่อไปด้วย
แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของรายรับรายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติถือเอาระยะเวลา 1 ปี คือ เริ่มจาก 1 ตุลาคม ไปสิ้นสุดที่ 30 กันยายนของปีถัดไป สำนักงบประมาณเป็นหน่วยราชการที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณประจำปี โดยจะรวบรวมโครงการและรายจ่ายด้านต่าง ๆ ของหน่วยราชการทุกหน่วยงานรวมทั้งภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา และประกาศใช้ต่อไป
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
ประการที่ 1 ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน
ประการที่ 2 ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน
ประการที่ 3 เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน
ประการที่ 4 รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
นโยบายทางเศรษฐกิจ
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ นโยบายการคลังแบบสมดุล รายได้ เท่ากับ รายจ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ นโยบายการคลังแบบเกินดุล รายได้ มากกว่า รายจ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจชะลอตัว
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ นโยบายการคลังแบบขาดดุล รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจตกต่ำให้ขยายตัวและให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภทได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ
Unknown said…
ส.อ.คณิต แย้มพรชัย

รหัส 62423471188

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ

ตอบ เป็นการจ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล โดยมีการกำหนดนโยบายทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับรายจ่ายหนี้สาธารณะ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดทำเป็นงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อจะแสดงให้ประชาชนรู้ว่าในปีต่อไป รัฐบาลจะมีโครงการทำอะไรบ้าง และงบประมาณแผ่นดินเป็นการวางแผนใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์แหล่งที่มาของรายได้รายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง

สำนักงานงบประมาณเป็นหน่วยที่รับผิดชอบการจัดการทำงบประมาณประจำปีโดยรวมถึงโครงการและรายจ่ายด้านต่างๆของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานรวมถึงภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ต่อไป



5.2 อธิบายนโยบายการคลัง

ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศ



5.3 อธิบายถึง

a. นโยบายการคลังแบบสมดุล

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล

ตอบ a นโยบาย การคลังแบบสมดุล คือ รายได้ = รายจ่าย

- การปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับภาษี

- การเก็บภาษีให้เหมาะสมกับการใช้จ่าย

- การกู้ยืมในระดับที่เหมาะสม

- การดำรงเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสม

b นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ รายได้ > รายจ่าย

- การลดการใช้จ่าย

- การเพิ่มภาษีหรือการเร่งรัดจัดเก็บภาษี

- การลดการกู้ยืม การลดหนี้

- การเพิ่มเงินคงคลัง

c นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ รายได้ < รายจ่าย

- การเพิ่มการใช้จ่าย

- การลดภาษี การยกเว้นภาษี

- การเพิ่มการกู้ยืม

- การลดเงินคงคลัง





5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร

ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่

1. ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ

2. ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ

3. รายรับจากเงินกู้ (loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืน เมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด



5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท

ได้แก่ 1. ภาษีได้บุคคล

2. ภาษีนิติบุคคล

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. ภาษีสรรพสามิต

ตอบ1. ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง

2. ภาษีนิติ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

รอบระยะเวลาบัญชี

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ ผู้นำเข้า โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ

4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย
ตอบ นโยบายการคลังหมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ การที่รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ และมีการลดการออมของประเทศ เพราะการออมของประเทศ คือ การออมของภาครัฐบวกการออมของภาคเอกชน การออมที่ลดลงจะทำให้การลงทุนเอกชนลดลง เพราะการกู้ยืมของรัฐบาลจะแข่งขันกับการกู้ยืมเพื่อลงทุนของภาคเอกชน หากเอกชนและรัฐบาลต่างยืนยันเจตนารมณ์ที่จะใช้จ่ายและลงทุนเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกสุทธิลดลง กล่าวคือ ประเทศจะใช้เกินกำลังการผลิต จึงนำไปสู่การขาดดุลทางการค้า
สมใจ กำแก้ว 62423471211 said…
จ.ส.อ.สมใจ กำแก้ว รหัสนักศึกษา 62423471211
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้ เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายที่เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตคลอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน แนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน แนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นวิธีการสำคัญ ได้แก่การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณ การหารายได้ของรัฐบาลโดยการจัดเก็บภาษี โดยยึดหลักความเป็นธรรม
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย
1. ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล
2.การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจแย่ ต้องกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจรัฐบาลใช้จ่ายมากเก็บภาษีน้อย เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปต้องชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเก็บภาษีมาก การใช้งบประมาณแบบเกินดุลหรือขาดดุลส่งผลต่อตลาดเงิน ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง มีผลต่อการบริโภคการลงทุนด้วย
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ งบประมาณสมดุล (Balance Budget) คือ รายรับประเภทรายได้เท่ากับรายจ่าย
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายรับประเภทรายได้สูงกว่ารายจ่าย เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นหรือตัดทอนรายจ่ายลงมา ย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget)
1.รายรับประเภทรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย
2.เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้น้อยลง หรือมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณลดลง แสดงให้เห็นว่าการจัดทำงบประมาณเกินดุลหรือขาดดุล
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือในรูปของหน่วยงานอื่นๆ
รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของรัฐในกรณีนี้
1.รัฐทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ แก่ประชาชน
2.รัฐบาลจะเข้าไปประกอบกิจการธุรกิจเพื่อเหตุผลต่างๆ เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หรือกิจการบางอย่างที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากซึ่งเอกชนไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังน้ำ เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้ที่มีรายได้
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7%
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
ส.ท.ฤทธิพร สง่างาม 62423471171
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ เป็นการจ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล โดยมีการกำหนดนโยบายทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับรายจ่ายหนี้สาธารณะ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดทำเป็นงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อจะแสดงให้ประชาชนรู้ว่าในปีต่อไป รัฐบาลจะมีโครงการทำอะไรบ้าง และงบประมาณแผ่นดินเป็นการวางแผนใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์แหล่งที่มาของรายได้รายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง
สำนักงานงบประมาณเป็นหน่วยที่รับผิดชอบการจัดการทำงบประมาณประจำปีโดยรวมถึงโครงการและรายจ่ายด้านต่างๆของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานรวมถึงภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ต่อไป
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศ
5.3 อธิบายถึง
ตอบ a.นโยบาย การคลังแบบสมดุล คือ รายได้ = รายจ่าย
-การปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับภาษี
-การเก็บภาษีให้เหมาะสมกับการใช้จ่าย
-การกู้ยืมในระดับที่เหมาะสม
-การดำรงเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสม
b.นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ รายได้ > รายจ่าย
-การลดการใช้จ่าย
-การเพิ่มภาษีหรือการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
-การลดการกู้ยืม การลดหนี้
-การเพิ่มเงินคงคลัง
c.นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ รายได้ < รายจ่าย
-การเพิ่มการใช้จ่าย
-การลดภาษี การยกเว้นภาษี
-การเพิ่มการกู้ยืม
-การลดเงินคงคลัง
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1.ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2.ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3.รายรับจากเงินกู้ (loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืน เมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
ตอบ1. ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง
2. ภาษีนิติ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชี
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ ผู้นำเข้า โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ
4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย
ส.ท.บูรณศักดิ์ สุทนต์ 62423471180 said…
5.1 ตอบ นโยบายการคลังเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ในการจัดเก็บภาษีอากร การตัด สินใจในการใช้จ่ายสาธารณะ การตัด สินใจเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ และรวมไปถึงนโยบายการเงิน สาเหตุที่ต้องพิจารณา นโยบายการเงินด้วย เนื่องจาก หากไม่นำนโยบายการเงินมาพิจารณาด้วยแล้วนั้น จะเป็นการทำให้นโยบายการคลังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารายได้ของรัฐบาลจากการเก็บภาษีอากรและการใช้จ่ายของรัฐบาลเท่านั้น
5.2 ตอบ เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
นโยบายการคลังใช้เครื่องมือ 3 ชนิด
5.2.1 นโยบายภาษีอากร
5.2.2 นโยบายงบประมาณ
5.2.3 นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ
5.3 ตอบ (a) นโยบายการคลังแบบสมดุล หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลรวมกันแล้วเท่ากับรายจ่ายของรัฐบาลพอดี ดังนั้น รัฐบาลไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้
(b) นโยบายการคลังแบบเกินดุล หมายถึง ประมาณการรายรับ > ประมาณการรายจ่าย งบประมาณแบบนี้ นิยมจัดทำในกรณีที่รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ได้มาก เพื่อเพิ่มเงินคงคลัง และแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
(c) นโยบายการคลังแบบขาดดุล หมานถึง จํานวนเงินของรายจ่ายของรัฐที่มากกว่ารายได้ที่ได้รับ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ระบุไว้โดยปกติจะเป็นช่วงระยะเวลา 1 ปี ในทางตรงกันข้ามถ้าหากรายได้ของรัฐบาล มากกว่ารายจ่าย ก็จะเกิดการเกินดุลงบประมาณ
5.4 ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากร
5.5 ตอบ 5.5.1 ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
5.5.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
5.5.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการ นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
