การเรียนการสอน วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2563 คุณธรรมจริยธรรม และการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ

 นักศึกษา ศึกษาเอกสารที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่ 



ก่อนตอบคำถามให้ศึกษาเอกสารให้เข้าใจ พร้อมทั้งกดติดตามและให้ใส่ชื่อ รูปภาพลงที่มุมกล่องข้อความเพื่อจะได้ทราบว่านักศึกษาคนใดเป็นผู้ตอบคำถาม และสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง (ดูตัวอย่างของภาคการศึกษาที่ผ่านมา)

ตอบคำถามลงในกล่องข้อความด้านล่าง (Post Comment) โดยคลิกที่ Post Comment กล่องข้อความจะปรากฏให้เห็นนักศึกาษาเขียนตอบลงในกล่องข้อความ)

        1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
            1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร (ควรใช้เวลาศึกษาเอกสาร 1.30 ชม. และเวลาทำแบบฝึกหัด 1.30 ชม.)

            1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม (ควรใช้เวลาศึกษาเอกสาร 1.30 ชม. และเวลาทำแบบฝึกหัด 1.30 ชม.)

       2. ศึกษา เอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
            2.1 อธิบายประโยชน์ ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
                 (ควรใช้เวลาศึกษาเอกสาร 1.30 ชม. และเวลาทำแบบฝึกหัด 1.30 ชม.)
           2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
                 (ควรใช้เวลาศึกษาเอกสาร 1.30 ชม. และเวลาทำแบบฝึกหัด 1.30 ชม.)

Comments

1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การใช้ประโยชน์ ทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่เบื้องต้นของผู้บริหารทุกระดับ และเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานโดยอาศัยความพยายามและความร่วมมือของบุคคลอื่น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยากาศและความสัมพันธ์ในหน้าที่การงานที่ดีในระหว่างบรรดาสมาชิกขององค์กรและส่งเสริม ความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลที่พร้อมมูลเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาองค์กร
การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีภารกิจสำคัญดังนี้ คือ ต้องการคนดีมีความสามารถมาทำงาน รู้จักวิธีการใช้คนให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยมีประสิทธิภาพสูง และสามารถธำรงรักษาความ เต็มใจของสมาชิกทุกคนที่จะทุ่มเทจิตใจช่วยกันทำงานให้กับเป้าหมายส่วนรวมขององค์กร
หน้าที่งานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อการจ้างงาน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคคล การวางแผนอาชีพ การพัฒนา นักบริหาร รวมทั้งการจัดการตำแหน่งงาน
การให้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ต่างๆ แก่พนักงาน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการประเมินค่างาน การจัดทำโครงสร้างเงินเดือน ระบบค่าจ้างแรงจูงใจ การแบ่งปันผลกำไร การจัดผลประโยชน์และบริการต่างๆแก่พนักงาน
ความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระบบความปลอดภัย การรักษาสุขภาพอนามัยสำหรับพนักงาน
แรงงานสัมพันธ์หรือพนักงานสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สหภาพแรงงาน การร้องทุกข์ การเจรจาต่อรอง และวินัยพนักงาน

จริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือ
หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ
ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึก บผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ
หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร
หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน
หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน" ที่มีการบินเป็นรูป ตัว V เสมอนั้นเหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดและจำเป็นต้องมีการร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน “ สู่การทำงานเป็นทีม (ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม)

1. การบินรูปตัว V มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ (ตามภาพข้างบน) การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงถึง ร้อยละ 70 ( มีแรงยกทำให้ประหยัดพลังงาน) ...เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน...

2. ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง(ตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด)เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน ...ในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ...

3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัณญานการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด ...การทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน..

4. หากมีนกบางตัวแหกฝูง ( ตัวปัญหา) บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด ...ความสามัคคีคือพลัง..

5. เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง ...จงมีความเอืออาทรในการทำงาน...

สรุป การทำงานเป็นทีม สำคัญที่สุด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
คุณธรรมและจริยธรรม เป็นเรื่องของสำนึกของบุคคล ที่จะทำดีเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นและส่วนรวมของสังคมผู้มีสำนึกในทางคุณธรรมและจริยธรรมจะรู้จักและควบคุมตนเองให้เป็นคนสุจริต รู้จักเกรงใจผู้อื่น และมีมรรยาทดีต่อคนรอบข้าง อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องปรุงแต่งหรือเสแสร้งแสดงบทบาทใด ๆ ในสังคม
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
ห่านบินเป็นรูปตัว V การบินเป็นรูปตัว V จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่านทั้งฝูงเมื่อเปรียบเทียบกับห่านที่บินโดยลำพัง
1.หากมีเป้าหมายเดียวกัน และทำงานร่วมกันเป็นทีม จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น
ความร่วมมือร่วมใจในทีม จะก่อให้เกิดความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า
2.เมื่อเราทำงานอย่างสอดคล้องไปในทางเดียวกันจะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้นงานทุกอย่างที่ทำจะง่ายขึ้นและไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
3.ผลัดกันเป็นผู้นำสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การให้เกียรติซึ่งกันและกันผลัดเปลี่ยนกันแก้ไขปัญหาและภาระยุ่งยากต่างๆผสมผสานความรู้ความสามารถ พรสวรรค์ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆ ของทีมเข้าด้วยกัน
4.เมื่อมีความกล้าหาญและให้กำลังใจกัน จะส่งผลให้งานที่ทำมีความก้าวหน้าสูงกว่าทุกคำพูดแห่งกำลังใจจะกระตุ้นและช่วยให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น และทำให้เป้าหมายสำเร็จได้อย่างดีที่สุด
5.ยืนหยัดเคียงข้างกันและกันเสมอไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้นก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรือ ช่วงเวลาที่มีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่รออยู่
2.1 อธิบายประโยชน์ ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของารพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1. ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร
2. เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
3. เป็นเครื่องมือในการบริหารพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร
3.1คัดเลือกบุคคลหรือคณะทำงาน
3.2ใช้แนวทางการวางแผนพัฒนาฝึกอบรม
3.3เป็นแนวทางในการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งงาน
3.4เป็นแนวทางในการโยกย้ายตำแหน่งงาน
3.5เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
3.6ใช้ในการบริหารผลตอบแทน
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกันเนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำการจัดลำดับความสำคัญของงานความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะมีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เช่นความสามารถในการเจรจาต่อรอง
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005 27/12/63
1.ศึกษาเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงานซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือ
·หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ
-ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ
-หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
-หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร
-หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
-หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน
-หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ธรรมะที่ผู้บริหารควรยึดถือตามหลักศาสนาพุทธในการเป็นผู้บริหารที่ดี คือ
1. หลักสังคหวัตถุ 4 ผู้บริหารควรยึดหลักสังคหวัตถุ 4 ในการครองใจคน กล่าวคือ
-ทาน การให้ หมายถึง น้ำใจอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี
-ปิยวาจา หมายถึง การใช้คำพูดอันทำให้คนอื่นรักใคร่
-อัตถจริยา หมายถึง การทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม ฝึกฝนตนเองให้มีสมรรถภาพพอที่จะช่วยคนอื่นได้ทั้งกำลังกาย กำลังความคิด สติปัญญา หรือกำลังทรัพย์ -สมานัตตตา หมายถึง การทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เมื่อเปลี่ยนฐานะไปอย่างใดก็ไม่ลืมตัว สามารถเข้ากับคนได้ทุกชนชั้น
2. หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย
·ฉันทะ หรือ ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจจะทำงานนั้นและทำด้วยใจรัก
·วิริยะ หรือ ความเพียร ได้แก่ การทำงานนั้นอย่างต่อเนื่อง และฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆด้วยความอุตสาหะ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์
·จิตตะ หรือ ความเอาใจใส่ ได้แก่ การตั้งจิตให้แน่วแน่ในสิ่งที่ทำ
·วิมังสา หรือ ความพิจารณาชอบ ได้แก่ การใช้เหตุผลพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่ทำให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด
3.หลักพรหมวิหาร 4
·เมตตา ได้แก่ ความรักความหวังดีที่ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
·กรุณา ได้แก่ ความสงสารเห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
·มุทิตา ได้แก่ ความรู้สึกชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
.อุเบกขาทได้แก่ ความรู้สึกวางเฉยเป็นกลางไม่ลำเอียงเข้าข้างคนใดคนหนึ่ง นั่นคือมีความยุติธรรมในการให้รางวัลและการลงโทษ
ในการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานหรือองค์กร จำเป็นจะต้องมีผู้บริหารและพนักงานหรือบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ เพื่อที่จะดำเนินงานในหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องมีการปฏิบัติต่อบุคลากรในองค์กรของตนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยยึดหลักจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างสูงสุดและงานเกิดประสิทธิผลมากขึ้น
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005 27/12/63
1.2 ศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
ทฤษฎี "ฝูงห่าน"ผลัดกันนำผลัดกันตาม
ข้อเท็จจริง ห่านทุกตัวมีวิธีการบินที่กางปีกเป็นรูปตัว V ห่านที่เป็นจ่าฝูง จะบิน นำ ห่านตัวอื่นๆ เพื่อ"ต้านกระแสลม"ลดแรงกระแทกจากลมที่พัดเข้ามาตลอดระยะการบิน
จากการพิสูจน์พบว่าการบินไปพร้อมๆ กันเป็นกลุ่มก้อนรูปตัว V อย่างพร้อมเพรียงกัน ห่านที่เป็นจ่าฝูงจะช่วยสามารถช่วยต้านลดแรงกระแทกและลดความเร็วที่ลมจะเข้ามาปะทะห่านตัวอื่นๆ ที่บินถัดกันไปเป็นลำดับ มากกว่าที่ห่านตัวใดตัวหนึ่งจะบินกันอย่างกระจัดกระจายหรือบินไปตัวเดียวหรือบินเดี่ยวๆ
บทเรียน จากการบินกางปีกเป็นรูปตัว V ของฝูงห่านแสดงถึงการออกแรงอย่างเต็มที่ของ "ห่านจ่าฝูง" รวมถึงทำงานกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่สมาชิกในทีม ต้องมีการรับรู้ทิศทางการบินอย่างพร้อมเพรียงกันว่า ณ ขณะนี้การบินกันไปเป็นกลุ่มจะมีความเร็วเท่าไหร่? และมีทิศทางการบินอย่างไร?
ผู้บริหารจึงควรสื่อสารเป้าหมายในการทำงานและมีการสื่อสารกำกับผู้ร่วมงานในทีมงานทั่วทุกคนอยู่ตลอดเวลา ว่าขณะนี้อยู่ในระยะบินช้า บินเร็ว บินสูง บินต่ำ จะทำให้เกิดความเข้าใจใน ทิศทาง การทำงาน (Direction) และเกิดความเข้าใจกำหนดบทบาทช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ข้อเท็จจริง เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งในฝูงรู้สึกเหนื่อยหรือบินด้วยความเร็วที่ ต่ำลง จากระดับการบินปกติ แรงต้านจากกระแสลมจะเกิดขึ้น ทางออกคือเคลื่อนย้าย "ห่านตัวนั้น" ไปบิน พยุงตัว หรือพักผ่อนอยู่ด้านหลังของแถว ซึ่งใช้กำลังและแรงในการบินน้อยกว่าการบินของห่านในตำแหน่งอื่นๆ
ส่วนห่านตัวอื่นๆ ที่ยังแข็งแรง ควรถูกขับเคลื่อนมาบินในตำแหน่ง ด้านหน้า เพื่อรับกับการฝ่าแรงของกระแสลมตลอดระยะเส้นทางที่ยาวไกล
บทเรียน ลักษณะการ บินพยุงตัว หรือการ บินสลับตำแหน่งหน้า - หลัง เป็นตัวแทนของการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันว่า ในชีวิตการทำงานต้องมีการ หยุดเพื่อพักผ่อน หรือ ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้ตาม เนื่องจาก ไม่มีห่านตัวใดที่สามารถบินด้วยความเร็วสูงคงที่ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา และในการทำงานเป็นทีม ก็ไม่มีห่านตัวใดที่ บินช้า และกินแรงห่านตัวอื่นๆ โดยการบินอยู่ในตำแหน่งท้ายโดยตลอด
ข้อเท็จจริง วิธีการบินของห่านข้อนี้จะทำให้เพื่อนร่วงงานในทีม ผลัดกันเป็นผู้ให้ และ ผลัดกันเป็นผู้รับ รวมไปถึง "ผลัดกันเป็นผู้นำ" และ "ผลัดกันเป็นผู้ตาม" ช่วยกันรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายมาอย่างเต็มใจตลอดเวลา
ความจริงอีกข้อหนึ่ง คือห่านทุกตัวต้องมีการพักผ่อนเพื่อออมแรงในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตรงกับความเป็นจริงที่ว่าสภาพของห่านที่บินอย่างหักโหมตลอดเวลาโดยไม่รู้จักจังหวะในการพักผ่อน ห่านตัวนั้นในช่วงเวลาที่เหนื่อยอาจจะหมดแรงและอยากจะ หยุดบิน ไปเลย ซึ่งส่งผลกระทบให้กับการทำงานเป็นทีมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตการทำงาน
ห่านที่ รู้จักวิธีการทำงาน ที่ถูกสุขอนามัยในระยะยาวและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบินอย่างสม่ำเสมอการทำงานเป็นทีมต้อง "รู้จักจังหวะเวลา" ที่จะ บินผ่อน หรือจังหวะเวลาการบินแบบ ออกกำลังทุ่มเท อย่างเต็มที่ ห่านทุกตัวจึงจะสามารถมุ่งหน้าอพยพย้ายถิ่นจะมีการหมุนเวียนสลับกันและบินสลับตำแหน่งกัน ด้วยวิธีการ บินสลับตำแหน่งกันไป
บทเรียน การทำงานร่วมกันไปเป็นทีม ทีมงานทุกคนต้องมีส่วนช่วยเหลือในผลงานกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน ไม่มีใครที่สามารถทำงานหนักตลอดเวลาโดยที่ไม่มีช่วงเวลาในการ "เบรก" หรือพักผ่อนและก็ต้องไม่มีห่านตัวไหนในทีมที่สามารถบินอย่างเรื่อยๆ สบายๆ เหมือนบินอยู่ตัวเดียวโดดๆ บนฟ้า ในขณะที่ฝูงห่านตัวอื่นๆ กำลังบินขับเคลื่อนฝูงห่านมุ่งไปสู่หนทางข้างหน้าด้วยความเร็วสูงอย่างคงที่ตลอดระยะทางอันยาวไกลอย่างพร้อมเพรียงกัน
สาเหตุที่ฝูงห่านต้อง "บินสลับตำแหน่งกันไป" เกิดจากว่าตำแหน่ง "จ่าฝูง" เป็นตำแหน่งที่ต้องใช้แรงและพละกำลังมากที่สุดต้องมีการบินสลับบ้างบางจังหวะเพื่อการพักผ่อน การบินไปเป็นกลุ่มก้อนสามารถสะท้อนถึงความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ห่านตัวอื่นๆ ก็ต้องมีการใช้กำลัง ความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันห่านทุกตัวต่างก็รอคอยอย่างมีความหวังว่าหนทางข้างหน้ายังมีแหล่งน้ำและอาหารอันอุดมสมบูรณ์
บทเรียน การกำหนดวิธีการบิน "เฉพาะตำแหน่ง" ของห่าน สอนให้รู้ว่า "การทำงานเป็นกลุ่ม" ต้องมีการสื่อสารบทบาทและหน้าที่และกำหนดความรับผิดชอบซึ่งกันและกันตาม "ความสามารถ" และ "ตระหนัก" ถึงคุณค่าของตำแหน่งการบินของห่านแต่ละตัวว่ามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลงานกันเป็นทีม
2.ศึกษาเอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง
สถานการณ์
สรุป
องค์กรจะก้าวไปได้ไกลอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจากบุคลากรที่มีศักยภาพ ฉะนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นพันธกิจสำคัญที่จะต้องใส่ใจ นอกจากกระบวนการนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้เพิ่มมากขึ้นได้ด้วยนั้น ก็ยังช่วยรักษาพนักงานที่ดีมีศักยภาพให้ทำงานร่วมกับองค์กรได้ระยะยาวอีกด้วย รวมถึงช่วยสร้างความภักดีให้กับองค์กร ตลอดจนร่วมพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ต่อไป
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005 27/12/63
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
Competency สามารถแบ่งออกตามประเภทต่างๆ ได้แก่
1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อกำหนดให้พนักงานทุกคนขีดความสามารถหลัก ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาพนักงานในด้านความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, พัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่นในการให้บริการให้ไปสู่ความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศในการให้บริการ, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based) เป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกันไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น
4.ความสามารถที่มาจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal attribute) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทัศนคติต่อการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน
หลังจากที่เราทราบแล้วว่าแต่ละภาระงานในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง จำเป็นจะต้องมีขีดความสามารถใดบ้างในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ การวางแผนจัดทำขีดความสามารถจะต้องให้มีความชัดเจน มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถที่องค์การกำหนด การสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Competency เป็นเรื่องสำคัญและจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม จะสามารถสร้างการยอมรับและลดการต่อต้านการนำ Competency เข้ามาใช้ในหน่วยงานของท่านได้
ฝ่ายฝึกอบรมต้องการเน้นให้พนักงานมีความเชี่ยวชาญในงานตรงตามความรู้ความสามารถ ในการเป็นผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งยังต้องการกำหนดและหาแนวทางในการพัฒนาระบบงานที่เอื้อต่อการนำแนวคิดเรื่อง Competency มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาต่อไป
นาย ธนวัฒน์. อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา6342247061
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การใช้ประโยชน์ (Utilization) ทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบรรลุ เป้าหมายขององค์กร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่เบื้องต้นของผู้บริหารทุกระดับ และเพื่อความสาเร็จในการ ดาเนินงานโดยอาศัยความพยายามและความร่วมมือของบุคคลอื่น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
จริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมี จริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนาไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่ง หลักการที่นิยม คือ
 หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ
- ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสานึก
รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและ ประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทา
- หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
- หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วม ตัดสินใจในการพัฒนาหรือดาเนินการในงานต่างๆขององค์กร
- หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจากัดให้มีการใช้อย่าง ประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความ ถูกต้องในการบริหารและการดาเนินงาน
- หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และ ต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธและ
เป็นที่ยอมรับของผู้ ที่เกี่ยวข้อง
1.2 ให้นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
หากพิจารณาดูดีๆ กฎเกณฑ์ทางธรมชาติ ได้มอบปรัชญาและการดำรงชีวิตที่ละเอียดอ่อนและมหัศจรรย์ไว้ให้มนุษย์เสมอ ไม่ว่าจะเป็น วงจรขึ้น-ลงของพระอาทิตย์ ที่แสดงถึงโอกาสในการแสดงประโยชน์ของคนเราว่ามีทั้งขาขึ้นและขาลง ไม่มีใครรักษา อำนาจ และกอดความก้าวหน้า เอาไว้กับตัวเองได้ตลอดเวลา การทำงานทุกอย่างรวมไปถึงการกระทำต้องรู้จัก "จังหวะ" "เวลา" และ "โอกาส" รวมไปถึงการยอมรับความสามารถของตนเอง ไปจนถึงปรัชญายอดภูเขา ยิ่งสูงยิ่งหนาว ที่สอนให้คนเราพึงระวังเมื่อก้าวขึ้นไปยืนอยู่บนตำแหน่ง "ยอดภูเขา" ที่สูงและลมแรง

หลักการบินของฝูงห่านไซบีเรีย เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ถูกนำปรับใช้เป็นจิตวิทยาองค์กร โดย โปรเฟซเซอร์ ดร. ลีโอนาร์ด โยง นักจิตวิทยา และวิทยากรชื่อดังชาวมาเลเซีย จากสถาบัน IITD โดยหยิบมาสร้าง "ทฤษฎีผู้นำ"โดยเรียนรู้วิธีการบินของฝูงห่าน ซึ่งแสดงถึงการทำงานเป็น"ทีม"


"หลักการบินของห่านไซบีเรียสอนถึงการทำงานเป็นทีม และสอนวิธีการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ อย่างยุติธรรม หน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดจำเป็นต้องมีร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพ ภายใต้ขีดความสามารถที่มี โดยที่ทุกฝ่ายต่างก็พอใจ ไม่เกิดความขัดแย้งและยังได้รับการพัฒนาความสามารถในตัวเองอยู่ตลอดเวลา" มร. โยง กล่าว

ในช่วงฤดูหนาวห่านไซบีเรียจะพากันอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อไปหากินในทำเลใหม่ที่อบอุ่นกว่า เนื่องจากในอาณาบริเวณแถบไซบีเรียนั้นเต็มไปด้วยน้ำแข็ง อากาศหนาวจนอุณหภูมิติดลบ

ด้วยความที่ถิ่นที่อยู่ของพวกมันอากาศหนาวจนหากินลำบากและไม่มีอาหารหลงเหลือเพียงพอสำหรับรองรับความเป็นอยู่ พวกห่านจึงต้อง ขวนขวาย หาทางออกด้วยการบินอพยพหนีกันไปเป็นฝูงร่วมหลายร้อยตัวด้วยสภาพที่ต้องเจอได้แก่ ระยะทางการบินหลายร้อยไมล์ การบินด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้หยุดพักผ่อน ณ บริเวณใดที่บินผ่านเลยแม้แต่นิดเดียว อาหารและกำลังที่จำกัด พวกมันมีวิธีการทำการกันอย่างไร? โดยไม่หยุดพักและบินกันไปอย่างสามัคคีเป็นกลุ่มก้อน
27/12/2563
2ศึกษา เอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) คือกรอบและกระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งพนักงานยังเกิดการพัฒนาศักยภาพด้วย โดยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กรนั้นอาจทำได้หลายวิธีหรือหลายกระบวนการตั้งแต่การฝึกอบรม, การศึกษาผ่านการเรียนการสอนที่จริงจัง, การออกไปดูงานนอกองค์กร, ไปจนถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งเมื่อพนักงานได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ส่งผลให้องค์กรพัฒนาและประสบความสำเร็จตามไปด้วยได้ มนุษย์ต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องการเติบโตตลอดเวลาเช่นกัน องค์กรจะก้าวไปข้างหน้าได้นั้นแน่นอนว่าผู้ที่มีส่วนผลักดันสำคัญก็คือพนักงานทุกคนนั่นเอง ศักยภาพทุกคนย่อมส่งผลต่อศักยภาพขององค์กร หากพนักงานทุกคนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพย่อมทำให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ดังนั้นการช่วยส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นภาระกิจหนึ่งที่จำเป็นขององค์กร และผู้ที่มีส่วนสำคัญมากๆ ตรงจุดนี้ก็คือฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั่นเอง ซึ่งงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) นั้นค่อนข้างจะสำคัญกับองค์กรอย่างยิ่ง ถ้าขาดความใส่ใจตรงจุดนี้ องค์กรที่เต็มไปด้วยพนักงานไร้ประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้องค์กรหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่พัฒนา ธุรกิจถดถอย และไร้ศักยภาพได้ในที่สุดเช่นกัน

วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะรักษาให้พนักงานจงรักภักดีต่อองค์กรนั้นก็คือการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เพราะนั่นทำให้บุคลากรเกิดการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และทำงานในองค์กรได้อย่างราบรื่น
เคล็ดลับสำคัญของความสำเร็จก็คือทรัพยากรมนุษย์นี่เอง หากองค์กรมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีย่อมทำให้บุคลากรมีประสิทธิภาพ องค์กรมีศักยภาพ บรรลุความสำเร็จได้ง่าย
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นนอกจากจะทำให้บุคลากรพัฒนาตนเองอยู่เสมอยังอาจทำให้ค้นพบศักยภาพใหม่ๆ ของบุคคลากรได้ด้วย และทำให้องค์กรสามารถใช้ศักยภาพที่หลากหลายให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้มากที่สุดอีกด้วย
27/12/2563
ธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา6342347061
ให้นักศึกษา อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
2.2
1.เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นควรเริ่มตั้งแต่ก่อนที่จะได้ทรัพยากรมนุษย์มาในองค์กร ควรเริ่มตั้งแต่การสรรหาและคัดสรรซึ่งหากเราได้ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีแล้วย่อมทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้นด้วย เมื่อพนักงานมีประสิทธิภาพ องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างมีศักยภาพ ก็จะทำให้มีคนดีมีความสามารถอยากจะมาเข้าร่วมทำงานกับองค์กร ซึ่งนั่นย่อมทำให้องค์กรมีตัวเลือกที่ดีในการสรรหาและคัดสรรพนักงานในอนาคตด้วย ซึ่งนี่เป็นวงจรที่ดีที่เกิดขึ้นหากเราใส่ใจตั้งแต่เรื่องการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพมาร่วมงานนั่นเอง หากการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีการวางแผนการสรรหาตลอดจนมีความใส่ใจในกระบวนการคัดสรรที่ดี ย่อมมีโอกาสที่จะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง และทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นด้วย

2.เพื่อใช้ศักยภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)

ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีศักยภาพอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะศักยภาพที่ซ่อนอยู่ที่บางครั้งเราอาจมองไม่เห็น การมีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะทำให้เราสามารถส่งเสริมให้บุคลากรทำงานได้อย่างถูกต้อง เกิดผลงานที่ดี ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ให้เกิดขึ้น และองค์กรเองก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพิ่มเติมอีกด้วย หากไม่มีการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เราอาจไม่ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคลากรอย่างเต็มที่ หรืออาจไม่ค้นพบศักยภาพที่แท้จริง แต่หากบริหารได้ดีแล้วเราจะสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมายหลากหลายด้านให้กับองค์กรเลยทีเดียว

3.เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุลากรให้ก้าวหน้า (Development)

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นก็คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนาตามไปด้วย มนุษย์นั้นต้องการที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หากมนุษย์ไม่ได้พัฒนาตัวเองนอกจากการทำให้ก้าวย่ำอยู่กับที่แล้วก็ยังทำให้ลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ อีกด้วย ดังนั้นการมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะทำให้ขีดความสามารถในด้านต่างๆ พัฒนาขึ้น รวมไปถึงขีดความสามารถใหม่ๆ ที่สามารถค้นพบได้ด้วย ดังนั้นองค์กรไหนที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ยอดเยี่ยมก็จะยิ่งทำให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการพัฒนา เพิ่มมูลค่าให้กับทั้งตัวบุคลากรและองค์กรไปในตัว

4.เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)

การลาออก เปลี่ยนงาน หรือย้ายองค์กร เป็นปัญหาที่ทุกองค์กรกำลังเผชิญอยู่ หนึ่งในกระบวนการที่องค์กรยุคใหม่กำลังให้ความสนใจมากเป็นพิเศษก็คือการรักษาพนักงานให้ทำงานอยู่กับองค์กรให้นานที่สุด บางครั้งเรื่องของเงินหรือสวัสดิการก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเสมอไปในเรื่องนี้ อีกหนึ่งสิ่งที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งก็คือการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรนั่นเอง บางคนรักที่จะทำงานให้กับองค์กรหนึ่งไปนานๆ ก็เพราะว่าองค์กรนี้ใส่ใจในการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนมีการบริหารจัดการด้านบุคคลที่ดี ทำให้อยู่แล้วสบายใจ อยู่แล้วรู้สึกมีคุณค่า สิ่งเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บุคลากรตัดสินใจอยู่กับองค์กรในระยะยาวได้เช่นกัน

5.เพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จ (Success)

การทำธุรกิจในยุคนี้ทุกองค์กรต่างตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้แทบทั้งสิ้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นมีส่วนอย่างมากที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย และทำให้บรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จได้ เพราะนี่คือปัจจัยสำคัญหนึ่งทีเดียว หากองค์กรขาดการใส่ใจบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้การทำงานไม่มีระบบ ล้มเหลว และไม่ประสบความสำเร็จได้ การตั้งเป้าหมายในองค์กรก็จะดูไร้ค่าในทันที

บทสรุป
บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่การบริหารจัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลตลอดจนบุคลากรให้ทำงานให้องค์กรให้ได้เท่านั้น แต่งานด้านนี้ยังครอบคลุมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นอยู่เสมออีกด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดีนั้นยังมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร ซึ่งนี่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ง่ายและดียิ่งขึ้น นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยอดเยี่ยมในที่สุดเช่นกัน
27/12/2563
ข้อ 2.1 อธิบายประโยชน์ ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ


การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ประโยชน์ของการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อองค์กร เพราะความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรขึ้นอยู่กับ “คน” หรือบุคลากรผู้ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ หากองค์กรใดมีบุคลากรที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ ทักษะ ความสามารถ และทัศนคติที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานแล้ว การก้าวไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศในทุก ๆ ด้านคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์กรขาดความพร้อมในด้านของบุคลากร ก็ส่งผลให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีบทบาทสำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มพูน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ และทัศนคติของบุคลากรให้พร้อมที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จขององค์กร
ข้อ 2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประเภทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการพัฒนาแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ ดังนี้
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบเป็นทางการ (Formal HRD) – หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จัดขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้พนักงาน เช่น เทรนนิ่งต่างๆ การอบรม การสัมมนา เราจะเห็นได้บ่อยเรื่องการสัมมนาเกี่ยวกับทางด้านกฎหมายและ เรื่องการปฏิบัติตามเกณฑ์กฎระเบียบบริษัท (Compliance Training)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบไม่เป็นทางการ (Informal HRD) – หมายถึงการโค้ชชิ่งต่างๆ การสอนงานโดยหัวหน้าหรือพนักงานที่มีประสบการณ์ หรือการจ้างผู้อบรมภาพนอกเข้ามาให้ความรู้ ซึ่งส่วนนี้ถึงแม้ฝ่ายบุคคลอาจจะไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง แต่ก็อาจจะช่วยในการดำเนินงานได้

นอกจากนั้นแล้ว เรายังสามารถแบ่งประเภทเป็น ‘เรื่องของหัวข้อ’ ได้ เช่นการอบรมสอนกฎระเบียบในบริษัท หรือ การอบรมสอนใช้โปรแกรม Excel ขอแผนกบัญชี
หลายคนอาจจะมองการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นการสื่อสาร ‘ถ่ายเทข้อมูล’ ระหว่างพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้เฉพาะทาง กระบวนการทำงาน หรือแม้แต่กฎระเบียบบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าพนักงานแต่ละแผนก แต่ละระดับก็ควรจะได้รับการอบรมพัฒนาทักษะที่ถูกออกแบบมาเฉพาะกลุ่ม
อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้ก็คือ กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของแต่ละองค์กรควรประกอบไปด้วยทั้งรูปแบบ
เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพราะพนักงานแต่ละประเภทมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ทำให้องค์กรไม่สามารถมาร่วมได้ และไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ‘ความร่วมมือ’ ของผู้บริหารและผู้จัดการแผนกต่างๆก็มีความสำคัญอย่างมาก จะมีกี่บริษัทที่ยอมปล่อยให้พนักงานหยุดทำงาน เพื่อไปอบรมเรียนรู้เพิ่มเติม (ในเวลาทำงาน) และจะมีกี่บริษัท ที่มีวัฒนธรรมองค์กรเกื้อหนุนให้พนักงานช่วยเหลือกัน สอนงานกันเอง โดยที่ผู้บริหารไม่ต้องแทรกแซงอย่างต่อเนื่อง (อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของหลายคน ผู้บริหารสามารถสนับสนุนด้วยการให้รางวัลการทำงานเป็นทีม ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดขององค์กร) แต่ในบริบทของธุรกิจแล้ว ประสิทธิภาพ ก็สำคัญเช่นกัน หากเราสามารถพัฒนาพนักงานได้ 80-90% ในเชิงกำไรขาดทุนนั้น การรื้อระบบใหม่ทั้งหมดเพื่อให้พนักงาน 10-20% เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะ (พนักงานที่ช้า ตามคนอื่นไม่ทัน) ก็ยากที่จะอธิบายโดยตัวเลขได้ ส่วนคำถามที่ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบไหนเหมาะสมกับองค์กรเราที่สุด ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของพนักงาน และวัฒนธรรมองค์กรอีกที (ใครสนใจผมแนะนำให้อ่าน

น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีและความถูกต้องซึ่งบุคคลควรยึดมั่นไว้เป็นหลักการในการปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ
จริยธรรม (Morals) หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงาม ซึ่งเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหลักศีลธรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่ตนเองและผู้อื่น ผู้มีจริยธรรมจะรู้จักพิจารณาไตร่ตรอง ว่า สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ
ในแง่ชีววิทยา มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง เป็นเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่มีวินัยสามารถฝึกได้ (สัตว์อื่นก็ฝึกได้แต่ฝึกได้จำกัด) แต่มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เพราะมนุษย์มี
จิตใจสูง เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา รู้จักพิจารณาความจริง ความถูกต้องดีงาม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีอิสระ ไม่อยู่ในบังคับของสิ่งใด (แม้แต่ธรรมชาติ)
คุณสมบัติที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ
1. มนุษย์มีสัจจะ การรู้จริง การพูดจริง การแสดงสิ่งที่จริงเป็นสัจธรรม ที่ก่อให้เกิด
แต่สิ่งที่ดีงาม เมื่อจริงใจต่อสิ่งใด ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับผลดีตอบ
สนองจากสิ่งนั้นเสมอ
2 มนุษย์มีความชื่นชอบในความงาม ที่เรียกกันว่า“สุนทรียภาพ”การมีความงดงาม
ในทัศนะของมนุษย์ ซึ่งมีความประณีตละเอียดอ่อนในการรับรู้จากการสัมผัสผ่านประสาททั้งปวง ความมีสุนทรียภาพของมนุษย์ ทำให้เกิดศิลปะทุกด้านที่ก่อให้เกิดความรู้สึกประทับใจในทางที่ดี รวมทั้งก่อให้เกิดจรรยามารยาทที่ดีงามในสังคมด้วย
มนุษย์ทุกคนต่างก็มีสุนทรียภาพในจิตใจของตน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพัฒนาการของชีวิตภายใต้การเลี้ยงดู
3. มนุษย์มีคุณธรรมโดยธรรมชาติมนุษย์มีคุณธรรม สำนึกในคุณธรรมทำให้มนุษย์มีจริยธรรม และทัศนคติที่ดี ซึ่งจะสะท้อนออกมาให้ปรากฏเป็นบุคลิกภาพที่ดีงาม ให้ผู้อื่น
รู้เห็นได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยไม่เสแสร้งแสดงออกพฤติกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้นจะเป็นคุณต่อทั้งส่วนรวมและตนเองด้วย
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
การบินเป็นรูปตัว V จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่านทั้งฝูง
1.หากมีเป้าหมายเดียวกันและทำงานร่วมกันเป็นทีม ทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้นความร่วมมือในทีม จะก่อให้เกิดความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่า เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งหลุดออกจากฝูง การบินโดยลำพังห่านตัวนั้นจะรู้สึกถึงแรงต้านอากาศ ซึ่งจะทำให้บินยากขึ้น หากเมื่อห่านตัวนั้นเร่งความเร็วและบินให้ทันฝูง ห่านนั้นจะได้รับแรงพยุงจากฝูงซึ่งบินอยู่ด้านหน้า
2.เมื่อเราทำงานอย่างสอดคล้องไปในทางเดียวกันจะทำให้ฝ่ายฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆได้ง่ายขึ้นงานทุกอย่างที่ทำจะง่ายขึ้นและไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นทุกคนในทีมก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับและให้ความช่วยเหลือกันมากขึ้นไปอีก
3.ผลัดกันเป็นผู้นำสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การให้เกียรติซึ่งกันและกันผลัดเปลี่ยนกันแก้ไขปัญหาและภาระยุ่งยากต่างๆผสมผสานความรู้ความสามารถ พรสวรรค์ ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆ ของทีมเข้าด้วยกัน ในขณะที่บินเป็นตัว V นั้น พวกห่านจะส่งเสียงร้องเพื่อให้กำลังใจห่านที่อยู่ข้างหน้า และช่วยกันรักษาระดับความเร็วให้คงที่
4.เมื่อมีความกล้าหาญและให้กำลังใจกัน จะส่งผลให้งานที่ทำมีความก้าวหน้าสูงกว่าทุกคำพูดแห่งกำลังใจจะกระตุ้นและช่วยให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น และทำให้เป้าหมายสำเร็จได้อย่างดีที่สุดเมื่อมีห่านที่ป่วย บาดเจ็บ หรือเหนื่อยล้ามันจะหลุดออกจากฝูงห่านจำนวนหนึ่งจะละจากฝูง และบินเคียงคู่ไปกับห่านที่อ่อนแอนั้น พวกมันจะช่วยเหลือกันไปตลอดทางจนกระทั่งห่านที่ป่วยนั้นตายจากไป หรือไม่ก็จนกว่าห่านที่ป่วยจะแข็งแรงและบินได้อีกครั้ง จากนั้นพวกมันก็จะบินเข้าฝูง เป็นรูปตัว V อีกครั้ง
5.ยืนหยัดเคียงข้างกันและกันเสมอ ไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้นก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรือช่วงเวลาที่มีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่รออยู่หากเรารักและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ด้วยหัวใจของ (ความสามัคคี)เราสามารถใช้ความแตกต่างของแต่ละคนสร้างผลงานที่ท้าทายร่วมกันหากเราตระหนักถึงการเป็นผู้ให้ชีวิตของเราจะง่ายขึ้น และมีความหมายมากขึ้น
น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
2. ศึกษา เอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 อธิบายประโยชน์ ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
Competency หรือขีดความสามารถ หมายถึง ศักยภาพหรือสมรรถนะ ซึ่งเป็นลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลในพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
ประโยชน์ของ Competency
1. ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร
2. เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
3. เป็นเครื่องมือในการบริหารพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร
- คัดเลือกบุคคลหรือคณะทำงาน
-ใช้แนวทางการวางแผนพัฒนาฝึกอบรม
-เป็นแนวทางในการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งงาน
- เป็นแนวทางในการโยกย้ายตำแหน่งงาน
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ใช้ในการบริหารผลตอบแทน
ที่มาของ Competency
1.ความรู้
2.ประสบการณ์ที่สั่งสมมาในอดีต
3.การฝึกฝนปฏิบัติ

2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประเภทของ Competency
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน (Result Focus)
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
3. 2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
การนำ Competency มาใช้ในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์
-บุคคล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในปัจจัยการดำเนินงานขององค์กร แม้ว่าองค์กรจะมีทรัพยากรด้านอื่นๆ จำนวนมาก เช่น เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดี เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ใช้จ่ายทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้องค์กรนั้นขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ขาดศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว
สิ่งท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-มาตรฐานสากล ในรูปแบบต่างๆ เช่น (Social Accountability) กำลังเข้ามาในองค์กรบ้านเรา ย่อมหนีไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหาร “คน” เพราะคนคือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ระบบนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวบรรษัทภิบาล เป็นกระแสขององค์กรที่ต้องการแสดงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรม มีจรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อความอยู่รอดขององค์กร ที่ต้องการสนับสนุนจากสังคม ฝ่าย HRM ต้องเตรียมคนเข้าสู่ การเป็นบรรษัทภิบาล



-การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือการบริหารเชิงกลยุทธ์ ทำให้องค์กรมองตัวเองมากขึ้น ดูรอยรั่ว ตัวถ่วง กิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่า หรือกิจกรรมที่องค์กรชำนาญน้อยกว่าคนอื่น ฝ่าย HRM ต้องเตรียมแผนลดกำลังคน หรือแผนเลิกจ้าง และแผนรองรับคนที่เกิดจากการใช้บริการจากภายนอกการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน ในอนาคตทุกองค์กรต้องเปลี่ยนการจ่ายค่าตอบแทนให้อยู่ในรูปของการจูงใจมากกว่าการให้สวัสดิการ เช่น โบนัส จะไม่จ่ายตามอายุงานหรือหารแบ่ง แต่จะจ่ายตาม KPIs
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมี จริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่ง หลักการที่นิยม คือ
หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ
- ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสานึก
รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและ ประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทา
- หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
- หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วม ตัดสินใจในการพัฒนาหรือดาเนินการในงานต่างๆขององค์กร
- หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจากัดให้มีการใช้อย่าง ประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความ ถูกต้องในการบริหารและการดาเนินงาน
- หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และ ต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ ที่เกี่ยวข้อง
ในการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานหรือองค์กร จำเป็นจะต้องมีผู้บริหารและพนักงานหรือ บุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ เพื่อที่จะดาเนินงานในหน่วยงานให้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และมีความจาเป็น อย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องมีการปฏิบัติต่อบุคลากรในองค์กรของตนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยยึดหลัก จริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างสูงสุด และงานเกิดประสิทธิผลมากขึ้น

ข้อ 1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
บทเรียน " การบินของฝูงห่าน" ที่มีการบินเป็นรูป ตัว V การบินเป็นรูปตัว V จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่านทั้งฝูงเมื่อเปรียบเทียบกับห่านที่บินโดยลำพังเสมอนั้นเปรียบเสมือนหน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดและจำเป็นต้องมีการร่วมแรงร่วมใจเพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานมีประสิทธิภาพตามที่คาดหวัง
1.หากมีเป้าหมายเดียวกัน และทำงานร่วมกันเป็นทีม จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
2.เมื่อเราทำงานอย่างสอดคล้องไปในทางเดียวกันจะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้นงานทุกอย่างที่ทำจะง่ายขึ้นและไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ทุกคนในทีมก้จะยอมรับและให้ความช่วยเหลือมากยิ่งขึ้น
3.ผลัดกันเป็นผู้นำสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การให้เกียรติซึ่งกันและกันผลัดเปลี่ยนกันแก้ไขปัญหาและภาระยุ่งยากต่างๆผสมผสานความรู้ความสามารถ พรสวรรค์ ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆ ของทีมเข้าด้วยกัน
4.เมื่อมีความกล้าหาญและให้กำลังใจกัน จะส่งผลให้งานที่ทำมีความก้าวหน้าสูงกว่าทุกคำพูดแห่งกำลังใจจะกระตุ้นและช่วยให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น และทำให้เป้าหมายสำเร็จได้อย่างดีที่สุด
5.ยืนหยัดเคียงข้างกันและกันเสมอไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้นก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก หรือ ช่วงเวลาที่มีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่รออยู่ เราสามารถใช้ความแตกต่างของแต่ละคนสร้างผลงานที่ท้าทายร่วมกัน

สรุป การทำงานจะออกมาประสบผลสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือ ความสามัคคี จากทุกส่วน และการให้เกรียติซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจกัน คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้ฝันฝ่าอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยดี บุคลากรก้จะมีความสุข และงานที่ออกมาก้จะดีตามไปด้วย
2.ศึกษาเอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ

ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970s เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีผู้นิยมคำว่า “สมรรถนะ (Competency)” ออกมาหลากหลายความหมาย แต่ถึงอย่างนั้นแนวคิดในองค์รวมก็ยังคงไม่ต่างกันสักเท่าไร ในส่วนของการนิยามที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือมากที่สุดนั้นก็คงต้องยกให้การนิยามของต้นกำเนิดแนวความคิดอย่าง David C. McClelland ที่เขาให้คำจำกัดความไว้ว่า สมรรถนะ (Competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้นสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ

ทรัพยากรบุคคลนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อทุกองค์กร เพราะนี่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างไม่มีขีดจำกัด องค์กรที่เห็นคุณค่าและใส่ใจในทรัพยากรบุคคลนั้นจะมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรของตนให้เพิ่มขีดความสามารถ มีสมรรถนะสูงขึ้น และทำให้บุคลากรมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในที่สุด บุคลากรที่มีศักยภาพจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็แน่นอนว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรในที่สุดด้วยเช่นกันการใส่ใจพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรนั้นฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญในการพัฒนาความสามารถของแต่ละคนให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานตลอดจนการวางแผนของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในระยะยาวอีกด้วย และอาจค้นพบสมรรถนะที่ซ่อนอยู่ได้ ที่สามารถสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้เช่นกัน ซึ่งนั่นคือหนึ่งในภาระกิจสำคัญของงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยนั่นเอง

2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ

สมรรถนะของบุคลากรในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.สมรรถนะหลัก(Core Competency)
สมรรถนะหลักของบุคลากร หมายถึงสมรรถนะที่กาหนดขึ้นจากวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ขององค์การ เพื่อสะท้อนความต้องการขององค์การที่มีต่อบุคลากรทุกคนในเรื่องความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมทั้งอุปนิสัยของบุคลากร เช่น การศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถ ในการแก้ปัญหา การมี ความคิดริเริ่มและการพัฒนานวัตกรรม ความมุ่งมั่นในการผลิตและการให้บริการลูกค้า ความสามารถในการ ทางานเป็นทีม ความสามารถในการสื่อสารและการมีมนุษย์สัมพันธ์ สมรรถนะหลักนี้บุคลากรทุกคนขององค์การ จะต้องรับรู้และนาไปปฏิบัติเพื่อให้องค์การประสบความสาเร็จตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กาหนดไว้
2.สมรรถนะด้านการบริหาร(Managerial Competency) สมรรถนะด้านการบริหารเป็นความสามารถด้านการบริหารจัดการของบุคลากรทุกระดับซึ่งรวมถึงระดับพนักงาน ด้านที่จะทาให้การทางานประสบความสาเร็จ ซึ่งแตกต่างกันไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายขององค์การที่กาหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ขององค์การซึ่งเป็นสมรรถนะหลักของบุคลากรทุกคน
3. สมรรถนะ ตำแหน่งงาน (Functional Competency) สมรรถนะตามตำแหน่งงานเป็นความสามารถตามตำแหน่งงานของบุคลากรแต่ละคนจะแสดงความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และอุปนิสัยของตนเองซึ่งแตกต่างกันตามตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ เช่น พนักงานเย็บเสื้อ พนักงานบัญชี วิศวกรไฟฟ้า ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการโรงงาน กรรมการผู้จัดการ เป็นต้น
สรุป. การเพิ่มขีดความสามารถ (capability) ขององค์การด้วยการพัฒนาบุคลากรของบทความนี้จะเริ่ม จากการวัดสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรแต่ละคนในองค์การในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้านได้แก่ สมรรถนะหลัก สมรรถนะด้านการบริหาร และสมรรถนะของบุคลากรแต่ละคนและสมรรถนะของ บุคลากรโดยรวมในแต่ละด้านข้างต้นเพื่อเทียบกับสมรรถนะที่คาดหวังหรือสมรรถนะที่เป็นเป้าหมายขององค์การ สาหรับนาไปในการปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลากรแต่ละคนหรือบุคลากรโดยรวมอันจะนาไปสู่การเพิ่มขีด ความสามารถขององค์การได้ตามระดับที่ต้องการหรือสามารถแข่งขันกับองค์การที่เป็นคู่แข่งที่สาคัญได้
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ด้วยมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุดเพราะคนเป็นกลไกลทำให้เกิดงาน งานที่มีคุณภาพต้องเกิดจากคนที่มีคุณภาพ
การดำเนินงานขององค์การต่างๆจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในภารกจหน้าที่รับผิดชอบในระดับใดก็ขึ้นอยู่กับระดับคุณภาพของคนเรียงลำดับความสำคัญตั้งแต่ผู้นำสูงสุดขององค์การ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานทุกคน
หลักจริยธรรมกับารบริหารทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะต้องศึกษาวิเคราะห์ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์และเป้าหมายวางแผนกำหนดหลักสูตร สรรหาความจำเป็นคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมตลอดจนการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและการติดตามประเมินผลให้เกิดผลสำเร็จต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง

1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
หลักการบินของห่านสอนถึงการทำงานเป็นทีม และสอนวิธีการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ อย่างยุติธรรม หน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดจำเป็นต้องมีร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพ ภายใต้ขีดความสามารถที่มี โดยที่ทุกฝ่ายต่างก็พอใจ ไม่เกิดความขัดแย้งและยังได้รับการพัฒนาความสามารถในตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ข้อเท็จจริง คือ ห่านทุกตัวมีวิธีการบินที่กางปีกเป็นรูปตัว V ห่านที่เป็นจ่าฝูง จะบิน นำ ห่านตัวอื่นๆ เพื่อ "ต้านกระแสลม" ลดแรงกระแทกจากลมที่พัดเข้ามาตลอดระยะการบิน
จากการพิสูจน์พบว่าการบินไปพร้อมๆ กันเป็นกลุ่มก้อนรูปตัว V อย่างพร้อมเพรียงกัน ห่านที่เป็นจ่าฝูงจะช่วยสามารถช่วยต้านลดแรงกระแทกและลดความเร็วที่ลมจะเข้ามาปะทะห่านตัวอื่นๆ ที่บินถัดกันไปเป็นลำดับ มากกว่าที่ห่านตัวใดตัวหนึ่งจะบินกันอย่างกระจัดกระจายหรือบินไปตัวเดียวหรือบินเดี่ยวๆ
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
2.ศึกษาเอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของการบริหารและพัฒนาขีดความสามารถทรัพยากร
การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อองค์กร เพราะความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรขึ้นอยู่กับ “คน” หรือบุคลากรผู้ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ หากองค์กรใดมีบุคลากรที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ ทักษะ ความสามารถ และทัศนคติที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานแล้ว การก้าวไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศในทุก ๆ ด้านคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์กรขาดความพร้อมในด้านของบุคลากร ก็ส่งผลให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีบทบาทสำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มพูน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ และทัศนคติของบุคลากรให้พร้อมที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จขององค์กร
ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง

2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ขีดความสามารถขององค์การ ( Organization Competency) หรือสมรรถนะองค์การ (Organization Capability) คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าองค์การมีความสามารถหลักในการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมขององค์การอย่างไรและจะทำอะไร เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์การ เป็นต้น
2. ขีดความสามารถของบุคลากร ( Human Competency) คือ พฤติกรรมการแสดงออก (Individual Behavior) การใช้องค์ความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน (A Body of Knowledge) และการรับรู้ในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน (Social Role) ของบุคลากรในองค์การ เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถขององค์การ ให้การดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมขององค์การประสบความสำเร็จ
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
๑.๒).นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
หากจะบินเป็นรูปตัว V การบินในรูปตัว V จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่านทั้งฝูงเมื่อไหร่ที่ห่านหลุดออกจากฝูงห่านตัวนั้นจะรู้สึกมีแรงต้านของอากาศทำให้บินยากขึ้นหากเมื่อห่านตัวนั้นเร่งความเร็วและบินให้ทันฝูงห่านนั้นจะได้รับแรงพยุงจากฝูงซึ่งบินอยู่ด้านหน้าเมื่อผู้นำของฝูงห่านเริ่มอ่อนล้าภายหลังจากบินมานาน มันจะบินไปอยู่ด้านท้ายของตัว V
ในขณะที่จะมีตัวอีกตัวหนึ่ง รับหน้าที่เป็นผู้นำฝูงในขณะที่บินเป็นตัว V นั้นพวกห่านจะส่งเสียงร้องเพื่อให้กำลังใจห่านที่อยู่ข้างหน้าและช่วยกันรักษาระดับความเร็วให้คงที่ เมื่อห่านที่ป่วยบาดเจ็บหรือเหนื่อยล้ามันจะหลุดออกจากฝูง ห่านจำนวนหนึ่งจะละจากฝูงและบินเคียงคู่ไปกับห่านที่อ่อนแอนั้น พวกมันจะช่วยเหลือกันไปตลอดทางจนกระทั่งห่านที่ป่วยนั้นตายจากไปหรือไม่ก็จนกว่าห่านที่ป่วยจะแข็งแรงและบินได้อีกครั้ง จากนั้นพวกมันก็จะบินเข้าฝูงเป็นรูปตัว V อีกครั้งเปรียบเสมือนการทำงานเป็นทีมในแต่ละองค์กร หากมีเป้าหมายเดียวกันและทำงานร่วมกันเป็นทีมจะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น ความร่วมมือร่วมใจในทีมจะก่อให้เกิดความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเมื่อเราทำงานอย่างสอดคล้องไปในทางเดียวกันจะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้นและงานทุกอย่างที่ทำจะง่ายขึ้นไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นทุกคนในทีมมีแนวโน้มยอมรับและให้ความช่วยเหลือกันมากขึ้นและยังได้ผลักดันเป็นผู้นำหากผู้นำที่มีอยู่แล้วบาดเจ็บล้มป่วยผลัดเปลี่ยนกันแก้ไขบัญหาและภาระยุ่งยากต่างๆ ผสมผสานความรู้ความสามารถพรสวรรค์และทำให้มีการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน และได้นำปัจจัยต่างๆ ของทีมเข้าด้วยกัน เมื่อมีความกล้าหาญและให้กำลังกันจะส่งผลให้งานที่ทำมีความก้าวหน้าสูงกว่าทุกคำพูดกำลังใจกระตุ้นช่วยให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น เพื่อไปสู่เป้าหมายความสำเร็จได้ดีที่สุด
ยืนหยัดเคียงข้างกันและกันไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรขึ้นก็ตามทำให้มีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่รออยู่หากเรารักสนับสุนนซึ่งกันและกัน หัวใจ Team work ( ความสามัคคี) สามารถใช้ความแตกต่างของแต่ละคนสร้างผลงานที่ท้าทายร่วมกันหากมีใครสักคนในทีมแตกต่างแตกแยกก็จะทำให้การทำงานถึงเป้าหมายช้าลงมีอุปสรรคมากมายในการทำงานเพื่อให้แก้ไขความสำเร็จความอ่อนแรงเหนื่อยล้าในทีมก็มากขึ้นทำให้งานบรรลุผลสำเร็จช้าลงได้เช่นกัน มิเช่นนั้นจึงควรทำงานป็นทีมเพื่อความก้าวหน้าความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพในตัวบุคคลเพื่อผลักดันองค์กรนั้นๆ ไปสู่ความสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามรูปแบบแผนเพื่อนำไปสู่ความเชื่อมั่นน่าเชื่อถือของบุคลากรในองค์กรและทำให้องค์กรมีเชื่อเสียงระดับสากลได้, “ หากเราตะหนักเป็นผู้ให้ชีวิตของเราจะง่ายขึ้นและมีความหมายมากขึ้น ”

๑).ศึกษาเอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การ
๑.๑) ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
คุณธรรม (Virtue) คือ สภาพของคุณงามความดี ที่สะท้อนออกมาจากนิสัยที่มีอยู่เป็นประจำของแต่ละบุคคล
จริยธรรม (Morals) หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงาม ซึ่งเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหลักศีลธรรมทางศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรม ที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่ตนเองและผู้อื่น
ในแง่ชีววิทยา มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง เป็นเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่มีวินัยสามารถฝึกได้ (สัตว์อื่นก็ฝึกได้ แต่ฝึกได้จำกัด) แต่มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เพราะมนุษย์มีจิตใจสูง   เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา รู้จักพิจารณาความจริง ความถูกต้องดีงาม
คุณสมบัติที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ
(๑)   มนุษย์มีสัจจะ  
(๒)  มนุษย์มีความชื่นชอบในความงาม ที่เรียกกันว่า “สุนทรียภาพ”
(๓)  มนุษย์มีคุณธรรม
  ๑.สัจจะ คือ การเคารพในความจริง  
การรู้จริง การพูดจริง การแสดงสิ่งที่จริงเป็นสัจธรรม ที่ก่อให้เกิดแต่สิ่งที่ดีงาม เมื่อจริงใจต่อสิ่งใด ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับผลดีตอบสนองจากสิ่งนั้นเสมอ
ความจริงใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่พึงมี
ความจริงใจต่อบุคคล
ความจริงใจต่อหน้าที่
ความจริงใจต่อการงาน
ความจริงใจต่อเวลา
ความจริงใจต่อความดี
๒.สุนทรียภาพ
มนุษย์ทุกคนต่างก็มีสุนทรียภาพในจิตใจของตน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพัฒนาการของชีวิตภายใต้การเลี้ยงดู  การศึกษา การอบรมบ่มนิสัย  ในสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน
คุณธรรม  โดยธรรมชาติมนุษย์มีคุณธรรม สำนึกในคุณธรรมทำให้มนุษย์มีจริยธรรม และทัศนคติที่ดี ซึ่งจะสะท้อนออกมาให้ปรากฏเป็นบุคลิกภาพที่ดีงาม
 คุณธรรมและจริยธรรมกับชีวิต
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) ที่นิยมอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า พึ่งพาอาศัย  แลกเปลี่ยน ค้าขาย และพยายามสรรสร้างวิถีทางที่จะทำให้ตนได้รับความปลอดภัยและสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
หน้าที่ในทางศีลธรรมของมนุษย์
๑. หน้าที่ในการยอมรับนับถือชีวิต (Respect for life)
๒. หน้าที่ในการยอมรับนับถือเสรีภาพและบุคลิกภาพ (Respect for freedom and personality)
๓. หน้าที่ในการยอมรับนับถือลักษณะนิสัยของบุคคลอื่น  (Respect of character)
๔.หน้าที่ในการยอมรับนับถือในทรัพย์สินของผู้อื่น (Respect of property)
๕.หน้าที่ในการยอมรับนับถือระเบียบของสังคม
๖. หน้าที่ในการยอมรับนับถือความจริง (Respect for truth)
๗.หน้าที่ในการยอมรับนับถือความก้าวหน้า (Respect for progress)
มรรยาทสังคม
มรรยาท  (Etiquette) หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย  
เพื่อความปลอดภัย ,เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ,เพื่อเป็นการให้เกียรติกัน ,เพื่อแสดงอัธยาศัย, เพื่อความสะดวกสบาย
จริยธรรมในองค์กร
(1) หลักจริยธรรมไทย  
(2) หลักจริยธรรมสากล  
(๑.๑.) สิ่งที่ผู้บริหารปรารถนาจะให้บุคลากรขององค์กรมีไว้เป็นคุณสมบัติประจำตัว  
(๑)    มีความรับผิดชอบ
(๒)   มีความสุจริต
(๓)    มีวินัย
(๔)    มีความซื่อตรงต่อหน้าที่
(๕)    ความเชื่อมั่นในตนเอง
(๖)    มีการควบคุมตนเอง
(๗)    มีดุลพินิจที่ดี
(๘)    มีจิตใจที่เปิดกว้าง
(๑.๒.) สิ่งที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปรารถนาจะได้จากผู้บังคับบัญชา
(๑)    มีความเคารพนับถือและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(๒)   มีความเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ทราบตามสมควร
(๓)  มีความเป็นธรรม  
(๔)   มีน้ำใจและรู้จักถนอมน้ำใจลูกน้อง
(๕)   มีความสามารถในการกระตุ้นและให้กำลังใจแก่หมู่คณะ
(๖)    มีความพร้อมที่จะยกย่องชมเชยผลงาน
(๗)    มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือลูกน้อง
(๘)    มีเวลาว่างให้แก่ลูกน้องตามสมควร
(๙)    มีอัธยาศัยและมีมรรยาท
(๑๐)   มีความกล้าในการตัดสินใจด้วยความรับผิดชอบของตนเอง
(๒.) หลักจริยธรรมแบบไทยสำหรับบุคลากรในองค์กร
หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีบทบัญญัติครอบคลุมหลักปฏิบัติสากลไว้อย่างสมบูรณ์ ชาวไทยได้รับการปลูกฝังหลักธรรมทั้งหลายนี้ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วไปอยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นองค์การใด ถ้านำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาถือปฏิบัติอย่างจริงจัง องค์กรนั้นจะมีบุคลากรที่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมและคุณธรรม หัวข้อธรรมในพระพุทธศาสนาที่ควรถือปฏิบัติ
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128
​​​​​วันที่ 27 ธันวาคม 2563
๒).ศึกษาเอกสารเรื่องความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
๒.๑)อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ความหมาย COMPETENCY
McClelland , 1973
: คุณลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบทบาทในตำแหน่งงานนั้นๆ
Rylatt & Lohan, 1995
: ลักษณะของทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ณ สถานการณ์หนึ่งๆ หรือเฉพาะงานนั้นๆ
Competency หรือขีดความสามารถ หมายถึง ศักยภาพหรือสมรรถนะ ซึ่งเป็นลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกมา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลในพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
ประโยชน์ของ COMPETENCY
1. ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร
2. เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
3. เป็นเครื่องมือในการบริหารพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร
-คัดเลือกบุคคลหรือคณะทำงาน -ใช้แนวทางการวางแผนพัฒนาฝึกอบรม -เป็นแนวทางในการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งงาน
-เป็นแนวทางในการโยกย้ายตำแหน่งงาน -เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน -ใช้ในการบริหารผลตอบแทน
ที่มาของ COMPETENCY
-ความรู้ -ประสบการณ์ที่สั่งสมมาในอดีต -การฝึกฝนปฏิบัติ
ประเภทของ COMPETENCY
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน (Prioritization) ความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงาน (Functional Competency) ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะมีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เช่น ความสามารถในการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
การนำ Competency มาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-บุคคล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในปัจจัยการดำเนินงานขององค์กร
-แม้ว่าองค์กรจะมีทรัพยากรด้านอื่นๆ จำนวนมาก เช่น เงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
-แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดี เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ใช้จ่ายทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
-ก็จะทำให้องค์กรนั้นขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ขาดศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบความล้มเหลว
สิ่งท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-มาตรฐานสากล ในรูปแบบต่างๆ เช่น SA 8000 (Social Accountability) กำลังเข้ามาในองค์กรบ้านเรา ย่อมหนีไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหาร “คน” เพราะคนคือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ระบบนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
-บรรษัทภิบาล เป็นกระแสขององค์กรที่ต้องการแสดงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรม มีจรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อความอยู่รอดขององค์กร ที่ต้องการสนับสนุนจากสังคม ฝ่าย HRM ต้องเตรียมคนเข้าสู่การเป็นบรรษัทภิบาล
-การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือการบริหารเชิงกลยุทธ์ ทำให้องค์กรมองตัวเองมากขึ้น ดูรอยรั่ว ตัวถ่วง กิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่า หรือกิจกรรมที่องค์กรชำนาญน้อยกว่าคนอื่น ฝ่าย HRM ต้องเตรียมแผนลดกำลังคน หรือแผนเลิกจ้าง และแผน-รองรับคนที่เกิดจากการใช้บริการจากภายนอก
-การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน ในอนาคตทุกองค์กรต้องเปลี่ยนการจ่ายค่าตอบแทนให้อยู่ในรูปของการจูงใจมากกว่าการให้สวัสดิการ เช่น โบนัส จะไม่จ่ายตามอายุงานหรือหารแบ่ง แต่จะจ่ายตาม KPIs
องค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-การวางแผนกำลังคน -การสรรหาและการคัดเลือก (Recruitment & Selection
-การปฐมนิเทศ ทดลองงาน การบรรจุเข้าทำงาน
-การฝึกอบรม พัฒนาและเรียนรู้ (Learning & Development)
-การบริหารเงินเดือนและค่าตอบแทน (Compensation & Benefits)
-บุคลากรสัมพันธ์ สวัสดิการ การสร้างขวัญกำลังใจ อาชีวอนามัย
-การเตรียมคนเข้าสู่ตำแหน่ง (Succession Plan)
-การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้ายหรือเปลี่ยนงาน (Promotion & Transfer)
-การประเมินผลงาน
ประโยชน์ของการนำ Competency มาใช้ในองค์กร
ด้านการสรรหา คัดเลือกผู้สมัครงาน
-เพื่อแสวงหาคนดี คนเก่ง เข้ามาอยู่ในองค์กร
-สรรหาผู้สมัครจากแหล่งต่างๆ เช่น ประกาศรับสมัคร ใช้สื่อต่างๆ หรือใช้บริการของบริษัทจัดหางาน (Head Hunter)
-กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครในตำแหน่งงานและ Competency ที่องค์กรต้องการ
-นัดผู้สมัครงานมาสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์
-ใช้การ Check list ในแบบประเมินผลการสัมภาษณ์
๒.๒) อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
การพัฒนาและการเรียนรู้ (Learning & Development)
-ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า Learning มากกว่า Training  เพราะมีความหมายกว้างกว่า และใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ยึดห้องเรียนเป็นศูนย์กลาง
-ฝ่าย HRM จะสำรวจ Training Need แต่มักจะได้ Training Want เป็นความต้องการมากกว่าความจำเป็นเพราะให้หัวหน้าตอบแบบสำรวจ หรือตัวเองตอบเอง ก็ไม่รู้ว่าขาดอะไร
-การอบรมจึงต้องเหวี่ยงแห  เหมาให้ทุกคนอบรมเหมือนๆ กัน
Competency ช่วยได้อย่างไร
-การประเมิน Competency จะทำให้ทราบ Competency gap      -รับรู้ร่วมกันระหว่างลูกน้องและหัวหน้า
-พัฒนาได้ตรงตามเป้าหมาย     -ลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่สูญเสียไปกับการอมรมที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะในงาน
Competency กับแผนพัฒนารายบุคคล   (Individual Development Plan)
-เมื่อประเมินพบว่ามี Competency gap
-เชิญผู้ถูกประเมินมาแจ้งผลการประเมิน และเซ็นต์รับทราบ
-วางแผนร่วมกัน ในแบบฟอร์ม IDP  โดยกำหนดหัวข้อการอบรมวิธีการระยะเวลาตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร
วิธีการพัฒนาบุคคล
Coaching                          การสอนงาน
Mentoring                         การเป็นพี่เลี้ยง
Attachment Working        การไปประสานงานติดต่อกับหน่วยงานอื่น
Secondment Working       การไปอยู่ร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่น
Work Shadowing              ให้ตัดสินใจโดยมีการดูแลใกล้ชิด
Project Assignment           ให้ทำโครงการพิเศษ
Open / Distance learning   การเรียนรู้ทางไกล
Learning Package              เรียนรู้อย่างเป็นระบบ
Internal Training Course    จัดอบรมภายใน
External Training Course   ส่งไปอบรมภายนอก
บุคลิกของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อการบริหารบุคคลสมัยใหม่
SMART
     S   -  SYSTEM       M  -  MOTIVATION      A   -  AIMS      R   -  ROLE      T   -  TACTIC
SYSTEM
-มีการทำงานที่เป็นระบบระเบียบทำงานเป็นขั้นเป็นตอน     -ผลงานมีความประณีต      -แต่ไม่ใช่คนเจ้าระเบียบ
MOTIVATION
-มีวิธีการกระตุ้น จูงใจผู้อื่นโดยอาศัยความสามารถของตนเอง      -ใช้คนให้ทำงานได้โดยไม่รู้ตัวว่าถูกใช้
-แต่ต้องไม่ใช่การหลอกใช้
AIMS
-ทำงานอย่างมีจุดหมายปลายทาง    -มีการคิดหรือวางแผนการทำงานเสมอ    -มีการกำหนดเข็มมุ่ง -ชอบฝันให้ไกลไปให้ถึง
ROLE
-อยู่ในบทบาทที่ดี มีการยอมรับ     -ปรับเข้ากับทุกสถานการณ์     -เบิกบานในหน้าที่
TACTIC
-มีกลยุทธ์ในการทำงาน     -มียุทธวิธีในการบริหารคนในองค์กร
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร ?
คุณธรรมและจริยธรรม เป็น สิ่งที่มีความสําคัญที่ทุกคนจะต้องมี โดยประพฤติ ปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม ละเว้นใน สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ไม่ทําความเดือดร้อนเสียหาย ให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
สําหรับองค์การธุรกิจที่ประสบความสําเร็จใน ระยะยาวอย่างยั่งยืนนั้นจะเป็นองค์การที่มีผู้นำองค์การ ผู้บริหาร หัวหน้างาน เป็นผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ที่ดี ทั้งด้านการงาน สังคม และส่วนตัว เป็นผู้นําที่มี วิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกกว้าง มีความคิดในการพัฒนาเปลี่ยนแปลง แสวงหาโอกาส ที่จะทํา มีพลังและคล่องแคล่วว่องไว ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี มีมนุษยสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพตนเองอยู่ตลอดเวลา ปกครองผู้ใต้ บังคับบัญชาโดยใช้คุณธรรมให้ความยุติธรรม จะต้องมี ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ดูแลทุกคนให้มี ความสุขในการทํางาน ร่วมมือ และร่วมใจในการทํางาน ให้มีประสิทธิภาพ สร้างคนทุกคนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีวินัย เคารพกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
การบินเป็นรูปตัว V จะเพิ่มประสิทธิภาพและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นจะทำให้เราถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ความร่วมมือ ร่วมใจกันในทีมจะก่อให้เกิดความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และสิ่งที่สำคัญคือการช่วยเหลือกันในทีมและต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันให้กับห่านทั้งฝูงเมื่อเปรียบเทียบกับห่านที่บินโดยลำพัง
2.1 อธิบายประโยชน์ ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับพนักงานทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้า ในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กรตลอดจนปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประเภทของการพัฒนาความสามารถ
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การ
ต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน เนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่ง
สะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน (Result Focus)
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน(Managerial Competency) ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตาม
ระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) การจัดลำดับความสำคัญของงาน(Prioritization) ความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงาน (Functional Competency) ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะ
มีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเช่นความสามารถในการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
การหาขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency)
-ผู้นำองค์กรต้องสนับสนุนการตั้งกรรมการ
-ฝึกอบรมกรรการให้เข้าใจ และ กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และ กลยุทธขององค์กรอย่างชัดเจน
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
คุณธรรม (Virtue) คือ สภาพของคุณงามความดี ที่สะท้อนออกมาจากนิสัยที่มีอยู่เป็นประจำของแต่ละบุคคล ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นบุคลิกลักษณะ (Character) ของผู้นั้น
จริยธรรม (Morals) หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงาม ซึ่งเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหลักศีลธรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่ตนเองและผู้อื่น ผู้มีจริยธรรมจะรู้จักพิจารณาไตร่ตรอง ว่า สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ
จากความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมข้างต้น จะเห็นได้ว่าคุณธรรมและจริยธรรมเป็นตัวกำหนด อุปนิสัย ความคิดและความประพฤติของบุคคล ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การต่างๆ ล้วนมีเป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความสัมพันธ์ในหน้าที่การงานที่ดีระหว่างบรรดาสมาชิกขององค์การเพื่อช่วยส่งเสริม ความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
การทำงานร่วมกันของทุกๆองค์การ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารและพนักงานหรือบุคคลในหน่วยงานนั้นๆ จะต้องนำหลักคุณธรรมและจริยธรรมมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการทำงาน ตัวอย่างเช่น การนำหลักธรรมาภิบาล หลักสังคหวัตถุ 4 หรือหลักธรรมผู้ครองเรือน โดยนำหลักธรรมต่างๆเหล่านี้มายึดถือและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเกิดประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย
การนำหลักคุณธรรมและจริยธรรมมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์การ กล่าวคือ องค์การที่มีการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและยุติธรรมมักจะมีผู้นำขององค์การที่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการบริหารโดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรม ให้แก่พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในการอบรมบ่มเพาะและเสริมสร้างให้บุคคลในองค์การมีความคิดอยากเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนให้คนดีทำดียิ่งขึ้น และเชิญชวนให้คนแข่งกันทำความดี ตลอดจนให้ผลตอบแทน และสนับสนุนหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลด้วยความเป็นธรรม และเมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม และความรู้ความสามารถอยู่เสมอก็จะส่งผลให้องค์การและบุคคลผู้ปฏิบัติงานประสบความสำเร็จในระยะยาวอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
จากการศึกษาพิจารณาการบินของห่านเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม ขอสรุปประเด็น ดังนี้
1. การบินรูปตัว V เมื่อมีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ จะบินตามแบบเยื้องๆ การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับห่านที่บินโดยลำพัง เปรียบเสมือน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหากบุคคลในองค์การมีเป้าหมายเดียวกันและร่วมแรงร่วมใจทำงานเป็นทีมจะทำให้องค์การนั้นๆไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
2. ถ้าเมื่อใดที่ห่านผู้นำฝูงเกิดอาการอ่อนล้าก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน เปรียบเสมือน การผลัดกันขึ้นมาเป็นผู้นำโดยในองค์กรใดๆทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ...
3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัณญานการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด เปรียบเสมือน การทำงานของคนในองค์กรต้องมีการทำงานเป็นทีมและคอยกระตุ้นให้ทีมเคลื่อนที่ไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จได้อย่างด้วยดี
4. หากมีห่านบางตัวแหกฝูงบินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว และต่อมาจะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด เปรียบเสมือน ความสามัคคีคือพลังในการทำงานเป็นทีมหากมีผู้ใดประสบปัญหาในการทำงานบุคคลผู้ปฏิบัติงานในทีมเดียวกันจะคอยช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5. เมื่อใดก็ตามที่ห่านบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีห่านในทีมบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่าห่านที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงจะบินกลับฝูง เปรียบเสมือนจงมีความเอืออาทรในการทำงานที่จะยืนหยัดเคียงข้างกับบุคคลในทีมไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคอะไรและในช่วงเวลาที่ลำบากก็อยู่คอยช่วยเหลือกัน
2.1 อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การในด้านต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1. ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร
2. เป็นกรอบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
3. เป็นเครื่องมือในการบริหารพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในองค์กร
- คัดเลือกบุคคลหรือคณะทำงาน
- .ใช้แนวทางการวางแผนพัฒนาฝึกอบรม
- เป็นแนวทางในการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่ง
- .เป็นแนวทางในการโยกย้ายตำแหน่งงาน
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ใช้ในการบริหารผลตอบแทน
ทรัพยากรมนุษย์นั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อทุกองค์กร เพราะนี่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างไม่มีขีดจำกัด องค์กรที่เห็นคุณค่าและใส่ใจในทรัพยากรมนุษย์นั้นจะมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรของตนให้เพิ่มขีดความสามารถ มีสมรรถนะสูงขึ้น และทำให้บุคลากรมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในที่สุด บุคลากรที่มีศักยภาพจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรรวมถึงพัฒนาสมรรถนะของบุคคลเหล่านั้นให้สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของแต่ละคนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยอดเยี่ยมและจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย รวมถึงมีประโยชน์ต่อการทำงานและอาจค้นพบสมรรถนะที่ซ่อนอยู่ได้ ที่สามารถสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้ต่อไป

2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การมี 6 ประเภท ดังนี้
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) คือ ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน หรือการมีองค์ความรู้ ทักษะ ตลอดจนความสามารถพื้นฐานทั่วไป ที่ตรงตามความต้องการหลักขององค์การซึ่งกำหนดไว้เพื่อให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์กับตำแหน่งหรืองานนั้นๆ
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงาน (Managerial Competency) คือ ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานที่จะต้องมีและแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงาน (Function Competency) คือ ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานโดยมีองค์ความรู้ ทักษะ ตลอดจนความสามารถที่เฉพาะเจาะจงตามหน้าที่ที่รับผิดชอบตรงตามความต้องการหลักขององค์การซึ่งกำหนดไว้เพื่อให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์กับตำแหน่งหรืองานนั้นๆ ตามความสามารถที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมาย เช่น ความสามารถในการเจรจาต่อรอง

นายกฤตเมธ เชิดชู
63423471054

1.อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การ

1. หลักการและเหตุผล
คุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน คือ
1) ความซื่อสัตย์ ในการทำงานจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และงานที่ได้รับ
2) ความเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนไม่เห็นแก่ตัว
3) ความยุติธรรม ไม่ลำเอียงหรือถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่เราเชื่อต้องมีความเป็นกลาง ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก
4) ความประหยัด ในการทำงานต้องรู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย คำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร
5) ความขยันและอดทน ในการทำงานจะต้องมีความมุ่งมั่นต่องานที่รับมอบหมาย
6) ความรับผิดชอบ ในการทำงานเราจะต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
7) ความตรงต่อเวลา เป็นวินัยพื้นฐานในการทำงาน มีความตรงต่อเวลา ไม่มาทำงานสายและส่งงานตามกำหนด

ประเทศไทยในสมัยปัจจุบันกำลังมุ่งปลูกฝังคุณธรรมสำหรับประชาชน 4 ประการ
1. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
3. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมือง

ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทยได้ทวีความรุนแรง และมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมและเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศไร้พรมแดน ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม ยังส่งผลให้ขาดระเบียบวินัย ขาดความสามัคคีในการทำงานจากหลักการและเหตุผลดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร เพื่อให้ตระหนักรู้ถึงการส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตรวมทั้งได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมค่านิยม ด้วยการมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้มาใช้บริการและประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี จึงได้จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ในองค์กร
2. เพื่อปลูกฝังและพัฒนาแนวคิดของการเป็นองค์กรของรัฐที่มีคุณธรรมจริยธรรม
3. เพื่อให้บุคลากรได้ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงาน และดำรงตนอย่างมีความสุขทั้งในครอบครัวและองค์กร

3.เป้าหมาย
บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี (ผู้บริหาร/พนักงานส่วนตำบล และพนักงานจ้าง) จำนวน 40 คน

4. วิธีดำเนินงาน
4.1 เขียนโครงการและนำโครงการเสนอขอความเห็นชอบต่อผู้บริหาร
4.2 ประสานวิทยากรอบรม
4.3 ดำเนินการอบรม
4.4 ติดตามประเมินผลและสรุปรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ

5. ระยะเวลาดำเนินการ
วันพุธ ที่ 22 เดือน สิงหาคม 2546

6.สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี

7.งบประมาณ
งบประมาณข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 หน้า 3/21 หมวดค่าใช้สอยประเภท รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงาน จำนวน 4,830 บาท รายละเอียดดังนี้
7.1 ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย/อภิปรายข้อเสนอแนะ จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
7.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (40 คน x 50 บาท) เป็นเงิน 2,000 บาท
7.3 ค่าป้ายไวนิลที่ใช้ในการอบรม ขนาด 120x240 เซนติเมตร เป็นเงินจำนวน 430 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,830 บาท (-สี่พันแปดร้อยสามสิบบาทถ้วน.-) ทุกรายการสามารถจ่ายทดแทนกันได้

8.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี

9.การประเมินผล
9.1 สังเกตพฤติกรรม ความตั้งใจฟังการบรรยาย การซักถามข้อมูล และการเข้าร่วมประชุมตรงเวลา ของผู้เข้าร่วมประชุม โดยใช้การสังเกต
9.2 แบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรม

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10.1 บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาฮี ได้พัฒนาตนเอง เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม
มีความสำนึกต่อหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กรและสังคมส่วนรวม
10.2 ผู้มาใช้บริการได้รับบริการที่ดีตามหลักการประมวลจริยธรรม คุณธรรมขององค์กร
10.3 บุคลากรผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การมีจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชน



นายกฤตเมธ เชิดชู
63423471054

2. อธิบายขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยหนึ่งที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทรัพยากรบุคคลเปรียบเสมือน สินทรัพย์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดขององค์กร เป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันขององค์กร ด้วยเหตุผลดังกล่าว องค์กรต่างๆ จึงพยายามที่จะแสวงหากลยุทธ์หรือเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้มีศักยภาพกับองค์กรมากที่สุด

ดังนั้นปัจจัยในการทำงานที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร ก็คือสมรรถนะ (Competency) โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพราะสมรรถนะเป็นปัจจัยช่วยให้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้ส่งผลไปสู่การพัฒนาองค์กร องค์กรต่าง ๆ จึงพยายามจะดึงเอาสมรรถนะของบุคคลออกมาใช้ให้มากที่สุด เช่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนางานบริการ หรือการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าและเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความรู้ ความสามารถ และทักษะที่แต่ละคนทุ่มเททำเพื่อองค์กร ดังนั้นหากองค์กรใดมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ตั้งแต่การจัดระบบการสรรหาบุคลากรได้ตรงกับความต้องการขององค์กร การพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ดีที่สุด การมีระบบประเมินผลเพื่อจ่ายค่าตอบแทน และเพื่อสร้างความก้าวหน้าในการทำงานให้แก่บุคลากรที่ดีก็ย่อมทำให้เป้าหมายขององค์กรประสบความสำเร็จได้

กรอบแนวคิดในการพัฒนาระบบสมรรถนะในองค์กร
การพัฒนาระบบสมรรถนะจะต้องมีกรอบแนวคิดพื้นฐานและที่มา ดังนั้นการกำหนดระบบสมรรถนะจะต้องกำหนดมาจากวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ยุทธศาสตร์ (Strategy) ค่านิยม (Value) วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) หรือพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวัง/ปรารถนา ให้บุคลากรประพฤติปฏิบัติ (Behavior Desirable) หลังจากนั้นจึงกำหนด สมรรถนะขององค์กร (Organizational Competency) หรือทิศทาง เป้าหมายที่องค์กรต้องการบรรลุเพื่อสร้างความแตกต่างหรือโดดเด่นกว่าองค์กรคู่แข่ง

เมื่อกำหนดสมรรถนะขององค์กรแล้ว ในขั้นตอนต่อมาเราต้องกำหนดสมรรถนะของบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะหลัก สมรรถนะตามสายวิชาชีพ สมรรถนะร่วมของทุกตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ และสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ

ขั้นสุดท้ายคือ การนำระบบสมรรถนะไปเป็นพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง และการจ่ายค่าตอบแทน เป็นต้น เมื่อบุคลากรขององค์กรมีสมรรถนะสูงขึ้นก็จะทำให้ ปฏิบัติ งานได้บรรลุผลสำเร็จ สุดท้ายก็จะส่งผลให้องค์กรมีผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จ

1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีและความถูกต้องซึ่งบุคคลควรยึดมั่นไว้เป็นหลักการในการปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ

ข้อ 1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน" ที่มีการบินเป็นรูป ตัว V เสมอนั้นเหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดและจำเป็นต้องมีการร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน “ สู่การทำงานเป็นทีม (ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม)
1. การบินรูปตัว V มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ (ตามภาพข้างบน) การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงถึง ร้อยละ 70 (มีแรงยกทำให้ประหยัดพลังงาน) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง(ตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด)เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน ...ในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ
3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัญญาณการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด .การทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน
4. หากมีนกบางตัวแหกฝูง (ตัวปัญหา) บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด ...ความสามัคคีคือพลัง
5. เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง ...จงมีความเอื้ออาทรในการทำงาน...
2. ศึกษา เอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง


2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
การพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วย Competency
บทบาทหน้าที่อย่างหนึ่งของ HR คืองานพัฒนาบุคลากรในองค์กรโดยการพัฒนาขีดความสามารถCompetencyของพนักงาน เพื่อให้สร้างผลการทำงานที่ดีที่สุดในหน้าที่ของตนเอง โดยเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกัน ในการกำหนดขีดความสามารถในแต่ละตำแหน่ง แต่ละระดับจะต้องมีขีดความสามารถในแต่ละประเภทชนิดใดบ้าง ที่จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ และทำให้บรรลุวิสัยทัศน์และนโยบายขององค์กรได้

ปัจจุบันในหลายๆ องค์กรได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับ Competency มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสรรหา พัฒนา และการประเมินผลงานของบุคลากรได้ตรงความต้องการ ของตำแหน่งงาน และองค์กรเป็นอย่างมาก ในบทความนี้คงทำให้เราได้รู้จักและเข้าใจเรื่องราวของ Competency ซึ่งพอจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านได้บ้าง

David C. McClelland ได้ให้คำนิยมของ Competency เอาไว้ว่าเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ ความสามารถตามกรอบแนวคิดเรื่องขีดความสามารถ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพโมเดลภูเขาน้ำแข็ง แสดงเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการของ Competency
เราสามารถสรุปได้ว่า Competency หมายถึง ทักษะหรือความสามารถ (Skill) ความรู้ (Knowledge) และคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่มีผลต่อพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและผลก็คือทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ดีที่สุด

Competency สามารถแบ่งออกตามประเภทต่างๆ ได้แก่
1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อกำหนดให้พนักงานทุกคนขีดความสามารถหลัก ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาพนักงานในด้านความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, พัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่นในการให้บริการให้ไปสู่ความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศในการให้บริการ, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การใช้ประโยชน์ ทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่เบื้องต้นของผู้บริหารทุกระดับ และเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานโดยอาศัยความพยายามและความร่วมมือของบุคคลอื่น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยากาศและความสัมพันธ์ในหน้าที่การงานที่ดีในระหว่างบรรดาสมาชิกขององค์กรและส่งเสริม ความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลที่พร้อมมูลเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาองค์กร
การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีภารกิจสำคัญดังนี้ คือ ต้องการคนดีมีความสามารถมาทำงาน รู้จักวิธีการใช้คนให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยมีประสิทธิภาพสูง และสามารถธำรงรักษาความ เต็มใจของสมาชิกทุกคนที่จะทุ่มเทจิตใจช่วยกันทำงานให้กับเป้าหมายส่วนรวมขององค์กร
หน้าที่งานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อการจ้างงาน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคคล การวางแผนอาชีพ การพัฒนา นักบริหาร รวมทั้งการจัดการตำแหน่งงาน
การให้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ต่างๆ แก่พนักงาน เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการประเมินค่างาน การจัดทำโครงสร้างเงินเดือน ระบบค่าจ้างแรงจูงใจ การแบ่งปันผลกำไร การจัดผลประโยชน์และบริการต่างๆแก่พนักงาน
ความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระบบความปลอดภัย การรักษาสุขภาพอนามัยสำหรับพนักงาน
แรงงานสัมพันธ์หรือพนักงานสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สหภาพแรงงาน การร้องทุกข์ การเจรจาต่อรอง และวินัยพนักงาน

จริยธรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือ
หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ
ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึก บผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ
หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร
หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน
หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษา เอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง


2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
การพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วย Competency
บทบาทหน้าที่อย่างหนึ่งของ HR คืองานพัฒนาบุคลากรในองค์กรโดยการพัฒนาขีดความสามารถCompetencyของพนักงาน เพื่อให้สร้างผลการทำงานที่ดีที่สุดในหน้าที่ของตนเอง โดยเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกัน ในการกำหนดขีดความสามารถในแต่ละตำแหน่ง แต่ละระดับจะต้องมีขีดความสามารถในแต่ละประเภทชนิดใดบ้าง ที่จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ และทำให้บรรลุวิสัยทัศน์และนโยบายขององค์กรได้

ปัจจุบันในหลายๆ องค์กรได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับ Competency มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสรรหา พัฒนา และการประเมินผลงานของบุคลากรได้ตรงความต้องการ ของตำแหน่งงาน และองค์กรเป็นอย่างมาก ในบทความนี้คงทำให้เราได้รู้จักและเข้าใจเรื่องราวของ Competency ซึ่งพอจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านได้บ้าง

David C. McClelland ได้ให้คำนิยมของ Competency เอาไว้ว่าเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ ความสามารถตามกรอบแนวคิดเรื่องขีดความสามารถ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพโมเดลภูเขาน้ำแข็ง แสดงเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการของ Competency
เราสามารถสรุปได้ว่า Competency หมายถึง ทักษะหรือความสามารถ (Skill) ความรู้ (Knowledge) และคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่มีผลต่อพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและผลก็คือทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ดีที่สุด

Competency สามารถแบ่งออกตามประเภทต่างๆ ได้แก่
1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อกำหนดให้พนักงานทุกคนขีดความสามารถหลัก ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาพนักงานในด้านความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, พัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่นในการให้บริการให้ไปสู่ความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศในการให้บริการ, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส 63423471144
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
1. ศึกษาเอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การ
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไรจริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตามความดีงามแห่งคุณธรรมนั้น
ศีลธรรม คือ การไม่ละเมิดต่อสิ่งที่จะเป็นเหตุทำลายความดีงามแห่งคุณธรรมจริยธรรมให้เสื่อมลง
คุณธรรม คือ ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่างๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีคุณธรรม”
จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติ การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และ เป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยา มารยาท การประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีจริยธรรม”
ศีลธรรม คือ ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้ละเมิด ต่อสิ่งที่จะทำลายความดีงามแห่งคุณธรรมจริยธรรม ให้เสื่อมลง ทั้งกฎหมาย ระเบียบ วินัย และจารีตประเพณี ที่ดีงามของสังคม เมื่อเกิดศีลธรรมขึ้นแล้ว ก็จะนำความสงบร่มเย็นใจ มาสู่ตนเอง ครอบครัว และสังคม จึงได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีศีลธรรม”

คุณธรรม หมายถึง หลักของความดีความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ ทางกาย วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยเป็นสิ่งที่มี ประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่น และสังคมให้เกิดความรักสามัคคี ความอบอุ่นมั่นคงในชีวิต
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์
รหัส 63423471144
วันที่ 27 ธันวาคม 2537
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม

จากรูปแบบลักณะการบินของห่าน เป็นรูปตัว V ซึ่งเป็นแนวเฉลียงออกมาด้านข้าง คล้ายปีกของเครื่องบิน ที่มีการต้านแรงลมปะทะ เช่นเดียวกับฝูงห่าน ที่บินแผ่รัศมี เป็นแนวอย่างมีระเบียบ และแบ่งช่องแนวระยะห่าง ได้อย่างพอเหมาะ พอดี อีกทั้ง ยังมีห่านตัวบนสุด เป็นจ่าฝูง บินนำร่อง เหินเวหาบนกลางนภา โดยมิหวั่น ต่อพลังแรงต้านจากลม และแสงแดด ที่แผดเผา หรือแม้กระนั้น ไม่ว่าจะร้อน หรือหนาว เมื่อห่านกำหนดให้ตัวเอง ต้องนำพาขบวนฝูงบิน ในกลุ่มตัวเองออกมาแล้ว ห่านเหล่านั้นที่
ลำเลียงตัวเอง บินเรียงรายเป็นแถวทิว อย่างนี้แล้ว
เจ้าห่านทั้งหลาย ก็ต้องพยายาม บินไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งนั้นให้ได้

การบินเหินเวหา ท่ามกลาง การบิน ที่ต้องใช้พลังแรงกาย
อันหนักหนานี้เอง ทำให้ห่านผู้นำ ย่อมอ่อนล้าลง และต้องยอมถอยตัวเอง ลงจากตำแหน่งผู้นำการบิน ลงมาเป็นผู้ที่คอยมองอยู่ ระยะห่างออกไป และยังอยู่ในแนวเส้นการบิน อย่างเป็นระเบียบ ในขณะที่ห่านตัวนึง บินออกจากแนวบินไป ก็ทำให้ยิ่งตัองใช้พลังมากขึ้น เพราะไม่ปักห่านตัวอื่นๆ ที่เป็นเสมือน รั้วข้างๆ ที่คอยพยุงไม่ให้ลมพุ่ง มาปะทะที่ตัวห่านที่ออกนอกเส้นทาง บินเพียงลำพัง สุดท้ายก็ต้องเร่งให้เข้ากับฝูงบิน

หากห่านตัวแรก อ่อนล้า และบินต่อท้าย ก็ยังมีห่านตัวนึงคอบประกบข้างๆ คอยดูแลกันตลอดทาง หากบินไม่ไหวป่วย หรือตายไป ก็อาจกลับมาบินได้อีกครั้ง ขณะเดียวกัน ตัวอื่น ที่อยู่ถัดมา จะขึ้นมาแทนที่ตำแหน่งเซ็นเตอร์ก็จะเข้าร่วมฝูงบินด้วยในรูปตัว V ขณะบิน มีการส่งเสียงเพื่อเป็นขวัญและให้กำลังใจกันและกัน

จึงเปรียบได้กับ การที่องค์การ
ใดๆก็ตาม ซึ่งมีผู้บริหาร ตั้งแต่ระดับสูงสุด เป็นผู้นำในองค์การ ก็มิใช่ว่าจะทำงานคนเดียวได้ จะต้องมีบุคลากร หลายหน่วยงานร่วมทำงานด้วย ในแต่ละฝ่าย ต้องร่วมกันทำงานอย่างมีระบบ
แบบแผน การทำงานจะบรรลุเป้าหมายได้ ผู้ร่วมงาน จะต้องทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่สอดคล้องรับกันเสมอ ต่างฝ่ายต่างทำ เร่งทำหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันตามเวลา
หรือถ้าทำงานเสร็จก่อนเวลา
พวกเราก็จะมีเวลาได้พักบ้าง

การทำงาน กันเป็นTeem Work ทุกคนในสายงาน หรือลูกน้อง หรือคนในแผนกด้วยกันเอง จะต้องยอมรับฟังผู้ที่เป็นหัวหน้า ในขณะที่เราเป็นผู้ตาม หรือผู้ช่วย และผู้ที่เป็นผู้นำเอง ก็อาจต้องมีการเสียสละ เพื่อให้บุคคลอื่นขึ้นมาเป็นผู้นำทีมด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ ความสารถของแต่ละคนมีอยู่ ให้ปรากฎในตัวบุคคล นั้นๆด้วย
This comment has been removed by the author.
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส 63423471144
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
2ศึกษา เอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) คือกรอบและกระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งพนักงานยังเกิดการพัฒนาศักยภาพด้วย โดยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กรนั้นอาจทำได้หลายวิธีหรือหลายกระบวนการตั้งแต่การฝึกอบรม, การศึกษาผ่านการเรียนการสอนที่จริงจัง, การออกไปดูงานนอกองค์กร, ไปจนถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งเมื่อพนักงานได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ส่งผลให้องค์กรพัฒนาและประสบความสำเร็จตามไปด้วยได้ มนุษย์ต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องการเติบโตตลอดเวลาเช่นกัน องค์กรจะก้าวไปข้างหน้าได้นั้นแน่นอนว่าผู้ที่มีส่วนผลักดันสำคัญก็คือพนักงานทุกคนนั่นเอง ศักยภาพทุกคนย่อมส่งผลต่อศักยภาพขององค์กร หากพนักงานทุกคนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพย่อมทำให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ดังนั้นการช่วยส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นภาระกิจหนึ่งที่จำเป็นขององค์กร และผู้ที่มีส่วนสำคัญมากๆ ตรงจุดนี้ก็คือฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั่นเอง ซึ่งงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) นั้นค่อนข้างจะสำคัญกับองค์กรอย่างยิ่ง ถ้าขาดความใส่ใจตรงจุดนี้ องค์กรที่เต็มไปด้วยพนักงานไร้ประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้องค์กรหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่พัฒนา ธุรกิจถดถอย และไร้ศักยภาพได้ในที่สุดเช่นกัน
This comment has been removed by the author.
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส 63423471144
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
2.2ให้นักศึกษา อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1.เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นควรเริ่มตั้งแต่ก่อนที่จะได้ทรัพยากรมนุษย์มาในองค์กร ควรเริ่มตั้งแต่การสรรหาและคัดสรรซึ่งหากเราได้ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีแล้วย่อมทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้นด้วย เมื่อพนักงานมีประสิทธิภาพ องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างมีศักยภาพ ก็จะทำให้มีคนดีมีความสามารถอยากจะมาเข้าร่วมทำงานกับองค์กร ซึ่งนั่นย่อมทำให้องค์กรมีตัวเลือกที่ดีในการสรรหาและคัดสรรพนักงานในอนาคตด้วย ซึ่งนี่เป็นวงจรที่ดีที่เกิดขึ้นหากเราใส่ใจตั้งแต่เรื่องการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพมาร่วมงานนั่นเอง หากการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีการวางแผนการสรรหาตลอดจนมีความใส่ใจในกระบวนการคัดสรรที่ดี ย่อมมีโอกาสที่จะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง และทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นด้วย

2.เพื่อใช้ศักยภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีศักยภาพอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะศักยภาพที่ซ่อนอยู่ที่บางครั้งเราอาจมองไม่เห็น การมีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะทำให้เราสามารถส่งเสริมให้บุคลากรทำงานได้อย่างถูกต้อง เกิดผลงานที่ดี ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ให้เกิดขึ้น และองค์กรเองก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพิ่มเติมอีกด้วย หากไม่มีการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เราอาจไม่ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคลากรอย่างเต็มที่ หรืออาจไม่ค้นพบศักยภาพที่แท้จริง แต่หากบริหารได้ดีแล้วเราจะสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมายหลากหลายด้านให้กับองค์กรเลยทีเดียว

3.เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุลากรให้ก้าวหน้า (Development)หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นก็คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนาตามไปด้วย มนุษย์นั้นต้องการที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หากมนุษย์ไม่ได้พัฒนาตัวเองนอกจากการทำให้ก้าวย่ำอยู่กับที่แล้วก็ยังทำให้ลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ อีกด้วย ดังนั้นการมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะทำให้ขีดความสามารถในด้านต่างๆ พัฒนาขึ้น รวมไปถึงขีดความสามารถใหม่ๆ ที่สามารถค้นพบได้ด้วย ดังนั้นองค์กรไหนที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ยอดเยี่ยมก็จะยิ่งทำให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการพัฒนา เพิ่มมูลค่าให้กับทั้งตัวบุคลากรและองค์กรไปในตัว

4.เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)

การลาออก เปลี่ยนงาน หรือย้ายองค์กร เป็นปัญหาที่ทุกองค์กรกำลังเผชิญอยู่ หนึ่งในกระบวนการที่องค์กรยุคใหม่กำลังให้ความสนใจมากเป็นพิเศษก็คือการรักษาพนักงานให้ทำงานอยู่กับองค์กรให้นานที่สุด บางครั้งเรื่องของเงินหรือสวัสดิการก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเสมอไปในเรื่องนี้ อีกหนึ่งสิ่งที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งก็คือการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรนั่นเอง บางคนรักที่จะทำงานให้กับองค์กรหนึ่งไปนานๆ ก็เพราะว่าองค์กรนี้ใส่ใจในการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนมีการบริหารจัดการด้านบุคคลที่ดี ทำให้อยู่แล้วสบายใจ อยู่แล้วรู้สึกมีคุณค่า สิ่งเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บุคลากรตัดสินใจอยู่กับองค์กรในระยะยาวได้เช่นกัน

5.เพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จ (Success)
การทำธุรกิจในยุคนี้ทุกองค์กรต่างตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้แทบทั้งสิ้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีนั้นมีส่วนอย่างมากที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย และทำให้บรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จได้ เพราะนี่คือปัจจัยสำคัญหนึ่งทีเดียว หากองค์กรขาดการใส่ใจบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจทำให้การทำงานไม่มีระบบ ล้มเหลว และไม่ประสบความสำเร็จได้ การตั้งเป้าหมายในองค์กรก็จะดูไร้ค่าในทันที
นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471016
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือ

· หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ

- ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ

- หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย

- หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร

- หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

- หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน



- หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน" ที่มีการบินเป็นรูป ตัว V เสมอนั้นเหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดและจำเป็นต้องมีการร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน “ สู่การทำงานเป็นทีม (ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม)
1. การบินรูปตัว V มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ (ตามภาพข้างบน) การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงถึง ร้อยละ 70 (มีแรงยกทำให้ประหยัดพลังงาน) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง(ตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด)เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน ...ในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ
3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัญญาณการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด .การทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน
4. หากมีนกบางตัวแหกฝูง (ตัวปัญหา) บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด ...ความสามัคคีคือพลัง
5. เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง ...จงมีความเอื้ออาทรในการทำงาน...

นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471016
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือ

· หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ

- ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ

- หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย

- หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร

- หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

- หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน



- หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน" ที่มีการบินเป็นรูป ตัว V เสมอนั้นเหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดและจำเป็นต้องมีการร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน “ สู่การทำงานเป็นทีม (ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม)
1. การบินรูปตัว V มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ (ตามภาพข้างบน) การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงถึง ร้อยละ 70 (มีแรงยกทำให้ประหยัดพลังงาน) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง(ตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด)เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน ...ในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ
3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัญญาณการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด .การทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน
4. หากมีนกบางตัวแหกฝูง (ตัวปัญหา) บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด ...ความสามัคคีคือพลัง
5. เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง ...จงมีความเอื้ออาทรในการทำงาน...
นายอิทธิพัฒน์ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471016
2.ศึกษาเอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
Competency สามารถแบ่งออกตามประเภทต่างๆ ได้แก่
1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อกำหนดให้พนักงานทุกคนขีดความสามารถหลัก ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาพนักงานในด้านความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, พัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่นในการให้บริการให้ไปสู่ความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศในการให้บริการ, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based) เป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกันไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น
4.ความสามารถที่มาจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal attribute) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทัศนคติต่อการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน
หลังจากที่เราทราบแล้วว่าแต่ละภาระงานในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง จำเป็นจะต้องมีขีดความสามารถใดบ้างในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ การวางแผนจัดทำขีดความสามารถจะต้องให้มีความชัดเจน มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถที่องค์การกำหนด การสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Competency เป็นเรื่องสำคัญและจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม
นายอิทธิณัฐ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471284
1. ศึกษา เอกสารเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือ

· หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการ คือ

- ความรับผิดชอบ คือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ

- หลักคุณธรรม คือ ผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย

- หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร

- หลักความคุ้มค่า คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

- หลักความโปร่งใส คือ ผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวก และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน



- หลักนิติธรรม คือ ผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน" ที่มีการบินเป็นรูป ตัว V เสมอนั้นเหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดและจำเป็นต้องมีการร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม
กลยุทธ์ " การบินของฝูงห่าน “ สู่การทำงานเป็นทีม (ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม)
1. การบินรูปตัว V มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ (ตามภาพข้างบน) การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลงถึง ร้อยละ 70 (มีแรงยกทำให้ประหยัดพลังงาน) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง(ตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด)เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน ...ในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอ
3. ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เปรียบเสมือนสัญญาณการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด .การทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน
4. หากมีนกบางตัวแหกฝูง (ตัวปัญหา) บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด ...ความสามัคคีคือพลัง
5. เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง ...จงมีความเอื้ออาทรในการทำงาน
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง รหัสนักศึกษา63423471284
2.ศึกษาเอกสารเรื่องขีดความสามารถกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
Competency สามารถแบ่งออกตามประเภทต่างๆ ได้แก่
1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อกำหนดให้พนักงานทุกคนขีดความสามารถหลัก ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาพนักงานในด้านความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, พัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่นในการให้บริการให้ไปสู่ความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศในการให้บริการ, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based) เป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกันไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น
4.ความสามารถที่มาจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal attribute) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทัศนคติต่อการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน
หลังจากที่เราทราบแล้วว่าแต่ละภาระงานในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง จำเป็นจะต้องมีขีดความสามารถใดบ้างในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ การวางแผนจัดทำขีดความสามารถจะต้องให้มีความชัดเจน มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถที่องค์การกำหนด การสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Competency เป็นเรื่องสำคัญและจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม
คำถาม
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไร
ตอบ : จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมี
จริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะน าไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงาน
ซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่ง
หลักการที่นิยม คือ
 หลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการคือ
-ความรับผิดชอบ คือผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตส านึก
รับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและ
ประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระท า
- หลักคุณธรรม คือผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน
อดทน และมีระเบียบวินัย
- หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้และร่วม
ตัดสินใจในการพัฒนาหรือด าเนินการในงานต่างๆขององค์กร
- หลักความคุ้มค่า คือผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจ ากัดให้มีการใช้อย่าง
ประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักความโปร่งใส คือผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวกและเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความ
ถูกต้องในการบริหารและการด าเนินงาน
- หลักนิติธรรม คือผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และ
ต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้
ที่เกี่ยวข้อง
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
จากรูปแบบลักณะการบินของห่าน เป็นรูปตัว V ซึ่งเป็นแนวเฉลียงออกมาด้านข้าง คล้ายปีกของเครื่องบิน ที่มีการต้านแรงลมปะทะ เช่นเดียวกับฝูงห่าน ที่บินแผ่รัศมี เป็นแนวอย่างมีระเบียบ และแบ่งช่องแนวระยะห่าง ได้อย่างพอเหมาะ พอดี อีกทั้ง ยังมีห่านตัวบนสุด เป็นจ่าฝูง บินนำร่อง เหินเวหาบนกลางนภา โดยมิหวั่น ต่อพลังแรงต้านจากลม และแสงแดด ที่แผดเผา หรือแม้กระนั้น ไม่ว่าจะร้อน หรือหนาว เมื่อห่านกำหนดให้ตัวเอง ต้องนำพาขบวนฝูงบิน ในกลุ่มตัวเองออกมาแล้ว ห่านเหล่านั้นที่
ลำเลียงตัวเอง บินเรียงรายเป็นแถวทิว อย่างนี้แล้ว
เจ้าห่านทั้งหลาย ก็ต้องพยายาม บินไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งนั้นให้ได้
การบินเหินเวหา ท่ามกลาง การบิน ที่ต้องใช้พลังแรงกาย
อันหนักหนานี้เอง ทำให้ห่านผู้นำ ย่อมอ่อนล้าลง และต้องยอมถอยตัวเอง ลงจากตำแหน่งผู้นำการบิน ลงมาเป็นผู้ที่คอยมองอยู่ ระยะห่างออกไป และยังอยู่ในแนวเส้นการบิน อย่างเป็นระเบียบ ในขณะที่ห่านตัวนึง บินออกจากแนวบินไป ก็ทำให้ยิ่งตัองใช้พลังมากขึ้น เพราะไม่ปักห่านตัวอื่นๆ ที่เป็นเสมือน รั้วข้างๆ ที่คอยพยุงไม่ให้ลมพุ่ง มาปะทะที่ตัวห่านที่ออกนอกเส้นทาง บินเพียงลำพัง สุดท้ายก็ต้องเร่งให้เข้ากับฝูงบิน


คำถาม
2.1 อธิบายประโยชน์ ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประโยชน์ของารพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ตอบ : กระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งพนักงานยังเกิดการพัฒนาศักยภาพด้วย โดยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กรนั้นอาจทำได้หลายวิธีหรือหลายกระบวนการตั้งแต่การฝึกอบรม,การศึกษาผ่านการเรียนการสอนที่จริงจัง,การออกไปดูงานนอกองค์กร,ไปจนถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งเมื่อพนักงานได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ส่งผลให้องค์กรพัฒนาและประสบความสำเร็จตามไปด้วยได้
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
สมรรถนะของบุคลากรในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.สมรรถนะหลัก(Core Competency)
สมรรถนะหลักของบุคลากร หมายถึงสมรรถนะที่กาหนดขึ้นจากวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ขององค์การ เพื่อสะท้อนความต้องการขององค์การที่มีต่อบุคลากรทุกคนในเรื่องความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมทั้งอุปนิสัยของบุคลากร เช่น การศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถ ในการแก้ปัญหา การมี ความคิดริเริ่มและการพัฒนานวัตกรรม ความมุ่งมั่นในการผลิตและการให้บริการลูกค้า ความสามารถในการ ทางานเป็นทีม ความสามารถในการสื่อสารและการมีมนุษย์สัมพันธ์ สมรรถนะหลักนี้บุคลากรทุกคนขององค์การ จะต้องรับรู้และนาไปปฏิบัติเพื่อให้องค์การประสบความสาเร็จตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กาหนดไว้
2.สมรรถนะด้านการบริหาร(Managerial Competency) สมรรถนะด้านการบริหารเป็นความสามารถด้านการบริหารจัดการของบุคลากรทุกระดับซึ่งรวมถึงระดับพนักงาน ด้านที่จะทาให้การทางานประสบความสาเร็จ ซึ่งแตกต่างกันไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายขององค์การที่กาหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ขององค์การซึ่งเป็นสมรรถนะหลักของบุคลากรทุกคน
3. สมรรถนะ ตำแหน่งงาน (Functional Competency) สมรรถนะตามตำแหน่งงานเป็นความสามารถตามตำแหน่งงานของบุคลากรแต่ละคนจะแสดงความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และอุปนิสัยของตนเองซึ่งแตกต่างกันตามตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ เช่น พนักงานเย็บเสื้อ พนักงานบัญชี วิศวกรไฟฟ้า ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการโรงงาน กรรมการผู้จัดการ เป็นต้น
สรุป. การเพิ่มขีดความสามารถ (capability) ขององค์การด้วยการพัฒนาบุคลากรของบทความนี้จะเริ่ม จากการวัดสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรแต่ละคนในองค์การในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้านได้แก่ สมรรถนะหลัก สมรรถนะด้านการบริหาร และสมรรถนะของบุคลากรแต่ละคนและสมรรถนะของ บุคลากรโดยรวมในแต่ละด้านข้างต้นเพื่อเทียบกับสมรรถนะที่คาดหวังหรือสมรรถนะที่เป็นเป้าหมายขององค์การ สาหรับนาไปในการปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลากรแต่ละคนหรือบุคลากรโดยรวมอันจะนาไปสู่การเพิ่มขีด ความสามารถขององค์การได้ตามระดับที่ต้องการหรือสามารถแข่งขันกับองค์การที่เป็นคู่แข่งที่สาคัญได้
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
1.1 รศ.ดร.นิตยา เจรียงประเสริฐ กล่าวว่า จริยธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากจริยธรรมของผู้บริหาร หากผู้บริหารมีจริยธรรมและมีคุณธรรมแล้วก็จะนำไปสู่การบริหารงานภายในองค์กร รวมถึงจริยธรรมในตัวของพนักงานซึ่งผู้บริหารต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานภายในองค์กรโดยยึดหลักคุณธรรมและความเท่าเทียมกัน ซึ่งหลักการที่นิยม คือหลักธรรมาภิบาล มี 6 ประการคือ
1) ความรับผิดชอบ คือผู้บริหารต้องตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์กร สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาน ตลอดจนใส่ใจในปัญหาของสังคมและประเทศ มีความกล้าหาญที่จะรับผิดชอบผลจากการกระทำ
2) หลักคุณธรรม คือผู้บริหารต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน และมีระเบียบวินัย
3) หลักการมีส่วนร่วม คือ ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหรือดำเนินการในงานต่างๆขององค์กร
4) หลักความคุ้มค่า คือผู้บริหารต้องมีการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีการใช้อย่างประหยัด คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5) หลักความโปร่งใส คือผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบหรือเข้าถึงได้สะดวกและเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการบริหารและการดำเนินงาน
6) หลักนิติธรรม คือผู้บริหารต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และต้องมีการออกกฎระเบียบในการบริหารงานในองค์กรที่ทันสมัย เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ทั้งผู้บริหาร และบุคลากรจะต้องมีจริยธรรมและมีคุณธรรมในการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความยุติธรรมกับทุกฝ่าย และดำเนินงานในหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างสูงสุด

1.2 การบินของฝูงห่าน สู่การทำงานเป็นทีม เป็นหลักการผลัดกันนำ ผลัดกันตาม โดยสามารถเปรียบเทียบกันตามลักษณะต่าง ๆ ของการบินได้ดังต่อไปนี้
1) การบินรูปตัว V ที่มีผู้นำฝูงบินนำแล้วตัวอื่นๆ บินตามแบบเยื้องๆ การบินแบบนี้พิสูจน์แล้วว่า การกระพือปีกของนกตัวหน้าจะมีเกิดแรงพุ่งไปด้านหลังช่วยพยุงให้นกตัวที่บินตามใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร
2) ถ้าเมื่อใดที่นกผู้นำฝูง ซึ่งตัวนี้จะเหนื่อยที่สุด แล้วทำให้เกิดอาการอ่อนล้า ก็จะบินถอยมาเป็นตัวตามและจะมีตัวอื่นบินขึ้นไปนำแทน เปรียบเสมือนในหนึ่งองค์กรทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้เสมอตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
3) ขณะที่บินฝูงห่านจะร้องเสียงดัง เหมือนการส่งสัญญาณการเคลื่อนขบวนอย่างพร้อมเพียงในระดับความเร็วที่เหมาะสมทั้งตัวอยู่ข้างหน้าและตัวหลังสุด เปรียบเสมือนการทำงานของคนในองค์กรต้องเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การทำงานมีทิศทางไปในทางเดียวกันตลอดทั้งองค์กร
4) หากมีนกบางตัวแหกฝูง หรือตัวที่มีปัญหา บินออกไปบินเดี่ยวจะบินไปได้ไม่นานจะอ่อนแรง เพราะต้านแรงลมไม่ไหว ก็จะกลับเข้าสู่ฝูงอีกครั้งเพื่ออาศัยแรงยกในที่สุด เปรียบเสมือนคนในองค์กรจะต้องมีความสามัคคีกัน เพราะสามัคคี คือ พลังที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ
5) เมื่อใดก็ตามที่นกบางตัวบาดเจ็บ บินตามไปไม่ไหวต้องลงสู่พื้นเพื่อรักษาตัวเอง จะมีเพื่อนนกบินตามลงมาเป็นเพื่อนและคอยจนกว่านกที่ป่วยจะแข็งแรง/หรือตาย จึงบินกลับฝูง เปรียบเสมือนความเอื้ออาทรระหว่างเพื่อนร่วมงานในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร
สรุป คือ การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ภารกิจขององค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.1 ภานุวัฒน์ แสงทอง (2557: 9) ได้กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ประกอบด้วย การพัฒนาให้มีความรู้ (Knowledge) การพัฒนาให้มีความเข้าใจ (Understanding) การพัฒนาให้มีทักษะความชำนาญ (Skill) และการพัฒนาให้มีทัศนคติที่ดี (Attitude) ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีประโยชน์ต่อองค์กร สรุปได้ดังนี้
1) ช่วยทำให้ระบบและวิธีปฏิบัติงานมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น มีการติดต่อประสานงานดียิ่งขึ้น
2) ช่วยทำให้เกิดการประหยัด ลดความสิ้นเปลืองของวัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
3) ช่วยลดระยะเวลาของการเรียนรู้งานให้น้อยลง
4) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ ในการตอบคำถามหรือให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
5) ช่วยกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
6) ช่วยทำให้บุคคลนั้น ๆ มีโอกาสได้รับความรู้ ความคิดใหม่ ๆ เป็นคนทันสมัยต่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ
สรุปได้ว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในบรรดาทรัพยากรทั้งมวลในองค์กร เมื่อทรัพยากรมนุษย์ได้รับการพัฒนาจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากร ส่งผลให้องค์กรเกิดความเติบโต และการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรกำหนด

2.2 แนดเลอร์ (Nadler, 1980: 4–5) ได้กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องของการนำกิจกรรมการพัฒนามาใช้กับทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อให้เกิดผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งแบ่งกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1) การฝึกอบรม (Training) มีจุดเน้นอยู่ที่งานของพนักงานในขณะนั้นที่ต้องการเรียนรู้และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับความสามารถในการทำงาน เพื่อมุ่งให้สามารถทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ ได้หรือทำงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถที่มีความยากมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อผู้ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วจะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที หรือมีพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการขององค์กร
2) การศึกษา (Education) จุดเน้นของการศึกษาก็เพื่อเตรียมพนักงานให้มีความพร้อมที่จะทำงานเฉพาะกิจ หรือกลุ่มงานบางอย่างตามความต้องการขององค์กรในอนาคต แต่จะแตกต่างจากการฝึกอบรม เนื่องจากเป็นการเตรียมเรื่องงานในอนาคตที่แตกต่างไปจากงานปัจจุบัน การศึกษาที่องค์กรใช้เสมอ ๆ ก็เพื่อเตรียมพนักงานเพื่อการเลื่อนตำแหน่งงาน หรือทำงานในหน้าที่ใหม่ การศึกษามักจะดำเนินการโดยใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนพัฒนาพนักงานที่ชัดเจนรองรับ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่า เนื่องจากเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งขององค์กรในการเตรียมพนักงานของตนให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานให้กับองค์กรในอนาคต
3) การพัฒนา (Development) จุดเน้นของการพัฒนาที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการขององค์กรที่ต้องการเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การพัฒนามีความเกี่ยวข้องกับการจัดโปรแกรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์แก่บุคคลขององค์กรเพื่อให้พนักงานเหล่านี้มีความพร้อมที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามความต้องการขององค์กรนั่นเอง
สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนา การกำหนดสมรรถนะ และการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการพัฒนาพฤติกรรมของบุคลากรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Nan. said…
น.ส. สรัญณัฎฐ์ 63423471003
1.1 ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างไรในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่าจริยธรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ทุกคนจะต้องมีโดยประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม ละเว้นในสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติไม่ทำความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สำหรับองค์การธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระยะยาวอย่างยั่งยืนนั้น จะเป็นองค์ผู้บริหาร หัวหน้างาน เป็นผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งด้านการงาน สังคม และส่วนตัว เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกกว้างมีความคิดในการพัฒนาเปลี่ยนแปลง แสวงหาโอกาสที่จะทำ มีพลังและคล่องแคล่วว่องไว ขยันหมั่นเพียรซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรมประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีมีมนุษยสัมพันธ์พัฒนาคุณภาพตนเองอยู่ตลอดเวลา ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาโดยใช้คุณธรรมให้ความยุติธรรม จะต้องมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ดูแลทุกคนให้มีความสุขในการทำงานร่วมกัน และรวมใจในการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ สร้างคนทุกคนให้เป็นคนดีคนเก่งมีวินัย เคารพกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ 63423471003
1.2 นักศึกษาพิจารณาการบินของห่านแล้วเปรียบเทียบกับการทำงานเป็นทีม
เทคนิคการทำงาน: ทฤษฎีผลัดกันนำ ผลัดกันตามหลักการบินของห่านไซบีเรียสอนถึงการทำงานเป็นทีม และสอนวิธีการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ อย่างยุติธรรม หน่วยงานที่ต้องการความอยู่รอดและพัฒนาขององค์กรในยามที่ทรัพยากรมีอยู่จำกัดจำเป็นต้องมีร่วมแรงร่วมใจบินกันไปเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพ ภายใต้ขีดความสามารถที่มี โดยที่ทุกฝ่ายต่างก็พอใจ ไม่เกิดความขัดแย้งและยังได้รับการพัฒนาความสามารถในตัวเองอยู่ตลอดเวลากล่าวในช่วงฤดูหนาวห่านไซบีเรียจะพากันอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อไปหากินในทำเลใหม่ที่อบอุ่นกว่า เนื่องจากในอาณาบริเวณแถบไซบีเรียนั้นเต็มไปด้วยน้ำแข็ง อากาศหนาวจนอุณหภูมิติดลบ ด้วยความที่ถิ่นที่อยู่ของพวกมันอากาศหนาวจนหากินลำบากและไม่มีอาหารหลงเหลือเพียงพอสำหรับรองรับความเป็นอยู่ พวกห่านจึงต้อง ขวนขวาย หาทางออกด้วยการบินอพยพหนีกันไปเป็นฝูงร่วมหลายร้อยตัวด้วยสภาพที่ต้องเจอได้แก่ ระยะทางการบินหลายร้อยไมล์ การบินด้วยความเร็วอย่างสม่ำเสมอและไม่ได้หยุดพักผ่อน ณ บริเวณใดที่บินผ่านเลยแม้แต่นิดเดียว อาหารและกำลังที่จำกัด พวกมันมีวิธีการทำการกันอย่างไร? โดยไม่หยุดพักและบินกันไปอย่างสามัคคีเป็นกลุ่มก้อนข้อเท็จจริง ห่านทุกตัวมีวิธีการบินที่กางปีกเป็นรูปตัว V ห่านที่เป็นจ่าฝูง จะบิน นำ ห่านตัวอื่นๆ เพื่อต้านกระแสลม ลดแรงกระแทกจากลมที่พัดเข้ามาตลอดระยะการบินจากการพิสูจน์พบว่าการบินไปพร้อมๆ กันเป็นกลุ่มก้อนรูปตัว V อย่างพร้อมเพรียงกัน ห่านที่เป็นจ่าฝูงจะช่วยสามารถช่วยต้านลดแรงกระแทกและลดความเร็วที่ลมจะเข้ามาปะทะห่านตัวอื่นๆ ที่บินถัดกันไปเป็นลำดับ มากกว่าที่ห่านตัวใดตัวหนึ่งจะบินกันอย่างกระจัดกระจายหรือบินไปตัวเดียวหรือบินเดี่ยวๆบทเรียน จากการบินกางปีกเป็นรูปตัว V ของฝูงห่านแสดงถึงการออกแรงอย่างเต็มที่ของ ห่านจ่าฝูง รวมถึงทำงานกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่สมาชิกในทีม ต้องมีการรับรู้ทิศทางการบินอย่างพร้อมเพรียงกันว่า ณ ขณะนี้การบินกันไปเป็นกลุ่มจะมีความเร็วเท่าไหร่? และมีทิศทางการบินอย่างไรผู้บริหารจึงควรสื่อสารเป้าหมายในการทำงานและมีการสื่อสารกำกับผู้ร่วมงานในทีมงานทั่วทุกคนอยู่ตลอดเวลา ว่าขณะนี้อยู่ในระยะบินช้า บินเร็ว บินสูง บินต่ำ จะทำให้เกิดความเข้าใจใน ทิศทาง การทำงาน (Direction) และเกิดความเข้าใจกำหนดบทบาทช่วยเหลือซึ่งกันและกันข้อเท็จจริง เมื่อมีห่านตัวใดตัวหนึ่งในฝูงรู้สึกเหนื่อยหรือบินด้วยความเร็วที่ ต่ำลง จากระดับการบินปกติ แรงต้านจากกระแสลมจะเกิดขึ้น ทางออกคือเคลื่อนย้ายไปบิน พยุงตัว หรือพักผ่อนอยู่ด้านหลังของแถว ซึ่งใช้กำลังและแรงในการบินน้อยกว่าการบินของห่านในตำแหน่งอื่นๆส่วนห่านตัวอื่นๆ ที่ยังแข็งแรง ควรถูกขับเคลื่อนมาบินในตำแหน่ง ด้านหน้า เพื่อรับกับการฝ่าแรงของกระแสลมตลอดระยะเส้นทางที่ยาวไกล บทเรียน ลักษณะการ บินพยุงตัว หรือการ บินสลับตำแหน่งหน้า - หลัง เป็นตัวแทนของการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันว่า ในชีวิตการทำงานต้องมีการ หยุดเพื่อพักผ่อน หรือ ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้ตาม เนื่องจาก ไม่มีห่านตัวใดที่สามารถบินด้วยความเร็วสูงคงที่ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา และในการทำงานเป็นทีม ก็ไม่มีห่านตัวใดที่ บินช้า และกินแรงห่านตัวอื่นๆ โดยการบินอยู่ในตำแหน่งท้ายโดยตลอด
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ 63423471003
(ต่อ)ข้อเท็จจริง วิธีการบินของห่านข้อนี้จะทำให้เพื่อนร่วงงานในทีม ผลัดกันเป็นผู้ให้ และ ผลัดกันเป็นผู้รับ รวมไปถึงผลัดกันเป็นผู้นำและผลัดกันเป็นผู้ตามช่วยกันรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายมาอย่างเต็มใจตลอดเวลา ความจริงอีกข้อหนึ่ง คือห่านทุกตัวต้องมีการพักผ่อนเพื่อออมแรงในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ตรงกับความเป็นจริงที่ว่าสภาพของห่านที่บินอย่างหักโหมตลอดเวลาโดยไม่รู้จักจังหวะในการพักผ่อน ห่านตัวนั้นในช่วงเวลาที่เหนื่อยอาจจะหมดแรงและอยากจะ หยุดบิน ไปเลย ซึ่งส่งผลกระทบให้กับการทำงานเป็นทีมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตการทำงาน ห่านที่ รู้จักวิธีการทำงาน ที่ถูกสุขอนามัยในระยะยาวและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบินอย่างสม่ำเสมอการทำงานเป็นทีมต้องรู้จักจังหวะเวลาที่จะ บินผ่อน หรือจังหวะเวลาการบินแบบ ออกกำลังทุ่มเท อย่างเต็มที่ ห่านทุกตัวจึงจะสามารถมุ่งหน้าอพยพย้ายถิ่นจะมีการหมุนเวียนสลับกันและบินสลับตำแหน่งกัน ด้วยวิธีการ บินสลับตำแหน่งกันไป บทเรียน การทำงานร่วมกันไปเป็นทีม ทีมงานทุกคนต้องมีส่วนช่วยเหลือในผลงานกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน ไม่มีใครที่สามารถทำงานหนักตลอดเวลาโดยที่ไม่มีช่วงเวลาในการพักผ่อนและก็ต้องไม่มีห่านตัวไหนในทีมที่สามารถบินอย่างเรื่อยๆ สบายๆ เหมือนบินอยู่ตัวเดียวโดดๆ บนฟ้า ในขณะที่ฝูงห่านตัวอื่นๆ กำลังบินขับเคลื่อนฝูงห่านมุ่งไปสู่หนทางข้างหน้าด้วยความเร็วสูงอย่างคงที่ตลอดระยะทางอันยาวไกลอย่างพร้อมเพรียงกัน สาเหตุที่ฝูงห่านต้องบินสลับตำแหน่งกันไปเกิดจากว่าตำแหน่งจ่าฝูงเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้แรงและพละกำลังมากที่สุดต้องมีการบินสลับบ้างบางจังหวะเพื่อการพักผ่อน การบินไปเป็นกลุ่มก้อนสามารถสะท้อนถึงความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ห่านตัวอื่นๆ ก็ต้องมีการใช้กำลัง ความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันห่านทุกตัวต่างก็รอคอยอย่างมีความหวังว่าหนทางข้างหน้ายังมีแหล่งน้ำและอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ข้อเท็จจริง วิธีการบินเฉพาะตำแหน่งของห่านแต่ละตำแหน่งมีบทบาทและความรับผิดชอบไม่เท่ากัน การที่ห่านที่อยู่ตำแหน่งด้านหน้าที่เป็น จ่าฝูง ต้องใช้กำลังในการบินและต้องออกแรงมากที่สุดตลอดเวลาห่านที่บินอยู่แถวหลังก็ยังสามารถ บินพยุงตัวหรือบินกางปีกอยู่เฉยๆ ในลักษณะผ่อนแรง วิธีการแบบการบินสลับตำแหน่งกันเป็นกระบวนการทำงานเป็นทีมที่สอนให้ฝูงห่านต่างฝ่ายต่างรับรู้ความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมายซึ่งกันและกันอย่างทั่วถึง หากการทำงานเป็นกลุ่มไม่เคยมีปรากฏการณ์การผลัดเปลี่ยนงานหมุนเวียนความรับผิดชอบกัน ห่านที่บินอยู่ข้างหลังก็จะอยากเปลี่ยนมาบินในตำแหน่งข้างหน้า ขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่งข้างหน้าก็อยากย้ายไปกำกับอยู่ข้างหลัง บทเรียน การกำหนดวิธีการบินเฉพาะตำแหน่งของห่าน สอนให้รู้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มต้องมีการสื่อสารบทบาทและหน้าที่และกำหนดความรับผิดชอบซึ่งกันและกันตามความสามารถและตระหนักถึงคุณค่าของตำแหน่งการบินของห่านแต่ละตัวว่ามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลงานกันเป็นทีม เพราะหากไม่มีการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญและหน้าที่ใน การบินไปเป็นลักษณะรูปตัว V สลับกันไปแต่ละตำแหน่ง ห่านแต่ละตัวจะไม่รู้คุณค่าของตำแหน่งที่ตัวเองบินอยู่ และอยากที่จะบินเรียงแถวหน้ากระดาน เนื่องจากความต้องการกำกับการบินและต้องการได้รับการยอมรับด้วยความเข้าใจที่ผิดว่าตำแหน่งจ่าฝูง เป็นตำแหน่งที่สามารถควบคุมทิศทางการบินของฝูงห่านทั้งหมดและบินได้ง่ายที่สุด ในขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่งจ่าฝูงก็อยากย้ายไปบินอยู่ข้างหลังเนื่องจากไม่สามารถบินต้านกระแสลมโดยไม่หยุดพักตลอดเส้นทางการบิน จึงเกิดการบริหารงานเป็นทีมอย่างกลับข้างกัน
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ 63423471003
2.1 อธิบายประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน
2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร
4.ทำให้พนักงานรักในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ รวมถึงพัฒนาการในการทำงาน และสร้างคุณค่าให้กับพนักงานตลอดจนงานที่ทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
5.พนักงานสามารถค้นพบการแก้ปัญหาต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจค้นพบความสามารถในการทำงานของตัวเองได้มากขึ้นอีกด้วย
6.ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี สร้างความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นทีม รวมถึงช่วยให้ระบบการทำงานแบบองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
7.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้ เป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการพัฒนาศักยะภาพ และช่วยสร้างเป้าหมายที่ดีให้กับองค์กรเพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
8.สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในองค์กร ตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้
9.ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาบุคคลากรในอนาคตได้
10.สร้างอนาคตให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงองค์กรเอง
Nan. said…
2.2 อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในองค์การ
1. ขีดความสามารถหลักขององค์การ (Core Competency) ขีดความสามารถที่เป็นแกนหลักขององค์การ เป็นขีดความสามารถที่ทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกันเนื่องจากความสามารถและคุณสมบัตินี้เป็นตัวกำหนด หรือผลักดันให้องค์การบรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่วางไว้ ตลอดจนเป็นสิ่งสะท้อนถึงค่านิยมที่คนในองค์การมีและถือปฏิบัติร่วมกัน เช่นการมุ่งเน้นที่ผลงาน
2. ขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานขีดความสามารถของพนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานจะต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามระดับของความรับผิดชอบหรือตามสายการบริหาร เช่น ภาวะผู้นำการจัดลำดับความสำคัญของงานความสามารถพิเศษ
3. ขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานขีดความสามารถที่กำหนดไว้สำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะของงานจะมีความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ ๆ ได้รับมอบหมาย เช่นความสามารถในการเจรจาต่อรอง

Popular posts from this blog

จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 1 ภาคการศึกษาที่ 3/2563 (เสาร์ที่ 24 - อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564) 44/01

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ สัปดาห์ที่ 3 16-17 พ.ค.2563

หลักรัฐประศาสนศาสตร์ Module 1; ภาค/ ปีการศึกษา 3/2564