การเรียนการสอน วันเสาร์ที่ เสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2563 : การพัฒนาองค์การ

นักศึกษา ศึกษาเอกสารที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่ 

ก่อนตอบคำถามให้ศึกษาเอกสารให้เข้าใจ พร้อมทั้งกดติดตามและให้ใส่ชื่อ รูปภาพลงที่มุมกล่องข้อความเพื่อจะได้ทราบว่านักศึกษาคนใดเป็นผู้ตอบคำถาม และสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง (ดูตัวอย่างของภาคการศึกษาที่ผ่านมา)

ตอบคำถามลงในกล่องข้อความด้านล่าง (Post Comment) โดยคลิกที่ Post Comment กล่องข้อความจะปรากฏให้เห็นนักศึกาษาเขียนตอบลงในกล่องข้อความ)

1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด

        1.1  จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ 
          (นักศึกษาอาจยกตัวอย่างวิกฤติทางสังคมมาเป็นกรณีศึกษา  (ควรใช้เวลาศึกษาเอกสาร 1.30 ชม. และเวลาทำแบบฝึกหัด 1.30 ชม.)

2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด

    2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม 

   2.2   อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
   2.3   อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ

    (นักศึกษาควรใช้เวลาศึกษาเอกสารประมาณ 2 ชม. และเวลาในการทำแบบฝึกหัด 1.30 ชม.)
 

Comments

ส่งการบ้านไม่เกินเสาร์อาทิตย์หน้า สภาพแวดล้อมกับระบบการบริหารองค์การ
1.1จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบต่อการบริหารองค์กร
พงศ์สัณห์ศรีสมทรัพย์(2522) การศึกษาระบบสภาพแวดล้อมขององค์การใดๆนั้น เป็นไปเพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างงระบบสภาพแวดล้อมกบัระบบการบริหารองค์การเป็น การศึกษาเพื่อประมวลข้อมูลข่าวสารประกอบการตดั สินใจในการกาหนดนโยบายขององค์การ และเป็นการระดมวัตถุที่จาเป็นเพื่อป้อนให้กบัระบบบริหารองค์การ
ระดับผู้ปฏิบัติการในองค์การ แยกได้ 3 ระดับ คือ
1. ผู้ปฏิบัติงานระดับสูง ทาหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อมของ
องค์การเพื่อประกอบการตดั สินใจ และเพื่อกาหนดเป็น นโยบายองค์การนอกจากนี้ยัง มีการกาหนด แผนในการดาเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่ตัง้ ไว้อีกด้วย ซึ่งผู้ปฏิบัติงานระดับนี้จะ ะมี ความสัมพันธ์กบัสิ่งแวดล้อมมากที่สดุ
2. ผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ทาหน้าที่จดั ให้เป็นไปตามแผน ตลอดจนควบคุมและ ประสานงาน กาหนดวิธีการปฏิบัติงาน ตรวจสอบการทางาน ประเมินผลการทางาน และเป็นผู้ นาเอาเทคโนโลยีที่จาเป็นเข้ามาใช้ในการดาเนินงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานระดับนีจะมีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมบางส่วน
3. ผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทำหน้าที่ปฏิบัติงานทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกบั การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้อยู่รูปของสินค้าและบริการซึ่งผู้ปฎิบัติงานในระดบันีจ้ะมีหน่วยงาน ที่มีหน้าที่โดยตรงในการติดต่อกบั ระบบสภาพแวดล้อม เพื่อจัดหาวัตถุที่จาเป็นให้กับองค์การ และนาองค์การไปสัมผัสกับสภาพแวดล้อมซึ่งเรียกหน่วยงานนี้ว่า Boundary – Spanning Components เช่น หน่วยจัดซื้อ หน่วยสารความคิดเห็นของผ้ใช้บริการ หน่วยประชาสัมพันธ์ เป็นต้น นอกจากนี้Boundary – Spanning Components ยงั หมายความไปรวมไปถึงหน่วยงานที่ มีลักษณะเป็น Staff ที่ทางานช่วยเหลือผู้ปฎิบัติงานหลัก ในองค์การอีกด้วย เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ฝ่ายวิจัยค้นคว้าเป็น

December 26,2020 at 2:43 pm
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
1.1จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบต่อการบริหารองค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
1.อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อบรรยากาศขององค์การธุรกิจโดยอิทธิพลทางการเมืองจะเป็นตัวช่วยเหลือและส่งเสริมกิจกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้น ตลอดจนมีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นต้น
2.อิทธิพลทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจจะเกี่ยวของกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ บางประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น ประเทศจีนและประเทศคิวบาจะมีการวางแผนทางเศรษฐกิจและควบคุมโดยรัฐบาลกลาง ในประเทศเหล่านี้รัฐบาลจะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับเจ้าของกิจการโรงงานอุตสาหกรรมผลผลิตการซื้อวัตถุดิบราคาและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ
3.อิทธิพลทางเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆ และทำให้องค์การมีเครื่องมือและโอกาสที่จะผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.อิทธิพลทางสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย ค่านิยม ทัศนคติ ความต้องการและลักษณะเฉพาะของคนในสังคมที่องค์การไปประกอบการอยู่ เชื่อกันว่าค่านิยมเป็นตัวกำหนดรูปแบบทัศนคติของบุคคลและของกลุ่มบุคคล ค่านิยมและทัศนคติเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลและมีอิทธิพลต่อความปรารถนาของบุคคล ซึ่งองค์การธุรกิจต่างๆ จะต้องพยายามทำสินค้าและบริการมาสนองให้
5.อิทธิพลจากนานาประเทศ มีอิทธิพลต่อคนและองค์การเรียกว่า อิทธิพลจากนานาประเทศ บริษัทที่ทำธุรกิจกับประเทศอื่นจะรู้สึกถึงผลกระทบของอิทธิพลจากนานาประเทศหลายประการ รวมทั้งการขึ้นลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่สำคัญมี 6 ประการคือ
1.ลูกค้า คือปัจจัยหลักที่มีความสำคัญในสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของธุรกิจคือการสร้างและการรักษาลูกค้าไว้และเป็นข้อเท็จจริงทั้งสำหรับองค์การที่หวังกำไร และองค์การที่ไม่ได้หวังกำไร และเพราะว่าลูกค้าไม่ใช่กลุ่มคนที่มีความประพฤติแบบเดียวกันตลอดเวลาองค์การจึงต้องใกล้ชิดกับลูกค้า
2.คู่แข่งขัน คือ ผู้ที่อยู่ในองค์การอื่นที่เสนอสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน หรือใช้แหล่งการผลิตที่เป็นจำพวกเดียวกันกับที่กิจการใช้อยู่ กิจการทั่วๆไปจะมีคู่แข่งขันอย่างน้อย 1 ราย
3.ผู้ขายวัตถุดิบ เป็นบุคคลหรือองค์การผู้นำส่งทรัพยากรสำหรับป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือบริการ ผู้ขายวัตถุดิบจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากในสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน
4.แรงงาน คือ ผู้คือผู้ที่มีความพร้อมจะให้ว่าจ้างไปทำงาน แรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยเฉพาะเพื่อให้มาเป็นผู้ให้บริการลูกค้า
5.กฎระเบียบ ใช้แนวทางควบคุมทางกฎหมาย หรือนโยบายที่มีผลต่อกิจกรรมขององค์การแม้ว่าพลังทางการเมืองจะเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมทั่วไป แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่นักการเมืองออกมาใช้บังคับองค์การจัดเป็นสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานด้วย เพราะกฎระเบียบเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจปฏิบัติตาม อันมีผลทันทีต่อการดำเนินการขององค์การ
6.หุ้นส่วน สภาพแวดล้อมในงานขององค์การจะรวมหุ้นส่วนเข้าไปด้วย องค์การที่ดำเนินธุรกิจร่วมกันไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการจะส่งเสริมซึ่งกันและกันให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อจากหัวข้อที่1 นาย ธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา 634234471061
ผลกระทบ
ประเภทของสภาพแวดล้อมของการบริหาร
Felix A. Nigro and Lloyd G. Nigro. (1980) สามารถแบง่ แยกระบบสภาพแวดล้อมได้ เป็ น 2 ประเภท คือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอกหรือสภาพแวดล้อมโดยท่ัวไปของการบริหารงาน
เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานในทุกๆส่วน หรือกล่าวว่าปัจจัย ดงั กล่าวมีอิทธิพลต่อองค์การรัฐทุกๆองค์การ ระดบั ความสัมพันธ์ขององค์การอาจแตกต่างกัน


ออกไป ขึ้นอยู่กับขอบเขตขอบเขต” (Boundary) ของแตล่ะองค์การ เนื่องจากปัจจัยประเภทนีเ้ป็นปัจจยั ที่ เกิดจากลักษณะร่วมกันของสังคม ดังนั้น องค์การทุก ๆประเภทที่ดารงอยู่ใน สังคมดังกล่าวจึงต้อง เผชิญและได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมประเภทนี้เสมอซึ่งได้แก่
1)เศรษฐกิจเช่น ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน
2) สังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม, ระบบชนชั้น และสถาบนั ทางสังคม, กลุ่มสังคมและครอบครัว, ประชากร, การศึกษา, ภาวะทางสุขอนามันและโภชนาการ และปัญหา สังคมต่างๆ
3) การเมือง
4) กฎหมาย
5) สภาพทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปัญหาวิกฤตการณ์ภาวะโลก
ร้ อน
6) เทคโนโลยี
7)โลกาภิวตัน์และต่างประเทศ
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงาน
และการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัย
ทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการ
ผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง
การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย ๆ
7.ปัจจัยทางกฎหมาย
แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมและ
อำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ
8. เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
9. ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1.การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การ และองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
2.การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3.การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร
กล่าวคือ นแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ เช่น การก่อให้เกิดมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
Richard Beckhard (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นความพยายามที่เกี่ยวข้องกับ 1) แผนงานที่ถูกกำหนดขึ้น 2) องค์การในภาพรวม 3) การบริหารจัดการจากผู้บริหารระดับสูง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในระดับองค์การ และ 5) เครื่องมือที่มีการวางแผนงานและถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานขององค์การ
Wendell French (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก องค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ
Michael Beer (1980) กล่าว ว่า OD กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ
Warner Burke (1982)กล่าวว่า OD เป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการนำแนวคิด การวิจัย และเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในองค์การ
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. ขั้นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา ได้แก่การพิจารณาปัญหาของ
องค์การ และพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนาองค์การหรือไม่
2. ขั้นการตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ รวมทั้งการสำรวจข้อมูลต่างๆ และสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลและนำมาพิจารณาตรวจวินิจฉัยปัญหาของ
องค์การเพื่อจะให้สามารถแยกแยะว่า สมควรจะแก้ปัญหาด้านใด
4. ขั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนหรือกำหนดทางเลือกหรือยุทธศาสตร์ หรือ
กลยุทธ์ ในการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์การในด้านต่าง ๆที่มีปัญหา
5. ขั้นปฏิบัติตามแผน เป็นการนำทางเลือก หรือยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์มาใช้ดำเนินการพัฒนา
องค์การตามแผนที่ได้วางไว้
6. ขั้นการประเมินผลการพัฒนาองค์การ เป็นการประเมินผล และติดตามผลว่า การพัฒนา
องค์การได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้หรือไม
นาย เอกรัตน์ ศรีสุวรรณ์ 63423471136
1.1จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงาน
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารจัดการ เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานในทุกๆส่วน หรือกล่าวได้ว่าปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อองค์กรทุกๆองค์การ ระดับของความสัมพันธ์ต่อองค์การอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ“ขอบเขต”ของแต่ละองค์การ
-สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงาน
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม
เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงานขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบายและประสิทธิภาพของการบริหารงาน
2.ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่
3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงานและการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร ดังนั้นหากองค์กรมีสถานะภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ย่อมส่งผลกระทบต่อการลงทุน
4.ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5.ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6.ปัจจัยทางการเมือง
เมื่อการเมืองไม่มั่นคง ทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อถือก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างมาก
7.ปัจจัยทางกฎหมาย
แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมและอำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ ในด้านความผาสุขและความปลอดภัยของประชาชน
8.เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต
9.ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน
สภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์กรสภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่างๆของรัฐ เป็นปัจจัยทีเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบการบริหารงานในแต่ละองค์การ เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อ
ระบบการบริหารขององค์การ อาจพิจารณาระบบสภาพแวดล้อมประเภทนี้ว่าเป็นระบบของทรัพยากรในการบริหาร สภาพแวดล้อมประเภทนี้ได้แก่ ทรัพยากรทางการบริหารจัดการ (4M) ซึ่งจัดเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นและเกี่ยวข้องโดยตรงในการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณวัตถุดิบ ระบบการบริหารงาน ตลอดจนกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ
2.1จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1.การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การและองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
2.การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3.การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารในแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ
2.2อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
แนวคิดการพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบโดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ
2.3อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ
-การยอมรับปัญหา สมาชิกบางคนภายในองค์การจะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน
-การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ
-การติดต่อ หมายถึง การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษา
การพัฒนาองค์การ ซึ่งมีอยู่2ลักษณะคือ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก และที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายใน
การสำรวจ เป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ
-การวิเคราะห์ปัญหาจะต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงานของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ
-การให้ข้อมูลป้อนกลับ รายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหา
ขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ
-การวางแผนดำเนินงาน เมื่อปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้วสมาชิกขององค์การนั้นๆควรจะกำหนดทางเลือกแก้ปัญหาของพวกเขาขึ้นมาเอง
-การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ เทคนิคที่ถูกนำใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล และ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกระบวนการ
-การประเมินผล การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
ประเภทและเทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล ได้แก่
-การวางแผนชีวิตและอาชีพ
-การวิเคราะห์บทบาท
-การทำให้งานมีความหมาย
-การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น
-การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ
-การพัฒนาแบบของผู้บริหาร
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล ได้แก่
-การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน
-การวิเคราะห์พฤติกรรม
-การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม ได้แก่
-การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ
-การพัฒนาทีมงาน
-การพัฒนาคุณภาพงาน
-การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์
-การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม ได้แก่
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ ได้แก่
-การออกแบบโครงสร้างขององค์การ
-การออกแบบงาน
-การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
-การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน
นาย ธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา 63423471061
2ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์กรา
2.1จงอธิบาย ถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมภายในหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะสาหรับองค์การต่างๆของ รัฐ เป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรงกบั ระบบการบริหารในแตล่ ะองค์การ เรียกได้ว่าเป็น ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การหรืออาจพิจารณาระบบ สภาพแวดล้อมประเภทนีว้า่เป็นระบบของทรัพยากรในการบริหารก็ได้สภาพแวดล้อมประเภทนีจ้ะ มีลักษณะเฉพาะที่จาเป็ นในการดาเนินการสาหรับองค์การหนึ่งๆแต่อาจจะเป็ นสิ่งที่ไม่มีความ จาเป็นสาหรับองค์การอื่นๆเลยก็ได้ เช่น วตั ถุดิบ แรงงาน บุคลากร เครื่องจกั ร (เช่น เครื่องพิมพ์) เทคโนโลยีการบริหาร กฎระเบียบขององค์การ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การแบ่งแยกประเภทของสภาพแวดล้อมอาจพิจารณาถึงระดับของความสัมพันธ์ ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมเป็นเกณฑ์เช่นแนวความคิดของEmery และTrist ที่ได้ แบง่แยกประเภทของสภาพแวดล้อมออกเป็น4รูปแบบคือ
1. Placid Randomizwd Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบการ ติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก มีลัษณะไม่คงที่แน่นอน และถือว่าเป็นการ สมุ่ (Randomized) เสียมากกว่าเช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่ร่อนเร่ ทารกในครรภ์ ซึ่งไม่คอ่ ย มีโอกาสตดิตอ่กบัโลกภายนอก


2. Placid Clutered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแตเ่ ริ่มมีการติดตอ่ ระหว่างองค์หารกับสภาพแวดล้อมมากขึน้ มีลกั ษณะเป็น Clustered คือมีการกาหนดกล่มุ หรือ ลกั ษณะเฉพาะตวั ในการติดตอ่ ขนึ้ เช่น สภาพของเด็กที่กาลงั เจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสมั ผสั กับ ระบบครอบครัว โรงเรียน
3. Disturbed – Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วย สถาบนั ทางสงั คม การตดิ ตอ่ ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมเริ่มมีความยุ่ง ยาก ซับ ซ้อน ผลของ การติดต่อเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพนึ้ ได้ เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวยั รุ่นที่ เริ่มเผชิญกบัสงัคมภายนอกเริ่มประสบปัญหาในการแยกแยะความเหมาะสมของการเข้าสมัผสั
4. Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลาผลของการติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมจะนาไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมไปสู่ใหม่เช่นสภาพการณ์ที่เกิดคลื่นยกัษ์สึนามิพายุหรือสภาพของ ระบบสังคมในปัจจุบัน การทำงานในสังคม ต้องการการวิเคราะห์ที่จะช่วยในการแจกแจงให้เห็นถึง ความถกูต้องเหมาะสม
Emery และ Trist เชื่อว่าองค์การใดๆก็ตามจะต้องเผชิญกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ของสภาพแวดล้อมที่ได้กลา่ วมา และในระยะยาวแล้วสภาพแวดล้อมขององค์การการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ Turbulent Field เสมอ
วันที่26/12/2563
ธนวัฒน์ อนุทิพย์รหัสนักศึกษา 63423471061
2.2 ให้นักศึกษา อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์กรา
แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์การ (Organizational Development)

1. ความจำเป็นของการจะต้องมีปรับปรุงหรือพัฒนาองค์การ (Need for Improvement)
1) ตัวเร่งทางธุรกิจของการพัฒนาองค์การ ได้แก่ ผู้บริโภคหรือลูกค้า (Customers) ซึ่งมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน เมื่อลูกค้าพร้อมจะจ่ายเมื่อเขาต้องการบริการหรือผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ผู้บริหารและผู้นำองค์การต้องคิดว่าธุรกิจของตนยังสามารถให้บริการที่ตรงกับความต้องการที่ลูกค้าปรารถนาได้หรือไม่ มิฉะนั้น ก็ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงองค์การของตน
2) สภาวะการณ์ที่มีคู่แข่งหรือมีการแข่งขันเกิดขึ้น กลวิธีในการดำเนินธุรกิจที่ดีและใหม่กว่า ย่อมถูกนำมาใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค องค์กรธุรกิจควรปรับเปลี่ยนวิธีการของตนให้พร้อมรับกับเหตุการณ์ และสามารถแข่งขันได้ทุกเมื่อ
3) เหตุการณ์ในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรสนิยมของผู้บริโภค เทคโนโลยีหรือรูปแบบของการสื่อสารซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี่สารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี่สื่อสารโทรคมนาคม รวมไปถึงเทคโนโลยี่การผลิตและปฏิบัติการ (Production and Operations Technology) และเทคโนโลยี่การบริหารงาน (Management Technology) และสภาวะของโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่กำลังไปสู่ยุคสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) ทำให้ผู้นำขององค์การต้องใช้แนวคิด หลักการและวิธีการในการบริหารจัดการที่จะสามารถนำมาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด การพัฒนาและปรับปรุงประเด็นต่างๆ เหล่านี้มักจะมีผลเชื่อมโยงถึงกันอย่างใกล้ชิดและฉับพลัน และมีผลทำให้มุมมองของผู้บริหารและผู้นำในการจัดการองค์การต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
26/12/2563
ธนวัฒน์ อนุทิพย์ รหัสนักศึกษา63423471061
2.3
ให้นักศึกษา อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงขององค์การ
การพัฒนาองค์การ ถือว่าเป็นโครงการที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับพนักงานและองค์การซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออนาคตขององค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอก เนื่องจากการพัฒนาองค์การ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านของผู้ถูกกระทำและผู้แสดงปฏิกิริยาตอบสนองรวมถึงผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อระบบสังคม
การเปลี่ยนแปลงองค์การ (Organization Change) เป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์การหรือพยายามปรับองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและการจัดการสร้างวัฒนธรรมองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ ในทิศทางที่ต้องการและระดับที่เหมาะสม
องค์การในยุคโลกาภิวัตน์กำลังแสวงหาประสิทธิภาพของงานและความมีอิสระของมนุษย์เพิ่มด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงานระหว่างกัน มีบรรยากาศของการไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น กล้าเสี่ยงในการทำงาน และมีความรู้สึกมั่นใจในอันที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จของงานอย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการเปลี่ยนแปลงขององค์การอาจจะพบกับการเสี่ยง ความไม่มั่นคง การท้าทาย ความกลัวการสูญเสีย เพื่อจะเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้ ทักษะ ค่านิยมและต้องรู้สิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างมีแผนในกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือระบบของการพัฒนาองค์การ และอย่างน้อยต้องคำนึงถึงหลักทั่วๆ ไป 5 ประการ ดังต่อไปนี้
• การเพิ่มพูนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่การทำงาน
• ทัศนคติ: ยอมรับความรู้สึกใหม่ๆ อันจะมีส่วนร่วมให้งานระหว่างบุคคลสำเร็จ
• ค่านิยม: การยอมรับค่านิยม ความเชื่อ ข้อมูล ร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในองค์การ
• ยุทธศาสตร์และการบริหารเชิงกลยุทธ์

นอกจากนั้น ยังมีคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาองค์การด้านอื่นๆ อีก เช่น ใครจะเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนบรรยากาศของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นอย่างไร
ผู้บริหารได้ค้นพบว่า การพัฒนาองค์การจะเกี่ยวข้องกับระบบองค์การทั้งหมดและเกี่ยวข้องกับความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนทั่วทั้งองค์การ เพื่อต่อสู้กับสภาพปัญหาต่างๆ ขององค์การผู้บริหารจะไม่สามารถแก้ปัญหาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การ จำเป็นต้องกำหนดเป็นแผนระยะยาว และต้องมีกลยุทธ์ในการพัฒนาบรรยากาศขององค์การ
ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงจะมีความไว หรือ ความเร็ว (Rapidly Change) เข้ามาเกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผลการปฏิวัติระบบเทคโลโลยีสารสนเทศ การสื่อสารไร้พรมแดน และโทรคมนาคม การเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เทคโนโลยี ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ มีการไหลจากแหล่งที่มีความมั่งคั่ง เจริญงอกงาม หรือแหล่งที่มีความแข็งแกร่งของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า หรือประเทศร่ำรวย ไปสู่ประเทศด้อยพัฒนา โดยถือว่าเป็นการจำยอมที่จะต้องเปลี่ยนแปลงและรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่หากสถานภาพการพัฒนาคน การศึกษา สังคม และการเศรษฐกิจไม่ก้าวหน้าหรือตามไม่ทัน ย่อมทำให้ช่องว่างระหว่างความร่ำรวยกับความยากจนเพิ่มสูงมากขึ้น รวมทั้งปัญหาทางสังคมก็จะเกิดขึ้นมากตามแนวคิดและทฤษฎีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการองค์การ
แนวคิดและทฤษฎีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการองค์การ ที่สำคัญๆ พอสรุปได้ดังนี้
1) แนวคิดที่เน้นกระบวนการพัฒนาองค์การให้กลับสู่สภาพใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งความกล้าไปที่การยอมรับการเปลี่ยนแปลง การริเริ่มวิธีการหรือกระบวนการที่เป็นการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น และการใช้เครื่องมือในการแทรกแซง (Intervention) เพื่อให้องค์การมีความแข็งแกร่ง มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา และเพิ่มพูนทักษะในการสร้างสภาวะใหม่ให้กับองค์การ แม็กกิลล์ (McGill, 1977) ได้กล่าวว่า การพัฒนาองค์การหมายถึง กระบวนการวางแผนที่มุ่งจะพัฒนาความสามารถขององค์การเพื่อให้สามารถที่จะบรรลุและธำรงไว้ซึ่งระดับการปฏิบัติงานที่พอใจที่สุด โดยสามารถวัดได้ในเชิงของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเจริญเติบโตขององค์การ
27/12/2563
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงาน
และการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัย
ทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการ
ผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง
การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย ๆ
7.ปัจจัยทางกฎหมาย
แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมและ
อำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ
8. เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
9. ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน
ณัฐวุฒิ จิตณรงค์ 63423471005 26/12/63
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1.การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การ และองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
2.การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3.การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร
กล่าวคือ นแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ เช่น การก่อให้เกิดมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
Richard Beckhard (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นความพยายามที่เกี่ยวข้องกับ 1) แผนงานที่ถูกกำหนดขึ้น 2) องค์การในภาพรวม 3) การบริหารจัดการจากผู้บริหารระดับสูง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในระดับองค์การ และ 5) เครื่องมือที่มีการวางแผนงานและถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานขององค์การ
Wendell French (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก องค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ
Michael Beer (1980) กล่าว ว่า OD กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ
Warner Burke (1982)กล่าวว่า OD เป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการนำแนวคิด การวิจัย และเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในองค์การ
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. ขั้นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา ได้แก่การพิจารณาปัญหาของ
องค์การ และพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนาองค์การหรือไม่
2. ขั้นการตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ รวมทั้งการสำรวจข้อมูลต่างๆ และสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลและนำมาพิจารณาตรวจวินิจฉัยปัญหาของ
องค์การเพื่อจะให้สามารถแยกแยะว่า สมควรจะแก้ปัญหาด้านใด
4. ขั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนหรือกำหนดทางเลือกหรือยุทธศาสตร์ หรือ
กลยุทธ์ ในการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์การในด้านต่าง ๆที่มีปัญหา
5. ขั้นปฏิบัติตามแผน เป็นการนำทางเลือก หรือยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์มาใช้ดำเนินการพัฒนา
องค์การตามแผนที่ได้วางไว้
6. ขั้นการประเมินผลการพัฒนาองค์การ เป็นการประเมินผล และติดตามผลว่า การพัฒนา
องค์การได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้หรือไม
นางสาวเกศรา จักรโนวัน รหัสนักศึกษา 63423471128
​​​​วันที่ 26 ธันวาคม 2563

๑).จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
๑.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม
เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงานขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบายและประสิทธิภาพของการบริหารงาน
๒. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันกษัตริย์ ฯลฯ ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชาติที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินชีวิตของประชาชน
การบริหารงานใดๆ ก็ตามที่นำไปสู่ความขัดแย้งกับสถาบันทางสังคม ก็จะถูกต่อต้านอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การเดินขบวน การก่อการร้าย เป็นต้น
๓. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงานและการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
๔. ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย ข้อมูลดังกล่าวเป็นเครื่องชี้ให้ผู้บริหารได้เห็นสภาพแรงงานของท้องถิ่นนั้นๆ
๕. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้า หรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมจัดสรรให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
๖. ปัจจัยทางการเมือง
การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย ๆ เมื่อการเมืองไม่มั่นคง ทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อถือ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบ่อยเช่น สินค้าบางอย่างต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ธุรกิจบางชนิดถูกควบคุมโดยเพิ่มหลักเกณฑ์มากขึ้น เศรษฐกิจชะงักเนื่องจากเงินตราไหลออกนอกประเทศ
๗. ปัจจัยทางกฎหมาย
แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมและอำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ ในด้านความผาสุขและความปลอดภัยของประชาชน เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พระราชบัญญัติควบคุมสารเป็นพิษและวัตถุระเบิด ในด้านความเป็นธรรมและป้องกันการผูกขาดเช่น พระราชบัญญัติแรงงาน พระราชบัญญัติควบคุมการค้ากำไรเกินควร
๘. เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
๙. ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน มีลักษณะเป็นปัญหาเฉพาะหน้า ที่ผู้บริหารจะต้องเผชิญและแก้ไข เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาพลังงานและมลภาวะ เป็นต้น
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1.การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การ และองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
2.การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3.การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร
กล่าวคือ ในแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ เช่น การก่อให้เกิดมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
Richard Beckhard (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นความพยายามที่เกี่ยวข้องกับ 1) แผนงานที่ถูกกำหนดขึ้น 2) องค์การในภาพรวม 3) การบริหารจัดการจากผู้บริหารระดับสูง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในระดับองค์การ และ 5) เครื่องมือที่มีการวางแผนงานและถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานขององค์การ
Wendell French (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก องค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ
Michael Beer (1980) กล่าวว่า OD กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ
Warner Burke (1982) กล่าวว่า OD เป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการนำแนวคิด การวิจัย และเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในองค์การ
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. ขั้นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา ได้แก่การพิจารณาปัญหาของ
องค์การ และพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนาองค์การหรือไม่
2. ขั้นการตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ รวมทั้งการสำรวจข้อมูลต่างๆ และสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลและนำมาพิจารณาตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การเพื่อจะให้สามารถแยกแยะว่า สมควรจะแก้ปัญหาด้านใด
4. ขั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนหรือกำหนดทางเลือกหรือยุทธศาสตร์ หรือ
กลยุทธ์ ในการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์การในด้านต่าง ๆที่มีปัญหา
5. ขั้นปฏิบัติตามแผน เป็นการนำทางเลือก หรือยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์มาใช้ดำเนินการพัฒนา
องค์การตามแผนที่ได้วางไว้
6. ขั้นการประเมินผลการพัฒนาองค์การ เป็นการประเมินผล และติดตามผลว่า การพัฒนา
องค์การได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้หรือไม
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
ความรู้ท่ัวไปเก่ียวกับองค์การและการบริหาร
สังคมมนุษย์ เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการจัดโครงสร้างของการ อยู่ร่วมกัน มีข้อตกลงท่ีต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน รวมไปถึงการมีเป้าหมายของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะดังกล่าวน้ีอาจเรียกได้ว่า “องค์การ” โดยการเกิดข้ึนในช่วงแรกเป็นไปเพ่ือตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์หรือเกิดข้ึนเพราะความจาเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์เป็นหลัก ต่อมาเมื่อมี การแบ่งงาน แบ่งหน้าท่ีกันทาและมีความรับผิดชอบมากข้ึน ทาให้เกิดองค์การอย่างเป็นทางการ เช่น ในสังคมต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ก็เกิดองค์การตารวจ ต้องการป้องกันภัยจากศัตรู ภายนอกทาให้เกิดกองทัพเป็นต้น ซ่ึงในบทน้ีจะเป็นการอธิบายถึงแนวคิดท่ัวไปเกี่ยวกับองค์การและ การบริหารซ่ึงจะแสดงถึงพฤติกรรมการจัดสรรทรัพยากรให้บรรลุถึงเป้าหมายท่ี องค์กรได้กาหนดไว้-
* ปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงาน
และการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัย
ทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการ
ผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง
การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย ๆ
7.ปัจจัยทางกฎหมาย
แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมและ
อำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ
8. เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
9. ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1. ไม่มีผู้บริหารคนใดสามารถดำเนินงานให้สำเร็จเพียงลำพัง เพราะธรรมชาติของการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องและใช้คนเป็นกลไกสำคัญ
สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
2.2อธิบายถึงแนวความคิดการพัฒนาองค์การ
Wendell French (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก องค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ ดังนั้น OD จึงเป็นเรื่องของแผนงาน กิจกรรม และระบบงานที่ถูกคิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงว่า ปัจจุบันองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องใด เช่น หากองค์การเผชิญปัญหาว่าพนักงานเก่ง (Talented People) ลาออกค่อนข้างมาก นักพัฒนาบุคลากรสามารถนำเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง โดยการสร้างจิตสำนึก หรือ Talent Mindset ให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ก่อน และหากผู้บริหารมีจิตสำนึกของการบริหารจัดการคนเก่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการหาเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง พัฒนา จูงใจและรักษาพนักงานเก่งเหล่านี้ไว้ให้ได้
1.1จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ

ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อองค์การที่เห็นได้ชัด คือ การแบ่งชนชั้นในองค์การ การที่บุคคลในองค์การรวมกลุ่มกันคบหาสมาคมกับกลุ่มคนที่มีค่านิยมและทัศนคติไปในทางเดียวกัน ซึ่งการแบ่งชนชั้นในองค์การนี้ส่งผลให้การทำงานร่วมกันขององค์การเกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เนื่องจากการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การขาดความสามัคคีและความกลมเกลียว
จึงทำให้ขาดความมุ่งมั่นที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจในการปฏิบัติงานและเกิดผลเสียหายต่อองค์การในที่สุด โดยอาจนำมาซึ่งการประท้วง การนัดหยุดงาน การลาออก เป็นต้น
ดังนั้น ปัจจัยทางสังคมในเรื่องของการแบ่งชนชั้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานองค์กร
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
ความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม หมายถึง การพัฒนาองค์การจะต้องศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์การ เพื่อให้องค์การได้รู้เท่าทันถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ประกอบกับ ปัจจัยท้าทายทางการแข่งขันด้านธุรกิจ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ขององค์การ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เช่น ทัศนคติของพนักงาน ลักษณะของงาน และโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นต้น

2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
แนวคิดนี้ เกิดขึ้นมาเนื่องจาก โลกปัจจุบันอยู่ในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ย่นโลกให้เล็กลง
การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถทำได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยความเร็วเวลาเพียง เสี้ยววินาทีเท่านั้น กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดความจำเป็น ที่ต้องปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ด้านบริหารองค์การ จากเดิมไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ เช่น จากแนวคิดแบบยุคอุตสาหกรรม ไปสู่ยุคสารสนเทศ จากเดิมองค์การเน้นความมั่นคงไปสู่ มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยใช้วิธีควบคุมที่ศูนย์อำนาจ ไปสู่การมุ่งกระจายอำนาจความรับผิดชอบในการตัดสินใจ ให้แก่พนักงานระดับล่าง จากแนวคิดขององค์การที่มุ่งการแข่งขัน ไปเป็นการมุ่งแสวงหาความร่วมมือ จากที่เคยให้ความสำคัญของวัตถุเป็นหลักไปเป็นการยึดความสำคัญของคน และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และจากการเน้นความเหมือนกัน ไปสู่การเน้นให้มีความแตกต่างที่หลากหลาย เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
1. เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอดเมื่อต้องประสบกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง
3. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ขององค์การร่วมกัน
4. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ล้าสมัยไร้สาระ ขัดต่อความเจริญขององค์การ โดยมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงานที่บรรลุตามเป้าหมายมากกว่าวิธีการ
5. มุ่งส่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล
6. ควรเน้นทั้งปริมาณงานและความรู้สึกของคนไปพร้อมๆกัน
7. ส่งเสริมการกระจายการตัดสินใจออกไปจากส่วนกลางให้มากที่สุด
8. มุ่งให้การตัดสินใจเกิดขึ้นในจุดที่มีข้อมูลพร้อมที่จะทำการตัดสินใจให้เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจ
9. มุ่งส่งเสริมให้สมาชิกขององค์การทุกคนตระหนักในภาระความรับผิดชอบต่อตำแหน่งและหน้าที่
10. มุ่งดำเนินการสร้างสรรค์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ไม่เดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ขององค์การ คือ มุ่งประสาน

2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ
1. การยอมรับปัญหา
2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กร
3. การวิเคราะห์ปัญหา
4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ
5. การวางแผนดำเนินงาน
6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ
7. การประเมินผล
ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1.เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล เช่น การวางแผนชีวิตและอาชีพ การวิเคราะห์บทบาท เป็นต้น
2. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล เช่น การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน การวิเคราะห์พฤติกรรม เป็นต้น
3. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม เช่น การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ การพัฒนาทีมงาน การพัฒนาคุณภาพงาน เป็นต้น
4. เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างขององค์การ การออกแบบงาน การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และการจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน เป็นต้น

น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ได้รับการศึกษาจากนักวิจัยและธุรกิจได้ให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยธุรกิจมีการ ดำเนินงานโดยให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม จริยธรรม ธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจและเอาใจใส่ คุณภาพชีวิตของพนักงาน โดยความรับผิดชอบต่อสังคมจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ธุรกิจ ให้ความสนใจเนื่องจากการดำเนินกิจการขององค์กรธุรกิจล้วนส่งผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้ง ทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับขบวนการบริหาร กล่าวได้ว่า ทรัพยากรในการบริหารจัดเป็น
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเป็นสภาพแวดล้อมที่จำเป็นในการบริหารงานขององค์การ สินค้า
และบริการเป็นสิ่งที่องค์การได้มอบให้กับสภาพแวดล้อม และจะกลายเป็นปัจจัยหนึ่งของระบบสภาพ
แวดล้อม ซึ่งสภาพแวดล้อมสามารถแบ่งออกได้เป็นสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก
ประเภทของสภาพแวดล้อม
การแบ่งสภาพแวดล้อมตามลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม แบ่งออกได้ ๒ ประเภท
1.สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงาน (ภายนอก)
2. สภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่าง ๆ (ภายใน)
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงาน
1. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบาย
และประสิทธิภาพของการบริหารงาน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสรรหาผู้ที่เหมาะสมเข้าไปทำ
หน้าที่ให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคมการศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้
บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาสถาบันกษัตริย์ ฯลฯ ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชาติที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินชีวิตของประชาชน










น.ส กัลกร อภิชาติวรนันท์ รหัสนักศึกษา 63423471007
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
การพัฒนาองค์การเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่สลับซับซ้อน ซึ่งมุ่งใช้เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และโครงสร้างขององค์การ เพื่อให้องค์การสามารถปรับปรุงตัวเองให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี และสิ่งท้าทายใหม่ๆ ทางธุรกิจรวมตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การเอง
การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการของการวางแผนที่มุ่งจะพัฒนาความสามารถ
ขององค์การ เพื่อให้สามารถที่จะบรรลุและธำรงไว้ซึ่งระดับของการปฏิบัติงานที่พอใจที่สุด ซึ่งสามารถวัดได้ในแง่ของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเจริญเติบโต
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การด้วย “เทคนิคการประชุมระดมความคิดเห็น”
จากแนวความคิดทันสมัยในด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่พนักงานจะได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ นำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน เพื่อเป็นพื้นฐานของการวางแผนใน
การพัฒนาองค์การ ทั้งนี้สอดคล้องกับแนวความคิดการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลในด้าน “ความโปร่งใส”
ที่สมาชิกในองค์การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ด้วยเหตุผลดัง
กล่าวจึงเกิดกิจกรรม “การประชุมระดมความคิดเห็น” เป็น
สิ่งสอดแทรกในการพัฒนาองค์การ
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. การยอมรับปัญหา จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน สมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้น
2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการัฒนาองค์การ การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ มี 2 ลักษณะ คือ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก และ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายใน
- การสำรวจเป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาและองค์การ
3.การวิเคราะห์ปัญหาต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงาน
ของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ
4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)รายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ
5. การวางแผนดำเนินงาน (Action Planning) ปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้วสมาชิกขององค์การ ควรกำหนดทางเลือกแก้ปัญหา ขึ้นมาเอง
6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ (Implementation)เทคนิคที่ถูกนำใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล และ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกระบวนการ
7.การประเมินผล (Evaluation)การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
เทคนิคการพัฒนาองค์กร
- เทคนิคการจัดระบบค่าตอบแทน เป็นเครื่องมือจูงใจอีกชนิดหนึ่ง
ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นต่อการทำงานเพื่อองค์การ
- เทคนิคการจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน จะต้องมุ่งเน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างสอดคล้อง เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
- เทคนิคการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีประโยชน์ต่อผู้บริหารขององค์การ ในการประเมินสุขภาพขององค์การ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1. การสร้างบรรยากาศ
2.การรวบรวมข่าวสารข้อมูล
3. การร่วมรับรู้ข่าวสารข้อมูลร่วมกัน
4. การจัดลำดับความสำคัญและการวางแผนปฏิบัติการของกลุ่ม
5. การวางแผนปฏิบัติการขององค์การ
6. การติดตามผลในทันทีของผู้บริหารระดับสูง
- เทคนิคการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวให้เข้ากับความจำเป็นและความต้องการของสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
วันที่ 26 ธันวาคม 2563
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
ขอยกตัวอย่างวิกฤติทางสังคมมาเป็นคำตอบ
โดยสภาพของสังคมไทยปัจจุบัน นับวันยิ่งเลวร้ายลงทุกที ตลอดทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรม ในด้านการสรรค์สร้างคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมก็หาได้ยากมากผิดกับเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว การปฏิบัติตนของคนในสังคมปัจจุบันมีแต่สภาพของความเห็นแก่ตัวเอาแต่ได้ ไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกัน โดยเฉพาะสังคมในกรุงเทพฯ สังคมไทยเป็นสังคมของพระพุทธศาสนา แต่การอบรมสั่งสอนเยาวชนของชาติในด้านจริยธรรมลดน้อยลงหรืออาจจะหายไปในบ้างที่ เช่น ในรั้วมหาวิทยาลัย เมืองไทย ในอดีตเคยได้ชื่อว่าเมืองแห่งพระพุทธศาสนา เป็นสยามเมืองยิ้ม ประชาชนหน้าตาเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดเหมือนในปัจจุบันที่รัฐบาลประกาศว่า ประชาชนยากจนข้นแค้น นายทุนข่มเหงคนจนข่มผู้ใช้แรงงาน มองดูสภาพสังคมที่เดือนร้อนอยู่ทุกวันนี้ เป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น มีคนเข้าใจหรือยึดมั่นในพระพุทธศาสนามากน้อยแค่ไหน สภาพจริยธรรมศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน จึงอับก็ว่าได้ ไม่ว่าสังคมจะมีสภาพทางสังคมมากน้อยเพียงใด แต่ในทุกสถาบันก็มีปัญหาด้วยกันแทบทั้งสิ้น คือ

1) ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว ครอบครัวนับว่าเป็นสถาบันมูลฐานของสังคม สมาชิกของสังคมทุกคน ก็ถือกำเนิดเกิดก่อจากแต่ละครอบครัวนั่นเอง และเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวคนมากที่สุดถ้าสัมพันธ์ภาพ หรือสภาพครอบครัวที่ดี ไม่พิการ หรือแตกร้าวปัญหาทางสังคมอื่นๆ เช่น การหย่าร้างคนจรนัด หรือโสเภณี ศีลธรรมเสื่อม เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่จะมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมจะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาความแตกรัวในครอบครัว จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมทีสำคัญมากที่จะต้องได้รับการแก้ไขอีกหลาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูก จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญมากที่จะต้องรับการแก้ไขจากหาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกับของครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวม

2) ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
supreya said…
นางสาวสุปรียา หมื่นทอง 63423471141
วันที่ 26 ธันวาคม 2563
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
ลักษณะของความสัมพันธ์
การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การ และองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร กล่าวคือ
ในแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ เช่น การก่อให้เกิดมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคม

2.2อธิบายถึงแนวความคิดการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ระยะยาว ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร ถือได้ว่าเป็นศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดในเชิงสังคมศาสตร์และในเชิง วิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน เกี่ยวข้องกับเครื่องมือในเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การที่ถูกนำมาใช้อย่าง เป็นระบบ

2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จได้ต้องรวมถึง การพัฒนาองค์การ (OD) ด้วย โดยนิยามการพัฒนาองค์การ หมายถึง การทำแผนเพื่อใช้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์การให้เกิดความ มีประสิทธิผล และให้ความสำคัญด้านความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น (More effective and more human) จะเห็นว่ากระบวนทัศน์ของการพัฒนาองค์การ (OD paradigm) คือการให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของมนุษย์และความก้าวหน้า ขององค์การควบคู่กันไป เน้นความร่วมมือและกระบวนการมีส่วนร่วม ตลอดจนการมีจิตวิญญาณของการแสวงหา (Spirit of inquiry) กล่าวโดยสรุป ค่านิยมที่ถือเป็นสาระสำคัญเชิงปรัชญาของการพัฒนาองค์การได้แก่

1. ให้การนับถือต่อคน (Respect for people)
โดยเชื่อว่า มนุษย์มีความรับผิดชอบมีสติปัญญาและต้องการให้ การใส่ใจและควรได้รับ การปฏิบัติ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
2. ไว้วางใจและช่วยเหลือเจือจุน (Trust and support)
กล่าวคือ องค์การที่ถือว่ามีสุขภาพดีและมีประสิทธิผล ต้องมีลักษณะของความไว้วางใจ มีความน่าเชื่อถือ มีบรรยากาศที่เปิดเผย และให้การเกื้อกูลต่อกัน
3. มีความเสมอภาคด้านอำนาจ (Power equalization)
ในองค์การที่มีประสิทธิผลจะไม่เน้นการใช้อำนาจและการควบคุมตามสายการบังคับบัญชา เป็นประเด็นสำคัญ
4. กล้าเผชิญปัญหา (Confrontation)
โดยไม่เลี่ยง ไม่ประวิงเวลาหรือหนีปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จะใช้วิธีเผชิญปัญหาอย่างเปิดเผย
5. การมีส่วนร่วม (Participation)
โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจะได้รับโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะการได้มีส่วนร่วมยิ่งทำให้ต้องผูกพันต่อการนำข้อยุติลงสู่การปฏิบัติ
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.1จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1.บทบาทเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายแรกของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปกติการดำเนินงานระดับนโยบายจะให้ความสนใจในหัวข้อเชิงกลยุทธ์ที่กว้างๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อองค์การทั้งหมด เช่น ทัศนคติ บรรทัดฐาน หรือกฎหมาย การกำหนดนโยบายจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงมีข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม โดยที่บทบาทนี้ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถตัดสินใจตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ปกติบุคคลที่ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสำหรับการกำหนดนโยบายจะให้ความสำคัญกับภาพรวมของการดำเนินงานระดับองค์การ และมักจะปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูง
2.การบูรณาการเข้ากับแผนกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อที่จะกำหนดแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานขององค์การ โดยช่วยให้ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารตามหน้าที่ทางธุรกิจ หรือสายงานต่างๆ ตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับองค์การ ซึ่งจะมีการรายงานผลหรือดำเนินงานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวางแผน โดยปกติการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์การซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์สภาพแวดล้อม เพื่อที่จะกำหนดสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการขององค์การและแผนงานในอนาคต ตลอดจนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข้อมูลและให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญของสภาพแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่ออนาคตขององค์การ
3.บทบาทเกี่ยวกับหน้าที่ทางธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพหรือการดำเนินงานตามหน้าที่ในแต่ละส่วนประกอบขององค์การ เช่น การตลาด การเงิน การผลิต และทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยผู้วิเคราะห์จะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอย่างสัมพันธ์กับการดำเนินงานในแต่ละหน้าที่ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในลักษณะนี้มักจะดำเนินงานเพื่อจะให้การปฏิบัติงานของแต่ละหน้าที่ทางธุรกิจดำเนินงานอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงาน เช่น การพัฒนาเทคนิคการผลิตให้มีประสิทธิภาพ การปรับระบบสวัสดิการ และการปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของรัฐในขณะนั้นๆ เป็นต้น
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.2อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์กรก็คือการทำให้องค์กรนั้นดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าเดิม ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การปฎิบัติงาน ระบบโครงสร้างองค์กร ไปจนถึงทัศนคติในการทำงาน ปัจจุบันการพัฒนาองค์กรกลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารตลอดจนขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบตลอดจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรพัฒนาได้นั้นมีอยู่หลายองค์ประกอบ ซึ่งนี่คือ 3 ปัจจัยหลักโดยรวมที่มีผลต่อการพัฒนาขององค์กรมากที่สุด ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่บริหารองค์กรควรให้ความใส่ใจใน 3 ปัจจัยหลักเหล่านี้ และบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1.โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในรูปแบบต่างๆ โครงสร้างพื่นฐานขององค์กรนั้นรวมตั้งแต่อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นไปจนถึงเทคโนโลยีตลอดจนข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องพร้อมและช่วยส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ศักยภาพด้านทรัพยากรบุคคลจะพร้อมแค่ไหน แต่หากมีปัญหาที่ทรัพยากรด้านอื่น ก็ย่อมทำให้ลดประสิทธิภาพในการทำงาน และทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างเชื่องช้าหรือติดขัดเช่นกัน ตรงกันข้ามกับองค์กรที่ใส่ใจในโครงสร้างพื้นฐานอย่างดีเพื่อรองรับการทำงานที่ดีที่สุด ก็สามารถมีส่วนช่วยให้บุคลากรในองค์กรใช้ศักยภาพของตนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
2.กระบวนการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน ชัดเจน มีระบบระเบียบ มีขั้นตอนที่เหมาะสม มีการประเมินผล รวมถึงมีการแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างทันท่วงที ระบบการทำงานที่ดีนั้นจะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของทุกองค์กร การที่องค์กรมีพนักงานที่มีศักยภาพในการทำงาน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและองค์กร ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร รวมถึงมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาได้ก้าวไกลและมั่งคง เป้าหมายและนโยบาย สิ่งสำคัญที่สุดก็คือองค์กรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตลอดจนมีทิศทางเดินไปสู่จุดหมายให้เห็น เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วย่อมต้องมีนโยบายธุรกิจตลอดจนนโยบายองค์กรที่ออกมาเป็นแนวทางปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย หากองค์ใดไม่มีเป้าหมาย หรือไม่มีนโยบายที่กระจ่างชัด ก็เหมือนเรือที่แล่นอยู่ในทะเลโดยขาดเข็มทิศ หรือเรือที่อยู่กลางทะเลซึ่งมีหมอกหนาปกคลุม ก็ยากที่จะรู้ว่าเรือควรจะมุ่งหน้าไปทางไหน เพื่ออะไร เป้าหมายที่ชัดเจน นโยบายที่มีประสิทธิภาพ จะมีส่วนที่ทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว มีทิศทาง และมีศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย
สรุป องค์กรที่ไม่หยุดพัฒนาและรักที่จะก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ มักเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามอยู่เสมอเช่นกัน และในองค์กรเหล่านี้ก็มักจะเต็มไปด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย การที่ทั้งบุคลากรและองค์กรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาร่วมกันนั้นเป็นเสมือนพลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปข้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนผลักดันให้องค์กรก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งได้ ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดพัฒนาองค์กร และที่สำคัญองค์กรก็ควรที่จะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของพนักงานของตนอยู่เสมอ เพราะการพัฒนาองค์กรนั้นควรทำควบคู่กันทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ระบบบริหาร ระบบการทำงาน ไปจนถึงบุคลากร จึงจะเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบที่สุด
นายกฤตเมธ เชิดชู
63423471054

1.อธิบายสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหาร

1.การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กรทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพ แวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร(คน เงิน วัสดุ การจัดการ)รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
- จุดแข็งขององค์กร(S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเอง ว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
- จุดอ่อนขององค์กร(W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2.การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทาง การดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม(O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็ง ขึ้นได้
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม(T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาค ในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพองค์กรให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญ แรงกระทบดังกล่าวได้
3.ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อมเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำ จุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กรกำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น องค์กรควรจะทำ อย่างไร โดยทั่วไปในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กรจะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
3.1 สถานการณ์ที่ 1(จุดแข็ง-โอกาส)สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรก าหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก(Aggressive –Stratagy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่
3.2 สถานการณ์ที่ 2(จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค)สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive Strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด
3.3 สถานการณ์ที่ 3(จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้นทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-oriented Strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดให้
3.4 สถานการณ์ที่ 4(จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้น แทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัวหรือขยายขอบข่ายกิจการ

นายกฤตเมธ เชิดชู
63423471054

2.การพัฒนาองค์การ

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาคของค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยเติบโตขององค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสารกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้

1.การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน
2.การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ
3.การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่
4.เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม
5.ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน
6.ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก
7.มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น
8.ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
9.การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น
10.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ
11.ส่งเสริมระบบการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ คือ แนวนอนและแนวตั้งอย่างเปิดเผยไม่ซ่อนเร้น
12.การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง
13.เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์
14.เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ได้รับการศึกษาจากนักวิจัยและธุรกิจได้ให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยธุรกิจมีการ ดำเนินงานโดยให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม จริยธรรม ธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจและเอาใจใส่ คุณภาพชีวิตของพนักงาน โดยความรับผิดชอบต่อสังคมจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ธุรกิจ ให้ความสนใจเนื่องจากการดำเนินกิจการขององค์กรธุรกิจล้วนส่งผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้ง ทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับขบวนการบริหาร กล่าวได้ว่า ทรัพยากรในการบริหารจัดเป็น
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเป็นสภาพแวดล้อมที่จำเป็นในการบริหารงานขององค์การ สินค้า
และบริการเป็นสิ่งที่องค์การได้มอบให้กับสภาพแวดล้อม และจะกลายเป็นปัจจัยหนึ่งของระบบสภาพ
แวดล้อม ซึ่งสภาพแวดล้อมสามารถแบ่งออกได้เป็นสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก
ประเภทของสภาพแวดล้อม
การแบ่งสภาพแวดล้อมตามลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม แบ่งออกได้ ๒ ประเภท
1.สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงาน (ภายนอก)
2. สภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่าง ๆ (ภายใน)
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหารงาน
1. ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบาย
และประสิทธิภาพของการบริหารงาน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสรรหาผู้ที่เหมาะสมเข้าไปทำ
หน้าที่ให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคมการศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้
บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาสถาบันกษัตริย์ ฯลฯ ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชาติที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินชีวิตของประชาชน
นาย อิทธิณัฐ แซมกลาง 63423471284
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
การพัฒนาองค์การเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่สลับซับซ้อน ซึ่งมุ่งใช้เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และโครงสร้างขององค์การ เพื่อให้องค์การสามารถปรับปรุงตัวเองให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี และสิ่งท้าทายใหม่ๆ ทางธุรกิจรวมตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การเอง
การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการของการวางแผนที่มุ่งจะพัฒนาความสามารถ
ขององค์การ เพื่อให้สามารถที่จะบรรลุและธำรงไว้ซึ่งระดับของการปฏิบัติงานที่พอใจที่สุด ซึ่งสามารถวัดได้ในแง่ของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเจริญเติบโต
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การด้วย “เทคนิคการประชุมระดมความคิดเห็น”
จากแนวความคิดทันสมัยในด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่พนักงานจะได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ นำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน เพื่อเป็นพื้นฐานของการวางแผนใน
การพัฒนาองค์การ ทั้งนี้สอดคล้องกับแนวความคิดการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลในด้าน “ความโปร่งใส”
ที่สมาชิกในองค์การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ด้วยเหตุผลดัง
กล่าวจึงเกิดกิจกรรม “การประชุมระดมความคิดเห็น” เป็น
สิ่งสอดแทรกในการพัฒนาองค์การ
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. การยอมรับปัญหา จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน สมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้น
2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการัฒนาองค์การ การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ มี 2 ลักษณะ คือ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก และ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายใน
- การสำรวจเป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาและองค์การ
3.การวิเคราะห์ปัญหาต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงาน
ของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ
4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)รายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ
5. การวางแผนดำเนินงาน (Action Planning) ปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้วสมาชิกขององค์การ ควรกำหนดทางเลือกแก้ปัญหา ขึ้นมาเอง
6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ (Implementation)เทคนิคที่ถูกนำใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล และ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกระบวนการ
7.การประเมินผล (Evaluation)การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
เทคนิคการพัฒนาองค์กร
- เทคนิคการจัดระบบค่าตอบแทน เป็นเครื่องมือจูงใจอีกชนิดหนึ่ง
ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นต่อการทำงานเพื่อองค์การ
- เทคนิคการจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน จะต้องมุ่งเน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างสอดคล้อง เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
- เทคนิคการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีประโยชน์ต่อผู้บริหารขององค์การ ในการประเมินสุขภาพขององค์การ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1. การสร้างบรรยากาศ
2.การรวบรวมข่าวสารข้อมูล
3. การร่วมรับรู้ข่าวสารข้อมูลร่วมกัน
4. การจัดลำดับความสำคัญและการวางแผนปฏิบัติการของกลุ่ม
5. การวางแผนปฏิบัติการขององค์การ
6. การติดตามผลในทันทีของผู้บริหารระดับสูง
นาย อิทธิพัฒน์ เเซมกลาง 63423471016 1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
ความรู้ท่ัวไปเก่ียวกับองค์การและการบริหาร
สังคมมนุษย์ เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการจัดโครงสร้างของการ อยู่ร่วมกัน มีข้อตกลงท่ีต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน รวมไปถึงการมีเป้าหมายของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะดังกล่าวน้ีอาจเรียกได้ว่า “องค์การ” โดยการเกิดข้ึนในช่วงแรกเป็นไปเพ่ือตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์หรือเกิดข้ึนเพราะความจาเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์เป็นหลัก ต่อมาเมื่อมี การแบ่งงาน แบ่งหน้าท่ีกันทาและมีความรับผิดชอบมากข้ึน ทาให้เกิดองค์การอย่างเป็นทางการ เช่น ในสังคมต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ก็เกิดองค์การตารวจ ต้องการป้องกันภัยจากศัตรู ภายนอกทาให้เกิดกองทัพเป็นต้น ซ่ึงในบทน้ีจะเป็นการอธิบายถึงแนวคิดท่ัวไปเกี่ยวกับองค์การและ การบริหารซ่ึงจะแสดงถึงพฤติกรรมการจัดสรรทรัพยากรให้บรรลุถึงเป้าหมายท่ี องค์กรได้กาหนดไว้-
* ปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงาน
และการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัย
ทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการ
ผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง
การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย
นาย อิทธิพัฒน์ แซมกลาง 63423471016
2. ศึกษาเอกสารเรื่อง การพัฒนาองค์การ แล้วทำแบบฝึกหัด
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
การพัฒนาองค์การเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่สลับซับซ้อน ซึ่งมุ่งใช้เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และโครงสร้างขององค์การ เพื่อให้องค์การสามารถปรับปรุงตัวเองให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี และสิ่งท้าทายใหม่ๆ ทางธุรกิจรวมตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การเอง
การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการของการวางแผนที่มุ่งจะพัฒนาความสามารถ
ขององค์การ เพื่อให้สามารถที่จะบรรลุและธำรงไว้ซึ่งระดับของการปฏิบัติงานที่พอใจที่สุด ซึ่งสามารถวัดได้ในแง่ของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเจริญเติบโต
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การด้วย “เทคนิคการประชุมระดมความคิดเห็น”
จากแนวความคิดทันสมัยในด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่พนักงานจะได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ นำไปสู่การตัดสินใจร่วมกัน เพื่อเป็นพื้นฐานของการวางแผนใน
การพัฒนาองค์การ ทั้งนี้สอดคล้องกับแนวความคิดการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลในด้าน “ความโปร่งใส”
ที่สมาชิกในองค์การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ด้วยเหตุผลดัง
กล่าวจึงเกิดกิจกรรม “การประชุมระดมความคิดเห็น” เป็น
สิ่งสอดแทรกในการพัฒนาองค์การ
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. การยอมรับปัญหา จะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน สมาชิกภายในองค์การจะต้องรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องเกิดขึ้น
2. การเข้ามาของที่ปรึกษาการัฒนาองค์การ การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ มี 2 ลักษณะ คือ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก และ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายใน
- การสำรวจเป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาและองค์การ
3.การวิเคราะห์ปัญหาต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงาน
ของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ
4. การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)รายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ
5. การวางแผนดำเนินงาน (Action Planning) ปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้วสมาชิกขององค์การ ควรกำหนดทางเลือกแก้ปัญหา ขึ้นมาเอง
6. การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ (Implementation)เทคนิคที่ถูกนำใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล และ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกระบวนการ
7.การประเมินผล (Evaluation)การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
เทคนิคการพัฒนาองค์กร
1. ศึกษาเอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1. จงอธิบายปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารองค์การ
1. ทางการเมือง ประกอบด้วย รัฐบาลนโยบายทางการเมือง กฎหมายและสถาบันในระดับชาติ
ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น รวมไปจนถึงระเบียบข้อบังคับภาษีอากร การตัดสินใจทางกฎหมาย และนโยบายของพรรคการเมือง อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อบรรยากาศขององค์การธุรกิจโดยอิทธิพลทางการเมืองจะเป็นตัวช่วยเหลือและส่งเสริมกิจกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายการเมืองของรัฐบาลในสมัยนั้น
2. ทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยทรัพยากรที่มีอยู่หรือขาดแคลนและแนวโน้มทั่วๆไปของเศรษฐกิจที่มีผลต่อองค์การ หากมองภาพให้กว้างขึ้น ปัจจัยทางเศรษฐกิจจะเกี่ยวของกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ บางประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม(Socialism)เช่น ประเทศจีนและประเทศคิวบาจะมีการวางแผนทางเศรษฐกิจและควบคุมโดยรัฐบาลกลาง ในประเทศเหล่านี้รัฐบาลจะกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับเจ้าของกิจการโรงงานอุตสาหกรรมผลผลิตการซื้อวัตถุดิบราคาและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในทางตรงกันข้ามสหรัฐอเมริกาและประเทศในโลกเสรีส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) จะมีตลาดการค้าที่มีการแข่งขัน ที่เสรี
3. ทางเทคโนโลยีประกอบด้วยผู้ชำนาญการ กระบวนการ และระบบ ซึ่งองค์การใช้เพื่อปรับปรุงการผลิตสินค้าและบริการ โดยที่มีการวิจัยและทดลองทางวิทยาศาสตร์มาก่อน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆ และทำให้องค์การมีเครื่องมือและโอกาสที่จะผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย ค่านิยม ทัศนคติ ความต้องการและลักษณะเฉพาะของคนในสังคมที่องค์การไปประกอบการอยู่ เชื่อกันว่าค่านิยมเป็นตัวกำหนดรูปแบบทัศนคติของบุคคลและของกลุ่มบุคคล ค่านิยมและทัศนคติเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลและมีอิทธิพลต่อความปรารถนาของบุคคล ซึ่งองค์การธุรกิจต่างๆ จะต้องพยายามทำสินค้าและบริการมาสนองให้
5. จากนานาประเทศ อิทธิพลที่มาจากภายนอกประเทศแม่ของกิจการและมีอิทธิพลต่อคนและองค์การเรียกว่า อิทธิพลจากนานาประเทศ บริษัทที่ทำธุรกิจกับประเทศอื่นจะรู้สึกถึง
ผลกระทบของอิทธิพลจากนานาประเทศหลายประการ รวมทั้งการขึ้นลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและคู่แข่งขันในระดับท้องถิ่นและระดับโลก ยิ่งกว่านั้นบริษัทอาจชื่อวัตถุดิบได้ถูกกว่า
จากต่างประเทศ หรืออาจไปทำการผลิตในประเทศหนึ่งที่มีค่าแรงงานถูกกว่าแล้วขายสินค้าสำเร็จรูปไปทั่วโลก
กิจการต่างประเทศที่ทำธุรกิจข้ามชาติที่เข้ามามีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
เช่น โตโยตา ไอบีเอ็ม แมคโดนัลด์ และโตชิบา เป็นต้น
2.ศึกษาเอกสารเรื่องการพัฒนาองค์การแล้วทำแบบฝึกหัด
2.1จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร (Working Environmental & Organization Culture)
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดมนุษย์สัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นก็คือเรื่องของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งในเรื่องของกายภาพที่เป็นเรื่องของสถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ไปจนถึงเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ที่เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีความสุข ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่แก่งแย่งชิงดี หรือทะเลาะเบาะแว้งกันจนทำให้งานและองค์กรเสียหาย
Good Workplace – สถานที่ทำงานต้องเอื้อให้เกิดความสุขสบายในการทำงาน สะอาด เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน มีสุขภาวะที่ดี และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานใดๆ
Good People – บุคลากรที่ดีย่อมทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดีตามไปด้วย หากองค์กรมีแต่คนเก่งและดีที่มีทัศนคติที่ดี ไปในทิศทางเดียวกัน ก็ย่อมทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นได้ด้วย
Good Working System – นอกจากสถานที่และคนแล้วระบบการทำงานที่ดี ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ หรือแม้แต่ Update เทคโนโลยีให้ก้าวตามทันโลก ก็ย่อมทำให้เกิดการทำงานที่ราบรื่น ไม่ติดขัด เอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน ซึ่งการมีระบบที่ดีจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีกับองค์กรได้
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
หมายถึง การบริหารและจัดการท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ของโลกยุคไร้พรมแดน ซึ่งน่าจะมีลักษณะการจัดการความหลากหลาย หรือ Managing Diversity
การจัดการความหลากหลาย หมายถึง กระบวนการในการวางแผนและการปฏิบัติตามระบบขององค์การและแนวปฏิบัติในอันที่จะจัดการผู้คนเพื่อก่อให้เกิดศักยภาพของความได้เปรียบที่แตกต่างหลากหลาย และเป็นโอกาสที่จะหาทางขจัดหรือลดศักยภาพที่เป็นความเสียเปรียบขององค์การให้เหลือน้อยที่สุด
2.3 อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาองค์การประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอน การพัฒนาองค์การ
การวางแผน (planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดเป้าหมายและพัฒนาวิธีการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น
การจัดองค์การ (organizing) หมายถึง กระบวนการกำหนดกรอบเพื่อที่จะไปสู่การพัฒนาและมอบหมายงาน การบริหารและจัดสรรทรัพยากร การประสานกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
การนำ (leading) หมายถึง กระบวนการในการใช้อิทธิพลและจูงใจผู้อื่นในองค์การให้ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
การควบคุม (controlling) หรือการประเมินผล หมายถึง กระบวรการตรวจ ติดตาม และกำกับดูแลความก้าวหน้าของกิจกรรมต่างๆ ในองค์การว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ประเภทขององค์การ
ประเภทที่ 1 เกณฑ์จำแนกองค์การตามลักษณะของความสัมพันธ์ในองค์การ สมาชิกให้ความสัมพันธ์ในสมาชิกด้วยกัน แยกออกเป็น องค์การปฐมภูมิ (มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่น ครอบครัว ) และองค์การทุติยภูมิ (เช่น สมาคม สโมสร บริษัท มูลนิธิ ฯลฯ)
ประเภทที่ 2 เกณฑ์จำแนกองค์การตามลักษณะทางโครงสร้างขององค์การ มีโครงสร้างองค์การชัดเจน อาจกำเนิดขึ้นโดยสมาชิกในองค์การสมัครใจมีองค์การที่เป็นทางการ (เช่น พรรคการเมือง หน่วยราชการ บริษัท ฯลฯ ) และองค์การที่ไม่เป็นทางการ (เช่น กลุ่มเพื่อน ชมรม ฯลฯ)
ประเภทที่ 3 เกณฑ์จำแนกองค์การตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ แบ่งประเภทได้
1. องค์การทางการเมือง มีเป้าหมายแสวงหาผลประโยชน์/ครอบครอง และการใช้อำนาจรัฐ เช่น พรรคการเมือง รัฐบาล
2. องค์การทางเศรษฐกิจ/การผลิตและการบริการ มีเป้าหมายแสวงหากำไร แล้วสมาชิกอาจนำมาแบ่งสรรกัน เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. องค์การทางสังคม มีเป้าหมายแสวงหาหรือสนับสนุนการดำรงชีวิตที่ดีในสังคมเพื่อความสุขและประโยชน์ของสมาชิกในสังคม เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล มูลนิธิ สถานีตำรวจ
4. องค์การบริหารของรัฐ มีเป้าหมายเพื่อการบริการสาธารณะด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและบริการประชาชน เช่น กระทรวงทบวงกรม
5. องค์การระหว่างประเทศ มีเป้าหมายส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เอเปก อาเซียน
เทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1.การได้ผู้นำที่ดี ผู้นำที่ดีจะนำองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จได้
2.การได้ผู้ตามที่มีประสิทธิภาพ
3.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
4.มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
5.การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
6.การประเมินผล
7.การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพ
1. ศึกษา เอกสารเรื่องสภาพแวดล้อมทั่วไปทางการบริหารแล้วทำแบบฝึกหัด
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคม
การศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงาน
และการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร
ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัย
ทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการ
ผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง
การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย ๆ
7.ปัจจัยทางกฎหมาย
แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมและ
อำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ
8. เทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
9. ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน
2.1จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
1.การบริหารจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีองค์การและองค์การจะไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
2.การบริหารและองค์การจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3.การบริหารมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารในแง่สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแง่การบริหารขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชื่อเสียงขององค์การ
2.2อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
แนวคิดการพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบโดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ
2.3อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ
-การยอมรับปัญหา สมาชิกบางคนภายในองค์การจะต้องยอมรับปัญหาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงก่อน
-การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ
-การติดต่อ หมายถึง การประชุมครั้งแรกระหว่างองค์การและที่ปรึกษา
การพัฒนาองค์การ ซึ่งมีอยู่2ลักษณะคือ ที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก และที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายใน
การสำรวจ เป็นการร่วมมือกันระหว่างที่ปรึกษาฯ และองค์การ
-การวิเคราะห์ปัญหาจะต้องอยู่บนรากฐานของการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวพันกับงานของสมาชิกภายในองค์การอย่างมีระบบ
-การให้ข้อมูลป้อนกลับ รายงานผลสรุปข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างการวิเคราะห์ปัญหา
ขององค์การกลับไปยังสมาชิกขององค์การ
-การวางแผนดำเนินงาน เมื่อปัญหาภายในองค์การได้ถูกระบุ และเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแล้วสมาชิกขององค์การนั้นๆควรจะกำหนดทางเลือกแก้ปัญหาของพวกเขาขึ้นมาเอง
-การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ เทคนิคที่ถูกนำใช้กันแพร่หลายมากที่สุด คือ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล และ เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกระบวนการ
-การประเมินผล การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
ประเภทและเทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล ได้แก่
-การวางแผนชีวิตและอาชีพ
-การวิเคราะห์บทบาท
-การทำให้งานมีความหมาย
-การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น
-การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ
-การพัฒนาแบบของผู้บริหาร
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล ได้แก่
-การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน
-การวิเคราะห์พฤติกรรม
-การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม ได้แก่
-การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ
-การพัฒนาทีมงาน
-การพัฒนาคุณภาพงาน
-การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์
-การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม ได้แก่
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ ได้แก่
-การออกแบบโครงสร้างขององค์การ
-การออกแบบงาน
-การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
-การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน
ข้อ 1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
ความรู้ท่ัวไปเก่ียวกับองค์การและการบริหารสังคมมนุษย์ เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการจัดโครงสร้างของการ อยู่ร่วมกัน มีข้อตกลงท่ีต้องยึดถือปฏิบัติร่วมกัน รวมไปถึงการมีเป้าหมายของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะดังกล่าวน้ีอาจเรียกได้ว่า “องค์การ” โดยการเกิดข้ึนในช่วงแรกเป็นไปเพ่ือตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์หรือเกิดข้ึนเพราะความจาเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์เป็นหลัก ต่อมาเมื่อมี การแบ่งงาน แบ่งหน้าท่ีกันทาและมีความรับผิดชอบมากข้ึน ทาให้เกิดองค์การอย่างเป็ทางการ เช่น ในสังคมต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ก็เกิดองค์การตารวจ ต้องการป้องกันภัยจากศัตรู ภายนอกทาให้เกิดกองทัพเป็นต้น ซ่ึงในบทน้ีจะเป็นการอธิบายถึงแนวคิดท่ัวไปเกี่ยวกับองค์การและ การบริหารซ่ึงจะแสดงถึงพฤติกรรมการจัดสรรทรัพยากรให้บรรลุถึงเป้าหมายท่ี องค์กรได้กาหนดไว้-
* ปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
1.ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระบบการบริหารงาน
ขององค์กร ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เชื้อชาติศาสนา ฯลฯ
2. ระบบชนชั้น และสถาบันทางสังคมการศึกษาถึงโครงสร้างทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนสถานภาพที่สังคมเป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในการบริหารงาน
และการวางแผนองค์กรจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร ในการกำหนดนโยบายตลอดจนวิธีการบริหารงานขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัย
ทางด้านประชากรที่องค์กรธุรกิจนั้นจะเข้าไปเกี่ยวข้องดัวย
5. ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะถือเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ขบวนการ
ผลิต และการแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อย ๆ
7.ปัจจัยทางกฎหมาย แต่ละประเทศต่างออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุม และอำนวยความสะดวกในการประกอบการธุรกิจ
8. เทคโนโลยี เป็นระบบของความรู้อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอันที่จะสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
9. ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม ปัญหาและวิกฤติการณ์ทางสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มักมีที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นดังที่กล่าวมาข้างต้น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารงาน
ข้อ 2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม

1. ไม่มีผู้บริหารคนใดสามารถดำเนินงานให้สำเร็จเพียงลำพัง เพราะธรรมชาติของการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องและใช้คนเป็นกลไกสำคัญ สิ่งแวดล้อมขององค์การเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน วัฒนธรรม เทคโนโลยี ต่างเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การ ดังนั้นผู้บริหารควรพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของตนอย่างละเอียด และควรปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้รวดเร็วเพื่อสอดคล้องและทันต่อสภาพการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
ข้อ 2.2อธิบายถึงแนวความคิดการพัฒนาองค์การ
Wendell French (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก องค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ ดังนั้น OD จึงเป็นเรื่องของแผนงาน กิจกรรม และระบบงานที่ถูกคิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงว่า ปัจจุบันองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องใด เช่น หากองค์การเผชิญปัญหาว่าพนักงานเก่ง (Talented People) ลาออกค่อนข้างมาก นักพัฒนาบุคลากรสามารถนำเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง โดยการสร้างจิตสำนึก หรือ Talent Mindset ให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ก่อน และหากผู้บริหารมีจิตสำนึกของการบริหารจัดการคนเก่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการหาเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง พัฒนา จูงใจและรักษาพนักงานเก่งเหล่านี้ไว้ให้ได้
ข้อ 2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
1. ขั้นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา ได้แก่การพิจารณาปัญหาของ
องค์การ และพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนาองค์การหรือไม่
2. ขั้นการตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ รวมทั้งการสำรวจข้อมูลต่างๆ และสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลและนำมาพิจารณาตรวจวินิจฉัยปัญหาของ
องค์การเพื่อจะให้สามารถแยกแยะว่า สมควรจะแก้ปัญหาด้านใด
4. ขั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนหรือกำหนดทางเลือกหรือยุทธศาสตร์ หรือ
กลยุทธ์ ในการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์การในด้านต่าง ๆที่มีปัญหา
5. ขั้นปฏิบัติตามแผน เป็นการนำทางเลือก หรือยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์มาใช้ดำเนินการพัฒนา
องค์การตามแผนที่ได้วางไว้
6. ขั้นการประเมินผลการพัฒนาองค์การ เป็นการประเมินผล และติดตามผลว่า การพัฒนา
องค์การได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
นายศรัณย์ สัธนานันต์ 63423471130
2.3อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
องค์กรที่มีศักยภาพคือองค์กรที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ องค์กรที่อยู่รอดในโลกแห่งความเป็นจริงได้นั้นก็คือองค์กรที่ต้องมีการปรับตัวตลอดจนพัฒนาให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคด้วยนั่นเอง ดังนั้นเป้าหมายหนึ่งของทุกองค์กรก็คือการมุ่ง “พัฒนาองค์กร” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา แล้วผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้านั้นไม่ใช่เฉพาะแค่ในส่วนของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคลากรทุกฝ่ายที่รักในการพัฒนาศักยภาพตัวเองให้ดียิ่งขึ้นด้วยนั่นเอง

ปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร
1.โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในรูปแบบต่างๆ โครงสร้างพื่นฐานขององค์กรนั้นรวมตั้งแต่อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นไปจนถึงเทคโนโลยีตลอดจนข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องพร้อมและช่วยส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ศักยภาพด้านทรัพยากรบุคคลจะพร้อมแค่ไหน แต่หากมีปัญหาที่ทรัพยากรด้านอื่น ก็ย่อมทำให้ลดประสิทธิภาพในการทำงาน และทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างเชื่องช้าหรือติดขัดเช่นกัน ตรงกันข้ามกับองค์กรที่ใส่ใจในโครงสร้างพื้นฐานอย่างดีเพื่อรองรับการทำงานที่ดีที่สุด ก็สามารถมีส่วนช่วยให้บุคลากรในองค์กรใช้ศักยภาพของตนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
2.กระบวนการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน ชัดเจน มีระบบระเบียบ มีขั้นตอนที่เหมาะสม มีการประเมินผล รวมถึงมีการแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างทันท่วงที ระบบการทำงานที่ดีนั้นจะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของทุกองค์กร การที่องค์กรมีพนักงานที่มีศักยภาพในการทำงาน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและองค์กร ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร รวมถึงมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาได้ก้าวไกลและมั่งคง
4.เป้าหมายและนโยบาย สิ่งสำคัญที่สุดก็คือองค์กรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตลอดจนมีทิศทางเดินไปสู่จุดหมายให้เห็น เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วย่อมต้องมีนโยบายธุรกิจตลอดจนนโยบายองค์กรที่ออกมาเป็นแนวทางปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย หากองค์ใดไม่มีเป้าหมาย หรือไม่มีนโยบายที่กระจ่างชัด ก็เหมือนเรือที่แล่นอยู่ในทะเลโดยขาดเข็มทิศ หรือเรือที่อยู่กลางทะเลซึ่งมีหมอกหนาปกคลุม ก็ยากที่จะรู้ว่าเรือควรจะมุ่งหน้าไปทางไหน เพื่ออะไร เป้าหมายที่ชัดเจน นโยบายที่มีประสิทธิภาพ จะมีส่วนที่ทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว มีทิศทาง และมีศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย

บทสรุป
องค์กรที่ไม่หยุดพัฒนาและรักที่จะก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ มักเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามอยู่เสมอเช่นกัน และในองค์กรเหล่านี้ก็มักจะเต็มไปด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย การที่ทั้งบุคลากรและองค์กรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาร่วมกันนั้นเป็นเสมือนพลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปข้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนผลักดันให้องค์กรก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งได้ ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดพัฒนาองค์กร และที่สำคัญองค์กรก็ควรที่จะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของพนักงานของตนอยู่เสมอ เพราะการพัฒนาองค์กรนั้นควรทำควบคู่กันทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์, ระบบบริหาร, ระบบการทำงาน, ไปจนถึงบุคลากร จึงจะเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบที่สุด
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส63423471144
วันที่ 26 ธค.63

1.ศึกษาเอกสารเรื่องสภาพแวดล้อม ทั่วไปทางการบริหารองค์การ
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารองค์การ
สภาพแวดล้อมทางการบริหาร(Envir
onment) คือสภาพของปัจจัยต่างๆที่อยู่ภายในและภายนอกองค์การ ที่สามารถส่งผลกระทบถึงภายในของระบบการบริหารองค์การ จึงมีผลต่อประสิทธิภาพความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม กับการบริหาร ทรัพยากรในการบริหารนับเป็นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรง และจำเป็นต่อการบริหารงานขององค์การ

สังคมคือการอยู่ร่วมกันของบุคคลหรือกลุ่มคน โดยเป็นกลุ่ม เป็นหน่วยงาน หรือเป็นองค์การต่างๆ ตั้งแต่องค์การเล็ก ถึงองค์การระดับประเทศและระดับชาติ คนเราเมื่อมีการอยู่ร่วมกันมักมีความเห็นแตกต่างกัน หรือคล้อยตามกันก็ได้ ซึ่งแต่ละคนมาจากถิ่นฐานต่างกันทั้งทางภูมิประเทศ วัฒนธรรม ภาษา หรือทางสภาพแวดล้อมอื่นที่แตกต่างกันไป สังคมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบถึงการบริหารองค์การ จึงทำให้การบริหารงานมีข้อติดขัดและ การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า หรืออาจไม่บรรลุเป้าหมายได้ตามที่กำหนดไว้ซึ่งเป็นผลเสียต่อ องค์การโดยตรง และนี่เองจึงเป็นสาเหตุให้การพัฒนาองค์การดำเนินไปไม่ต่อเนื่อง และอาจหยุดชะงักลงได้
เพราะมีปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารองค์การ ด้วยกันหลายประการคือ
1. ปัจจัยทางวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการบริหารในองค์การโดยมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ภูมิภาค เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี เช่น ชาวเขาเผาต่างๆ จะมีวัฒนธรรมการแต่งกายที่ต่างกันออกไป หรือชนชาวใต้ทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ที่มีประเพณีวัฒนธรรม การกินอยู่และการใช้ชีวิต ต่างกับชาวพุทธ
2. ระบบชนชั้นและสถาบันทางสังคมการศึกษาถึงโครงสร้าง ทางชนชั้นของสังคม จะทำให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ จนถึงสถานภาพที่สังคม เป็นผู้กำหนดให้กับบุคคลต่างๆ สถาบันทางสังคมเช่นสถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบัน พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจของประชาชนในชาติ ที่มีอิทธิพลต่อวิทีการดำเนินชีวิตของประชาชน
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ จะมีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์การทั้งในทางตรงและทางอ้อม ปัจจัยทางเศรษฐกิจในการบริหารงานขององค์การจำเป็นต้องมีงบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
4. ปัจจัยทางประชากร การกำหนดนโยบายและวิธีการบริหารงานองค์การจำเป็นจะต้องมีการศึกษา ถึงปัจจัยในด้านประชากร ที่องค์การหรือธุรกิจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ข้อมูลที่ได้มานั้นจะเป็นเครื่องชีวัดให้ผู้บริหารได้เห็นสภาพแรงงานของท้องถิ่นนั้น
5. ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นปัจจัยที่นำเข้าสู่กระบวนการผลิตและแปลงสภาพให้เป็นสินค้า เช่น แหล่งขุดเจาะน้ำมันของไทยของบริษัทปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการนำทรัพยากรธรรมชาตินี้มาแปลงสภาพ กลั่นเป็นน้ำมันที่แยกใช้ได้ตามประเภทต่างๆที่เหมาะกับผู้บริโภค จึงเป็นการสนองตอบต่อผู้บริโภค
6. ปัจจัยทางการเมือง การเมืองส่งผลกระทบต่อนโยบายการค้าการประกอบธุรกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพักอยู่บ่อยครั้ง จึงส่งผลให้ นักลงทุนทั้งคนไทยและคนต่างชาติกำหนดทิศทางการลงทุนในไทยได้ช้าลงหรือยากขึ้น เพราะจะมีผลกระทบต่อนักลงทุนเกิดการชะลอการลงทุนในไทยเป็นผลให้ประเทศไทยอาจเสียโอกาส และนักลงทุนอาจตัดสินใจไปลงทุนที่ประเทศอื่นซึ่งเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรง
7. ปัจจัยทางกฎหมาย แต่ละประเทศจะมีกฎหมายในรูปแบบของพระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจเช่น กฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมภาษีการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ หรือกฎหมายการนำเข้าสุรา กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีควบคุมการค้ากำไรเกินควร
8. เทคโนโลยี เป็นระบบของความรู้ซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่จะนำมาใช้ให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ยานพาหนะต่างๆ รถ เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์สำนักงานเป็นต้น
9. ปัญหาและวิกฤตการณ์ของสังคม เป็นปัจจัยที่มาจากปัจจัยเบื้องต้นทั้งหมด และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบบริหารองค์การหากเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ผู้บริหารจะต้องหาทางแก้ไข ตัวอย่างเช่นปัญหามลภาวะ หากองค์การนั้นเป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ก็อาจจะส่งผลให้ผู้คนที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน ได้รับมลภาวะทางกลิ่นที่ไม่บริสุทธิ์ ส่งกลิ่นเหม็นตลอดเวลาทำให้เกิดการเรียกร้องความเสียหายต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในบริเวณนั้นได้ ผู้บริหารจึงต้องหาทางแก้ไขโดยด่วนเป็นต้น
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
1.1จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์กร
-ยกตัวอย่างวิกฤติทางสังคมมาเป็นตัวอย่าง
ปัญหาและวิกฤติการณ์ของสังคม
เกิดมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ระบบชนชั้นและสถาบันสังคม เศรษฐกิจ ประชากร ทรัพยากร การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ทางสังคม เป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบการบริหารงานองค์กร มีลักษณะเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่บริหารจะต้องเผชิญและแก้ไข เช่น ปัญหาสังคมของวัยรุ่น ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ปัญหาแรงงาน ปัญหาทางการบริหาร
ตัวอย่าง ปัญหาทางการบริหาร
มนุษย์นั้นไม่ใช่เครื่องจักรกล แน่นอนว่าเมื่อคนหลายคนมาทำงานร่วมกันย่อมเกิดความเห็นที่แตกต่าง รวมไปถึงมีวิธีการทำงานที่ต่างกันไป บางครั้งความแตกต่างของแต่ละคนต่างก็ผสมกลมกลืนเป็นการทำงานได้อย่างลงตัวไม่เกิดปัญหา แต่บางครั้งความแตกต่างนี่ล่ะที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการทำงานระบบทีมได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การทำงานระบบทีมนั้นจะเกิดความขัดแย้งขึ้น สิ่งที่องค์กรตลอดจนหัวหน้าทีมควรคำนึงถึงมากกว่าก็คือการบริหารจัดการความขัดแย้งให้เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และขจัดอุปสรรค์ต่างๆ ในการทำงานระบบทีมให้มีความราบรื่นขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้เช่นเดิม และสามารถจับมือร่วมกันสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด
ปัญหาในการทำงานเป็นทีม
1.ความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล (Personality Differences)
ไม่มีใครสักคนบนโลกนี้ที่เหมือนกัน แต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง และความแตกต่างนี้เองมักนำมาซึ่งปัญหาในการทำงานร่วมกัน ทุกคนล้วนมีอคติ (Bias) ส่วนตัวต่อบุคคลอื่นในเหตุผลที่ต่างกัน บุคลิกบางอย่างก็อาจไม่เป็นที่ยอมรับของคนบางคน ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างกัน
2.ความไม่เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วม (Unequal Contributions)
ความไม่เท่าเทียมกันเป็นบ่อเกิดของปัญหาเสมอ โดยเฉพาะเรื่องของการทำงานที่หากมีการแบ่งงานให้ทำอย่างไม่เสมอภาคแล้วก็ย่อมเกิดความไม่เท่าเทียมและนำมาซึ่งปัญหาได้
3.การขาดความรู้สึกมีส่วนร่วม (No Sense of Belonging)
ปัจจัยสำคัญมากที่จะทำให้การทำงานระบบทีมประสบความสำเร็จนั้นก็คือการรู้สึกถึงความมีส่วนร่วมของทีมหรือองค์กร รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม สิ่งที่จะสร้างความมีส่วนร่วมได้ดีนั้นก็คือการได้ทำงานที่ตนเองรัก ทำได้ดี มีศักยภาพ
4.ความล้มเหลวในการประเมิน (Failure of Evaluation)
การทำงานที่ดีควรมีการประเมินเพื่อนำผลมาวิเคราะห์ว่าการทำงานประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ควรปรับวิธีการ แก้ไขสิ่งไหน หรือควรพัฒนาสิ่งไหนให้ดียิ่งขึ้นไป
5.อำนาจของผู้นำ (Power of the Leader)
หัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีมอีกอย่างหนึ่งก็คือการมีผู้นำที่ดี ผู้นำเปรียบเสมือนกัปตันเรือที่จะคอยบังคับเรือไปในทิศทางที่ถูกต้อง การให้อำนาจผู้นำในการบริหารตลอดจนการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และหากผู้นำใช้อำนาจนี้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเกิดการทำงานที่มีศักยภาพเช่นกัน
6.การขาดแคลนทางเลือก (Lack of Alternative)
ปัญหาในการขาดแคลนทางเลือกนี้มักเกิดขึ้นกับทีมที่มีจำนวนสมาชิกน้อย หรือทีมที่มีสมาชิกมีความเป็นเอกภาพส่วนตัวสูงจนเกินไป สิ่งเหล่านี้ทำให้งานไม่เกิดความหลากหลาย
7.การปิดบัง (Concealment)
การทำงานระบบทีมจะล้มเหลวทันทีหากเกิดการปิดบังข้อเท็จจริงกัน
9.ขาดการกระจ่ายข่าวสู่ระดับล่าง (Lack of Spreading News to Lower Level)
การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ การกระจายข่าวสารและข้อมูลระหว่างคนในทีมก็ควรให้ความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการกระจายข่าวสารจากระดับบริหารสู่ระดับล่าง บางครั้งหัวหน้างานอาจได้รับข้อมูลข่าวสารมาแต่ไม่กระจายสู่สมาชิกทีมระดับล่าง ก็อาจเกิดการไม่รู้ข้อมูลได้
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
2.1จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
การพัฒนาองค์การ หมายถึง การพัฒนาองค์กรก็คือการทำให้องค์กรนั้นดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าเดิม ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การปฎิบัติงาน ระบบโครงสร้างองค์กร ไปจนถึงทัศนคติในการทำงาน ปัจจุบันการพัฒนาองค์กรกลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารตลอดจนขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบตลอดจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
การพัฒนาองค์กรยังหมายถึงการยกระดับองค์กรอย่างสร้างสรรค์และให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยที่ยังให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ โดยการพัฒนาองค์กรนั้นยังต้องควรตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ตลอดจนค่านิยม (Core Value) ขององค์กรด้วย การพัฒนาองค์กรควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและการปฎิบัติการเชิงกลยุทธ์ให้เกิดความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นจะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป
ลักษณะสำคัญของการพัฒนาองค์กร
1)การเปลี่ยนแปลงที่ได้วางแผนไว่ล่วงหน้า
2)การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะครอบคลุม
3)จุดเน้นจะอยู่ที่กลุ่มงาน
4)การเปลี่ยนแปชงในระยะยาว
5)ตัวการการเปลี่ยนแปลง(change agent)จะมีส่วนร่วมอยู่ด้วย
6)การเน้นย้ำจะอยู่ที่การเข้าแทรกแซงและการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
1)การเพิ่มระดับความไว้ใจและการสนับสนุนระหว่างกันและกันในหมู่สมาชิกองค์การ
2)ความพร้อมที่จะเผชิญปัญหามีมากขึ้นแทนที่จะไปเก็บกดปัญหาขององค์การไว้
3)เพิ่มระดับการติดต่อสื่อสารทั้งจากบนลงล่าง ล่างขึ้นบน ระดับแนวนอนหรือแนวราบ ตลอดจนแบบทแยง
4)ส่งเสริมระดับขวัญและความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน
5)พยายามให้มีส่วนร่วมมากขึ้น มีการใช้ลักษณะภาวะการเป็นผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจทั่วทั้งองค์การ
6)ส่งเสริมให้มีการจัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งมากกว่าที่จะเก็บกดไว้
7)พยายามกำจัดความขัดแย้งที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างกลุ่มต่างๆ
8)ส่งเสริมการจูงใจในหมู่พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับขององค์การ
9)ลดระดับพฤติกรรมทางการเมืองในหมู่นักบริหารหรือผู้จัดการ
10)ส่งเสริมให้มีการตอบโต้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่างๆมากขึ้น
การดำเนินกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา
1)เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ
2)ดำเนินการโดยผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3)แก้ปัญหาเชิงปฏิบัติ
4)ข้อมูลย้อนกลับ
5)เปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์
6)เรียนรู้จากประสบการณ์
7)ค่านิยมของบุคคลากรในองค์การ
8)การสร้างทีมงาน
กระบวนการวางแผนในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อพัฒนา
-ระยะที่1 แรงกดดันให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงและเร่งเร้าให้ทำการเปลี่ยนแปลง
-ระยะที่2 การสอดแทรกกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ๆ
-ระยะที่3 การระบุสาเหตุและยอมรับสภาพปัญหาหรือความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
-ระยะที่4 จัดทำคำตอบใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา และเลือกเฉพาะคำตอบที่จะดำเนินการที่สามารถช่วยให้องค์การเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์
-ระยะที่5 การนำคำตอบใหม่ไปทดลองปฏิบัติ และนำผลที่ได้มาพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
-ระยะที่6 ระยะการเสริมพลังและเกิดการยอมรับแนวทางใหม่ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป
กลยุทธ์ เทคนิคและยุทธ์วิธีในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อพัฒนา
-วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งหมดขององค์การ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งหมดขององค์การเป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม โครงสร้างและวิธีปฏิบัติของบุคคลแต่ละคน กลุ่มบุคคล และองค์การ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นและเป็นจริงได้ จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ และเทคนิคที่สอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงให้มากที่สุด
-White and Bedner ได้กล่าวถึงเทคนิคหรือยุทธวิธีที่นำมาใช้แทรกแซงให้องค์การเกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนานั้น
1)การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์
2)การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ
3)การออกแบบงาน
4)การสร้างทีมงาน
5)การให้คำปรึกษาในกระบวนการดำเนินงาน
6)การพัฒนาข่ายงานขององค์การ
7)การให้สมาชิกในองค์การตระหนักถึงพฤติกรรมที่บุคคลควรแสดงออกต่อผู้อื่นที่ทำงานร่วมกัน และเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
8)การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคล
9)การกำหนดรูปแบบเทคนิคเชิงสังคม
ข้อจำกัดของการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อพัฒนา
-การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาเป็นสิ่งที่ดีสำหรับองค์การ และควรดำเนินการอย่างจริงจัง แต่การเปลี่ยนแปลงจะบรรลุผลสำเร็จได้จะต้องอาศัยเวลาและการดำเนินงานอย่างมาก รวมถึงมีการเสียค่าใช้จ่ายสูง การประเมินผลของการเปลี่ยนแปลงอาจทำได้ยาก และบางครั้งอาจไม่ได้รับความเข้าใจและความร่วมมือจากสมาชิกขององค์การได้
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
2.2อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
Organization Development (OD) การพัฒนาองค์การ เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ระยะยาว ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรเป็นระบบ
พบว่าปัจจุบันผู้บริหาร นักพัฒนาบุคลากรหลายคนสงสัยว่า OD นั้นมีความหมายแตกต่างไปจาก HRD อย่างไร จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาความหมายของคำว่า OD จะเห็นได้ว่ามีนักคิด นักวิชาการมากมายที่ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ OD ที่เหมือนและแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
Richard Beckhard (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นความพยายามที่เกี่ยวข้องกับ 1) แผนงานที่ถูกกำหนดขึ้น 2) องค์การในภาพรวม 3) การบริหารจัดการจากผู้บริหารระดับสูง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในระดับองค์การ และ 5) เครื่องมือที่มีการวางแผนงานและถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานขององค์การ
Wendell French (1969) กล่าว ถึง OD ว่าเป็นกระบวนการระยะยาวที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการปรับปรุงขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก องค์การ โดยมีที่ปรึกษาทั้งจากภายในและภายนอกองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของการ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ
Michael Beer (1980) กล่าว ว่า OD กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ
จากแนวคิดของนักคิดและผู้รู้ดังกล่าวข้างต้น พบว่า OD เป็นกระบวนการหรือเครื่องมือที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อการบริหารการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมภายนอกในยุคของการแข่งขัน ดังนั้นองค์การต่างๆ จึงมุ่งเน้นให้คนในองค์การเกิดการปรับปรุง และการพัฒนาในขีดความสามารถของตน ทั้งนี้แนวคิดของ OD จะเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง มิใช่การหยุดนิ่งอยู่กับที่ และหลายครั้งที่การทำ OD ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้บริหารไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของ “คน” ในองค์การเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ผู้บริหารขาดการมีส่วนร่วม ขาดการผลักดันในการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในองค์การอย่างจริงจัง ซึ่งบุคคลที่จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจและเห็นถึงความ สำคัญของเครื่องมือ OD ก็คือนักพัฒนาบุคลากร ที่จะต้องค้นหาปัญหา (Problem Identification) ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหากองค์การไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และวิธีการทำงานของบุคลากรในองค์การ
เมื่อค้นหาว่าอะไรเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการหาแนวร่วมจากผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ รวมทั้งพนักงานทุกคนในองค์การ การจัดทำแผนการสื่อสาร (Communication Plan) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานเกิดความเข้าใจใน เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง นักพัฒนาบุคลากรจะต้องสร้างจิตสำนึกของคนในองค์การก่อนเพื่อให้พวกเขาไม่ต่อ ต้านและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบงานหรือกระบวนการทำงานที่แตกต่างไป จากเดิมที่เคยปฏิบัติ และเมื่อพนักงานทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นในองค์การ โดยไม่ควรลอกเลียนรูปแบบหรือแนวปฏิบัติจากองค์การอื่น โดยเฉพาะองค์การที่ได้ชื่อว่าเป็น Best Practices ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการนำเครื่องมือ OD มาใช้เพื่อพัฒนาองค์การ และเพื่อให้เครื่องมือที่คิดขึ้นถูกนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ข้อพึงระวังก็คือ การให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดและรูปแบบของเครื่อง มือที่จะนำมาใช้ในองค์การ โดยเข้าไปพบเพื่อสอบถามความคิดเห็น หรือการทำแบบสำรวจเพื่อสอบถามถึงแนวคิดในการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาองค์การ
ดังนั้น OD จึงเป็นเรื่องของแผนงาน กิจกรรม และระบบงานที่ถูกคิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงว่า ปัจจุบันองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องใด เช่น หากองค์การเผชิญปัญหาว่าพนักงานเก่ง (Talented People) ลาออกค่อนข้างมาก นักพัฒนาบุคลากรสามารถนำเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง โดยการสร้างจิตสำนึก หรือ Talent Mindset ให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ก่อน และหากผู้บริหารมีจิตสำนึกของการบริหารจัดการคนเก่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการหาเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง พัฒนา จูงใจและรักษาพนักงานเก่งเหล่านี้ไว้ให้ได้
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
2.3อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาองค์การ
กระบวนการพิเศษที่จะเปลี่ยนแปลงองค์การก็คือ การพัฒนาองค์การตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของ Kurt Lewin’s โดยทีมที่ปรึกษาจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูล การพิจารณาข้อผิดพลาด การป้อนกลับและการประเมินผลอย่างเป็นทางการ ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem recognition) เป็นการเริ่มต้นพัฒนาองค์การ โดยที่ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกำหนดปัญหาต่างๆ ภายในองค์การ และสิ่งที่ต้องการแก้ไขปัญหา ถ้าหากผู้บริหารระดับสูงมีความต้องการที่จะแก้ไขก็ถือว่าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบการพัฒนาองค์การและเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสูงสุด
ขั้นตอนที่ 2 การส่งต่อให้กับทีมที่ปรึกษา (Entry of change agent) ทีมที่ปรึกษาจะนำปัญหามาวิเคราะห์พร้อมหาทางแก้ไขและเปลี่ยนแปลง บุคคลภายในองค์การและภายนอกองค์การมีส่วนร่วมในการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาขององค์การ
ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ปัญหา (Data collection and problem diagnosis) การทำงานของสมาชิกภายในองค์การ ทีมที่ปรึกษาจะมีการตรวจสอบเอกสารภายในองค์การ และใช้ในการสัมภาษณ์ทำแบบสอบถาม และสังเกตข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อจากนั้นทีมที่ปรึกษาก็จะเลือกผู้จัดการให้ช่วยในการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ลักษณะของปัญหาและการขยายตัวของปัญหา ส่วนทีมที่ปรึกษาอาจจะมีการสอบถามผู้จัดการบางท่านให้จัดเตรียมข้อมูลป้อนกลับของการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 4 การปรับแผนสำหรับเปลี่ยนแปลง (Development of plan for change) ทีมที่ปรึกษาจะทำงานร่วมกับผู้จัดการหลัก เพื่อกำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแผน โดยการสร้างและประเมินทางเลือกในการทำกิจกรรมต่างๆ และตัดสินใจเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด ในระหว่างนั้นจะมีการปรับแผนให้เหมาะสมกับองค์การ
ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้น (Change implementation) คัดเลือกวิธีที่เหมาะสมและนำไปปฏิบัติ ขั้นตอนนี้จะได้รับการตอบสนองตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บุคคล วัฒนธรรม และสภาวะการทำงานอื่นๆ

ขั้นตอนที่ 6 การทำให้มั่นคงและจัดทำให้มีขึ้น (Stabilization and institutionalization) หมายถึง การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ได้นำวิธีใหม่มาใช้พัฒนาองค์การโดยพิจารณากิจกรรมแต่ละวัน
ขั้นตอนที่ 7 การป้อนกลับและการประเมินผล (Feedback and evaluation) หลังจากการเปลี่ยนแปลงที่ได้ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน ทีมที่ปรึกษาจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่า และวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น จากนั้นก็จะมีการประเมินผล ขั้นตอนนี้สามารถที่จะปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ หากผลการวิเคราะห์ออกมาว่าขั้นตอนใดยังไม่เหมาะสมก็ให้แก้ไขใหม่ ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมบางอย่างเราจะควบคุมไม่ได้ แต่องค์การก็สามารถที่จะเอาชนะได้ เป็นผลมาจากการทดลองปฏิบัติ ผู้บริหารระดับสูงควรจะตระหนักว่า การที่องค์การมั่นคงและการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ
ประเภทของดทคนิคการพัฒนาองค์การ
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล ได้แก่
1)การวางแผนชีวิตและอาชีพ
2)การวิเคราะห์บทบาท
3)การทำให้งานมีความหมาย
4)การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น
5)การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ
6)การพัฒนาแบบของผู้บริหาร
7)การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน
8)การวิเคราะห์พฤติกรรม
9)การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม ได้แก่
1)การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ
2)การพัฒนาทีมงาน
3)การพัฒนาคุณภาพงาน
4)การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์
5)การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
6)การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม
7)การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด
8)การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ ได้แก่
1)การออกแบบโครงสร้างขององค์การ
2)การออกแบบงาน
3)การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
4)การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน

นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส
63423471144
วันที่ 26 ธันวาคม 2563
2. ศึกษาเอกสารเรื่องการพัฒนาองค์การ
2.1จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
องค์การ (Organization) คือศูนย์รวมของกลุ่มบุคคลหรือกิจกรรมใดใดก็ตามที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งทำงานร่วมกันมีจุดประสงค์เดียวกันและต้องการที่จะทำให้องค์การนั้น นำไปสู่ความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ในองค์การนั้น จะเป็นองค์การได้จะต้องมีคน (MAN)ตั้งแต่สองคนขึ้นไป และมีกิจกรรมที่จะต้องทำร่วมกันโดยมีกระบวนการ และกระบวนการนั้นจะต้องทำให้บรรลุเป้าหมายโดยมุ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และคน ที่จะทำงานร่วมกันจะต้องมีความร่วมมือร่วมใจประสานงานกันในการดำเนินงาน ตามกิจกรรมต่างๆที่ได้กำหนดไว้แล้ว องค์การจะอยู่ได้ต้องมีคนหรือมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้กระบวนการในการดำเนินกิจกรรมขององค์การไปสู่ความสำเร็จหรือนำไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้

องค์การกับสภาพแวดล้อมสัมพันธ์กันโดย สภาพแวดล้อมทางการบริหาร(Environment) คือสภาพปัจจัยต่างๆที่อยู่ภายใน และภายนอกขององค์การที่สามารถส่งอิทธิพลมายังภายในระบบการบริหารองค์การซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของการบริหารงาน
ทรัพยากรในการบริหาร จัดเป็นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นสภาพแวดล้อมที่จำเป็นในการบริหารขององค์การ โดยจะแบ่งสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อองค์การได้สองลักษณะคือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอกหรือสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการบริหาร เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อระบบการบริหารในองค์การทุกๆส่วนซึ่งมีผลต่อรัฐทุกๆองค์การ จึงได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในลักษณะเช่นนี้เสมอได้แก่ 1) เศรษฐกิจซึ่งปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาของประเทศในปัจจุบัน 2) สังคม เช่น วัฒนธรรมค่านิยมและประเพณี ระบบชนชั้นและสถาบันกลุ่มสังคม และครอบครัว การศึกษา ประชากร การโภชนาการและสุขอนามัยตลอดจนสังคมต่างๆ 3) การเมือง 4) กฎหมาย 5) สภาพทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เช่นสภาวะโลกร้อนเรือนกระจกเป็นต้น 6) เทคโนโลยี 7) โลกาภิวัตน์และต่างประเทศ
2. สภาพแวดล้อมภายในหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะสำหรับองค์การต่างๆของรัฐ เป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบบริหารในแต่ละองค์การ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการบริหารขององค์การ หรือจะเรียกว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรก็ได้ สภาพแวดล้อมประเภทนี้ อาจมีลักษณะจำเป็นในการดำเนินการสำหรับองค์การหนึ่งๆ แต่อาจไม่มีความจำเป็นต่อองค์การอื่นๆเลยก็ได้ เช่น บุคลากร แรงงาน เครื่องจักรหรือเครื่องพิมพ์ เทคโนโลยี การบริหาร กฎระเบียบขององค์การ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์
รหัส 63423471144
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ(Organization development) ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ซึ่งใน โลกยุคไร้พรมแดนจะมีความหลากหลายทันสมัยมากยิ่งขึ้นซึ่งทำให้การติดต่อสื่อสาร เป็นไปได้โดยง่ายโดยใช้เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีและสาระสนเทศหรือโลกแห่งอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วจึงทำให้การแข่งขันทางด้านธุรกิจ มีความเข้มข้นขึ้น ฉะนั้นองค์การแต่ละองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การของรัฐหรือองค์การธุรกิจเอกชน จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารองค์การให้พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันทางธุรกิจกันมากขึ้น องค์การใดหรือธุรกิจใดมีความฉับไวในเชิงปฏิบัติได้รวดเร็ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อองค์การนั้นๆ

- เพื่อเป็นการพัฒนากระบวนการของการทำงานอย่างมีระบบมีระเบียบ ของแผนการปฎิบัติงาน
- เพื่อ มุ่งเสริมหลักการทำงานที่เน้นหลักการมากกว่าตัวบุคคล
- เพื่อการพัฒนาการทำงานเป็นทีมทั้งนี้เพื่อให้พนักงานเกิดความกระตือรือร้นเพื่อที่จะรวมตัวกันทำงาน ด้วยความสามัคคีกันในหมู่คณะซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์การในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อย
2.3
อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การมิได้จำเพาะเจาะจงแต่เฉพาะ องค์การที่มีปัญหาเท่านั้น หากองค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองดีอยู่แล้วก็ควรได้รับการพัฒนาในขั้นต่อไปได้อีก หากเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนนั้นดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาต่ออีกแล้วจึงหยุดนิ่งไป ก็เท่ากับว่าองค์การนั้นกำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอโดย การพัฒนาองค์การ ผู้บริหาร ระดับสูง จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการพัฒนาองค์การกล่าวคือ
- การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ปัญหา(Data collection and problem diagnosis เป็นการตรวจสอบเอกสารและสัมภาษณ์ทำแบบสอบถามและสังเกตเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเตรียมข้อมูลป้อนกลับ
- การปรับแผนสำหรับเปลี่ยนแปลง(development of plan for change) เป็นการกำหนดนโยบายในการเปลี่ยนแผนโดยปรับแผนให้เหมาะสมกับองค์การ
- การดำเนินการเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้น(Change implementation) เป็นการคัดเลือกวิธีที่เหมาะสมและนำไปปฏิบัติ ขั้นตอนนี้จะได้รับการตอบสนองตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บุคคล วัฒนธรรม และสภาวะการทำงานอื่นๆ
- การทำให้มั่นคงและจะทำให้มีขึ้น(stabilization And institutionalization) เป็นขั้นการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและจริงจังและพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงหลังจาก นำวิธีใหม่ มาใช้พัฒนาองค์การโดยพิจารณากิจกรรมของแต่ละวัน
- การป้อนกลับและประเมินผล(feedback and evolution) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่าและวิเคราะห์ข้อผิดพลาด หากขั้นตอนใดในการเปลี่ยนแปลงยังไม่เหมาะสมก็ให้แก้ไขใหม่
ประเภทขององค์การ
เราจะแบ่งประเภทขององค์การเป็น
วัตถุประสงค์, โครงสร้าง, การกำเนิด
และวัตถุประสงค์มีการจำแนกออกเป็น
- เพื่อประโยชน์ของสมาชิก เป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิก อาทิเช่นพรรคการเมือง สหกรณ์ และ สโมสรต่างๆ
- เพื่อธุรกิจ เป็นการมุ่งประโยช์หวังผลกำไร เช่นห้างร้าน บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม ธนาคาร
- เพื่อบริการ จะมุ่งเน้น บริการเพื่อ สาธารณะทั่วไป เช่นโรงพยาบาล โรงเรียน หรือ สมาคมเพื่อการสงเคราะห์ต่างๆ
นางกฤษวรรณ สุวรรณพิบูลย์ รหัส 63423471144
วันที่ 26 ธันวาคม 2563
ต่อจากคำถาม ข้อ 2.3 อธิบายขั้นตอนการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
.../เพื่อการสงเคราะห์ต่างๆ

- เพื่อสวัสดิภาพของประชาชน มุ่งเน้น ประโยชน์ของประชาชน ได้แก่กระทรวง ทบวง กรม กองส่วนราชการต่างๆ
องค์การที่เป็นโครงสร้าง จำแนกเป็น
- องค์การแบบเป็นทางการ มีการจัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฏหมาย หรือจัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทและหุ้นส่วนจด ทะเบียน เช่น หน่วยราชการ พรรคการเมือง บริษัทฯ
- องค์การแบบไม่เป็นทางการ เป็นการรวมตัวกัน และแยกออกไปง่ายๆ กลุ่มเพื่อน กลุ่มชมรมฯลฯ
- องค์การที่จำแนกโดยการเกิด (การตั้งองค์การ)
การเกิดขององค์การ เป็นการแบ่งประเภทขององค์การ มีการเกิดแบบ • • • •องค์การแบบปฐม เป็นการรวมตัวกันโดยมิได้นัดหมาย มีความคิดเห็น ร่วมกัน คิดเหมือนกันอย่างเดียวกัน เช่น ครอบครัว ศาสนา คนในหมู่บ้าน โดยมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่เกิด
•องค์การแบบมัธยม จะมีการจัดตั้งขึ้น
โดยทางกฎหมาย หรือจดทะเบียน เช่นห้างหุ้นส่วนฯ บริษัท หน่วยงานราชการต่างๆ
เทคนิคการพัฒนาองค์การ
QWL: Quality of work life เป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานตามความต้องการของบุคคล ในสถานที่ทำงานทางด้านร่างกาย และความรู้สึก โดยมุ่งด้านความมั่นคง ความปลอดภัย และ สุขภาพ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การพัฒนาความเชี่ยวชาญ การได้รับความคุ้มครองจาก ความยุติธรรม

•เทคนิคการพัฒนาองค์การ มีหลายรูปแบบ บางครั้งเรียกว่า กิจกรรมสอดแทรก ซึ่งใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์การ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล
และองค์การโดยรวม

การจัดให้มีการฝึกอบรม และประเมินงาน ประเมินคน เป็นการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน หากมีสิ่งเร้า เช่น มีรางวัลหรือการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่ง เป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากรในองค์การ ก็จะทำให้บุคลากร กระตือรือร้นมากขึ้น
การพัฒนาองค์การ จึงต้องพัฒนาคนด้วย มนุษย์คือทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดเป็นอันดับแรก องค์การจึงต้องให้ความใส่ใจ ในชีวิตความอยู่ ของบุคลากรด้วย องค์การจะดำรงค์อยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง บุคลากร และองค์การ หรือผู้บริหาร จะต้องยอมรับซึ่งกันและกัน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และผู้บริหารองค์การ จะต้องไม่หยุดยั้ง ที่จะคิดหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงาน ตามแผนงานต่างๆ ที่ผู้บริหารได้กำหนด เลือกแนวทาง วิธีที่จะปฏิบัติให้เป็นไปในทางที่จะทำให้องค์การพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป
การพัฒนาองค์การ จะต้องให้ความสำคัญที่จะพัฒนาคน หรือบุคคลากรในองค์การด้วย เพราะคน เป็นทรัพยาสำคัญ ที่จะนำพา ซึ่งการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่มีอยู่ในองค์การทั้งหมด ในแต่ละองค์การ ควรมีการจัดทำ จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ขององค์การเอง ไว้อย่างน้อย หนึ่งองค์การ:ต่อหนึ่งโครงการ เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงานขององค์การนั้นๆด้วย
คำถาม
1.1จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์การ
ตอบ : พลังของสภาพแวดล้อมภายนอกกิจการจะอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ดังนั้นผู้บริหารจึงไม่สามารถที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมได้โดยตรง แต่พลังเหล่านี้จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการดำเนินงานและการบรรลุเป้าหมายขององค์การ ทำให้ผู้บริหารทุกระดับต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงพลังของสภาพแวดล้อมภายนอกกิจการและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อกิจการ โดยที่เราสามารถแบ่งสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การออกเป็น 2 ระดับดังต่อไปนี้
1.สภาพแวดล้อมทั่วไป พลังของสภาพแวดล้อมทั่วไป ซึ่งหมายถึงอิทธิพลทางการเมืองการปกครองอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อิทธิพลทางเทคโนโลยี อิทธิพลทางสังคมและวัฒนธรรม และอิทธิพลจากนานาประเทศ ซึ่งมีอิทธิพลทั่วไปต่อองค์การ ถึงแม้ว่าอิทธิพลเหล่านี้จะไม่มีผลกระทบโดยตรงในการดำเนินงานประจำวันขององค์การก็ตาม แต่ก็มีความสำคัญมากด้วยเหตุผลหลายประการคือ
ประการที่ 1 แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับแนวโน้มที่สำคัญซึ่งมีผลถึงเป้าหมายในระยะยาวขององค์การ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้คือ เมื่อประชาชนมีความสนใจในเรื่องการประหยัดน้ำ เพราะทรัพยากรน้ำกำลังเริ่มขาดแคลน กิจการผลิตและจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ ก็มีความตื่นตัวและปรับตัวตามสภาพแวดล้อมนี้ โดยการผลิตและส่งเสริมการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ช่วยประหยัดน้ำ ซึ่งช่วยส่งผลให้กิจการมีกำไรระยะยาว เป็นต้น
ประการที่
2 สถานการณ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยพลังของสภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถทำให้องค์การต้องสนใจบรรยากาศทั่วๆ ไปได้ ตัวอย่างเช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นกิจการที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐวิสาหกิจผู้ผูกขาดเรื่องกิจการการโทรศัพท์ เมื่อรัฐบาลอนุมัติให้เอกชนเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และให้องค์การธุรกิจของเอกชนมาประมูลการให้บริการทางโทรศัพท์ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงได้มีความเคลื่อนไหวในการปรับปรุงโครงสร้างองค์การ วิธีการให้บริการ และฝึกอบรมพนักงานให้มีความคล่องตัวเพื่อรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเป็นต้น
ประการที่
3 พลังจากสภาพแวดล้อมทั่วไปจะมีผลกระทบโดยตรง โดยส่งผลมาทางสภาพแวดล้อมใน การดำเนินงาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในประเทศไทยสมัยที่มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจประมาณ ปี พ. ศ. 2532-2533 ราคาที่ดินและราคาสิ่งก่อสร้างสูงขึ้นมากจนมีการซื้อที่ดินและทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งกำโรมากมาย แต่ในระยะเวลาต่อมาสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้ซบเซาและประสบความขาดทุนจนหลายธุรกิจต้องปิดตัวลงเป็นต้น
คำถาม
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
ตอบ : สภาพแวดล้อมของบรรษัท (Corporate Environment) เป็นกลุ่มของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อความก้าวหน้าและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหมายถึงการติดตาม ตรวจสอบ พยากรณ์และ / หรือคาดการณ์ และประเมินความเป็นไปในสภาพแวดล้อมขององค์การ เพื่อจะกำหนดประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอุปสรรคและโอกาสที่จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะมีความสำคัญต่อการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ ดังที่ Michael E. Naylor (1985) ซึ่งเป็น
นักวางแผนกลยุทธ์ของ General Motors หรือ GM กล่าวว่า การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การจะช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถตอบสนองต่อสภาวการณ์สำคัญๆ ของบริษัทได้อย่างเหมาะสม โดยพยายามคาดการณ์เหตุการณ์สำคัญๆที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคตเพื่อที่จะกำหนดประเด็นสำคัญของแต่ละสถานการณ์ เพื่อที่จะวางแผนในการตอบสนองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือ
นำเอาสิ่งที่เรียนรู้จากการตรวจสอบสภาพแวดล้อมมาใช้ประกอบในการตัดสินใจที่สำคัญขององค์การความตื่นตัวของผู้บริหารต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดและสาเร็จขององค์การในปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายจัดการควรที่จะมอบหมายให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมและพิจารณาข้อมูลที่เป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมขององค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ขับซ้อน ปรับตัวตลอดเวลา และส่งผลกระทบต่อธุรกิจในมุมกว้างกว่าในอดีตมาก
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
องค์กรที่มีศักยภาพคือองค์กรที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ องค์กรที่อยู่รอดในโลกแห่งความเป็นจริงได้นั้นก็คือองค์กรที่ต้องมีการปรับตัวตลอดจนพัฒนาให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคด้วยนั่นเอง ดังนั้นเป้าหมายหนึ่งของทุกองค์กรก็คือการมุ่ง “พัฒนาองค์กร (Organization Development : OD)” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา แล้วผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้านั้นไม่ใช่เฉพาะแค่ในส่วนของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคลากรทุกฝ่ายที่รักในการพัฒนาศักยภาพตัวเองให้ดียิ่งขึ้นด้วยนั่นเอง
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้
1.การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน
2.การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ
3.การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่
4.เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม
5.ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน
6.ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก
7.มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น
8.ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
9.การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น
10.สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ
11.ส่งเสริมระบบการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ คือ แนวนอนและแนวตั้งอย่างเปิดเผยไม่ซ่อนเร้น
12.การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง
13.เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์
14.เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
Nan. said…
น.ส.สรัญณํฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
วันที่ 27 ธันวาคม 2563
1.1 จงอธิบายถึงปัจจัยทางสังคมที่กระทบถึงระบบการบริหารงานองค์กร
การประกอบธุรกิจทุกประเภทมักได้รับผลกระทบจากปัจจัยและสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจผลกระทบนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
5.1 ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) ได้แก่
1) บุคลากร
เป็นปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากบุคลากรเป็นผู้สร้างคุณภาพของสินค้าและบริการให้แก่กิจการนั้น ๆ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาบุคลากรของตนโดยการฝึกอบรมหรือการจัดสัมมนา ในขณะเดียวกันบุคลากรเองก็ต้องเป็นผู้ที่รักการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาด้วย
2) เงิน เป็นปัจจัยที่ทำให้กิจการดำเนินไปโดยราบรื่นผู้ประกอบการควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุนและบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อให้กิจการประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
3) วัตถุดิบ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตสินค้าผู้ประกอบการควรเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิต นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงว่าสามารถที่จะนำวัตถุดิบอื่นมาใช้ทดแทนได้หรือไม่
4) เครื่องจักร เป็นปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตให้มีทั้งปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของลุกค้าหรือผู้บริโภค ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนคนงาน
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยภายในอื่น ๆ ด้วย
5) การจัดการ เป็นวิธีการหรือรูปแบบในการนำเอาทรัพยากรทั้งหมดขององค์กรมาจัดการเพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการที่ดีจะช่วยลด
ต้นทุนในการผลิตเป็นการใช้ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6) การตลาด เป็นการดำเนินการเพื่อที่จะนำสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าหรือผู้บริโภค การตลาดมีส่วนสำคัญในการกำหนดตัวสินค้าและบริการที่จะผลิตออกมา โดยอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
7) ทำเล เป็นปัจจัยภายในที่ผู้ประกอบการสามารถกำหนดเองได้ โดยเลือกทำเลให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง
5.2 ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ได้แก่
1) ภาวะเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตที่จะต้องคาดคะเนภาวะเศรษฐกิจไว้ล่วงหน้าเพื่อจะได้วางแผนปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้เจริญรุ่งเรืองหรือประสบกับความสูญเสียให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
2) ระบบการแข่งขัน ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ที่สามารถมองระบบการแข่งขันในธุรกิจของตนเองได้ว่าธุรกิจอยู่ในระดับใด สามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้หรือไม่ หากแข่งขันได้จะแข่งขันด้วยกลยุทธ์หรือวิธีการใดจึงจะสามารถชนะคู่แข่งได้
3) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดว่าสภาพสังคมและวัฒนธรรมในลักษณะนี้ เหมาะที่จะประกอบธุรกิจประเภทใด เพื่อให้สินค้าและบริการที่ผลิตออกมาสามารถจำหน่ายได้
4) สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตราขึ้นเพื่อให้การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยุติธรรม เช่น กฎหมายป้องกันการผูกขาด กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ผู้ประกอบการที่ดี จึงควรดำเนินธุรกิจของตนภายใต้กฎหมาย แต่เนื่องจากภาวะแวดล้อมทางกฎหมายมีข้อกำหนดหรือข้อบังคับมากมายและกฎหมายบางฉบับเข้าใจยาก จึงมักมีที่ปรึกษาทางกฎหมายประจำกิจการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ
5) ภาวะทางการเมือง การเมืองนับว่ามีอิทธิพลเหนือการควบคุมของธุรกิจเป็นอย่างมาก นักธุรกิจจึงพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพื่อจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตน
6) เทคโนโลยี ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ
เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ผู้ที่ก้าวทันเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
2.1 จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ขององค์กรกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมกับระบบการบริหารองค์การ
พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ (2522) การศึกษาระบบสภาพแวดล้อมขององค์การใดๆนั้น เป็นไปเพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างระบบสภาพแวดล้อมกับระบบการบริหารองค์การ เป็นการศึกษาเพื่อประมวลข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสินใจในการกาหนดนโยบายขององค์การ และเป็นการระดมวัตถุดิบที่จาเป็นเพื่อป้อนให้กับระบบบริหารองค์การ
ระดับผู้ปฏิบัติการในองค์การ แยกได้ 3 ระดับ คือ
1. ผู้ปฏิบัติงานระดับสูง ทาหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อมขององค์การเพื่อประกอบการตัดสินใจ และเพื่อกาหนดเป็นนโยบายองค์การนอกจากนี้ยังมีการกาหนดแผนในการดาเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่ตั้งไว้อีกด้วย ซึ่งผู้ปฏิบัติงานระดับนี้จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
2. ผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ทาหน้าที่จัดให้เป็นไปตามแผน ตลอดจนควบคุมและประสานงาน กาหนดวิธีการปฏิบัติงาน ตรวจสอบการทางาน ประเมินผลการทางาน และเป็นผู้นาเอาเทคโนโลยีที่จาเป็นเข้ามาใช้ในการดาเนินงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานระดับนี้จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมบางส่วน
3. ผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทาหน้าที่ปฏิบัติงานทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้อยู่ในรูปของสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในระดับนี้จะมีหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการติดต่อกับระบบสภาพแวดล้อม เพื่อจัดหาวัตถุดิบที่จาเป็นให้กับองค์การ และนาองค์การไปสัมผัสกับสภาพแวดล้อมซึ่งเรียกหน่วยงานนี้ว่า Boundary – Spanning Components เช่น หน่วยจัดซื้อ หน่วยสารวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ หน่วยประชาสัมพันธ์ เป็นต้น นอกจากนี้ Boundary – Spanning Components ยังหมายความไปรวมไปถึงหน่วยงานที่มีลักษณะเป็น Staff ที่ทางานช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานหลักในองค์การอีกด้วย เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายวิจัยค้นคว้า เป็นต้น
Nan. said…
น.ส.สรัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก63423471003
2.2 อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาองค์การ
Michael Beer (1980) กล่าว ว่า OD กระบวนการที่เป็นระบบในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการวางแผนงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง และการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์การ
Warner Burke (1982)กล่าวว่า OD เป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ ด้วยการนำแนวคิด การวิจัย และเครื่องมือทางพฤติกรรมศาสตร์มาใช้ในองค์การ
จากแนวคิดของนักคิดและผู้รู้ดังกล่าวข้างต้น พบว่า OD เป็นกระบวนการหรือเครื่องมือที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อการบริหารการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมภายนอกในยุคของการแข่งขัน ดังนั้นองค์การต่างๆ จึงมุ่งเน้นให้คนในองค์การเกิดการปรับปรุง และการพัฒนาในขีดความสามารถของตน ทั้งนี้แนวคิดของ OD จะเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง มิใช่การหยุดนิ่งอยู่กับที่ และหลายครั้งที่การทำ OD ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้บริหารไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของ “คน” ในองค์การเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ผู้บริหารขาดการมีส่วนร่วม ขาดการผลักดันในการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในองค์การอย่างจริงจัง ซึ่งบุคคลที่จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจและเห็นถึงความ สำคัญของเครื่องมือ OD ก็คือนักพัฒนาบุคลากร ที่จะต้องค้นหาปัญหา (Problem Identification) ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหากองค์การไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และวิธีการทำงานของบุคลากรในองค์การ
เมื่อค้นหาว่าอะไรเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการหาแนวร่วมจากผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ รวมทั้งพนักงานทุกคนในองค์การ การจัดทำแผนการสื่อสาร (Communication Plan) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานเกิดความเข้าใจใน เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง นักพัฒนาบุคลากรจะต้องสร้างจิตสำนึกของคนในองค์การก่อนเพื่อให้พวกเขาไม่ต่อ ต้านและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบงานหรือกระบวนการทำงานที่แตกต่างไป จากเดิมที่เคยปฏิบัติ และเมื่อพนักงานทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นในองค์การ โดยไม่ควรลอกเลียนรูปแบบหรือแนวปฏิบัติจากองค์การอื่น โดยเฉพาะองค์การที่ได้ชื่อว่าเป็น Best Practices ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการนำเครื่องมือ OD มาใช้เพื่อพัฒนาองค์การ และเพื่อให้เครื่องมือที่คิดขึ้นถูกนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ข้อพึงระวังก็คือ การให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดและรูปแบบของเครื่อง มือที่จะนำมาใช้ในองค์การ โดยเข้าไปพบเพื่อสอบถามความคิดเห็น หรือการทำแบบสำรวจเพื่อสอบถามถึงแนวคิดในการนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาองค์การ
ดังนั้น OD จึงเป็นเรื่องของแผนงาน กิจกรรม และระบบงานที่ถูกคิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงว่า ปัจจุบันองค์การกำลังเผชิญกับปัญหาในเรื่องใด เช่น หากองค์การเผชิญปัญหาว่าพนักงานเก่ง (Talented People) ลาออกค่อนข้างมาก นักพัฒนาบุคลากรสามารถนำเสนอเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง โดยการสร้างจิตสำนึก หรือ Talent Mindset ให้กับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ ก่อน และหากผู้บริหารมีจิตสำนึกของการบริหารจัดการคนเก่งแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการหาเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง พัฒนา จูงใจและรักษาพนักงานเก่งเหล่านี้ไว้ให้ได้
Nan. said…
น.ส.สนัญณัฎฐ์ ศรีจันทึก 63423471003
2.3 อธิบายถึงขั้นตอนของการพัฒนาองค์การประเภทและเทคนิคของการพัฒนาองค์การ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ มีผู้ให้แนวคิดไว้ดังนี้
บรรยงค์ โตจินดา (2542 : 31-314) สายหยุด ใจสำราญ และสุภาพรพิศาลบุตร (2543 : 58–59)
ได้เสนอขั้นตอนการพัฒนาองค์การ ดังนี้
1. ขั้นการให้ความรู้และสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา ได้แก่การพิจารณาปัญหาของ
องค์การ และพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนาองค์การหรือไม่
2. ขั้นการตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ รวมทั้งการสำรวจข้อมูลต่างๆ และสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลและนำมาพิจารณาตรวจวินิจฉัยปัญหาของ
องค์การเพื่อจะให้สามารถแยกแยะว่า สมควรจะแก้ปัญหาด้านใด
4. ขั้นวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการวางแผนหรือกำหนดทางเลือกหรือยุทธศาสตร์ หรือ
กลยุทธ์ ในการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาองค์การในด้านต่าง ๆที่มีปัญหา
5. ขั้นปฏิบัติตามแผน เป็นการนำทางเลือก หรือยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์มาใช้ดำเนินการพัฒนา
องค์การตามแผนที่ได้วางไว้
6. ขั้นการประเมินผลการพัฒนาองค์การ เป็นการประเมินผล และติดตามผลว่า การพัฒนา
องค์การได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ มีขั้นตอน ดังนี้
1) การสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา
2) การตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ และวิเคราะห์ปัญหา
3) การวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการแก้ปัญหา
4) การสร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์การ
5) การลงมือปฏิบัติโดยสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์การ
6) การนำเทคนิคการพัฒนาองค์การมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
7) การติดตามและประเมินผล
เทคนิคการพัฒนาองค์การ
เทคนิคในการพัฒนาองค์การมีอยู่มากมาย เช่น การฝึกสอนและให้คำปรึกษา (Coaching and
Counseling) การให้การศึกษาและฝึกอบรม (Education and Training)การวางแผนชีวิตและอาชีพ
(Career and Life Planning) เทคนิคการวิเคราะห์บทบาท (RoleAnalysis Technique) การฝึกอบรม
เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (HumanRelations Training)การวิเคราะห์พฤติกรรม (Transactional Analysis)
การพัฒนาทีมงาน (Team Development)กลุ่มทำงานอย่างเป็นอิสระ (Autonomous Work Group)
การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ (Survey Feedback)การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน
(Process Consultantation) การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) การทำให้
งานมีความหมาย (Job Enrichment) แบบของผู้บริหาร (Managerial Grid)เป็นต้น
ประเภทและเทคนิคการพัฒนาองค์การระดับบุคคล ได้แก่
-การวางแผนชีวิตและอาชีพ
-การวิเคราะห์บทบาท
-การทำให้งานมีความหมาย
-การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น
-การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในองค์การ
-การพัฒนาแบบของผู้บริหาร
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างบุคคล ได้แก่
-การให้คำปรึกษาในกระบวนการทำงาน
-การวิเคราะห์พฤติกรรม
-การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้บทบาทที่เหมาะสม
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับกลุ่ม ได้แก่
-การสำรวจข้อมูลและการส่งข้อมูลย้อนกลับ
-การพัฒนาทีมงาน
-การพัฒนาคุณภาพงาน
-การใช้ทีมงานเพื่อการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์
-การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับระหว่างกลุ่ม ได้แก่
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่ม
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแบบกริด
-การพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มที่มากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป
เทคนิคการพัฒนาองค์การระดับองค์การ ได้แก่
-การออกแบบโครงสร้างขององค์การ
-การออกแบบงาน
-การจัดระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
-การจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงาน
Unknown said…
ชื่อ นายธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส นักศึกษา 634-234-711-45
งานวันที่ 26 ธันวาคม 2563
1.อธิบายปัจจัยทางสังคมที่มีผลกระทบต่อระบบการบริหารองค์การ
ตอบ
ปัจจัยที่มีผลกระทบทางสังคมที่มีผลต่อระบบการบริหารองค์การมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนาธรรม ประพณี ความเป็นอยู่ ความเชื่อระบบชนชั้นทางสังคม สถาบันต่าง ๆ เช่น ศาสนา การศึกษา มีอิทธิพลต่อสังคม ประชาชนในการบริหารใด ๆ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งกับสถาบันทางสังคมอาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น การก่อการร้าย เป็นต้น ปัจจัยด้านเศรษฐกิจทางสังคม กระบวนการผลิตสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการจัดสรรตลอดจนระบบการเมืองการปกครอง การร่วมมือของกลุ่มการเมืองการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากระบบทุนนิยม การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในระบบการบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพสูงสุด องค์กรกลยุทธ์ขององค์กร การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญคือ ทักษะด้านงานอาชีพ การพัฒนาองค์การที่ก่อให้เกิดการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความล้าสมัย การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆตามสภาพแวดล้อมสังคมระบบชนชั้นทางสังคม สถาบันการศึกษา ศาสนา ระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมทางตรง ทางอ้อม จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด การนำเข้าสู่กระบวนการผลิตกฎหมายทางสังคมการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่มีความแตกต่างกันและสภาพของระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบต่อระบบการบริหารองค์การเพื่องจากสังคมในระบบต้องสรรหาความเหมาะสมหน้าที่ให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆซึ่งในระบบการบริหารมีความเชื่อมโยงการ กิจกรรมใดที่ต่อให้เกิดความขัดแย้งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังอีกระบบหนึ่งได้รับผลกระทบตาม ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดไวรัสโควิค 19 เป็นต้น

2.จงอธิบายความสัมพันธ์ขององค์การกับสภาพแวดล้อม
ตอบ
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การมีความสัมพันธ์กันในระบบต่าง ๆ อย่างเป็นระบบจะขาดระบบใดระบบหนึ่งไม่ได้ ในระบบการบริหารองค์การ การผลิตสินค้าและการบริหารสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มีทั้งสภาพภายในและภายนอกองค์การที่มีความแตกต่างกันในสังคมและมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการใช้ทรัพยากรในการบริหารการอยู่ในสภาพภูมิศาสตร์สภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันการใช้เทคโนโลยี การเมืองเศรษฐกิจ ระบบชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ระเบียบทางกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย อุปกรณ์ ในระบบการบริหารซึ่งมีความจำเป็นในการบริหารในระดับต่าง ๆ เช่น 4 M บุคคล งบประมาณ วัตถุดิบ ระบบการบริหารงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับสภาพแวดล้อม การวางแผน ผู้บริหารต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสมอ ประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ ให้เหมาะสมและนำไปใช้ได้อย่างสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป สภาพแวดล้อมด้วยวิธีการเปรียบเทียบมาตรฐานกับ หมายถึง วิธีหรือกระบวนการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศขององค์การการเปลี่ยนแปลงการศึกษาถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันการหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน เช่น เรื่องราคา ข้อมูลสินค้าใหม่ การรักษาความลับ แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน หมายถึง การบริหารและจัดการท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อมด้านต่าง ๆ ของโลกยุคไร้พรมแดน สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญในระบบที่มีความสำคัญถ้าได้รับผลกระทบจากระบบนิเวศน์ทุกองค์การจะได้รับผลกระทบตามมาที่เป็นขอบเขตในองค์การนั้น สภาพแวดล้อมจึงเป็นส่วนหนึ่งในระบบสังคมที่ส่งเสริมให้องค์การมีความเหมาะสมในการได้รับความสะดวกสบาย ความคล่องตัวในระบบสังคม เศรษฐกิจการคมนาคมการขนส่งการต่อต่อธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น การขนส่งเหล็กกล้าเข้าไปก่อสร้างทางรถไฟแห่งหนึ่งที่มีสภาพแวดล้อมที่ลำบาก ถนนไม่สามารถลำเลียงอุปกรณ์ไปก่อสร้างได้ทำให้การก่อสร้างล่าช้า การบริหารโครงการได้รับผลกระทบดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีส่วนสัมพันธ์กับการบริหารงานที่ดีต้องรู้จักปรับกลยุทธ์ในการทำงานและการดำรงชีวิต
Unknown said…
ชื่อ นายธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส นักศึกษา 634-234-711-45
งานวันที่ 26 ธันวาคม 2563



3.อธิบายแนวคิดการพัฒนาองค์การ
ตอบ
แนวคิดการพัฒนาองค์การบริหารจะมีลักษณะที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จภายในองค์การพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขั้นตามความเหมาะสมในสภาวะแวดล้อมต่างกันเพื่อจุดประสงค์ของความร่วมมือ ประสานงานทำให้บรรลุผลตามเป้าหมายซึ่งมีลักษณะของการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกัน คล้ายกัน มารวมกันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์การนั้น ๆ ซึ่งแนวคิดการพัฒนาองค์การในแบบอดีตจนถึงปัจจุบันจะเน้นรูปแบบอนุรักษ์นิยมยุคต่อมาจะมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะต่างกันตามยุคสมัยสภาพแวดล้อมแนวคิดการพัฒนาแบบดั่งเดิมจะเน้นคนเป็นเครื่องมือทำให้องค์การไปสู่เป้าหมายในการผลิตซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมต่อมาแนวคิดสมัยใหม่เน้นปัจจัยสี่ มีอิทธิพลต่อระบบการบริหารองค์การต่อการเพิ่มผลผลิตการมีเป้าหมายร่วมกัน การตัดสินใจ แนวคิดพฤติกรรมองค์การเน้นกระตุ้นความต้องการของบุคคลในระดับสูงที่มีความสำคัญ ปัจจัย4 ทางกายภาพ ความปลอดภัย ปรับเปลี่ยนวิธีการของตนให้พร้อมรับกับเหตุการณ์สามารถแข่งขันได้ทุกเมื่อเหตุการณ์ในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นรสนิยมของผู้บริโภคเทคโนโลยีหรือรูปแบบของการสื่อสารซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสื่อสารเทคโนโลยีแนวคิดการพัฒนาองค์การให้เหมาะสมมีลักษณะการประสานงานและการรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมลักษณะขององค์การมีความชัดเจนในตัวบุคลากรโครงสร้างที่ชัดเจนมีความยืดหยุ่นและเป้าหมายที่ชัดเจนในการบริหารองค์การแนวคิดการพัฒนาองค์การแบบดั่งเดิมจะไม่ยืดหยุ่น งานถูกกำหนดจากตำแหน่งที่กระทำ มุ่งการบังคับให้ความสำคัญกะบงานมากกว่าบุคคลแนวคิดสมัยใหม่เน้นการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยืดหยุ่น หวังผลกับงานเปลี่ยนแปลงรวดเร็วให้ความสำคัญกับลูกค้าพัฒนาทักษะเฉพาะ ตัวอย่างเช่น การพัฒนารูปแบบองค์กรแบบดั่งเดิมมาสู่การปฏิรูปและพัฒนาองค์การสมัยใหม่ช่วง รัชกาลที่5 ปฏิรูปองค์การสาธารณูปโภคต่างให้ทันสมัย และรับการเปลี่ยนแปลงจากชาติตะวันตก เป็นต้น

4.อธิบายขั้นตอนการพัฒนาองค์การและเทคนิคการบริหารองค์การ
ตอบ
ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ ได้แก่ การยอมรับฟังปัญหาภายในองค์การต่าง ๆ การเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ การติดต่อ ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ การสำรวจ การมีส่วนร่วมระหว่างทีมที่ปรึกษาและองค์การแล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับงานในกลุ่มให้สมาชิกรับทราบและหาทางแก้ไขอย่างเป็นระบบมีการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ วางแผน ผลกระทบ ทำให้การกำหนดเวลาทำงานแบบยึดหยุ่น การฝึกอบรมในองค์การ นอกจากนี้ การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและเทคนิคการออกแบบโครงสร้างองค์การผลตอบแทนจากการทำงานที่เป็นธรรมและการประเมินผลงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาองค์การในระบบผสมผสานรูปแบบแมตริกต์และการออกแบบรูปแบบการสร้างบรรยากาศที่ดีการรวบรวมข้อมูลร่วมกัน การให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มภายในองค์การและทีมผู้บริหารเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อองค์การและสิ่งแวดล้อมภายในองค์การการระดมความคิดเห็นของบุคคล ในการแสดงความคิดเห็นในระดับที่แตกต่างกันฝ่ายบริหาร รวยรวม ประชุม วางแผน เชิญวิทยากร การทำแบบสำรวจ การนัดหมายทำกิจกรรมและการสรุปและ ขั้นตอนการพัฒนาองค์การให้ความรู้และสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหากระบวนการมนุษย์ในองค์การ รวมทั้งบรรยากาศและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การเทคนิคการบริหารมนุษย์มีความสำคัญต่อผู้บริหาร สายการทำงานให้ชัดเจนรวมถึงการใช้การควบคุมด้วยความชำนาญแต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารก็อาจล้มเหลวได้ในทางกลับกันก็มีผู้บริหารบางคนที่ประสบความสำเร็จถึงแม้จะไม่ได้มีการวางแผนที่เหมาะสมเพราะพวกเขามีความชำนาญในการจ้างคนได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน มีการจูงใจ การประเมิน การฝึกอบรม และการพัฒนาที่เหมาะสมสาระสำคัญของการพัฒนาและการบริการองค์การเพื่อพัฒนาการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นระบบการบริหารที่เป็นระบบมีประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาการประสานงานการวางแผนประดำเนินการต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพ
​​​​​ ขอบคุณครับ
Unknown said…
ชื่อ นายธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส นักศึกษา 634-234-711-45
งานวันที่ 27 ธันวาคม 2563
1.ความหมายของจริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
ตอบ
จริยธรรมหมายถึงความสำนึกของบุคคลที่พึงกระทำประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและผู้อื่นและการมีส่วนร่วมของสังคมในคุณธรรมจริยธรรมรู้จักควบคุมตนเองให้มีความสุจริต รู้จักเกรงใจผู้อื่นมีความรอบคอบโดยไม่ต้องปรับปรุงหรือแสดงมารยาทในสังคมใด ๆ ส่วนคุณธรรมเป็นสภาพของคุณงามความดีงามที่สะท้อนออกมาจากนิสัยของแต่ละบุคคลดังนั้นคุณธรรมจริยธรรมเป็นสภาพความดีงามของบุคคลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคลในการมีส่วนร่วมสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การมีบุคคลากรที่คำนึงถึงคุณธรรมในการทำงานที่เป็นเกียรติภูมิของตนเองเป็นหลักสากล ตรงต่อเวลา ควบคุมตนเอง มีดุลพินิจที่ดี ใจกว้าง ซึ่งเป็น คุณธรรมและจริยธรรมเป็นเรื่องของความควรไม่ควร จริยธรรม แนวทางคุณธรรมและจริยธรรม ผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติงานที่ดีต้องมีหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจและมี “จิตใจ” จิตใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดใน พฤติกรรมของมนุษย์และจริยธรรมคือพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกในทางที่ถูกต้อง ที่สังคมส่วนใหญ่ ยอมรับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมนั้นมีหลากหลาย แนวคิดเรื่องพหุศีลธรรม แนวคิดนี้ถือว่ามีหลักการทางศีลธรรมและค่านิยมทางศีลธรรมมากมายซึ่งมนุษย์ใช้ในการตัดสินการกระทำของตนเองและผู้อื่น หลักการดังกล่าวถูกใช้เพื่อตัดสินความถูกต้องการเสียสละตนเองหมายความว่าเมื่อมีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่สาธารณะและได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและสังคมแล้วต้องถือว่ามีเกียรติและศักดิ์ศรีการตัดสินใจหรือการกระทำคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารองค์การให้บุคคลอยู่ในกฎระเบียบกติการสังคมไม่ให้ก่อความเดือนร้อนในสังคมคุณธรรมสำหรับการพัฒนาบุคคลได้แก่มีความจริงใจต่อบุคคล ต่อหน้าที่ ต่อการงาน ต่อเวลารู้กาลเทศะ การมีมารยาททางสังคมจริยธรรมสากล มีอัธยาศัย มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ควบคุมตนเอง ใจกว้าง ซื่อสัตย์สุจริต ควบคุมตนเองได้ เป็นต้น

2.เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของฝูงห่าน
ตอบ
การทำงานโดยลำพังและการทำงานเป็นทีมมีความแตกต่างกันมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดทัศนคติ ความเชื่อ วัฒนธรรม การอบรม การศึกษา สังคมความเป็นอยู่ การทำงานเป็นทีมก่อเกิดจากการที่มีบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกันหรือคล้ายกันมาร่วมมือกันทำงานเพื่อแก้ปัญหาเปรียบกับฝูงห่านแต่จากแนวคิดการทำงานเป็นทีมที่มุ่งไปในเป้าหมายเดียวกันจะสำเร็จแต่ข้อเสีย การมีแนวคิดที่ต่างกันมาทำงานร่วมกัน การมีแนวคิดต่างกันสังคมที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกันก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆภายในสังคม แม้ว่าการทำงานเป็นทีมจะมีข้อดีแต่ก็มีข้อเสียคือการมีความคิดเห็นที่แตกต่าง อาจเกิดจากไม่มีความสามัคคี การแย่งชิงทรัพยากร ผลประโยชน์แม่ว้าจะทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปแต่เกิดปัญหาตามเอกภาพได้รับมอบหมายมอย่างเต็มใจ อีกข้อหนึ่งคือห่านทุกตัวต้องมีการพักผ่อน เพื่อออมแรงในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าตรงกับความเป็นจริงที่ว่าสภาพของห่านที่บินอย่างหักโหมตลอดเวลา พักผ่อน ห่าน ต้องมีการสื่อสารบทบาทและหน้าที่และกำหนดความรับผิดชอบซึ่งกันและกันตาม "ความสามารถ" และ "ตระหนัก" แต่ละตำแหน่งห่านแต่ละตัวจะไม่รู้คุณค่าของ "ตำแหน่ง" ที่ตัวเองบินอยู่ และอยากที่จะบินเรียงแถวหน้ากระดาน เนื่องจากความต้องการกำกับการบินและต้องการได้รับ "การยอมรับ" ด้วยความเข้าใจที่ผิดว่า "ตำแหน่งจ่าฝูง เป็นตำแหน่งที่สามารถควบคุมทิศทางการบินของฝูงห่านทั้งหมดและบินได้ง่ายที่สุด ในขณะเดียวกันห่านที่บินอยู่ตำแหน่ง "จ่าฝูง" ก็อยากย้ายไปบินอยู่ข้างหลัง เนื่องจากไม่สามารถบินต้านกระแสลมโดยไม่หยุดพักตลอดเส้นทางการบิน จึงเกิดการบริหารงานเป็นทีม
Unknown said…
ชื่อธีรวัฒน์ ชาตะลี รหัส 634-234-711-45
งานวันที่ 27 ธันวาคม 2563

3.ประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ตอบ
ประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถทรัพยากรบุคคลในองค์การเพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุน ภารกิจ หน้าที่ขององค์การและเป็นการสร้างนวัตกรรมเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานให้มีประสิทธิภาพมีการวางแผนกำลังคน สรรหา คัดเลือก ตามความสามารถ การบรรจุบุคคลเข้าทำงาน การศึกษาอบรม การแสวงหาคน การกำหนดแบบประเมินผลงานของบุคลากรในองค์การในแต่ละตำแหน่ง การสัมภาษณ์ทำให้บุคลากรมีทักษะประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นลดค่าใช้จ่ายลงในการทำงานและ การอบรมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานภายในองค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือกรอบและกระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งพนักงานยังเกิดการพัฒนาศักยภาพด้วย โดยการพัฒนาศักยภาพ โดยประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร เนื่องจากเห็นคุณค่า ประโยชน์ สร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน ในองค์กรตลอดจนปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทบาทและหน้าที่ของการทำงานให้ดี ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับพนักงานตลอดจนการพัฒนาองค์กรในรูปแบบต่าง ๆซึ่งจะเป็นประโยชน์ของการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน การหาตัวตนอัตลักษณ์ที่แท้จริงของบุคคลนำมาใช้เกิดประโยชน์ เพื่อใช้งานมีประสิทธิภาพ การทราบแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม ความสนใจ ความก้าวหน้า การพัฒนา แรงจูงใจ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่าง ๆ ตลอดจนแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกับบุคลากรฝ่ายต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริม สนับสนุน กวางแผนอย่างเป็นระบบ เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง


4.อธิบายประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถทรัพยากรบุคคลในองค์การ
ตอบ
ประเภทของการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทรัพยากรบุคคลเพื่อให้ความรู้มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถในองค์การ มีคุณสมบัติที่เหมือนหรือลักษณะที่คล้ายกันในองค์การเป็นตัวกำหนดรูปแบบและ ผลักดันให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ในการทำงานตามสายงายที่กำหนดโดยฝ่ายบริหารและเป็นตัวสะท้อนค่านิยมองค์การนอกจากนี้ขีดความสามารถของบุคคลกรในองค์การแต่ละตำแหน่งของพนักงานมีความแตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบในสายการทำงานและความสำคัญ ความสามารถพิเศษต่าง ๆ ที่แตกต่างออกไป ขีดความสามารถองบุคลากรที่กำหนดในแต่ละด้านมีลักษณะของงานหรือตามลักษณะตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีขีดความสามารถประสบการณ์และทัศนคติที่ดีเข้ามาทำงานเป็นผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดประโยชน์ของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทระบบบริการลูกค้าด้านการดูแลพนักงานการเงินฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อผู้บังคับบัญชา แนวทางในการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับขีดความสามารถที่องค์การกำหนด การสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป็นเรื่องสำคัญและจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมจะสามารถสร้างการยอมรับและลดการต่อต้าน การพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลที่ความสำคัญกับองค์การเป็นการเพิ่มสมรรถภาพพฤติกรรมศักยภาพของบุคคลออกมาด้านใดด้านหนึ่งที่ปรากฏออกมาทางสังคมเป็นลักษณะเด่นมีความรู้ทักษะต่าง ๆได้แก่ ขีดความสามารถขององค์การในการผลักดันบุคลากรให้มุ่งเน้นผลงานองค์การ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรพัฒนาการตามหน้าที่ที่มอบหมาย การกำนหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์และการพัฒนาขีดความสามารถตามลักษณะงานเฉพาะหรืองานแต่ละด้านให้เหมาะสมกับงานและบุคลากรประโยชน์ของการพัฒนาเพื่อแสวงหาคนเก่งให้มาทำงานร่วมกันและพัฒนาองค์การ การวางแผน การสรรหา การอบรม การบริหารบุคลากรการเลื่อนตำแหน่ง การประเมินผลงาน เป็นต้น
​​​​ ขอบคุณครับ

Popular posts from this blog

การบริหารการพัฒนา Module 3

การบริหารการพัฒนา Module 2

จริยธรรมและธรรมาภิบาลทางการเมือง Module 1 ภาคการศึกษาที่ 3/2563 (เสาร์ที่ 24 - อาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564) 44/01