5.5.4 ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
แก้ไขครับ ส.อ.จักรพันธ์ แก้วสมบูรณ์ 62423471204
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้ เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายที่เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตคลอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน แนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน แนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นวิธีการสำคัญ ได้แก่การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณ การหารายได้ของรัฐบาลโดยการจัดเก็บภาษี โดยยึดหลักความเป็นธรรม
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย
1. ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล
2.การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจแย่ ต้องกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจรัฐบาลใช้จ่ายมากเก็บภาษีน้อย เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปต้องชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเก็บภาษีมาก การใช้งบประมาณแบบเกินดุลหรือขาดดุลส่งผลต่อตลาดเงิน ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง มีผลต่อการบริโภคการลงทุนด้วย
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ งบประมาณสมดุล (Balance Budget) คือ รายรับประเภทรายได้เท่ากับรายจ่าย
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายรับประเภทรายได้สูงกว่ารายจ่าย เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นหรือตัดทอนรายจ่ายลงมา ย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget)
1.รายรับประเภทรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย
2.เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้น้อยลง หรือมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณลดลง แสดงให้เห็นว่าการจัดทำงบประมาณเกินดุลหรือขาดดุล
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือในรูปของหน่วยงานอื่นๆ
รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของรัฐในกรณีนี้
1.รัฐทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ แก่ประชาชน
2.รัฐบาลจะเข้าไปประกอบกิจการธุรกิจเพื่อเหตุผลต่างๆ เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หรือกิจการบางอย่างที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากซึ่งเอกชนไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังน้ำ เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้ที่มีรายได้
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7%
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
ส.อ.อภิสิทธิ์ ทนหนองแวง 62423471181
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ เป็นการจ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล โดยมีการกำหนดนโยบายทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับรายจ่ายหนี้สาธารณะ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดทำเป็นงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อจะแสดงให้ประชาชนรู้ว่าในปีต่อไป รัฐบาลจะมีโครงการทำอะไรบ้าง และงบประมาณแผ่นดินเป็นการวางแผนใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์แหล่งที่มาของรายได้รายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง
สำนักงานงบประมาณเป็นหน่วยที่รับผิดชอบการจัดการทำงบประมาณประจำปีโดยรวมถึงโครงการและรายจ่ายด้านต่างๆของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานรวมถึงภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ต่อไป
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศ
5.3 อธิบายถึง
ตอบ a.นโยบาย การคลังแบบสมดุล คือ รายได้ = รายจ่าย
-การปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับภาษี
-การเก็บภาษีให้เหมาะสมกับการใช้จ่าย
-การกู้ยืมในระดับที่เหมาะสม
-การดำรงเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสม
b.นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ รายได้ > รายจ่าย
-การลดการใช้จ่าย
-การเพิ่มภาษีหรือการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
-การลดการกู้ยืม การลดหนี้
-การเพิ่มเงินคงคลัง
c.นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ รายได้ < รายจ่าย
-การเพิ่มการใช้จ่าย
-การลดภาษี การยกเว้นภาษี
-การเพิ่มการกู้ยืม
-การลดเงินคงคลัง
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้รับผลประโยชน์หรือบริการของรัฐเป็นการเฉพาะ เช่น ค่าภาคหลวง ซึ่งเป็นค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐบาล ตัวอย่างเช่น ผู้รับสัมปทานป่าไม้จะต้องชำระค่าภาคหลวง ค่าธรรมเนียม และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ แก่ภาครัฐ สำหรับรายได้ของรัฐที่มิใช่ภาษีอากรได้แก่
1.ค่าภาคหลวงแร่ประเภทต่างๆ
2.ภาษีค่าทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ
3.รายรับจากเงินกู้ (loan) ซึ่งเป็นรายรับที่รัฐบาลดำเนินการกู้ยืมมาโดยมีพันธะผูกพันที่จะต้องชดใช้คืน เมื่อครบเวลาตามข้อกำหนด
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
ตอบ1. ภาษีเงินได้บุคคล คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง
2. ภาษีนิติ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชี
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ ผู้นำเข้า โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ
4. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย
ส.อ.หญิง ปราวตรี แก่นสำรวจ 62423471175
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้ เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายที่เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตคลอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน แนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน แนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นวิธีการสำคัญ ได้แก่การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณ การหารายได้ของรัฐบาลโดยการจัดเก็บภาษี โดยยึดหลักความเป็นธรรม
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย
1. ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล
2.การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจแย่ ต้องกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจรัฐบาลใช้จ่ายมากเก็บภาษีน้อย เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปต้องชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเก็บภาษีมาก การใช้งบประมาณแบบเกินดุลหรือขาดดุลส่งผลต่อตลาดเงิน ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง มีผลต่อการบริโภคการลงทุนด้วย
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ งบประมาณสมดุล (Balance Budget) คือ รายรับประเภทรายได้เท่ากับรายจ่าย
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) คือ รายรับประเภทรายได้สูงกว่ารายจ่าย เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นหรือตัดทอนรายจ่ายลงมา ย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget)
1.รายรับประเภทรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย
2.เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้น้อยลง หรือมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณลดลง แสดงให้เห็นว่าการจัดทำงบประมาณเกินดุลหรือขาดดุล
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือในรูปของหน่วยงานอื่นๆ
รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของรัฐในกรณีนี้
1.รัฐทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ แก่ประชาชน
