การเรียนการสอนวันที่ 9 มกราคม 2564



ขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                                 https://supwat.wixsite.com/-education/post/ข-ดความสามารถก-บการพ-ฒนาทร-พยากรมน-ษย 

 ก่อนตอบคำถามให้ศึกษาเอกสารให้เข้าใจ พร้อมทั้งกดติดตามและให้ใส่ชื่อ รูปภาพลงที่มุมกล่องข้อความเพื่อจะได้ทราบว่านักศึกษาคนใดเป็นผู้ตอบคำถาม และสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง (ดูตัวอย่างของภาคการศึกษาที่ผ่านมา)

เอกสารที่ใช้สำหรับการศึกษา

    1. เอกสาร power point ขีดความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    2. เอกสาร PDF การฝึกอบรม

ตอบคำถามลงในกล่องข้อความด้านล่าง (Post Comment) โดยคลิกที่ Post Comment กล่องข้อความจะปรากฏให้เห็นนักศึกาษาเขียนตอบลงในกล่องข้อความ  (การศึกษาควรใช้เวลาในการศึกษาเอกสาร 1 ชม. และ ใช้เวลาทำแบบฝึกหัดที่ให้ไว้ ประมาณ 1.30 ชม.)

      คำถาม

      1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้

         1.1 ขีดความสามารถขององค์การ และ

         1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง

    2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้

      2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม

     2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม


การตอบในกล่องตอบโต้ ต้องกดติดตามและใส่ชื่อ รหัส ภาพถ่าย ซึ่งหากไม่ใส่อาจจะไม่สามารถตอบคำถามได้

การตอบในกล่องข้อความ จะสามารถตอบได 4,000 คำ หรือ 22 บรรทัด



Comments

นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46
คำถาม
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
1.2ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ตอบ
ข้อ 1.1
การเปลี่ยนถ่ายธุรกิจจากเศรษฐกิจเก่าไปไปสู่เศรษฐกิจใหม่ จาเป็นต้องอาศัยบุคลากรหรือทรัพยากร มนุษย์ที่มีความสามารถเหนือความสามารถธรรมดา หมายความว่าต้องเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีลักษณะจาเพาะ มิใช่เพียงทางานได้ตามหน้าที่เท่านั้น การที่องค์การต้องมีหรือได้บุคลากรที่มีลักษณะพิเศษ ก็เพื่อมาขับเคลื่อน องค์การจากเศรษฐกิจเก่าไปสู่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นองค์การที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การด้านการพัฒนา สมรรถนะของบุคลากรโดยอาศัยทฤษฎีการเพิ่มสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับขีดความสามารถ (Capability) และสมรรถนะ (Competency)
1.1 ขีดความสามารถ หมายถึง ระดับความสามารถของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การ เช่น ฝ่าย
แผนกหรือของตัวองค์การเอง เกิดจากผลการทางานร่วมกันของบุคลากรทุกคนในหน่วยงานขององค์การหรือของ บุคลากรทุกคนในองค์การนั้น กล่าวคือหน่วยงานหรือองค์การที่มีขีดความสามารถสูงจะต้องสามารถบริหารการ ทางานของบุคลากรในหน่วยงานหรือองค์การ ให้ร่วมมือกันทางานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และ เป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ (Nick, 2013)
ข้อ 1.
ขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) ที่มีความ จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งพิจารณาจากค่าคะแนนเฉลยี่ อยู่ในระดับที่มีความจํา เป็นมากที่สุด มีจํานวนทั้งสิ้น 6 รายการ ดังนี้ ลําดับที่ 1 การมีสํานึกของความรับผิดชอบ ลําดับ ที่ 2 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ลําดับที่ 3 การมุ่งสู่ผลสําเร็จ ลําดับที่ 4 ความรับผดิ ชอบต่อสังคม ลําดับที่ 5 การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และลําดับสุดท้าย คือ การทํางานเป็นทีม
ความหมายของขีดความสามารถ
การมีองค์ความรู้ ทักษะ ตลอดจนความสามารถในบทบาทการเป็นผู้นำ รวมถึงรู้ถึงลักษณะการเป็นผู้ตามที่ดีด้วย สามารถบริหารจัดการสมาชิกในทีมได้เป็นอย่างดี มีไหวพริบในการแก้ปัญหาได้ว่องไว สร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจตลอดจนเอาชนะอุปสรรค์ได้ และเป็นที่ปรึกษาทีมที่ดี
ข้อ 2.1
การฝึกอบรม คือกระบวนการที่จะใช้เสริมความรู้ (Knowledge) ทักษะในการทางาน (Skill) และความสามารถ (Capacity) ของบุคคลในสั่งคมหนึ่ง
ริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
การอบรม คือกระบวนการอย่างเป็นทางการที่กิจการทาให้ บุคลากรเกิดการเรียนรู้ เพื่อจะได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของกิจการ
กล่าวโดยสรุป
การฝึกอบรม คือกระบวนการที่ทาให้ผู้เข้ารับการ อบรมเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพท่อ เพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่างๆตลอดจน การ ปรับปรุงพฤติกรรม อันนามาซึ่งการแสดงออกที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การฝึกอบรมบุคลากร: นิยามและจุดมุ่งหมาย
​การฝึกอบรม (training) คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างหรือเพิ่มพูนความรู้(knowledge) ทักษะ(skill) ความสามารถ(ability) และเจตนา (attitude) ของบุคลากร อันจะช่วยปรับปรุงให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Goldstein, 1993) ดังนั้น การฝึกอบรมจึงเป็นโครงการที่ถูกจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้พนักงานมีคุณสมบัติในการทำงานสูงขึ้น เช่น เป็นหัวหน้างานที่สามารถบริหารงานและบริหารผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีขึ้น หรือเป็นช่างเทคนิคที่มีความสามารถในการซ่อมแซมเครื่องจักรได้ดีขึ้น เป็นต้น

​การฝึกอบรมบุคลากรนั้น มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการพัฒนาบุคลากร (personnel development) กล่าวคือ การพัฒนาบุคลากร คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่บุคคล เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และ/หรือเพื่อให้บุคคลมีความงอกงามเติบโตทางจิตใจ (Nadler & Nadler, 1989) การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่มีเป้าหมายในระยะยาว และมุ่งหวังผลในด้านการช่วยให้บุคคลมีความงอกงามเติบโต มากกว่าการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะสั้น และการแก้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งเป็นสิ่งที่การฝึกอบรมให้ความสำคัญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการพัฒนาบุคลากร เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยรูปแบบและวิธีการหลายชนิด ตัวอย่างเช่น การฝึกอบรม การหมุนเวียนงาน การดูงาน การสอนงาน การให้การศึกษา ทั้งในแง่การส่งบุคลากรไปเรียนในสถานศึกษา หรือการเรียนด้วยตนเอง การปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน และการส่งเสริมสุขภาพและการกีฬา เป็นต้น (สุปราณี ศรีฉัตราภิมุข, 2533) ดังนั้น การฝึกอบรมจึงมีความหมายที่แคบว่าการพัฒนาบุคลากร และอาจถึงได้ว่าการฝึกอบรมเป็นวิธีการหนึ่งของการพัฒนาบุคลากร อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรมจัดได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักที่มีการกระทำเป็นประจำในการพัฒนาบุคลากรขององค์การ
5/01/2021
นายธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061รุ่น46
คำถาม ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ข้อ2.1
ประเภทการฝึกอบรม
แบ่งโดยยึดช่วงเวลาในการทางาน
- ฝึกอบรมก่อนทางาน
- ฝึกอบรมระหว่างทางาน
แบ่งโดยยึดลักษณะวิธีการฝึกอบรม
- ฝึกปฏิบัติงานปกติในที่ทางาน
- ฝึกอบรมนอกสถานที่ทางาน (ฝึกอบรมแบบห้องเรียน) - ฝึกอบรมแบบผสม

ประเภทการฝึกอบรม
แบ่งตามจานวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ฝึกอบรมเป็นรายคน
- ฝึกอบรมเป็นคณะ
• •

แบ่งตามลักษณะของเนื้อหาของหลักสูตรการฝึกอบรม แบ่งตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
- ระดับแนวนอน ความรู้ทั่วๆไป ในแผนกเดียวกัน - ระดับแนวตั้ง ความรู้เฉพาะงาน

ประเภทการฝึกอบรม
แบ่งตามวัตถุประสงค์การฝึกอบรม - เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (ขัดข้อง)
- เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต (ป้องกัน)
-เพทีอพัฒนาบุคลากรใหเมียศักยภาพสูงขึ้น (พัฒนา)
กระบวนการในการฝึกอบรม โดย ผศ.ดร ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์
วิเคราะห์ความ ตรวจสอบความ ออกแบบ ต้องการ ต้องการ โครงการ
นาเสนอโครงการ จัดระเบียบ ฝึกอบรม
ประเมินผล ติดตามผล

เทคนิคการฝึกอบรม
วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารถ่ายทอด หรือถ่ายโยงความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับ
การฝึกอบรม
กลวิธีในการถ่ายทอดประสบการณ์ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนะคติที่ดี
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เข้ารับการอบรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมที่กาหนดไว้
การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม


วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม

สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร จานวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ความสาคัญของเทคนิคการฝึกอบรม
• ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะหรือทัศนคติที่ต้องการ
• เป็นวิถีทางที่นาการฝึกอบรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
• ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้มากขึ้น
• ช่วยทาให้ผู้เข้ารับการอบรมไม่รู้สึกเบื่อหน่าย แต่กลับมีความกระตือรือร้นและ กระฉับกระเฉง
• ช่วยทาให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับประสบการณ์จริงและได้รับประสบการณ์การ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น
26

2.2เทคนิคในการใช้สื่อสาร ในการฝึกอบรบ
ตอบ
เทคนิคการ
1. เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้ 2. เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้
ฝึกอบรม แบ่งออกเป็น
2
วิทยากรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
ประเภท

เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้วิทยากรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
1.การบรรยาย(Lecture)
2.การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
3.การประชุมปาฐกถาหรือการประชุมทางวิชาการ (Symposium)
4.การสาธิต (Demonstration) 5.การสอนงาน (Coaching)

เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
1. การระดมสมอง (Brainstorming)
2. การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz Session) 3. กรณีศึกษา (Case Study)
4. การประชุมใหญ่ (Convention)
5. เกมการบริหาร (Management Game) 6. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) 7. การสัมมนา (Seminar)
8. การทัศนศึกษา (Field Trip)

เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
9.การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 10.การฝึกประสาทสมัผัส(SensitivityTraining) 11.การใช้กิจกรรมสันทนาการ (Recreational Activity) 12.การฝึกอบรมในงาน (On-the-Job Training) 13.การฝึกหัดงาน (Apprenticeship Training) 14.การโยกย้ายสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) 15.สถานการณ์จาลอง (Simulation Technique or Simulators)

