จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 3

จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง 

Module 3  

1. นักศึกษาควรศึกษาเอกสาร อิเลคทรอนิคส์ที่ให้ไว้เพื่อประกอบการศึกษา 

2. นักศึกษาต้องทำAssignment ที่ให้ไว้จนครบ การทำ Assignment นักศึกษา      
   ต้องทำใน Blog ของหน้าเพจใน Module นี้  ซึ่งใต้หน้าเพจนี้จะเขียนไว้ว่า 
Post a Comment คลิกที่นี่ จะปรากฏ blog สำหรับทำ Assignment ที่ได้รับมอบหมาย 

        3.  นักศึกาษาจะต้องส่ง Assignment ใน Blog ใต้เพจของ Module วิชาจริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง นี้เท่านั้นไม่รับส่งทาง Email และ ทางไลน์ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและประเมินผล โดยนักศึกษาที่ทำ Assignment ต้องใส่ โปรไฟล์  ชื่อ รหัส นักศึกษาจะใส่รูปถ่าย-รูปภาพหรือไม่ก็ได้  

        4. นักศึกษาศึกษาเอกสารและวิดีโอ 

              4.1 วิดีโอประกอบการศึกษา

              4.2 เอกสารประกอบการศึกษา

ศึกษาวิดีโอและเอกสารได้ที่นี่    video and Document Module 3

        5. Final Assignment  

           5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง

           5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง

           5.3  หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง


*** ให้นักศึกษาเปลี่ยนช่องแสดงความเห็นที่นี่แทนช่องเก่าครับ 

  ฟอรั่มแสดงความเห็นและพูดคุย

ประเด็น Assignment ที่นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ในฟอรั่มแสดงความคิดเห็น (บังคับทุกคนครับ) 

     จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร 

Comments

นาย กฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46

1. ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ หลักความเสมอภาค
1) ความเสมอภาคทางการเมืองประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกัน รูปแบบจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักความเสมอภาคทางการเมืองผ่านประชาชนทุกระดับทุกอาชีพที่ต่างมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
2) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจประชาชนทุกคนต้องไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพการประกอบการต้องเป็นไปอย่างเสรีเป็นธรรมไม่มีการผูกขาดทางการค้ารูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหวแสดงหลักความเสมอภาคทางเศรษฐกิจผ่านเรื่องราวของประชาชนคนหนึ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนอาชีพได้อย่างอิสระเสรี
3) ความเสมอภาคทางโอกาสบุคคลสามารถจะได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาลและการให้บริการจากรัฐอยางเท่าเทียมกันรูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักความเสมอภาคทางโอกาสผ่านภาพเปรียบเทียบการไดรับโอกาสที่เท่าเทียมกันแม้ว่าจะต่างฐานะกัน

หลักสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม หรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักสิทธิเปรียบเทียบผ่านเรื่องราวการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันบนท้องถนน โดยรถยนต์คันหนึ่งที่กระทำละเมิดสิทธิของรถคันอื่นที่มาก่อน
เสรีภาพ คือ การมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใด ๆ โดยต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักเสรีภาพการเคารพเสรีภาพซึ่งกันและกันของเพื่อนที่อาศัยร่วมห้องเดียวกัน
หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลต้องปฏิบัติหรืองดเว้นจากการปฏิบัติบุคคลย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ซึ่งการใช้สิทธิ เสรีภาพต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมาย
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักหน้าที่ผ่านอาชีพแต่ละอาชีพที่แต่ละบุคคลในสังคมพึงปฏิบัติตามหน้าที่แต่งอาชีพของตน

หลักนิติธรรม
การใช้กฎหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้กฏหมายต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักนิติธรรมผ่านตาชั่งความยุติธรรมเท่าเทียมกันแม้ว่าอีกฝ่ายจะมีอำนาจฐานะมากกว่าอีกฝ่ายก็ตาม

หลักการใช้เหตุผล
คือ การใช้หลักเหตุผลมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และหากมีการตัดสินปัญหาด้วยการออกเสียงต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อย
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการใช้เหตุผ่านการลงมติเสียงเลือกทาสีห้องใหม่ของนักเรียนห้องหนึ่งโดยอาศัยหลักเหตุผลและเสียงข้างมากในการตัดสินแต่ไม่ละเลยเสียงข้างน้อย

หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น การออกเสียงประชามติ การเสนอถอดถอน ฯลฯ ทางอ้อม เช่น การเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตน
1) ทางตรง คือการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงประชามติ การขอรับรู้ข้อมูลข่าวสารราชการ การชุมนุม การร้องทุกข์ส่วนราชการ
2) ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งตัวแทน เช่น ส.ส. , ส.ว. ไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและบริหารประเทศ
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านการคัดเลือกหัวหน้าห้องคนใหม่ หากเลือกคนไม่ดีเข้าไปเป็นตัวแทนจะทำให้เดือดร้อน ดังนั้น ควรเลือกตัวแทนที่ดีเข้าไปทำหน้าที่แทนตน




นาย กฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46

2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality & Integrity)
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness)

1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
2) หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า(Values) ที่ดีงามของมนุษย์
3) หลักความโปร่งใส (Transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบความถูกต้องได้ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นต่อการตัดสินใจขององค์กร ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
5) หลักความรับผิดชอบ (Accountability)ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน การสำนึกในความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบขององค์กรรัฐหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการทำงานของเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
6) หลักความคุ้มค่า (Effectiveness)ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า กล่าวคือ ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ดีในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ในการกำหนดกรอบหน้าที่ของบุคลากรในภาครัฐ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรภาครัฐ โดยมุ่งเน้นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล






นาย กฤตเมธ เชิดชู รหัส 63423471054 รุ่น46

3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ ธรรมาภิบาลความหมายของธรรมาภิบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ให้ความหมาย “ธรรมาภิบาล” ไว้ว่า หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทาง สำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มี ความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริม ความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะ วิกฤติ ภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครอง แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้นิยามความหมายของคำว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “ธรรมาภิบาล” ไว้หลายประการ ดังนี้
1) ประชารัฐ หมายถึง กระบวนความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐภาคสังคมภาคเอกชนและประชาชน โดยทั่วไปในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้
2) ประชารัฐ หมายถึง การที่กลไกของรัฐ ทั้งทางการเมืองและการบริหาร มีความแข็งแกร่งมี ประสิทธิภาพ สะอาด โปร่งใส รับผิดชอบ
3) ประชารัฐ หมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่ดีหรือการปกครอง หรือการบริหารที่เป็นธรรม โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และความมีประสิทธิภาพ
นพ.ประเวศ วะสี ให้คำนิยามของคำว่า “ธรรมรัฐ” ไว้ว่า หมายถึง รัฐที่มีความถูกต้องเป็นธรรมซึ่งหมายถึง ความถูกต้องเป็นธรรมใน 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1.การเมืองและระบบราชการที่โปร่งใสรับผิดชอบต่อสังคมถูกตรวจสอบได้
2.ภาคธุรกิจที่โปร่งใสรับผิดชอบต่อสังคมสามารถตรวจสอบได้
3.สังคมที่เข้มแข็งความเป็นประชาสังคม สามารถตรวจสอบภาครัฐและภาคธุรกิจให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้

ความสำคัญของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล เป็นหลักเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
ลักษณะของธรรมาภิบาล
นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46
5.1
1. ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ
ประชาธิปไตย"
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
Final Assignment
นาย อาทิตย์ ภูครองทุ่ง
รหัส 62423471003รุ่นที่44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบคุณลักษณะเด่นๆ ที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ซึ่งต้องมีการรณรงค์หาเสียง มีการเสนอนโยบาย มีการต่อสู้กับพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค การเลือกตั้งที่ผู้สมัครมาจากพรรคเดียวไม่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นระบบประชาธิปไตย
2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ฯลฯ
3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้
นาย อาทิตย์ ภูครองทุ่ง
รหัส 62423471003รุ่นที่44
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ ธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือการบริหารจัดการที่ดี คือ ระบบโครงสร้าง กระบวนการต่างๆ ที่ได้วางแนวปฏิบัติหรือวางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เพื่อให้ส่วนต่างๆ ของสังคมมีการพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเป็นธรรมมีดังนี้
(1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านี้ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
(2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
(3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
(4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ
(5)หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
(6)หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
นาย อาทิตย์ ภูครองทุ่ง
รหัส 62423471003รุ่นที่44
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
นางสาวนิตย์รดี จิณะไชย รหัสนักศึกษา62423471015 รุ่น44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. หลักความเสมอภาค
ความเสมอภาคทางการเมืองประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกัน รูปแบบจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักความเสมอภาคทางการเมืองผ่านประชาชนทุกระดับทุกอาชีพที่ต่างมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจประชาชนทุกคนต้องไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพการประกอบการต้องเป็นไปอย่างเสรีเป็นธรรมไม่มีการผูกขาดทางการค้ารูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหวแสดงหลักความเสมอภาคทางเศรษฐกิจผ่านเรื่องราวของประชาชนคนหนึ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนอาชีพได้อย่างอิสระเสรี
ความเสมอภาคทางโอกาสบุคคลสามารถจะได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาลและการให้บริการจากรัฐอยางเท่าเทียมกันรูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักความเสมอภาคทางโอกาสผ่านภาพเปรียบเทียบการไดรับโอกาสที่เท่าเทียมกันแม้ว่าจะต่างฐานะกัน
2. หลักสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม หรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักสิทธิเปรียบเทียบผ่านเรื่องราวการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันบนท้องถนน โดยรถยนต์คันหนึ่งที่กระทำละเมิดสิทธิของรถคันอื่นที่มาก่อน
เสรีภาพ คือ การมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใด ๆ โดยต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักเสรีภาพการเคารพเสรีภาพซึ่งกันและกันของเพื่อนที่อาศัยร่วมห้องเดียวกัน
หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลต้องปฏิบัติหรืองดเว้นจากการปฏิบัติบุคคลย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ซึ่งการใช้สิทธิ เสรีภาพต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมาย
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักหน้าที่ผ่านอาชีพแต่ละอาชีพที่แต่ละบุคคลในสังคมพึงปฏิบัติตามหน้าที่แต่งอาชีพของตน
การใช้กฎหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้กฏหมายต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติรูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักนิติธรรมผ่านตาชั่งความยุติธรรมเท่าเทียมกันแม้ว่าอีกฝ่ายจะมีอำนาจฐานะมากกว่าอีกฝ่ายก็ตามคือการใช้หลักเหตุผลมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและหากมีการตัดสินปัญหาด้วยการออกเสียงต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อยรูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการใช้เหตุผ่านการลงมติเสียงเลือกทาสีห้องใหม่ของนักเรียนห้องหนึ่งโดยอาศัยหลักเหตุผลและเสียงข้างมากในการตัดสินแต่ไม่ละเลยเสียงข้างน้อย
5. หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น การออกเสียงประชามติ การเสนอถอดถอน ฯลฯ ทางอ้อม เช่น การเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตน
ทางตรง คือการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงประชามติ การขอรับรู้ข้อมูลข่าวสารราชการ การชุมนุม การร้องทุกข์ส่วนราชการ
ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งตัวแทน เช่น ส.ส. , ส.ว. ไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและบริหารประเทศ
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านการคัดเลือกหัวหน้าห้องคนใหม่ หากเลือกคนไม่ดีเข้าไปเป็นตัวแทนจะทำให้เดือดร้อน ดังนั้น ควรเลือกตัวแทนที่ดีเข้าไปทำหน้าที่แทนตน
นางสาวนิตย์รดี จิณะไชย รหัสนักศึกษา62423471015 รุ่น44
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ หลังธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเน่ืองในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลท่ีสนับสนุนสังคมท่ีปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประเทศไทย
นางสาวนิตย์รดี จิณะไชย รหัสนักศึกษา62423471015 รุ่น44
3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ สรุป
หลักประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลมีหลักการหลายอย่างที่สอดคล้องกัน หากองค์กร ทางธุรกิจได้นําหลัก ๒ หลักนี้มาปรับประยุกต์ใช้ในองค์กร เชื่อว่าจะทําให้องค์กรมีการเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแน่นอน อย่างไรก็ดีการนําประชาธิปไตยมาใช้ในการทํางานขององค์กรธุรกิจ คือ เสมอภาค เท่าเทียม และกระบวนการการมีส่วนร่วม เช่น การเปิดโอกาสให้พนักงานได้รวมตัวกัน จัดตั้งสหภาพแรงงงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในการเจรจาต่อรองกับบริษัท โดยตั้งอยู่บนหลักของการ รักษาผลประโยชน์ร่วมกัน และมองประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หลักที่ยึดถือเสียงข้างมากและคุ้มครองเสียง ข้างน้อยของผู้ถือหุ้นและพนักงาน หลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันมุ่ง ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและพนักงาน หลักที่ยึดถือเสียงข้างมากและคุ้มครองเสียงข้างน้อยของผู้ถือหุ้น หลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรอย่างเท่าเทียมกัน
การนําหลักธรรมาภิบาลมาปรับประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจ สรุปได้ว่า การบริหารจัดการ องค์กรธุรกิจนั้น ต้องมุงให้ความสําคัญกับการพัฒนาพนักงานในทุกส่วนขององค์กร ให้มีพื้นฐานจิตใจท
ธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061 รุ่น46
5.2
หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ
“หลักธรรมาภิบาล”หรืออาจเรียกได้ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหลักธรรมรัฐและธรรมาภิบาลฯลฯ”ซึ่งเรารู้จักกันในนาม“GoodGovernance”ที่หมายถึงการปกครองที่เป็นธรรม นั้นไม่ใช่แนวความคิดใหม่ที่เกิดข้ึนในสังคม แต่เป็นการสะสมความรู้ที่เป็นวัฒนธรรมในการอยู่ ร่วมกันเป็นสังคมของมวลมนุษยเ์ป็นนับพันปีเป็นหลัก การเพื่อการอยู่รวมกันในเมืองและสังคม อย่างมีความสงบสุข สามารถประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหาข้อขัดแย้งและพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลมีองคป์ระกอบที่สาคัญ 6ประการดังน้ี
1.หลักนิติธรรม คือการตรากฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาต่างๆให้ทันสมัย
และเป็นธรรมตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิกโดยมีการยนิยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกล่าวโดยสรุปคือสถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ กระทำตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล
2.หลักคุณธรรมคือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงามโดยการรณรงค์เพื่อสร้าง ค่านิยมท่ีดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองคก์รหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติได้แก่ความซื่อสัตยส์ุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียรความมีระเบียบวินัยเป็นต้น
3.หลักความโปร่งใส คือการทาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่าง ตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทางาน ขององค์กรใหม่ที่ความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันเเละกันช่วยให้การทำงานของภาครัฐ และภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
4.หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัด สินใจสำคัญๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการเข้ามามีส่วนร่วมไดแ้ก่การแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะการประชาพิจารณ์การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ และขจัดการผูก ขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยหลักธรรมาภิบาล
“หลักธรรมาภิบาล”หรืออาจเรียกได้ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหลักธรรมรัฐและ ธรรมภิบาลฯลฯ”ซึ่งเรารู้จักกันในนาม“GoodGovernance”ที่หมายถึงการปกครองที่เป็นธรรม นั้นไม่ใช่แนวความคิดใหม่ที่เกิดข้ึนในสังคม แต่เป็นการสะสมความรู้ที่เป็นวฒั นธรรมในการอยู่ ร่วมกนั เป็นสังคมของมวลมนุษย์นั้น ซึ่งเป็นหลักการเพื่อการอยู่รวมกันในบ้านเมืองและสังคม อย่างมีความสงบสุข สามารถประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหาข้อขัดแย้ง โดยสันติธรรมและพัฒ นา สังคมให้มีความยั่งยืน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
หลกัธรรมาภิบาลมีองคป์ระกอบที่สาคญั 6ประการดังนี้
1.หลักนิติธรรม คือการตรากฎหมายกฎระเบียบและกติกาต่างๆให้ทันสมัย
และเป็นธรรมตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิกโดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมเสมอภาคและเป็นธรรมกล่าวโดยสรุปคือสถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ กระทำ ตามอาเภอใจหรืออานาจของบุคคล
2.หลักคุณธรรมคือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงามโดยการรณรงคเ์พื่อสร้าง ค่านิยมท่ีดีงามใหผู้ปฎิบัติงานในองคก์รหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติได้แก่ความซื่อสัตยส์ุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียรความมีระเบียบวินัยเป็นต้น
3.หลักความโปร่งใส คือการทาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทางาน ขององกรค์ให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันและช่วยให้การทางานของภาครัฐ และภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
4.หลักความมีส่วนร่วม คือ การทาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจความสำคัญ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการเข้ามามีส่วนร่วมได้แก่การแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะการประชาพิจารณ์การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างทางภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46
5.3
3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีรากฐานมาอย่างยาวนานตั้ง แต่อดีตโดยเริ่ม ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณและได้พัฒนาต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ลักษณะสําคัญของประชาธิปไตย๖ มีดังต่อไปนี้๗
(๑) ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย รัฐบาลได้อํานาจมาจากประชาชนหรือโดย ความยินยอมของประชาชน
(๒) การเลือกผู้แทนในสังคมสมัยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนต้องเป็นการเลือกที่ บริสุทธิ์ยุติธรรมโดยประชาชนสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างอิสระ
(๓) ให้ความสําคัญแก่แนวความคิดที่แตกต่างรวมถึงมีการแก้ไขปัญหาด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ สถาบันทางการเมืองที่ทําหน้าที่ตัดสินปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เช่น คณะรัฐมนตรี รัฐสภา โดยใช้วิธีอภิปรายแสดงความเห็นเพื่อหาข้อยุติ
(๔) เชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ เช่น การนับถือศาสนา การชุมนุมทาง การเมือง การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
(๕) การบังคับใช้กฎหมายยึดถือความเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
(๖) รัฐบาลต้องมีอํานาจจํากัด อํานาจต้องไม่ต้องยู่ในมือคน ๆ เดียวหรือกลุ่มเดียว มีการ แบ่งอํานาจและกระจายอํานาจโดยมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจซึ่งกันและกัน
(๗) การตัดสินใจหรือการปฏิบัติต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก โดยไม่ต้องคํานึงถึงสิทธิของ คนส่วนน้อย
(๘) ประชาชนมีความเสมอภาคกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเสมอภาคด้านกฎหมาย และความมีโอกาสเท่าเทียมกันในด้านต่าง ๆ
(๙) ประชาธิปไตยอยู่บนพื้นฐานหลักการของเสรีนิยม ประชาชนต้องมีอิสระและเสรีภาพ ในการกระทําการต่าง ๆ เช่น การแสดงความคิดเห็น การนับถือ ศาสนา การเดินทางไปได้ทุก ๆ ที่ใน สังคมที่อาศัยอยู่ เป็นต้น
(๑๐) ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยที่รัฐบาลเป็นผู้ให้หลักประกัน และคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพ อย่างน้อยสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สําคัญ
(๑๑) รัฐบาลใช้หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักเนติธรรม ไม่ใช้อํานาจตาม อําเภอใจ เช่น บุคคลจะโดยจับหรือโดนลงโทษก็ต่อเมื่อทําผิดกฎหมายที่ได้ระบุไว้ รวมถึงต้องได้รับ การตัดสินคดีอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม เป็นต้น
(๑๒) ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกครองประเทศผ่านกลไกต่าง ๆ หรือใช้สิทธิที่จะ แสดงบทบาทต่าง ๆ ได้โดยตรง
(๑๓) รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในด้าน ต่าง ๆ ต่อรัฐบาลตลอดเวลา รวมถึงมีสิทธิเปลี่ยนแปลงรัฐบาลต่างวิธีการที่ได้กําหนดไว้