2.รัฐบาลจะเข้าไปประกอบกิจการธุรกิจเพื่อเหตุผลต่างๆ เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หรือกิจการบางอย่างที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากซึ่งเอกชนไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังน้ำ เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้ที่มีรายได้
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7%
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
Unknown said…
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้ เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายที่เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตคลอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน แนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน แนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นวิธีการสำคัญ ได้แก่การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณ การหารายได้ของรัฐบาลโดยการจัดเก็บภาษี โดยยึดหลักความเป็นธรรม
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย
1. ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล
2.การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจแย่ ต้องกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจรัฐบาลใช้จ่ายมากเก็บภาษีน้อย เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปต้องชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเก็บภาษีมาก การใช้งบประมาณแบบเกินดุลหรือขาดดุลส่งผลต่อตลาดเงิน ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง มีผลต่อการบริโภคการลงทุนด้วย
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ งบประมาณสมดุล คือ รายรับประเภทรายได้เท่ากับรายจ่าย
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ งบประมาณเกินดุล คือ รายรับประเภทรายได้สูงกว่ารายจ่าย เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นหรือตัดทอนรายจ่ายลงมา ย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ งบประมาณขาดดุล
1.รายรับประเภทรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย
2.เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้น้อยลง หรือมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณลดลง แสดงให้เห็นว่าการจัดทำงบประมาณเกินดุลหรือขาดดุล
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือในรูปของหน่วยงานอื่นๆ
รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของรัฐในกรณีนี้
1.รัฐทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ แก่ประชาชน
2.รัฐบาลจะเข้าไปประกอบกิจการธุรกิจเพื่อเหตุผลต่างๆ เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หรือกิจการบางอย่างที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากซึ่งเอกชนไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังน้ำ เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้ที่มีรายได้
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7%
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
Unknown said…
ส.อ.ฐิติพันธุ์ บุญสุข 62423471213
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ การคลังเป็นการศึกษาถึงเศรษฐกิจภาครัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้ เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายที่เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตคลอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน แนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน แนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นวิธีการสำคัญ ได้แก่การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณ การหารายได้ของรัฐบาลโดยการจัดเก็บภาษี โดยยึดหลักความเป็นธรรม
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย
1. ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล
2.การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจแย่ ต้องกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจรัฐบาลใช้จ่ายมากเก็บภาษีน้อย เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปต้องชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้จ่ายน้อยเก็บภาษีมาก การใช้งบประมาณแบบเกินดุลหรือขาดดุลส่งผลต่อตลาดเงิน ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง มีผลต่อการบริโภคการลงทุนด้วย
5.3 อธิบายถึง
a. นโยบายการคลังแบบสมดุล
ตอบ งบประมาณสมดุล คือ รายรับประเภทรายได้เท่ากับรายจ่าย
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ตอบ งบประมาณเกินดุล คือ รายรับประเภทรายได้สูงกว่ารายจ่าย เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นหรือตัดทอนรายจ่ายลงมา ย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล
ตอบ งบประมาณขาดดุล
1.รายรับประเภทรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย
2.เพราะรัฐเก็บภาษีอากรได้น้อยลง หรือมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้เงินคงคลังมีปริมาณลดลง แสดงให้เห็นว่าการจัดทำงบประมาณเกินดุลหรือขาดดุล
5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ รายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือในรูปของหน่วยงานอื่นๆ
รายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของรัฐในกรณีนี้
1.รัฐทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ แก่ประชาชน
2.รัฐบาลจะเข้าไปประกอบกิจการธุรกิจเพื่อเหตุผลต่างๆ เพื่อทำการผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น บริการสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น หรือกิจการบางอย่างที่ต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากซึ่งเอกชนไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังน้ำ เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้ที่มีรายได้
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการ ประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7%
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
Unknown said…
ส.อ.จารุเดช บุญวรรณ รหัสนักศึกษา 62423471183 (ทบ.45/01)
ใบงานที่ 1 วิชาการบริหารงานคลังและงบประมาณ
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ คือ บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายและการก่อหนี้เพื่อบรรลุ เป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ผลที่เกิดจากการกระทำของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค เป็นต้น
5.2 อธิบาย นโยบายการคลัง
ตอบ รัฐบาลใช้นโยบายการคลัง เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดย ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล และการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายรวม คือ การบริโภค การลงทุน หรือ หมายถึง แนวทางและเป้าหมายในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินของรัฐบาลสนด้านรายจ่าย รายรับ และการก่อหนี้ของภาครัฐ เป็นต้น
5.3 อธิบายถึง
ตอบ 1.) นโยบาย การคลังแบบสมดุล คือ รายได้ = รายจ่าย
- การปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับภาษี
- การเก็บภาษีให้เหมาะสมกับการใช้จ่าย
- การกู้ยืมในระดับที่เหมาะสม
- การดำรงเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสม
2.) นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ รายได้ > รายจ่าย
- การลดการใช้จ่าย
- การเพิ่มภาษีหรือการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
- การลดการกู้ยืม การลดหนี้
- การเพิ่มเงินคงคลัง
3.) นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ รายได้ < รายจ่าย
- การเพิ่มการใช้จ่าย
- การลดภาษี การยกเว้นภาษี
- การเพิ่มการกู้ยืม
- การลดเงินคงคลัง