เทคนิคการใช้สื่อประกอบการฝึกอบรม
สื่อการฝึกอบรม หมายถึง สิ่งที่นามาใช้เพื่อช่วยในการส่งข่าวสาร ข้อมูลระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับลการฝึกอบรมให้ดาเนินไปด้วยดี น่าสนใจ แบะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล
5/01/2021
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005 09/01/64
1.จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ และ
1.2 ความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
(1.1.1)ขีดความสามารถหลักขององค์การ ขีดความสามารถ ทุกคนในองค์การต้องมี คุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัติ นี้เป็นตัวกำหนดหรือผลักดัน ให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์
(1.1.2) มีความสามารถของพนักงานแล้วแต่ระดับหรือตำแหน่งงาน ต้องมีและจะต้องแตกต่างกัน ไปตามระดับความรับผิดชอบ หรือตามสายการบริหาร เช่นภาวะผู้นำ
(1.1.3) ความสามารถที่กำหนดไว้ สำหรับงานในแต่ละด้าน หรือตามลักษณะของงาน จะมีความสามารถแตกต่างกัน ไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่นความสามารถในการเจรจาต่อรอง
(1.2.1)
1.การมีสำนึกของความรับผิดชอบ
2.การทำงานด้วยแรงจูงใจจากตัวเอง
3.การคิดสร้างสรรค์
4.ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
5.การคิดอย่างเป็นระบบ
6.ความเป็นเหตุเป็นผล
7.การแก้ไขปัญหา
8.การตัดสินใจ
9.การประยุกต์ใช้ความรู้
10.การคาดการณ์และบริหารความเสี่ยง
11.การบริหารความเปลี่ยนแปลง
12.การจัดระบบเพื่อสร้างความสมดุล ระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว
13.การวางแผนและบริหารจัดการ
14.การจัดการบริหารเครือข่ายความสัมพันธ์
15.การทำงานกับบุคคลที่แตกต่างจากคน
16.การวางแผนและการจัดการทรัพยากร
17.การกำหนดเป้าหมายและแตกย่อยไปสู่ปฏิบัติ
18.การบริหารจัดการและการประเมิน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงาน
19.ทักษะในการเจรจาต่อรอง
20.การบริหารผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสีย
21.การประสานความร่วมมือ
22.การเป็นผู้ทำและสร้างแรงบันดาลใจ
23.การพัฒนาบุคลากร
24.การตระหนักและเข้าใจเงื่อนไข และวัฒนธรรมองค์กร
25.การมุ่งลูกค้าเป็นเป้าหมาย
26.ความสามารถที่จะทำงานได้แม้ สถานการณ์กดดัน
27.ความเข้าใจและคำนึงถึง มิติด้านการเงิน
28.ทักษะในการนำเสนอ
นาย เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
1.จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์กร(Core Competency)
ขีดความสามารถขององค์กร คือ ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ
เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติ ที่เหมือนกันเนื่องจาก
ความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่น การมุ่งเน้นที่ผลงาน (Result Focus)
การหา (Core Competency)
ผู้นำองค์กรต้องสนับสนุน>ตั้งคณะกรรมการCompetency>ฝึกอบรมกรรมการให้เข้าใจ>
กำหนด วิสัยทัศน์ ภารกิจ/กลยุทธ์ขององค์กร>Workshop หา (Core Competency)>
คัดเลือก (Core Competency)
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในปัจจัยการดำเนินงานขององค์กรแม้ว่าองค์กร
จะมีทรัพยากรด้านอื่นๆ จำนวนมมาก เช่น เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ที่ทันสมัยแต่ขาด
บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดีเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ใช้จ่าย
ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้องค์กรนั้นขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ขาดศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว
ขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) ที่มีความจำเป็นต่อการ ปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งพิจารณาจาก ค่าคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับที่มีความจำเป็นมากที่สุด มีจํานวนทั้งสิ้น 6 รายการ ดังนี้
1 การมีสํานึกของความรับผิดชอบ
2 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3 การมุ่งสู่ผลสําเร็จ
4 ความรับผิดชอบต่อสังคม
5 การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
6.การทำงานเป็นทีม
นาย เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
2.จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
-ความหมายของการฝึกอบรม
การฝึกอบรม คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคลากร ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งกระทั่งเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสง
ค์ที่กำหนด ตลอดจนพัฒนาความสามารถจนเกิดทัษะความเชี่ยวชาญ
-วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงาน ทั้งองค์ความรู้พื้นฐานไปจนถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคคล
2.ปรับระบบการทำงานขององค์กรให้มีทิศทางเดียวกัน
3.เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรให้สามารถแข่งกับคนอื่นๆ หรือ บริษัทคู่แข่งได้ 4.เพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้น
5.ถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆให้แก่พนักงาน 6.เพื่อต้องการลดต้นทุนในการประกอบการให้มากที่สุด ด้วยวิธีเพิ่มศักยภาพให้ทำงานให้ดีที่สุด
-ประโยชน์ของการฝึกอบรม
1.บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดรยิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
2.องค์กรมรองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร
3.องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
4.สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
5.สามารถช่วยลดต้นทุนในการประกอบการได้ เนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6.พนักงานมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
2.2เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
เทคนิคการใช้สื่อประกอบการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้พื่อช่วยในการส่งข่าวสาร ข้อมูลระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ดำเนินไปด้วยดี น่าสนใจและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
-มีความชัดเจน
-ผู้รับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
-วิธีหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
-จูงใจให้ตอบสนอง
-มีการประเปินผล
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005 09/01/64
2.จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความหมายวัตถุประสงค์ประโยชน์ของการฝึกอบรม
วัตถุประสงค์ขอเองการฝึกอบรม
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงานทั้งองค์ความรู้พื้นฐานไปจนถึงองค์ความรู้ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคคลปรับระบบการทำงานขององค์กรให้มีทิศทางเดียวกันเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้่สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆหรือบริษัทคู่แข่งได้เพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สูง
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
เทคนิคการฝึกอบรม
วิธีการต่างๆ ที่วิทยากรนำมาใช้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้มากที่สุดในเวลาจำกัด ตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็นข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่องค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการ
การเลือกใช้เทคนิคเทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมจะทำให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติที่ดี มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของการฝึกบรม
2. ลักษณะของเนื้อหา
3. จำนวนผู้เข้าอบรม
4. ผู้เข้าอบรมและวิทยากร
5. เวลา ทรัพยากร และสภาพแวดล้อม
KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสประจำตัวนักศึกษา 63423471128
วันที่ 9มกราคม 2564
1).จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1).ขีดความสามารถของขององค์การ
ขีดความสามารถขององค์การ หมายถึง ศักยภาพหรือสมรรถนะ ซึ่งเป็นลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลในพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
ประโยชน์ของ COMPETENCY
1. ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร
2. เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
3. เป็นเครื่องมือในการบริหารพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร
​ คัดเลือกบุคคลหรือคณะทำงาน
​ ที่มาของ COMPETENCY
➢ ความรู้
➢ ประสบการณ์ที่สั่งสมมาในอดีต
➢ การฝึกฝนปฏิบัติ
ประเภทของ COMPETENCY
● 1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน (Result Focus)
● 2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
● 3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงาน (Functional Competency) ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะมีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เช่น ความสามารถในการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
การนำ Competency มาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
● บุคคล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในปัจจัยการดำเนินงานขององค์กร
● แม้ว่าองค์กรจะมีทรัพยากรด้านอื่นๆ จำนวนมาก เช่น เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
● แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดี เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ใช้จ่ายทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
● ก็จะทำให้องค์กรนั้นขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ขาดศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว
สิ่งท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
● มาตรฐานสากล ในรูปแบบต่างๆ เช่น SA 8000 (Social Accountability) กำลังเข้ามาในองค์กรบ้านเรา ย่อมหนีไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหาร “คน” เพราะคนคือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ระบบนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
● บรรษัทภิบาล เป็นกระแสขององค์กรที่ต้องการแสดงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรม มีจรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อความอยู่รอดขององค์กร ที่ต้องการสนับสนุนจากสังคม ฝ่าย HRM ต้องเตรียมคนเข้าสู่
การเป็นบรรษัทภิบาล
● การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือการบริหารเชิงกลยุทธ์ ทำให้องค์กรมองตัวเองมากขึ้น ดูรอยรั่ว ตัวถ่วง กิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่า หรือกิจกรรมที่องค์กรชำนาญน้อยกว่าคนอื่น ฝ่าย HRM ต้องเตรียมแผนลดกำลังคน หรือแผนเลิกจ้าง และแผนรองรับคนที่เกิดจากการใช้บริการจากภายนอก
● การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน ในอนาคตทุกองค์กรต้องเปลี่ยนการจ่ายค่าตอบแทนให้อยู่ในรูปของการจูงใจมากกว่าการให้สวัสดิการ เช่น โบนัส จะไม่จ่ายตามอายุงานหรือหารแบ่ง แต่จะจ่ายตาม KPIs
KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสประจำตัวนักศึกษา 63423471128
วันที่ 9มกราคม 2564
1.2).ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
- มี 3 อย่าง1).การพัฒนาตนเองและผู้อื่น(Developing Self and Other ) 2).การทำงานเป็นทีม (Teamwork )
3).การมุ่งสู่ผลสำเร็จ( Achievement Orientation)
- ขีดความสามารถหลักของบุคลากร ( Employee Core Competency) คือขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรพึงมีร่วมกัน -ขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ(ManagerialCompetency)คือขีดความสามารถของบคุลากรในตำแหน่งงานระดับบังคับบัญชา
- ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงาน ( Technical Competency ) คือ ขีดความสามารถซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ของวิชาชีพนั้นๆซึ่งในที่น้ีได้กำหนดให้ขีดความสามารถที่เป็นความเช่ียวชาญในงานประกอบด้วยขีดความสามารถอยู่2 ประเภท คือ ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงานที่ร่วมกัน ( Core Technical Compency ) ที่เป็นความเชี่ยวชาญซึ่งบุคลากรในกลุ่มงาน (Function) นั้นต้องมีร่วมกันและขีดความสามารถที่เป็นความเชียวชาญในงานที่เฉพาะของตำแหน่งงานที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกัน
- ขีดความสามารถมีความสัมพันธ์ระหว่างงาน (Work) ผลลัพธ์ (Results) ผลที่ได้จากการทำงาน(Outputs)กับคุณลักษณะของความรู้(Knowledge)ทกัษะ(Skill)และทัศนคติ(Attitude)ในการทำงานขีดความสามารถในลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล(UnderlyingCharacteristic)ซึ่งประกอบไปด้วยแรงจูงใจ(Moives)ลักษณะส่วนบุคคล(Traits)อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคลหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองของบุคคล(Self-concept)ความรู้ (Knowledge)และทักษะ(Skill) ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Casual Relationship) จากความมีประสิทธิผลของเกณฑ์ที่ใช้ (Criterion-reference) และ/หรือการปฏิบัติงานที่ได้ผลสูงสุด(Superior Performer) *แรงจูงใจ(Motives)คือแรงขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน เช่น คนที่มีความอยากที่จะประสบความสำเร็จการกระทำสิ่งต่างๆจึงออกมาในลักษณะของการมุ่งไปสู่ความสำเร็จตลอดเวลาเป็นตน
* ลักษณะส่วนบุคคล (Trait) หมายถึง เป็นคุณลักษณะทางกายภาพของบุคคลรวมถึงการตอบสนองของบุคคลต่อข้อมูลหรือ สถานการณ์ที่เผชิญตัวอย่าง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วและการมีสายตาที่ดีเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลที่นักบินควร จะต้องมีหรือความสามารถในการควบคุมตนเอง(Self-control)เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ไดอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นลักษณะส่วนบุคคลที่ผู้บริหารพึงมี เป็นต้น หรือหมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมถาวร เช่น เป็นการฟังที่ดีเป็นคนใจเย็นเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นต้น * ทักษะ(Skill) คือ ความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งที่เก่ียวข้องกับด้านกายภาพการใช้ความคิดและจิตใจของบุคคลตัวอย่างเช่นทันตแพทย์ต้องมีทักษะทางกายภาพที่จะสามารถถอนฟันของคนไข้โดยไม่ทำลายระบบประสาทหรือการมีทักษะทางด้านจิตใจและความคิด(Mental or cognitive skill) ที่จะนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์หาเหตุผลและความเชื่อมโยงกันหรือมีความสามารถในการคิดอย่างมีหลักการที่จะจัดระบบของข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ทักษะในการขับรถการอ่านทักษะในการพูดภาษาอังกฤษเป็นต้น
ขีดความสามารถทั้ง 5 รูปแบบนั้นสามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆดังนี้
1.ขีดความสามารถที่สังเกตได้หรือเห็นได้(Visible)ได้แก่ขีดความสามารถด้านความรู้(Knowledge)ทักษะ(Skill)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถ
2.ขีดความสามารถที่อยุ่ลึกไปหรือซ่อนอยู่(Hidden)ได้แก่ขีดความสามารถด้านแรงจูงใจ(Motive)และลักษณะส่วนบุคคล (Trait)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่ยากต่อการวัดและพัฒนา
ระหว่างขีดความสามารถทั้ง2กลุ่มหลักที่กล่าวมาแล้วยังมีขีดความสามารถที่เรียกว่าอัตมโนทัศน์บุคคลหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองของบุคคล(Self-Concept)ได้แก่ทัศนคติ(Attitude)และค่านิยม(Values)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่ปรับเปลี่ยนได้แต่ต้องใช้ระยะเวลานานและสามารถทำได้ด้วยการฝึกอบรมการใช้หลักจิตวิทยาหรือการสั่งสมประสบการณ์ในการพัฒนา
• ขีดความสามารถกับความรู้(Competency VS. Knowledge): Competency จะหมายถึงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลงานที่ดีเลิศ (Excellent Performance)เท่านั้นดังนั้นตัวความรู้ (Knowledge)โดดๆ จึงไม่ถือว่าเป็นขีดความสามารถ
• ขีดความสามารถกับทักษะ(Competency VS. Skills): Competency ยังเก่ียวข้องกับทักษะ(Skills)แต่จะหมายถึง
เฉพาะการใช้ทักษะก่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างชัดเจน
• ขีดความสามารถกับแรงจูงใจ/ทัศนคติ (Competency VS. Motive/Attitude): ขีดความสามารถไม่ใช่แรงจูงใจหรือทัศนคติแต่เป็นแรงขับภายในซึ่งทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่ตนมุ่งหวังไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมายของเขา
KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสประจำตัวนักศึกษา 63423471128
วันที่ 9มกราคม 2564
จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
๒.๑) ความหมายวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
- การฝึกอบรม คือกระบวนการที่จะใช้เสริมความรู้ (Knowledge) ทักษะในการทำงาน (Skill) และความสามารถ (Capacity) ของบุคคลในสั่งคมหนึ่ง
การฝึกอบรม คือกระบวนการที่ทำให้ผู้เข้ารับการ อบรมเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการปรับปรุงพฤติกรรมอันนำมาซึ่งการแสดงออกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1.เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิต 2.เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิต 3.เพื่อลดต้อนทุนของงาน 4.เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอันจะส่งผลต่อการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง 5.เพื่อลดอัตราการหมุนเวียนและการขาดงานของบุคลากร
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 2.ช่วยส่งเสริมให้เกิดการประหยัด 3.ช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้งาน 4.ช่วยลดภาระหน้าที่ของหัวหน้างาน 5.ช่วยกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าของตน
KatenewsM said…
น.ส.เกศรา จักรโนวัน รหัสประจำตัวนักศึกษา 63423471128
วันที่ 9มกราคม 2564
๒.๒).เทคนิคการใช้สื่อในการฝึกอบรม
- เทคนิคการใช้สื่อประกอบการฝึกอบรม
สื่อการฝึกอบรม หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการส่งข่าวสาร ข้อมูลระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ดำเนินไปด้วยดีน่าสนใจและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล
บรรยาย (Lecture)
การบรรยายเป็นวิธีการที่ใช้กันมานานและแพร่หลายที่สุดวิธีหนึ่ง การฝึกอบรม แทบทุกประเภทจะมีการบรรยายแทรกอยู่ด้วยกันเสมอ เพราะการบรรยายจะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการสื่อความหมายทำให้เกิดการคล้อยตามเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับฟังและการบรรยายที่มีประสิทธิภาพนั้นผู้บรรยายจะต้องมีความรู้และมีทักษะในการพูด การ สื่อสารความหมายการใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์ประกอบ และประการที่สำคัญที่สุดผู้บรรยาย จะต้องมีความสามารถในการสร้างบรรยากาศที่ตรึงใจผู้เข้าฟังตลอดเวลาเพื่อให้ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้มากที่สุด
การประชุม (Conference)การประชุมเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการฝึกอบรมบุคลากรที่มีความมีรู้ (Knowledge Worker) และผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป เพราะการประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดระหว่างกัน เพื่อแก้ไขปัญหาหรือมองโอกาสในแต่ละเรื่องในการประชุม
การแสดงบทบาทสมมุติ
การฝึกอบรมในรูปแบบนี้จะจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแสดงบทบาทตาม เรื่องราวที่สมมุติขึ้นให้เหมือนกับอยู่ในสถานการณ์จริงที่สุด เพื่อให้ผู้เข้ารับฝึกอบรมมี ความพร้อมและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะก็ให้เกิดขึ้นได้ ตลอดจนวิธีการนี้จะช่วยให้เกิดความสนุกสนานและสร้างแรงดึงดูดความสนใจ สนิทสนม และสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้อบรมเป็นอย่างดี
การใช้กรณีศึกษา (Case Study)
การฝึกอบรมโดยวิธีถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกที่คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดโดยวัตถุประสงค์สำคัญของการใช้กรณีศึกษาก็เพื่อ ต้องการให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถประมวลความรู้ทักษะและประสบการณ์ที่มี มาใช้วิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนภายในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อให้เกิดความชำนาญและสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำภายใต้สภาวการณ์กดดันที่เกิดขึ้นจริง ๆ
การสาธิต (Demonstration)
เป็นการฝึกอบรมโดยการแสดงจากตัวอย่างจริง โดยผู้ทำการอบรมจะแสดงตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฟังถึงขั้นตอนต่าง ๆ พร้อมทั้งอาจะมีการทดลองปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและจดจำและตลอดจนสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติงานได้
การสัมมนา (Seminar)
ผู้จัดสัมมนาจะจัดให้มีการรวมตัวของบุคลากรเป็นกลุ่มขนาดไม่ใหญ่มากนักมีการกำหนดประเด็นที่จะพิจารณาและเปิดโอกาสให้บุคลากรแต่ละคนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเสรีโดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่ดูแลการแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาอยู่ภายในขอบเขตและแนวทางที่วางไว้
การณ์ฝึกงานในสถานการณ์จริง
การฝึกอบรมนี้มักจะใช้กับบุคลากรใหม่หรือบุคลากรในระดับปฏิบัติงานโดยมีการสอนงานและทดลองปฏิบัติในสถานการณ์ที่จริงซึ่งมักจะเป็นโรงงานหรือสำนักงาน เพื่อให้บุคลากรเกิดความคุ้นเคยกับสภาวะแวดล้อมและสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
การประเมินผลการฝึกอบรม
หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อประเมินความสำเร็จและคุณค่าของโครงการฝึกอบรม และนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงโครงการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
การฝึกอบรม คือกระบวนการที่ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่างๆตลอดจนการปรับปรุงพฤติกรรมอันนามาซึ่งการแสดงออกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1.เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิต
2.เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิต
3.เพื่อลดต้อนทุนของงาน
4.เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอันจะส่งผลต่อการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง
5.เพื่อลดอัตราการหมุนเวียนและการขาดงานของบุคลากร
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการท างาน
2.ช่วยส่งเสริมให้เกิดการประหยัด
3.ช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้งาน
4.ช่วยลดภาระหน้าที่ของหัวหน้างาน
5.ช่วยกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าของตน
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารถ่ายทอด หรือถ่ายโยงความรู้ความเข้าใจ
ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับ
การฝึกอบรม
กลวิธีในการถ่ายทอดประสบการณ์ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนะคติที่ดี
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมที่กำหนดไว
การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม
2. สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร
3. ผู้เข้ารับการอบรม
4. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ธนาวุฒิ สีหะนาม 63423471004 09/01/64
1.จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การและ
1.2 ความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง

ตอบ1.1
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970s เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีผู้นิยมคำว่า •Competency หรือขีดความสามารถ ออกมาหลากหลายความหมาย แต่ถึงอย่างนั้นแนวคิดในองค์รวมก็ยังคงไม่ต่างกันสักเท่าไร ในส่วนของการนิยามที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือมากที่สุดนั้นก็คงต้องยกให้การนิยามของต้นกำเนิดแนวความคิดอย่าง David C. McClelland ที่เขาให้คำจำกัดความไว้ว่า David C. McClelland (1970) / •Competency หรือขีดความสามารถ หมายถึง บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้นสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบในปัจจุบันมีการสรุปความที่ลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นโดยกล่าวว่า •Competency หรือขีดความสามารถ ก็คือ ความรู้ (Knowledge), ทักษะ (Skill) ตลอดจน คุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งจำเป็นและมีผลทำให้บุคคลนั้นปฎิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น และเหนือผู้อื่น หรือเหนือกว่าเกณฑ์รวมถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสมรรถนะนั้นเกิดได้จาก
1.พรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
2.ประสบการณ์การทำงานที่สั่งสมมา
3.การฝึกอบรมพัฒนาต่างๆ

ตอบ1.2
ขีดความสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ขีดความสามารถขององค์การ ( Organization Competency) หรือสมรรถนะองค์การ (Organization Capability) คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า องค์การมีความสามารถหลักในการดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมขององค์การอย่างไร และจะทำอะไร เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ ขององค์การ เป็นต้น
2. ขีดความสามารถของบุคลากร ( Human Competency) คือ พฤติกรรมการแสดงออก (Individual Behavior) การใช้องค์ความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน (A Body of Knowledge) และการรับรู้ในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน (Social Role) ของบุคลากรในองค์การ เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถขององค์การ ให้การดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมขององค์การประสบความสำเร็จ
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ2.1
การฝึกอบรม (Training) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระทั่งเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ตลอดจนพัฒนาความสามารถจนเกิดทักษะและความชำนาญ

-วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงาน ทั้งองค์ความรู้พื้นฐานไปจนถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคคล
2.ปรับระบบการทำงานขององค์กรให้มีทิศทางเดียวกัน
3.เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรให้สามารถแข่งกับคนอื่นๆ หรือ บริษัทคู่แข่งได้ 4.เพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้น
5.ถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆให้แก่พนักงาน
6.เพื่อต้องการลดต้นทุนในการประกอบการให้มากที่สุด ด้วยวิธีเพิ่มศักยภาพให้ทำงานให้ดีที่สุด

ประโยชน์ของการฝึกอบรม
1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2.ช่วยส่งเสริมให้เกิดการประหยัด
3.ช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้งาน
4.ช่วยลดภาระหน้าที่ของหัวหน้างาน
5.ช่วยกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าของตน

ตอบ2.2
การฝึกอบรม คือกระบวนการที่ทำให้ผู้เข้ารับการ อบรมเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่างๆตลอดจน การ ปรับปรุงพฤติกรรม อันนามาซึ่งการแสดงออกที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สื่อการฝึกอบรม หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการส่งข่าวสาร ข้อมูลระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ดำเนินไปด้วยดี น่าสนใจ แบะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของการฝึกบรม
2. ลักษณะของเนื้อหา
3. จำนวนผู้เข้าอบรม
4. ผู้เข้าอบรมและวิทยากร
5. เวลา ทรัพยากร และสภาพแวดล้อม
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส 63423471144
วันที่ 9 มกราคม 64
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอแนวทางในการสร้างรูปแบบหรือโมเดลที่จะเพิ่มสมรรถนะของ ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งในบทความนี้แบ่งสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สมรรถนะ หลัก สมรรถนะด้านการบริหาร สมรรถนะตามตำแหน่งงาน สาหรับแผนการเพิ่มขีดความสามารถขององค์การมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนาระบบสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การที่ต้องการเพื่อให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและพันธกิจขององค์การ 2) การสารวจและวิเคราะห์สมรรถนะ ของบุคลากร 3) เสนอแนะแนวทางและวิธีการพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากสมรรถนะของบุคลากรที่แต่ละ องค์การต้องการจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจอุตสาหกรรม ตลอดจนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ องค์การ การกาหนดสมรรถนะของบุคลากรแต่ละคนหรือของหน่วยงานในองค์การ จึงควรมีการกาหนดน้าหนัก หรือความสาคัญของสมรรถนะแต่ละด้านด้วย เพื่อให้การเพิ่มขีดความสามารถ ขององค์การเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการขององค์การมากยิ่งขึ้น
คาสาคัญ: เพิ่มขีดความสามารถ องค์การ สมรรถนะ ทรัพยากรมนุษย์
ทฤษฎีเกี่ยวกับขีดความสามารถ (Capability) และสมรรถนะ (Competency)
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ขีดความสามารถ หมายถึง ระดับความสามารถของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การ เช่น ฝ่าย
แผนกหรือของตัวองค์การเอง เกิดจากผลการทางานร่วมกันของบุคลากรทุกคนในหน่วยงานขององค์การหรือของ บุคลากรทุกคนในองค์การนั้น กล่าวคือหน่วยงานหรือองค์การที่มีขีดความสามารถสูงจะต้องสามารถบริหารการ ทางานของบุคลากรในหน่วยงานหรือองค์การ ให้ร่วมมือกันทางานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และ เป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ
สมรรถนะคือความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่องค์การกาหนดไว้ ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับงานรับผิดชอบได้อย่างเป็น รูปธรรมโดยใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และอุปนิสัย (Trait) ส่วนบุคคล
David D. Dubois and William (2004) กล่าวว่าสมรรถนะเป็นลักษณะของบุคคลที่ทาให้ ประสบความสาเร็จในการทางาน
HAY group (2004) บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคล ขององค์การระดับโลกให้คำจากัดความ ของสมรรถนะว่าเป็นลักษณะเชิงพฤติกรรมของบุคลากรในองค์การที่สามารถปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ
สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2548) นิยามความหมายของสมรรถนะว่าเป็น คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทาให้บุคคล สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ ในองค์การ กล่าวคือการที่บุคคลจะแสดงสมรรถนะ ใด สมรรถนะหนึ่งได้มักจะต้องมีองค์ประกอบของทั้งความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆ
อาจสรุปความหมายของสมรรถนะจากคากล่าวและคำจำกัดความของนักวิชาการและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ว่า สมรรถนะ หมายถึง ความสามารถของบุคลากรในองค์การ ซึ่งอาจ เกิดจากพรสวรรค์ ประสบการณ์ในการทางานหรือพัฒนาขึ้นเองจากการฝึกอบรมหรือการศึกษาเพิ่มเติม
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส 63423471144
วันที่ 9 มกราคม 2564
2.จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ความสำคัญของการฝึกอบรม
ได้กล่าวถึงความสำคัญการฝึกอบรมไว้ดังนี้
1. สร้างความประทับใจให้พนักงานที่เริ่มทำงาน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น
3. เตรียมขยายงานขององค์การ
4. พัฒนาพนักงานขององค์การให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
5. สร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานขององค์การให้เกิดความมั่นคงการทำงาน
6. เพิ่มพูนวิทยาการที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานองค์การ
7. ลดงบประมาณค่าวัสดุสูญเปล่า
8. สร้างความสามัคคีในหมู่พนักงาน
9. เป็นวิธีการแห่งประชาธิปไตย
10. เป็นการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของบุคคล
มนูญ ไชยทองศรี (2544 : 16) กล่าวไว้ว่า หน่วยงานต่างๆ จำเป็นต้องการฝึกอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เนื่องจาก
1. สถานศึกษาไม่สามารถผลิตบุคคลที่สามารถปฏิบัติงาน ได้ทันทีที่จบการศึกษาจำเป็นต้องทำการฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดีและเพียงพอก่อนที่จะเริ่มลงมือปฏิบัติงานนั้นๆ
2. ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้ปฏิบัติงานจึงควรได้รับการพัฒนาให้สามารถทำงานได้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการฝึกอบรมเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
3. ความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในการที่จะมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพนั้นๆ จึงพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง เพื่อให้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อหน่วยงาน และสร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย

2.2เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรมมีดังนี้
เทคนิคการฝึกอบรม
- วิธีการต่างๆ ที่วิทยากรนำมาใช้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้มากที่สุดในเวลาจำกัด ตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
- วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็นข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่องค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการ
@ การเลือกใช้เทคนิคเทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมจะทำให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และทัศนคติที่ดี มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของการฝึกบรม
2. ลักษณะของเนื้อหา
3. จำนวนผู้เข้าอบรม
4. ผู้เข้าอบรมและวิทยากร
5. เวลา ทรัพยากร และสภาพแวดล้อม

1.ด้านวัตถุประสงค์ของการฝึกบรม
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ (พุทธิพิสัย)
1. เนื้อหาสาระและการนำเสนอต้องเป็นระบบ
2. มีเวลาสำหรับคำถามและคำตอบ
3. มักอยู่ในรูปแบบการบรรยาย
4. จัดทำเอกสารประกอบการบรรยาย(hand out)
5. เทคนิคที่ใช้คือ ใช้สื่อการสอนช่วยในการนำเสนอ
วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะ (ทักษะพิสัย)
1. ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมที่นานกว่าเพื่อฝึกปฏิบัติ
2. วิทยากรช่วยแนะนำ ชี้แนะวิธีปฏิบัติอย่างใกล้ชิด
3. เริ่มต้นจากวิทยากรบรรยายหลักการและแสดงวิธีปฏิบัติตามขั้นตอน
4. เทคนิคที่ใช้คือ การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และการสอนงาน
นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054

1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
1.2 ขีดความสามารถของบุคคลากรมีอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและผลการปฏิบัติงานที่ต้องการ

1) แรงผลักดันเบื้องลึก หรือ แรงจูงใจ (Motives) เป็นสิ่งที่บุคคลคิดหรือต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นแรงขับในการกำหนดทิศทางหรือการเลือกของบุคคลเพื่อแสดงออกถึงพฤติกรรม หรือการตอบสนองต่อเป้าหมายหรือการถอยออกไปจากสิ่งต่างๆ เหล่านั้น

2) อุปนิสัย (Trait) เป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลทางกายภาพและรวมถึงการตอบสนองของบุคคลต่อข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เผชิญ

3) ภาพลักษณ์แห่งตน (Self concept) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม (Value) และภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง (Self image) ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงระยะสั้นๆ ได้

4) ความรู้ (Knowledge) เป็นขอบเขตของข้อมูลหรือเนื้อหาเฉพาะด้านที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งครอบครองอยู่

5) ทักษะ (Skill) เป็นความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านกายภาพ การใช้ความคิด และจิตใจของบุคคลในระดับที่สามารถคิด วิเคราะห์ ใช้ความรู้กำหนดเหตุผลหรือการวางแผนในการจัดการ และในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความซับซ้อนของข้อมูลได้

คำตอบ 1.2

1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based) เป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกันไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น


นายกฤตเมธ เชิดชู 63423471054

2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม

1.ไม่มีสถาบันการศึกษาใดๆ ที่สามารถผลิตคนให้มีความสามารถที่จะทำงานในองค์การต่างๆได้ทันที องค์การที่รับบุคลากรใหม่จึงต้องทำการฝึกอบรมประเภทก่อนการทำงาน (Preservice Training) ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศ (Orientation) หรือการแนะนำการทำงาน (Introduction Training) เพื่อให้บุคลากรใหม่สามารถคุ้นเคยกับสถานที่ที่จะทำงาน เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกขององค์การ ตลอดจนเข้าใจวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน มีความรู้ ทักษะและเจตคติที่พอเหมาะต่อความต้องการของหน่วยงาน และช่วยสร้างขวัญและเจตคติที่ถูกต้องให้กับบุคลากรใหม่
2.สภาพแวดล้อมต่างๆอันประกอบด้วย สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สภาพแวดล้อมภายนอกได้แก่ สภาพการเมืองเศรษฐกิจและสังคม ของในประเทศและต่างประเทศ นโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและระบบการศึกษา ความเสื่อมโทรมของศีลธรรมในสังคม และทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในได้แก่ นโยบายขององค์การ การแบ่งส่วนงาน การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ หรือการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ เป็นผลให้องค์การต้องหาทางให้บุคลากรสามารถทำงานให้สภาพแวดล้อมใหม่ได้ภายในเวลารวดเร็ว และการฝึกอบรมที่ถูกต้อง จะช่วยให้บุคลากรสามารถเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น การฝึกอบรมและพัฒนานี้เป็นการฝึกอบรมหลังจากที่บุคลากรได้เข้ามาปฏิบัติงานในองค์การแล้ว เรียกว่าการฝึกอบรมระหว่างทำงาน (In-service Training)
3.ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการขาดการฝึกอบรมอย่างมีระบบ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทางอ้อมสูงกว่า เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานต้องฝึกฝนตนเอง โดยลองผิดลองถูกหรือสังเกตจากผู้อื่นให้เสียเวลา และอาจไม่ได้เรียนรู้วิธีการทำงานที่ดีที่สุดอีกด้วย