สรุป
หลักประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลมีหลักการหลายอย่างที่สอดคล้องกัน หากองค์กร ทางธุรกิจได้นําหลัก ๒ หลักนี้มาปรับประยุกต์ใช้ในองค์กร เชื่อว่าจะทําให้องค์กรมีการเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแน่นอน อย่างไรก็ดีการนําประชาธิปไตยมาใช้ในการทํางานขององค์กรธุรกิจ คือ เสมอภาค เท่าเทียม และกระบวนการการมีส่วนร่วม เช่น การเปิดโอกาสให้พนักงานได้รวมตัวกัน จัดตั้งสหภาพแรงงงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในการเจรจาต่อรองกับบริษัท โดยตั้งอยู่บนหลักของการ รักษาผลประโยชน์ร่วมกัน และมองประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หลักที่ยึดถือเสียงข้างมากและคุ้มครองเสียง ข้างน้อยของผู้ถือหุ้นและพนักงาน หลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันมุ่ง ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและพนักงาน หลักที่ยึดถือเสียงข้างมากและคุ้มครองเสียงข้างน้อยของผู้ถือหุ้น หลักความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรอย่างเท่าเทียมกัน
การนําหลักธรรมาภิบาลมาปรับประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจ สรุปได้ว่า การบริหารจัดการ องค์กรธุรกิจนั้น ต้องมุงให้ความสําคัญกับการพัฒนาพนักงานในทุกส่วนขององค์กร ให้มีพื้นฐานจิตใจที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ มีส่วนร่วม และใช้ทรัพยากรที่มีขององค์กร ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
ชื่อนางสาววาสนา ปราบบำรุง รหัสนักศึกษา62423471010 รุ่นที่44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง
ตอบ.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย
แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1.ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2.ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3.การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4.การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
ชื่อนางสาววาสนา ปราบบำรุง รหัสักศึกษา62423471010 รุ่นที่44
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ.ธรรมาภิบาลหมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน
แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ
1.หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
2.หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า(Values) ที่ดีงามของมนุษย์
3.หลักความโปร่งใส (Transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบความถูกต้องได้ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นต่อการตัดสินใจขององค์กร ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อาทิ
5) หลักความรับผิดชอบ (Accountability)ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน การสำนึกในความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบขององค์กรรัฐหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการทำงานของเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
6.หลักความคุ้มค่า (Effectiveness)ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า กล่าวคือ ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ดีในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ในการกำหนดกรอบหน้าที่ของบุคลากรในภาครัฐ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรภาครัฐ โดยมุ่งเน้นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ชื่อนางสาววาสนา ปราบบำรุง รหัสนักศึกษา62423471010 รุ่นที่44
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ.หลักการปกครองแบบประชิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมืองการใช้อำนาจรัฐและควบคุมการใช้อำนาจจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลอันได้แก่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
การที่จะได้ความชอบธรรมในแง่ผลงานมีหลักการสำคัญคือ จะต้องเดินตามแนวปรัชญาการเมืองการบริหารอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นหลักการและวิธีปฏิบัติที่ต้องนำไปใช้ทั้งในส่วนของการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น และส่วนของการบริหารอันได้แก่ระบบราชการปรัชญาหรือหลักการนั้นคือหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งประกอบด้วย 5 ข้อใหญ่ๆ คือ
1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม

2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน

3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น

4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะ
ถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น

5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล




นาย​พิช​ชา​ ดา​ระ​สวัสดิ์​ รหัส​62423471046

1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง
-​ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอํานาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อํานาจทางตรง​ หรือ​ ทางอ้อมก็ได้
-ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมาอย่างเท่าเทียมกัน
-การดําเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน​ เสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ถูก​กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทํานองครองธรรม
-กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน
จะพบว่า ประชาธิปไตยตามความหมายดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการบริหารรัฐกิจแนวใหม่​หรือ ธรรมาภิบาล ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามามีส่วนในการจัดการ การบริหารงาน
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
การมีส่วนวนร่วม ชายและหญิงทุกคนควรมีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจทั้งโดยทางตรงหรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างนั้นต้องอิงอยู่บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิงสร้างสรรค์
-​นิติธรรม  ตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรม และไม่มีการเลือกปฏิบัติ
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน
-​ความโปร่งใส  ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลเวียนอย่างเสรีของขอมูลข่าวสาร
บุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน กระบวนการ และข้อมูลข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้การ
ได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นต้องมีความเพียงพอต่อการทําความเข้าใจและการติดตามประเมินสถานการณ์​
-​การตอบสนอง (Responsiveness) สถาบันและกระบวนการดําเนินงานต้องพยายามดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
-​การมุ่งเน้นฉันทามติ​มีการประสานความแตกต่างในผลประโยชน์​ของฝ่ายต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์​ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายและกระบวนการขั้นตอนใดๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
-​ความเสมอภาค​  ความเที่ยงธรรม  ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการปรับปรุงสถานะหรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน
-​ประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สถาบันและกระบวนการต้องสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงตามความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์​สูงสุด
-​ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้​มีอํานาจตัดสินใจ ไม่​ว่าจะอยู่​ในภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์​กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้อง​องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณชนทั่วไปและผ้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถาบันของตน
-​วิสัยทัศน์​เชิงยุทธศาสตร์​ ผู้นําและบรรดาสาธารณชนต้องมีมุมมองที่เปิดกว้างและ​ เล็งการณ์​ไกลเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและการพัฒนามนุษย์​ (สังคม) รวมถึงมีจิตสํานึกว่าอะไรคือความต้องการจําเป็น​ต่อการพัฒนา ตลอดจนมีความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของบริบททางประวัติศาสตร์​วัฒนธรรม และสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในแต่ละประเด็นนั้น
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
-​ด้านรับาล
-หลักนิติธรรม  หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป
ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
-หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยันซื่อสัตย์ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
-​หลักความโปร่งใส  หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ซึ่งตรงกันข้ามกับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
-หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง​การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
- หลักความรับผิดชอบ  หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมสิทธิและหน้าที่ี่และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลัประชาธิปไตย
-​หลักความคุ้มค่า  หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
-ด้านเอกชน​ส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำ​งาน​ของคนในองค์กร​ โดยอาศัย​หลักการณ์​
  -​การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่
ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย
-หลักความโปร่งใส คือ การท าให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา
และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการงานขององค์กรให้มี ความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก
ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
-หลักการมีส่วนร่วม คือ การท าให้สังคมเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำ คัญๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะการประชาพิจารณ์การแสดง ประชามติ หรืออื่นๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
-หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ
ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ​  มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
-หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้น ในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจำเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม
Nancy said…
น.ส.วาลิวา คำพันธ์ รหัส62423471026 รุ่น44

1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐบาลได้อำนาจมาจากประชาชนหรือโดย ความยินยอมของประชาชน
2.การเลือกผู้แทนในสังคมสมัยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนต้องเป็นการเลือกที่ บริสุทธิ์ยุติธรรมโดยประชาชนสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างอิสระ
3.ให้ความสำคัญแก่แนวความคิดที่แตกต่างรวมถึงมีการแก้ไขปัญหาด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ สถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เช่น คณะรัฐมนตรีรัฐสภา โดยใช้วิธีอภิปรายแสดงความเห็นเพื่อหาข้อยุติ
4.เชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์เช่น การนับถือศาสนา การชุมนุมทาง การเมือง การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
5.การบังคับใช้กฎหมายยึดถือความเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
6.รัฐบาลต้องมีอำนาจจำกัด อำนาจต้องไม่ต้องยู่ในมือคน ๆ เดียวหรือกลุ่มเดียว มีการ แบ่งอำนาจและกระจายอำนาจโดยมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
7.การตัดสินใจหรือการปฏิบัติต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิของ คนส่วนน้อย
8.ประชาชนมีความเสมอภาคกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเสมอภาคด้านกฎหมาย และความมีโอกาสเท่าเทียมกันในด้านต่าง ๆ
9.ประชาธิปไตยอยู่บนพื้นฐานหลักการของเสรีนิยม ประชาชนต้องมีอิสระและเสรีภาพ ในการกระทำการต่าง ๆ เช่น การแสดงความคิดเห็น การนับถือ ศาสนา การเดินทางไปได้ทุก ๆ ที่ใน สังคมที่อาศัยอยู่ เป็นต้น
10.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยที่รัฐบาลเป็นผู้ให้หลักประกัน และคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพ อย่างน้อยสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญ
11.รัฐบาลใช้หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักเนติธรรม ไม่ใช้อำนาจตาม อำเภอใจ เช่น บุคคลจะโดยจับหรือโดนลงโทษก็ต่อเมื่อทำผิดกฎหมายที่ได้ระบุไว้รวมถึงต้องได้รับ การตัดสินคดีอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม เป็นต้น
12.ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกครองประเทศผ่านกลไกต่าง ๆ หรือใช้สิทธิที่จะ แสดงบทบาทต่าง ๆ ได้โดยตรง
13.รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในด้าน ต่าง ๆ ต่อรัฐบาลตลอดเวลา รวมถึงมีสิทธิเปลี่ยนแปลงรัฐบาลต่างวิธีการที่ได้กำหนดไว้
Nancy said…
น.ส.วาลิวา คำพันธ์ รหัส62423471026 รุ่น44

2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) หลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้น สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือUNDP (The United Nations Development Programme) ได้ทบทวนและให้คำนิยามใหม่ โดยรวมความถึงการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหารราชการแผ่นดิน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ ๖ ประกอบ คือ
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติและสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรือตามอำนาจของ ตัวบุคคล
2.หลักความโปร่งใส ได้แก่การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่ สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียมมีกระบวนการตรวจสอบ ความถูกต้องชัดเจนได้ ๓.หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมคิด ร่วม เสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่ สวนสาธารณะการประชาพิจารณ์การแสดงประชามตินอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และ ร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น
4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ได้แก่ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้าง กลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหา สาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการเคาระในความคิดเห็นที่ แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
5.หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิด ประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
สำนักงาน ก.พ.ร. คือการส่งเสริมให้ระบบราชการไทยนำ หลักการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน ตามเจตนารมณ์ของมาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 และพระราช กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีประกอบ ด้วย 10 หลัก ได้แก่
1.หลักการ ตอบสนอง (Responsiveness)
2.หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
3.หลักประสิทธิภาพ/คุ้มค่า (Efficiency/ Value for money)
4.หลักความเสมอภาค (Equity)
5.หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)
6.หลักการตรวจสอบได้/มีภาระรับผิดชอบ (Accountability)
7.หลักเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency)
8.หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
9 หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
10.หลักนิติธรรม (Rule of Law)
Nancy said…
น.ส.วาลิวา คำพันธ์ รหัส62423471026 รุ่น44