5.4 อธิบายรายได้ ที่ไม่ใช่ รายได้จากภาษีอากร
ตอบ
1) รายได้จากการอุดหนุนและการให้ คือ มาจากเงินบริจาคเงินให้เปล่า ของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่น เช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ
2) รายได้จากการชายสิ่งของและบริการ คือ เป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาล เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าขายหรือเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึดมาจากคดีต่างๆ
3) รายได้จากการประกอบการรัฐวิสาหกิจ คือ มาจากที่รัฐบาลเข้าไปลงทุนในรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทต่างๆ พอมีกำไรก็จะเอาเข้าคลังมาเป็นรายได้ของรัฐบาล
4) รายได้อื่นๆ เช่น ค่าปรับ แสตมป์อากร เงินคืนจากส่วนเหลือจ่ายปีก่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นต้น
5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
ตอบ 1.) ภาษีรายได้ส่วนบุคคล
คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
2.) ภาษีรายได้นิติบุคคล
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ/ ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการต้องทำหน้าแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบ คือ ภ.ง.ด 50 สำหรับรอบบัญชี ภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ ภ.ง.ด 51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลัง ปิดรอบบัญชีครึ่งปี
3.) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ 7%) ซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้าน ขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร จะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ โดยผู้ประกอบจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้งและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรทุกๆวันที่ 15 ของเดือน
4.) ภาษีสรรพสามิต
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Unknown said…
ส.อ.เผดิมพงศ์ จงแพทย์ 62423471215
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาลที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศ

5.3 อธิบายถึง
a.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ


5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บจากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่างๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับดอกเบี้ยเงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
1. ภาษีรายได้บุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
2. ภาษีนิติบุคคล เป็นภาษีที่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นผู้เสียภาษี โดยอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20% โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดเก็บ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) กำไรสุทธิ
2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7 % จากผู้บริโภคแล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที
ส.อ.รัฐพงษ์ บุญธรรม 62423471186
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลังเป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาลที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล หนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาด การณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลังคือ นโยบายเกี่ยวข้องกับการหารายได้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศในการจัดการให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตกต่ำ ปัญหาเงินเฟ้อและทำให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเติบโต จากการเก็บภาษีอากรและการกู้หรือหนี้สาธารณะเพื่อมาบริหารประเทศ

5.3 อธิบายถึง
a.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ 
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ


5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บจากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่างๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับดอกเบี้ยเงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล

5.5 อธิบายลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท
1. ภาษีรายได้บุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย
2. ภาษีนิติบุคคล เป็นภาษีที่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นผู้เสียภาษี โดยอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20% โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดเก็บ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) กำไรสุทธิ
2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7 % จากผู้บริโภคแล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที
ส.ท.หญิงชุลิตา หนูแดง รหัส 62423471199
วิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ (POS3402)

5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการงบประมาณ
ตอบ แนวคิดการคลังและการงบประมาณ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตครอบคลุมในเรื่องรายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล และงบประมาณแผ่นดิน การศึกษาการคลังในหลักสูตรรัฐศาสตร์นั้นถือว่ามีความสำคัญอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากประเด็นอื่นๆ
5.2 อธิบายนโยบายการคลัง
ตอบ นโยบายการคลัง หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพทำให้เศรษฐกิจมั่นคงรายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี

5.3 อธิบายถึง a. นโยบายการคลังแบบสมดุล ตอบ หรือนโยบายการคลังแบบเป็นกลาง คือการที่รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐและเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่าๆกัน นโยบายการคลังนี้ไม่มีผลต่อการใช้จ่ายรวม ดังนั้นจึงไม่ทำให้รายได้ประชาชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง

b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล ตอบ หรือนโยบายการคลังแบบหดตัว คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ ซึ่งอาจจะเลือกใช้ในยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายน้อยลงแต่เก็บภาษีมากขึ้นก็เป็นเสมือนการดูดเงินออกมาจากระบบเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวน้อยลง หรือหดตัว ก็จะช่วยให้เงินเฟ้อปรับลดลงได้

c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล ตอบ หรือนโยบายการคลังแบบขยายตัว คือการที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ ซึ่งอาจเลือกใช้ในยามที่เกิดปัญหาเงินฝืด หรือเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายมากขึ้นกว่าภาษีที่จัดเก็บ ก็เป็นเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ เช่น การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เหลือ ร้อยละ 5 ก็ทำให้คนมีเงินเหลือเพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นต้น

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ คือรายได้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้มีแหล่งที่มาจากภาษีอากร หลักๆแล้วเราก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. รายได้จากการอุดหนุนและการให้ มาจากเงินบริจาคหรือเงินให้เปล่าของประชาชน ภาคเอกชน หรือรัฐบาลประเทศอื่นเช่น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานรัฐ
2. รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ เป็นรายได้ที่เกิดจากการบริหารงานของรัฐบาล เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าขาย หรือเช่าทรัพย์สินของรัฐ ค่าขายของกลางที่ยึดมาจากคดีต่างๆ
3. รายได้จากการประกอบการรัฐวิสาหกิจ มาจากการที่รัฐบาลเข้าไปลงทุนในรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทต่างๆ พอมีกำไรก็จะเอาเข้าคลังมาเป็นรายได้ของรัฐบาล
4. รายได้อื่นๆ เช่น ค่าปรับ แสตมป์อากร เงินคืนจากสวนเหลือจ่ายปีก่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นต้น

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากรแต่ละประเภท ได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล ตอบ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
2. ภาษีนิติบุคคล ตอบ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัท หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการต้องทำหน้าแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอบ ภาษีประเภทหนึ่ง ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้า หรือการให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7 % จากผู้บริโภคแล้วนำส่งให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที
4. ภาษีสรรพสามิต ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิต เป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ส.ท.เจตณรงค์ นวลเขียว 62423471176 วิชา การบริหารการคลังและงบประมาณ
5.1 อธิบายแนวคิดของการคลังและการ
งบประมาณ
ตอบ แนวคิดของการคลัง คือ การคลัง
เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนิน
งานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทาง
ปฏิบัติจะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล
(Government Revenue) ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ
รายจ่ายรัฐบาล (GovernmentExpenditure)
หนี้ของรัฐบาล (Government Debt) หรือหนี้สาธารณะ (Public Debt)
แนวคิดการงบประมาณ งบประมาณ
(Budgeting) คือ การวางแผนการที่คาดการณ์รายจ่ายที่ต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดง ข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของ ตัวเงิน จำนวนชั่วโมง ในการทำงาน จำนวน ผลิตภัณฑ์ จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย เป็นต้น

5.2 อธิบายนโยบายการคลังชตอบ
นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการใช้งบประมาณของรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

5.3 อธิบายถึง
a.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ ตอบ
การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายจ่ายของรัฐ
b. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการ
การเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณ
ของรายขจ่ายของรัฐ
c. นโยบายการคลังแบบขาดดุล คือ ตอบการที่รัฐมีการ
บริหารระบบการการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายขจ่ายของรัฐ
ทางด้านเศรษฐกิจมหภาค
อาทิ เช่น เพิ่มระดับการจ้างงาน
- รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
-เพิ่มระดับการจ้างงาน รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ
กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
และลดความเหลื่อมล้ำในการกระจาย
รายได้

5.3 อธิบายถึง
1.นโยบายการคลังแบบสมดุล คือ ตอบ
การที่รัฐมีการบริหารระบบการการเงินซึ่งมีรายได้พอๆกับงบประมาณของรายจ่ายของรัฐ
2. นโยบายการคลังแบบเกินดุล
คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการ
การเงิน ซึ่งมีรายได้มากกว่างบประมาณ
ของรายขจ่ายของรัฐ
3. นโยบายการคลั่งแบบขาดดุล คือ ตอบ การที่รัฐมีการบริหารระบบการเงิน ซึ่งมีรายได้ที่เข้ามาน้อยกว่างบประมาณของรายจ่ายของรัฐ

5.4 อธิบายรายได้ที่ไม่ใช่รายได้จากภาษีอากร
ตอบ เป็นรายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บจากภาคหลวง ป่าไม้ ภาคหลวงแร่
รายได้จากการรถไฟ
การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ
รายได้จากค่าธรรมเนียมจดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่างๆ
รายได้จากเงินช่วยเหลือ
จากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับ
ดอกเบี้ยเงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่ง
รัฐบาล ฯลฯ

5.5 อธิบาย ลักษณะและฐานภาษีอากร
แต่ละประเภท
ได้แก่
1. ภาษีได้บุคคล
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือ
จากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่
กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตาม
เกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี
รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด
2. ภาษีนิติบุคคล
ตอบ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียก
เก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ
โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ
4. ภาษีสรรพสามิต
ตอบ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการ
บางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็น
หน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติสินค้าและบริการมีลักษณะฟุ้มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ

Popular posts from this blog

การบริหารการพัฒนา Module 3

การบริหารการพัฒนา Module 2

จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 1 ภาคการศึกษาที่ 3/2563 (เสาร์ที่ 24 - อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564) 44/01