คำตอบ 2.1

1. การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้ แต่มีจุดด้อยตรงที่ลักษณะของการบรรยายจะเป็นระบบสื่อสารทางเดียว ยิ่งถ้ามีเวลาจำกัดโอกาสที่จะให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่บรรยายจะไม่มี ผู้บรรยายไม่สามารถประเมินได้ว่าเมื่อจบการบรรยายแล้วผู้ฟังมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่บรรยายมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดจากการบรรยายความสำเร็จของการบรรยายจะขึ้นอยู่กับความสามารถ และประสบการณ์ของผู้บรรยาย กล่าวคือผู้บรรยายบางคนสามารถบรรยายเรื่องที่ยากต่อการทำความเข้าใจ ให้ผู้ฟังเกิดความสนใจเกิดความกระจ่างเกิดเป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ถ้าจะพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วอาจคิดว่าการบรรยายเป็นสิ่งที่ง่าย สามารถใช้ได้ทุกโอกาส
2. การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
2.1 การอภิปรายเป็นคณะ ( Panel Discussion)
เป็นการการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และมีประสบการณ์มาให้ความคิดเห็นหรือทรรศนะในเรื่องเดียวกัน จำนวนผู้อภิปรายอาจจะมีประมาณ 3-5 คน ในการอภิปรายผู้ทรงคุณวุฒิจะอภิปรายในลักษณะที่สนับสนุนหรือให้เหตุผลโต้แย้งผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกัน เพื่อให้ความคิดกว้างไกลออกไป และตอนท้ายผู้ดำเนินการอภิปราย (Moderator) จะเป็นผู้สรุปความคิดเห็นของผู้สรุปความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
2.2 การอภิปรายแบบชุมนุมปาฐกถา ( Symposium Discussion)
เป็นการอภิปรายที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้ในเรื่องที่สนใจในแต่ละด้าน มาร่วมเป็นองค์ ปาฐก ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจตามเรื่องและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์
รหัสนักศึกษา63423471007
1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
ขีดความสามารถ (Competency) หมายถึง ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะของบุคคล (Attributes) ซึ่งบุคคลนั้นจะแสดงออกเป็นวิธีคิดและพฤติกรรมในการทำงานที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การได้กำหนดเอาไว้
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
สำหรับการจัดแบ่งประเภทขีดความสามารถออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.สมรรถนะหลัก (Core competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวมที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้
2.สมรรถนะตามสายงาน (Job competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมให้คนนั้นๆ สามารถสร้างผลงานในการปฏิบัติงานตำแหน่งนั้นๆ ได้สูงกว่ามาตรฐาน
3.สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่ทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้โดดเด่นกว่าคนทั่วไป เช่นสามารถอาศัยอยู่กับแมงป่องหรืออสรพิษได้ เป็นต้น ซึ่งเรามักจะเรียกสมรรถนะส่วนบุคคลว่าความสามารถพิเศษส่วนบุคคล
สรุปได้ว่า สมรรถนะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ สมรรถนะหลัก (Core competency) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พนักงานทุกคนในองค์การจำเป็นต้องมี ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้บรรลุเป้าหมายขององค์การ อาทิ ความรอบรู้เกี่ยวกับองค์การ ความซื่อสัตย์ ความใฝ่รู้ และความรับผิดชอบ เป็นต้น อีกประเภทหนึ่งคือสมรรถนะตามสายงาน (Functional competency) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พนักงานที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ควรมีเพื่อให้งานสำเร็จและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
น.สกัลกร อภิชาติวรนันท์
รหัสนักศึกษา63423471007
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
- การฝึกอบรมคือกระบวนการที่จะใช้เสริมความรู้ ทักษะในการทำงาน (Skill) และความสามารถ(Capacity) ของบุคคลในสั่งคมหนึ่ง การฝึกอบรม คือกระบวนการที่ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่างๆตลอดจน การปรับปรุงพฤติกรรม อันนำมาซึ่งการแสดงออกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้การจัดฝึกอบรมในองค์กรนั้นอาจมีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งอาจไม่ต้องมีขั้นตอนอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ในการจัด หรือไม่ต้องมีพิธีรีตรองอะไรให้ยุ่งยาก ขณะเดียวกันก็มีการฝึกอบรมอย่างจริงจังที่ต้องมีการจัดการรายละเอียดมากมายด้วยเช่นกัน ซึ่งการฝึกอบรมในองค์กรนั้นมีลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1.เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิต
2.เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิต
3.เพื่อลดต้อนทุนของงาน
4.เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอันจะส่งผลต่อการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้อง
5.เพื่อลดอัตราการหมุนเวียนและการขาดงานของบุคลากร
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2.ช่วยส่งเสริมให้เกิดการประหยัด
3.ช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้งาน
4.ช่วยลดภาระหน้าที่ของหัวหน้างาน
5.ช่วยกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าของตน
น.ส.กัลกร อภิชาติวรนันท์
รหัสนักศึกษา 63423471007
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม เทคนิคการฝึกอบรม วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารถ่ายทอด หรือถ่ายโยงความรู้ความเข้าใจความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้า การฝึกอบรมกลวิธีในการถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมที่กำหนดไว้
เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม
2. สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร
3. ผู้เข้ารับการอบรม
4. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ความหมายของเทคนิคการฝึกอบรมวิธีการ หรือเครื่องมือ หรือกิจกรรม ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร กระบวนการฝึกอบรมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในระดับที่ต้องการ เพื่อนำความรู้ ทักษะและทัศนคติไปใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม
1.การบรรยาย ( Lecture ) การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้ แต่มีจุดด้อยตรงที่ลักษณะของการบรรยายจะเป็นระบบสื่อสารทางเดียว การบรรยายที่มีการซักถามเป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะกับการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ความรู้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การยอมรับของผู้ที่มีส่วนร่วม
2.การอภิปราย( Discussion )
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
3.การสาธิต( Demonstration )เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ
4.การสอน ( Coaching )เป็นการแนะนำให้รู้วิธีปฏิบัติงานให้ถูกต้อง โดยปกติจะเป็นการสอนหรืออบรมในระหว่างการปฏิบัติงาน อาจสอนเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งผู้สอนต้องมีประสบการณ์และทักษะในเรื่องที่สอนจริง ๆ
5.การประชุมกลุ่มย่อย ( Buzz session ) เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ
6.กรณีศึกษา(Case Study ) เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์
7.การประชุมแบบฟอรัม( Forum )เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง
8.เกมการบริหาร( Management Games )เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสาร
9.การแสดงบทบาทสมมติ( Role playing ) เป็นเทคนิคที่นำเอาเรื่องที่เป็นกรณีตัวอย่างมาเสนอในรูปแบบการแสดงบทบาท ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นภาพชัดเจน ได้สัมผัสกับประสบการณ์และความรู้สึกที่แท้จริง
10.การสัมมนา( Semiar) เป็นการประชุมของผู้ที่ปฏิบัติอย่างเดียวกันหรือคล้ายกัยแล้วพบปัญหาเหมือน ๆ กัน เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาทุคนที่ไปร่ใมการสัมมนาต้องช่วยกันพูดช่วยกันแสดงความคิดเห็น
11.การศึกษาดูงานนอกสถานที่( Field Trip )เป็นการนำผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปศึกษายังสถานที่อื่นนอกสถานที่ฝึกอบรม เพื่อให้พบเห็นของจริงซึ่งผู้จัดต้องเตรียมการเป็นอย่างดี
12.การประชุมเชิงปฏิบัติการ( Workshop )เป็นรูปแบบของการฝึกอบรมที่ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงที่ผู้เข้าอบรมปฏิบัติอยู่
13.การอบรมด้านความรู้สึก( Sensitivity Training )เป็นการอบรมในลักษณะของผู้เข้ารับการอบรมจะเรียนรู้พฤติกรรมของกลุ่มผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับกลุ่ม จะได้รับการแก้ไขปัญหากันเองภายในกลุ่ม
การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมให้เหมาะกับโครงการฝึกอบรมในแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมนั้นสามารถช่วยให้เกิดการเรียนและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
วันเสาร์ที่ 9 เดือน มกราคม 2564
1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
ขีดความสามารถขององค์การ ( Organization Competency) หรือสมรรถนะองค์การ (Organization Capability) คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าองค์การมีความสามารถหลักในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมขององค์การอย่างไรและจะทำอะไร เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น
- แนวความคิดเริ่มต้นเกี่ยวกบขีดความสามารถ ได้ถูกจํากัดความโดย McClelland(1993) โดยให้ความหมายของขีดความสามารถไว้ว่า หมายถึง บุคลิกลักษณะที่เป็นพื้นฐานของปัจเจกบุคคลซึ่งมีส่วนในการทํานายผลการปฏิบตังานที่ดีและ/หรือตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในงานขีดความสามารถประกอบด้วย แรงขับ (Motives) ลักษณะ (Traits) แนวคิด/ความคิดของตน (Self-Concepts) ทัศนคติ (Attitude) หรือคุณค่า (Values) ความรู้ในเนื้อหา (ContentKnowledge) หรือ ความรู้-ความคิด (Cognitive) หรือทักษะเชิงพฤติกรรม (Behavioral Skills)ที่สามารถวัดได้หรือเชื่อถือได้ซึ่งประกอบกัทําให้บุคคลแต่ละคนได้รบความสำเร็จในการทํางานแตกต่างกัน

1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ขีดความสามารถของบุคลากร ( Human Competency) คือ พฤติกรรมการแสดงออ(Individual Behavior) การใช้องค์ความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน (A Body of Knowledge) และการรับรู้ในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน (Social Role) ของบุคลากรในองค์การ เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถขององค์การ ให้การดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมขององค์การประสบความสำเร็จ
- ขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) คือ คุณลักษณะที่ทุกคนในองค์การพึงมี พึงเป็นอันจะสะท้อนค่านิยม วัฒนธรรมองค์การ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเสริมรับกับกลยุทธ์ขององค์การในการดำเนินกิจการซึ่งขีดความสามารถหลักของบุคลากรนี้มักถูกกําหนดจากขีดความสามารถหลักขององค์กร ตัวอย่างเช่น องค์การมีขีอความสามารถหลัก คือ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ขีดความสามารถหลักของบุคลากรที่ควรเป็น คือ การพัฒนาตนเองและผู้อื่น (Developing Self and Others)การทํางานเป็นทีม (Teamwork) การมุ่งสู่ผลสําเร็จ (Achievement Orientation) เป็นต้น
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
วันเสาร์ที่ 9 เดือน มกราคม 2564
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ความหมายของการฝึกอบรม
มีผู้ให้คำนิยามความหมายของการฝึกอบรมไว้อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับว่ามองการฝึกอบรมจากแนวคิด (Approach) ใด เช่น
"การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อช่วยให้ข้าราชการมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ และเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างข้าราชการในการปฏิบัติงานร่วมกันในองค์การ" หรือ การฝึกอบรม คือ " การถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความชำนาญ ความสามารถ และทัศนคติในทางที่ถูกที่ควร เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ต่าง ๆ ในปัจจุบันและอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ไม่ว่าการฝึกอบรมจะมีขึ้นที่ใดก็ตาม
- วัตถุประสงค์ก็คือ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานหรือเพิ่มขีดความสามารถในการจัดรูปขององค์การในระยะหลังเรามักจะมองการฝึกอบรมในเชิงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันสืบเนื่องมาจากเรียนรู้การฝึกอบรมจึง หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถที่จำเป็น และมีทัศนคติที่ดีสำหรับการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งของหน่วยงานหรือองค์การนั้น และ การฝึกอบรม คือ " กระบวนการในอันที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความชำนาญ ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด และเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้จะเห็นได้ว่า ความหมายของการฝึกอบรมมีมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณาจากแนวคิด (Approach)ใดที่เกี่ยวกับ การฝึกอบรม
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
คือ บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น องค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้

2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
เทคนิคการฝึกอบรม คือ เทคนิคการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อการจัดฝึกอบรมเป็นอย่างมากเพราะการอบรมเพื่อเพิ่มพูนสรรถภาพและประสิทธิภาพของบุคคลในด้านความรู้ความเข้าใจทักษะและทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอันจะทำให้สามารถนำสิ่งที่ฝึกอบรมให้นั้นไปปรับใช้ได้กับการปฏิบัติงานจริงซึ่งการสร้างภาวะการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์และเลือกใช้เทคนิคและวิธีการฝึกอบรมรวมถึงสื่อการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เนื้อหาสาระในการหลักสูตรผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้และความสามารถของผู้เป็นวิทยากรในการเลือกเทคนิคที่จะถ่ายทอดสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งโสตทัศนูปกรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ในแต่ละโครงการฝึกอบรมตลอดจนค่าใช้จ่าย ฯลฯ เป็นต้น
เทคนิคการใช้สื่อประกอบการฝึกอบรม
สื่อการฝึกอบรม หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการส่งข่าวสารข้อมูลระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ดำเนินไปด้วยดีน่าสนใจและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล
คำถาม
1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้

1.1 ขีดความสามารถขององค์การ และ
ตอบ :

1. ทำไมต้องมี Competency Management

ในยุคของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ในองค์กรต้องมีทั้ง "นักคิด" ที่มีวิสัยทัศน์ และแปลงเป็นกลยุทธ์ และต้องมี "นักปฏิบัติ" ที่สามารถแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าบุคลากรมีความสามารถที่จะคิดและลงมือให้เป็นจริงได้ Competency Management จะช่วยกำหนดความสามารถที่จำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคต และความพร้อมของบุคลากร และยังเป็นข้อมูลที่ช่วยจัดการ พัฒนาบุคลากรได้ถูกต้อง ตรงความต้องการ และยังส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรที่มีความสามารถได้

2. Competency หรือขีดสมรรถนะ/ขีดความสามารถคืออะไร

ก.พ.ร. ให้นิยามว่า "กลุ่มของทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง พฤติกรรม คุณลักษณะและทัศนคติที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร”


พนักงานระดับปฏิบัติ ต้องมีความสามารถในฟังก์ชั่นงานที่รับผิดชอบอยู่เป็นหลัก พอเป็นผู้บริหารต้องมีความสามารถที่หลากหลายขึ้น เพราะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นทีม ดังนั้น พฤติกรรมและทัศนคติจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น เมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูง ต้องเข้าใจบริบทของภารกิจ ของธุรกิจในภาพกว้างแบบบูรณาการ

3. จะกำหนด Competency และจะพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ขั้นตอนการพัฒนาและเรียนรู้ให้สามารถปิด Gap ได้อย่างรวดเร็ว มีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ (Formal) ได้แก่ การฝึกอบรม การมอบหมายงาน การแนะนำงานโดยพี่เลี้ยง ระบบอีเลินนิ่งที่มีการควบคุม วัดผล ฯลฯ แต่ในยุคที่ต้องการความรวดเร็ว และมีความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรชั้นนำจึงพัฒนาบุคลากรในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study) จากการลงมือปฏิบัติ ถามผู้รู้ ปันความรู้ในเครือข่าย เรียนรู้จากระบบสนับสนุนทางอิเล็กรอนิกส์ เช่น คู่มือปฏิบัติงาน ข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยในการทำงาน จากผลการเข้าร่วมสัมมนากับ American Society for Training and Development, ASTD ที่ผ่านมา องค์กรชั้นนำที่นั่นใช้เวลา 80% กับการพัฒนาแบบไม่เป็นทางการ

4. Competency Model แนวทางในการดำเนินการที่กล่าวมาแล้วนี้ ก.พ.ร. ได้จัดกลุ่ม Competency ออกเป็นสองกลุ่มคือ Competency หลัก (Core Competency) และ Competency ประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) ดังรูปที่ 1


เมื่อพูดถึง Core Competency ในมุมมองของนักวิชาการด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคลจะมีแนวความคิดว่า Core Competency คือความสามารถหลักที่พนักงานในองค์กรต้องมีเหมือนๆ กัน ต่างกันที่ระดับของความสามารถ แต่นักวางแผนกลยุทธ์หรือ CEO จะให้คำตอบที่แตกต่างไป ว่าคือ ความรู้ ความสามารถ และรวมถึงเทคโนโลยีขององค์กร ที่บ่งบอกถึงขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่มุ่งสู่ความสำเร็จในอนาคตเป็นหลัก และก่อให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้า เป็นความรู้ความสามารถที่สร้าง สะสมขึ้นมาในองค์กร องค์กรอื่นต้องใช้เวลา 3-5 ปี ในการลอกเลียนแบบ และโดยส่วนมากในแต่ละองค์กรจะมี Core Competency ประมาณ 5-10 ด้านเท่านั้น



5. การกำหนด Competency แต่ละกลุ่มงาน เริ่มต้นจาก Functional Competency ในการปฏิบัติงานที่หน้างานก่อน จำนวน Competency ขึ้นอยู่กับลักษณะงานนั้นๆ Functional Competency สามารถเชื่อมโยงไปสู่การฝึกอบรม พัฒนาได้โดยง่าย แล้วจึงเลือก Core Competency ซึ่งเป็นทิศทางร่วมกันของทุกคนในองค์กร ในส่วนนี้ จำนวน Competency ควรจะโฟกัส ไม่ควรมีหลายตัว บางองค์กรมีและประเมิน Core Competency ของพนักงานถึง 70-80 ตัว ซึ่งมักจะถูกถามจากพนักงานว่ามันมากเกินไป สร้างความสับสน และไม่สามารถโฟกัส เชื่อมโยงไปสู่การฝึกอบรม พัฒนาได้

6. เมื่อมี Competency ซึ่งประกอบทั้ง Core และ Functional Competency สำหรับกลุ่มงานแล้ว ให้กำหนดระดับความสามารถ หรือ Proficiency Levels ที่ต้องการในตำแหน่งงานนั้น ซึ่งโดยปกติมี 5 ระดับเรียงจากน้อยไปมากคือ 1. Beginner, 2. Well-Trained, 3. Experienced, 4. Advanced, 5. Expert เราจะได้ Competency Profile ที่ต้องการสำหรับแต่ละตำแหน่งงาน

7. ประเมินระดับ Competency ของพนักงานแต่ละตำแหน่ง ตามขีดความสามารถจริง แล้วนำมาเทียบเคียงกับ Competency Profile ของตำแหน่งงานนั้นๆ จาก Gap ทางด้าน Competency ที่เกิดขึ้น ให้โฟกัสตามความสำคัญและเร่งด่วน สู่การวางแผนพัฒนาเป็นรายบุคคลได้

ในภาพรวมดังกล่าว ก.พ.ร. ได้กำหนดแบบฟอร์มที่ 1 ช่วยในการเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ หา To Be Competency และกำหนดแบบฟอร์มที่ 2&3 ช่วยในการกำหนด As Is Competency ของบุคลากรที่มีอยู่ และใช้แบบฟอร์มที่ 4 ในการหา Competency Gap และแนวทางการพัฒนา
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ตอบ :

คุณลักษณะของบุคคลนั้นเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ โดยมีส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนน้อย ลอยอยู่เหนือน้ำ ซึ่งสามารถสังเกตุและวัดได้ง่ายได้แก่ ความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนมา (Knowledge)และ ทักษะ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญพิเศษด้านต่างๆ ( Skill ) สำหรับส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ในน้ำซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณมากกว่านั้นเป็นส่วนที่ไม่อาจสังเกตุได้ชัดเจน และ วัดได้ยากกว่าและเป็นส่วนที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของบุคคลมากกว่า ได้แก่บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์แห่งตน (Self Image) อุปนิสัย (Traits) และแรงผลักดันเบี้องลึก (Motives)



ส่วนที่อยู่เหนือน้ำเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับเชาว์ปัญญา ของบุคคล ซึ่งการที่บุคคลมีความฉลาดสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ และทักษะได้นั้น ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้มีผลปฏฺบัติงานที่โดดเด่น จำเป็นต้องมีส่วนที่อยู่ใต้น้ำซึ่งจะทำให้บุคคลกลายเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นได้ หมายถึง กลุ่มของทักษะ ความรู้ ความสามรถรวมทั้งพฤติกรรม คุณลักษณะและทัศนคติที่บุคลากร จำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติ

งานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กร หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งถือเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของงานภายใต้ ปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร และทำให้บุคคลมุ่งมั่นสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลต่อความมีประสิทธิผลของเกณฑ์ที่ใช้ และ/หรือการปฏิบัติงานที่ได้ผลการทำงานที่ดีขึ้น

หมายถึง ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะของบุคคล (Attributes ) ซึ่งบุคคลนั้นจะแสดงออกเป็นวิธีคัดและพฤติกรรมในการทำงานที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จตามมาตราฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การได้กำหนดเอาไว้



ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและผลการปฏิบัติงานที่ต้องการ

1. แรงผลักดันเบี้องลึก หรือ แรงจูงใจ (Motiver) เป็นสิ่งที่บุคคลคิดหรือต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นแรงขับในการกำหนดทิศทาง หรือ การเลือกของบุคคลเพื่อแสดงออกถึงพฤติกรรม หรือ การตอบสนองต่อเป้าหมายหรือการถอยออกไปจากส่ิ่งต่างๆ เหล่านั้น

2. อุปนิสัย ( Trail ) เป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลทางกายภาพ และรวมถึงการตอบสนองของบุคคลต่อข้อมูลหรือ

สถานการณ์ที่เผชิญ

3. ภาพลักษณะแห่งตน (Self Concept) เป้นเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม (Value) และภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง (Self Image) ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงระยะสั้นๆ ได้

4. ความรู้ (Knowledge) เป็นขอบเขตของข้อมูล หรือ เนื้อหาเฉพาะด้านที่บุคคลใด บุคคลหนึ่งครอบครองอยู่

5. ทักษะ (Skill) เป็นความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านกายภาพ การใช้ความคิด และจิตใจของบุคคลในระดับที่สามารถคิด วิเคราะห์ ใช้ความรุ้กำหนดเหตุผลหรือการวางแผนในการจัดการ และ ในขณะเดียวกันเกิดตระหนักถึงความซับซ้อนของข้อมูลได้



คุณลักษณะของสมรรถนะทั้ง 5 คุณลักษณะนี้ สามารถนำมาจัดกลุ่มภายใต้เกณฑ์ของพฤติกรรมที่แสดงออกและสังเกตุเห็นได้ง่าย จำนวน 2 คุณลักษณะ ดังนี้

1. สมรรถนะที่สังเกตุได้หรือเห็นได้ (Visible) ได้แก่ ความรุ้ (Knowledge) ทักษะ(Skill) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่มีโอกาสพัฒนาได้โดยง่าย

2. สมรรถนะที่อยู่ลึกลงไปหรือซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล (Hidden) ได้แก่ แรงผลักดันเบื้องลึก Motives) คุณลักษณะส่วนบุคคล (Trail) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ยากต่อการวัดและพัฒนา



นอกจากนี้ ยังมีสมรรถนะที่เรียกว่า แนวคิดของตนเอง (Self concept) ได้แก่ ทัศนคติ และ ค่านิยม ซึ่งเป้นสมรรถนะที่ปรับเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน และสามารถทำได้ด้วยการฝึกอบรม การใช้หลักจิตวิทยา หรือการสั่งสม
ประสบการณ์ในการพัฒนาแต่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้

2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ตอบ : การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญ ความรู้ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ไม่จำกัดการศึกษา สถานที่ เพศและโอกาส เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (นิรชา ทองธรรมชาติและคณะ. 2544: 12)

การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ทักษะและเจตคติในการทำงานที่ได้รับมอบหมายเฉพาะอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปใช้ปฏิบัติจริง อันเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรม (เกศริน มนูญผล. 2544: 36)

การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการที่จัดขึ้นอย่างมีระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล โดยมุ่งที่จะเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และเจตคติของบุคคล เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มผลผลิต ทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ขององค์กรที่กำหนดไว้ (ศักรินทร์ ชนประชา. 2550: 73)

โดยสรุป จากการศึกษาความหมายของการฝึกอบรมสรุปได้ว่า การฝึกอบรมเป็นกระบวน

การจัดกิจกรรมการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนต่อเนื่อง สามารถเกิดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะและเจตคติ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการ หลังอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์สูงสุด โดยมีฐานความต้องการของผู้เข้าอบรม การอบรมมีการจูงใจเหมาะสมกับสภาพของผู้เข้าอบรมจะช่วยให้การฝึกอบรมบรรลุเป้าหมายได้
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้

2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ : เทคนิคการฝึกอบรม
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของการฝึกบรม
2. ลักษณะของเนื้อหา
3. จำนวนผู้เข้าอบรม
4. ผู้เข้าอบรมและวิทยากร
5. เวลา ทรัพยากร และสภาพแวดล้อม

วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะ (ทักษะพิสัย)
1. ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมที่นานกว่าเพื่อฝึกปฏิบัติ
2. วิทยากรช่วยแนะนำ ชี้แนะวิธีปฏิบัติอย่างใกล้ชิด
3. เริ่มต้นจากวิทยากรบรรยายหลักการและแสดงวิธีปฏิบัติตามขั้นตอน
4. เทคนิคที่ใช้คือ การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และการสอนงาน

วัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ (จิตพิสัย)
1. ใช้เวลาในการฝึกอบรมมาก
2. เทคนิคการฝึกอบรมควรใช้ อภิปรายกลุ่มย่อย/ การแสดงบทบาทสมมุติ/ กรณีศึกษา/ gameการบริหาร

วิทยากร และผู้รับผิดชอบการฝึกอบรม ต้องพิจารณาร่วมกันว่า วัถตุประสงค์ของการฝึกอบรมคืออะไร ต้องการให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ด้านใด
ควรใช้เทคนิคการบรรยาย ร่วมกับเทคนิคอื่นๆเสมอ

2.ด้านลักษณะของเนื้อหา
EX: “การฝึกอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์”
เทคนิคที่ควรใช้
1. เน้นการปฏิบัติมากกว่าการบรรยายทฤษฎี
2. ใช้วิธีการสาธิต
EX: “การฝึกอบรมเทคนิคการสร้างจิตสำนึกในงานบริการ”
เทคนิคที่ควรใช้
การอภิปราย การสัมมนา กรณีศึกษา การแสดงบทบาทสมมุติ

3.ด้านจำนวนผู้เข้าอบรม
1. การฝึกอบรมรายบุคคล เป็นไปตามความสามารถของผู้เข้าอบรม
2. กลุ่มขนาดเล็กไม่เกิน 15 คน จะทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง
3. กลุ่มขนาดกลาง 15-25 คน อาจต้องแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
4. กลุ่มขนาดใหญ่ 25 คนขึ้นไป จะเน้นสื่อสารทางเดียวจากการฟังวิทยากรบรรยาย อาจเปิดโอกาสให้มีการซักถามเป็นระยะ

4.ด้านผู้เข้าอบรมและวิทยากร
เป็นความสามารถของวิทยากรที่จะต้องประเมินผู้เข้าอบรม โดยพิจารณาจาก อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน พื้นฐานความรู้ ระดับการศึกษา ระดับสติปัญญา ระดับความสามารถในการเรียนรู้ รวมถึงพื้นฐานครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของผู้ข้าอบรม

ระดับของการเรียนรู้ (เดวิส ไอเวอร์)
1.ผู้อบรมที่มีความรู้ ความสามารถสูง (very able students)
ควรเปิดโอกาสให้แสดงความรู้ความสามารถ ให้อิสระทางความคิด เป็นประชาธิปไตย และเป็นกันเอง มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
2.ผู้อบรมที่มีระดับความรู้ปานกลาง (able students)
ชอบการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มาก
3.ผู้อบรมที่มีระดับความรู้ไม่มากนัก (less able students) ไม่ชอบแสดงออก หรือมีส่วนร่วม ชอบฟังการบรรยายโดยมีวิทยากรเป็นศูนย์กลางมากกว่า

5.ด้านเวลา ทรัพยากร และสภาพแวดล้อม

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
1. กำลังคน งบประมาณ อุปกรณ์ในการฝึกอบรม
2. สถานที่ ฤดูกาล สภาพภูมิอากาศ
คำถามที่ใช้
1. เวลาเตรียมการ มากน้อยแค่ไหน ?
2. ระยะเวลาการฝึกอบรม ?
3. ทรัพยากรที่ใช้ในการฝึกอบรมจัดหาได้ ?
4. ความพร้อมของสถานที่ ?
5. สถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ?

เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นบทบาทวิทยากรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การบรรยายเป็นชุด หรือการประชุมทางวิชาการ (Symposium)
3. การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)
4. การสาธิต (Demonstration)
เน้นบทบาทวิทยากร
1.การบรรยาย (Lecture)
เป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ โดยบอกเล่าเหตุการณ์ ชี้แจง ขยายความ อธิบายเนื้อหา ให้ความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้อบรมจะได้เนื้อหาสาระมากและครบถ้วนตามความต้องการของวิทยากร
ลักษณะของการบรรยาย
 วิทยากรนำเสนอความรู้ เนื้อหาสาระ ประสบการณ์ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
 โดยใช้สื่อ เช่น รูปภาพ แผ่นใส สไลด์ วีดิโอเทป

1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้

1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
ตอบ:
(Competency) คือความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและมีผลให้บุคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิด ชอบของตนได้ดีกว่าบุคคลอื่น หรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะของคนเกิดได้จาก 3 ทางคือ
1.เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
2.เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
3.เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา
เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้า ที่ความรับผิดชอบประสบความสำเร็จ

1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ตอบ :
1.องค์ความรู้ (Knowleade) : คือความรู้ที่บุคคลนั้นมีอยู่ อาจเป็นความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจเองมาแต่กำเนิด หรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ก็ได้
2.ทักษะ (Skill) : คือความสามารถที่ได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญเฉพาะตัวขึ้น และสามารถนำไปปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากพรสวรรค์ ตลอดจนการศึกษาและฝึกฝนเป็นประจำ
3.แนวความคิดส่วนบุคคล (Self Concept) : คือกรอบความคิด ค่านิยม การรับรู้ และสิ่งที่ยึดถือส่วนตัวที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการตีความส่วนบุคคล
4.คุณสมบัติประจำตัว (Traits) : คือคุณสมบัติส่วนบุคคลที่รวมถึงบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอ ตลอดจนการกระทำต่างๆ ที่ทำจนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉพาะบุคคลนั้นขึ้น รวมไปถึงความสามารถต่างๆ ของบุคคลนั้นด้วย
5.ทัศนคติ (Attitude) : คือการตีความความคิดเห็นตลอดจนมุมมองของบุคคลนั้นต่อสิ่งๆ หนึ่งตามแนวความคิดและความเชื่อ ตลอดจนบรรทัดฐานของตน ซึ่งส่งผลต่อการกระทำ คำพูด และพฤติกรรมที่แสดงออกมาได้
6.แรงจูงใจ (Motivation) : คือสิ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่คนคนนั้นพึงใจจะกระทำ
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้