3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ ประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับธรรมาภิบาล คือ ประชาธิปไตยมุ่งให้ประชาชนมีเสรีภาพสันติสุขและจัดการบริหารราชการที่โกงกิน เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบบการบริหารการปกครองประเทศที่มีประสิทธิภาพ อันจะทำให้ธรรมาภิบาลพัฒนาขึ้น ขณะที่ระบบอำนาจนิยมอาจสร้างธรรมาภิบาลที่สูงขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อยู่เหนือการควบคุม เช่นความคิดเห็นความเชื่อของประชาชนที่อาจสั่นคลอนต่อระบบการบริหารการปกครองทำให้รัฐต้องปิดบังข้อมูลต่างๆหรือใช้กำลังเข้าควบคุมย่อมขัดต่อหลักธรรมาภิบาล
อมาตยา เซ็น (Amartya Sen) ชี้ว่าความเป็นประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอํานาจ กล่าวคือ มิติทางการเมืองนั้นเกี่ยวข้องกับทั้งรัฐและตัวบุคคลผู้ปกครองต้องรับฟังสิ่งที่ประชาชนต้องการ เพราะถ้ารัฐต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ นโยบายของรัฐบาลที่ขาดธรรมาภิบาลนั้นย่อมมีต้นทุนสูงจากการขาดความชอบธรรมในทางการเมือง เช่นเดียวกันกับการปกครองแบบอำนาจนิยม
ในอีกด้านหนึ่งน่าสังเกตว่าการพัฒนาประเทศสิงคโปร์อาจเป็นไปไม่ได้ถ้าปราศจากความเข้มงวดด้านอิทธิพลเมืองและ ติดทางการเมืองทำให้ขาดความหลากหลายทางความคิดในการแสดงออกผ่านวิธีการประชาธิปไตยที่ส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมและก็ไม่อาจปฏิเสธความจริงว่าชัยชนะในการลงคะแนนเลือกตั้งสามารถทำได้โดยอาศัยเงินทุนหรือพรรคการเมืองที่มีอิทธิพลด้วยความพยายามควบคุมกระบวนการเลือกตั้ง
ดังนั้นข้อเสนอแนะในการสร้างความเป็นประชาธิปไตย ด้วยการให้สิทธิทางการเมืองเสรีภาพแก่ประชาชนและสื่อมวลชนย่อมไม่อาจรับประกันว่าจะช่วยพัฒนาระบบการบริหารการปกครองรวมถึงระบบเศรษฐกิจได้แต่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโลกความเป็นจริง
ประชาธิปไตยจึงไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการสร้างธรรมาภิบาล เช่นเดียวกับการขาดธรรมาภิบาลย่อมเกิดขึ้นได้ภายใต้ระบบการเมือง แบบประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยย่อมสร้างปัจจัยแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อความเป็นธรรมาภิบาล การคำนึงถึงเสรีภาพ ความเป็นธรรมและการเลือกตั้ง อาจเป็นปัจจัยที่จะขับไล่ผู้นำที่โกงกิน และไม่มีธรรมาภิบาลประชาธิปไตยก็ยังมีความหมายอื่นนอกจากการเลือกตั้ง คือความร่วมมือการตรวจสอบ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายอีกทั้งผู้นำในระบอบประชาธิปไตยควรกระตุ้นการมีส่วนร่วมด้วยการส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงและปรึกษาก่อนตัดสินใจเพื่อให้สาธารณะชนตระหนักถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน อันจะทำให้นโยบายเกิดความยั่งยืนและรัฐมีความชอบธรรมมากขึ้น
จากรายงานขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ที่ว่าแรงผลักดันสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรเพื่อสาธารณะประโยชน์นั้นอยู่บนพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย คือ
1.การแสดงบทบาทขององค์กรสาธารณะ
2.การส่งเสริมฉันทามติทางสังคมและก่อให้เกิดเสถียรภาพต่อระบบรัฐบาล
3.การโต้เถียงโดยสันติ
4.การดึงดูดการลงทุนให้ไหลเข้ามาในประเทศโดยการลดต้นทุนการเคลื่อนย้ายและเพิ่มความโปร่งใสในภาครัฐและปฏิบัติตามหลักนิติธรรมในขณะที่เศรษฐกิจเติบโตสวัสดิการมีการพัฒนา การค้าขายขยายตัวเกิดเสถียรภาพทางการเมืองและรัฐมีศักยภาพมากขึ้นมีความรับผิดชอบมากขึ้นในฐานะที่เป็นสมาชิกในประชาคมโลก
ในทางตรงกันข้ามรัฐที่ขาดธรรมาภิบาล อาจจะไม่เป็นประชาธิปไตยย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อภูมิภาคและต่อโลกได้เช่น
1.ความยากจนที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและเกิดการคอรัปชั่นด้วยการบิดเบือนและฉ้อโกงด้านการลงทุน
2.การขาดแคลนทางการเงินการคลังเรื้อรังและส่งผลต่อจุดล้างเศรษฐกิจระหว่างประเทศเช่นกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ทั้งกรีซและสเปนเป็นต้น
3.การไม่ยึดหลักนิติธรรมและความยากจนจะทำลายสิ่งแวดล้อมและการสูญพันธุ์ของความหลากหลายทางชีวภาพเรื่องคุกคามต่อสมดุลนิเวศโลก
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง
ตอบ.แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต"และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ.ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน
แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality & Integrity)
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness)
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว อาทิ- สถานะความเป็นกฏหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ : มาตรา 6 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
- หน้าที่ของบุคคลในการปฏิบัติตามกฏหมาย : มาตรา 67 บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
- การรับโทษทางกฎหมาย : มาตรา 32 บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้
2) หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า(Values) ที่ดีงามของมนุษย์ อาทิ- การคุ้มครองและสร้างหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ : มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ; มาตรา 27 สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง ; มาตรา 29 การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
จริยธรรมและคุณธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง : มาตรา 110 การห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งหน้าที่ หรือรับสัมปทาน และเงินหรือผลประโยชน์ ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
- มาตรการลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ขาดจริยธรรมและคุณธรรม : มาตรา 303 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ; มาตรา 308 การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
แนวคิดหลักธรรมาภิบาล เป็นการนำหลักการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหาร เป็นการบริหารหรือปกครอง
โดยธรรม หรือธรรมรัฐ เพื่อประโยชน์สุขหรือความผาสุกของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ดังคำที่ว่า “บริหารต้องธรรมาภิบาล บริการ ต้องยึดประชาชน” ธรรมาภิบาล
ก็มีทั้งธรรมาภิบาล 10 หลัก และธรรมาภิบาล6 หลัก ต้อง
นำไปปรับใช้กับสภาพบริบทของหน่วยงานแต่ละแห่ง
นาย พฤทธิ์รวี ชื่นศิริ 63423471006
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ไม่มีคำนิยามประชาธิปไตยที่ทุกคนเห็นตรงกันหมด การศึกษาในภาษาอังกฤษครั้งหนึ่งพบว่ามีคำอธิบายประชาธิปไตยอย่างน้อย 2,234คำอธิบายแต่มีระบุว่าจะต้องมีลักษณะสำคัญ คือ ความเสมอภาคทางกฎหมาย เสรีภาพทางการเมืองและนิติธรรมตัวอย่างเช่น ในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน คะแนนเสียงทุกเสียงมีน้ำหนักเท่ากัน จะต้องไม่วางข้อจำกัดที่ไม่สมเหตุสมผลซึ่งห้ามบุคคลสมัครรับเลือกตั้ง และอิสรภาพของพลเมืองได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วยสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบต่างๆ ที่จะช้วยส้งเสริมในการพัฒนานั้น มีความเกี่ยวข้องกันและช่วยส่งเสริมกัน ทั้งใน
ด้านของธรรมาภิบาล ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนและสื่อ ซึ่งกล่าวได้ว่า การสร้างการพัฒนาที่
แท้จริงและยั่งยืนนั้น จะต้องอาศัยสื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และส่งเสริมแนวคิดธรรมาภิบาล
ประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน และสื่อที่จะทําหน่าที่ดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีเสรีภาพในการ
นําเสนอข้อมูลและตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล โดยเสรีภาพนั้นจะเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเป็น
ประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริงจะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และส่งเสริมธรร
มาภิบาลให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการมีธรรมาภิบาลในการบริหาร
ประเทศนั้น จะนําไปสู่การพัฒนาประเทศ และสามารถกําจัดความยากจนได้ เพราะมีการจัดสรรทรัพยากรไปสู่
ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกนําไปใช้ประโยชน์และแบ่งป่นเฉพาะในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่
มีอํานาจทั้งทางการเมืองและการเงิน และประชาชนยังมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งเป็นการพัฒนา
อย่างยั่งยืนที่แท้จริง ซึ่งสื่อที่ดีจะช่วยส่งเสริมธรรมาภิบาลได้ด้วยการสร้างบรรยากาศและพื้นที่สาธารณะที่มี
ความหลากหลาย เพื่อให้ความรู้และสร้างประชาชนให้มีบทบาทและเข้าร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา
ประเทศโดยสื่อเองจะต้องมีจริยธรรม มีความหลากหลายและมีเสรีภาพ เพื่อเป็นโอกาสให้ประชาชนมีส้วนร่วม
ในประเด็นสาธารณะ และต้องรายงานข่าวที่มีเนื้อหาเชิงวิเคราะห์น่าเชื่อถือ มีการเป็นโอกาสให้มีการถกเถียง
และอภิปรายในประเด็นต่างๆที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ นอกจากนี้แล้ว สื่อยังต้องปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตย และความเป็นพลเมืองที่ดีรวมไปถึงการเคารพกฎหมาย เมื่อประชาชนเข้าใจบทบาทหน่าที่ของ
ตนเองแล้ว ก็จะยินดีและมีความกระตือรือรัน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมที่ตนอาศัยอยู่
นาย พฤทธิ์รวี ชื่นศิริ 63423471006
ประเทศไทยแม้จะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติหลักธรรมาภิบาลไว้อย่างไรก็ตาม
เมืองมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้ก็ไม่ได้ทิ้งหลักธรรมาภิบาลซึ่งเป็นหลักการสากลก็ยังนํามาบัญญัติไว้
โดยตลอดเป็นการยืนยันว่าหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่ใช้คู่กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประเทศไทยได้นําหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้หลังจากที่ประเทศไทยได้ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ใน พ.ศ. 2540 ประกอบกับมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ด้วย
ขณะนั้นสังคมไทยได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับหลักธรรมาภิบาลก็ได้นําไปใช้ในการบริหารภาครัฐทําให้
การบริหารภาครัฐดีขึ้นเป็นลําดับ โดยเฉพาะรัฐบาลเมื่อจะจัดทํานโยบายต่างๆ ก็ต้องคํานึงถึงหลักธรรมาภิบาล
ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้มีความรับผิดชอบ เกิดความคุ้มค่า เป็นไปตามหลักนิติธรรม รวมทั้งการต่อต้าน
ปัญหาคอร์รัปชันที่แพร่ระบาดอยู่ในสังคมไทย เมื่อการบริหารภาครัฐดีขึ้นทําให้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายใน
หน่วยงานภาครัฐส่งผลให้ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคมไทยขับเคลื่อนไปด้วยกันได้สําหรับภาคเอกชนก็มีการนํา
หลักธรรมาภิบาลไปปรับใช้ทําให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทมหาชนจํากัด มีผลประกอบการของบริษัทดีขึ้น
ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ทําให้บริษัทฟื้นตัวจากภาวะการขาดทุน ปัจจุบันภาคเอกชนโดยเฉพาะ
บริษัทที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์มีคะแนนเรื่องการมีธรรมาภิบาลอยู่ในอันดับดีส่งผลต่อการเจริญเติบโตของ
เศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศไทยจําเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่
อก้าวให้ทันโลกในทุก ๆ ด้าน
เพราะสภาวะเศรษฐกิจของโลกมีการแข่งขันกันสูงประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตทําให้
ประเทศไทยต้องให้ความสําคัญกับเร่ืองหลักธรรมาภิบาลมากขึ้นเพราะเป็นหลักการสมัยใหม่ ซึ่งประเทศ
ที่พัฒนาแล้วได้นํามาใช้เป็นหลักในการบริหารภาครัฐหรือการประกอบธุรกิจของบริษัทเอกชนต่าง ๆและการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นต้องให้ความสําคัญกับการพัฒนาในเชิงคุณภาพ
มากขึ้น ในภาคเอกชนบริษัทที่เติบโตในตลาดหลักทรัพย์จะต้องบริหารให้มีหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้ความคุ้มครอง
แก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และต้องดําเนินธุรกิจที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม ทําลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
หลักธรรมาภิบาลจึงถูกนําไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนเพื่อให้เหมาะสม
กับหน่วยงานนั้น ๆ และสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
5.1 ลักษณะสำคัญของอธิปไตยอะไรบ้าง
1. มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) คือจะไม่มีอำนาจอื่นภายในรัฐเหนือกว่าและจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจการ ออกกฎหมายของรัฐ
2. มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มีอยู่เหนือคนทุกคนและทุกองค์การที่อยู่ภายในรัฐใช้ได้เป็นการทั่วไปยกเว้นผู้แทนทางการฑูตที่มาประจำอยู่ในรัฐใด ไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น อย่างไรก็ตาม รัฐมีอำนาจที่จะยกเลิกอภิสิทธิ์ดังกล่าวนี้ได้
3. มีความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังมีชีวิตอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา เมื่อรัฐถูกทำลายเท่านั้น อธิปไตยจึงจะสูญสลายไปจากรัฐ
 4. แบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) ในรัฐหนึ่งๆจะต้องมีอธิปไตยเพียงหน่วยเดียวเท่านั้น ถ้ามีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็เท่ากับเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย
5.2 หลักธรรมมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
หลักธรรมมาภิบาลแบ่งออกได้6หลักดังนี้
1หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึง เรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
2หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึด หลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนองไปพน้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
3หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกลการทำงานของทุกองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบความถูกต้องได้ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
4หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ
5หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน การสำนึกในความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบขององค์กรรัฐหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการทำงานของเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
6หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลที่สนับสนุนสังคมที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
5.3หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ความสอดคล้องที่มีร่วมกัน คือ
1การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) หลักประสิทธิผล (Effective) และหลักการตอบสนอง (Responsive)
2ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบด้วยหลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) หลักความเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หลักนิติธรรม (Rule of Law) และหลักความเสมอภาค (Equity)
3ประชารัฐ (Participatory State) ปรกอบด้วยหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) และหลักการมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามติ (Participaton/Consensus Oriented)
4ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วยหลักคุณธรรม/จริยธรรม(Morality/Ethics)
นางสาวอุมาพร สุรวิทย์ รหัส62423471001 รุ่น44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีดังนี้
1. หลักความเสมอภาค
-ความเสมอภาคทางการเมืองประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกัน รูปแบบจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักความเสมอภาคทางการเมืองผ่านประชาชนทุกระดับทุกอาชีพที่ต่างมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
-ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจประชาชนทุกคนต้องไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพการประกอบการต้องเป็นไปอย่างเสรีเป็นธรรมไม่มีการผูกขาดทางการค้ารูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหวแสดงหลักความเสมอภาคทางเศรษฐกิจผ่านเรื่องราวของประชาชนคนหนึ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนอาชีพได้อย่างอิสระเสรี
-ความเสมอภาคทางโอกาสบุคคลสามารถจะได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาลและการให้บริการจากรัฐอยางเท่าเทียมกันรูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักความเสมอภาคทางโอกาสผ่านภาพเปรียบเทียบการไดรับโอกาสที่เท่าเทียมกันแม้ว่าจะต่างฐานะกัน
2. หลักสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม หรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักสิทธิเปรียบเทียบผ่านเรื่องราวการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันบนท้องถนน โดยรถยนต์คันหนึ่งที่กระทำละเมิดสิทธิของรถคันอื่นที่มาก่อน
-เสรีภาพ คือ การมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใด ๆ โดยต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักเสรีภาพการเคารพเสรีภาพซึ่งกันและกันของเพื่อนที่อาศัยร่วมห้องเดียวกัน
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลต้องปฏิบัติหรืองดเว้นจากการปฏิบัติบุคคลย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ซึ่งการใช้สิทธิ เสรีภาพต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมาย
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักหน้าที่ผ่านอาชีพแต่ละอาชีพที่แต่ละบุคคลในสังคมพึงปฏิบัติตามหน้าที่แต่งอาชีพของตน
3. หลักนิติธรรม
การใช้กฎหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้กฏหมายต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักนิติธรรมผ่านตาชั่งความยุติธรรมเท่าเทียมกันแม้ว่าอีกฝ่ายจะมีอำนาจฐานะมากกว่าอีกฝ่ายก็ตาม
4. หลักการใช้เหตุผล
คือ การใช้หลักเหตุผลมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และหากมีการตัดสินปัญหาด้วยการออกเสียงต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อย
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการใช้เหตุผ่านการลงมติเสียงเลือกทาสีห้องใหม่ของนักเรียนห้องหนึ่งโดยอาศัยหลักเหตุผลและเสียงข้างมากในการตัดสินแต่ไม่ละเลยเสียงข้างน้อย
5. หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น การออกเสียงประชามติ การเสนอถอดถอน ฯลฯ ทางอ้อม เช่น การเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตน
นางสาวอุมาพร สุรวิทย์ รหัส62423471001 รุ่น44
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง มีองค์ประกอบที่สำคัญ6ประการ ดังนี้
1.หลักนิติธรรม คือการตรากฎหมายกฎระเบียบขอ้บงัคบัและกติกาต่างๆให้ทันสมัยและเป็นธรรมตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิกโดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกล่าวโดยสรุปคือสถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล
2.หลักคุณธรรม คือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงามโดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมท่ีดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียรความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
3.หลักความโปร่งใส คือการทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันและช่วยให้การทางานของภาครัฐ และภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
4.หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่นๆและขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
5.หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหารตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าท่ีการงานท่ีตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไ้ขได้ทันท่วงที
6.หลักความคุ้มค่า ผู้บริหารต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจากัดดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจำเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมาย ไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม
นางสาวอุมาพร สุรวิทย์รหัส62423471001รุ่น44
3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลที่สอดคล้องกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(GG Framework) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ และ 10 หลักการย่อย ดังนี้
1.การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ( New Public Management ) ประกอบด้วย 3 หลักการย่อย
1.1ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้ทรัพยากรอย่าง ประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ทั้งนี้ต้องมีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออํานวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจน ยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและไม่มีความจําเป็น
1.2ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องมีวิสัยทัศน์เชิง ยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตาม พันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ มีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมี มาตรฐาน มีการจัดการความเสี่ยงและมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ รวมถึงมีการติดตาม ประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.3การตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องสามารถ ให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดําเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ เสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างได้อย่างเหมาะสม
2.ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบด้วย 4 หลักการย่อย
2.1ภาระรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) หมายถึง ในการ ปฏิบัติราชการต้องสามารถตอบคําถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย รวมทั้งต้องมีการจัดวางระบบการ รายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการ ตรวจสอบ และการให้คุณให้โทษ ตลอดจนมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและ
ผลกระทบใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น
2.2เปิดเผยและโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้อง
ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นและ เชื่อถือได้ รับทราบอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนวางระบบให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นไป โดยง่าย
2.3หลักนิติธรรม ( Rule of Law ) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้อํานาจ ของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือก ปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้มีสว่ นได้เสียฝ่ายต่างๆ
2.4ความเสมอภาค (Equity) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องให้บริการอย่างเท่า เทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกด้านชายหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม และ อื่นๆ อีกทั้งยังต้องคํานึงถึงโอกาสความเท่าเทียมของการเข้าถึงบริการสาธารณะของกลุ่มบุคคล ผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย
3.ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วย 2 หลักการย่อย
3.1การมีส่วนร่วมและการพยายามแสวงหาฉันทามติ (Participation and
Consensus Oriented) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้ง เปิดให้ประชาชนมีส่วนรวมในการรับรู้ เรียนรู้ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาและ ประเด็นที่สําคัญที่เกี่ยวข้องร่วมคิดแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดําเนินงานและ ร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ต้องมีความพยายามในการแสงหาฉันทามติหรือข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะต้องไม่มีข้อคัดค้าน ที่หาข้อยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ
3.2การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการควรมี การมอบอํานาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดําเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานใน ระดับต่างๆได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นหรือภาคส่วนอื่นๆในสังคม
4.ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility)
ประกอบด้วย1หลักการย่อย
4.1คุณธรรมและจริยธรรม (Morality and Ethics) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการ
ต้องมีจิตสํานึกความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงความ คาดหวังของสังคม รวมทั้งยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสําคัญสําหรับผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระบบราชการไทย
นายลัญจกร พวงศรี
62423471051 รุ่น44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตรมีอะไรบ้าง

แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"

ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้

ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้

แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยหแามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
นายลัญจกร พวงศรี
62423471051 รุ่น44
2.หลักธรรมมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง

1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 มีหลักพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี 6 ประการ คือ
(1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านี้ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
(2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
(3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้(4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การแสดงประชามติ หรืออื่น (5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน(6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน 2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 วรรคแรก (ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550)
ได้กำหนดว่า... ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี..
3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 เป็นเพียงข้อมูลกำหนดที่แสดงถึงเป้าหมายหลักที่ต้องดำเนินการแต่ยังขาดการกำหนดวิธีการปฏิบัติของส่วนราชการ และข้าราชการที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายหลัก โดยต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการ และการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติให้ชัดเจนเป็นแนวเดียวกัน โดยไม่ก่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจในการเลือกปฏิบัติของแต่ละส่วนราชการ ทั้งนี้ สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนได้ จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ขึ้นเพื่อให้ทุกส่วนราชการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
นายลัญจกร พวงศรี
62423471051 รุ่น44

3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง


การปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม

1. Legitimacy (ความชอบธรรม) การได้อำนาจรัฐที่มาจากการซื้อเสียง ทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ย่อมจะขาดความชอบธรรมในส่วนที่เข้าสู่ตำแหน่งอำนาจรัฐตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

2. Corruption (การฉ้อราษฎร์บังหลวง) การบริหารประเทศเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งการก่อสร้างหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง มีการใช้อำนาจรัฐส่งเสริมการทำธุรกิจของตนเอง ญาติโกโหติกาและพรรคพวก ด้วยการแก้กฎหมาย หลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ รวมทั้งการบิดเบือนนโยบายที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ความจำเป็นและความเหมาะสม

3. Abuse of Power (การลุแก่อำนาจ) มีการละเมิดกฎหมายโดยไม่เกรงกลัวต่อผลเสียหายที่จะตามมา ทั้งในทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม รวมทั้งจริยธรรมของสังคม การละเมิดกฎหมายในลักษณะลุแก่อำนาจ และการละเมิดต่อหลักนิติธรรม (the rule of law) ด้วยการตีความกฎหมายตะแบง ขยายอำนาจจนเกินขอบเขต แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการหาผลประโยชน์ทางธุรกิจจนไม่คำนึงถึงความเสียหายที่มีต่อชาติ

นอกจากนี้ยังมีการทำลายโครงสร้างและกระบวนการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยการทำให้อำนาจของฝ่ายบริหารกลายเป็นกลไกที่มีผู้สั่งการเพียงคนเดียว องค์กรควบคุมการใช้อำนาจทั้งหลาย รวมทั้งองค์กรที่คานอำนาจตกอยู่ในการครอบงำด้วยการแทรกแซงและการใช้อำนาจเงิน เพื่อให้คนที่อยู่ในอาณัติของตนดำรงตำแหน่งในองค์กรที่มีอำนาจควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ย่อมจะนำไปสู่การเสียความชอบธรรมทางการเมืองและเสื่อมศรัทธาในระบบ

4. Nepotism and Cronyism (การเอื้อประโยชน์ต่อญาติโกโหติกาและพรรคพวก) การบริหารประเทศมิได้เป็นไปตามหลักคุณธรรม มีการเล่นพรรคเล่นพวก นำคนซึ่งมีปัญหาเรื่องจริยธรรม คุณธรรม ความสามารถ มาดำรงตำแหน่งจนทำให้ระบบการบริหารราชการประจำเกิดความเสียหาย เป็นการใช้ระบบอุปถัมภ์ในทางที่ผิด นำไปสู่ความเสียหายต่อสังคมในแง่จริยธรรม เศรษฐกิจและธุรกิจ ในแง่การแข่งขันโดยเสรีและระบบการเมืองการปกครองบริหาร

5. Immorality (พฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ) มีพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม เช่น มีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคาวโลกีย์ และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับฐานะของผู้นำ ดังเช่นที่มีความพยายามถอดถอนประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกจากตำแหน่งที่เพิ่งผ่านมานี้ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นผู้นำ

กล่าวโดยสรุป ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีความชอบธรรมทางการเมือง ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งละเมิดกฎหมาย ลุแก่อำนาจ กระทำการที่ขัดต่อหลักนิติธรรม มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการเป็นผู้นำที่ใช้อำนาจรัฐอันสูงสุด โดยประชาชนให้ความไว้วางใจในความเป็นคนดี มีความเด็ดขาด มีความเป็นผู้นำที่ใช้หลักเหตุและผลในการบริหารประเทศ รู้จักใช้คนให้ถูกกับงาน โดยคัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีจริยธรรม มาร่วมงาน แต่ที่สำคัญที่สุด จะต้องไม่เป็นผู้ซึ่งใช้อำนาจรัฐและการตะแบงเปลี่ยนแปลงกฎหมาย หาผลประโยชน์จากการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยการใช้งบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้าง การก่อสร้าง การเสนอโครงการที่เรียกว่าอภิมหาโครงการ หรือกลเม็ดเด็ดพรายใดเพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน รวมทั้งตำแหน่งอำนาจและสถานะทางสังคมที่ไม่สอดคล้องกับความเหมาะสมแก่พรรคพวก และญาติโกโหติกา
กิตติพศ พุ่มมูล รหัส 62423471062 รุ่น44 said…

1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบคุณลักษณะเด่นๆ ที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ซึ่งต้องมีการรณรงค์หาเสียง มีการเสนอนโยบาย มีการต่อสู้กับพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค การเลือกตั้งที่ผู้สมัครมาจากพรรคเดียวไม่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นระบบประชาธิปไตย
2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้
กิตติพศ พุ่มมูล said…
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ หลังธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเน่ืองในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลท่ีสนับสนุนสังคมท่ีปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประเทศไทย
กิตติพศ พุ่มมูล รหัส 62423471062 รุ่น44 said…
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ.หลักการปกครองแบบประชิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมืองการใช้อำนาจรัฐและควบคุมการใช้อำนาจจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลอันได้แก่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
การที่จะได้ความชอบธรรมในแง่ผลงานมีหลักการสำคัญคือ จะต้องเดินตามแนวปรัชญาการเมืองการบริหารอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นหลักการและวิธีปฏิบัติที่ต้องนำไปใช้ทั้งในส่วนของการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น และส่วนของการบริหารอันได้แก่ระบบราชการปรัชญาหรือหลักการนั้นคือหลักธรรมาภิบาล (good governance) ซึ่งประกอบด้วย 5 ข้อใหญ่ๆ คือ
1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะ
ถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
Unknown said…
นางสาวฐานิดา จันทร์ธิ
รหัส 62423471006

1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบคุณลักษณะเด่นๆ ที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ซึ่งต้องมีการรณรงค์หาเสียง มีการเสนอนโยบาย มีการต่อสู้กับพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค การเลือกตั้งที่ผู้สมัครมาจากพรรคเดียวไม่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นระบบประชาธิปไตย
2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้
Unknown said…
นางสาวฐานิดา จันทร์ธิ
รหัส 62423471006

2.หลักธรรมมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง

1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 มีหลักพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี 6 ประการ คือ
(1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านี้ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
(2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
(3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้(4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การแสดงประชามติ หรืออื่น (5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน(6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน 2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 วรรคแรก (ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550)
ได้กำหนดว่า... ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี..
3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 เป็นเพียงข้อมูลกำหนดที่แสดงถึงเป้าหมายหลักที่ต้องดำเนินการแต่ยังขาดการกำหนดวิธีการปฏิบัติของส่วนราชการ และข้าราชการที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายหลัก โดยต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการ และการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติให้ชัดเจนเป็นแนวเดียวกัน โดยไม่ก่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจในการเลือกปฏิบัติของแต่ละส่วนราชการ ทั้งนี้ สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนได้ จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ขึ้นเพื่อให้ทุกส่วนราชการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
Unknown said…
นางสาวฐานิดา จันทร์ธิ
รหัส 62423471006

3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง รหัส63423471284
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"

ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้

1.ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2.ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3.การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4.การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง
รหัส63423471284
หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน

แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ

1. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality & Integrity)
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness)
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว อาทิ

2) หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า

3) หลักความโปร่งใส (Transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบความถูกต้องได้ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นต่อการตัดสินใจขององค์กร ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

5) หลักความรับผิดชอบ (Accountability)ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน การสำนึกในความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบขององค์กรรัฐหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการทำงานของเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เช่น

6) หลักความคุ้มค่า (Effectiveness)ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า กล่าวคือ ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ดีในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อิทธิณัฐ แซมกลาง
รหัส63423471284
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทาง สำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มี ความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริม ความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะ วิกฤติ ภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครอง แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้นิยามความหมายของคำว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “ธรรมาภิบาล” ไว้หลายประการ ดังนี้
1.ประชารัฐ หมายถึง กระบวนความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐภาคสังคมภาคเอกชนและประชาชน
โดยทั่วไปในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้
2. ประชารัฐ หมายถึง การที่กลไกของรัฐ ทั้งทางการเมืองและการบริหาร มีความแข็งแกร่งมี
ประสิทธิภาพ สะอาด โปร่งใส รับผิดชอบ
3. ประชารัฐ หมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่ดีหรือการปกครอง หรือการบริหารที่เป็น
ธรรม โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และความมีประสิทธิภาพ
เป็นหลักเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
ภูสิ​รัช​ แก้ว​แพ​ said…
ภูสิ​รัช​ แก้ว​แพ​ ​รหัส​62423471119​
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ​ 1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ซึ่งต้องมีการรณรงค์หาเสียง มีการเสนอนโยบาย มีการต่อสู้กับพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค การเลือกตั้งที่ผู้สมัครมาจากพรรคเดียวไม่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นระบบประชาธิปไตย
2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้
ภูสิ​รัช​ แก้ว​แพ​ said…
นายภูสิ​รัช​ แก้ว​แพ​ รหัส​62423471119
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเน่ืองในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลท่ีสนับสนุนสังคมท่ีปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประเทศไทย
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ.หลักการปกครองแบบประชิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมืองการใช้อำนาจรัฐและควบคุมการใช้อำนาจจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลอันได้แก่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม​ ประกอบด้วย
1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะ
ถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล


นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้

ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้

แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
2.หลักธรรมมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality & Integrity)
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness)
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการ
หลักนิติธรรม เป็นหลักที่คนในสังคมจะต้องปฏิบัติ ผู้มีอำนาจผู้เกี่ยวข้องต้องคำนึงการตรากฎหมายต่างๆ อย่างเป็นธรรม ปราศจากการตั้งธง ตรากฎหมายให้ทันสมัยมีส่วนร่วมกับบุคคลที่หลากหลาย/กฎหมายไม่เลือกปฏิบัติ/ไม่ส่อไปทางที่เข้าข้างหรือเอนเอียงเพื่อตนเองและพวกพ้อง ประเด็นนี้ หลังจากการรัฐประหารปี 2557 ดูเหมือนกลุ่มผู้มีอำนาจตั้งธงไว้ว่าต้องไม่เสียของ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่ตัวเองหรือพวกพ้องต้องการตั้งแต่คนร่างกติการ่างกฎหมาย/การบังคับกฎหมายลงโทษกับกลุ่มที่เห็นต่างอย่างไม่ลดละและเร่งรีบ
ตรงข้ามถ้าเป็นกลุ่มพวกพ้องเดียวกันการดำเนินการทางกฎหมายกลับล่าช้าหน่วงเหนี่ยวกติกาการเลือกตั้งถูกปรับเปลี่ยนตั้งแต่จำนวน ส.ส. เปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง รวมถึงการซื้อตัวขายตัวของผู้ที่สมัคร ต่างพรรค ต่างพวกมาไว้ในกลุ่ม ในคอก ในพรรคของตัวเอง พร้อมใช้กลไกของรัฐที่ตัวเองมีอำนาจเข้าบริหารจัดการอย่างน่าอายน่าเกลียดที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ที่เลียนแบบของเยอรมันนำมาสร้างเงื่อนไขวุ่นวายขัดแย้งคนในชาติ
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัส63423471016
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทาง สำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มี ความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริม ความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะ วิกฤติ ภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครอง แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้นิยามความหมายของคำว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “ธรรมาภิบาล” ไว้หลายประการ ดังนี้
1.ประชารัฐ หมายถึง กระบวนความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐภาคสังคมภาคเอกชนและประชาชน
โดยทั่วไปในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้
2. ประชารัฐ หมายถึง การที่กลไกของรัฐ ทั้งทางการเมืองและการบริหาร มีความแข็งแกร่งมี
ประสิทธิภาพ สะอาด โปร่งใส รับผิดชอบ
3. ประชารัฐ หมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่ดีหรือการปกครอง หรือการบริหารที่เป็น
ธรรม โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และความมีประสิทธิภาพ
เป็นหลักเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายสุดท้าย (Ultimate Goals) ดังนี้
(1) เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) การลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ (และกระจายอำนาจการตัดสินใจ)
(5) การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (รวมการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น)
(6) การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน (รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเปิดเผยข้อมูล)
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ลักษณะสำคัญ
แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2. ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3. การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4. การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
1.หลักนิติธรรม เป็นหลักที่คนในสังคมจะต้องปฏิบัติ ผู้มีอำนาจผู้เกี่ยวข้องต้องคำนึงการตรากฎหมายต่างๆ อย่างเป็นธรรม ปราศจากการตั้งธง ตรากฎหมายให้ทันสมัยมีส่วนร่วมกับบุคคลที่หลากหลาย/กฎหมายไม่เลือกปฏิบัติ/ไม่ส่อไปทางที่เข้าข้างหรือเอนเอียงเพื่อตนเองและพวกพ้อง
2.หลักของความโปร่งใส (Transpavency) หลักนี้เน้นสร้างความเชื่อมั่น/สร้างความไว้วางใจให้ข้อมูลที่เป็นจริงตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน มีกระบวนการติดตามตรวจสอบอย่างชัดเจน และเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ
3.หลักการมีส่วนร่วม (Participation) เป็นกระบวนการร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหา ยิ่งการบริหารแผ่นดินท่ามกลางความขัดแย้งไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ยุคใช้วาทกรรม ทำลายกัน ผู้มีอำนาจทั้งหลายควรพึงระวัง การใช้ความเด็ดขาดผ่าน ม.44 บางครั้งหวังดีต่อชาติและส่วนรวมแต่สังคมขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แล้วก็ยิ่งยาก เช่น กรณี ม.44 คุ้มครองบริษัท โทรคมนาคมมูลค่าหลายหมื่นล้าน การวางเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ผ่านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
4.ความรับผิดชอบ เป็นหลักการที่องค์กรอิสระที่ผู้รับผิดชอบต้องทุ่มเทเสียสละและเน้นความถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรมสามารถตรวจสอบได้ไม่คลุมเครือไม่ปล่อยให้สังคมหาคำตอบกันเอง เช่น กรณีการนับคะแนน การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร และการกำหนดฐานของคะแนนว่าที่ ส.ส. จะอยู่ที่คะแนน 70,000 กว่าคะแนนหรือไม่ ผู้รับผิดชอบการเลือกตั้งต้องมีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง ต่อสิทธิของประชาชน โดยไม่ส่อไปในทางลำเอียงไปยังพรรคหนึ่งพรรคใด
5.หลักคุณธรรม เป็นหลักที่ผู้รับผิดชอบที่มีจิตใจที่ดีเป็นธรรมมีจิตสำนึกที่ดี มีความซื่อสัตย์ต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รู้จักชั่วดี ละอายต่อการกระทำที่ผิดหลักการและหลักเกณฑ์ที่วางไว้ กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อ 24 มีนาคม 2562 กกต. กลายเป็นจำเลยทางสังคมมาโดยตลอด
6.หลักความคุ้มค่า หลักนี้ต้องการให้ผู้รับผิดชอบคำนึงถึงความคุ้มค่า และลงทุน เพราะเงินที่นำมาใช้ในการดำเนินการมาจากภาษีของประชาชน เงินทุกบาททุกสตางค์ต้องคุ้มค่า แต่ที่เป็นกล่าวขานกันว่า มีองค์กรอิสระใช้เงินจำนวนหลายร้อยล้านบาทไปต่างประเทศหรือกรณีการคัดเลือก ส.ว. จำนวน 250 คนก็ใช้เงินกว่า 1,000 ล้าน ทั้งๆ ที่คนถูกคัดเลือกเป็นคนกันเองไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขนาดนี้
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
สำหรับความหมายของหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ทั้ง ๔ หลักการสำคัญ และ ๑๐ หลักการย่อย มีดังนี้
๑) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ประกอบด้วย
● ประสิทธิภาพ .(Efficiency) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมทั้งนี้ต้องมีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและไม่มีความจำเป็น
● ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์การมีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและอยู่ในระดับที่ตอบสนองต่อความคาด หวัง ของประชาชน สร้างกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน มีการจัดการความเสี่ยงและมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศรวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
● การตอบสนอง (Responsiveness) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการต้องสามารถให้บริการได้ อย่างมีคุณภาพสามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดสร้างความเชื่อมั่นไว้วาง ใจรวมถึงตอบสนองตามความคาดหวังความต้องการของประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลาย และมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
๒) ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบด้วย
● ภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้อง สามารถตอบคำถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยรวมทั้งต้องมีการจัดวางระบบการรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและการให้คุณให้โทษตลอดจนมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น
● เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอตลอดจนวางระบบให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นไปโดยง่าย
● หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติและคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่าง ๆ
● ความเสมอภาค (Equity) หมาย ถึง ในการปฏิบัติราชการต้องให้บริการอย่างเท่าเทียมกันไม่มี การแบ่งแยกด้านชายหญิงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม และอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงโอกาสความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงบริการสาธารณะของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย
๓) ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วย
● การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ(Participation/Consensus Oriented) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้เรียนรู้ทางความเข้าใจร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องร่วมคิดแก้ไขปัญหาร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานและร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงานทั้งนี้ต้องมีความพยายามในการแสวงหาฉันทามติหรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะต้องไม่มีข้อคัดค้านที่หาข้อยุติไม่ ได้ในประเด็นที่สำคัญ
● การกระจายอำนาจ (Decentralization) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการควรมีการมอบอำนาจ และกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและ การดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม รวมทั้งมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาค ส่วนอื่น ๆ ในสังคม
๔) ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วย
● คุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics) หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องมีจิตสำนึกความ รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีศีลธรรมคุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคม รวมทั้ง ยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประมวล จริยธรรมข้าราชการพลเรือน และจรรยาบรรณวิชาชีพ
นาย ธนาวุฒิ สีหะนาม
รหัส 63423471004 รุ่น46

1. ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
วิษณุ เครืองาม (2550) ได้ให้ความหมายของประชาธิปไตยว่า “ประชาธิปไตย (Democracy) มาจาก คําว่า ประชา + อธิปไตย หมายถึง การเคารพเสียงข้างมาก ซึ่งความหมายอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่ง แวดล้อมหรือบริบท (Context) กล่าวคือ เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนความหมายหรือวิธีการมันก็เปลี่ยนแปลงไป แต่ แก่นก็คือ การเคารพเสียงข้างมาก” ในขณะที่ ติน ปรัชญพฤทธิ์ ให้ความหมายว่า ประชาธิปไตย เป็นการ ปกครอง การบริหารที่เน้นการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ และให้ประชาชนจํานวนมากเข้าไปมี อิทธิพลเหนือการตัดสินใจในการเลือกตั้งข้าราชการการเมืองจากคู่แข่งหลายๆ คน ตลอดจนส่งเสริมเสรีภาพใน การพูด การตีพิมพ์และการเผยแพร่ (อ้างอิงจาก ติน ปรัชญพฤทธิ์, 2552, หน้า 109)
ลักษณะสําคัญของประชาธิปไตย มีดังต่อไปนี้
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตยคือประชาชนมีอํานาจสูงสุดในรัฐอาจใช้อํานาจทางตรง หรือทางอ้อมก็ไดเ
2. ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมายตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพใน ขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3. การดําเนินการต่างๆของรัฐนั้นคือเอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสินแต่ในขณะเดียวกัน เสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทํานองครองธรรม
4. กระบวนการของประชาธิปไตยคือวิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชน ส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของ ประชาชน
ระบบการเมืองใดก็ตามที่ขาดคุณลักษณะข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อที่กล่าวมาแล้วนั้น จะไม่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ส่วนใหญ่มักจะมีรูปแบบของคุณลักษณะใน 4 ข้อเบื้องต้น แต่จะบกพร่องในเนื้อหาและบางครั้งจะเกิดความบกพร่องในสาระและหลักการ จึงมีการปกครองแบบประชาธิปไตยในหลายๆ ประเทศที่มีหน้าฉาก (facade) หรือรูปแบบ (form) ของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่เนื้อหา (substance) เป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่บกพร่อง ขาดความสมบูรณ์
และในบางกรณีเป็นระบบการปกครองแบบเผด็จการที่อ้างคำว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องประดับ

2. หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
1.การมีส่วนร่วม(Participation)ชายและหญิงทุกคนควรมีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจทั้งโดยทางตรง หรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างนั้นต้องอิงอยู่บนพื้นฐานของ การมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิง สร้างสรรค์
2. นิติธรรม(Ruleoflaw)กรอบตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน
3. ความโปร่งใส(Transparency)ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร บุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน กระบวนการ และข้อมูลข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้การ ได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นต้องมีความเพียงพอตอการทําความเข้าใจและการติดตามประเมินสถานการณ์
4. การตอบสนอง(Responsiveness)สถาบันและกระบวนการดําเนินงานต้องพยายามดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
5. การมุ้งเน้นฉันทามติ(Consensus-oriented)มีการประสานความแตกต่างในผลประโยชน์ของฝ่าย ต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายและกระบวนการขั้นตอนใดๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
6. ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม(Equity)ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการปรับปรุงสถานะ หรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน
7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล(Effectiveness and efficiency) สถาบันและกระบวนการต้อง สร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงต่อความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
8. ภาระรับผิดชอบ(Accountability)ผู้มีอํานาจตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐภาคเอกชนและ องค์กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถาบันของตน
3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
- สอดคล้องกันในทุกเรื่องโดยเฉพาะสิทธิ เสรีภาพของคนส่วนมาก
ธรรมาภิบาลจัดเป็นแนวคิดสาคัญในการบริหารงานและการปกครองในปัจจุบัน เพราะ โลกปัจจุบันได้หันไปให้ความสนใจกับเรื่องของโลกาภิวัตน์และธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ ดี มากขึ้น แทนการสนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมดังแต่ก่อน เพราะกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจ มีความสำคัญกระทบถึงกัน การติดต่อสื่อสาร การดำเนินกิจกรรมในที่หนึ่งมีผลกระทบต่ออีกที่หนึ่ง การพัฒนาเรื่องของการเมืองการปกครองได้มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น หากจะให้ ประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การมุ่งดาเนินธุรกิจ หรือปฏิบัติราชการต่างๆโดยไม่ให้ความ สนใจถึงเรื่องของสังคม ประชาชน และสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป การมีการบริหารจัดการที่ ดีจึงเข้ามาเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเริ่มมีการนำไป
ปฏิบัติกันมากขึ้น
ส่วนหนึ่งที่ทําให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืนและมั่นคงมาจนถึงปัจจุบันคือ ปรัชญาของ ระบอบประชาธิปไตย เกิดจากความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ ยึดมั่นในความเท่าเทียมกันของ มนุษย์ เคารพในเสรีภาพของมนุษย์ อํานาจสูงสุดหรืออํานาจอธิปไตยต้องเป็นของปวงชน นอกจาก ปรัชญาดังกล่าวแล้ว หลักการที่สําคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ผู้ปกครองหรือผู้บริหารราชการ แผ่นดินต้องถือปฏิบัติ คือต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล อํานาจอธิปไตย ทั้งอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร อํานาจตุลาการตามหลักการแบ่งแยกอํานาจ ซึ่งตรงกับหลักธรรมาภิบาล สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทําให้ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
นายคณิติน ศิริธีรวัฒนสุข 63423471142
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ไม่มีคำนิยามประชาธิปไตยที่ทุกคนเห็นตรงกันหมด การศึกษาในภาษาอังกฤษครั้งหนึ่งพบว่ามีคำอธิบายประชาธิปไตยอย่างน้อย 2,234คำอธิบายแต่มีระบุว่าจะต้องมีลักษณะสำคัญ คือ ความเสมอภาคทางกฎหมาย เสรีภาพทางการเมืองและนิติธรรมตัวอย่างเช่น ในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน คะแนนเสียงทุกเสียงมีน้ำหนักเท่ากัน จะต้องไม่วางข้อจำกัดที่ไม่สมเหตุสมผลซึ่งห้ามบุคคลสมัครรับเลือกตั้ง และอิสรภาพของพลเมืองได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วยสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
องค์ประกอบต่างๆ ที่จะช้วยส้งเสริมในการพัฒนานั้น มีความเกี่ยวข้องกันและช่วยส่งเสริมกัน ทั้งใน
ด้านของธรรมาภิบาล ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนและสื่อ ซึ่งกล่าวได้ว่า การสร้างการพัฒนาที่
แท้จริงและยั่งยืนนั้น จะต้องอาศัยสื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และส่งเสริมแนวคิดธรรมาภิบาล
ประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน และสื่อที่จะทําหน่าที่ดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีเสรีภาพในการ
นําเสนอข้อมูลและตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล โดยเสรีภาพนั้นจะเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเป็น
ประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริงจะช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และส่งเสริมธรร
มาภิบาลให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการมีธรรมาภิบาลในการบริหาร
ประเทศนั้น จะนําไปสู่การพัฒนาประเทศ และสามารถกําจัดความยากจนได้ เพราะมีการจัดสรรทรัพยากรไปสู่
ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกนําไปใช้ประโยชน์และแบ่งป่นเฉพาะในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มที่
มีอํานาจทั้งทางการเมืองและการเงิน และประชาชนยังมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งเป็นการพัฒนา
อย่างยั่งยืนที่แท้จริง ซึ่งสื่อที่ดีจะช่วยส่งเสริมธรรมาภิบาลได้ด้วยการสร้างบรรยากาศและพื้นที่สาธารณะที่มี
ความหลากหลาย เพื่อให้ความรู้และสร้างประชาชนให้มีบทบาทและเข้าร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา
ประเทศโดยสื่อเองจะต้องมีจริยธรรม มีความหลากหลายและมีเสรีภาพ เพื่อเป็นโอกาสให้ประชาชนมีส้วนร่วม
ในประเด็นสาธารณะ และต้องรายงานข่าวที่มีเนื้อหาเชิงวิเคราะห์น่าเชื่อถือ มีการเป็นโอกาสให้มีการถกเถียง
และอภิปรายในประเด็นต่างๆที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ นอกจากนี้แล้ว สื่อยังต้องปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตย และความเป็นพลเมืองที่ดีรวมไปถึงการเคารพกฎหมาย เมื่อประชาชนเข้าใจบทบาทหน่าที่ของ
ตนเองแล้ว ก็จะยินดีและมีความกระตือรือรัน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมที่ตนอาศัยอยู่
นายคณิติน ศิริธีรวัฒนสุข 63423471142
ประเทศไทยแม้จะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติหลักธรรมาภิบาลไว้อย่างไรก็ตาม
เมืองมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้ก็ไม่ได้ทิ้งหลักธรรมาภิบาลซึ่งเป็นหลักการสากลก็ยังนํามาบัญญัติไว้
โดยตลอดเป็นการยืนยันว่าหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่ใช้คู่กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประเทศไทยได้นําหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้หลังจากที่ประเทศไทยได้ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ใน พ.ศ. 2540 ประกอบกับมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ด้วย
ขณะนั้นสังคมไทยได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับหลักธรรมาภิบาลก็ได้นําไปใช้ในการบริหารภาครัฐทําให้
การบริหารภาครัฐดีขึ้นเป็นลําดับ โดยเฉพาะรัฐบาลเมื่อจะจัดทํานโยบายต่างๆ ก็ต้องคํานึงถึงหลักธรรมาภิบาล
ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้มีความรับผิดชอบ เกิดความคุ้มค่า เป็นไปตามหลักนิติธรรม รวมทั้งการต่อต้าน
ปัญหาคอร์รัปชันที่แพร่ระบาดอยู่ในสังคมไทย เมื่อการบริหารภาครัฐดีขึ้นทําให้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายใน
หน่วยงานภาครัฐส่งผลให้ภาคส่วนอื่น ๆ ของสังคมไทยขับเคลื่อนไปด้วยกันได้สําหรับภาคเอกชนก็มีการนํา
หลักธรรมาภิบาลไปปรับใช้ทําให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทมหาชนจํากัด มีผลประกอบการของบริษัทดีขึ้น
ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ทําให้บริษัทฟื้นตัวจากภาวะการขาดทุน ปัจจุบันภาคเอกชนโดยเฉพาะ
บริษัทที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์มีคะแนนเรื่องการมีธรรมาภิบาลอยู่ในอันดับดีส่งผลต่อการเจริญเติบโตของ
เศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศไทยจําเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่
อก้าวให้ทันโลกในทุก ๆ ด้าน
เพราะสภาวะเศรษฐกิจของโลกมีการแข่งขันกันสูงประกอบกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตทําให้
ประเทศไทยต้องให้ความสําคัญกับเร่ืองหลักธรรมาภิบาลมากขึ้นเพราะเป็นหลักการสมัยใหม่ ซึ่งประเทศ
ที่พัฒนาแล้วได้นํามาใช้เป็นหลักในการบริหารภาครัฐหรือการประกอบธุรกิจของบริษัทเอกชนต่าง ๆและการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นต้องให้ความสําคัญกับการพัฒนาในเชิงคุณภาพ
มากขึ้น ในภาคเอกชนบริษัทที่เติบโตในตลาดหลักทรัพย์จะต้องบริหารให้มีหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้ความคุ้มครอง
แก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และต้องดําเนินธุรกิจที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม ทําลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
หลักธรรมาภิบาลจึงถูกนําไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนเพื่อให้เหมาะสม
กับหน่วยงานนั้น ๆ และสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
1) ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย
โดยลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย ประกอบด้วย
(๑) ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐบาลได้อำนาจมาจากประชาชนหรือโดยความยินยอมของประชาชน
(๒) การเลือกผู้แทนในสังคมสมัยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนต้องเป็นการเลือกที่บริสุทธิ์ยุติธรรมโดยประชาชนสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างอิสระ
(๓) ให้ความสำคัญแก่แนวคิดที่แตกต่าง ร่วมกันแก้ไขปัญหาและตัดสินใจทางการเมืองร่วมกัน
(๔) เชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงการเลือกตั้ง เป็นต้น
(๕) ไม่เลือกปฏิบัติบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
(๖) มีการตรวจสอบการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
(๗) ตัดสินใจหรือปฏิบัติตามเสียงข้างมาก
(๘) ประชาชนมีความเสมอภาคโดยเฉพาะด้านกฎหมาย และมีโอกาสเท่าเทียมกันในด้านต่างๆ
(๙) ประชาธิปไตยอยู่บนพื้นฐานและหลักการของเสรีนิยม
(๑๐) ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยที่รัฐบาลเป็นผู้ให้หลักประกันและคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพ
(๑๑) รัฐบาลให้หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรมไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ
(๑๒) ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศผ่านกลไกต่าง ๆ หรือ ใช้สิทธิ์ที่จะแสดงบทบาทต่าง ๆ ได้โดยตรง และ
(๑๓) รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชนที่จะแสดงความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ต่อ
รัฐบาลรวมถึงมีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิธีการที่กำหนดได้
จะเห็นได้ว่าลักษณะดังกล่าวจะเป็นลักษณะสำคัญที่ประชาชนในสังคมประชาธิปไตยพึงได้รับ และเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องรับรู้และทำความเข้าใจเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและอยู่ รวมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
2) หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง มีอะไรบ้าง
1. การมีส่วนร่วม (Participation) ชายและหญิงทุกคนควรมีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจทั้งโดยทางตรง
หรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างนั้นต้องอิงอยู่บนพื้นฐานของ
การมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิงสร้างสรรค์
2. นิติธรรม (Rule of law) กรอบตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรม และไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน
3. ความโปร่งใส (Tanspareng) ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสารบุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน กระบวนการ และข้อมูลข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้การ
ได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นต้องมีความเพียงพอต่อการทำความเข้าใจและการติดตามประเมินสถานการณ์
4. การตอบสนอง (Responsiveness) สถาบันและกระบวนการดำเนินงานต้องพยายามดูแลเอาใจใส่ผู้
มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
5. การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus-oriented) มีการประสานความแตกต่างในผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายและกระบวนการขั้นตอนใดๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
6. ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม (Equity)ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการปรับปรุงสถานะหรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน
7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and efficiency) สถาบันและกระบวนการต้องสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงต่อความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
8. ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่สาธารณชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถาบันของ
9. วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Stategic vision) ผู้นำและบรรดาสาธารณชนต้องมีมุมมองที่เปิดกว้างและเล็งกรณ์ไกลเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและการพัฒนามนุษย์ (สังคม) รวมถึงมีจิตสำนีกว่าอะไรคือความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาดังกล่าว ตลอดจนมีความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในแต่ละประเด็นนั้น
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003

3) หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
●หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(GG Framework)ซึ่งประกอบด้วย ๔ หลักการสำคัญ และ ๑๐ หลักการย่อย ดังนี้
๑) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New.Public.Management) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพ(Efficiency) หลักประสิทธิผล(Effective) และหลักการตอบสนอง (Responsive) ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบ ด้วยหลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบ ได้ (Accountability) หลักความเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หลักนิติธรรม (Rule of Law) และหลักความเสมอภาค (Equity) ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วยหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) และ หลักการมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามติ (Participation/Consensus Oriented) ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วยหลักคุณธรรม/ จริยธรรม (Morality/Ethics)
●หลักประชาธิปไตย
-อำนาจอธิปไตย
-หลักเสรีภาพ
-หลักความเสมอภาค
-หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากที่เคารพเสียงข้างน้อย
-หลักนิติธรรม
KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 (งานชิ้นที่3)
1. ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ = “ ประชาธิปไตย ” วิษณุ เครืองาม (2550) ให้ความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า “ ประชาธิปไตย (Democracy)มาจากคำว่า ประชา + อธิปไตย หมายถึง การเคารพเสียงข้างมาก อาจจะแตกต่างกันทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือบริบท(Context) หากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนความหมายหรือวิธีการก็เปลี่ยนแปลงไปแต่แก่นคือ การเคารพเสียงข้างมาก”
ลักษณะสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย
- ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐอาจใช้อำนาจในทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
- ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
- การดำเนินการต่างๆของรัฐ คือ การเอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมายผิดทำนองครองธรรม
- กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ แสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน
สรุปได้ว่า ประชาธิปไตยนั้นมีความสอดคล้องกับการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนการโครงการนโยบายต่างๆประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ ดังนั้น ประชาธิปไตยคือการเคารพเสียงข้างมากการมีเสรีภาพทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตย

KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 (งานชิ้นที่3)
2. หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ = หลักกธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(GG Framework)นั้นมี 4 หลักการสำคัญ 10 หลักการย่อย
1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
-ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติราชการต้องรู้จักใช้ทรัพยากรให้ประหยัดเกิดผลิตภาพคุ้มค่าต่อการ
ลงทุนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวก ลดภาระค่าใช้จ่ายยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยที่ไม่มีความจำเป็น
-ประสิทธิผล(Effectiveness) ในการปฏิบัติราชการต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ตอบสนองความต้องการของประชาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธะกิจให้บรรลุวัตถุขององค์การวางเป้าหมายการปฏิบัติงานให้ชัดเจนอยู่ในระดับตอบสนองความคาดหวังของประชาชนการปฏิบัติงานเป็นระบบมีมาตรฐานมีการตืดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีมีความคุณภาพสม่ำเสมอ
-การตอบสนอง(Responsiveness)ในการปฏิบัติราชการสามารถให้บริการอย่างมีคุณภาพเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างเหมาะสม
2) ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value)ประกอบด้วย
- ภาระรับผิดชอบ / สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ในการปฏิบัติราชการต้องสมารถตอบคำถามชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย จัดวางระบบรายงานความก้าวหน้าเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น
- เปิดเผย / โปร่งใส (Transparency) การปฏิบัติงานราชการต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเชื่อถือได้ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอวางระบบให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นไปโดยง่าย
- หลักนิติธรรม ( Rule of Law )ในการปฏิบัติราชการต้องใช้อำนาจของกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วยความเป็นธรรมคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่างๆ
-ความเสมอภาค ( Equity ) การปฏิบัติราชการต้องให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกด้านชายหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ยังต้องคำนึงถึงโอกาสความเท่าเทียมกันของการเข้าบริการสาธารณะของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย
3.ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วย
-การมีส่วนร่วม / การพยายามแสวงหาฉันทามติ( Participation /Consensus Oriented ) การปฏิบัติราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญ / ที่เกี่ยวข้องร่วมคิดแก้ไขปัญหาทั้งนั้นมีความพยายามในการแสวงหาฉันทามติข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต้องไม่มีข้อคัดค้านที่หาข้อยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ
- การกระจายอำนาจ (Decentralization)การปฏิบัติราชการควรมีการมอบอำนาจกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆได้อย่างเหมาะสมการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาค ส่วนอื่นๆ ในสังคม
4.ความรับผิดชอบทางการบริหาร( Administrative Responsibility )ประกอบด้วย
- คุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics)ในการปฏิบัติราชการต้องมีจิตสำนึกความรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคมยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจริยธรรมข้าราชการพลเรือน จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระบบราชการไทย 8 ประการ ( I AM READY ) ได้แก่
I- Integrity ซื่อสัตย์และกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง , A- Activeness ทำงานเชิงรุกคิดเชิงบวกและมีจิตบริการ
M – Morality มีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม , R – Responsiveness คำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
E – Effciency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ , A-Accountability ตรวจสอบได้ , D-Democracy ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
Y-Yield มุ่งผลสัมฤทธิ์
KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128 (งานชิ้นที่3)
3. หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องในข้อใดบ้าง
ตอบ = หลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องหลักธรรมาภิบาลหลักการบริหารบ้านเมือง คือ หลักประชาธิปไตยหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากด้วยการเห็นชอบในเรื่องนั้นเป็นส่วนใหญ่ให้เข้าไปมีอำนาจในการบริหารงานต่างๆในตำแหน่งงานบริหารภายในภาครัฐให้ถูกต้องตามกฎหมายและมีจริยธรรมคุณธรรมความชอบธรรมในทางการเมือง ส่วนหลักธรรมาภิบาลสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย คือ การคัดสรรคนที่มีจริยธรรมมีหลักนิติธรรมมีความประพฤติและพฤติกรรมที่เหมาะสมมีความดีมีความเด็ดขาดกล้าตัดสินใจมีความเป็นผู้นำที่ใช้หลักเหตุผลในการบริหารประเทศและองค์กรนั้นๆได้
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง

Ans.

1. หลักความเสมอภาค
ความเสมอภาคทางการเมืองประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกัน รูปแบบจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักความเสมอภาคทางการเมืองผ่านประชาชนทุกระดับทุกอาชีพที่ต่างมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจประชาชนทุกคนต้องไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพการประกอบการต้องเป็นไปอย่างเสรีเป็นธรรมไม่มีการผูกขาดทางการค้ารูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหวแสดงหลักความเสมอภาคทางเศรษฐกิจผ่านเรื่องราวของประชาชนคนหนึ่งซึ่งสามารถเปลี่ยนอาชีพได้อย่างอิสระเสรี
ความเสมอภาคทางโอกาสบุคคลสามารถจะได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาลและการให้บริการจากรัฐอยางเท่าเทียมกันรูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักความเสมอภาคทางโอกาสผ่านภาพเปรียบเทียบการไดรับโอกาสที่เท่าเทียมกันแม้ว่าจะต่างฐานะกัน

2. หลักสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม หรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว แสดงหลักสิทธิเปรียบเทียบผ่านเรื่องราวการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันบนท้องถนน โดยรถยนต์คันหนึ่งที่กระทำละเมิดสิทธิของรถคันอื่นที่มาก่อน
เสรีภาพ คือ การมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใด ๆ โดยต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักเสรีภาพการเคารพเสรีภาพซึ่งกันและกันของเพื่อนที่อาศัยร่วมห้องเดียวกัน
หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลต้องปฏิบัติหรืองดเว้นจากการปฏิบัติบุคคลย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ซึ่งการใช้สิทธิ เสรีภาพต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมาย
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักหน้าที่ผ่านอาชีพแต่ละอาชีพที่แต่ละบุคคลในสังคมพึงปฏิบัติตามหน้าที่แต่งอาชีพของตน

3. หลักนิติธรรม
การใช้กฎหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้กฏหมายต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักนิติธรรมผ่านตาชั่งความยุติธรรมเท่าเทียมกันแม้ว่าอีกฝ่ายจะมีอำนาจฐานะมากกว่าอีกฝ่ายก็ตาม

4. หลักการใช้เหตุผล
คือ การใช้หลักเหตุผลมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และหากมีการตัดสินปัญหาด้วยการออกเสียงต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อย รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการใช้เหตุผ่านการลงมติเสียงเลือกทาสีห้องใหม่ของนักเรียนห้องหนึ่งโดยอาศัยหลักเหตุผลและเสียงข้างมากในการตัดสินแต่ไม่ละเลยเสียงข้างน้อย

5. หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น การออกเสียงประชามติ การเสนอถอดถอน ฯลฯ ทางอ้อม เช่น การเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตน
ทางตรง คือการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงประชามติ การขอรับรู้ข้อมูลข่าวสารราชการ การชุมนุม การร้องทุกข์ส่วนราชการ
ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งตัวแทน เช่น ส.ส. , ส.ว. ไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและบริหารประเทศ
รูปแบบการจัดแสดง การ์ตูนเคลื่อนไหว Animation แสดงหลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านการคัดเลือกหัวหน้าห้องคนใหม่ หากเลือกคนไม่ดีเข้าไปเป็นตัวแทนจะทำให้เดือดร้อน ดังนั้น ควรเลือกตัวแทนที่ดีเข้าไปทำหน้าที่แทนตน
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง

Ans.

ความหมายของคําว่าธรรมาภิบาล มาจากคําว่า ธรรมะ แปลว่าความถูกต้องดีงาม อภิบาล แปลว่า การปกครองหรือการปกปักรักษา ธรรมาภิบาลจึงแปลว่าการปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคําว่า ธรรมรัฐ แปลว่า รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดําเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม

นายอานันท์ปันยารชุน ได้ให้ความหมายว่า ธรรมาภิบาลเป็นผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรมซึ่งบุคคลและสถาบันทั่วไป ภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้กระทําลงไปหลายทางมีลักษณะเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนําไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป
ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยันซื่อสัตย์ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ซึ่งตรงกันข้าม
กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
สิทธิและหน้าที่และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมีลี้ 2544, อ้างถึงใน อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า,
2548, น.106-108)
5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง

Ans.

หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือที่ภาคเอกชนเรียกกันว่า หลักบรรษัทภิบาล (Good Corporate Governance) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้ภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะวิกฤติที่จะมีมาในอนาคต เพราะในสังคมจำเป็นจะต้องมีความยุติธรรม ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งรัฐมีบทบาทที่สำคัญในการวางรากฐานและรักษากฎระเบียบต่าง ๆ การสร้างหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและมีนโยบายการบริหารภายใต้กฎหมายที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาเป็นแนวทางการปฏิรูประบบงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น หน่วยงานทางปกครอง ควรจะต้องบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ :
1.การมีส่วนร่วม ชายและหญิงทุกคนควรมีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจทั้งโดยทางตรง หรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างนั้นต้องอิงอยู่บนพื้นฐานของ การมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิง สร้างสรรค์
2. นิติธรรม กรอบตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน
3. ความโปร่งใส ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร บุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน กระบวนการ และข้อมูลข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้การ ได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นต้องมีความเพียงพอต่อการทําความเข้าใจและการติดตามประเมินสถานการณ์
4. การตอบสนอง สถาบันและกระบวนการดําเนินงานต้องพยายามดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
5. การมุ้งเน้นฉันทามติ มีการประสานความแตกต่างในผลประโยชน์ของฝ่าย ต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายและกระบวนการขั้นตอนใดๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
6. ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการปรับปรุงสถานะ หรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน
7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล สถาบันและกระบวนการต้อง สร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงต่อความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
8. ภาระรับผิดชอบ ผู้มีอํานาจตัดสินใจไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐภาคเอกชนและ องค์กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถาบันของตน
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ :
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน

แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ

1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

2) หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า(Values) ที่ดีงามของมนุษย์

3) หลักความโปร่งใส (Transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบความถูกต้องได้ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นต่อการตัดสินใจขององค์กร ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

5) หลักความรับผิดชอบ (Accountability)ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน การสำนึกในความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบขององค์กรรัฐหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการทำงานของเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

6) หลักความคุ้มค่า (Effectiveness)ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า กล่าวคือ ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ดีในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ในการกำหนดกรอบหน้าที่ของบุคลากรในภาครัฐ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรภาครัฐ โดยมุ่งเน้นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ :
สอดคล้องกันในทุกเรื่องโดยเฉพาะสิทธิ เสรีภาพของคนส่วนมาก ธรรมาภิบาลจัดเป็นแนวคิดสาคัญในการบริหารงานและการปกครองในปัจจุบัน เพราะ โลกปัจจุบันได้หันไปให้ความสนใจกับเรื่องของโลกาภิวัตน์และธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการที่ ดี มากขึ้น แทนการสนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมดังแต่ก่อน เพราะกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจ มีความสำคัญกระทบถึงกัน การติดต่อสื่อสาร การดำเนินกิจกรรมในที่หนึ่งมีผลกระทบต่ออีกที่หนึ่ง การพัฒนาเรื่องของการเมืองการปกครองได้มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น หากจะให้ ประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การมุ่งดาเนินธุรกิจ หรือปฏิบัติราชการต่างๆโดยไม่ให้ความ สนใจถึงเรื่องของสังคม ประชาชน และสิ่งแวดล้อมจึงเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป การมีการบริหารจัดการที่ ดีจึงเข้ามาเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเริ่มมีการนำไป ปฏิบัติกันมากขึ้น
ส่วนหนึ่งที่ทําให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืนและมั่นคงมาจนถึงปัจจุบันคือ ปรัชญาของ ระบอบประชาธิปไตย เกิดจากความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ ยึดมั่นในความเท่าเทียมกันของ มนุษย์ เคารพในเสรีภาพของมนุษย์ อํานาจสูงสุดหรืออํานาจอธิปไตยต้องเป็นของปวงชน นอกจาก ปรัชญาดังกล่าวแล้ว หลักการที่สําคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ผู้ปกครองหรือผู้บริหารราชการ แผ่นดินต้องถือปฏิบัติ คือต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล อํานาจอธิปไตย ทั้งอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร อํานาจตุลาการตามหลักการแบ่งแยกอํานาจ ซึ่งตรงกับหลักธรรมาภิบาล สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทําให้ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
นางสาววนิดา ปัญชาติ
รหัส62423471014 รุ่น44

ข้อที่1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง

ตอบ. คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง ระบบประชาธิปไตยจึงมิได้ขึ้นอยู่กับการมีการเลือกตั้งเท่านั้น แต่โดยทั่วๆ ไปจะต้องมีคุณลักษณะเด่นๆ ที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ

1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม

2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ฯลฯ

3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา

4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า the rule by law ซึ่งต่างจาก the rule of law และยิ่งถ้าเป็นระบบการเมืองที่อาศัยตัวบุคคลผู้มีอำนาจ กล่าววาจาเด็ดขาดเป็นกฎหมาย ก็จะกลายเป็น the rule by men อันเป็นเรื่องที่อันตรายยิ่ง เพราะจะไม่มีหลักกฎเกณฑ์อันใด การดำเนินนโยบายและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งอำนาจเท่านั้น

ระบบการเมืองใดก็ตามที่ขาดคุณลักษณะข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อที่กล่าวมาแล้วนั้น จะไม่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย
นางสาววนิดา ปัญชาติ
รหัส62423471014 รุ่น44

ข้อที่2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง มีอะไรบ้าง

ตอบ ธรรมาภิบาลทางการเมือง (political governance - PG) ถูกนิยามไว้ภายใต้ระบอบการ ปกครองท่ีรู้จักกันท่ัวไปคือ"ประชาธิปไตย"และกฎกตกิ าที่ถูกกําหนดขึ้นรวมท้ังขบวนการ เลือกต้ังและการจัดต้ังรัฐบาล โดยพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมาก เขัาบริหาร
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ

1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาล ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลที่สนับสนุนสังคมที่ปกครองในระบอบประชตาธิปไตย
นางสาววนิดา ปัญชาติ
รหัส62423471014 รุ่น44

ข้อที่3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง

ตอบ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น
1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
ศิวาวุธ เรืองอำไพ
1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ

2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง มีอะไรบ้าง
ตอบ ธรรมาภิบาลความหมายของธรรมาภิบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ให้ความหมาย “ธรรมาภิบาล” ไว้ว่า หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทาง สำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มี ความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริม ความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะ วิกฤติ ภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครอง แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้นิยามความหมายของคำว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “ธรรมาภิบาล” ไว้หลายประการ ดังนี้
1) ประชารัฐ หมายถึง กระบวนความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐภาคสังคมภาคเอกชนและประชาชน โดยทั่วไปในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้
2) ประชารัฐ หมายถึง การที่กลไกของรัฐ ทั้งทางการเมืองและการบริหาร มีความแข็งแกร่งมี ประสิทธิภาพ สะอาด โปร่งใส รับผิดชอบ
3) ประชารัฐ หมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่ดีหรือการปกครอง หรือการบริหารที่เป็นธรรม โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และความมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล เป็นหลักเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
ลักษณะของธรรมาภิบาล

3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ ความสอดคล้องที่มีร่วมกัน คือ
1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล และหลักการตอบสนอง
2) ค่านิยมประชาธิปไตย
ประกอบด้วยหลักภาระรับผิดชอบ / สามารถตรวจสอบได้ หลักความเปิดเผย / โปร่งใส หลักนิติธรรม และหลักความเสมอภาค
3) ประชารัฐ ปรกอบด้วยหลักการกระจายอำนาจ และหลักการมีส่วนร่วม / การมุ่งเน้นฉันทามติ
4) ความรับผิดชอบทางการบริหาร ประกอบด้วยหลักคุณธรรม /จริยธรรม
น.ส.กัลกร อภิชาติวรนันท์
รหัสนักศึกษา 63423471007 รุ่น46

5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ลักษณะสําคัญของการ ปกครองแบบประชาธิปไตย
* ความหมายจากประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอํานาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อํานาจทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้
* ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพใน ขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
* การดําเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกัน เสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กกดขี่ ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทํานองครองธรรม
* กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชน ส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของ ประชาชน เป็นต้น จะพบว่า ประชาธิปไตยตามความหมายดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ หรือ ธรรมาภิบาล ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามามีส่วนในการจัดการ การบริหารงาน
น.ส.กัลกร อภิชาติวรนันท์
รหัสนักศึกษา 63423471007 รุ่น46
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ธรรมาภิบาลจะเป็นการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ดังนั้นการมีเสรีภาพทางการเมืองตามหลักการของประชาธิปไตย จะช่วยประชาชนมีโอกาสเข้าร่วมใน กระบวนการ โครงการ นโยบาย และตรวจสอบการทํางานของรัฐ ทําใหม่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ ผู้บริหารใน หน่วยงานทั้งเอกชนและราชการมีจิตสํานึกที่ดี ในการทํางานอย่างโปร่งใส และการรับฟังเสียงหรือความคิดเห็น จากทุกกลุ่มมจะช่วยลดความขัดแย้ง ทําให้ธรรมาภิบาลสามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และจะต้องปลูกฝังจิตสํานึก ของประชาชนให้ตระหนักถึงความสําคัญของประชาธิปไตย จนนําไปสู่การเกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมตาม แนวคิดของประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี ธรรมาภิบาลจะยั่งยืนได้จะต้องควบคู่ไปกับประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งด้วย ซึ่งประชาธิปไตยที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล ควรจะเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนและภาคส่วนต่างๆเข้ามีโอกาสในการจัดการและการบริหารงาน
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ๔ หลักการสำคัญ ๑) การบริหารจัดการ
1.ภาครัฐแนวใหม่ (New.Public.Management) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) หลักประสิทธิผล (Effective) และหลักการตอบสนอง (Responsive)
2.ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบ ด้วยหลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบ ได้ (Accountability) หลักความเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หลักนิติธรรม (Rule of Law) และหลัก ความเสมอภาค (Equity)
3. ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วยหลักการกระจายอ านาจ (Decentralization) และ หลักการมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามติ (Participation/Consensus Oriented)
4. ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วยหลักคุณธรรม/ จริยธรรม (Morality/Ethics)
น.ส. กัลกร อภิชาติวรนันท์
รหัสนักศึกษา 63423471007 รุ่น46

5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
* จากองค์ประกอบด้านธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยที่ได้กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้จะพบว่า มีความ เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านของการบริหารและการจัดการ ซึ่งการมีส่วนร่วมของ ประชาชนนั้น จัดว่าเป็น “การเมืองภาคประชาชน” ที่ สมเกียรติพงษ์ ไพบูลย์(สํานักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร, 2554) ได้ให้คํานิยามว่า การเมืองที่ภาคประชาชนส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในทุกระดับ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับ นานาชาติเป็นการเมืองที่ประชาชนนอกสภาฯมีบทบาทและเข้าใจถึงอํานาจโดยตรงในกาจัดสรรทรัพยากรสาธารณะต่างๆ และการเข้าถึงอํานาจในการกําหนดนโยบายสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านการเมืองประชาธิปไตย แบบตัวแทน ทั้งจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ซึ่งหมายถึงต้องสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและ ประชาธิปไตยทางตรงให้เกิดขึ้น เพื่อกํากับและกําหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของประชาชน มากกว่าฝาก ความหวังและพึ่งพาระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนเพียงอย่างเดียว
(หลักที่สอดคล้องกันได้แก่)
1. .หลักของความโปร่งใส (Transpavency) หลักนี้เน้นสร้างความเชื่อมั่น/สร้างความไว้วางใจให้ข้อมูลที่เป็นจริงตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน มีกระบวนการติดตามตรวจสอบอย่างชัดเจน และเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ
2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) เป็นกระบวนการร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหา ยิ่งการบริหารแผ่นดินท่ามกลางความขัดแย้งไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน
3. หลักคุณธรรม เป็นหลักที่ผู้รับผิดชอบที่มีจิตใจที่ดีเป็นธรรมมีจิตสำนึกที่ดี มีความซื่อสัตย์ต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รู้จักชั่วดี ละอายต่อการกระทำที่ผิดหลักการและหลักเกณฑ์ที่วางไว้
น.ส.เชษฐ์สุดา ตัญญวงษ์
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ คุณลักษณะเด่นๆ ที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ซึ่งต้องมีการรณรงค์หาเสียง มีการเสนอนโยบาย มีการต่อสู้กับพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค การเลือกตั้งที่ผู้สมัครมาจากพรรคเดียวไม่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นระบบประชาธิปไตย
2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ฯลฯ
3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้
น.ส.เชษฐ์สุดา ตัญญวงษ์
รหัส 62423471007 รุ่นที่ 44
2. หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง มีอะไรบ้าง
ตอบ ธรรมาภิบาลทางการเมือง (political governance - PG) ถูกนิยามไว้ภายใต้ระบอบการ ปกครองท่ีรู้จักกันท่ัวไปคือ"ประชาธิปไตย"และกฎกตกิ าที่ถูกกําหนดขึ้นรวมท้ังขบวนการ เลือกต้ังและการจัดต้ังรัฐบาล โดยพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมาก เขัาบริหาร
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ

1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาล ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลที่สนับสนุนสังคมที่ปกครองในระบอบประชตาธิปไตย
น.ส.เชษฐ์สุดา ตัญญวงษ์
รหัส 62423471007 รุ่นที่44
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
Final Assignment
นางสาววรรษมล สังวรินทะ
62423471075 รุ่นที่44
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบคุณลักษณะเด่นๆ ที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
1.รัฐบาลนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน (elected government) กล่าวคือ การเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของนักการเมืองกลุ่มที่รับผิดชอบต่อการบริหารประเทศ จะต้องได้รับอาณัติจากประชาชน มีความชอบธรรมทางการเมืองโดยผ่านการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม ซึ่งต้องมีการรณรงค์หาเสียง มีการเสนอนโยบาย มีการต่อสู้กับพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรค การเลือกตั้งที่ผู้สมัครมาจากพรรคเดียวไม่สามารถจะเรียกได้ว่าเป็นระบบประชาธิปไตย
2.สิทธิเสรีภาพของประชาชน (rights and freedom) หัวใจสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็คือการที่ต้องมีรัฐธรรมนูญประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งต้องมีการบังคับกฎหมายด้วยหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่กระบวนการจับกุม สืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง การมีสิทธิแต่งตั้งทนาย และการพิจารณาโดยตุลาการที่มีใจเที่ยงธรรม สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ไม่สามารถจะละเมิดได้โดยผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากประชาชนมีความเสมอภาคในทางการเมือง หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote) และมีความเสมอภาคในทางกฎหมาย (equality before the law) สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ครอบคลุมชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การแสดงออก ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกอาชีพ มีสิทธิในการทำการค้าในระบบการค้าเสรี มีสิทธิแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นชมรม สมาคม สหภาพ ฯลฯ มีสิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัยในเคหะสถาน มีสิทธิในการเดินทาง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในเกียรติยศชื่อเสียงของส่วนตัว ครอบครัว วงศ์ตระกูล และมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ฯลฯ
3 .การมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนเปลี่ยนสถานะและบทบาทจากผู้ซึ่งเป็นประชาชนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง มาเป็นประชาชนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตน โดยมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะต่างๆ ซึ่งได้แก่ การมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่แทนตนในการบริหารประเทศ อันได้แก่ การออกกฎหมาย การใช้กฎหมาย การกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากร การสร้างกลไกหาข้อยุติในข้อขัดแย้ง นอกจากนั้นผู้ซึ่งมีความสนใจและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็มีสิทธิมีส่วนร่วมโดยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
นางสาววรรษมล รุ่น 44 รหัส 62423471075​
4.หลักนิติธรรม (the rule of law) หลักนิติธรรมคือหลักการออกกฎหมายตามกระบวนการนิติบัญญัติที่มีตัวแทนของประชาชนมีส่วนในการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขัดต่อหลักการและเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพ หลักนิติธรรมเป็นเสาหลักของการเกิดนิติรัฐ ซึ่งมีกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองบริหาร ที่สำคัญคือ กฎหมายที่ออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง มีหลักการที่ไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และหลักการของระบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ออกโดยผู้มีอำนาจ และใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือของการปกครองบริหารแบบเผด็จการได้

2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ ธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือการบริหารจัดการที่ดี คือ ระบบโครงสร้าง กระบวนการต่างๆ ที่ได้วางแนวปฏิบัติหรือวางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เพื่อให้ส่วนต่างๆ ของสังคมมีการพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเป็นธรรมมีดังนี้
(1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านี้ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
(2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
(3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
(4) หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ
(5)หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
วรรษมล สังวรินทะ รุ่น 44
รหัส 62423471075
(6)หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การสร้างสะพานทางข้ามเพื่อแก้ปัญหาการจราจร อาจจะสร้างสะพานได้อย่างดีเยี่ยมด้วยราคาไม่แพง เสร็จก่อนกำหนด ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพดี แต่การทำให้จราจรคับคั่งน้อยลงกลับไร้ผลก็ต้องถือว่าไม่มีประสิทธิผล ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล​
สุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ รหัสนักศึกษา 62423471020
     1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต"  และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
สุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ รหัสนักศึกษา 62423471020
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ หลังธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเน่ืองในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลท่ีสนับสนุนสังคมท่ีปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประเทศไทย
สุทธิพงษ์ ศิลารักษ์ รหัสนักศึกษา 62423471020
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบ หลังธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการเป็นไป ตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามสนับสนุนให้ประชาชนขยัน ซ่อื สัตย์ ประหยัด อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพที่สุจริตจนกลายเป็นนิสัยประจําชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งตรงกันข้าม กับการทุจริตคอร์รัปชัน และการฉ้อราษฎร์บังหลวง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การมีจิตสํานึกในหน้าที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิและหน้าที่ และปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างตามหลักประชาธิปไตย
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
หลักธรรมาภิบาลนั้นได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเน่ืองในสังคมไทย มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลําดับรอง รวมทั้งการนํามาปรับใช้ในสังคมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นระยะเวลา พอสมควร รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศและองค์กรภาคเอกชนได้ให้ความสําคัญมาก เพราะหลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสากลท่ีสนับสนุนสังคมท่ีปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประเทศไทย
Pawin Potibat said…
1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ตอบ
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้

ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ

2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ตอบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้นิยามความหมายของคำว่า “ธรรมรัฐ” หรือ “ธรรมาภิบาล” ไว้หลายประการ ดังนี้

1.ประชารัฐ หมายถึง กระบวนความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐภาคสังคมภาคเอกชนและประชาชน

โดยทั่วไปในการที่จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้

2.ประชารัฐ หมายถึง การที่กลไกของรัฐ ทั้งทางการเมืองและการบริหาร มีความแข็งแกร่งมี

ประสิทธิภาพ สะอาด โปร่งใส รับผิดชอบ

3.ประชารัฐ หมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่ดีหรือการปกครอง หรือการบริหารที่เป็น

ธรรม โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และความมีประสิทธิภาพ

3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตอบ ธรรมาภิบาล เป็นหลักเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
จากเหตุการณ์ที่นักการเมืองของไทยต้องมลทินคดียาเสพติดในต่างประเทศ แต่สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ ในประเด็นจริยธรรมทางการเมือง นักศึกษามีความคิดอย่างไร

การที่รัฐบาลยอมรับคนที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในคดีค้ายาเสพติดในต่างประเทศให้สามารถมาเป็นรัฐมนตรีที่ไทยได้ ซึ่งการต่อต้านยาเสพติดที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นภัยต่อความมั่นคงมนุษย์และทำทุกอย่างเพื่อปราบปราม การที่รัฐบาลและศาลอนุญาตให้รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งต่อถึงแม้จะค้ายาก็คงไม่มีประเทศไหนในโลกที่ไหนยอมรับได้ อีกทั้ง รัฐบาลที่มีสมาชิคดังกล่าว ก็จะทำให้หมดความเชื่อถือจากประชาชน เพราะประชาชนก็กลัวว่าลึกๆแล้วเค้าจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีเพื่อผลประโยชน์ของพวกตัวเอง แทนที่จะดูแลประชาชน
นายประเสริฐ เอนกวิชณกุล
รหัส 62423471132
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
"ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"
•ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
•ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1.ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2.ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3.การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4.การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
This comment has been removed by the author.
ต่อ
นายประเสริฐ เอนกวิชณกุล
รหัส 62423471132
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว อาทิ
- สถานะความเป็นกฏหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ : มาตรา 6 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
ดังนั้นระบบนี้จะไม่มีจุดศูนย์กลางของสังคม แต่จะเกิดศูนย์ต่างๆ ในสังคม ภารกิจของรัฐบาลก็คือ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหารวมทั้งเป็นการกระตุ้นการมีส่วนร่วม โดยสรุปก็คือเป็นการบริหารจัดการที่แต่ละหน่วยของภาครัฐและเอกชนร่วมกัน และถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วน โดยเน้นการดำเนินการแบบร่วมริเริ่มรับผิดชอบ การมีปฏิสัมพันธ์แบบนี้มิใช่จะใช่แต่ในระดับชาติ แต่ยังเป็นธรรมรัฐในระดับนานาชาติในระดับภูมิภาคและโลก 6) ธรรมรัฐในแง่การจัดระบบขององค์กรเครือข่ายจากภาคสาธารณะ และภาคเอกชน (Self-Organizing Network) ในกรณีนี้เกิดจากความเกี่ยวพันระหว่างองค์กรต่างๆ ที่สามารถรวบรวมทรัพยากรมาเพื่อจะได้บริการต่อสาธารณะ ดังนั้น องค์กรเครือข่ายจะสามารถนำเอาข่าวสาร ข้อมูล และเงิน รวมเทคโนโลยีมาร่วมกันในการทำงาน ซึ่งอาจจะเห็นได้เช่นในโครงการร่วมระหว่างองค์กรที่สำคัญก็คือเมื่อไรมีระบบพันธมิตรเกิดขึ้นก็จะมีทรัพยากรมากขึ้นด้วย ยังทำให้มีอิสระและมีอำนาจในการต่อรองเกิดขึ้นอีกด้วย รัฐบาลกลางจะเข้ามา ก้าวก่ายสั่งการได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน
แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality & Integrity)
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness)
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว อาทิ
- สถานะความเป็นกฏหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ : มาตรา 6 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
- หน้าที่ของบุคคลในการปฏิบัติตามกฏหมาย : มาตรา 67 บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
- การรับโทษทางกฎหมาย : มาตรา 32 บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้
2) หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า(Values) ที่ดีงามของมนุษย์
ต่อ
นายประเสริฐ เอนกวิชณกุล
รหัส 62423471132
5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ตำตอบ หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีประกอบ ด้วย ๑๐ หลัก ได้แก่ หลักการ ตอบสนอง หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ/คุ้มค่า หลักความเสมอภาค หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักการตรวจสอบได้/มีภาระรับผิดชอบ หลักเปิดเผย/โปร่งใส หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วมและ หลักนิติธรรม
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีซึ่งประกอบด้วย ๔ หลักการสำคัญ
๑) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
๒) ค่านิยมประชาธิปไตย
๓) ประชารัฐ
นางสาวณัฐภรณ์ ยศพิมพ์
รหัส 6342347105
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งพลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเลือกผู้ปกครอง ซึ่งทำหน้าที่ออกกฎหมาย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ การตัดสินว่าผู้ใดเป็นพลเมืองบ้างและการแบ่งปันอำนาจในหมู่พลเมืองเป็นอย่างไรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาและแต่ละประเทศเปลี่ยนแปลงในอัตราไม่เท่ากัน นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ความคิดที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพในการชุมนุมและการพูด การไม่แบ่งแยกและความเสมอภาค สิทธิพลเมือง ความยินยอม สิทธิในการมีชีวิตและสิทธิฝ่ายข้างน้อย นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนและแบ่งอำนาจจากกลุ่มคนมาเป็นชุดกฎเกณฑ์แทน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2. ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3. การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4. การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน

นางสาวณัฐภรณ์ ยศพิมพ์
รหัส 6342347105
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการ เมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสําคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือ สร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือ แก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตรายที่ รู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใสและความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสําคัญความเป็นมนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับ ความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน
หลักการพื้นฐานของธรรมมาภิบาลในองค์กรตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.๒๕๔๒ ประกอบไปด้วย ๖ หลักการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการ ไม่เลือกปฏิบัติการไม่ทําตามอําเภอใจ การไม่ละเมิดกฎหมาย และการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2. หลักคุณธรรม (Morality) คือ การยึดมั่น ถือมั่นในคุณธรรมความดีงาม ความถูกต้องตามทํานอง คลองธรรมรวมถึงมีความซื่อสัตย์จริงใจ และยึดมั่นในความสุจริตคุณธรรมเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการ ดําเนินชีวิต ทั้งความประพฤติและจิตใจซึ่งแต่ละสังคมกําหนดและยอมรับปฏิบัติกัน เช่น ซื่อสัตย์ อดทน เมตตากรุณา เสียสละ เป็นต้นในระดับกิจการ หลักคุณธรรม คือ การทําธุรกิจด้วยความ มีจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง มาตรฐานทางศีลธรรมคุณธรรมที่ใช้กับองค์กรทางธุรกิจ ปัญหา จริยธรรมธุรกิจที่เกิดขึ้นกับกิจการ เช่น การปกปิดข้อเท็จจริง หรือตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อหวัง ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง การฟอกเงิน การหลบเลี่ยง หนีภาษี การละเลยไม่ดูแลด้านความ ปลอดภัยในสถานที่ทํางาน การเลือกปฏิบัติหรือมีสองมาตรฐานในการบริหารงานบุคคล
3. หลักความโปร่งใส (Accountability) คือ ความถูกต้อง ชัดเจน ปฏิบัติตามหลักการที่ควรจะเป็น รวมถึงการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องได้ รวมทั้งการให้ และรับข้อมูลที่เป็นจริงตรงไปตรงมาทันเวลาในระดับกิจการ อาจแปลความหมายของ “Accountability” ว่าเป็น “ความรับผิดชอบที่อธิบายได้” ซึ่งเป็นภาระบทบาทของผู้บริหารในแง่ ข้อผูกพันหรือความเต็มใจที่จะยอมรับความรับผิดชอบ รวมทั้งความสามารถในการรายงานชี้แจง ให้เหตุผลเพื่ออธิบายการกระทําของตนเองและสามารถตอบคําถามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ในทุกที่ ทุกโอกาส เพื่อแจกแจงอธิบายการกระทําทั้งหมดที่ตนรับผิดชอบ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ การให้โอกาสบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจ ในเรื่องต่าง ๆ ที่สําคัญรวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อรับคําแนะนำมาร่วมวางแผน และปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลายและมีความคิดเห็น ที่แตกต่าง หลักการมีส่วนร่วมจะช่วยประสานความคิดเห็นหรือความต้องการที่แตกต่าง เพื่ออยู่บน พื้นฐานโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมในระดับกิจการ องค์กรจะกําหนดให้มีคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีประสบการณ์หลากหลายช่วย บริหารงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ ความรับผิดชอบในงานของตน ความรับผิดชอบต่อการ กระทําของตนเอง รวมถึงการตระหนักและสํานึกในสิทธิและหน้าที่
6. หลักความคุ้มค่า (Cost –Effectiveness or Economy) คือ การบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในระดับบุคคล ความคุ้มค่าเทียบเคียงได้กับความประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย และใช้ทรัพยากรทีมีอยู่ อย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในระดับกิจการ คือ การบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดหรือเกิดมูลค่ามากที่สุด เช่น การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน

นางสาวณัฐภรณ์ ยศพิมพ์
รหัส 6342347105
5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีกระบวนการได้อำนาจทางการเมือง การใช้อำนาจรัฐ และการควบคุมการใช้อำนาจ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมและสามารถนำไปสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
โดยมีหลักดังนี้
1.ความชอบธรรมนั้นได้แก่ การบริหารประเทศในนโยบายใดก็ตามจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่ามีเหตุมีผล สมควรต่อการใช้งบประมาณนั้น โครงการหลายโครงการอาจจะถูกต้องตามกฎหมายแต่อาจจะไม่สมเหตุสมผล ก็จะขาดความชอบธรรม
2.ความโปร่งใส คือ กระบวนการทำงานที่ไม่มีการปกปิดข้อมูลนอกจากที่จำเป็น เปิดให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งการเสนอตนเข้ามาประมูลงานของรัฐ ซึ่งความโปร่งใสนี้จะต้องครอบไปถึงกระบวนการทำงานของกลไกของรัฐทุกระดับทุกขั้นตอน
3.การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเมืองสมัยใหม่ที่ต้องเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น ทำการประชาพิจารณ์ และบางครั้งลงประชามติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้อาณัติจากประชาชนอย่างแท้จริง บางโครงการใหญ่เกินกว่าที่จะให้ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชน ต้องถามประชาชนโดยตรงด้วยการลงประชามติ เช่น การขุดคอคอดกระ เป็นต้น
4.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้โดยประชาชน นั้น หมายถึง การที่ต้องสามารถตอบคำถามด้วยข้อมูล ด้วยเหตุด้วยผล ในโครงการใดๆ หรือการกระทำใดๆ เมื่อมีการตั้งคำถามโดยสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง เพราะถ้าไม่สมเหตุสมผลย่อมนำไปสู่ความเข้าใจได้ว่ามีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
5.ประสิทธิภาพ ได้แก่ ความสามารถทำโครงการใดให้เสร็จและได้ผลได้ (output) ออกมา โดยใช้งบประมาณ เวลาน้อยกว่าผู้อื่น ส่วนประสิทธิผล คือ ผลลัพธ์ (outcome) คือผลที่ได้นั้นสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

นางสาววรารัตน์ เมืองเจริญ รหัส 62423471037 รุ่น 44
1. หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
2. หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม
ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน
แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ
1หลักนิติธรรม (Rule of Law)
2หลักคุณธรรม (Morality & Integrity)
3หลักความโปร่งใส (Transparency)
4หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
6หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness)
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
ภารกิจหลักประการหนึ่งของส านักงาน ก.พ.ร. คือการส่งเสริมให้ระบบราชการไทยน า หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนตามเจตนารมณ์ของมาตรา ๓/๑ แห่งพระราบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีประกอบด้วย ๑๐ หลัก ได้แก่ หลักการตอบสนอง (Responsiveness) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) หลักประสิทธิภาพ/คุ้มค่า (Efficiency/Value for money)
หลักความเสมอภาค (Equity) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) หลักการตรวจสอบได้/มีภาระรับผิดชอบ (Accountability) หลักเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) และ หลักนิติธรรม (Rule of Law)
นางสาวธัญชนก อุ่นใจ
รหัสนักศึกษา 62423471131 รุ่น 44
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
= หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต"  และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
2. ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
3. การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
4. การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้

"อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
นางสาวธัญชนก อุ่นใจ
รหัสนักศึกษา 62423471131 รุ่น 44
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
= ธรรมาภิบาล ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ
1. หลักคุณธรรม
2. หลักนิติธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักความมีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า
แต่จะเป็นหลักการใดก็ตาม ก็จะเห็นว่าหลักการทั้งหลายล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษา “ความสมดุล” ในมิติต่างๆไว้ เช่น หลักคุณธรรมก็คือการรักษาสมดุลระหว่างตนเองกับผู้อื่น คือไม่เบียดเบียน ผู้อื่นหรือตัวเองจนเดือดร้อน ซึ่งการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ตรวจสอบ ก็เพื่อมุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงความสมดุลดังกล่าวว่าอยู่ในวิสัยที่ยอมรับได้ ส่วนหลักความรับผิดชอบ ก็ต้องสมดุลกับเสรีภาพที่เป็นสิ่งที่สำคัญของทุกคน และหลักความคุ้มค่า ก็ต้องสมดุลกับหลักอื่นๆ เช่น บางครั้งองค์การอาจมุ่งความคุ้มค่าจนละเลยเรื่องความเป็นธรรมหรือโปร่งใส หรือบางครั้งที่หน่วยงานโปร่งใสมากจนคู่แข่งขันล่วงรู้ความลับที่สำคัญในการประกอบกิจการ ความสมดุล หรือ ธรรม จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของธรรมาภิบาล

หลักของธรรมาภิบาลในภาครัฐ
1.ยึดมั่นในหลักของวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้ที่มาใช้บริการ (Clear statement-high service quality)
"องค์กรจะต้องมีการประกาศ (statement) พันธกิจและวัตถุประสงค์ ขององค์กรที่ชัดเจน และใช้เป็นแนวทางในการวางแผน การปฏิบัติงานขององค์กรนั้นๆ"
2.ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่และบทบาทของตน (Public Statement ว่าจะทำหน้าที่อย่างไรโดยวิธีอะไรที่จะบรรลุเป้าหมาย)
"ผู้บริหารควรแจ้งให้ประชาชนได้ทราบในการประกาศสาธารณะ (Public Statement) ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตน โดยระบุให้ทราบถึงการปฏิบัติงานที่พอเหมาะกับขนาดและความซับซ้อน (Complexity) ขององค์กร"
3.ส่งเสริมค่านิยม (Values) ขององค์กร และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของธรรมาภิบาลโดยการปฏิบัติหรือพฤติกรรม (Behaviors) (moral integrity and etiquette in the responsiveness to the diverse public)
"ผู้บริหารทำตัวเป็นตัวอย่างในการให้บริการแก่ประชาชนทุกชนชั้นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน"
4.มีการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจอย่างโปร่งใส และมีการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม (Providing information to flow two-ways)
"ต้องมีระบบตรวจสอบการทำงานทุกอย่าง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างดำเนินไปตามแผนการทำงาน มีการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานบัญชีการเงินรวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่ผลิตโดยองค์กร"
5.พัฒนาศักยภาพและความสามารถของส่วนบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ผู้บริหารต้องมีความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง)
"ผู้บริหารจัดการจะต้องมีความรับผิดชอบในผลงาน โดยการประเมินผลงานเป็นระยะๆ ทั้งนี้รวมทั้งการประเมินความต้องการในการฝึกอบรม หรือการพัฒนาทักษะที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติหน้าที่"
นางสาวธัญชนก อุ่นใจ
รหัสนักศึกษา 62423471131 รุ่น 44
5.3 หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
= บ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน
ความหมายของหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สอดคล้องกันดังนี้
๑) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ประกอบด้วย
ตามที่ สานักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยที่หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นส่วนหนึ่งในข้อเสนอแผนการส่งเสริมฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วสำหรับ ทั้ง ๔ หลักการสำคัญ และ ๑๐ หลักการย่อย มีดังนี้
-ประสิทธิภาพ(Efficiency)
หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
เกิดผลิตภาพที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ทั้งนี้ ต้องมีการลดขั้นตอนและ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออานวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่าย ตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและ
ไม่มีความจำเป็น
-ประสิทธิผล (Effectiveness)
หมายถึง ในการปฏิบัติราชการต้องมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ มีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและอยู่ในระดับที่ตอบสนองต่อความคาด หวังของประชาชน
-การตอบสนอง (Responsiveness)ในการปฏิบัติราชการต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ
๒) ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบด้วย
-ภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ (Accountability)ในการปฏิบัติราชการต้อง
สามารถตอบคำถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย รวมทั้งต้องมีการจัดวางระบบการรายงานความก้าวหน้าและ ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและการให้คุณ
-เปิดเผย/โปร่งใส (Transparency)ในการปฏิบัติราชการต้องปฏิบัติงานด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้ให้ประชาชนได้ รับทราบอย่างสม่ำเสมอ
-หลักนิติธรรม (Rule of Law)ในการปฏิบัติราชการต้องใช้อำนาจของกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน
-ความเสมอภาค (Equity)ต้องให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกด้านชายหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม และอื่นๆ
๓)ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วย
-การมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ(Participation/Consensus Oriented)
ในการปฏิบัติราชการต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้เรียนรู้ ทาความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องร่วมคิดแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงานและร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน
-การกระจายอำนาจ (Decentralization)ในการปฏิบัติราชการควรมีการมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและ การดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาค ส่วนอื่นๆในสังคม
๔) ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วย
-คุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics)ในการปฏิบัติราชการต้องมีจิตสานึกความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็น ไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคม รวมทั้ง ยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระบบราชการไทย
๘ ประการ (I AM READY) ได้แก่
I - Integrity ซื่อสัตย์และกล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
A - Activeness ทางานเชิงรุก คิดเชิงบวกและมีจิตบริการ
M - Morality มีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม
R - Responsiveness คำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง
E - Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
A - Accountability ตรวจสอบได้
D - Democracy ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
Y - Yield มุ่งผลสัมฤทธ์
Unknown said…
ชื่อ ธีรวัฒน์ ชาตะลี​ รหัสนักศึกษา63423471145​รัฐศาสตร์46

1.ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง

ตอบ ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย ประชาธิปไตย (Democracy) มาจาก ประชา + อธิปไตย หมายถึง การเคารพเสียงข้างมาก การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐ การใช้อำนาจทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ โดยประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ตามกฎหมายตลอดจนมีเสรีภาพตามขอบเขตของกฎหมาย การดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ เอามติเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน และเสียงส่วนน้อยก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่กดขี่ ข่มเหง ผิดกฎหมาย ผิดทำนองครองธรรม กระบวนการประชาธิปไตย เป็นวิธีการปกครอง ที่ได้รับการยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมาย
หลักสำคัญของประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องมีทั้งหลัก นิติรัฐ และนิติธรรม ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ นั้นประกอบด้วย หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เป็นหลักพื้นฐานของรัฐเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกัน หลักนิติรัฐ คือ รัฐตามรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ย่อมเป็นนิติรัฐ คือเป็นรัฐที่ยอมอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายซึ่งรัฐเป็นผู้ตราขึ้นเอง และยอมใช้บังคับ
หลักนิติธรรม คือ หลักการพื้นฐานแห่งกฎหมายที่กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่ฝ่าฝืน หรือขัดแย้งต่อหลักนิติธรรม และหลักนิติธรรมจะถูกล่วงละเมิดมิได้ ผลของการฝ่าฝืนหลักนิติธรรม คือ ใช้บังคับไม่ได้ หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ การยอมรับนับถือความสำคัญ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาค และเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะพบว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและประชนเป็นผู้ใช้อำนาจมากที่สุดในรัฐ ประชาชนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน การดำเนินการโดยรัฐต้องถือมติเสียงส่วนมากเป็นที่ตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐต้องได้รับการคุ้มครอง การปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคล ในการมีประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาคของบุคคล ในการมีส่วนร่วมอย่างเสรี และอย่างเต็มที่ ในชีวิตสังคมด้วยการเน้นความเข้าใจและความสำคัญ ความเข้าใจของสัญญาณประชาคมและเจตจำนงประชาชน ในการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย ความเสมอภาค มีเสรีภาพ มีสิทธิเท่าเทียมกับการไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่นอยู่ภายใต้กฎหมาย
Unknown said…

ชื่อ ธีรวัฒน์ ชาตะลี​ รหัสนักศึกษา63423471145​รัฐศาสตร์46
2.หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง คืออะไร

ตอบ หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง (Good Governance) เป็นแนวคิดทางการเมือง ระบบค่านิยม นโยบาย สถาบัน ที่สังคมนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง เพื่อให้รัฐปกครองประเทศได้ยาวนาน (John Lock (Ashraf,2014) จะพบว่าหลักธรรมาภิบาลจึงเป็นกลไก รูปแบบหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการปกครองให้มีประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
หลักธรรมาภิบาลจะประกอบด้วย การมีส่วนร่วม (Participator) ทุกคนมีสิทธิเลือกในการตัดสินใจ การเปิดกว้างทางความคิดเห็น การมีส่วนร่วม มีเหตุมีผลเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้กติกากฎระเบียบของกฎหมาย นิติธรรม (Rule of Law) กรอบตัวบทกฎหมาย จะต้องเป็นธรรมและมีความยุติธรรมไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน การตอบสนอง (Responsiveness) สถาบันและกระบวนการดำเนินงานต้องพยายามดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus - oriented) การประสานความแตกต่างในผลประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ความเสมอภาค ความเทียงธรรม (Equity) ชายหญิงต้องมีโอกาสในการปรับปรุงสถานะและระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) สถาบันและกระบวนการตัดสินใจสร้างผลสัมฤทธิ์ตรงต่อความต้องการ และการใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ภาครัฐ เอกชน องค์กรภาคประชาสังคม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณะชนทั่วไป และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถาบันของตน วิสัยทัศน์ เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) ผู้นำและสาธารณะชนต้องมีมุมมองในทางเปิดกว้างและมองการณ์ไกล ในการบริหารบ้านเมือง และการพัฒนามนุษย์รวมทั้งจิตสำนึก ความต้องการ ความจำเป็นต่อการพัฒนา
ดังนั้นหลักธรรมาภิบาลทางเมืองจึงเป็นหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ดี เป็นแนวทางในการจัดระเบียบให้สังคม รัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชน ครอบคลุมฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่านข้าราชการ ฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
Unknown said…
ชื่อ ธีรวัฒน์ ชาตะลี​ รหัสนักศึกษา63423471145​รัฐศาสตร์46
3.หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง

ตอบ หลักประชาธิปไตย ในระบอบการปปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยประกอบด้วยหลักความเสมอภาค ทางการเมืองประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ หลักสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ หลักนิติธรรม หลักการใช้เหตุผล หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง กับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารบ้านเมืองจะมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายครอบคลุมร่วมกัน
หลักธรรมาภิบาลทางการเมือง ได้แก่หลักนิติธรรม เป็นการนำเอากฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งการไม่เลือกปฏิบัติ มาบังคับใช้ ตรงตามหลักของประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกัน หลักการมีรส่วนร่วม เปิดโอกาสให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ การับฟังความคิดเห็น คำแนะนำ คำปรึกษาหารือ ซึ่งตรงกับหลักการประชาธิปไตย ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง รับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระทางความคิดแตกต่างกันประสานกัน หลักความรับผิดชอบ การมีความรับผิดชอบในงานของตน รับผิดชอบต่อการกระทำของตนรวมถึงการตระหนักในหน้าที่ จิตสำนึกสิทธิและหน้าที่ สอดคล้องกับหลักสิทธิ หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย หลักความโปร่งใส ความถูกต้อง ชัดเจน ปฏิบัติตามหลักการที่ควรเป็น รวมทั้งการสร้างความไว้วางใจ กระบวนการตรวจสอบ ความถูกต้อง และหลักความคุ้มค่า ในการบริหารการจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความคุ้มค่าเทียบเคียงกับประโยชน์ไม่ฟุ่มเฟือย การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลมีความเกี่ยวข้องกัน เชื่อมโยงกันที่มีลักษณะเฉพาะเป็นรูปแบบการบริหารที่วางกฎเกนฑ์ไว้เพื่อมิให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้น เป็นกลไกควบคุมฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติตามกรอบวิธีการ ระเบียบ แบบแผนที่วางไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารประเทศ
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.1 ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
ลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย
แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"
ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน
หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต" และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้
ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ
อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้
แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.2 หลักธรรมาภิบาลทางการเมืองมีอะไรบ้าง
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงาม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ และประชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม ธรรมาภิบาลจึงประกอบด้วย การบริหารที่ดีและมีความยุติธรรมทั้งเพื่อรัฐและเพื่อประชาชน
แนวคิด Good Governance. ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมในปี 2540 เป็นต้นมาเพื่อให้กระบวนการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเกิดผลอย่างจริงจังคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ความเห็นชอบ .ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542. ซึ่งประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 หลัก คือ
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของ ตัวบุคคลหลักการการปกครองภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการตรากฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรมรวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
2) หลักคุณธรรม (Virtues)ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่งให้เข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง สังคม และประเทศชาติ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนใจมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ การยึดมั่นในเรื่องความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติกับคนในสังคม ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนถึงคุณค่า(Values) ที่ดีงามของมนุษย์
3) หลักความโปร่งใส (Transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานของทุกองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ การปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และมีกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบความถูกต้องได้ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นต่อการตัดสินใจขององค์กร ซึ่งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
5) หลักความรับผิดชอบ (Accountability)ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน การสำนึกในความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบขององค์กรรัฐหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการทำงานของเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ส่วนรวม การสร้างระบบการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
6) หลักความคุ้มค่า (Effectiveness)ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า กล่าวคือ ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ดีในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ในการกำหนดกรอบหน้าที่ของบุคลากรในภาครัฐ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรภาครัฐ โดยมุ่งเน้นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
5.3หลักประชาธิปไตยกับหลักธรรมภิบาลหรือ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีความสอดคล้องกันในข้อใดบ้าง
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาลซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะวิกฤติที่จะมีมาในอนาคต เพราะในสังคมจำเป็นจะต้องมีความยุติธรรม ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้
1.หน่วยงานต้องทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน แนวทางการบริหารงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หน่วยงานทางปกครองต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และต้องกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสม
1) การกำหนดภารกิจของรัฐและหน่วยงานต้องเป็นไปเพื่อความผาสุกและ
ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ
2)หน่วยงานต้องปฏิบัติภารกิจโดยความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
3)หน่วยงานต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใสและมีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินการภารกิจของรัฐ
4)เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ
5)กรณีเกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ หน่วยงานจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
2.การบริหารราชการเพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ หน่วยงานจะต้องบริหารงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ กล่าวคือ หน่วยงานต้องจัดทำแผนปฏิบัติงานไว้เป็นการล่วงหน้าก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใดๆ ซึ่งต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจและตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ รวมถึงต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติด้วย
3.การบริหารงานต้องมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
หน่วยงานจะต้องกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน
4.การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หน่วยงานต้องจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติงาน หรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.การปรับปรุงภารกิจของหน่วยงานให้ทันต่อสถานการณ์
หน่วยงานทางปกครองต้องจัดให้มีการทบทวนภารกิจของหน่วยงานว่า ภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่จะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1) แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
2) นโยบายของคณะรัฐมนตรี
3) กำลังเงินงบประมาณของประเทศ
4) ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
6.การอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการของประชาชน
การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานด้วยกัน หน่วยงานจะต้องกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการรู้ถึงการนั้นด้วย
7.การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
หน่วยงานต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565

นโยบายรัฐบาลไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร