การเมืองการปกครองของไทย Thai Politics and Government
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
|
||
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
|
หมวดที่ 1
ข้อมูลโดยทั่วไป
1.
รหัสและชื่อวิชา
รหัสวิชา 2551101
ชื่อวิชา การเมืองการปกครองของไทย
Thai Politics
and Government
|
2.
จำนวนหน่วยกิต
3 หน่วยกิต
|
3.
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
กลุ่มวิชาการบริหารงานทั่วไป
|
4.
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อ.ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
|
5.
ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคเรียนที่1ชั้นปีที่ 2
|
6.
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน(Pre-requisite)(ถ้ามี)
ไม่มี
|
7.
รายวิชาที่เรียนพร้อมกัน(Co-requisite)(ถ้ามี)
ไม่มี
|
8.
สถานที่เรียน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาราชภัฏสวนดุสิต
|
9.
วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดครั้งล่าสุด
20 ก.ย.2556
|
หมวดที่ 2
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1.
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
มีความรู้ความเข้าใจความหมาย
แนวคิดด้านการเมืองการปกครอง วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองไทย
หน้าที่ของรัฐไทยและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับสังคมลักษณะทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นนำ
นักการเมืองและประชาชนของไทย
|
2.
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความสำนึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การศึกษา
มีความรู้ทางด้านการเมืองการปกครอง วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองไทยและสามารถนำแนวคิดทฤษฎีไปเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองและ
ลักษณะทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองของ นักการเมืองและประชาชนของไทยซึ่งมีพัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมทางการเมืองมากขึ้น
|
หมวดที่ 3
ลักษณะและการดำเนินการ
1.
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด
|
|||
2.
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
|
|||
บรรยาย
|
สอนเสริม
|
การฝึกปฏิบัติงาน/ภาคสนาม/การฝึกงาน
|
การศึกษาด้วยตนเอง
|
45 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา
|
ตามความต้องการของนักศึกษา
|
ไม่มีการฝึกปฏิบัติ
|
6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์/
|
3.
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
-
อาจารย์จัดเวลา 1 ชั่วโมง
/สัปดาห์สำหรับให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
|
หมวดที่ 4
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.
คุณธรรม จริยธรรม
|
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคลการไม่ลอกเลียนและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรงในการทำงาน การศึกษา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
โดยมีคุณธรรมและจริยธรรมดังนี้
(1)
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
(2)
มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3)
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้
(4)
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
(5) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(6) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
(7) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
(8) ซื่อสัตย์ สุจริต รักษาความลับขององค์กร
(9) เคารพ ปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบขององค์กร
(10)
มีความขยันหมั่นเพียร อดทน เอื้อเฟื้อต่อสมาชิกในการทำงาน
|
1.2 วิธีการสอน
การสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีการบรรยายถึงเนื้อหาหลักของวิชา ให้ผู้เรียนทำการค้นคว้า หรือทำความเข้าใจประเด็นปลีกย่อยด้วยตนเอง
เน้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
มีการพัฒนาค้นหาความรู้แล้วมาเสนอเพื่อสร้างทักษะในการอภิปรายและนำเสนอ
การเรียนการสอนจะแทรกเนื้อหา/กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม
จริยธรรม ทั้งนี้ ได้นำรูปแบบการเรียนการสอนแบบต่างๆเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้
ทักษะในการคิดอย่างมีระบบ และการวิจัยและการแก้ปัญหา มีความรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ
มีทักษะในการนำเสนอและอภิปรายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารกับผู้อื่น
ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเป็นผู้มีคุณธรรม
จริยธรรมในตนเอง วิชาชีพและสังคม
|
1.3
วิธีการประเมินผล
(1) นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรมจริยธรรม
(2) ประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างการอภิปรายโดยมีการบันทึกผลการประเมินหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
(3) ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง
|
2.
ความรู้
เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎี
และประวัติศาสตร์ทางการเมืองมาจิตสร้างสำนึกและความตื่นตัวทางการเมือง
เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตและเพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป
|
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
1.
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
2. มีทักษะทางปัญญาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบสามารถใช้ความรู้มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
3. มีทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร วิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย
รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหา
4.
สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการและปฏิบัติ
5.
เข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง
|
2.2 วิธีการสอน
(1) บรรยาย
อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา Problem-based Learning และ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(2)
บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
(3) จัดประชุม แบ่งงาน ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
(4) จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ และนำเสนอ
|
2.3 วิธีการประเมิน
(1)ทดสอบย่อย
สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
หรือโจทย์จาก Problem-based Learning
(2) ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด
โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้อง
(3) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง
|
3.
ทักษะทางปัญญา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์
ประยุกต์แนวคิดกับปรากการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงทางเมืองการปกครอง ได้เป็นอย่างดี
สามารถเสนอแนะวิธีการพัฒนา การเมืองไทยได้เป็นอย่างดี
|
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
(1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
(2) ความสามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา
(3) ความสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา
(4) ความสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
(5) ทักษะการเลือกสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีเป็นพื้นฐานมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
|
3.2 วิธีการสอน
(1)
การมอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาความต้องการ และวิเคราะห์ผลความต้องการ
(2) จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ และนำเสนอ
(3)ประชุมร่วมกันระหว่าง
อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษา
(4) มอบหมายโจทย์ปัญหา ด้านการเมืองการปกครอง
(5) การนำเสนอด้วยการจัดทำรายงานและการนำเสนอร่วมกัน
|
3.3 วิธีการประเมินผล
ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้อง
และควรนำมาเป็นพื้นฐานในการจัดการ
|
4.
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
|
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
(1) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาท
ของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
(2) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
(3) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
(4) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
พร้อมทั้งแสดงจุดยืน
อย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
(5) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเรียนรู้ภาวะทาง
อารมณ์ของตนเอง เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เทคนิคการขอความช่วยเหลือ
หรือขอข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการทำงาน
(6) สามารถวางตัวในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม
(7) กล้าแสดงความคิดเห็นในขอบเขตของงานและภาระหน้าที่
(8) พัฒนาตนเองจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการฝึกอบรม หรือการสอบถามเพื่อนร่วมงาน
|
4.2 วิธีการสอน
(1)
สร้างกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี พร้อมทำงานเป็นทีม
(2)
มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม
(3) มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน มอบหมายงานที่ต้องพูดคุย ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน
ติดตามงาน ประเมินผล
|
4.3 วิธีการประเมินผล
(1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์
(3) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง
|
5.
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร
และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
(1) ทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการค้นคว้าและนำเสนองาน
(2) ทักษะสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่าง
เหมาะสม
(3) ทักษะในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
(4) ทักษะในการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์ ในการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการทำงาน เช่น การ
โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น ประสานการทำงาน การรับ-ส่งงาน การซักถามข้อสงสัย
(5)
สามารถใช้เทคโนโลยี หรือ อินเทอร์เน็ตในการค้นคว้า หาข้อมูลประกอบการทำงาน
(6) สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม
และส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
|
5.2 วิธีการสอน
(1) มอบหมายงานผ่านระบบเทคโนโลยี การใช้ทักษะด้านเทคโนโลยี
ในการนำเสนอข้อมูล
(2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งไทยและต่างประเทศ
ทั้งการพูด เขียน ในการประสาน
การทำงาน
(3)
มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยี ในการแก้ปัญหา หรือนำเสนองาน
|
5.3 วิธีการประเมินผล
(1) ประเมินจากเอกสาร
ที่นำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อ
(2) ประเมินจากเอกสารที่เขียน
เช่น E-Mail ที่ใช้สื่อสารเพื่อการทำงาน
(3) ประเมินจากผลการแก้ปัญหาว่า
โดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
|
หมวดที่ 5
แผนการสอนและการประเมินผล
1.
แผนการสอน
|
||||
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จน.ชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
|
ผู้สอน
|
1
|
1.
บทนำ การนำเข้าสู่บทเรียน
2.
ความรู้เบี้องต้นทางการเมือง
การปกครองและการเมือง
การปกครองของไทย
3.
ทฤษฎีการเมืองการปกครองไทย
|
3
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
2
|
3.
วิวัฒนาการการเมืองการปกครองของ
ไทย
1. การเมืองไทยสมัยสุโขไทย
2. การเมืองไทยสมัยอยุธยา
3. การเมืองไทยสมัยกรุงธนบุรี
|
3
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
3-5
|
4.
วิวัฒนาการการเมืองการปกครองของ
ไทย(ต่อ)
1. การเมืองการปกครองไทยสมัย
รัตนโกสินทร์(ก่อนการเปลี่ยนแปลง)
2. การเมืองการปกครองไทยสมัย
รัตนโกสินทร์สมัยการเปลี่ยนแปลง
ปี 2475
3. การเมืองการปกครองไทยสมัยเผด็จ
การพ่อขุนอุปถัมภ์
4. สรุปและตั้งประเด็นคำถาม
|
6
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
6-7
|
5.
วิวัฒนาการการเมืองการปกครองของ
ไทย(ต่อ)
1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย
2500-2539
2. การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดทาง
การเมืองและการปกครองของไทย
2.1 ทฤษฎีความเป็นพลเมือง กลุ่ม
ผลประโยชน์และกลุ่มผลักดัน
2.2 แนวคิดระบบตัวแทน
2.3 โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรม
|
6
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จน.ชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
|
ผู้สอน
|
|
ทางการเมืองของไทย
ทางการเมืองของไทย
|
|
|
|
8-9
|
6. พฤติกรรมทางการเมืองและการศึกษา
ทัศนคติ ทางการเมืองของไทย
6.1 พลังผลักดันทางการเมือง
6.2 พฤติกรรมทางการเมือง
|
6
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
10
|
7.
การเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมทาง
การเมืองของไทย
|
3
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
11-12
|
8.
แนวคิดระบบการเลือกตั้ง
9.
การปฏิรูประบบการเลือกตั้งของไทย
|
2
ชั่วโมง
|
บรรยาย
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา
เวบไซด์
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
13-14
|
10.
การเมืองการปกครองภายใต้แนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง
10.1 แนวคิดจริยธรรมทางการเมือง
10.2 หลักการบริหารบ้านเมืองและ
หลักทศพิศราชธรรม
10.3 แนวคิดทุนทางสังคม
10.4 แนวคิดธรรมาภิบาล
10.5 หลักของการมีส่วนร่วม
|
4
ชั่วโมง
|
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน
เวบไซด์ การยก ตัวอย่าง กรณีศึกษาประกอบการบรรยาย
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
15
|
11. การสร้างความเข้มแข็งทางการเมือง
การปกครองในภาคประชาชน
|
2
ชั่วโมง
|
ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน
เวบไซด์ การยก ตัวอย่าง กรณีศึกษาประกอบการบรรยาย
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
16
|
12.
สรุปประเด็นการเรียนการสอน
13.
สรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็น
แนวทางในการสอบประเมินผล
|
2
ชั่วโมง
|
บรรยาย
|
อ.ศุภวัฒน์
ปภัสสรากาญจน์
|
2.
แผนการประเมินผลการเรียนรู้ (16 สัปดาห์)
|
||||
กิจกรรมที่
|
ผลการเรียนรู้*
|
วิธีการประเมิน
|
สัปดาห์ที่ประเมิน
|
สัดส่วนของการประเมิน
|
1
|
1.1, 1.6,
1.7, 2.1,
2.4-2.6,
3.2
|
ทดสอบย่อยครั้งที่ 1
สอบกลางภาค
ทดสอบย่อยครั้งที่ 2
สอบปลายภาค
|
4
8
12
16
|
10%
30%
10%
30%
|
2
|
1.1, 1.6,
1.7, 2.1,
2.4-2.6,
|
วิเคราะห์กรณีศึกษา
ค้นคว้า การนำเสนอ
รายงาน
การทำงานกลุ่มและผลงาน
|
ตลอดภาค
การศึกษา
|
20%
|
กิจกรรมที่
|
ผลการเรียนรู้*
|
วิธีการประเมิน
|
สัปดาห์ที่ประเมิน
|
สัดส่วนของการประเมิน
|
|
3.2, 4.1-
4.6,5.3-5.4
|
การตรวจรายงาน
ประเมินการนำเสนอเนื้อหารายงานและเนื้อหารวมทั้งวิธีการนำเสนอ
|
|
10%
10%
|
หมวดที่ 6
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1.
เอกสารและตำรา
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. 2550.
ปฏิรูประบบการเลือกตั้ง เพื่อการปฏิรูปทางการเมืองไทย ปี 2550. มติชน รายวัน วันที่
05 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30
ฉบับที่ 10678.
เชาว์วัศ เสนพงศ์.2547.
การเมืองการปกครองไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ. (เอกสาร Electronic).
ชัยอนันต์
สมุทรวาณิช.ไตรลักษณรัฐกับการเมืองไทย. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในสี่ทศวรรษ
(2500-2539) หน้า.96-121.
สถาบันนโยบายศึษา. พี เพรส จำกัด. กรุงเทพฯ.
ฐิติพล
ภักดีวนิช. 2551. การสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจ พอ เพียง.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ฝ่ายชุมชนและสังคม. หน้า 5-22.
ธีรยุทธ
บุญมี.
สังคม วัฒนธรรม หลังการเลือกตั้ง ก.พ.2548 การเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรม การเมือง
ครั้ง ที่ 2 ของไทย (1). มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่
25 ฉบับ ที่
1281
|
2.
เอกสารและข้อมูลสำคัญ
ไม่มี
|
3.
เอกสารและข้อมูลแนะนำ
http://www.nccc.
go.th/ constitution/NewsUpload/82_1_การเลือกตั้งและระบบเลือกตั้ง.pdf.
http://www.rotoratuk.blogspot.com
การเมืองการปกครองไทย
|
หมวดที่ 7
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1.
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้
ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
-
ข้อเสนอแนะผ่านเวบบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
|
2.
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน
ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
-
การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
|
3.
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง
และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
-
การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
|
4.
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา
ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผ
การทดสอบย่อย
และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา
ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย
ตรวจสอบข้อสอบ
รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
|
5.
การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา
ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ
สอนและรายละเอียดวิชา
เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุกปีการศึกษา
หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน
เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มา
จากงานวิจัยของอาจารย์ต่าง
ๆ
|
Comments