2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ตอบ :
การฝึกอบรม (Training) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระทั่งเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ตลอดจนพัฒนาความสามารถจนเกิดทักษะและความชำนาญ
การจัดฝึกอบรมในองค์กรนั้นอาจมีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งอาจไม่ต้องมีขั้นตอนอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ในการจัด หรือไม่ต้องมีพิธีรีตรองอะไรให้ยุ่งยาก ขณะเดียวกันก็มีการฝึกอบรมอย่างจริงจังที่ต้องมีการจัดการรายละเอียดมากมายด้วยเช่นกัน ซึ่งการฝึกอบรมในองค์กรนั้นมีลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
1. การฝึกอบรมสำหรับการเริ่มต้นงานใหม่ (Orientation Training)
การฝึกอบรมสำหรับพนักงานใหม่นี้มีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ๆ ที่ต้องใส่ใจรายละเอียดต่างกันไปดังนี้
1.1 การฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษา : การฝึกอบรมสำหรับเด็กจบใหม่อาจจะต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนพื้นฐาน และไม่ควรยากจนเกินไปนัก เพื่อให้เขาเริ่มปรับตัวในการทำงานได้ดี
1.2 การฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่มีประสบการทำงานแล้ว : สำหรับพนักงานใหม่ที่เคยผ่านงานมาแล้ว อาจไม่ต้องมีการฝึกอบรมในเรื่องพื้นฐานมาก แต่โฟกัสไปที่การฝึกอบรมเรื่องานเลยเพื่อให้พร้อมทำงานให้เร็วที่สุด หรือไม่หากเป็นงานที่คุ้นเคยอยู่แล้วก็อาจฝึกแบบทำงานจริงเพื่อให้พนักงานใหม่ได้ลองปรับตัวให้เข้ากับระบบการทำงานของบริษัท เป็นต้น สำหรับพนักงานใหม่นี้อาจเพิ่มเติมเรื่องวัฒนธรรมองค์กร และระบบ ระเบียบ การทำงานเข้าไปด้วย
1.3 การฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่ย้ายหน่วยงานภายในองค์กร : สำหรับพนักงานในองค์กรที่มีการย้ายแผนกหรือหน่วยงานที่ไม่ต้องเทรนด์เรื่องความสามารถเฉพาะทาง อาจไม่ต้องทำการฝึกอบรมอะไรมาก และอาจไม่ต้องมีการชี้แจงเรื่องวัฒนธรรมองค์กรใหม่ อาจมุ่งไปที่เรื่องการฝึกทักษะในการทำงานโดยตรง
2. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเดิมให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น (Skill Development Training)
การฝึกอบรมลักษณะนี้เป็นการเพิ่มพูนทักษะการทำงานของพนักงานให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรโดยรวมด้วย การฝึกอบรมในส่วนนี้อาจเป็นการฝึกอบรบเฉพาะทางที่ไม่เหมือนกัน ฝ่าย HR ควรสั่งเกตศักยภาพของพนักงานแต่ละคน รวมถึงภาพรวมของแต่ละแผนก ว่าควรเสริมการอบรมตรงจุดใดด้วย
3. การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ (Unfamiliar Knowledge Training)
การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่เขาไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานไม่หยุดอยู่กับที่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีความก้าวหน้าก็ทำให้พนักงานมุ่งมั่นในการทำงานได้ยิ่งขึ้นด้วย
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ :
วิธีการ หรือเครื่องมือ หรือกิจกรรม ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และสื่อความหมายระหว่างผู้ที่เป็นวิทยากรกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม หรือระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกัน หรือระหว่างบุคคลอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมในกระบวนการฝึกอบรมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในระดับที่ต้องการ เพื่อนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
1.การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้ แต่มีจุดด้อยตรงที่ลักษณะของการบรรยายจะเป็นระบบสื่อสารทางเดียว ยิ่งถ้ามีเวลาจำกัดโอกาสที่จะให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่บรรยายจะไม่มี ผู้บรรยายไม่สามารถประเมินได้ว่าเมื่อจบการบรรยายแล้วผู้ฟังมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่บรรยายมากน้อยเพียงใด
2.การอภิปราย( Discussion )
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วย
3.การสาธิต( Demonstration )
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์ และขับร้อง
4.การสอน ( Coaching )
เป็นการแนะนำให้รู้วิธีปฏิบัติงานให้ถูกต้อง โดยปกติจะเป็นการสอนหรืออบรมในระหว่างการปฏิบัติงาน อาจสอนเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งผู้สอนต้องมีประสบการณ์และทักษะในเรื่องที่สอนจริงๆ
5.การระดมสมอง ( Brainstorming )
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดยปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
6.การประชุมกลุ่มย่อย ( Buzz session )
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
7.การประชุมแบบฟอรัม( Forum )
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร
8.การสัมมนา( Semiar)
เป็นการประชุมของผู้ที่ปฏิบัติอย่างเดียวกันหรือคล้ายกัยแล้วพบปัญหาเหมือน ๆ กัน เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหาทุคนที่ไปร่ใมการสัมมนาต้องช่วยกันพูดช่วยกันแสดงความคิดเห็น ปกติจะบรรยายให้ความรู้พื้นฐานก่อนแล้วแบ่งกลุ่มย่อย จากนั้นนำผลการอภิปรายของกลุ่มย่อยเสนอที่ประชุมใหญ่
วิธีการ ทุกคนรว่มกันอภิปรายเสนอความคิด
คำถาม
1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
ตอบ: สมรรถนะหรือขีดความสามารถในการทำงาน(Competency)เกิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่1970มาจากการวิจัยของศ.เดวิด แมคคลาเลน David McClellandแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ศ.เดวิด แมคคลาเลน ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติและคุณลักษณะของนักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสำเร็จในองค์กรชั้นนำว่ามีคุณลักษณะเช่นไร
จากการศึกษาวิจัยพบว่าประวัติและผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ดีเด่นของบุคคลไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะชี้วัดว่าบุคคลนั้น ๆ จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเสมอไป
หากต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะอื่น ๆ อาทิ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นต้น
สรุปได้ว่า บุคคลที่มีผลการปฏิบัติงานดี ประสบความสำเร็จ จะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าสมรรถนะ (Competency)
อธิบายบุคลิกลักษณะของคนเปรียบเสมือนกับภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg)
แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง (The Iceberg Model)
น้ำ
โดยมีส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนน้อยลอยอยู่เหนือน้ำซึ่งสามารถสังเกตและวัดได้ง่าย
ได้แก่ ความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนมา (Knowledge)
และ ทักษะ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญพิเศษด้านต่างๆ (Skill)
สำหรับส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณมากกว่านั้น
เป็นส่วนที่ไม่อาจสังเกตได้ชัดเจนและวัดได้ยากกว่า
และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมากกว่า ได้แก่
บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม (Social Role) ภาพลักษณ์แห่งตน (Self Image)
อุปนิสัย (Traits) และแรงผลักดันเบื้องลึก (Motives)
ส่วนที่อยู่เหนือน้ำเป็นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาของบุคคล ซึ่งการที่บุคคลมีความฉลาดสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ และทักษะได้นั้น ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น จำเป็นต้องมีส่วนที่อยู่ใต้น้ำจึงจะทำให้บุคคลกลายเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นได้
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ตอบ :ขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) ที่มีความ
จําเปนต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร
ลําดับที่1การมีสํานึกของความรับผิดชอบ
ลําดับที่2การพัฒนาอยางต่อเนื่อง
ลําดับที่3การมุ่งสู่ผลสําเร็จ
ลําดับที่4ความรับผดชอบต่อสังคม
ลําดับที่5การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแล
ะลําดับสุดท้ายคือการทํางานเป็นทีม
คำถาม
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ตอบ : การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่เขาไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
องค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร
องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ : ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม
1.การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้
2.การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
3.การสาธิต( Demonstration)
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการ กระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์และ
ขับร้อง วิธีการ วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม
5.การระดมสมอง ( Brainstorming)
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
6.การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session)
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณา ประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
7.กรณีศึกษา( Case Study)
เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มด้วยหลักการ และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหา
8.การประชุมแบบฟอรัม( Forum)
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร วิธีการ วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้
9.เกมการบริหาร( Management Games)
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารการตัดสินใจการวางแผนการเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน วิธีการ ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม
อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471016
1.1ขีดความสามารถขององค์การ
คือความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและมีผลให้บุคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิด ชอบของตนได้ดีกว่าบุคคลอื่น หรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะของคนเกิดได้จาก 3 ทางคือ
1.เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
2.เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
3.เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา
เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้า ที่ความรับผิดชอบประสบความสำเร็จ

1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ตอบ :
1.องค์ความรู้ (Knowleade) : คือความรู้ที่บุคคลนั้นมีอยู่ อาจเป็นความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจเองมาแต่กำเนิด หรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ก็ได้
2.ทักษะ (Skill) : คือความสามารถที่ได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญเฉพาะตัวขึ้น และสามารถนำไปปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากพรสวรรค์ ตลอดจนการศึกษาและฝึกฝนเป็นประจำ
3.แนวความคิดส่วนบุคคล (Self Concept) : คือกรอบความคิด ค่านิยม การรับรู้ และสิ่งที่ยึดถือส่วนตัวที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการตีความส่วนบุคคล
4.คุณสมบัติประจำตัว (Traits) : คือคุณสมบัติส่วนบุคคลที่รวมถึงบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอ ตลอดจนการกระทำต่างๆ ที่ทำจนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉพาะบุคคลนั้นขึ้น รวมไปถึงความสามารถต่างๆ ของบุคคลนั้นด้วย
5.ทัศนคติ (Attitude) : คือการตีความความคิดเห็นตลอดจนมุมมองของบุคคลนั้นต่อสิ่งๆ หนึ่งตามแนวความคิดและความเชื่อ ตลอดจนบรรทัดฐานของตน ซึ่งส่งผลต่อการกระทำ คำพูด และพฤติกรรมที่แสดงออกมาได้
6.แรงจูงใจ (Motivation) : คือสิ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่คนคนนั้นพึงใจจะกระทำ
(Employee Core Competency) ที่มีความ
จําเปนต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร
ลําดับที่1การมีสํานึกของความรับผิดชอบ
ลําดับที่2การพัฒนาอยางต่อเนื่อง
ลําดับที่3การมุ่งสู่ผลสําเร็จ
ลําดับที่4ความรับผดชอบต่อสังคม
ลําดับที่5การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและ
ลําดับสุดท้ายคือการทํางานเป็นทีม
อิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471016
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ตอบ : การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่เขาไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
องค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร
องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ : ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม
1.การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้
2.การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
3.การสาธิต( Demonstration)
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการ กระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์และ
ขับร้อง วิธีการ วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม
5.การระดมสมอง ( Brainstorming)
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
6.การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session)
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณา ประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
7.กรณีศึกษา( Case Study)
เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มด้วยหลักการ และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหา
8.การประชุมแบบฟอรัม( Forum)
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร วิธีการ วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้
9.เกมการบริหาร( Management Games)
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารการตัดสินใจการวางแผนการเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน วิธีการ ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม
สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล
อิทธิณัฐ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471284
1.1ขีดความสามารถขององค์การ
คือความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและมีผลให้บุคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิด ชอบของตนได้ดีกว่าบุคคลอื่น หรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งสมรรถนะของคนเกิดได้จาก 3 ทางคือ
1.เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
2.เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
3.เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา
เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้า ที่ความรับผิดชอบประสบความสำเร็จ

1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ตอบ :
1.องค์ความรู้ (Knowleade) : คือความรู้ที่บุคคลนั้นมีอยู่ อาจเป็นความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจเองมาแต่กำเนิด หรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ก็ได้
2.ทักษะ (Skill) : คือความสามารถที่ได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญเฉพาะตัวขึ้น และสามารถนำไปปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากพรสวรรค์ ตลอดจนการศึกษาและฝึกฝนเป็นประจำ
3.แนวความคิดส่วนบุคคล (Self Concept) : คือกรอบความคิด ค่านิยม การรับรู้ และสิ่งที่ยึดถือส่วนตัวที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการตีความส่วนบุคคล
4.คุณสมบัติประจำตัว (Traits) : คือคุณสมบัติส่วนบุคคลที่รวมถึงบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอ ตลอดจนการกระทำต่างๆ ที่ทำจนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉพาะบุคคลนั้นขึ้น รวมไปถึงความสามารถต่างๆ ของบุคคลนั้นด้วย
5.ทัศนคติ (Attitude) : คือการตีความความคิดเห็นตลอดจนมุมมองของบุคคลนั้นต่อสิ่งๆ หนึ่งตามแนวความคิดและความเชื่อ ตลอดจนบรรทัดฐานของตน ซึ่งส่งผลต่อการกระทำ คำพูด และพฤติกรรมที่แสดงออกมาได้
6.แรงจูงใจ (Motivation) : คือสิ่งที่ดึงดูดและกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่คนคนนั้นพึงใจจะกระทำ
(Employee Core Competency) ที่มีความ
จําเปนต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร
ลําดับที่1การมีสํานึกของความรับผิดชอบ
ลําดับที่2การพัฒนาอยางต่อเนื่อง
ลําดับที่3การมุ่งสู่ผลสําเร็จ
ลําดับที่4ความรับผดชอบต่อสังคม
ลําดับที่5การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและ
ลําดับสุดท้ายคือการทํางานเป็นทีม
อิทธิณัฐ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471284
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ตอบ : การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่เขาไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
องค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร
องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ : ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม
1.การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้
2.การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
3.การสาธิต( Demonstration)
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการ กระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์และ
ขับร้อง วิธีการ วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม
5.การระดมสมอง ( Brainstorming)
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
6.การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session)
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณา ประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
7.กรณีศึกษา( Case Study)
เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มด้วยหลักการ และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหา
8.การประชุมแบบฟอรัม( Forum)
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร วิธีการ วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้
9.เกมการบริหาร( Management Games)
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารการตัดสินใจการวางแผนการเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน วิธีการ ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม
สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล
ณัฐภรณ์ ยศพิมพ์ รหัส 63423471025

1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
ขีดความสามารถขององค์การ หมายถึง ศักยภาพหรือสมรรถนะ ซึ่งเป็นลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลในพฤติกรรมที่แตกต่าง
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน (Result Focus)
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงาน (Functional Competency)
ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะมีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เช่น ความสามารถในการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
การนำ Competency มาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- บุคคล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในปัจจัยการดำเนินงานขององค์กร
- แม้ว่าองค์กรจะมีทรัพยากรด้านอื่นๆ จำนวนมาก เช่น เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดี เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ใช้จ่ายทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
- ก็จะทำให้องค์กรนั้นขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ขาดศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย 3 ข้อ
1).การพัฒนาตนเองและผู้อื่น (Developing Self and Other )
2).การทำงานเป็นทีม (Teamwork )
3).การมุ่งสู่ผลสำเร็จ( Achievement Orientation)
- ขีดความสามารถหลักของบุคลากร ( Employee Core Competency) คือขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรพึงมีร่วมกัน -ขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ(ManagerialCompetency)คือขีดความสามารถของบคุลากรในตำแหน่งงานระดับบังคับบัญชา
- ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงาน ( Technical Competency ) คือ ขีดความสามารถซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ของวิชาชีพนั้นๆซึ่งในที่นี้ได้กำหนดให้ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงานประกอบด้วยขีดความสามารถอยู่2 ประเภท คือ
1)ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงานที่ร่วมกัน ( Core Technical Compency ) ที่เป็นความเชี่ยวชาญซึ่งบุคลากรในกลุ่มงาน (Function) นั้นต้องมีร่วมกัน
2)ขีดความสามารถที่เป็นความเชียวชาญในงานที่เฉพาะของตำแหน่งงานที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกัน
- ขีดความสามารถมีความสัมพันธ์ระหว่างงาน (Work) ผลลัพธ์ (Results) ผลที่ได้จากการทำงาน(Outputs)กับคุณลักษณะของความรู้(Knowledge)ทักษะ(Skill)และทัศนคติ(Attitude)ในการทำงานขีดความสามารถในลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล (UnderlyingCharacteristic) ประกอบไปด้วยแรงจูงใจ (Moives)ลักษณะส่วนบุคคล(Traits) อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคลหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองของบุคคล(Self-concept)ความรู้ (Knowledge)และทักษะ(Skill) ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Casual Relationship) จากความมีประสิทธิผลของเกณฑ์ที่ใช้ (Criterion-reference) และ/หรือการปฏิบัติงานที่ได้ผลสูงสุด(Superior Performer)
-แรงจูงใจ(Motives)คือแรงขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
- ลักษณะส่วนบุคคล (Trait) หมายถึง เป็นคุณลักษณะทางกายภาพของบุคคลรวมถึงการตอบสนองของบุคคล
- ทักษะ(Skill) คือ ความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านกายภาพการใช้ความคิดและจิตใจของบุคคล
ขีดความสามารถนั้นสามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆดังนี้
1.ขีดความสามารถที่สังเกตได้หรือเห็นได้(Visible)ได้แก่ขีดความสามารถด้านความรู้(Knowledge)ทักษะ(Skill)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถ
2.ขีดความสามารถที่อยู่ลึกไปหรือซ่อนอยู่(Hidden)ได้แก่ขีดความสามารถด้านแรงจูงใจ(Motive)และลักษณะส่วนบุคคล (Trait)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่ยากต่อการวัดและพัฒนา
2. จงอธิบายสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ความหมายการฝึกอบรม
การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่ไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงาน ทั้งองค์ความรู้พื้นฐานไปจนถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคคล ปรับระบบการทำงานขององค์กรให้มีทิศทางเดียวกัน เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ หรือบริษัทคู่แข่งได้ เพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้น
1. สร้างความประทับใจให้พนักงานที่เริ่มทำงาน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น
3. เตรียมขยายงานขององค์การ
4. พัฒนาพนักงานขององค์การให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
5. สร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานขององค์การให้เกิดความมั่นคงการทำงาน
6. เพิ่มพูนวิทยาการที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานองค์การ
7. ลดงบประมาณค่าวัสดุสูญเปล่า
8. สร้างความสามัคคีในหมู่พนักงาน
9. เป็นวิธีการแห่งประชาธิปไตย
10. เป็นการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของบุคคล

2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม
1.การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้
2.การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
3.การสาธิต( Demonstration)
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการ กระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์และ
ขับร้อง วิธีการ วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม
5.การระดมสมอง ( Brainstorming)
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
6.การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session)
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณา ประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
7.กรณีศึกษา( Case Study)
เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มด้วยหลักการ และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหา
8.การประชุมแบบฟอรัม( Forum)
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร วิธีการ วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้
9.เกมการบริหาร( Management Games)
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารการตัดสินใจการวางแผนการเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน วิธีการ ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
1.1 จิรประภา อัครบวร (2548) กล่าวว่า ขีดความสามารถหลักขององค์กร (Organizational Core Competency) คือ คุณลักษณะที่องค์การต้องการมีหรือเป็น เพื่อให้มีขีดความสามารถตามที่ผู้บริหารองค์การต้องการ เช่น ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขีดความสามารถหลักขององค์การถูกกำหนดจากการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน (SWOT Analysis) เพื่อสะท้อนสิ่งที่องค์การเป็นอยู่ตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ตัวอย่างเช่น สินค้ามีความหลากหลาย สภาพการเงินที่มั่นคง นวัตกรรมในการบริหาร เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น
สรุปได้ว่า ขีดความสามารถขององค์การ คุณลักษณะที่องค์การต้องการมีหรือเป็น เพื่อเช่น ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

1.2 David C.McClelland (1993) ได้อธิบายว่า ขีดความสามารถ (Competency) เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และทัศนคติ/แรงจูงใจ (Attitude/Motive) แต่สิ่งที่มักจะทำให้คนทั่วไปสับสน คือ ขีดความสามารถแตกต่างจากความรู้ ทักษะ และทัศนคติ/แรงจูงใจอย่างไร และความรู้หรือทักษะที่บุคคลมีอยู่นั้นถือเป็นขีดความสามารถหรือไม่ จากการศึกษาของ David C.McClelland พบว่าความสามารถสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) ขีดความสามารถขั้นพื้นฐาน (Threshold competencies) ซึ่งหมายถึงความรู้หรือทักษะพื้นฐานที่บุคคลจำเป็นต้องมีในการทำงาน เช่น ความสามารถในการอ่านหรือความรู้ในสินค้าที่ตนขายอยู่ประจำเป็นต้นซึ่ง Competency พื้นฐานเหล่านี้ไม่ทำให้บุคคลมีผลงานที่แตกต่างจากผู้อื่นหรือไม่สามารถ ทำให้บุคคลมีผลงานที่ดีกว่าผู้อื่นได้ดังนั้น Competency ในกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการมากนักนักวิชาการบางกลุ่มถึงขั้นลงความเห็นว่าความรู้และทักษะพื้นฐานเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็น Competency
2) ความสามารถที่ทำให้บุคคลแตกต่างจากผู้อื่น (Differentiating Competencies) หมายถึง ปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีผลการทำงานสูงกว่ามาตรฐานหรือดีกว่าบุคคลทั่วไปซึ่ง Competency ในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นที่การใช้ความรู้ ทักษะ หรือลักษณะอื่นๆ (รวมถึงค่านิยม แรงจูงใจ และทัศนคติ) เพื่อช่วยให้เกิดผลสำเร็จที่ดีเลิศในงานอีกทั้งยังเป็น Competency ที่นักวิชาการจำนวนมากให้ความสำคัญในการพัฒนาให้มีขึ้นในบุคคลมากกว่า Competency กลุ่มแรก
สรุปได้ว่า ขีดความสามารถของบุคลากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ขีดความสามารถขั้นพื้นฐาน เป็นความสามารถที่บุคคลทั่ว ๆ ไปมี และความสามารถที่ทำให้บุคคลแตกต่างจากผู้อื่น เป็นความสามารถที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป และช่วยให้เกิดผลสำเร็จที่ดีเลิศในงาน
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.1 การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่บุคคลภายใต้เงื่อนไขบางประการ แต่ยังไม่เป็นระบบเหมือนกับการศึกษาในสถาบันทั่วไป
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม มีดังต่อไปนี้
(1) เพื่อให้พนักงานมีความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นต่อการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
(2) เพื่อปรับปรุงทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงาน ส่งผลให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ปรับปรุงประสิทธิผลการท างานและเปิดโอกาสให้พนักงานเจริญก้าวหน้า
(3) เพื่อเพิ่มระดับของความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งจะมีผลในการลดอัตราเข้าออกของพนักงาน
(4) เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานปลอดภัยสำหรับพนักงานและผู้มาใช้บริการ ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะที่ทำงาน และมีการกำหนดมาตรการในการรักษาความปลอดภัย
ประโยชน์ของการได้รับการอบรม มีดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น
(2) ได้นำความรู้และทักษะต่างๆ ที่ได้รับการอบรมมาช่วยในการพัฒนางาน
(3) ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
(4) ได้พบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกับบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้าร่วมอบรมด้วยกัน

2.2 สื่อโสตทัศน์ (Audiovisual) และเครื่องมือการฝึกอบรมใช้สำหรับการฝึกอบรมในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่ การคัดเลือกสื่อควรสอดคล้องกับเนื้อหาของการฝึกอบรมและงบประมาณการจัดทำสื่อขององค์การ สื่อและเครื่องมือการฝึกอบรมมีหลายประเภท เช่น กระดานดำ โปสเตอร์ ฟลิบชาร์ต (Flipchart) แผ่นใส เทปเสียง สไลด์ วีดีทัศน์ ซีดีรอม เป็นต้น ซึ่งแต่ละสื่อมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน กระดานดำมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ผู้สอนต้องเขียนเนื้อหาที่ฝึกใหม่ทุกครั้งที่มีการฝึกอบรม โปสเตอร์และแผ่นใสจัดทำง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่เขียนข้อความได้ไม่มากนัก แต่มีข้อดีคือนำกลับมาใช้อีกได้เมื่อต้องการ ฟลิบชาร์ตมีประโยชน์ในการบันทึกประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการสอน และช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น เทปเสียงช่วยสร้างบรรยากาศการฝึกอบรมด้วยเสียงดนตรีหรือสร้างบรรยากาศให้เหมือนสถานที่จริง เช่นเสียงห้องจัดเลี้ยงเมื่อมีแขกเป็นจำนวนมาก เป็นต้น สไลด์มีประโยชน์ในการช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพและบรรยากาศจริง และสะดวกในการพกพาและปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยได้ง่ายเพียงเปลี่ยนสไลด์แผ่นใหม่แทนที่แผ่นเก่า วีดีทัศน์และซีดีรอมใช้ได้ดีกับงานปฏิบัติการที่ต้องการสาธิตวิธีการทำเป็นขั้นตอนเนื่องจากมีภาพเคลื่อนไหว อาทิ การทำความสะอาดห้องพัก แต่มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำสูง
Nan. said…
น.ส.สรัญณํฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
วันที่ 9 ธันวาคม 2563
1.1 จงอธิบายความสามารถขององค์กร
ขีดความสามารถ หมายถึง ระดับความสามารถของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การ เช่น ฝ่าย แผนกหรือของตัวองค์การเอง เกิดจากผลการทำงานร่วมกันของบุคลากรทุกคนในหน่วยงานขององค์การหรือของ บุคลากรทุกคนในองค์การนั้น กล่าวคือหน่วยงานหรือองค์การที่มีขีดความสามารถสูงจะต้องสามารถบริหารการ ทำงานของบุคลากรในหน่วยงานหรือองค์การ ให้ร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และ เป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ
ขีดความสามารถหลักขององค์กร (Organizational Core Competency) คือ คุณลักษณะที่องค์การต้องการมีหรือป็น เพื่อให้มีขีดความสามารถตามที่ผู้บริหารองค์การต้องการ เช่น ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขีดความสามารถ หลักขององค์การถูกกําหนดจากการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน (SWOT Analysis) เพื่อสะท้อนสิ่งที่องค์การเป็นอยู่ตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ตัวอย่าง เช่น สินค้ามีความหลากหลาย, สภาพการเงินที่มั่นคง, นวัตกรรมในการบริหาร, เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เป็น
ต้น
1.2 อธิบายขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
แม็คเลแกน (2540) (อ้างใน เจณศจี ไพบูลย์สวัสดิ์, 2542: 8-9) ได้ให้ความหมายของขีด
ความสามารถไว้ตามลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ขีดความสามารถตามลักษณะงาน (Competency as Tasks) โดยแบ่งขีดความสามารถ
ออกเป็นงานย่อยๆ มีการกำหนดของเขตของสถานการณ์ต่างๆ ที่จะทำให้งานสำเร็จได้
2. ขีดความสามารถตามผลลัพธ์ (Competencies as Results) โดยแบ่งขีดความสามารถ
ออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ เพราะว่าผลรวมขององค์ประกอบย่อยๆ ทั้งหมดจะเท่ากับผลลัพธ์รวม
3. ขีดความสามารถตามผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน ( Competencies as Outputs) ขีด
ความสามารถในข้อนี้ จำเป็นต้องหาผลที่เกิดจากความต้องการของลูกค้า ทั้งภายในและภายนอก
และแบ่งผลที่เกิดจากความต้องการออกเป็นส่วนย่อยๆ มีการกำหนดคุณภาพและมาตรฐานที่
Nan. said…
ต้องการ โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ผลกำไรในระยะยาว
และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
4. ขีดความสามารถตามความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Competencies as Knowledge, Skills
and Attitudes) คนที่ฉลาดรอบรู้จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรม หรือวิธีการต่างๆ ที่จะบ่งบอกว่า
คนผู้นั้นมีความสามารถในการปฏิบัติงานสูง โดยใช้ขีดความสามารถที่จะแสดงถึงความรู้ ทักษะ
ทัศนคติ ที่จะทำให้เกิดสำเร็จ รวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น การกำหนดเป้าหมาย การหา
หนทางที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย และการใช้เป้าหมายเป็นตัวกำหนดความสำคัญใน
การทำงาน
5. ขีดความสามารถที่แต่ละคนมี (Competencies as Attribute Bundles) เป็นการประยุกต์
กระบวนการของขีดความสามารถเกี่ยวกับความรู้ ทักษะและทัศนคติ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะ
20:10 N. เจาะจงว่าเป็นความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ ตัวอย่าง เช่น ภาวะผู้นำจะแสดงพฤติกรรมที่สามรถจูงใจ
ให้บุคคลปฏิบัติตามได้ (McLagan, 1997)
ในทัศนะผู้ศึกษาเห็นว่า ความหมายของขีดความสามารถโดยรวม จะประกอบไปด้วย
ความรู้ ทักษะ รวมถึง พฤติกรรมที่ประกอบกันหรือมีอยู่ในแต่ละคน ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะสะท้อนให้
เห็นหรือซ่อนไว้ในแต่คน ทำให้คนนั้นมีความสามารถที่แตกต่างกันนั้นเอง
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
การฝึกอบรม เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและทันเหตุการณ์เสมอ เพราะโลกสังคมที่ดำเนินชีวิตอยู่ อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายใต้สิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจในประเทศไทยและในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก การฝึกอบรมเป็นกระบวนการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความชำนาญ การพัฒนาฝีมือ ในการทำงานให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ การพัฒนากำลังคนที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิต และตรงความต้องการของประชาชน โดยการสำรวจหาข้อมูลให้ทราบว่า ประชาชนกลุ่มใดมีความต้องการเรียนรู้อะไร เมื่อไรมีความจำเป็นต้องอบรม จะอบรมเรื่องอะไร และควรจะการฝึกอบรมวิธีใด ความจำเป็นในการพัฒนาประชาชนของกลุ่มต่างๆ มาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกชุมชน
Nan. said…
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับพนักงาน ทั้งองค์ความรู้พื้นฐานไปจนถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคคล
2. ปรับระบบการทำงานขององค์กรให้มีทิศทางเดียวกัน
3. เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ หรือบริษัทคู่แข่งได้
4. เพิ่มศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้น
5. ถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่พนักงาน
6. เพื่อต้องการลดต้นทุนในการประกอบการให้มากที่สุด ด้วยวิธีเพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดีที่สุด
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
1. บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
2. องค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร
3. องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
4. สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
5. สามารถช่วยลดต้นทุนในการประกอบการได้ เนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. พนักงานมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
เทคนิคการฝึกอบรม วิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารถ่ายทอด หรือถ่ายโยงความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับ การฝึกอบรม กลวิธีในการถ่ายทอดประสบการณ์ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนะคติที่ดี ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เข้ารับการอบรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม
1. วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม
2. สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในหลักสูตร
3. ผู้เข้ารับการอบรม
4. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
เทคนิคการฝึกอบรม จำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทการบรรยายและอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เทคนิคการฝึกอบรมประเภทนี้ได้แก่ การบรรยายหรือปาฐกถา (Lecture or Speech) การบรรยายเป็นชุด (Symposium) การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion) เป็นต้น
2. ประเถทให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีบทบาทร่วม เช่น การสัมมนา (Seminar) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การประชุม (Syndicate Method) การระดมความคิด (Brainstorming) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) การประชุมถกเถียง (Buzz Session) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) การให้เวลาซักถาม (Question Period) การสัมภาษณ์ (Interview) การสาธิต (Demonstration) การประชุมเชิงปฎิบัติการ (Workshop) การทัศนศึกษา (Field Trip) เป็นต้น
3. ประเภทพัฒนาฌฉพาะตัวบุคคล ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปรับให้เข้ากับระดับความสมารถในการเรียนรู้และความสะดวกของตนได้ เช่น การสอนแบบสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การสอนแนะ (Coaching)
4. ประเภทใช้สื่อในการฝึกอบรม เช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง (Slide/Tape Presentation) การใช้ภาพยนตร์ประกอบ (Instructional Film)

Unknown said…
ชื่อ นายธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส นักศึกษา 634-234-711-45
งานวันที่ 9 มกราคม 2564
1.ขีดความสามารถขององค์การ
ตอบ
ขีดความสามารถขององค์การเป็นลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมและมีบทบาทในตำแหน่งหน้าที่มีทักษะทัศนคติที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างดีในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปและองค์การสามารถบริหารงานให้สอดคล้องประสานงาน ภารกิจ หน้าที่ ควบคุม อย่างเป็นระบบก่อให้เกิดการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การให้สวัสดิการ ความสามารถดีคดเลือกคนเก่งคนดีมีคุณธรรมมาร่วมงานความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและผลการปฏิบัติงานที่ต้องการแรงผลักดันเบี้องลึก แรงจูงใจ เป็นสิ่งที่บุคคลคิดหรือต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นแรงขับในการกำหนดทิศทาง หรือ การเลือกของบุคคลเพื่อแสดงออกถึงพฤติกรรมการตอบสนองต่อเป้าหมายหรือการถอยออกไปจากสิ่งนั้นอุปนิสัยเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลทางกายภาพ และรวมถึงการตอบสนองของบุคคลต่อข้อมูลหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ภาพลักษณะแห่งตน เรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติ ค่านิยม และภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์ในช่วงระยะสั้นความรู้เป็นขอบเขตของข้อมูล หรือ เนื้อหาเฉพาะด้านที่บุคคลใด บุคคลหนึ่งครอบครองอยู่ ทักษะเป็นความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านกายภาพ การใช้ความคิด วิเคราะห์ ใช้ความรู้กำหนดเหตุผลหรือการวางแผนในการจัดการ และ ในขณะเดียวกันเกิดตระหนักถึงความซับซ้อนของข้อมูลได้ สมรรถนะที่สังเกตได้หรือเห็นได้ ได้แก่ความรู้ทักษะ ซึ่งเป็นสมรรถนะที่มีโอกาสพัฒนา สมรรถนะที่อยู่ลึกลงไปหรือซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคลแรงผลักดันเบื้องลึก คุณลักษณะส่วนบุคคลซึ่งเป็นสมรรถนะที่ยากต่อการวัดและพัฒนาขีดความสามารถหมายถึง ระดับความสามารถของหน่วยงาน ภายในองค์การ ฝ่าย แผนกหรือของตัวองค์การเอง เกิดจากผลการทำงานร่วมกันของบุคลากรทุกคนในหน่วยงานขององค์การ ตัวอย่างเช่น บริษัท ข มีระบบการจัดการบริหารโครงสร้างภายในอย่างเป็นระบบมีระเบียบ แบบแผน การเงิน บุคคล รายจ่าย เป็นธรรม โปร่งใส บุคคล ค่าตอบแทนการทำงานและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร

2.ขีดความสามารถของบุคคล
ตอบ
ขีดความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ของบุคคลบางสิ่งคือสิ่งที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตคิดเป็นมีปัญญาและมีความคิดสำนึกมีคุณประโยชน์รู้จักเรียนรู้ ดำรงชีวิต รู้จักปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม ความสำเร็จในชีวิตการปรับสภาพแวดล้อมในชีวิตการรู้จักตนเองเป็นสิ่งสำคัญคือสิ่งที่เขายังไม่เคยรู้มนุษย์จึงควรเรียนรู้ ตลอดเวลาและสนใจอยากรู้อยากเห็นเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ วิธีการ การตอบสนองความต้องการ ความสามารถของบุคคลที่เกิดจากการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของบุคคลได้แก่ แรงขับ มีความต้องการที่เกิดขึ้นในบุคคลสิ่งเร้าเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสภาพต่าง ๆเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าคือ วิทยาการ กิจกรรมฝึกอบรมและอุปกรณ์การสอนการตอบสนองการเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การเรียน การอบรม ความรู้สึกการเสริมแรงคือแรงผลักที่มีอิทธิพลทำให้เกิดการเพิ่มพลังกับการเชื่อมโยงต่อสิ่งเร้ากับการตอบสนองการรับแรงทางบวกและทางลบต่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติที่ต้องการแรงกระตุ้นในตัวบุคคล ความสามารถบุคคล หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อและอุปนิสัย ให้บุคคลคนนั้นมีความสามารถในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้โดดเด่นกว่าคนทั่วไป การพัฒนาขีดความสามารถ คือ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ที่จำเป็นของบุคคลในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มี ผลงานได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดหรือสูงกว่าซึ่งต้อง มีการประเมินเพื่อนำใช้ต่อกับงานทรัพยากรบุคคลด้านอื่น ๆ แต่สิ่งที่ต้องเพิ่มเข้ามาในความหมายปัจจุบันตัวสมรรถนะ ขีดความสามารถ จะต้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาบุคลากรให้ทำงานตอบกลยุทธ์องค์กร การพัฒนาขีดความสามารถเชิงสมรรถนะเพื่อการสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัท ค รับพนักงานเข้าทำงานตามสายงานและพัฒนาทักษะและฝึกอบรมให้ตามความหมาะสมพนักงานเกิดความรู้สึกให้รับแรงกระตุ้นจากฝ่ายต่าง ๆให้รับการส่งเสริมจากแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้พัฒนางานให้เกิดความต่อเนื่องและนำมาใช้ในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
Unknown said…
ชื่อ นายธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส นักศึกษา 634-234-711-45
งานวันที่ 9 มกราคม 2564

3.ประโยชน์ของการฝึกอบรมและวัตถุประสงค์การอบรม
ตอบ
ประโยชน์ของการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรมีความรู้มีทักษะที่ดีในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นการพัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีประสิทธิภาพให้บรรลุเป้าหมายของฝ่ายบริหารให้มีความรู้ความเข้าใจ ลดค่าใช้จ่ายลง ในการพัฒนาสายงานเฉพาะ เกิดความเชี่ยวชาญพิเศษในงานที่ทำมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานในหน่วยงานก่อให้เกิดความร่วมมือกันกับฝ่ายต่าง ๆในการ ประสานงานและการบริหารเกิดประสิทธิภาพในองค์การ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหน่วยต่าง ๆอย่างเป็นระบบการปรับปรุงในแต่ละด้านการประเมินผลงานและการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงก่อให้เกิดการพัฒนา การสร้างความเชื่อมั่น ความพึงพอใจในการทำงาน ลดแรงกดดันในการทำงานลง ลดความวิตกกังวล ลดการลาออกของพนักงานเป็นการรักษาบุคลากรให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพให้ความร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ ในการทำงานระยะยาวร่วมกับฝ่ายบริหาร ลดค่าใช้จ่าย การเรียนรู้ ปรับปรุงระบบต่าง ๆให้ทันสมัย ดียิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพ สร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การเป็นการหล่อหลอมบุคคลให้ช่วยเหลือและปฏิบัติงานตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ทักษะ ความสามารถ เพิ่มคุณค่าในตัวบุคคลกับบุคคากรที่รับการฝึกอบรม ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการให้ลงบันทึกชั่วโมงการอบรมเพื่อทุกคนได้มีข้อมูลอบรมที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อทุกคนได้มีข้อมูลประกอบการประเมินผลงานเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นของตนเองที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน โดยไม่ต้องร้องขอ หรือทำย้อนหลัง เพื่อให้หน่วยงานได้ทราบความสนใจความเชี่ยวชาญของบุคลากรแต่ละท่านเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลรายงานตามตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน เป็นประจำทุกเดือน ตามวันและเวลาที่กำหนด เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการวิเคราะห์จัดทำแผนพัฒนารายบุคคล ให้ทุกคนได้รับการพัฒนาตามสายงานที่รับผิดชอบ ลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของการได้รับการอบรม ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น ได้นำความรู้และทักษะต่าง ๆ การอบรมมาช่วยในการพัฒนางาน ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญการทำงานมีประสิทธิภาพ

4.เทคนิคการใช้สื่อในการอบรม
ตอบ
เทคนิคการใช้สื่อในการอบรมต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เป็นวิธีการที่นำมาถ่ายทอดความรู้กับผู้อบรมให้เกิดความเข้าใจ มีทักษะ ทัศนคติ เพื่อให้เข้าถึงวัตถุประสงค์ในการอบรมที่ได้เรียนรู้ เป็นวิธีการใช้สื่อติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดวิธีการความรู้ความเข้าใจ การรู้จักข้อเท็จจริง ตลอดจนประสบการณ์ของวิทยาการโดยใช้สื่อให้เกิดความเข้าใจในการดัดแปลงแก้ไขเปลี่ยนแปลง เข้าใจง่ายผู้อบรมอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เนื้อหน จำนวนผู้อบรม ผู้เข้าอบรม วิทยากร สถานที่ สภาพแวดล้อมโดยการใช้สื่อในแต่ละประเภทอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีข้อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้สื่อแต่ละประเภทในการอบรมโดยสื่อการอบรม การสอน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การอบรมเป็นไปด้วยดีเรียบร้อยเป็นรูปธรรมช่วยให้บรรยากาศในการอบรมน่าสนใจ สื่อการสอนมีคุณค่ากับวิทยากร อาจารย์ได้อย่างเหมาะสมถูกวิธี สื่อจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวเชื่อมให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจง่าย เช่น สื่อวิดิทัศน์ ซีดี แผ่นใส ลำโพง อนิเมชั่น สไลด์โดยเทคนิคการใช้สื่อการอบรมเข้าใจง่าย มีความน่าสนใจ มีแนวคิดให้ผู้อบรมคิดตาม มีแรงจูงใจ อย่างรู้อยากเห็น มีความคิดใหม่ ๆ สร้างบรรยากาศที่ดีมีปฏิกิริยาตอบสนองกับวิทยากร ประหยัดค่าใช้จ่ายลง ช่วยให้คิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาได้ลงมือปฏิบัติ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ผู้เข้าอบรมเกิดการกระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องกับสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างดียิ่งขึ้นและการมีส่วนร่วมในการอบรม โดยสื่อแต่ละประเภทสามารถแยกได้แก่ สื่อบุคคล เป็นตัวบุคคลที่ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด วิธีปฏิบัติไปสู่ผู้อบรมมีบทบาทสำคัญ สื่อวัสดุ เป็นสื่อในตัวเองเช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง เป็นสื่อที่บอกลักษณะของตนเองได้ชัดเจน และสื่อวัสดุที่ไม่สามารถบอกเอกลักษณ์ของตนเองได้เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ เทปเสียง สื่อบริบท เป็นสื่อในการทำกิจกรรมการอบรมเพื่อให้เข้าใจในลักษณะต่าง ๆ สื่อ กิจกรรมเป็นสื่อลักษณะที่ประกอบการอบรม การเรียนรู้ การจำลอง กิจกรรมต่าง ๆ บทบาทลงไปเทคนิคการฝึกอบรมเทคนิคการฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อการจัดฝึกอบรมเป็นอย่างมากเพราะการอบรม เพื่อเพิ่มพูนสรรถภาพและประสิทธิภาพของบุคคล ในด้านความรู้ความเข้าใจ
ขอบคุณครับ
1. จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1.1 ขีดความสามารถขององค์การ
ขีดความสามารถขององค์การ หมายถึง ศักยภาพหรือสมรรถนะ ซึ่งเป็นลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลในพฤติกรรมที่แตกต่าง
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน (Result Focus)
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงาน (Functional Competency)
ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะมีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เช่น ความสามารถในการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
การนำ Competency มาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- บุคคล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในปัจจัยการดำเนินงานขององค์กร
- แม้ว่าองค์กรจะมีทรัพยากรด้านอื่นๆ จำนวนมาก เช่น เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดี เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ใช้จ่ายทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
- ก็จะทำให้องค์กรนั้นขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ขาดศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว
1.2 ขีดความสามารถของบุคลากรมีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย 3 ข้อ
1).การพัฒนาตนเองและผู้อื่น (Developing Self and Other )
2).การทำงานเป็นทีม (Teamwork )
3).การมุ่งสู่ผลสำเร็จ( Achievement Orientation)
- ขีดความสามารถหลักของบุคลากร ( Employee Core Competency) คือขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรพึงมีร่วมกัน -ขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ(ManagerialCompetency)คือขีดความสามารถของบคุลากรในตำแหน่งงานระดับบังคับบัญชา
- ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงาน ( Technical Competency ) คือ ขีดความสามารถซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ของวิชาชีพนั้นๆซึ่งในที่นี้ได้กำหนดให้ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงานประกอบด้วยขีดความสามารถอยู่2 ประเภท คือ
1)ขีดความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญในงานที่ร่วมกัน ( Core Technical Compency ) ที่เป็นความเชี่ยวชาญซึ่งบุคลากรในกลุ่มงาน (Function) นั้นต้องมีร่วมกัน
2)ขีดความสามารถที่เป็นความเชียวชาญในงานที่เฉพาะของตำแหน่งงานที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกัน
- ขีดความสามารถมีความสัมพันธ์ระหว่างงาน (Work) ผลลัพธ์ (Results) ผลที่ได้จากการทำงาน(Outputs)กับคุณลักษณะของความรู้(Knowledge)ทักษะ(Skill)และทัศนคติ(Attitude)ในการทำงานขีดความสามารถในลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล (UnderlyingCharacteristic) ประกอบไปด้วยแรงจูงใจ (Moives)ลักษณะส่วนบุคคล(Traits) อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคลหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองของบุคคล(Self-concept)ความรู้ (Knowledge)และทักษะ(Skill) ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Casual Relationship) จากความมีประสิทธิผลของเกณฑ์ที่ใช้ (Criterion-reference) และ/หรือการปฏิบัติงานที่ได้ผลสูงสุด(Superior Performer)
-แรงจูงใจ(Motives)คือแรงขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
- ลักษณะส่วนบุคคล (Trait) หมายถึง เป็นคุณลักษณะทางกายภาพของบุคคลรวมถึงการตอบสนองของบุคคล
- ทักษะ(Skill) คือ ความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านกายภาพการใช้ความคิดและจิตใจของบุคคล
ขีดความสามารถนั้นสามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆดังนี้
1.ขีดความสามารถที่สังเกตได้หรือเห็นได้(Visible)ได้แก่ขีดความสามารถด้านความรู้(Knowledge)ทักษะ(Skill)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถ
2.ขีดความสามารถที่อยู่ลึกไปหรือซ่อนอยู่(Hidden)ได้แก่ขีดความสามารถด้านแรงจูงใจ(Motive)และลักษณะส่วนบุคคล (Trait)ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่ยากต่อการวัดและพัฒนา
2.1 ความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการฝึกอบรม
ตอบ : การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่เขาไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน บุคลากรสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้างผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
องค์กรมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กร
องค์กรมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรได้
2.2 เทคนิคในการใช้สื่อในการฝึกอบรม
ตอบ : ประเภทของเทคนิคในการฝึกอบรม
1.การบรรยาย ( Lecture )
การบรรยาย เป็นเทคนิควิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้ ตลอดจนข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ฟัง เป็นเทคนิคที่แพร่หลายและสามารถใช้ประกอบกับเทคนิคอื่น ๆ ได้
2.การอภิปราย( Discussion)
การอภิปราย คือ การที่กลุ่มคนที่มีความสนใจในปัญหาหรือเรื่องเดียวกัน ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ และพิจารณาโดยอาศัยความคิดเห็นร่วมกัน
3.การสาธิต( Demonstration)
เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริงซึ่งการกระทำหรือปฏิบัติจริงซึ่งการ กระทำหรือปฏิบัติจริงจะมีลักษณะคล้ายการสอนงาน การสาธิตนิยมใช้กับหัวข้อวิชาที่มีการปฏิบัติ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ นาฏศิลป์และ
ขับร้อง วิธีการ วิทยากรทำให้ดูแล้วผู้เข้ารับการฝึกอบรมทดลองทำตาม
5.การระดมสมอง ( Brainstorming)
เป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดย ปราศจากข้อจำกัดหรือกฎใด ๆ ในหัวข้อใดหัวขอหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ความคิดหรือข้อเสนอทุกอย่างจะถูกจดไว้แล้วนำไปกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ดั้งนั้นพอเริ่มประชุมต้องมีการเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเสียก่อน
6.การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session)
เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คนเพื่อพิจารณา ประเด็นปัญหา อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ แล้วนำความคิดเห็นของกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
7.กรณีศึกษา( Case Study)
เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอาเรื่องราวหรือกรณีที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นจริง ๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาการและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อมาวิเคราะห์กรณีที่ยกมา โดยมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางเพื่อช่วยสมาชิกกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงวัตถุประสงค์ขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มด้วยหลักการ และการให้ภาพต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหา
8.การประชุมแบบฟอรัม( Forum)
เป็นเทคนิคที่ใช้กับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม โดยการซักถามแสดงข้อเท็จจริง ปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นกับวิทยากร วิธีการ วิทยากรพูดให้ฟังแล้วผู้ฟังสอบถามและแสดงความคิดเห็นได้
9.เกมการบริหาร( Management Games)
เป็นการแข่งขันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยแข่งขันเพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง เป็นการให้ปฏิบัติเหมือนเหตุการณ์จริง อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารการตัดสินใจการวางแผนการเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ ฯลฯ ขนาดของกลุ่มในการแข่งขันขึ้นอยู่กับเกมการแข่งขัน วิธีการ ทุกคนในกลุ่มร่วมกันแข่งขันตามเกม
สื่อที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
• มีความชัดเจน
• ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วม
• วิธีการหรือเครื่องมือเหมาะสมกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
• จูงใจให้ตอบสนอง
• มีการประเมินผล

Popular posts from this blog

วีดิโอการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม: สถานการณ์จำลอง

การบริหารการพัฒนา กลุ่ม 391 กองทัพบก Module 1 วันเสาร์ที่ 30-วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565

นโยบายรัฐบาลไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร